WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1สดยอดอาเซยน

สปท.จัดให้ โละสส.ปาร์ตี้ลิสต์ พท.จี้บริษัทบุหรี่ พบอัยการ 25 พย.

      'บิ๊กตู่'จับมือ 9 ชาติอาเซียนลงนามต้านการค้ามนุษย์ ในเวทีประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนที่มาเลเซีย ก่อนเดินทางกลับถึงไทยค่ำวันนี้ 'มีชัย'เอาแน่ลดอำนาจส.ว. ให้ป.ป.ช.-ศาลรัฐธรรมนูญถอดถอนนักการเมืองแทน 'วิษณุ'เผยครม.เตรียมเสนอให้กรธ.แก้อุปสรรคการทำงานของรัฐบาลในร่างรัฐธรรมนูญ สปท.ชงโละส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ อัดอิงแอบนายทุนพรรค หนุนมีเฉพาะส.ส.เขต 400 คน ปชป.ผุดไอเดียตั้งองค์กรกลางเป็นช่องทางพิเศษยามเกิดวิกฤต ตำรวจคุมเข้มนักศึกษาจัดนิทรรศการลายพรางโกงชาติที่ธรรมศาสตร์ ตัดไฟ-ปิดแอร์ห้ามเสวนาการเมือง เพื่อไทยจี้ฟิลลิป มอร์ริสรายงานตัวต่ออัยการก่อนยื่นฟ้อง 25 พ.ย.นี้ ข้อหาเลี่ยงภาษี 6.8 หมื่นล้าน

วันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ปีที่ 25 ฉบับที่ 9125 ข่าวสดรายวัน

สุดยอดอาเซียน - พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ ถ่ายรูปที่ระลึกร่วมกับผู้นำชาติต่างๆ อีก 9 ประเทศ ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 27 ณ Plenary Hall ชั้น 1 ศูนย์การประชุม KLCC ประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่ 21 พ.ย.


'บิ๊กตู่'ร่วมประชุมผู้นำอาเซียน
      เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 21 พ.ย. พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและนางนราพร จันทร์โอชา ภริยา เข้าร่วมพิธีเปิดการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 27 ณ เพลนนารี่ ฮอลล์ ชั้น 1 ศูนย์การประชุม KLCC กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ร่วมกับผู้นำอาเซียนอีก 9 ประเทศ โดย ดะโต๊ะ ซรี นาจิบ ราซัก นายกรัฐมนตรีมาเลเซียในฐานะประธานการประชุมสุด ยอดอาเซียนได้กล่าวเปิดการประชุม พร้อมประณามเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในโลกในช่วงเวลาที่ผ่านมา โดยจะร่วมกันต่อต้านการใช้ความรุนแรงและการก่อการร้าย และเรียกร้องแนวทางแก้ปัญหาอย่างสันติ ใช้หลักสายกลาง ตามแนวทางของอาเซียนที่เชื่อในสันติวิธี
      จากนั้นเป็นการมอบรางวัล ASEAN Peoples" Award ซึ่งเป็นรางวัลที่มอบให้กับบุคคลที่มีผลงานยอดเยี่ยมเป็นที่ประจักษ์อย่างกว้างขวางและต่อเนื่องในการสนับสนุน เสริมสร้างประชาคมอาเซียน ที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลางในสาขาต่างๆ ในส่วนของไทย นางสายสุรี จุติกุล ซึ่งเป็นบุคคลที่อุทิศตัวเพื่อการทำงานด้านสิทธิสตรีและเด็กเป็นผู้ได้รับรางวัลนี้จากนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย

โชว์วิสัยทัศน์-รับมือสิ่งท้าทาย
       เมื่อเสร็จสิ้นพิธีเปิด เป็นประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 27 โดยผู้นำอาเซียนแต่ละชาติกล่าวถ้อยแถลงตามลำดับตัวอักษร ขณะที่พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่าภารกิจในวันนี้ คือการขับเคลื่อนอาเซียนไปข้างหน้าและดำเนิน มาตรการต่างๆ ที่ตกลงกันไว้ ด้วยการสร้างประชาคมอาเซียนที่มีความสามารถรับมือกับความท้าทายและมีบทบาทอย่างสร้างสรรค์ในเวทีโลก ซึ่งตนมีข้อเสนอดังนี้ ประการแรก การสร้างประชาคมอาเซียนที่มีความเข้มแข็งจากภายใน มีเอกภาพ และไม่หวังพึ่งการสนับสนุนจากภายนอกเพียงอย่างเดียว ต้องเสริมสร้างให้อาเซียนในฐานะตลาดและฐานการผลิตเดียว มีความน่าดึงดูดยิ่งขึ้น ซึ่งการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษบริเวณชายแดนและการส่งเสริมการลงทุนในรูปแบบ 1+1 จะช่วยส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากข้อได้เปรียบของแต่ละประเทศที่มีชายแดนร่วมกัน
       ประการที่สอง การท่องเที่ยวเป็นหนึ่งในสาขาที่มีศักยภาพสูง ซึ่งจะช่วยส่งเสริมความเชื่อมโยงระหว่างประชาชน โดยเฉพาะระหว่างประเทศสมาชิกบนภาคพื้นทวีปและหมู่เกาะ อาเซียนจึงควรพิจารณาสนับสนุนเรื่องการท่องเที่ยวในลักษณะแพ็กเกจของประเทศอาเซียนทั้งทางบกและทางทะเลไว้ในแผนงานความเชื่อมโยงอาเซียน ค.ศ.2025

แนะเสริมแกร่งให้เกษตรกร
      พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ประการที่สาม อาเซียนจะต้องเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ภาคการเกษตร เนื่องจากอาเซียนเป็นแหล่งอาหารสำคัญของโลก เกษตรกรในประเทศยังคงยากจน หากรัฐบาลไม่สนใจดูแลจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหารมากขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนี้ อาเซียนต้องร่วมมือกันให้ใกล้ชิดและบูรณาการให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น เช่น ปัญหามลพิษจากหมอกควันข้ามแดน เพื่อให้อาเซียนปลอดจากหมอกควันภายในปี 2563 และรัฐบาลควรพิจารณาจัดสรรหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าให้แก่ประชาชนเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ซึ่งไทยพร้อมจะสนับสนุนการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และประสบการณ์ในด้านนี้
   พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่าประการสำคัญสุดท้ายคือ การทำให้ประชาคมอาเซียนมีบทบาทอย่างสร้างสรรค์ในเวทีโลก โดยที่อาเซียนต้องเป็นประชาคมที่มองออกไปข้างนอก และสร้างเสริมความแข็งแกร่งจากภายใน มีความเป็นเอกภาพ ไทยพร้อมที่จะดำเนินบทบาทนำร่วมกับประเทศอาเซียนอื่นๆ เพื่อรักษาความเป็นแกนกลางและความสมดุลในการดำเนินความสัมพันธ์กับประเทศมหาอำนาจ

ลงนามต้านการค้ามนุษย์
      นายกฯกล่าวแสดงความยินดีที่มีการยกระดับความสัมพันธ์สหรัฐและนิวซีแลนด์เป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ของอาเซียน และหวังว่าความร่วมมือระหว่างกันจะเพิ่มพูนและเกิดผลเป็นรูปธรรมกับทั้งสองฝ่าย นอกจากนี้ ในฐานะผู้ประสานงานความสัมพันธ์อาเซียน-สหภาพยุโรป ไทยพร้อมทำหน้าที่ส่งเสริมความสัมพันธ์อาเซียน-สหภาพยุโรปไปสู่หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ นอกจากนี้ ไทยยืนยันสนับสนุนสปป.ลาว อย่างเต็มที่ในการเป็นประธานอาเซียนในปีหน้า ซึ่งเป็นปีที่สำคัญไม่น้อยไปกว่าปีนี้ เพราะจะมีการรับรองเอกสารที่สำคัญอีกสองฉบับคือ แผนงานข้อริเริ่มเพื่อการรวมตัวของอาเซียน ฉบับที่ 3 และแผนงานความเชื่อมโยงอาเซียน ค.ศ.2025 ซึ่งจะสานต่อความพยายามของเราในการลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเชื่อมโยงในทุกมิติ ทำให้อาเซียนเป็นประชาคมที่มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน
      จากนั้นเวลา 11.45 น. พล.อ.ประยุทธ์พร้อมผู้นำอาเซียนร่วมลงนามในอนุสัญญาอาเซียนว่าด้วยการต่อต้านการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะสตรีและเด็ก เพื่อเป็นการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนในการป้องกันและต่อต้านการค้ามนุษย์ โดยเน้นการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ที่ต้นเหตุ อาทิ การขจัดความยากจน การลดปัจจัยเกื้อหนุนและป้องกันการตกเป็นเหยื่อซ้ำ เป็นต้น

