WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

วันที่ 08 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ปีที่ 24 ฉบับที่ 8562 ข่าวสดรายวัน


ไม่สุญญากาศ ปูพ้นนายก แต่รบ.ยังอยู่ 
ศาลรธน.ฟัน 9 รมต.ด้วย ยกคำร้องตั้ง'คนกลาง''นิวัฒน์ธำรง'รักษาการ สื่อนอกตีข่าว-ชนวนแรง ลุ้นดาบสอง-ปปช.วันนี้ ชงสว.ถอด-ตัดสิทธิ์ 5 ปี


พ้นนายกฯ - น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เปิดแถลงอำลาตำแหน่ง หลังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้พ้นสภาพนายกรัฐมนตรี โดยประกาศว่าภูมิใจที่ได้เป็นนายกฯ จากการเลือกตั้ง ที่สนง.ปลัดกลาโหม 

        'ปู'แถลงอำลาเก้าอี้นายกฯ หลัง ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเอกฉันท์ ให้สิ้นสุดสภาพความเป็นรัฐมนตรี จากกรณีโยกย้าย'ถวิล เปลี่ยนศรี'พ่วง 9 รัฐมนตรีที่ร่วมลงมติ ทั้ง'ปึ้ง-เฉลิม-กิตติรัตน์' ต้องพ้นตำแหน่งตามไปด้วย 'ยิ่งลักษณ์'ขอบคุณทุกกำลังใจ บอกภูมิใจที่ได้เป็นนายกฯ มาจากการเลือกตั้ง เพื่อไทยออกแถลงการณ์ 7 ข้อ ชี้เป็นการวินิจฉัยนอกรธน. จี้รัฐบาล-กกต.เร่งออกพ.ร.ฎ.เลือกตั้งใหม่โดยเร็ว ปชป.เดินหน้าเรียกร้องครม.ลาออกทั้งคณะ ประธานกกต.ระบุนายกฯ สิ้นสภาพ ไม่กระทบจัดเลือกตั้ง สื่อนอกตีข่าวหวั่นเป็นชนวนความรุนแรงรอบใหม่

ศาลรธน.อ่านคำวินิจฉัย
       เวลา 09.00 น. วันที่ 7 พ.ค. ที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ คณะตุลาการฯ เริ่มประชุมเป็นการภายในเพื่อแถลงด้วยวาจาก่อนลงมติและยกร่างคำวินิจฉัยกลางในคำร้องที่ประธานวุฒิสภาส่งความเห็นของนายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา กับคณะ ขอให้วินิจฉัยว่าความเป็นรัฐมนตรีของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ว่าจะสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญมาตรา 182 วรรคหนึ่ง (7) ประกอบมาตรา 268 หรือไม่ กรณีโยกย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรี เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ(สมช.) โดยมิชอบ ก่อนออกนั่งบัลลังก์อ่านคำวินิจฉัยกลางในเวลา 12.00 น.
     จากนั้นเวลา 12.20 น. คณะตุลาการ ทั้ง 9 คน ออกนั่งบัลลังก์อ่านคำวินิจฉัย นายเฉลิมพล เอกอุรุ ตุลาการฯ กล่าวว่า กรณีขอให้วินิจฉัยว่าความเป็นรัฐมนตรีของนายกฯ ว่าจะสิ้นสุดลงตามมาตรา 182 วรรคหนึ่ง (7) ประกอบมาตรา 268 หรือไม่นั้น แม้ผู้ร้องจะระบุว่าความเป็นนายกฯ ได้สิ้นสุดลงไปแล้วเมื่อมีการยุบสภา ตามมาตรา 180(2) แต่มาตรา 181 ระบุให้ครม.ยังทำหน้าที่ต่อจนกว่าจะมีรัฐมนตรีชุดใหม่เข้ามาทำหน้าที่ 
     ดังนั้น ความเป็นนายกฯ ยังไม่สิ้นสุดลงจนกว่าครม.ชุดใหม่เข้ามา นายกฯ ยังไม่พ้นจากตำแหน่งโดยเด็ดขาด ซึ่งแตกต่างจากกรณีอื่นเช่น คดีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ที่ถูกปลดออกจากราชการทหารเพราะผู้ถูกร้องไม่ได้ดำรงตำแหน่งส.ส.แล้ว แต่กรณีนี้นายกฯ ยังคงปฏิบัติหน้าที่อยู่ ดังนั้น ศาลจึงมีอำนาจรับกรณีนี้ไว้พิจารณา

ย้าย'ถวิล'เร่งรีบรวบรัด
      นายอุดมศักดิ์ นิติมนตรี ตุลาการฯ กล่าวว่า การโอนย้ายนายถวิลใช้เวลาเพียง 4 วัน แสดงให้เห็นว่าเร่งรีบ ผิดสังเกต รวบรัด ปราศจากเหตุผลอันสมควรที่ต้องรวดเร็ว ทั้งยังปรากฏการให้ข้อมูลอันเป็นเท็จ ให้เห็นเป็นพิรุธจากภาพถ่ายเอกสารราชการสำคัญ ได้แก่ บันทึกข้อความจากสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักเลขาธิการนายกฯ ที่นร.0401.2/8303 ที่ศาลมีคำสั่งเรียกมาจากสำนักเลขาธิการนายกฯ ระบุวันที่ทำหนังสือเป็น วันที่ 5 ก.ย.54 แต่ภาพถ่ายบันทึกข้อความฉบับเดียวกันที่ได้จากนายถวิล ก่อนหน้านั้นระบุเป็นวันที่ 4 ก.ย.54 แสดงว่าต้องมีการแก้ไขวันที่ ทำให้เอกสารผิดเท็จไปจากความจริงโดยบุคคลใดบุคคลหนึ่งเพื่อปกปิดความจริงที่ขัดแย้งกันในกระบวนการขอความเห็นชอบนี้ ส่อแสดงให้เห็นถึงความไม่ปกติในการดำเนินการ เป็นการพิรุธโจ่งแจ้ง ดำเนินการ มิชอบด้วยกฎหมาย
     นายอุดมศักดิ์ กล่าวว่า ทั้งนี้ เมื่อการกระทำดังกล่าวเพื่อเอื้อประโยชน์ให้พล.ต.อ. เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ อดีตผบ.ตร. ซึ่งเป็นญาติผู้ถูกร้องมีโอกาสขึ้นดำรงตำแหน่งผบ.ตร. การกระทำผู้ถูกร้องจึงมีการใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมีผลประโยชน์ทับซ้อน มีวาระซ่อนเร้น ถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยไม่สุจริต ไม่ชอบด้วยหลักนิติธรรม 
      นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาเหตุผลการโอนย้ายนายถวิลไปเป็นที่ปรึกษานายกฯ โดยเหตุผลของผู้ถูกร้องไม่อาจรับฟังได้ว่าการโอนย้ายนายถวิลเป็นไปตามประโยชน์ราชการที่แถลงต่อรัฐสภาและดำเนินการเร่งรีบ มีเหตุควรเชื่อได้ว่าปัจจัยโอนย้ายนี้เป็นความประสงค์ให้ตำแหน่งเลขาธิการสมช.ว่างลงเพื่อให้พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ผบ.ตร.มาดำรงตำแหน่งแทน ทำให้ตำแหน่งผบ.ตร.ว่างลงและสามารถแต่งตั้งเครือญาติผู้ถูกร้องมาเป็นผบ.ตร.แทน

