วิพากษ์แนวคิด'บิ๊กตู่'แยก'บริหาร-นิติบัญญัติ'
หมายเหตุ - ความเห็นผู้ที่เกี่ยวข้องต่อแนวคิดของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ยกตัวอย่างประเทศในแถบยุโรปที่มีหลักการแยกกลไกบริหารและนิติบัญญัติออกจากกัน
เจษฎ์ โทณวณิก
นักวิชาการทางกฎหมาย
ประเทศที่เป็นประชาธิปไตยที่เข้มเเข็งทั้งหลาย ต่างเเยกกลไกฝ่ายบริหารเเละนิติบัญญัติออกจากกัน ต่างคนต่างทำงานเเละก็สามารถที่จะตรวจสอบ ถ่วงดุล เเละค้านกันได้ด้วย โดยไม่มีการทับซ้อน คาบเกี่ยวหรือมีความเป็นพวกกันในการทำงานของสองฝ่ายนี้ อาทิ สหรัฐอเมริกาหรือฝรั่งเศส ก็สามารถคานกันได้
สิ่งที่ พล.อ.ประยุทธ์พูดไม่ใช่เรื่องใหม่ของโลก รวมทั้งของไทยเพราะในปี พ.ศ.2475 คณะราษฎรก็มีจุดมุ่งหมายอย่างนั้น เพียงเเต่ว่าไทยเราไม่เคยทำได้
วันนี้ถ้าเป็นไปได้ ต้องเริ่มตอนนี้เลย โดยให้ พล.อ.ประยุทธ์เป็นตัวอย่าง เเยก 3 อย่างให้ได้อย่างชัดๆ
1.เเยกการทำงานในส่วนของ คสช.กับกลไกการบริหารราชการเเผ่นดินทั่วไป
2.เเยกการบริหารของคณะรัฐมนตรี (ครม.) จากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ให้ได้เพราะ สนช.ถือเป็นนิติบัญญัติ
3.เเยก คสช. ครม. สนช. ออกจากสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ให้ได้
"ถ้าทำเเบบนี้ก็จะเป็นตัวอย่างเเรกให้เห็นว่าเเม้จะมาจากการปฏิวัติรัฐประหาร ก็ยังทำให้กลไกเหล่านี้เเยกการทำงานได้เลยคือถ้าไม่เคยเซ็ตตัวอย่างไว้ เเล้วเราเอาเเต่บอกว่านักการเมือง เวลาตั้งคณะรัฐมนตรี ก็เอาเเต่ตั้งพรรคพวกกันมา ถ้าท่านทำเหมือนกัน ท่านจะเอาตัวอย่างที่ดีจากไหนให้เขาดู ต้องเเสดงตัวอย่างให้เห็น"
ทั้งนี้ ข้อดีการเเยกอำนาจบริหารเเละนิติบัญญัติออกจากกัน เเน่นอนว่ามีข้อดีเยอะเเยะมากมาย เเต่มีข้อเสีย เช่น ส.ส.ไม่สังกัดพรรคอาจส่งผลให้กลไกในการเชื่อมประสานในระดับประเทศหรือในเขตอื่นๆ ลำบาก
ในส่วนของบัญชีรายชื่อ ถ้าจะให้มี ส.ส.เป็นอิสระนั้นเเทบจะทำไม่ได้เลย เพราะบัญชีรายชื่อนั้นเลือกโดยพรรค
ขณะเดียวกันในส่วนของนายกรัฐมนตรี ถ้าให้มาจากการเลือกตั้งโดยตรง ข้อเสียคือ ถ้าได้นายกฯไม่ดี ซื้อเสียงจากทั่วประเทศ อันนี้ก็เเย่ยิ่งกว่าการมีนายกฯที่มาจาก ส.ส.เสียอีก ท้ายสุดเรื่องของมติพรรค ถ้าจะไม่ให้มติพรรคมีส่วนสำคัญต่อ ส.ส. ก็จะส่งผลให้ ส.ส.ที่สังกัดพรรค เเละไม่สังกัดพรรคนั้นเหมือนๆ กัน เเละเหวี่ยงกับไปในลักษณะที่เราเคยเรียกกันว่า ส.ส.ขายตัว อันนี้คือข้อเสีย เเต่ถามข้อดีมีเยอะกว่า ควรค่าที่เราควรเดินไป
เจษฎ์ โทณวณิก, เอกชัย ไชยนุวัติ |
มีข้อเสนอเเนะคือ นายกฯเลือกได้ 2 อย่าง
1.เลือกนายกฯโดยตรง
2.ถ้าหากว่าจะยังคงเอานายกฯ ที่มาจาก ส.ส. ก็อยากให้โหวตเลือกนายกฯ จากคนที่ไม่ได้สังกัดพรรค ส.ส.อยากจะโหวตใครมาก็โหวตเเล้วใช้เสียงข้างมากในสภานั้นเเหละตัดสิน ทำให้นายกฯไม่จำเป็นต้องเป็นคนที่มาจากพรรคที่ได้เสียงข้างมาก อย่างนี้ถึงจะได้ชื่อที่สมกับตำเเหน่งนายกฯมากที่สุด