หนุนสัมพันธ์อาเซียน-จีน
     เวลา 13.30 น. พล.อ.ประยุทธ์ เข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน-จีน ครั้งที่ 18 ร่วมกับผู้นำชาติอาเซียน เลขาธิการอาเซียน และนายหลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีจีน โดย พล.อ.ประยุทธ์ได้ร่วมกำหนดทิศทางความสัมพันธ์และความร่วมมืออาเซียน-จีน และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศ พร้อมร่วมรับรองแผนปฏิบัติการตามปฏิญญาร่วมว่าด้วยการเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์อาเซียน-จีน พ.ศ. 2559-2563 และเห็นพ้องกับผู้นำที่เข้าร่วมให้จัดกิจกรรมฉลองครบรอบ 25 ปี ของความสัมพันธ์อาเซียน-จีนในปี 2559
       พล.ต.วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังการประชุมว่า นายกฯ กล่าวว่า ไทยจะร่วมมือกับประเทศสมาชิกอาเซียนในการพัฒนาความสัมพันธ์อาเซียน-จีนให้ใกล้ชิดแน่นแฟ้น ในสาขาที่แต่ละฝ่ายมีศักยภาพ ไทยหวังว่า จีนจะเสริมสร้างความร่วมมือกับอาเซียน ทั้งทางเศรษฐกิจ การเมือง ความมั่นคง และสังคมและวัฒนธรรมอย่างต่อเนื่องต่อไป เพราะอาเซียนที่เข้มแข็งย่อมเป็นผลดีของจีน


กฐินป้อม - พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ เป็นประธานพิธีทอดกฐินสามัคคีสมทบทุน 5.8 ล้านบาท สร้างพระมหาเจดีย์โฆสปัญโญศรีพนม เพื่อบรรจุอัฐิหลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ อดีตพระเกจิวิปัสสนากรรมฐานชื่อดังภาคอีสาน ที่วัด โฆสมังคลาราม จ.นครพนม เมื่อวันที่ 21 พ.ย.

      ทั้งนี้ ไทยพร้อมเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกับประเทศต่างๆ ในภูมิภาคและระหว่างภูมิภาค รวมทั้งร่วมมือกับประเทศที่สามในการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษตามแนวชายแดนระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อสร้างงานและกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค ซึ่งอาจมองว่าเป็นแนวทางความร่วมมือในลักษณะ 1+1+1 กล่าวคือ ระหว่าง 2 ประเทศสมาชิกอาเซียนกับ 1 ประเทศนอกภูมิภาค
     ผู้สื่อข่าวรายงานว่าพล.อ.ประยุทธ์ มีกำหนดเดินทางกลับถึงประเทศไทยในช่วงค่ำวันที่ 22 พ.ย.

'บิ๊กป้อม'ทอดกฐิน 65 ล้าน
      เมื่อเวลา 10.30 น. ที่วัดโฆสมังคลาราม จ.นครพนม พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม เป็นประธานในพิธีทอดกฐินสามัคคีสมทบทุนสร้างพระมหาเจดีย์โฆสปัญโญศรีพนม บ้านโคกสว่าง หมู่ 8 ต.โพนสวาง อ.ปลาปาก โดยมี พล.ท.ธวัช สุขปลั่ง แม่ทัพภาคที่ 2 พล.ต.อ. เฉลิมเกียรติ ศรีวรขาน รองผบ.ตร. พล.ต.ท. ศักดิ์ดา ชื่นภักดี ผู้ช่วย ผบ.ตร. นายสมชาย วิทย์ดำรงค์ช ผวจ.นครพนม นายอดิศักดิ์ เทพอาสน์ ผวจ.สกลนคร และประชาชนร่วมงานกว่า 2,000 คน ได้ยอดกฐินจำนวน 5,877,791 บาท และมีผู้มีจิตศรัทธาจากกรุงเทพฯ สมทบอีกจำนวน 60 ล้านบาท รวมได้ยอดทั้งสิ้น 65 ล้านบาท จากนั้นพล.อ.ประวิตร มอบอุปกรณ์กีฬาให้กับโรงเรียนต่างๆ ในพื้นที่ อ.ปลาปาก จำนวน 11 แห่ง
      สำหรับ วัดโฆสมังคลาราม เป็นวัดป่าที่หลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ อดีตพระเกจิวิปัสสนากรรมฐานชื่อดังภาคอีสาน วัดพระธาตุมหาชัย มีดำริสร้างเพื่อเก็บอัฐิหลังมรณภาพ ซึ่งหลังมรณภาพเมื่อปี 2546 สังขารยังตั้งอยู่ภายในศาลากลางเปรียญวัดธาตุมหาชัย มีพุทธศาสนิกชนไปกราบไหว้นานร่วม 12 ปีแล้ว

'วิษณุ'แย้มครม.จ่อชงร่างรธน.
     นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีให้สัมภาษณ์ถึงการส่งความเห็นเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญในส่วนของรัฐบาล ไปยังคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) หลังจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ส่งความเห็นไปให้กรธ.เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า รัฐบาลยังไม่ได้เสนอความเห็นไปยังกรธ. และคงใช้เวลาอีกระยะหนึ่งกว่าจะส่งไป ส่วนเนื้อหาที่จะเสนอ จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับอุปสรรคการทำงานของรัฐบาลในรัฐธรรมนูญ ที่ผ่านๆ มาว่าเป็นอย่างไร ควรปรับอย่างไร เพราะถึงเวลาที่จะแก้ไขกันสักที
    ผู้สื่อข่าวถามว่าประเด็นการเมืองที่มีการแสดงความเห็นกันในขณะนี้ ทั้งการเลือกตั้ง ส.ส. ที่มาและอำนาจส.ว. จะมีการเสนอหรือไม่ นายวิษณุกล่าวว่า คณะรัฐมนตรี(ครม.) คงไม่เสนอความเห็นในส่วนนี้ เพราะทราบว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่าง รอให้นิ่งก่อน ถึงอย่างไรในเดือน ม.ค.2559 เมื่อร่างรัฐธรรมนูญร่างแรกออกมา แล้วค่อยแสดงความคิดเห็น
      เมื่อถามถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราว เพื่อรองรับการทำประชามติ รองนายกฯ กล่าวว่า "คิดๆ ไว้อยู่แต่ยังไม่ขยับ เพราะยังมีเวลาอีกมาก 4 เดือนสุดท้ายในขั้นทำประชามติ ยังสามารถดำเนินการได้"

'มีชัย'ย้ำลดอำนาจส.ว.
     ที่โรงแรม เดอะสุโกศล สมาคมนักเรียนทุนรัฐบาลไทยร่วมกับมูลนิธิสมาคมนักเรียนทุนรัฐบาลไทยมอบเข็มทองคำเชิดชูเกียรติแก่ให้นักเรียนทุนรัฐบาลไทยดีเด่น ปี 2558 โดยนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) เป็นประธานมอบ ดังนี้ 1.สาขานิติศาสตร์ นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) 2.สาขาการต่างประเทศ นายดอน ปรมัตถ์วินัย รมว.ต่างประเทศ 3.สาขาบริหารการคลัง นายสถิต ลิ่มพงศ์พันธุ์ อดีตปลัดกระทรวงการคลัง สมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) 4.สาขาวิศวกรรมพลังงาน นายทวารัฐ สูตะบุตร ผอ.สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน 5.สาขาวิทยา ศาสตร์ นางพิมพ์ใจ ใจเย็น นักวิทยาศาสตร์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยา ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
     นายมีชัยให้สัมภาษณ์ถึงการร่างรัฐธรรมนูญในประเด็นที่จะไม่ให้อำนาจ ส.ว.ถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองโดยจะให้เป็นหน้าที่ขององค์กรเดิมที่มีอยู่ในรัฐธรรมนูญว่า ต้องแบ่งออกเป็น 2 ประเด็น คือ กรณีการทุจริตประพฤติมิชอบต่อหน้าที่จะให้เป็นอำนาจการพิจารณาของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ตามเดิม ซึ่งเมื่อป.ป.ช. พิจารณาและมีการชี้มูลความผิดแล้วบุคคลนั้นจะต้องพ้นจากตำแหน่งหน้าที่ทันที