ชี้สถานะรัฐมนตรี"ปู"สิ้นสุด 
      นายอุดมศักดิ์ อ่านต่อว่า เมื่อพิจารณาเอกสารหลักฐานเห็นว่าการโยกย้ายนายถวิลจึงเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการเดียวกัน เชื่อมโยงกับการแต่งตั้งพล.ต.อ.เพรียวพันธ์เป็นผบ.ตร. โดยผู้ถูกร้องเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องในหลายขั้นตอน แม้จะปฏิเสธว่าไม่ใช่เป็นผู้ริเริ่มก็ตาม จึงเป็นเหตุให้เชื่อได้ว่าการกระทำของผู้ถูกร้องทำเพื่อประโยชน์ของตนเองและเครือญาติ ก้าวก่ายแทรกแซงข้าราชการประจำ มิได้ทำเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติ เป็นการกระทำที่มีเจตนาอำพรางแอบแฝงเพื่อประโยชน์ตนเองและพวกพ้อง ขาดจริยธรรมคุณธรรมถูกต้องชอบธรรมในการใช้อำนาจหน้าที่ภายใต้วัตถุประสงค์ของพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 
      นายอุดมศักดิ์ กล่าวว่า นอกจากนี้ ผู้ถูกร้องไม่ส่งเอกสารหลักฐานปรากฏว่านายถวิลทำงานไม่มีประสิทธิภาพ ด้วยเหตุผลข้างต้นศาลจึงมีมติว่าผู้ถูกร้องใช้สถานะหรือตำแหน่งการเป็นนายกฯ เข้าไปก้าวก่าย แทรกแซง เป็นการกระทำต้องห้ามมาตรา 266 (2) (3) ประกอบมาตรา 268 อันมีผลทำให้ความเป็นรัฐมนตรีผู้ถูกร้องสิ้นสุดลงเป็นการเฉพาะตัวรัฐธรรมนูญตามมาตรา 182 วรรคหนึ่ง (7)

รมต.ร่วมลงมติต้องพ้นไปด้วย 
       นายจรูญ อินทจาร ประธานศาลรัฐธรรม นูญอ่านคำวินิจฉัยว่า เมื่อความเป็นรัฐมนตรีของผู้ถูกร้องสิ้นสุดลงเป็นการเฉพาะตัวแล้ว ผู้ถูกร้องไม่สามารถอยู่ปฏิบัติหน้าที่ได้อีกต่อไป นอกจากนี้ เมื่อความเป็นรัฐมนตรีของผู้ร้องถูกร้องสิ้นสุดลง แต่ครม.ยังต้องอยู่เพื่อปฏิบัติหน้าที่จนกว่าจะมีครม.ชุดใหม่เข้ารับหน้าที่ เหมือนกรณีนายสมัคร สุนทรเวช และนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ฉะนั้น เมื่อความเป็นรัฐมนตรีผู้ถูกร้องสิ้นสุดลงเฉพาะตัว ย่อมทำให้ครม.ที่เหลืออยู่ที่ไม่ขาดคุณสมบัติต้องห้ามของความเป็นรัฐมนตรี อยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่จนกว่าครม.ชุดใหม่จะเข้ามา 
       นายจรูญ กล่าวว่า อย่างไรก็ตาม หากรัฐมนตรีคนใดได้กระทำการให้ความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเป็นการเฉพาะตัว ย่อมมีผลให้รัฐมนตรีคนนั้นไม่อาจอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปในคดีการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการประจำระดับสูงจะต้องได้รับการอนุมัติจากครม.ก่อน
      "ดังนั้น ในคดีนี้หากรัฐมนตรีคนใดมีส่วนร่วมลงมติโอนย้าย หรือแทรกแซงข้าราชการประจำในการโอนย้ายนายถวิล ย่อมเป็นเหตุให้ความเป็นรัฐมนตรีของบุคคลนั้นสิ้นสุดลงเป็นการเฉพาะตัวตามไปด้วย และไม่อาจอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าครม.ชุดใหม่จะเข้ารับหน้าที่" นายจรูญกล่าว

ชี้ขัดมาตรา 266, 268 
       นายจรูญ กล่าวต่อว่า เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏชัดเจนว่าการโยกย้ายนายถวิล ให้พ้นจากเลขาฯ สมช. เข้าสู่การพิจารณาของครม.เพื่อขออนุมัติอย่างเร่งรีบ รวบรัด ในลักษณะไม่เป็นไปตามปกติเป็นวาระเพื่อทราบจรในวันที่ 6 ก.ย.54 ซึ่งครม.มีมติเอกฉันท์อนุมัติโยกย้ายให้ข้าราชการประจำพ้นจากตำแหน่งโดย ไม่ชอบด้วยกฎหมายภายในวันเดียวกันนั้น รัฐมนตรีทุกคนที่ร่วมประชุมและลงมติในวันนั้นจึงมีส่วนร่วมโดยทางอ้อมในการก้าวก่ายแทรกแซง กระทำต้องห้ามตามมาตรา 268 ประกอบมาตรา 266 (2) (3) เป็นเหตุให้ความเป็นรัฐมนตรีเหล่านั้นสิ้นสุดลงเป็นการเฉพาะตัวตามมาตรา 182 วรรคหนึ่ง (7) ไปด้วย 
      "อาศัยเหตุผลที่กล่าวมา ศาลรัฐธรรมนูญโดยมติเอกฉันท์จึงวินิจฉัยว่าผู้ถูกร้องใช้สถานะในตำแหน่งการเป็นนายกฯ เข้าไปก้าวก่ายหรือแทรกแซงเพื่อประโยชน์ตัวเองและผู้อื่น ในเรื่องการบรรจุแต่งตั้ง โยกย้าย โอนหรือการพ้นจากตำแหน่งของข้าราชการ จึงต้องด้วยรัฐธรรมนูญมาตรา 266 (2) (3) และมาตรา 268 อันมีผลทำให้ความเป็นรัฐมนตรี ผู้ถูกร้องสิ้นสุดลงเป็นการเฉพาะตัวตาม 182 (7) และรัฐมนตรีที่ร่วมลงมติประชุมครม.เมื่อ 6 ก.ย.54 ที่มีส่วนร่วมก้าวก่าย แทรกแซงข้าราชการประจำอันต้องห้ามตาม 268 จึงทำให้ความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดเป็นการเฉพาะตัวด้วย" ประธานศาลรัฐธรรมนูญกล่าว
       นายจรูญ กล่าวว่า ประเด็นที่ผู้ร้องขอให้วินิจฉัยให้ดำเนินการแต่งตั้งนายกฯ คนใหม่ตามมาตรา 172 และ 173 นั้นไม่อยู่ในขอบเขตการเสนอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยในคดีนี้ ศาลจึงไม่วินิจฉัยและยกคำร้อง ทั้งนี้ ให้คัดสำเนาคำวินิจฉัยได้เมื่อพ้น 15 วันหลังจากมีคำวินิจฉัย

สั่งจนท.กลับบ้าน-เสียงปืนดัง
        ภายหลังคณะตุลาการฯ อ่านคำวินิจฉัยเสร็จ สำนักงานได้ประกาศเสียงตามสายให้เจ้าหน้าที่ของสำนักงานศาลที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องเดินทางกลับบ้านก่อนเวลาเลิกงาน เพื่อจะได้ดูแลความปลอดภัยของบุคคลและสถานที่ได้สะดวกมากยิ่งขึ้น และแจ้งให้เจ้าหน้าที่ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดหากมีเหตุไม่ปกติ นอกจากนี้ พบว่ามีเสียงปืนดังขึ้น 2 นัดบริเวณฝั่งตรงข้ามด้านหน้าสำนักงานศาลและมีกระแสข่าวกลุ่ม กวป.เดินทางมาขอคืนพื้นที่ชุมนุมที่พุทธอิสระ แกนนำกปปส.เวทีแจ้งวัฒนะชุมนุมอยู่ในวันที่ 8 พ.ค. โดยนัดรวมตัวเวลา 09.00 น. ที่วงเวียนอนุสาวรีย์ปราบกบฏ บางเขน และจะเคลื่อนขบวนในเวลา 11.00 น. เพื่อขอคืนพื้นที่ถนนแจ้งวัฒนะและคืนความสุขให้กับประชาชน
       นายจรัญ ภักดีธนากุล ตุลาการศาลรัฐธรรม นูญเผยหลังอ่านคำวินิจฉัยว่า เมื่อศาลวินิจฉัยให้น.ส.ยิ่งลักษณ์สิ้นสภาพความเป็นรัฐมนตรีตามมาตรา 182 วรรคหนึ่ง (7) กระบวนการหลังจากนี้เป็นเรื่องฝ่ายที่เกี่ยวข้องไปจัดการเรื่องให้รองนายกฯ รักษาการนายกฯ เพราะกระบวนการพิจารณาของศาลถือว่าสิ้นสุดลงแล้ว ส่วนที่มีข้อสังเกตว่าความเป็นรัฐมนตรีของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ในฐานะรมว.กลาโหม ต้องสิ้นสุดลงด้วยหรือไม่นั้น เป็นประเด็นที่ฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องพิจารณา เพราะศาลได้พิจารณาข้อเท็จจริงตามกฎหมายที่ปรากฏอยู่ในคำร้อง

