WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

สแกน'สนช.'ถอดถอน'ยิ่งลักษณ์'

วันที่ 04 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 เวลา 00:01 น. ข่าวสดออนไลน์


รายงานพิเศษ : สแกน'สนช.'ถอดถอน'ยิ่งลักษณ์'

    กรณี นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช. สั่งบรรจุวาระการประชุมนัดพิเศษ วันที่ 12 พ.ย. 

พิจารณาถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกฯ ออกจากตำแหน่ง คดีทุจริตโครงการรับจำนำข้าว ตามการชี้มูลของป.ป.ช. 

    โดย มั่นใจว่าทั้งฐานความผิดและอำนาจหน้าที่ของสนช.สามารถดำเนินการได้ ขณะที่ประเด็นดังกล่าวยังคงเป็นที่ถกเถียงกันในสังคม และไม่มีข้อสรุปจนบัดนี้

   นักวิชาการด้านกฎหมาย และนักรัฐศาสตร์ ที่ศึกษาและติดตามเรื่องนี้มาตลอดมีความเห็นอย่างไร

สมลักษณ์ จัดกระบวนพล

อดีตกรรมการป.ป.ช.

   รัฐ ธรรมนูญปี 2550 ที่บรรจุหมวดถอดถอนไว้ในมาตรา 270-274 กำหนดกระบวนการขั้นตอน และเสียงถอดถอนที่ต้องใช้ 3 ใน 5 ของที่ประชุม อันเป็นบทบัญญัติพิเศษนั้น ถูกยกเลิกไปแล้ว

   ส่วนรัฐ ธรรมนูญฉบับชั่วคราวปี 2557 ที่บังคับใช้ปัจจุบัน ไม่มีมาตราที่ให้อำนาจสนช.ในการถอดถอน ดังนั้นจะนำมาตรา 6 ที่ระบุว่า สนช.ทำหน้าที่ส.ส. ส.ว. และสมาชิกรัฐสภามาอ้างไม่ได้

   เพราะเป็นเพียงตัวกำหนดให้เห็นว่า ประเทศไทยช่วงสถานการณ์ไม่ปกตินั้นมีเพียงสภาเดียวคือ สนช. ที่ทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติ

    การ นำพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยป.ป.ช. พ.ศ.2542 และพ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 มาอ้างประกอบ ก็ทำไม่ได้ เพราะรัฐธรรมนูญที่เป็นกฎหมายสูงสุดไม่สามารถทำได้ ก็ไม่อาจนำกฎหมายลูกมาอ้างแทนได้ 

   กฎหมายลูกมีไว้สำหรับ กำหนดกรอบอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานนั้นๆ ไม่เกี่ยวกับการนำมาตีความของอำนาจหน้าที่ถอดถอนของสนช. ขณะที่ป.ป.ช.ควรยุติการส่งสำนวนถอดถอน เพราะรัฐธรรมนูญถูกฉีกไปแล้ว

   สุดท้ายขึ้นกับสนช.ว่าจะตีความข้อกฎหมายอย่างไร แต่การตีความกฎหมายเพิ่มขอบเขตอำนาจให้ตนเอง ถือเป็นสิ่งที่ขัดต่อหลักนิติธรรม

   และ เมื่อพิจารณาถึงความ สง่างาม ก็ต้องดูเจตนารมณ์ของการบรรจุบทบัญญัติพิเศษ ว่าด้วยการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองไว้ในรัฐธรรมนูญ ปี 2540 และ 2550 ก็เพื่อมอบอำนาจการตรวจสอบให้รองรับต่อการมีสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการเลือก ตั้ง สอดคล้องต่อการคานอำนาจ และตรวจสอบตามระบอบประชาธิปไตย

    แต่ ในสภาวการณ์ไม่ปกติเช่นนี้ รัฐธรรมนูญชั่วคราว ปี 2557 ไม่ได้ว่าถึงอำนาจการถอดถอนเอาไว้ แล้วสนช.ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งกำลังตีความว่าตนเองมีอำนาจ เพื่อนำไปถอดถอนนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง โดยการอ้างกฎหมายลูก ก็อาจจะถูกตั้งคำถามถึงความสง่างามในการ ทำหน้าที่

หากกระบวน การถอดถอนสำนวนใดสำนวนหนึ่ง ไม่ว่าของนายนิคม ไวยรัช พานิช นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ หรือ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เริ่มต้นขึ้น จะกลายเป็นบรรทัดฐานสำหรับสำนวนต่อๆไป 

ทั้งสำนวน 39 ส.ว. และสำนวน 312 ส.ส. - ส.ว. ตามที่ถูกชี้มูลความผิดฐานแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงมีข้อห่วงกังวลว่าสนช.ที่ทำหน้าที่ สุ่มเสี่ยงจะถูกฟ้องร้องจากผู้เสียหาย ทั้งต่อศาลยุติ ธรรมและป.ป.ช.