ไร้ดาบถอดถอนนักการเมือง
   ส่วนประเด็นเรื่องคุณสมบัติ อาทิ การขาดคุณสมบัติและจริยธรรมของนักการเมือง เดิมเป็นอำนาจการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญอยู่แล้ว และหากมีผู้สงสัยว่า นักการเมืองที่ขาดคุณสมบัตินั้นลาออกจากตำแหน่งแล้วหรือไม่ สามารถยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญได้ ซึ่งไม่ใช่เรื่องใหม่และไม่ใช่การเพิ่มอำนาจให้ศาลรัฐธรรมนูญ แต่เป็นการเพิ่มคุณสมบัติ และการทำหน้าที่ของศาล ซึ่งเมื่อเป็นเช่นนี้ศาลรัฐธรรมนูญ จะสามารถวินิจฉัยนักการเมืองให้พ้นจากตำแหน่งได้ ดังนั้น จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเขียนกฎหมายเพื่อถอดถอนนักการเมืองอีก
    ผู้สื่อข่าวถามถึงประเด็นที่มาของนายกฯ ที่เปิดช่องให้คนนอก ซึ่งมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากนักการเมือง นายมีชัยกล่าวว่า เป็นความเข้าใจผิด เพราะกรธ.บัญญัติกฎหมายให้อำนาจพรรคการเมืองในการเสนอชื่อผู้ที่จะเป็นนายกฯ โดยประชาชนจะต้องรับรู้รายชื่อก่อนลงคะแนน
    นายมีชัยกล่าวถึงการลงพื้นที่คณะอนุกรรมการรับฟังและสรุปความคิดเห็นที่มีผู้เสนอแนะในกรธ.ร่วมกับสถาบันพระปกเกล้า เพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชนทั้ง 4 ภาค โดยเริ่มครั้งแรกเมื่อ วันที่ 22 พ.ย. ที่ จ.เชียงรายนั้น เชื่อว่า กรธ. รู้หน้าที่ของตนเองดีจึงไม่จำเป็นต้องให้แนว ทางอะไรเป็นพิเศษ ส่วนตนจะลงพื้นที่ในภาคที่เหลือหรือไม่นั้นจะต้องพิจารณาอีกครั้ง

'พรเพชร'แนะกรธ.ยึดหลักการ
      นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสนช. กล่าวถึงการร่างรัฐธรรมนูญภายใต้การนำของนายมีชัย ในช่วง 1 เดือนครึ่งที่ผ่านว่า ภาพรวมกรธ.ได้เสนอประเด็นใหม่ๆ อาทิ ที่มาของนายกฯ ระบบเลือกตั้ง เพื่อเป็นการทดสอบความเห็นของสังคม ซึ่งเห็นว่า กรธ.ก็คำนึงถึงสังคมไทยตามที่คสช. มีความเป็นห่วงในภายภาคหน้า ที่ไม่อยากให้เกิดปัญหากับการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตยและเน้นย้ำไม่ควรนำไปสู่การรัฐประหารหรือการเรียกร้องนายกฯ ตามมาตรา 7 ส่วนข้อเสนอ 10 ข้อที่คสช.เสนอต่อกรธ.เพื่อให้มีกลไกกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ ไม่ให้เกิดรัฐประหาร และล่าสุดนายกฯ ได้พูดย้ำในรายการคืนความสุขให้คนในชาติว่า ไม่ควรให้มีการเปลี่ยน แปลงจนนำไปสู่สภาพปัญหาแบบเดิม
    นายพรเพชร กล่าวว่า สนช.ก็ต้องเสนอความเห็นเกี่ยวกับการร่างรัฐธรรมนูญไปยังกรธ.เพื่อนำไปประกอบการร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นหน้าที่ของนายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัยรองประธานสนช.คนที่ 2 เป็นประธานทำหน้าที่รวบรวมความเห็นของสมาชิกสนช. ส่วนกรณีที่พรรคการเมืองเริ่มเคลื่อนไหวให้มีการประชุมพรรคการเมืองนั้นจะต้องรอคสช.ประเมินความมั่นใจก่อนว่าจะให้ประชุมพรรคได้หรือไม่ สำหรับกรณีที่พรรค การเมืองเริ่มขู่ที่จะไม่ให้ร่างรัฐธรรมนูญผ่านในชั้นประชามตินั้น กรธ.ต้องทำความเข้าใจ รับฟัง ประเมินผลดี ผลเสีย แต่จะทิ้งหลักการไม่ได้เช่นกัน ซึ่งตนมองว่าเป็นธรรมชาติของคนที่ฟังข้อเสนอใหม่ๆ ครั้งแรกอาจไม่เห็นด้วย แต่พอรับฟังและทำความเข้าใจแล้วต่อไปอาจจะเห็นด้วยก็ได้

สปท.ไม่เอาส.ส.บัญชีรายชื่อ
     นายวันชัย สอนศิริ โฆษกคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปด้านการเมือง สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) กล่าวว่า ในการประชุม กมธ.สัปดาห์ที่ผ่านมา ได้หารือเรื่องหัวใจที่จะทำให้การเลือกตั้งมีความสุจริตเที่ยงธรรม เพื่อให้เกิดการปฏิรูปทางการเมืองที่แท้จริง โดยเรื่องการเลือกตั้ง กมธ.ส่วนใหญ่เห็นตรงกันว่า ควรมีเฉพาะส.ส.เขตเพียง 400 คน เท่านั้น ไม่ควรมีส.ส.บัญชีรายชื่อ เพราะเป็นที่อิงแอบของนายทุนพรรค และไม่ใช่ตัวแทนที่แท้จริงของประชาชน แต่เป็นตัวแทนของหัวหน้าพรรคการเมืองในการระดมทุน จึงไม่จำเป็นต้องมีส.ส.บัญชีรายชื่อ
      ส่วนเรื่องเขตเลือกตั้งนั้น กมธ.เห็นตรงว่า ควรใช้ระบบวันแมนวันโหวต ใช้เขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้งคือ ผู้มีสิทธิลงคะแนนเลือกตั้ง 1 คน จะเลือกส.ส.ได้เพียง 1 คนเท่านั้น ไม่ว่าในจังหวัดนั้นจะมีส.ส. กี่คนก็ตาม ยก เว้นจังหวัดใหญ่ๆ เช่น กทม. ที่มีจำนวนส.ส. เป็นสิบๆ คน อาจใช้วิธีแบ่งเขตเลือกตั้งออกเป็นหลายเขต แต่ละเขต มีส.ส. 2-3 คน แต่ประชาชนสามารถเลือกส.ส.ได้เพียง 1 คนเช่นกัน วิธีเช่นนี้จะทำให้คะแนนไม่เสียเปล่า ผู้ที่ได้คะแนนรองๆลงไป ยังมีสิทธิ์ได้เป็นส.ส. และทำให้การซื้อเสียงทำได้ยากขึ้น เพราะเขตเลือกตั้งใหญ่ขึ้น

โกงเลือกตั้งติดคุกทันที
     นายวันชัย กล่าวว่า แนวทางดังกล่าวยังไม่ใช่ข้อสรุปอย่างเป็นทางการของกมธ.ด้านการเมือง เพราะจะนำแนวทางการปฏิรูปการเมืองเหล่านี้ไปหารือกับกรธ. และสนช.อีกครั้งว่า มีความเห็นอย่างไร เพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ตรงกัน จากนั้นกมธ.จึงจะสรุปเป็นมติอย่างเป็นทางการออกมา คาดว่าภายในวันที่ 30 พ.ย. กมธ.จะสรุปแนวทางปฏิรูปการเมืองส่งให้กรธ.พิจารณาได้ ส่วนแนวทางแก้ปัญหาการซื้อเสียงนั้น เบื้องต้นเท่าที่คุยเห็นตรงกันว่าจะต้องมีบทลงโทษที่รุนแรงเรื่องการซื้อเสียง เช่น การจำคุกโดยไม่รอลงอาญา ซึ่งจะต้องตัดสินคดีโดยรวดเร็วภายในเวลาไม่กี่ปี
     ด้านนายสมพงษ์ สระกวี กมธ.ขับเคลื่อนการปฏิรูปด้านการเมือง สปท.กล่าวว่า เสียงส่วนใหญ่ของกมธ.การเมืองเห็นตรงกันว่า ไม่ควรมีส.ส.บัญชีรายชื่อ แต่ยังมีสปท.ที่เป็นตัวแทนของพรรคการเมืองไม่เห็นด้วย จึงขอนำกลับไปหารือกับพรรคก่อน ส่วนเรื่อง อำนาจของส.ว.นั้น เท่าที่หารือกันนอกรอบ ส่วนใหญ่ไม่ขัดข้องกับแนวทางของกรธ.ที่จะให้ส.ว.มาจากการสรรหา โดยตัวแทนวิชาชีพต่างๆ เพราะไม่ต้องการให้เป็นสภาผัวเมีย และมีการใช้อิทธิพลทางการเมืองเข้ามาแทรกแซง แต่ส่วนตัวมองว่า อยากให้พบกันครึ่งทางคือ มีส.ว.เลือกตั้ง 120 คน และส.ว.สรรหา 80 คน จะเหมาะสมที่สุด