ชี้รมต.ย้ายกระทรวงก็พ้นหน้าที่
       เมื่อถามว่า กังวลหรือไม่หลังมีคำวินิจฉัยแล้วศาลจะเป็นคู่กรณีทางการเมือง นายจรัญ กล่าวว่า ในเมื่อปฏิบัติหน้าที่ในฐานะข้าราชการจะมีความเกรงกลัวไม่ได้ เพราะเราปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย เมื่อตอนเรารับเงินเดือนยังไม่มีความกลัว แล้วตอนปฏิบัติหน้าที่จะกลัวได้อย่างไร เราไม่ได้แสดงความอหังการหรือพูดตอบโต้คนที่ไม่เห็นด้วย มันไม่ใช่หน้าที่
       แหล่งข่าวจากศาลรัฐธรรมนูญระบุว่า คำวินิจฉัยของศาลที่ให้ความเป็นรัฐมนตรีของนายกฯ สิ้นสุดลงเฉพาะตัวนั้น มีผลทันที ส่วนต้องพ้นจากรมว.กลาโหมหรือไม่ การโยกย้ายนายถวิลเป็นความผิดของบุคคลซึ่งรัฐธรรมนูญกำหนดให้เป็นเหตุให้ต้องพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี ดังนั้น ไม่ว่าบุคคลนั้น จะดำรงตำแหน่งใดในครม.ก็ต้องพ้นจากตำแหน่งนั้นไปด้วย เช่น บุคคลนั้นขณะเป็นผู้จัดการแล้วไปทำร้ายผู้อื่น แต่ต่อมาบุคคล ดังกล่าวเปลี่ยนหน้าที่เป็นเจ้าของบริษัท ความผิดในการทำร้ายผู้อื่นยังคงอยู่ ต้องได้รับการลงโทษเช่นเดียวกับรัฐมนตรีที่ร่วมลงมติเห็นชอบกับการย้ายนายถวิล แม้ปัจจุบันจะเปลี่ยนไปดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีกระทรวงอื่น แต่เมื่อศาลชี้ว่าเป็นความผิดก็ต้องพ้นจากตำแหน่งความเป็นรัฐมนตรีในปัจจุบัน

ไม่ต้องเว้นวรรค
      แหล่งข่าวกล่าวว่า ความผิดดังกล่าวรัฐธรรมนูญไม่ได้กำหนดให้ผู้ที่ศาลวินิจฉัยให้พ้นจากความเป็นรัฐมนตรีต้องเว้นวรรคการเมือง ดังนั้น เมื่อศาลมีคำวินิจฉัยแล้วสามารถได้รับแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีใหม่ได้ทันที เพียงแต่การจะแต่งตั้งรัฐมนตรีเป็นอำนาจเฉพาะของนายกฯ ซึ่งขณะนี้ความเป็นนายกฯ ของน.ส.ยิ่งลักษณ์สิ้นสุดลงล้ว แม้จะมีรักษาการนายกฯก็ไม่อาจแต่งตั้งรัฐมนตรีได้เพราะถือว่าการแต่งตั้งรัฐมนตรีเป็นอำนาจเฉพาะตัวของนายกฯ เท่านั้น หากตอนนี้มีสภาผู้แทนราษฎรเหมือนสมัยที่นายสมัครพ้นจากตำแหน่งนายกฯ สามารถสรรหานายกฯ ในสภาใหม่ได้ แต่ตอนนี้ไม่มีสภา การดำเนินการดังกล่าวจึงไม่สามารถทำได้ ส่วนการทูลเกล้าฯ หรือรับสนองพระบรมราชโองการกรณีแต่งตั้งประธานวุฒิสภาหรือร่างพ.ร.ฎ. แก้ไขเพิ่มเติมกำหนดวันเลือกตั้งนั้น รักษาการนายกฯสามารถทำได้
      เมื่อเวลา 17.30 น. ภายหลังคณะตุลาการฯ อ่านคำวินิจฉัยที่ด้านหน้าสำนักงาน มีเสียงปืนดังขึ้นเป็นระยะต่อเนื่องกันกว่า 10 นัด ทางสำนักงานจึงนำประกาศที่ลงนามโดยนาย เชาวนะ ไตรมาส เลขาธิการสำนักงานศาลไปติดที่ประตูทางเข้า ประกาศให้สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญหยุดทำการในวันที่ 8 พ.ค.เพื่อความปลอดภัย โดยข้าราชการสามารถนำงานไปปฏิบัตินอกที่ทำการได้เพื่อไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทางราชการ 


ลุ้นผล- มวลชนเสื้อแดงรวมตัวกันที่ชั้น 5 ห้างอิมพีเรียล เวิลด์ ลาดพร้าว ติดตามการอ่านคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ บางคนถึงกับร้องไห้โฮทันทีที่รู้ว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ต้องพ้นจากตำแหน่ง เมื่อวันที่ 7 พ.ค.

'ปู'ถกครม.นัดพิเศษ
      ผู้สื่อข่าวรายงานว่าก่อนที่ศาลจะแถลง คำวินิจฉัยเวลา 10.00 น. ที่สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เมืองทองธานี น.ส. ยิ่งลักษณ์ ปฏิบัติหน้าที่นายกฯ และรมว.กลาโหม ได้เรียกประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) นัดพิเศษ หารือถึงเอกสารร่างพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) กำหนดวันเลือกตั้งที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ส่งให้ครม.พิจารณา เพื่อนัดหารือถึงการเลือกตั้งรอบใหม่กรณีความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกากับกกต. ไม่ตรงกัน เกี่ยวกับการให้อำนาจ กกต.เลื่อนการเลือกตั้งได้ หากมีเหตุการณ์ความวุ่นวายในวันเลือกตั้งเกิดขึ้น รวมถึงหารือถึงสถานการณ์การเมืองหลังศาลรัฐธรรมนูญตัดสินกรณีการโยกย้ายนายถวิล มีการติดตั้งโทรทัศน์วงจรปิดการถ่ายทอดคำตัดสินของ ศาลมาให้ครม.ติดตาม พร้อมสั่งอาหารกลางวันมารับประทานร่วมกัน จากเดิมที่นายกฯ จะไปลุ้นการตัดสินที่พรรคเพื่อไทย
      ขณะที่บรรยากาศโดยรอบสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เจ้าหน้าที่ทหารดูแลความปลอดภัยอย่างเข้มงวด เนื่องจากมีรัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่ประจำกระทรวงต่างๆ ทยอย เข้าร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียง

'นิวัฒน์ธำรง'ทำหน้าที่แทน
       ภายหลังศาลแถลงคำวินิจฉัย ในส่วนของรัฐบาลซึ่งหารือกันก่อนหน้านี้เห็นว่าไม่ได้ผิดจากที่คาดหมายแม้จะส่งผลลบต่อพรรคเพื่อไทย โดยเฉพาะตัวของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ซึ่งได้หารือกันต่อว่าจะดำเนินการอย่างไร 
      รายงานข่าวจากที่ประชุมครม.นัดพิเศษเผยว่า ภายหลังศาลแถลงคำวินิจฉัย นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการครม. นำขั้นตอนระเบียบข้อกฎหมายมาอ่านและทำความเข้าใจให้กับที่ประชุมรับทราบ รวมทั้งนำรายชื่อของบุคคลที่ต้องพ้นจากตำแหน่งมาแจ้งให้ทราบ ซึ่งมีรัฐมนตรีบางคนตั้งข้อสังเกตว่าในส่วนที่ปรับเปลี่ยนจากตำแหน่งแล้วจะเข้าในข้อกฎหมายด้วยหรือไม่ โดยเฉพาะนายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล ซึ่งขณะนั้นเป็นเพียง รมว.ต่างประเทศ
      อย่างไรก็ตาม เมื่อที่ประชุม ครม.รับทราบขั้นตอนรายละเอียดข้อกฎหมายแล้วได้หารือกันเพื่อเสนอชื่อบุคคลที่จะปฏิบัติหน้าที่แทนนายกฯ ซึ่งต้องเป็นชื่อที่มาจากตำแหน่ง รองนายกฯ เบื้องต้นมีการพูดถึงชื่อของนาย พงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกฯ และนายยุคล ลิ้มแหลมทอง รองนายกฯ จากพรรคชาติไทยพัฒนา ส่วนใหญ่เห็นว่านายยุคลมีความ เหมาะสม แต่บางคนเห็นว่าน่าจะเป็นนาย พงศ์เทพมากกว่าเพราะเป็นรองนายกฯ ที่มาจากพรรคเพื่อไทย ขณะที่นายยุคลปฏิเสธโดยแสดงความเห็นว่าควรจะเป็นรองนายกฯ ที่มาจากพรรคเพื่อไทย ซึ่งเป็นพรรคแกนนำในรัฐบาลมากกว่า นายพงศ์เทพจึงเสนอชื่อนายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล ปฏิบัติหน้าที่รองนายกฯ และรมว.พาณิชย์ เพราะเป็นรอง นายกฯ ที่มีความอาวุโสต่อจากนายสุรพงษ์และมีความเหมาะสมมากที่สุด ที่ประชุมจึงเห็นพ้องต้องกันให้นายนิวัฒน์ธำรงปฏิบัติหน้าที่แทนนายกฯ โดยจะเรียกประชุม ครม.อีกครั้งเพื่อรับทราบอย่างเป็นทางการและดำเนินการแบ่งงานเวลา 10.00 น. วันที่ 8 พ.ค.