    ที่สำคัญการสร้างความปรองดองจะ มีปัญหาด้วย กระทบเป็นวงกว้างต่อการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลและ คสช. 

ยอดพล เทพสิทธา

คณะนิติศาสตร์ ม.นเรศวร

    องค์ประกอบความผิดตามพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยป.ป.ช. มาตรา 58 เป็นฐานความผิดที่ใช้ระหว่างที่ผู้นั้นดำรงตำแหน่งทางการเมือง

    สน ช.รับสำนวนถอดถอนน.ส.ยิ่งลักษณ์ไว้พิจารณา จึงถือเป็นการกระทำโดยปราศจากอำนาจ เพราะน.ส.ยิ่งลักษณ์หมดวาระการดำรงตำแหน่งทางการเมืองไปแล้ว ไม่ได้เป็นคุณหรือโทษแก่ใครอีกต่อไป

ป.ป.ช.ในฐานะผู้ทำสำนวนชี้ มูลน่าจะพิจารณาถึงรัฐธรรมนูญ ปี 2550 ที่ถูกยกเลิกไปแล้ว อย่างเป็นเหตุเป็นผล ก่อนดำเนินการทำหน้าที่ต่างๆ ด้วย

     อย่างไรก็ตาม เสียงลงมติถอดถอนน.ส.ยิ่งลักษณ์ไม่น่าจะถึง 3 ใน 5 เกมการเมืองน่าจะมีการต่อรองกันไว้แล้ว หากสนช.เดินหน้าทั้งที่สำนวนป.ป.ช.ไม่อาจชี้ชัดได้ว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ปล่อยให้มีการทุจริตโครงการรับจำนำข้าวจริง 

    มวลชนที่สนับสนุนน.ส.ยิ่งลักษณ์น่าจะออกมาเคลื่อนไหว สุดท้ายแรงกระเพื่อมจะกลับมายังการบริหารราชการแผ่นดินของนายกฯ

    ส่วน กรณีนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานรัฐสภา และนายนิคม ไวยรัชพานิช อดีตประธานวุฒิสภา หากสนช.มีมติถอดถอน นายสมศักดิ์และนายนิคมจะกลายเป็นบรรทัดฐานแก่สำนวนของ 39 ส.ว. และ 312 ส.ส. ที่ถูกชี้มูลว่าแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยไม่ชอบอีก

    ส่งผลกระทบต่อระบบ กฎหมายมหาชนของไทย เพราะส.ส. ส.ว. มีอำนาจแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่กลับถูกชี้มูลว่าทำผิด ต่อไปผู้แทนของประชาชนจะไม่มีใครแก้กฎหมาย 

    ทางเดียวที่ทำได้คือฉีกรัฐธรรมนูญทิ้งแล้วร่างใหม่... 

ยุทธพร อิสรชัย 

คณบดีรัฐศาสตร์ ม.สุโขทัยธรรมาธิราช

    สนช.ไม่มีอำนาจถอดถอนน.ส.ยิ่งลักษณ์ กรณีโครงการรับจำนำข้าว เพราะฐานกฎหมายในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ไม่ได้ให้อำนาจ 

   แม้ สนช.จะอ้างว่ามีอำนาจตามมาตรา 5 และ 6 หรือในข้อบังคับมาตรา 13 แต่ข้อบังคับนี้ไม่เป็นไปตามหลักนิติธรรม ไม่ใช่ลักษณะของการออกข้อบังคับที่ถูกต้อง เพราะเป็นการออกข้อบังคับเพื่อเพิ่มอำนาจให้ตัวเอง ขัดกับหลักการตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจ

    ศาลรัฐธรรมนูญ เคยวางบรรทัดฐานไว้ ว่า การตีความต้องแยกในส่วนที่ว่าด้วยความผิด คือ ต้องดูวันที่ความผิดเกิดขึ้นใช้กฎหมายใด ขณะที่วิธีการลงโทษต้องดูกฎหมายที่ใช้อยู่ในวันตัดสิน ซึ่งในรัฐธรรมนูญชั่วคราวไม่ได้ให้อำนาจถอดถอนไว้กับสนช.