ปชป.ชงตั้งองค์กรกลางแก้วิกฤต
    นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีคสช.ส่งข้อเสนอ 10 ข้อต่อการร่างรัฐธรรมนูญ ให้กรธ.พิจารณาว่า ร่างรัฐธรรมนูญอาจแก้ปัญหาบ้านเมืองไม่ได้ทั้งหมด แต่เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญ ช่วยแก้ไขวิกฤตยามบ้านเมืองเกิดทางตันได้ เช่น ครั้งก่อนพอเกิดทางตันก็หยิบยกมาตรา 7 มาพูด ฝ่ายหนึ่งบอกขอเเต่งตั้ง นายกฯตามมาตรา 7 ได้ แต่อีกฝ่ายบอกตั้งไม่ได้ สุดท้ายทหารก็ออกมายึดอำนาจ ที่รู้เพราะวันนั้นก่อนยึดอำนาจตนอยู่ในเหตุ การณ์ด้วย ส่วนที่กรธ.มีเเนวคิดจะตัดมาตรา 7 บางส่วนไปใส่ไว้ในมาตราใดมาตราหนึ่งของรัฐธรรมนูญ เพื่อแก้วิกฤตทางตัน ตนอยากให้มีช่องทางพิเศษยามเกิดวิกฤต โดยไม่จำเป็นต้องตั้งเป็นองค์กรใหม่ไว้ในรัฐธรรมนูญ แต่อาจตั้งองค์กรกลางรวบรวมบุคคลจากองค์กรที่มีอยู่เดิมตามรัฐธรรมนูญ ร่วมทำหน้าที่เป็นองค์กรกลางเฉพาะกิจ รวบรวมข้อถกเถียง ข้อขัดเเย้ง ไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย เพราะในอดีตพอเกิดวิกฤตข้อถกเถียงจะส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความได้ยาก
      นายนิพิฏฐ์ กล่าวว่า ส่วนกรณีนายมีชัยระบุว่าการร่างรัฐธรรมนูญในประเด็นจะไม่ให้ส.ว.ทำหน้าที่ถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง แต่จะให้เป็นหน้าที่ขององค์กรในรัฐธรรมนูญนั้น เรื่องอำนาจถอนถอนเห็นตรงว่าไม่ควรให้เป็นหน้าที่ส.ว.ตั้งเเต่รัฐธรรมนูญปี 2540 ที่ให้วุฒิสภามาจากการเลือกตั้ง ถอดถอนไม่ได้เลย เพราะเกรงใจฐานเสียงที่มาจากของส.ส. ส่วนกรธ.จะเขียนให้อำนาจใครถอดถอน เป็นศาลรัฐธรรมนูญ หรือป.ป.ช.ก็สุดเเท้เเต่

พท.โวยหนักข้อไปใหญ่
     นายสามารถ แก้วมีชัย อดีตส.ส.เชียงราย พรรคเพื่อไทย ในฐานะคณะทำงานติดตามการร่างรัฐธรรมนูญกล่าวว่า ต้องถามกลับไปว่าที่มาทั้งป.ป.ช.หรือศาลรัฐธรรมนูญนั้นมาอย่างไร หากมาจากความเห็นชอบของส.ว.สรรหา จะเกิดข้อครหาอยู่ดีและไม่ยึดโยงกับประชาชน ยืนยันว่าหากส.ว.จะมาจากการสรรหาหรือแต่งตั้ง ควรมีหน้าที่เพียงกลั่นกรองกฎหมายเท่านั้น ไม่ต้องเข้ามายุ่งกับการถอดถอนหรือแต่งตั้งบุคคลในองค์กรตามรัฐธรรมนูญ แล้วให้สภาผู้แทนราษฎรซึ่งมาจากการเลือกตั้งของประชาชนได้ทำหน้าที่คัดเลือกบุคคลในองค์กรที่ทำหน้าที่ถอดถอนจะเหมาะสมกว่า
     "หากจะให้ส.ว.ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งของประชาชนมีอำนาจแต่งตั้งบุคคลในองค์กรตามรัฐธรรมนูญ เท่ากับว่าเป็นการให้ใช้อำนาจเต็มแทนส.ว.ได้ แบบนี้ยิ่งหนักข้อไปกันใหญ่ ถ้าอย่างนั้นกรธ.ควรปรับแก้ถ้อยคำในรัฐธรรมนูญด้วยที่ว่า ส.ส.และส.ว.เป็นผู้แทนของปวงชนชาวไทย เพราะ ส.ว.ไม่ได้ยึดโยงกับประชาชน แบบนี้เหมือนเขียนหลอกชาวบ้าน" นายสามารถกล่าว

จี้นายกฯเลิกจำกัดสิทธิ
    ส่วนนายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล แกนนำพรรคเพื่อไทย กล่าวว่าอยากฝากถึงพล.อ.ประยุทธ์ ว่าที่ท่านได้มีโอกาสพูดกับนายบารัก โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐ และบอกว่าท่านเข้าใจถึงความซับซ้อนทางการเมืองในไทย และสหรัฐห่วงเรื่องความละเอียดอ่อนด้านสิทธิมนุษยชนในไทยด้วย จึงอยากขอให้นายกฯรีบแสดงออกให้สหรัฐได้เห็นว่าภายใต้การบริหารและการนำของท่าน ได้ให้สิทธิเสรีภาพคนไทยทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน เช่น ไม่ควรสั่งห้ามการเดินทางออกนอกประเทศของอดีตนักการเมืองและอดีตรัฐมนตรีของพรรคเพื่อไทย ควรอนุญาตให้มีการแสดงความคิดเห็นภายใต้หลักการประชาธิปไตยของกลุ่มการเมืองและกลุ่มนักศึกษา กลุ่มประชาชนต่างๆ และควรยกเลิกคำสั่งห้ามไม่ให้มีการประชุมพรรค เป็นต้น จะทำให้ภาพลักษณ์ของพล.อ. ประยุทธ์ดีขึ้นในสายตาผู้นำโลกทันที
     "ยิ่งช่วงนี้เป็นช่วงที่อยู่ระหว่างการยกร่างรัฐธรรมนูญโดยกรธ. และเป็นช่วงที่อยู่ระหว่างการเปิดรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนยิ่งจะเป็นการดี ประชาชนจะได้มีส่วนร่วมในการร่างรัฐธรรมนูญ และที่สำคัญคือสหรัฐกำลังจับตาดูว่าการเลือกตั้งของไทยจะเป็นไปตามโรดแม็ปที่พล.อ. ประยุทธ์ประกาศไว้ในเวทีต่างๆ หรือไม่ และเขาติดตามดูว่ารัฐธรรมนูญ จะผ่านความเห็นชอบในการทำประชามติหรือไม่ หรือจะกลายเป็นหมันเหมือนฉบับนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ถ้าหากเป็นแบบเดิมประเทศไทยคงจะเจอแต่ปัญหาตามมาอีกมากมายจนยากจะคาดเดาได้" นายสุรพงษ์กล่าว