เผย 9 รมต.หลุดด้วย 
       สำหรับ คณะรัฐมนตรีที่ต้องพ้นตำแหน่งพร้อมน.ส.ยิ่งลักษณ์ มีด้วยกัน 9 ราย เพราะมีส่วนร่วมพิจารณาโยกย้ายนายถวิล ประกอบด้วย 1.นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รอง นายกฯ และรมว.ต่างประเทศ 2.พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รองนายกฯ 3.นายปลอดประสพ สุรัสวดี รองนายกฯ 4.นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกฯ และรมว.การคลัง 5.นายสันติ พร้อมพัฒน์ รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี 6.พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รมช.กลาโหม 7.นายศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์ รมช.เกษตรและสหกรณ์ 8.น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รมว.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ไอซีที) 9.ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รมว.แรงงาน ทั้งนี้ ครม.ชุดปัจจุบันที่ไม่ต้องพ้นตำแหน่ง 25 คน 

'ปู'ลั่น'เราไม่ได้แพ้'
      คนใกล้ชิดนายกฯ เผยว่า ช่วงหนึ่งของการพูดคุยกับแกนนำในครม.มีการสอบถามน.ส. ยิ่งลักษณ์ว่าเสียใจหรือไม่ น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าวด้วยน้ำเสียงสั่นเครือว่า "รู้สึกสบายใจ ที่ผ่านมาตลอด 6 เดือนดีใจที่เราสามารถผ่านจุดนี้ซึ่งเป็นจุดวิกฤตมาได้ ยืนยันว่าที่ผ่านมาปูทำงานเพื่อประชาชนและเราไม่ได้แพ้ เราถูกตัดสิทธิ์แต่เราภูมิใจที่ได้ทำงานตามระบอบประชาธิปไตยและทำตามขั้นตอน เราไม่ได้แพ้ เขาไม่ได้ทำร้ายปู แต่เขาทำร้ายประชาชน"
      รายงานข่าวแจ้งว่า ส่วนตำแหน่งรมว.กลาโหมของน.ส.ยิ่งลักษณ์ จากการหารือกันภายในของแกนนำรัฐบาลและทีมกฎหมาย ยังไม่ชัดเจนว่าจะสิ้นสภาพไปด้วยหรือไม่ เนื่องจากยังไม่มีความชัดเจนในถ้อยคำการแถลงของศาลรัฐธรรมนูญ จึงต้องรอเอกสารอย่างเป็นทางการอีกครั้ง แต่ที่ยังไม่ได้ยื่นเรื่องสอบถามศาลเพราะอยากรอเอกสารอย่างเป็นทางการของศาลออกมาก่อน คาดว่าอาจใช้เวลา 2-3 วัน หรือ 1-2 สัปดาห์ หากยังไม่ชัดเจนจะมีหนังสือสอบถามไปเพื่อให้เกิดความกระจ่าง และที่ต้องทำหนังสือไปนั้นไม่ใช่เพราะน.ส.ยิ่งลักษณ์ อยากอยู่ในตำแหน่งแต่ต้องการความชัดเจนซึ่งเกี่ยวโยงถึงตำแหน่งอื่นด้วย นอกจากนี้ จะต้องไปดูการทำงานของศอ.รส.เพราะยึดโยงกับตำแหน่งรัฐมนตรีที่ไปทำหน้าที่ในสายบริหารของศอ.รส.ด้วย 

ถามศาลปมรมต.พ้นตำแหน่งเก่า 
      เวลา 15.00 น. นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา ปฏิบัติหน้าที่รองนายกฯ และนายธงทอง จันทรางศุ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ร่วมแถลงข่าว โดยนายพงศ์เทพกล่าวว่า ครม.ติดตามคำวินิจฉัยมีประเด็นติดใจที่ศาลระบุว่ารัฐมนตรีที่มีส่วนร่วมลงมติแต่งตั้งโยกย้ายนายถวิล ประมาณ 10 คนต้องพ้นไปด้วยนั้น พบว่ารัฐมนตรีบางคนเคยพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีจากการถูกปรับออกและย้ายตำแหน่ง บางคนพ้นไปเกือบ 1 ปี และมาดำรงตำแหน่งใหม่ต่างจากที่มีมติเรื่องการย้ายนายถวิล เช่น พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รมว.กลาโหม ขณะนั้น และพ้นไปเกือบ 9 เดือน และกลับมาเป็นรมช.กลาโหม ที่ประชุมครม. จึง มอบให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา รวบรวมประเด็นและทำหนังสือสอบถามศาลรัฐธรรมนูญ ให้ตีความหมายของคำวินิจฉัยให้ชัดเจน โดยอาศัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งถูกนำมาใช้ในศาลรัฐธรรมนูญกรณีคำวินิจฉัยไม่ชัดเจน คู่ความสามารถร้องขอให้ศาลชี้แจงได้ 
      นายพงศ์เทพ กล่าวว่า เมื่อศาลวินิจฉัย ความเป็นรัฐมนตรีของนายกฯ สิ้นสุดลง ครม.จึงมีมติโดยอาศัยอำนาจตามพ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน มาตรา 10 ให้นาย นิวัฒน์ธำรง ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกฯ ส่วนการแบ่งงานรัฐมนตรีที่เหลืออยู่จะหารือในการประชุมครม.วันที่ 8 พ.ค. เวลา 10.00 น. ที่สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม 

เดินหน้าเลือกตั้ง 
       นายพงศ์เทพ กล่าวว่า ตนโทรศัพท์ถึง นายศุภชัย สมเจริญ ประธานกกต.เพื่อนัดหารือในวันที่ 8 พ.ค. ได้รับแจ้งว่าประธานกกต.มีภารกิจ จึงขอนัดเป็นบ่ายวันศุกร์ที่ 9 พ.ค. อยู่ระหว่างรอคำตอบจากกกต. เพื่อให้การจัดการเลือกตั้งเป็นไปกรอบเวลาที่กำหนดในวันที่ 20 ก.ค.นี้ 
       ด้านนายธงทอง กล่าวว่า ครม.ที่เหลืออยู่จะปฏิบัติหน้าที่ตามกลไกรัฐธรรมนูญ เดินหน้าเข้าสู่กระบวนการทำให้เกิดรัฐบาลชุดใหม่ด้วยการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นกลไกปกติที่เกิดขึ้นหลังยุบสภาเมื่อเดือนธ.ค.2556 ส่วนการหารือระหว่างรัฐบาลและกกต.นั้น ได้มอบให้นายพงศ์เทพประสานกับกกต.เพื่อกำหนดรายละเอียดวันเลือกตั้งต่อไป เมื่อมีรัฐบาลชุดใหม่หลังเลือกตั้งแล้วจึงถือว่าครม.ชุดนี้สิ้นสุดการทำหน้าที่ 