     อีกทั้ง ยังมีข้อถกเถียงกันว่า เมื่อรัฐธรรมนูญ ปี 2550 ถูกยกเลิกไปแล้ว พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ยังมีสภาพบังคับใช้หรือไม่

    หากสนช.เดินหน้ากระบวนการถอดถอนต่อจะ เกิดปัญหาตามมาภายหลัง ทั้งเรื่องตัวบทกฎหมาย ความมั่นคง และจะเป็นประเด็นทำให้เกิดความขัดแย้งได้อีกด้วย 

    วันนี้ทางแก้ที่ดีที่สุดคือทำให้ถูกต้อง มิเช่นนั้นในอนาคต สมาชิกสนช.จะมีความเสี่ยงว่าเป็นการดำเนินการที่ผิดพลาดได้

    ส่วน ป.ป.ช.กับอัยการสูงสุดจะพิจารณาส่งฟ้องเรื่องดังกล่าวร่วมกันวันที่ 7 พ.ย. ถือเป็นอำนาจป.ป.ช.อยู่แล้วที่สามารถส่งฟ้องเองได้ในคดีอาญา แม้อัยการสูงสุดจะไม่ฟ้อง 

ไม่ได้เชื่อมโยงกับสนช. 

วันที่ 03 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 เวลา 13:24 น.  ข่าวสดออนไลน์ 


'พิชิต'ยก 7 ข้อคัดค้านสนช.ถอดถอน 'ยิ่งลักษณ์' ปมทุจริตจำนำข้าว

     เมื่อวันที่ 3 พ.ย. นายพิชิต ชื่นบาน คณะทำงานฝ่ายกฎหมายพรรคเพื่อไทย ฐานะที่ปรึกษากฎหมาย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังการประชุมร่วมกับคณะทำงาน โดยได้ข้อยุติที่จะนำเรื่องเสนอต่อน.ส.ยิ่งลักษณ์ จัดทำเป็น “คำคัดค้านคำสั่งประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เรื่องนำสำนวนคดีถอดถอนน.ส.ยิ่งลักษณ์ เข้าวาระการประชุมสนช.นัดพิเศษในวันที่ 12 พ.ย.”
 
     โดยมีประเด็นข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่จะคัดค้านคดีถอดถอนดังนี้
 
 1.หลักการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ คดีถอดถอนมีผลเป็นการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้ จะกระทำมิได้หากรัฐธรรมนูญมิได้กำหนดให้อำนาจไว้
 
 2.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับชั่วคราว 2557 มิได้กำหนดให้อำนาจเรื่องการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่า ด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
 
 3.ข้อบังคับการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติพ.ศ.2557 เฉพาะหมวด 10 ว่าด้วยการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ไม่เป็นไปตามหลักนิติธรรมและหลักการตรากฎหมาย ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และตามพันธกรณีระหว่างประเทศ 
 
 4.ข้อบังคับการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ.2557 เฉพาะหมวดที่ 10 ในส่วนที่ 1 การถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตฯ เป็นการขัดหรือล้างประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 มาตรา 5
 
 5.ประธานสนช. หรือวิปสนช. ไม่อาจเลือกปฏิบัติ ในการเลือกฐานความผิดในการดำเนินคดี ถอดถอนให้ผิดไปจากมติ ป.ป.ช.ที่ชี้มูลความผิดต่ออดีตนายกฯ ในฐานะผู้ถูกกล่าวหาตามข้อบังคับหมวด 10 ส่วนที่ 1 ที่ปรากฏตามรายงานคณะกรรมการป.ป.ช. ที่เสนอต่อสนช.หากผ่าฝืนปฏิบัติถือเป็นการกระทำที่ขัดต่อหลักนิติธรรมและรัฐธรรมนูญมาตรา 5 เสียเอง
 