ตร.คุมน.ศ.จัดนิทรรศการ
    เมื่อเวลา 13.00 น. ที่หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ขบวนการประชาธิปไตยใหม่จัดงาน "นิทรรศการลายพรางโกงชาติ" ซึ่งก่อนเริ่มงานเจ้าหน้าที่ตำรวจได้เดินทางมายังสถานที่จัดงานโดยกันบอร์ดนิทรรศการจำนวนหนึ่งออก ทางกลุ่มขบวนการประชาธิปไตยใหม่จึงเข้าเจรจาและยินยอมนำบอร์ดที่แสดงเนื้อหาตั้งคำถามการคอร์รัปชั่นในกองทัพออก อาทิ การจัดซื้อเรือดำน้ำ เครื่องตรวจวัตถุระเบิดจีที 200 เรือเหาะ เครื่องบินขับไล่ JAS-39 Gripen และกรณีอุทยานราชภักดิ์
   นิทรรศการคงเหลือเพียงบอร์ดเดียวคือข้อมูลที่แสดงถึงการคอร์รัปชั่นในยุคจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และข้อเสนอให้ปฏิรูปกองทัพที่ทางกลุ่มได้เสนอไปแล้วก่อนหน้านี้ นอกจากนี้ขบวนการประชาธิปไตยใหม่ยังได้แจกวารสาร "ก้าวข้าม" ของทางกลุ่ม โดยปรากฏรูปอุทยานราชภักดิ์ด้วย
     ต่อมาเวลา 13.30 น. มีงานเสวนา 'จอมพลสฤษดิ์และมรดกที่ประกอบสร้างจากยุคพัฒนา' ซึ่งผู้จัดงานชี้แจงว่า มีความจำเป็นต้องเปลี่ยนหัวข้อเป็น "ห้องเรียนประชาธิป ไตยบทที่สาม จอมพลสฤษดิ์ศึกษา" โดยมีวิทยากรคือ นายพิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ น.ส.ปองขวัญ สวัสดิภักดิ์ อาจารย์คณะ รัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ นายศุภวิทย์ ถาวรบุตร อาจารย์คณะศิลปศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ และนายภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์ อาจารย์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.ราชภัฏลำปาง

ตัดไฟ-ปิดแอร์ในหอประชุม
      จากนั้นเวลา 16.30 น. มีการฉายภาพยนตร์ต่อด้วยการอ่านบทกวีและประมูลอาวุธของเล่นที่นำมาแสดงในนิทรรศการ ต่อด้วยนายอานนท์ นำภา ทนายความสิทธิมนุษยชน ขึ้นพูดเกี่ยวข้องกับคดีนายสุริยันต์ สุจริตพลวงศ์ และอุทยานราชภักดิ์ ทางเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบจึงแจ้งกับผู้จัดงานว่า เนื้อหามีความรุนแรงและมีการปราศรัยจึงจะทำการหรี่ไฟและปิดแอร์ห้องประชุมกระทั่งเวลา 18.35 น. เจ้าหน้าที่จึงปิดไฟ หอประชุม สร้างความแตกตื่นให้แก่ผู้ร่วมงานเป็นอย่างมาก ทาง ผู้จัดงานจึงย้ายออกมาปราศรัยต่อด้านหน้าหอประชุมศรีบูรพา ท่ามกลางการสังเกตการณ์จากเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบ
    นายรังสิมันต์ โรม สมาชิกขบวนการประชาธิปไตยใหม่ กล่าวว่า รู้สึกผิดหวังกับเจ้าหน้าที่ที่มีการปิดไฟไล่ กลุ่มตนนำปัญหามาเสนอแนะ แต่กองทัพกลับบังคับมหาวิทยาลัยให้ตัดไฟห้องประชุม ทั้งที่มีหนังสืออนุญาตโดยทางกลุ่มยอมนำบอร์ดนิทรรศการออกและเปลี่ยนชื่องานเสวนาเพื่อให้จัดงานต่อได้ แต่ก็ไม่มีความหมาย
     ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทางผู้จัดงานทำการประมูลอาวุธของเล่นจากนิทรรศการต่อในบรรยากาศรื่นเริง จากนั้นจึงร่วมกันร้องเพลงและแยกย้ายกลับ

พท.จี้ฟิลลิปมอร์ริสรายงานตัว
     เมื่อวันที่ 21 พ.ย. ที่พรรคเพื่อไทย นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร รักษาการรองโฆษกพรรคเพื่อไทย แถลงเรียกร้องให้ พล.อ.ประยุทธ์ แนะนำให้ บริษัทฟิลลิป มอร์ริส ไทยแลนด์ ลิมิเต็ด ไปรายงานตัวต่ออัยการสูงสุด (อสส.) เพื่อส่งฟ้องคดีต่อศาลอาญาในวันที่ 25 พ.ย.นี้ ทั้งนี้ สืบเนื่องจาก อสส.ได้มีคำสั่งฟ้องเด็ดขาดให้ฟ้องคดี บริษัทฟิลลิปฯ และผู้ต้องหาหลายรายในฐานความผิดร่วมกันเกี่ยวข้องด้วยประการใดๆ ในการหลีกเลี่ยง หรือพยายามหลีกเลี่ยงค่าภาษีศุลกากรตาม ม.27 พ.ร.บ.ศุลกากร 2469 และประมวลกฎหมายอาญา ม.83 ม.91 (จำนวน 274 ใบขนสินค้าขาเข้า) ขณะที่ บริษัทฟิลลิปฯยังคงอ้างเรื่องข้อพิพาทที่องค์การการค้าโลก(ดับเบิลยูทีโอ) ระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลฟิลิปปินส์ ซึ่งบริษัท ฟิลลิปฯควรหยุดอ้างเรื่องข้อพิพาทดังกล่าวได้แล้ว เพราะจากการที่นายกฯ ไปประชุม เอเปกที่ประเทศฟิลิปปินส์ ตนไม่เห็นข่าวว่าทางรัฐบาลฟิลิปปินส์จะพูดเรื่องปัญหาภาษี ของบริษัทฟิลลิปฯแต่อย่างใด
     นายยุทธพงศ์ กล่าวว่า ส่วนที่ บริษัทฟิลลิปฯ ร้องขอความเป็นธรรมไปยัง พล.อ.ประยุทธ์ กระทั่งมอบหมายให้นายวิษณุ เครืองาม รองนายกฯ และพล.อ.วิลาศ อรุณศรี เลขาธิการนายกฯ เข้ามาดำเนินการในเรื่องนี้ กระทั่งนายวิษณุระบุว่าสำนักนายกฯ จะมีหนังสือแจ้งให้สำนักงาน อสส. ได้ทราบถึงเหตุผล และข้อมูลเพิ่มเติม ก่อนวันที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีพิเศษนัดผู้ต้องหามารายงานตัวเพื่อจะส่งฟ้องคดี ตนเห็นว่าเหลือเวลาแค่อีก 4 วัน เชื่อว่านายวิษณุคงไม่ทำหนังสือสำนักนายกฯ มาถึง อสส.อย่างแน่นอน เพราะจะเป็นการที่ฝ่ายบริหารก้าวล่วงกระบวนการยุติธรรมทางอาญา โดยไม่มีอำนาจที่จะกระทำได้ และการทำหนังสือดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ในการช่วยเหลือผู้ต้องหาในคดีอาญานี้
      นายยุทธพงศ์ กล่าวว่า ขอเรียกร้องทั้ง พล.อ.ประยุทธ์ นายวิษณุ และ พล.อ.วิลาศ ควรตอบหนังสือขอความเป็นธรรมไปยัง บริษัทฟิลลิปฯและผู้ต้องหาทั้งหมด ว่าให้ไปรายงานตัวตามนัดหมายของอัยการเพื่อฟ้องคดี ในวันที่ 25 พ.ย. จะเป็นเรื่องที่ถูกต้องและเหมาะสมที่สุดตามที่นายกฯ มักระบุว่าใครถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดให้เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมเหมือนคดีจำนำข้าว คดีนี้ก็ควรใช้มาตรฐานเดียวกันในการนำเงินภาษีจำนวน 6.8 หมื่นล้านบาทมาคืนให้กับประเทศชาติ
    นายยุทธพงศ์ กล่าวว่า หากถึงกำหนดนัดฟ้องคดีแล้ว บ.ฟิลลิปฯ และผู้ต้องหาฯ ไม่ไปตามนัดหมายของพนักงานอัยการฯ ตนจะเดินทางไปที่ อสส.ในวันที่ 26 พ.ย.นี้ เวลา 11.00 น. เพื่อยื่นหนังสือต่อ ร.ต.ต.พงษ์นิวัฒน์ ยุทธภัณฑ์บริภาร อสส.เพื่อขอให้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม.141 โดยให้จัดการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อให้ได้ตัวผู้ต้องหามา เพื่อส่งฟ้องศาลฯ
    "เห็นนายวิษณุไปปาฐกถาพิเศษเรื่องยกเครื่องฝ่ายตรวจทุจริตเมื่อวันที่ 20 พ.ย.ที่ผ่านมา แนะปฏิรูปกฎหมาย กระบวนการ จิตสำนึกที่สำนักงาน ป.ป.ช.ให้นักศึกษาหลักสูตรนักบริหารยุทธศาสตร์การป้องกันและปราบปรามการทุจริตระดับสูงรุ่นที่ 6 ดังนั้นขอเรียนนายวิษณุให้ช่วยเอาบริษัทฟิลลิปฯ มาเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมของศาล ก่อนที่นายวิษณุจะไปปฏิรูปอย่างอื่น หวังว่านายวิษณุจะไม่เห็นว่าจะมีประโยชน์อะไรมากไปกว่าการนำเงินภาษี จำนวน 6.8 หมื่นล้านบาท มาคืนให้กับประเทศชาติ"นายยุทธพงศ์กล่าว