ยิ่งลักษณ์ขอบคุณทุกกำลังใจ 
       จากนั้นเวลา 16.05 น. น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร แถลงว่า ตลอดเวลาที่รัฐบาลทำหน้าที่และตนทำหน้าที่นายกฯ ได้ทำหน้าที่อย่างเต็มที่ในการขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลตามที่แถลงไว้ต่อรัฐสภา เพื่อพัฒนาประเทศและความเป็นอยู่ของประชาชนทั้งเรื่องเศรษฐกิจ การสร้างสมดุลให้ระบบเศรษฐกิจ สร้างความแข็งแรงของเศรษฐกิจทั้งในและนอกประเทศ ด้านสังคมที่มุ่งสร้างความเสมอภาคและเท่าเทียมกัน แก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ ลดช่องว่างของผู้มี รายได้น้อยและผู้มีรายได้มากเพื่อให้ประชาชน มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ รวมถึงการพัฒนาให้ไทยมีบทบาทอยู่ในเวทีของอาเซียนเพื่อเป็นศูนย์กลางเพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียน
        น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า ยืนยันว่าตนและรัฐบาลตั้งใจ ทุ่มเททำงานเพื่อประชาชนตามที่ประชาชนไว้วางใจเลือกรัฐบาลนี้ ยึดหลักความซื่อสัตย์สุจริตและไม่มีพฤติกรรมทุจริตหรือเอื้อประโยชน์ให้อื่นผู้ใด หรือฝ่าฝืน ในบทบัญญัติรัฐธรรมนูญอย่างที่กล่าวหา นอกจากนี้ ยังขับเคลื่อนนโยบายการป้องกันการทุจริตเสมอมา ขอถือโอกาสนี้ขอบคุณข้าราชการที่สนับสนุนการทำงานของรัฐบาลตลอด 2 ปีที่ผ่านมา ที่สำคัญขอบคุณประชาชนที่ให้ความไว้ใจตนและครม.ได้รับใช้ประชาชนและกำลังใจที่ให้มาตลอดการทำงานไม่ว่าช่วงยากลำบากเพียงใด ช่วงที่เดือดร้อนในการ แก้ปัญหาเศรษฐกิจ สังคมหรือเหตุการณ์การเมืองก็ได้รับกำลังใจเสมอมา ทำให้ตนมีกำลังใจและทำงานด้วยความทุ่มเททุกครั้ง

เสียใจที่ไม่ได้รับใช้ประชาชน 
      "ที่ทำงานเป็นเวลา 2 ปี 9 เดือน 2 วัน ทุกนาที ทุกวันอยู่บนความภูมิใจที่ได้ทำหน้าที่ นายกฯ ที่มาจากการเลือกตั้งจากประชาชนและก้าวเข้าสู่การเป็นนายกฯ ด้วยวิถีทางประชาธิปไตย ดิฉันภูมิใจที่ได้ทำงานในหน้าที่นี้ด้วยความตั้งใจและทุ่มเท ต่อไปนี้ไม่ว่าสถานะใด ดิฉันขอเดินตามเส้นทาง ประชาธิปไตยยึดมั่นในหลักนิติรัฐ นิติธรรม สุดท้ายนี้ไม่ว่าอยู่ตำแหน่งไหน ขอยืน เคียงข้างพี่น้องประชาชนคนไทยตลอดไป" นายกฯ กล่าวด้วยน้ำเสียงสั่นเครือ
      เมื่อถามว่า วางอนาคตการเมืองและจะ เล่นการเมืองอีกหรือไม่ น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าวว่า วันนี้เร็วไปที่จะตอบคำถามนี้ เหตุการณ์ต่างๆ เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เมื่อถามว่าคิดว่าได้รับความยุติธรรมหรือไม่ น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าวว่า ไม่ขอให้ความเห็นเพราะต้องรอคำวินิจฉัยอย่างทางการก่อน วันนี้ไม่อยู่ในวิสัยที่จะ วิจารณ์ใดๆ ยืนยันว่าทำหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต การทำงานยึดหลักระบบคุณธรรมจริยธรรมมาตลอด
      เมื่อถามว่า ตั้งแต่ทำหน้าที่นายกฯเสียใจเรื่องไหนมากที่สุด น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าวว่า เสียใจที่ไม่มีโอกาสได้รับใช้ประชาชนหลังจากนี้ เชื่อมั่นว่าไม่ว่าสถานะไหนเราก็เคียงข้างและรับใช้ประชาชน ตนเป็นเด็กต่างจังหวัดมีความผูกพันกับประชาชน ที่สำคัญเป็นคนไทยด้วยกันไม่ว่าสถานะไหนก็ทำงานช่วยเหลือประเทศชาติได้ เมื่อถามว่าจะใช้เวลานานแค่ไหนตัดสินใจทางการเมือง น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าวย้ำว่า เร็วเกินไปที่จะตอบคำถามนี้

กลุ่มสตรีร้องไห้เชียร์'ปู'สู้ๆ 
      จากนั้นน.ส.ยิ่งลักษณ์ และนายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล ปฏิบัติหน้าที่แทน นายกฯ ออกไปพบกลุ่มนปช. ในนามกลุ่มสตรีเสรีไทยรักษาและปกป้องประชาธิปไตยแห่งชาติ 400 คน ที่มาให้กำลังใจนายกฯ ผู้ชุมนุมมอบดอกกุหลาบ ตัวแทนขอให้ นายกฯ สู้ๆ และพร้อมเลือกน.ส.ยิ่งลักษณ์ เป็นนายกฯอีก แต่วันนี้ขอให้เข้มแข็งไว้ จากนั้นชาวบ้านเข้าสวมกอดน.ส.ยิ่งลักษณ์ บางคนร้องไห้พร้อมตะโกนว่า ยิ่งลักษณ์สู้ๆ โดยน.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวขอบคุณพร้อมยกมือไหว้ประชาชนที่มาให้กำลังใจ ก่อนยกมือขึ้นเป็นสัญลักษณ์ว่าสู้ๆ เรียกเสียงโห่ร้องยินดีจาก ผู้สนับสนุน
       จากนั้นนายกฯ เดินกลับเข้ามาภายในสำนัก งานปลัดกลาโหม ขึ้นรถส่วนตัวเดินทางกลับ โดยมีคณะรัฐมนตรี ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่และเจ้าหน้าที่มาส่ง นายกฯยกมือไหว้พร้อมกล่าวขอบคุณทุกคนที่ร่วมทำงาน และฝ่าฟันอุปสรรคกันมา ก่อนขึ้นรถน.ส.ยิ่งลักษณ์ขอจับมือนายนิวัฒน์ธำรง เหมือนส่งมอบงานต่อ 
      ผู้สื่อข่าวถามว่าวันที่ 8 พ.ค. จะพบน.ส. ยิ่งลักษณ์ ได้ที่ไหน อดีตนายกฯ โบกมือปฏิเสธพร้อมระบุว่า "พรุ่งนี้คงไม่เจอ" ก่อนขึ้นรถกลับออกไปในเวลา 16.25 น. โดย มีกลุ่มชาวบ้านโบกมือ บางคนเข้าไปจับรถ ส่งเสียงตะโกนสู้ๆ นอกจากนี้ ยังมีนักเสี่ยงโชคบันทึกภาพป้ายทะเบียนรถโฟล์ก ทะเบียน ฮภ 2924 กรุงเทพมหานคร ที่นายกฯ ใช้ทำงานเป็นวันสุดท้ายเพื่อนำไปเสี่ยงโชค


หนุนปู- มวลชนเสื้อแดงอุดรธานีชุมนุมบริเวณหน้าศาลากลางจังหวัด พร้อมชูป้ายให้ กำลังใจน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่ถูกศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้พ้นจากตำแหน่งนายกฯ รักษาการ เมื่อวันที่ 7 พ.ค. 