 6.อ้างบทบัญญัติกฎหมายที่ไม่มีบทบังคับโทษมาเป็นเหตุถอดถอนไม่ได้
 
 7.ความเป็นนายกฯ ของน.ส.ยิ่งลักษณ์สิ้นสุดลงแล้ว จึงไม่ใช่ผู้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา 58 ของพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตพฤติมิชอบแห่งชาติ พ.ศ.2542

    ทั้งนี้ เหตุที่คัดค้านเพราะคณะทำงานเห็นว่า การตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายในการปฏิบัติหน้าที่ของอดีตนายกฯ ในเรื่องคดีถอดถอน ต้องเป็นไปโดยถูกต้องชอบธรรมตามหลักนิติธรรม

 

04 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 เวลา 00:01 น. ข่าวสดออนไลน์

บทบาท การเมือง การประชุมใหญ่ สนช. ณ 6 พฤศจิกายน
    การเดินทางกลับของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ในวันอาทิตย์ที่ 2 พฤศจิกายน สร้างความตื่นตะลึงอย่างสูงในทางการเมือง
 เหนือความคาดหมาย
 เพราะความคาดหมายของฝ่ายตรงกันข้าม น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ประเมินตั้งแต่ต้นแล้วว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะไม่กลับ
 ไปแล้ว ไปเลย
 บางคนถึงกับสรุปในท่วงทำนองแบบฟันธงว่า ตั๋วที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ใช้ในการบินไปหนนี้เป็นตั๋วแบบเที่ยวเดียว
 อย่างที่ฝรั่งเรียกว่า วันเวย์ ทิกเก็ต
 การเดินทางกลับของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จึงอยู่นอกเหนือความคาดหมายและจะกลายเป็นประเด็นให้ต่อหัวต่อหางไปอีกยาวนาน
 กว่าจะถึงการประชุมสนช.ในวันที่ 6 พฤศจิกายน

 

    ถึงแม้ว่าการประชุมสนช.ในวันที่ 6 พฤศจิกายน วาระที่ต้องพิจารณาคือ สำนวนถอดถอน นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ และ นายนิคม ไวยรัชพานิช ของป.ป.ช.
     ยังเป็นการพิจารณารับ หรือไม่รับ
     นั่นก็คือ จะรับไว้พิจารณาเพื่อดำเนินการไต่สวน หรือว่าจะไม่รับไว้พิจารณาอันเท่ากับตกไปเลย
 กระนั้น สำนวนนี้ก็จะมีผลสะเทือนกว้างไกล
     หากกรณีของ นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ และ นายนิคม ไวยรัชพานิช สนช.รับก็เท่ากับยืนยันว่า กรณีของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็จะต้องรับ และหมายความว่ากรณีของ ส.ส.และส.ว.ที่เคยแก้ไขรัฐธรรมนูญ ก็จะต้องรับ
     การประชุมสนช.ในวันที่ 6 พฤศจิกายน จึงสำคัญ

 

     เมื่อการประชุมสนช.ในวันที่ 6 พฤศจิกายน สำคัญ การกลับประเทศของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็สำคัญ
 แสดงว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มีความมั่นใจ
     แน่นอน ความมั่นใจของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร แรกสุดก็คือ ความมั่นใจว่ากรณีของ นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ และ นายนิคม ไวยรัชพานิช จะไม่ส่งผลสะเทือน
    นั่นก็คือ ไม่สะเทือนมาถึง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
    หากผลการประชุมสนช.ในวันที่ 6 พฤศจิกายน เป็นไปตามความคาดหมายเช่นนี้ กระบวนการต่อหัวต่อหางทางการเมืองก็ย่อมจะเกิดขึ้นติดตามมา
     รวมถึงการเดินทางไปจีนของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ด้วย

 

     เห็นหรือไม่ว่าจังหวะก้าวไม่ว่าจะไปยังญี่ปุ่นหรือจีนของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มีความสำคัญ
     เช่นเดียวกับข่าวลือที่ว่าอาจมีการพบและคุยกันกับ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ เช่นเดียวกับข่าวลือที่ว่าอาจมีการปรองดองเรียบร้อยแล้วระหว่าง 2 ฝ่าย
    การประชุมวันที่ 6 พฤศจิกายน จึงน่าจับตา ติดตาม...

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!