 

บิ๊กป้อมปธ.ทอดกฐิน ฮือฮา 65 ล. ถวายวัดดัง'ปู่คำพันธ์'

      สปท.เสนอเลิกปาร์ตี้ลิสต์ เลือก 400 ส.ส.เขตใหญ่แบบวันแมนวันโหวต ครม.รอเสนอหลังเห็นร่างแรก อดีต ป.ป.ช.ค้านติดดาบ ป.ป.ช. ชี้ถอดถอน-ตัดสิทธิการเมืองเหมือนประหารชีวิต ให้เป็นหน้าที่ของตุลาการดีกว่า

มติชนออนไลน์ :

ทอดกฐิน - พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม เป็นประธานทอดกฐินสามัคคีเพื่อสมทบทุนสร้างพระรัตนบรมธาตุเจดีย์ ศรีพนม โฆสปัญโญ ถวายแด่หลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ ที่ จ.นครพนม เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน

@ ครม.เล็งส่งความเห็นร่างรธน.

      เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงการส่งความเห็นเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญในส่วนของรัฐบาลไปยังคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) หลังจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ส่งความเห็นไปให้ กรธ.เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า รัฐบาลยังไม่ได้เสนอความเห็นไปยัง กรธ. คงใช้เวลาอีกระยะหนึ่งก่อนจะส่งไป ส่วนเนื้อหาที่จะเสนอจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับอุปสรรคการทำงานของรัฐบาลในรัฐธรรมนูญที่ผ่านๆ มาว่าเป็นอย่างไร ควรปรับอย่างไร เพราะถึงเวลาที่จะแก้ไข

      ผู้สื่อข่าวถามถึงประเด็นการเมืองที่มีการหยิบยกขึ้นมาในสังคมขณะนี้ ทั้งการเลือกตั้ง ส.ส. การได้มาซึ่ง ส.ว. และผู้จะทำหน้าที่ถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง จะมีการเสนอไปหรือไม่ นายวิษณุกล่าวว่า ครม.คงไม่เสนอความเห็นในส่วนนี้ เพราะทราบว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่าง รอให้นิ่งก่อน ถึงอย่างไรในเดือนมกราคม 2559 เมื่อร่างรัฐธรรมนูญร่างแรกออกมาแล้วค่อยแสดงความคิดเห็น เมื่อถามถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราวเพื่อรองรับการทำประชามติ นายวิษณุกล่าวว่า "คิดๆ ไว้อยู่แต่ยังไม่ขยับ เพราะยังมีเวลาอีกมาก 4 เดือนสุดท้ายในขั้นทำประชามติยังสามารถดำเนินการได้" 

@ "มีชัย"แจงอำนาจถอดถอน

     นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธาน กรธ. ให้สัมภาษณ์ภายหลังเป็นประธานมอบเข็มทองคำเชิดชูเกียรติแก่ให้นักเรียนทุนรัฐบาลไทยดีเด่น ปี 2558 ที่สมาคมนักเรียนทุนรัฐบาลไทยร่วมกับมูลนิธิสมาคมนักเรียนทุนรัฐบาลไทยจัดขึ้นที่โรงแรมเดอะสุโกศล ว่าการร่างรัฐธรรมนูญในประเด็นที่จะไม่ให้ ส.ว.มีอำนาจในการถอดถอน แต่จะให้เป็นหน้าที่ขององค์กรเดิมที่มีอยู่ในรัฐธรรมนูญว่า ต้องแบ่งออกเป็น 2 ประเด็น คือ กรณีการทุจริตประพฤติมิชอบต่อหน้าที่ จะให้เป็นอำนาจการพิจารณาของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ตามเดิม เมื่อ ป.ป.ช.พิจารณาและมีการชี้มูลความผิดแล้วบุคคลนั้นจะต้องพ้นจากตำแหน่งหน้าที่ทันที 

   นายมีชัย กล่าวว่า ส่วนประเด็นเรื่องของคุณสมบัติ อาทิ การขาดคุณสมบัติและจริยธรรมของนักการเมือง เดิมเป็นอำนาจการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญอยู่แล้ว และหากมีผู้สงสัยว่านักการเมืองที่ขาดคุณสมบัตินั้นลาออกจากตำแหน่งแล้วหรือไม่ ก็สามารถยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญได้ ซึ่งไม่ใช่เรื่องใหม่และไม่ใช่การเพิ่มอำนาจให้ศาลรัฐธรรมนูญ แต่เป็นการเพิ่มคุณสมบัติและการทำหน้าที่ของศาล เมื่อเป็นเช่นนี้ศาลรัฐธรรมนูญจะสามารถวินิจฉัยนักการเมืองให้พ้นจากตำแหน่งได้ ดังนั้นจึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเขียนกฎหมายเพื่อถอดถอนนักการเมืองอีก

@ ชี้เข้าใจผิดปมที่มานายกฯ 

     ผู้สื่อข่าวถามถึงประเด็นที่มาของนายกรัฐมนตรีที่เปิดช่องให้คนนอกเป็นนายกรัฐมนตรีได้ ซึ่งมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากนักการเมือง นายมีชัยกล่าวว่า เป็นความเข้าใจผิด เพราะ กรธ.บัญญัติกฎหมายให้อำนาจพรรคการเมืองในการเสนอชื่อผู้ที่จะเป็นนายกรัฐมนตรี โดยประชาชนจะต้องรับรู้รายชื่อก่อนลงคะแนน

   นายมีชัย ยังกล่าวถึงการลงพื้นที่ของคณะอนุกรรมการรับฟังและสรุปความคิดเห็นที่มีผู้เสนอแนะให้ กรธ.ร่วมกับสถาบันพระปกเกล้า เพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชนทั้ง 4 ภาค โดยจะเริ่มครั้งแรกในวันที่ 22 พฤศจิกายน ที่ จ.เชียงราย ว่า กรธ.รู้หน้าที่ของตนเองดี จึงไม่จำเป็นต้องให้แนวทางอะไรเป็นพิเศษ ส่วนตนจะลงพื้นที่ในภาคที่เหลือหรือไม่นั้นจะต้องพิจารณาอีกครั้ง

@'นิพิฏฐ์'ชงองค์กรกลางฝ่าวิกฤต 

    นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) กล่าวถึงกรณี คสช.ส่งข้อเสนอ 10 ข้อ เกี่ยวกับการร่างรัฐธรรมนูญให้ กรธ.พิจารณาว่า ร่างรัฐธรรมนูญอาจแก้ปัญหาบ้านเมืองไม่ได้ทั้งหมด แต่เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญ ช่วยแก้ไขวิกฤตยามบ้านเมืองเกิดทางตันได้ เช่น ครั้งก่อนพอเกิดทางตันก็หยิบยกมาตรา 7 มาพูด ฝ่ายหนึ่งบอกขอเเต่งตั้งนายกฯตามมาตรา 7 ได้ แต่อีกฝ่ายไม่ยอม บอกตั้งไม่ได้ สุดท้ายทหารออกมายึดอำนาจ ที่รู้เพราะวันนั้น ก่อนยึดอำนาจ เพราะอยู่ในเหตุการณ์ด้วย 

     นายนิพิฏฐ์กล่าวว่า ส่วนที่ กรธ.มีเเนวคิดจะตัดมาตรา 7 บางส่วนไปใส่ไว้ในมาตราใดมาตราหนึ่งของรัฐธรรมนูญเพื่อแก้วิกฤตทางตันนั้น อยากให้มีช่องทางพิเศษยามเกิดวิกฤต โดยไม่จำเป็นต้องตั้งเป็นองค์กรใหม่ไว้ในรัฐธรรมนูญ แต่อาจตั้งองค์กรกลางรวบรวมบุคคลจากองค์กรที่มีอยู่เดิมตามรัฐธรรมนูญ ร่วมทำหน้าที่เป็นองค์กรกลางเฉพาะกิจ รวบรวมข้อถกเถียง ข้อขัดเเย้งไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย เพราะในอดีตพอเกิดวิกฤตข้อถกเถียง จะส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความได้ยาก 