รัฐธรรมนูญปี "40 ถือว่าทำได้ดีเลย หากยังจำได้ที่กำหนดให้คณะรัฐมนตรีเเต่ละคน ต้องไม่ได้เป็น ส.ส. ถ้า ส.ส.จะไปเป็นรัฐมนตรีต้องลาออก ถือว่าเเยกอำนาจบริหารกับนิติบัญญัติได้ดีพอสมควร เเต่ปัญหาของรัฐธรรมนูญปี "40 คือทำให้ฝ่ายบริหารเข้มเเข็งกว่าฝ่ายนิติบัญญัติค่อนข้างมาก เอกชัย ไชยนุวัติ
อาจารย์คณะนิติศาสตร์ ม.สยาม ประเทศยุโรปส่วนใหญ่และสหรัฐอเมริกา ที่เลือกมีการแยกฝ่ายบริหารเเละนิติบัญญัติออกจากกัน เป็นเพราะปกครองในระบบสหพันธรัฐและให้เกิดความมั่นคงในการเมือง ส่วนประเทศไทยหลังจากที่มีการอภิวัฒน์เมื่อปี พ.ศ.2475 ได้เลือกระบอบประชาธิปไตยในแบบประเทศอังกฤษ คือระบบรัฐสภา เป็นระบบที่ผู้นำจะต้องมีความรับผิดชอบในฝ่ายบริหารต่อรัฐสภาด้วย เพราะว่าผู้นำของประเทศเป็นเสียงที่มาจากรัฐสภา หากอนาคตมีการเปลี่ยนเป็นแนวทางที่ พล.อ.ประยุทธ์ได้พูดถึง แท้จริงแล้วจะเป็นรูปแบบที่ทาง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ชอบมากกว่าระบบปัจจุบัน เพราะเลือกกี่ครั้งก็มีโอกาสที่จะชนะ อีกทั้งจะมีความมั่นคงทางการเมือง ไม่ต้องรับผิดชอบใดๆ ต่อรัฐสภา ไม่ต้องกลัวเรื่องการยุบสภา ไม่ต้องกลัวเรื่องมติอภิปรายการไม่ไว้วางใจประเด็นอยู่ที่ว่าตอนนี้ต้องการอะไร ต้องการให้มีความรับผิดชอบต่อรัฐสภาหรือไม่ การรับผิดชอบในลักษณะนี้คือการเปิดอภิปราย ทั้งอภิปรายไม่ไว้วางใจ และอภิปรายทั่วไป โดยประเด็นนี้แม้ว่าการอภิปรายโดยมากแล้วฝ่ายบริหารหรือฝ่ายเสียงข้างมากจะชนะอยู่เสมอในการลงมติ หากไล่มาตั้งแต่ พ.ศ.2475 การอภิปรายทุกครั้งฝ่ายบริหารจะชนะมาโดยตลอด แต่นั่นไม่ใช่ประเด็นสำคัญ เพราะประเด็นสำคัญคือการอภิปรายเพื่อให้สาธารณชนรับทราบและตัดสินใจเอง ให้ประชาชนคือผู้ตัดสินในท้ายที่สุดว่าไว้วางใจหรือไม่ เป็นการฝึกให้ประชาชนมีความตื่นตัว
นพดล ปัทมะ, นิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ |
เพราะฉะนั้นหากเลือกที่จะใช้ในรูปแบบยุโรปหรือสหรัฐอเมริกา ก็จะไม่มีตรงส่วนนี้ จะไม่มีการรับผิดชอบต่อสภา ดูตัวอย่างจากประเทศสหรัฐอเมริกาไม่ว่าสภาจะพูดอย่างไร ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ก็เดินหน้าบริหารต่อไป สิ่งเดียวที่สภาจะสามารถคานได้คือการไม่ผ่านกฎหมายให้ฝ่ายบริหาร แต่จะไม่มีกลไกอื่นใดที่ทำให้ฝ่ายบริหารต้องรับผิดชอบต่อฝ่ายนิติบัญญัติ หากจะมองดูว่ามีความเหมาะสมกับประเทศไทยหรือไม่ ต้องขึ้นอยู่กับว่าต้องการอะไร ต้องการรูปแบบใด ถ้าคณะกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญต้องการให้ฝ่ายบริหารมีความเข้มแข็ง ต้องใช้ในแบบที่พล.อ.ประยุทธ์ได้พูดถึง คือทำให้ฝ่ายรัฐสภามีหน้าที่หลักคือออกกฎหมาย และหน้าที่หลักของฝ่ายบริหารคือนำกฎหมายที่ออกโดยรัฐสภาไปใช้ มีการคานอำนาจโดยการผ่านหรือไม่ผ่านกฎหมายเท่านั้น นพดล ปัทมะ
คณะทำงานฝ่ายกฎหมาย พรรคเพื่อไทย
การปฏิรูปการเมืองโดยใช้แนวทางการแบ่งแยกอำนาจบริหารและอำนาจนิติบัญญัติออกจากกันให้ชัดเจน ยกตัวอย่าง การเลือกตั้งนายกฯโดยตรงนั้นเป็นแนวคิดที่น่าศึกษาเพิ่มเติม โดยเรื่องนี้เป็นข้อเสนอที่เคยมีมาเป็น 10 ปีแล้ว โดยข้อดีคือ