เสื้อแดงให้กำลังใจ
       สำหรับ กลุ่มสตรีเสรีไทยรักษาฯ นำโดยนางมยุเรศ โคตรชมพู ประธานชมรมเสียงดนตรี จ.หนองคาย เดินทางพร้อมรถเครื่องกระจายเสียง 6 ล้อ นางมยุเรศปราศรัยไม่ยอมรับคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ ยืนยันจะปกป้องนายกฯที่มาจากการเลือกตั้ง ขอให้กำลังใจนายกฯ และจะไม่ทิ้งนายกฯเด็ดขาด จะเป็นพลังแดงกำแพงเหล็กปกป้องนายกฯ จะยืนเคียงข้างนายกฯตลอดไป 
      กลุ่มผู้ชุมนุมชูป้ายให้กำลังใจนายกฯว่า ขอให้นายกฯสู้ๆ หญิงแกร่งต้องสู้ เราเป็นกำลังใจให้นายกฯหญิงคนแรกของไทย หลายคนตะโกนให้กำลังใจนายกฯด้วยน้ำตาคลอเบ้า บางคนระบุรู้สึกสงสารนายกฯเพราะถูกกลั่นแกล้งทุกอย่าง บางคนตะโกนว่าจะคืนบัตรประชาชนไม่เป็นแล้วคนไทย พร้อมกับมือชูบัตรประชาชนที่ถืออยู่ด้วย
      ที่จ.อุดรธานี หลังศาลแถลงคำวินิจฉัย แกนนำชมรมคนรักอุดร นำโดยนายประสิทธิ์ วิชัยรัตน์ หรือดีเจ. จ.ใจเดียว นายจักรพงษ์ แสนคำ หรือดีเจ.ก้อง ของคลื่น 97.50 ชมรมคนรักอุดร และนางเทียบจุฑา ขาวขำ อดีตส.ส.อุดรธานี พรรคเพื่อไทย ตั้งเวทีปราศรัย ที่หน้าศาลากลางจังหวัด เพื่อให้กำลังใจน.ส.ยิ่งลักษณ์ โดยมี คนเสื้อแดงมาชุมนุมกว่า 500 คน 

'นิวัฒน์ธำรง'ไม่หนักใจ 
      นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกฯ ให้สัมภาษณ์ว่า วันที่ 8 พ.ค.นี้ ได้เรียกประชุมครม.ที่เหลือเกี่ยวกับการทำหน้าที่ รวมทั้งการพิจารณาร่างพ.ร.ฎ.เลือกตั้ง และบทบาทของศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส) ที่รัฐมนตรีบางคนในศอ.รส.ถูกศาลวินิจฉัยพ้นสภาพรัฐมนตรี ทั้งนี้ ครม.รักษาการไม่สามารถพิจารณาแต่งตั้งโยกย้ายได้ แต่หน้าที่หลักคือจัดการเลือกตั้ง ดูแลประชาชน และเศรษฐกิจของประเทศตาม พ.ร.บ.การบริหารราชการแผ่นดินและรัฐธรรม นูญมาตรา 181 อย่างไรก็ตาม ตนไม่หนักใจที่ต้องทำหน้าที่แทนนายกฯ
      เมื่อถามว่าน.ส.ยิ่งลักษณ์ ยังคงเป็นรมว.กลาโหมอยู่หรือไม่ และยังเข้าร่วมประชุมในฐานะรมว.กลาโหมได้อีกหรือไม่ นายนิวัฒน์ธำรงกล่าวว่า ยังไม่ทราบ จะหารือกันอีกครั้ง เพราะเรื่องนี้มีคำถามว่าต้องพ้นจากสภาพความเป็นรัฐมนตรีแค่นายกฯหรือรวมถึงรมว.กลาโหมด้วยหรือไม่ 

ลุ้นต่อคดี'จำนำข้าว'
      เมื่อถามว่าป.ป.ช.ชี้มูลคดีโครงการรับจำนำข้าว กังวลว่าจะส่งผลต่อรัฐบาลอีกหรือไม่ นายนิวัฒน์ธำรง กล่าวว่า คดีนี้กล่าวหาน.ส.ยิ่งลักษณ์ ว่า ปล่อยปละละเลยให้โครงการดังกล่าวส่งผลต่อประเทศ จึงต้องรอคำตัดสินของป.ป.ช. 
      เมื่อถามว่าจากนี้จะมีอุบัติเหตุการเมืองจนไม่สามารถจัดการเลือกตั้งได้หรือไม่ นาย นิวัฒน์ธำรง กล่าวว่า เราจะจัดเลือกตั้งเพื่อให้มีรัฐบาลชุดใหม่โดยเร็ว ยอมรับว่ารัฐบาลรักษาการคงทำหน้าที่ไม่ได้เต็มที่แต่หวังว่าการเมืองจากนี้ไปคงไม่ร้อนแรงแล้วเพราะศาลตัดสินคดีน.ส.ยิ่งลักษณ์ เสร็จเรียบร้อย จึงไม่น่ามีประเด็นอะไรเกิดขึ้นอีก และขอความร่วมมือทุกกลุ่มทำให้บ้านเมืองสงบเรียบร้อยตามกรอบรัฐธรรมนูญทั้งการเลือกตั้งและ การปฏิรูปประเทศ เมื่อถามว่าจะไปร่วมประชุมสุดยอดอาเซียนที่ประเทศพม่า ระหว่างวันที่ 10-11 พ.ค.นี้หรือไม่ นายนิวัฒน์ธำรงกล่าวว่า ต้องมีการหารืออีกครั้ง
       รายงานข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) แจ้งว่า วันที่ 8 พ.ค. มีการประชุมคณะกรรมการป.ป.ช.ชุดใหญ่ ที่สนามบินน้ำ จ.นนทบุรี มีวาระคณะอนุกรรมการไต่สวนกรณีถอดถอนน.ส.ยิ่งลักษณ์ ในคดีละเลย เพิกเฉยให้มีการทุจริตโครงการรับจำนำข้าว สรุปสำนวนข้อเท็จจริงคดีดังกล่าวให้ที่ประชุมพิจารณา ถ้าคณะกรรมการป.ป.ช.เห็นว่าสำนวนสมบูรณ์เพียงพอที่จะชี้มูลความผิดได้ก็ทำได้ทันที แต่หากเห็นว่ายังขาดรายละเอียดก็นัดชี้มูลความผิดได้ในการประชุมครั้งต่อไปได้

มีสิทธิ์เว้นวรรค 5 ปี 
      รายงานข่าวจากวอร์รูมรัฐบาลกรณีป.ป.ช. นัดชี้มูลความผิดน.ส.ยิ่งลักษณ์ กรณีปล่อยปละละเลยให้เกิดการทุจริตโครงการจำนำข้าว รัฐบาลคาดการณ์ว่าหากขั้นรุนแรง น.ส. ยิ่งลักษณ์ก็คงโดนป.ป.ช.ชี้มูลความผิดและ ส่งเรื่องให้วุฒิสภาถอดถอน พร้อมทั้งให้ ตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปี
       น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รมว.ไอซีที กล่าวว่า ไม่หนักใจกับคำวินิจฉัยของศาล แม้ถูกให้พ้นสภาพการเป็นรัฐมนตรีแค่เปลี่ยนสภาพจากรัฐมนตรีเป็นสถานะนักการเมืองคนหนึ่ง ถ้ามองในแง่ดีจะมีเวลาหาเสียงลงพื้นที่พบประชาชนมากขึ้น ตนยังเชื่อมั่นเรื่องการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย การ ประชุมครม.นัดพิเศษวันนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้กล่าวขอบคุณข้าราชการและรัฐมนตรีที่ร่วมกันทำงานบริหารประเทศเป็นอย่างดี 

คำตัดสินไม่กระทบศอ.รส.
       ที่กองบัญชาการปราบปรามยาเสพติด ถ.วิภาวดีฯ นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ในฐานะเลขาธิการศอ.รส กล่าวว่า แม้ศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยให้ครม.ชุดแรกพ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ แต่ไม่ส่งผล กระทบต่อศอ.รส.ให้ถูกยุบตาม เนื่องจากศอ.รส.ถูกตั้งขึ้นเป็นการเฉพาะตามการ ประกาศใช้พ.ร.บ.ความมั่นคง ซึ่งไม่เกี่ยวข้อง กับครม. ขณะเดียวกัน ตำแหน่งผอ.ศอ.รส. ยังคงเป็นร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ตามเดิม 
       นายธาริต กล่าวว่า ส่วนตัวเห็นว่าการโยกย้ายนายถวิล ขณะนั้นร.ต.อ.เฉลิม อยู่ในตำแหน่งรองนายกฯ และตอนที่ยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ร.ต.อ.เฉลิมถูกย้ายมาเป็นรมว.แรงงาน จึงถือว่าอยู่คนละสถานะ มองว่าความเป็นรัฐมนตรีไม่น่าจะพ้นไป ส่วนเรื่องการทูลเกล้าฯ ขอพระบรมราชวินิจฉัยนั้น ศอ.รส.จะประชุมเรื่องนี้อีกครั้งในวันที่ 8 พ.ค. เวลา 10.30 น. 