@'สามารถ'ถามที่มาองค์กรอิสระ

      นายสามารถ แก้วมีชัย อดีต ส.ส.เชียงราย พรรคเพื่อไทย (พท.) ในฐานะคณะทำงานติดตามการร่างรัฐธรรมนูญ พท. กล่าวถึงกรณีที่ กรธ.ระบุว่าให้มีองค์กรทำหน้าที่ถอดถอนแทน ส.ว. เช่น ป.ป.ช.ดูแลคดีทุจริต หรือศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้วินิจฉัยเรื่องคุณสมบัติ ว่าต้องถามกลับไปว่าแล้วที่มาทั้ง ป.ป.ช.หรือศาลรัฐธรรมนูญนั้นมาอย่างไร หากมาจากความเห็นชอบของ ส.ว.สรรหา จะเกิดข้อครหาอยู่ดีและไม่ยึดโยงกับประชาชน ทั้งนี้ยืนยันว่าหาก ส.ว.จะมาจากการสรรหาหรือแต่งตั้ง ควรมีหน้าที่เพียงกลั่นกรองกฎหมายเท่านั้น ไม่ต้องเข้ามายุ่งกับการถอดถอนหรือแต่งตั้งบุคคลในองค์กรตามรัฐธรรมนูญ แล้วให้สภาผู้แทนราษฎรซึ่งมาจากการเลือกตั้งของประชาชน ได้ทำหน้าที่คัดเลือกบุคคลในองค์กรที่ทำหน้าที่ถอดถอนจะเหมาะสมกว่า

      "หากจะให้ ส.ว.ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งของประชาชนมีอำนาจแต่งตั้งบุคคลในองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ก็เท่ากับว่าเป็นการให้อำนาจ สามารถใช้อำนาจเต็มแทน ส.ว.ได้ แบบนี้ยิ่งหนักข้อไปกันใหญ่ ถ้าอย่างนั้น กรธ.ควรปรับแก้ถ้อยคำในรัฐธรรมนูญด้วยที่ว่า ส.ส.และ ส.ว.เป็นผู้แทนของปวงชนชาวไทย เพราะ ส.ว.ไม่ได้ยึดโยงกับประชาชน แบบนี้เหมือนเขียนหลอกชาวบ้าน" นายสามารถกล่าว

@'สดศรี'ให้ศาลยุติธรรมถอดถอน

      นางสดศรี สัตยธรรม อดีตคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กล่าวถึงกรณีที่ กรธ.เสนอให้อำนาจองค์กรอิสระในการถอดถอนแทน ส.ว.ว่า การที่ศาลก็ดีหรือว่าองค์กรอิสระก็ดี เป็นผู้ที่ตัดสินโดยกลุ่มบุคคลเพียงกลุ่มเดียวเท่านั้น โดยองค์กรต่างๆ จะมีไม่เกิน 9 คน อย่าง กกต. 7 คน ศาลรัฐธรรมนูญ 9 คน ทีนี้การที่จะมีการตัดสินโดยกลุ่มบุคคลจำนวนน้อยขนาดนี้แล้วไม่มีการดำเนินการต่อ อาจจะเป็นการไม่เป็นธรรมกับฝ่ายนักการเมือง ถ้าเป็นไปได้องค์กรอิสระควรเป็นเพียงองค์กรตรวจสอบ เช่น จะให้ศาลถอดถอนก็ควรมีการตรวจสอบหรือสอบสวนก่อนว่า 

      ผู้ที่จะถูกถอดถอนทำความผิดจริงหรือไม่ ทั้งนี้ ต้องดูว่าองค์กรอิสระเหล่านี้ตั้งขึ้นมาเพื่อกิจการทางการเมืองโดยเฉพาะ จะเป็นไปได้ไหมที่จะให้องค์กรที่ไม่ใช่องค์กรอิสระ แต่เป็นศาลยุติธรรมที่มีอยู่ 3 ศาล เป็นผู้พิจารณาถอดถอน น่าจะเป็นวิธีการที่ถูกต้องมากกว่า 

      "สรุปคือให้อำนาจองค์กรอิสระในการตรวจสอบ แล้วให้อำนาจศาลยุติธรรมในการถอดถอน ทั้งนี้ กรณีศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองก็เช่นกัน ทีมีการตัดสินเพียงชั้นเดียว ทั้งที่เป็นคดีที่มีความละเอียดอ่อนควรจะมีการพิจารณา 3 ศาล จะได้ตรวจสอบกันได้ละเอียด และให้ความเป็นธรรมกับผู้ที่จะถูกถอดถอนมากยิ่งขึ้น" นางสดศรีกล่าว 

@ อดีตปปช.ค้านติดดาบปปช.

       น.ส.สมลักษณ์ จัดกระบวนพล อดีต ป.ป.ช. กล่าวถึงกรณีที่ กรธ.เสนอให้อำนาจองค์กรอิสระคือ ป.ป.ช.และศาลรัฐธรรมนูญ ในการถอดถอนแทน ส.ว.ว่าไม่ค่อยเห็นด้วย โดยเหตุผลคือการถอดถอนมักจะมีบทต่อไปว่า ห้ามดำรงตำแหน่งทางการเมืองกี่ปีๆ ซึ่งจะเป็นการลงโทษอย่างหนึ่ง แล้วการลงโทษนี้แม้ว่าจะไม่ใช่การลงโทษทางอาญา แต่มีผลในลักษณะเหมือนการลงโทษทางอาญา โดยเคยพูดเสมอว่าเป็นการประหารชีวิตของนักการเมือง ดังนั้น การที่คนจะใช้กฎหมายในการลงโทษใคร คิดว่าเป็นอำนาจของทางฝ่ายตุลาการมากกว่า คือน่าจะให้ศาลเป็นผู้ดำเนินการ โดยอาจจะมีศาลพิเศษอะไรขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่ตรงนี้โดยเฉพาะ อย่างเช่นแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง 

      "การใช้อำนาจทางกระบวนการยุติธรรมน่าจะเหมาะสมกว่า นอกจากนี้ต้องดูประกอบกับที่มาขององค์กรอิสระด้วย เพราะหากไม่ได้มาจากประชาชนก็จะมีข้อกล่าวหาอีกว่าไม่สมควร" น.ส.สมลักษณ์กล่าว

@ สปท.หนุนเลิกส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์

      นายสมพงษ์ สระกวี คณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปด้านการเมือง สมาชิก สปท. กล่าวว่า เสียงส่วนใหญ่ของ กมธ.การเมืองเห็นตรงกันว่า ไม่ควรมี ส.ส.บัญชีรายชื่อ เนื่องจากมองว่า ส.ส.บัญชีรายชื่อในปัจจุบันไม่ได้เป็นตัวแทนประชาชนอย่างแท้จริง แต่เป็นตัวแทนจากนายทุนพรรค มีหน้าที่จ่ายเงินเพื่อเป็นรัฐมนตรี ขัดหลักการของ ส.ส.บัญชีรายชื่อที่อยากได้คนดี มีความสามารถ อย่างไรก็ตามยังมี สปท.ที่เป็นตัวแทนของพรรคการเมืองไม่เห็นด้วยกับแนวทางดังกล่าว จึงขอนำกลับไปหารือกับพรรคก่อน ส่วนเรื่องอำนาจของ ส.ว.นั้น กมธ.ยังไม่ได้หารืออย่างเป็นทางการ แต่เท่าที่หารือกันนอกรอบ ส่วนใหญ่ไม่ขัดข้องกับแนวทางของ กรธ.ที่จะให้ ส.ว.มาจากการสรรหา โดยตัวแทนวิชาชีพต่างๆ เพราะไม่ต้องการให้เป็นสภาผัวเมีย และมีการใช้อิทธิพลทางการเมืองเข้ามาแทรกแซง แต่ส่วนตัวมองว่าอยากให้พบกันครึ่งทางคือ มี ส.ว.เลือกตั้ง 120 คน และ ส.ว.สรรหา 80 คน จะเหมาะสมที่สุด