1.ทำให้มีผู้นำที่เข้มแข็ง ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนโดยตรง
2.คะแนนเสียงป๊อปปูลาร์โหวตของประชาชนไม่ตกหล่น และ
3.ทำให้นายกฯไม่ได้อยู่ในอาณัติของพรรคการเมือง หรือ ส.ส. ที่ต้องตั้ง ส.ส.มาเป็นรัฐมนตรี ทำให้สามารถเลือกคนที่คิดว่าเหมาะสมเข้ามาเป็นรัฐมนตรีได้
ส่วนข้อเสีย คือ นายกฯที่คิดว่าตัวเองมาจากประชาชนโดยตรง และไม่ฟังเสียงสภาก็อาจจะทำให้ไม่สามารถตอบสนองต่อความประสงค์ของตัวแทนประชาชนได้ ต้องคิดหากลไกหรือวิธีในการถ่วงดุลระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติว่าหากนายกฯไม่ดีจะถอดถอนนายกฯได้หรือไม่ และจะตรวจสอบนายกฯได้อย่างไรบ้าง ซึ่งก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย
ทั้งนี้ ตอนนี้ประเทศไทยมีระบอบคล้ายกับประเทศอังกฤษ แต่หากจะมีการเลือกตั้งนายกฯโดยตรงก็จะคล้ายกับประเทศสหรัฐอเมริกาที่เลือกตั้งหัวหน้าฝ่ายบริหารโดยตรง แต่จะแตกต่างจากประเทศสหรัฐอเมริกาตรงที่ประเทศไทยจะไม่ใช่ระบอบประธานาธิบดี เพราะประเทศไทยจะต้องยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
นิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ
รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
แนวคิดการแยกอำนาจนิติบัญญัติออกจากอำนาจบริหาร มองว่าเป็นแนวคิดของนักวิชาการที่ไม่อยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง ปัญหาที่เกิดขึ้นในอดีต คือ อำนาจรัฐที่เป็นฝ่ายบริหารแข็งเกินไป ที่ผ่านมาประเทศเกิดวิกฤตปัญหาต่างๆ ขึ้น ไม่ได้เป็นเพราะฝ่ายนิติบัญญัติ แต่เป็นเพราะฝ่ายบริหารไม่ฟังเสียงข้างน้อย ก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์รัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 เรามีรัฐธรรมนูญที่ออกแบบมาให้ทั้ง 2 ฝ่าย มีอำนาจที่คานกันโดยมีองค์กรอิสระเข้ามาตรวจสอบ แต่ฝ่ายบริหารกลับเป็นผู้ทำลายเสียหมด
ถ้าหากจะแยกอำนาจทั้ง 2 ออกจากกัน มองว่ายิ่งจะทำให้อำนาจฝ่ายบริหารนั้นเข้มแข็งจากเดิมขึ้นไปอีก 3 เท่าจากที่เป็นอยู่ ถามว่าวันนี้อำนาจบริหารอ่อนแอหรืออย่างไร ถึงจะต้องไปทำให้เข้มแข็งขึ้นมา ดังนั้น ถ้าจะทำต้องยอมรับความเข้มแข็งของอำนาจรัฐที่จะเกิดขึ้นด้วย
อย่างไรก็ตาม หากแยกอำนาจทั้งสองก็จะเป็นไปในรูปแบบของการมีประธานาธิบดี คล้ายๆ กับประเทศสหรัฐอเมริกา ส่วนตัวคิดว่าถ้ายังเอาระบบรัฐสภาไว้ก็ต้องหาอำนาจที่จะมาคานฝ่ายบริหาร หรือหยุดอำนาจรัฐในบางกรณี โดยออกแบบองค์กรอิสระให้สามารถทำหน้าที่ปฏิบัติได้จริง ที่สำคัญต้องเป็นที่ยอมรับของสังคม อาจเป็นการพิจารณาถึงที่มาขององค์กรอิสระใหม่ไม่ให้เป็นที่ตำหนิ เนื่องจากตอนนี้องค์กรอิสระมาจากตุลาการ พอเกิดเรื่องอะไรที่ทำให้องค์กรอิสระมีความเสียหาย ตุลาการและศาลก็เสียหายไปด้วย เพราะฉะนั้นควรออกแบบที่มาขององค์กรอิสระใหม่