ไม่ลดอุณหภูมิการเมือง 
       พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) ในฐานะคณะทำงานเลขาธิการ ศอ.รส. กล่าวว่า สถานการณ์ความรุนแรงไม่น่าจะลดลง เนื่องจากกลุ่มชื่นชอบรัฐบาลไม่พอใจ เนื่องจากน.ส.ยิ่งลักษณ์ ไม่ได้สิ้นสภาพคนเดียวเหมือนกรณีนายสมัคร สุนทรเวช ส่วนกลุ่มที่ต่อต้านรัฐบาลก็ไม่พอใจเช่นกัน เพราะอยากให้ครม.ทั้งชุดหลุดออกไป ศอ.รส.จะติดตามสถานกาณรณ์เรื่องนี้อย่างใกล้ชิด เชื่อว่าผู้ชุมนุมคงรอความชัดเจนกว่านี้ ส่วนการทูลเกล้าฯ ขอพระบรมราชวินิจฉัยนั้น ตอนแรกที่ประชุมประเมินว่าศาลอาจตัดสินให้พ้นทั้งครม. หากเป็นเช่นนั้น ศอ.รส.จะทูลเกล้าฯ แต่เมื่อไม่เป็นเช่นนั้น จะนำเรื่องนี้มาพิจารณาในที่ประชุม ศอ.รส.นัดต่อไป 

พท.แถลงซัด'สมคบคิด'
       เวลา 10.00 น. ที่พรรคเพื่อไทย แกนนำพรรคและกรรมการกิจการพรรค อาทิ นายภูมิธรรม เวชยชัย เลขาธิการพรรค นายโภคิน พลกุล นายชวลิต วิชยสุทธิ์ พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย นายสามารถ แก้วมีชัย เข้ามาติดตามการอ่านคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ 
       เวลา 15.00 น. แกนนำเพื่อไทยออกแถลงการณ์หลังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ นายกฯ และครม.บางส่วนพ้นตำแหน่ง นายโภคินกล่าวว่า 1.พรรคมีแถลงการณ์ต่อเนื่องว่า ประเทศจะเดินหน้าตามระบอบประชาธิป ไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขได้ และจะแก้ปัญหาขัดแย้งไม่ให้บานปลายจนเกิดกลียุคได้ก็ด้วยการเลือกตั้ง และการตั้งอยู่บนความเที่ยงธรรม ปราศจากอคติของทุกฝ่ายและทุกองค์กรตามรัฐธรรมนูญ
       2.พรรคชี้ให้เห็นมาตลอดว่ามีขบวนการสมคบคิดกันเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย ล้มล้างการเลือกตั้ง มุ่งทำลายล้างฝ่ายประชาธิปไตยมาอย่างต่อเนื่อง โดยความร่วมมือของบางพรรค กปปส. และองค์กรตามรัฐธรรมนูญบางองค์กร ด้วยการไม่ยอมรับการเลือกตั้ง การเสนอให้มีนายกฯ และครม.ที่มิได้มาจากการเลือกตั้ง การกลั่นแกล้งรัฐบาลที่ยึดหลักประชาธิปไตยตั้งแต่พรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชน จนมาถึงพรรคเพื่อไทยด้วยการยุบพรรคและตัดสิทธิ์การเมือง 5 ปี จนถึงการใช้ทุกกระบวนการเพื่อทำลายนายกฯ ตั้งแต่นายสมัคร นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ จนถึงน.ส.ยิ่งลักษณ์ โดยไม่สุจริต

รัฐประหารรูปแบบใหม่
       3.พรรคอาสาเข้ามารับใช้ประชาชน นำเสนอนโยบายที่จะทำให้ประชาชนมีความผาสุกแม้จะถูกขัดขวางและใส่ร้ายป้ายสีมาตลอด โดยขบวนการสมคบคิดดังกล่าว พรรคเชื่อมั่นในวิจารณญาณของประชาชนที่ต้องการเห็นประเทศก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคงและยั่งยืนบนพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตย 
      4.ตราบใดที่ขบวนการสมคบคิดยังดำเนินต่อไปจะมีการละเมิดหลักประชาธิปไตยและรัฐธรรมนูญไม่จบสิ้น โดยเฉพาะจากองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ถือเป็นการรัฐประหารรูปแบบใหม่ เพื่อสร้างระบอบการปกครองใหม่ที่ทำลายความหวังของประชาชนที่จะเห็นประเทศก้าวหน้าไปบนวิถีทางประชาธิปไตยและหลักนิติธรรม ประชาชนจะได้เห็นพรรคประชาธิปัตย์ กปปส. และองค์กรตามรัฐธรรมนูญบางองค์กร พยายามไม่ให้เกิดเลือกตั้งวันที่ 20 ก.ค. นี้ และให้มีนายกฯ และครม.ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง

วินิจฉัยนอกเหนือรธน.
       5.พรรคเห็นว่าการใช้อำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ ป.ป.ช. ที่กระทำต่อรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ เร่งรัด เร่งรีบ ผิดปกติ ไม่ให้โอกาสอ้างอิงพยานและรับฟังคำพยานได้เต็มที่ บ่อยครั้งสอดคล้องกับการแถลงของ กปปส.และฝ่ายที่ต้องการล้มล้างระบอบประชาธิปไตย คำวินิจฉัยของศาลวันนี้และที่ผ่านมาวางบรรทัดฐานนอกเหนือจากตัวบทกฎหมายและเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญอย่างชัดแจ้ง ทำให้ฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ และคำวินิจฉัยของศาลในวันนี้ไม่เป็นไปตามมาตรา 181 ที่บัญญัติว่าครม.ที่พ้นจากตำแหน่งตามมาตรา 180 ต้องอยู่ปฏิบัติหน้าที่จนกว่าครม.ใหม่จะเข้ารับหน้าที่ นั่นคือถ้ายังมีสภาอยู่ก็ไปเลือกนายกฯ กันใหม่แล้วมีครม. ถ้าไม่มีสภาก็เลือกตั้งจนได้ประธานสภา ได้นายกฯ และครม.ต่อไป 
       6.พรรคขอเรียกร้องให้ประชาชนผู้รักประชาธิปไตยและความถูกต้องเที่ยงธรรม ร่วมกันต่อต้านขบวนการสมคบคิดโดยใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ ไม่ว่าการแสดงความคิดเห็น การชุมนุม การร้องเรียน แจ้งความร้องทุกข์ดำเนินคดีและการต่อต้านโดยสันติวิธีทุกรูปแบบตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 69 เพื่อมิให้การดำเนินการของขบวนการสมคบคิดบรรลุผล