@ ดันส.ส.400-วันแมนวันโหวต

     นายวันชัย สอนศิริ โฆษกคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปด้านการเมือง สมาชิก สปท. กล่าวว่า การประชุม กมธ.สัปดาห์ที่ผ่านมา ที่ประชุมหารือกันเรื่องหัวใจที่จะทำให้การเลือกตั้งมีความสุจริตเที่ยงธรรม เพื่อให้เกิดการปฏิรูปทางการเมืองที่แท้จริง โดยในเรื่องการเลือกตั้ง กมธ.ส่วนใหญ่เห็นตรงกันว่าควรมีเฉพาะ ส.ส.เขตเพียง 400 คนเท่านั้น ไม่ควรมี ส.ส.บัญชีรายชื่อ เพราะเป็นที่อิงแอบของนายทุนพรรค และไม่ใช่ตัวแทนที่แท้จริงของประชาชน แต่เป็นตัวแทนของหัวหน้าพรรคการเมืองในการระดมทุน

       "เรื่องเขตเลือกตั้ง กมธ.เห็นตรงกันว่าควรใช้ระบบวันแมนวันโหวต ใช้เขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้งคือ ผู้มีสิทธิลงคะแนนเลือกตั้ง 1 คน จะเลือก ส.ส.ได้เพียง 1 คนเท่านั้น ไม่ว่าในจังหวัดนั้นจะมี ส.ส.กี่คนก็ตาม ยกเว้นจังหวัดใหญ่ๆ เช่น กทม. ที่มีจำนวน ส.ส.เป็นสิบๆ คน อาจใช้วิธีแบ่งเขตเลือกตั้งออกเป็นหลายเขต แต่ละเขตมี ส.ส. 2-3 คน แต่ประชาชนสามารถเลือก ส.ส.ได้เพียง 1 คนเช่นกัน วิธีเช่นนี้จะทำให้คะแนนไม่เสียเปล่า ผู้ที่ได้คะแนนรองๆ ลงไปยังมีสิทธิได้เป็น ส.ส. และทำให้การซื้อเสียงทำได้ยากขึ้น เพราะเขตเลือกตั้งใหญ่ขึ้น" นายวันชัยกล่าว และว่า แนวทางดังกล่าวยังไม่ใช่ข้อสรุปอย่างเป็นทางการของ กมธ.ด้านการเมือง เพราะจะนำไปหารือกับ กรธ.และ สนช.อีกครั้งว่ามีความเห็นอย่างไร เพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ตรงกัน จากนั้น กมธ.จึงจะสรุปเป็นมติอย่างเป็นทางการออกมา คาดว่าภายในวันที่ 30 พฤศจิกายนนี้ กมธ.จะสรุปแนวทางปฏิรูปการเมืองส่งให้ กรธ.พิจารณาได้

@ พรเพชรชี้กรธ.ทดสอบสังคม 

      นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) กล่าวถึงการร่างรัฐธรรมนูญภายใต้การนำของนายมีชัย ในช่วง 1 เดือนครึ่งที่ผ่านว่า ภาพรวม กรธ.ได้เสนอประเด็นใหม่ๆ อาทิ ที่มาของนายกรัฐมนตรี ระบบเลือกตั้ง เพื่อเป็นการทดสอบความเห็นของสังคม ซึ่งเห็นว่า กรธ.คำนึงถึงสังคมไทยตามที่ คสช.มีความเป็นห่วงในภายภาคหน้า ที่ไม่อยากให้เกิดปัญหากับการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตย และเน้นย้ำไม่ควรนำไปสู่การรัฐประหารหรือการเรียกร้องนายกฯตามมาตรา 7

     นายพรเพชรกล่าวว่า สนช.ต้องเสนอความเห็นเกี่ยวกับการร่างรัฐธรรมนูญไปยัง กรธ. โดยนายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธาน สนช.คนที่ 2 ทำหน้าที่รวบรวมความเห็นของ สนช. ทั้งนี้ สนช.ต้องศึกษาถึงความเข้าใจ แนวคิดและหลักการของ กรธ.ก่อน เพื่อให้ได้ข้อเสนอที่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของ กรธ. อีกทั้ง สนช.จะต้องเข้าร่วมร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญด้วย 

@ "ปึ้ง"ขอนายกฯให้เสรีภาพปชช.

     นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล อดีตรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า อยากฝากถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯและหัวหน้า คสช. ว่าที่นายกฯได้มีโอกาสพูดกับนายบารัค โอบามา ประธานาธิปดีสหรัฐ และบอกว่านายบารัคเข้าใจถึงความซับซ้อนทางการเมืองในไทย และสหรัฐห่วงเรื่องความละเอียดอ่อนด้านสิทธิมนุษยชนในไทยด้วยนั้น จึงอยากจะขอให้นายกฯรีบแสดงออกให้สหรัฐได้เห็นว่าภายใต้การบริหารและการนำของนายกฯ ได้ให้สิทธิเสรีภาพให้คนไทยทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน เช่น ไม่ควรสั่งห้ามการเดินทางออกนอกประเทศของอดีตนักการเมืองและอดีตรัฐมนตรีของพรรคเพื่อไทย (พท.) ควรอนุญาตให้มีการแสดงความคิดเห็นภายใต้หลักการประชาธิปไตยของกลุ่มการเมืองและกลุ่มนักศึกษา กลุ่มประชาชนต่างๆ ได้ ยกเลิกคำสั่งห้ามไม่ให้มีการประชุมพรรค เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ภาพลักษณ์ของ พล.อ.ประยุทธ์จะดีขึ้นในสายตาผู้นำโลกทันที

      นายสุรพงษ์ กล่าวว่า ยิ่งช่วงนี้เป็นช่วงที่อยู่ระหว่างการยกร่างรัฐธรรมนูญ และเป็นช่วงที่กำลังอยู่ระหว่างการเปิดรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนยิ่งจะเป็นการดีด้วย ประชาชนจะได้มีส่วนร่วมในการร่างรัฐธรรมนูญ และที่สำคัญที่สุดคือสหรัฐกำลังจับตาดูว่าการเลือกตั้งของไทยจะเป็นไปตามโรดแมปที่ พล.อ.ประยุทธ์ไปประกาศไว้ในเวทีต่างๆ หรือไม่

@'บิ๊กป้อม'ปธ.ทอดกฐิน 65 ล.

      ที่วัดโฆสมังคลาราม บ้านโพนสว่าง ต.โคกสว่าง อ.ปลาปาก จ.นครพนม เมื่อเวลา 10.30 น. พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานพิธีทอดกฐินสามัคคี เพื่อสมทบทุนสร้างพระรัตนบรมธาตุเจดีย์ ศรีพนม โฆสปัญโญ ถวายแด่หลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ (พระสุนทรธรรมากร) พระเกจิอาจารย์ชื่อดัง โดยมี พล.ท.ธวัช สุกปลั่ง แม่ทัพภาคที่ 2 พล.ต.อ.เฉลิมเกียรติ ศรีวรขาน รอง ผบ.ตร. พร้อมข้าราชการ ทหาร ตำรวจ และประชาชนร่วมพิธี โดยมีปัจจัยที่ประชาชนร่วมทำบุญ 5,877,791 บาท นอกจากนี้ นำเงินสมทบจากผู้มีจิตศรัทธามาร่วมถวายอีก 60 ล้านบาท รวมกว่า 65 ล้านบาท ซึ่งการทอดกฐินสามัคคีครั้งนี้นับเป็นปีที่ 2 โดยปี 2557 ที่ผ่านมาได้เงินปัจจัยถึง 82 ล้านบาท

      ทั้งนี้ หลวงปู่คำพันธ์ อดีตเจ้าอาวาสวัดธาตุมหาชัย และเป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง ได้มาพัฒนาวัดโฆสมังคลารามให้เป็นแหล่งปฏิบัติธรรม ก่อนละสังขารลงด้วยโรคชราภาพ เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2546 สิริรวมอายุ 89 ปี 59 พรรษา ส่วนการก่อสร้างพระรัตนบรมธาตุเจดีย์ ศรีพนม โฆสปัญโญ เริ่มลงเสาเอกเมื่อวันที่ 9 มกราคมที่ผ่านมา โดย พล.อ.ประวิตรร่วมกับเพื่อนทหาร จปร.17 ที่มีความเลื่อมใสศรัทธาต่อหลวงปู่คำพันธ์ เพื่อใช้เป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระอรหันต์ และเป็นพิพิธภัณฑ์ แหล่งเรียนรู้ทางพระพุทธศาสนา รวมถึงเป็นสถานที่ท่องเที่ยวศึกษาประวัติความเป็นมาของหลวงปู่คำพันธ์ ตั้งเป้าใช้งบประมาณก่อสร้างกว่า 260 ล้านบาท รวมประดับตกแต่งสมบูรณ์แบบไม่ต่ำกว่า 400 ล้านบาท

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!