จี้ออกพ.ร.ฎ.เลือกตั้ง 
       7.พรรคขอให้อดีตส.ส.และสมาชิกพรรคทุกคน ชี้แจงประชาชนให้เข้าใจสถานการณ์และความมุ่งหมายของขบวนการสมคบคิด และร่วมมือกับประชาชนต่อต้านขบวนการดังกล่าวอย่างถึงที่สุด เพื่อรักษาไว้ซึ่งระบอบประชาธิปไตยฯ และสันติสุขของสังคม และ 8.พรรคขอย้ำอีกครั้งว่า กกต.และรัฐบาลต้องเร่งตราพ.ร.ฎ.กำหนดวันเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 20 ก.ค.และขอให้ทุกพรรค ทุกฝ่ายร่วมมือกับการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นโดยสุจริต เพื่อเป็นทางออกของความขัดแย้ง ดังที่ปฏิบัติกันในนานาประเทศและประเทศไทยในอดีตที่ผ่านมา
       หลังอ่านแถลงการณ์ กลุ่มผู้สนับสนุนพรรคเพื่อไทยบางส่วนมารอมอบดอกกุหลาบให้กำลังใจแกนนำพรรคด้วย 
       นายโภคินให้สัมภาษณ์ถึงผู้เสนอร่างพ.ร.ฎ.กำหนดวันเลือกตั้งว่า เชื่อว่ารัฐมนตรีที่รักษาการนายกฯ สามารถเสนอพ.ร.ฎ.เลือกตั้งแทนนายกฯ ได้ 
       เมื่อถามว่ายังห่วงการวินิจฉัยคดีของรัฐบาลโดยองค์กรอิสระอื่นอีกหรือไม่ นายโภคินกล่าวว่า ไม่ห่วงเพราะเชื่อว่าเป็นไปตามธงที่มีอยู่แล้ว พรรคอยากขอร้องให้ทุกฝ่ายเข้าสู่การเลือกตั้ง ซึ่งเป็นทางออกที่ดีที่สุด ให้การเลือกตั้งเป็นคำตอบของการเปลี่ยนถ่ายโดยสันติ ยอมรับว่าเราท้อแท้ใจบ้าง ผิดหวังบ้างแต่ต้องเดินหน้าต่อไป คนส่วนใหญ่ต้องการเลือกตั้ง ต้องการการเปลี่ยนแปลงที่เป็นสันติ การแก้ปัญหาง่ายนิดเดียวคือมีการเลือกตั้ง
      ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันที่ 8 พ.ค. เวลา 10.00 น. จะมีการประชุมคณะกรรมการกิจการพรรคเพื่อไทย เพื่อพิจารณาผลจาก คำวินิจฉัยของศาล

ชี้คำวินิจฉัยไม่ชอบ
       นายนพดล ปัทมะ กรรมการกิจการพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงคำตัดสินของศาลรัฐธรรม นูญว่า ไม่เหนือความคาดหมาย เนื้อหาในคำตัดสินส่วนใหญ่พูดถึงการกระทำของนายกฯและครม.ยืดยาว แต่ใช้เวลาสั้นๆ พูดถึงเหตุผลของรัฐบาลที่โยกย้ายนายถวิล ชัดเจนว่าหลักการแบ่งแยกอำนาจถูกทำลายลง อำนาจของฝ่ายบริหารถูกครอบงำโดยอำนาจตุลาการเกินไปหรือไม่ ไทยมีประชาธิปไตยแค่รูปแบบแต่เนื้อหาแทบไม่เหลือแล้ว เพราะกลไกต่างๆ ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งของประชาชน เช่น วุฒิสภา มีสมาชิกเพียงครึ่งเดียวมาจากการเลือกตั้ง จึงไม่ตระหนักในสถานะและหน้าที่
   นายนพดล กล่าวว่า พรรคเห็นว่าคำวินิจฉัยไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญและหลักกฎหมาย คนไทยส่วนใหญ่ก็คงไม่เห็นด้วยและจะคัดค้านคำวินิจฉัย การชุมนุมของคนเสื้อแดงคงมีคนมาร่วมคัดค้านศาลรัฐธรรมนูญจำนวนมาก ซึ่งการคัดค้านคงสงบและสันติ ส่วนรัฐมนตรีที่ไม่ถูกตัดสินให้ออกจากตำแหน่งต้องทำหน้าที่ต่อไปและเดินหน้าออกพ.ร.ฎ.เลือกตั้ง 

ยันไม่เกิดสุญญากาศ 
      นายภูมิธรรม เวชยชัย เลขาธิการพรรค เพื่อไทย กล่าวว่า เมื่อศาลรัฐธรรมนูญตัดสินเช่นนี้ ไม่ใช่ว่าเราไม่ยอมรับ แต่เราต้องใช้สิทธิ์ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 69 แสดงความเห็นต่างทางกฎหมายอย่างเต็มที่ว่าศาลตีความเกินรัฐธรรมนูญ ส่วนตัวเห็นว่าไม่ว่าจะทำตามคำสั่งศาลหรือไม่ ก็ไม่ทำให้เกิดสุญญา กาศการเมืองเพราะยังมีครม.ที่เหลือทำหน้าที่รักษาการนายกฯได้ และไม่กระทบต่อการเลือกตั้งในอนาคต จึงอยากเรียกร้องให้ กกต.ทำหน้าที่ของตนเอง หารือกับรัฐบาลเพื่อออกพ.ร.ฎ.กำหนดวันเลือกตั้งใหม่ฯโดยเร็ว
       นายชูศักดิ์ ศิรินิล คณะทำงานฝ่ายกฎหมายพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงศาลพยายามอ้างว่าการโยกย้ายนายถวิล มีการปลอมแปลงเอกสาร เป็นไปอย่างเร่งรีบเนื่องจากออกเอกสารในวันอาทิตย์ที่ 4 ก.ย. แต่เอกสารที่เห็นชอบกลับระบุเป็นวันจันทร์ที่ 5 ก.ย.ว่า เหมือนศาลจะเอากระพี้มาเป็นแก่น เอาจุดบกพร่องเล็กๆ น้อยๆ มาเป็นประเด็น ทั้งที่ไม่ใช่สาระสำคัญเพราะศาลปกครองสูงสุดเคยชี้ไว้แล้วว่า วันที่ไม่ใช่สาระสำคัญ ถือว่าทำถูกต้องตาม กระบวนการ แต่ศาลรัฐธรรมนูญกลับนำ เรื่องนี้มาเป็นประเด็นทั้งที่กระบวนการจัดทำเอกสาร ครม.มักเป็นแบบนี้อยู่แล้ว 

ปลุกคนอีสานร่วมต้าน 
        ช่วงสายก่อนศาลอ่านคำวินิจฉัย เวลา 10.00 น. ที่พรรคเพื่อไทย สหพันธ์อีสานพัฒนาเพื่อปกป้องประชาธิปไตย นำโดยนายอดิศร เพียงเกษ นายสามารถ แก้วมีชัย และนายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ อ่านแถลงการณ์ โดยนายอดิศรกล่าวว่า สหพันธ์อีสานฯทนไม่ได้กับความอยุติธรรม ศาลเร่งรัดการพิจารณา ขัดต่อหลักนิติรัฐ นิติธรรม ศาลต้องรับผิดชอบต่อผลกระทบที่ตามมา เราจะไม่ยอมรับอำนาจการวินิจฉัยที่ไม่เป็นประชาธิปไตย และจะเคลื่อนไหวเชิญชวนคนอีสานให้ต่อต้านอำนาจนอกรัฐธรรมนูญ 
      นายสามารถ กล่าวว่า สหพันธ์ฯอยากเห็นความถูกต้องเกิดขึ้น จึงจะไม่หยุดเคลื่อนไหวต่อต้านผู้ที่ทำหน้าที่ไม่เป็นไปตามหลักรัฐธรรมนูญ 

ปชป.ทันควันจี้ครม.ลาออก 
       เวลา 14.40 น. ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรค แถลงว่า ขอให้ทุกคนเคารพคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ยุติการนำศาลรัฐธรรมนูญมาเกี่ยวข้องการเมือง ยุติการยั่วยุมวลชนให้เกิดการเผชิญหน้า วันนี้คดีของน.ส.ยิ่งลักษณ์ จบลงแล้ว ขอให้บรรยากาศการเมืองจบลงด้วย น.ส.ยิ่งลักษณ์ รับกรรม ไม่ต่างจากพ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร เคยเจอ โดยลิ่วล้อยังคงเสวยสุขอยู่ วันนี้น.ส.ยิ่งลักษณ์ ไม่มีอำนาจในรัฐบาล แต่เชื่อว่าคนในตระกูลชินวัตรยังมีบทบาทสำคัญ ดังนั้นน.ส.ยิ่งลักษณ์ ควรเรียกร้องให้ครม.ลาออกหรือควรเริ่มที่ตัวน.ส. ยิ่งลักษณ์ ควรทำเป็นตัวอย่างลาออกจาก รมว.กลาโหม เพื่อให้คนอื่นทำตามและเปิดให้ประเทศเดินหน้า จะใช้แผนของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคหรือไม่ ก็ต้องหารือกัน เพราะประชาชนส่วนใหญ่ ไม่มั่นใจว่าการเลือกตั้งวันที่ 20 ก.ค.จะเกิดขึ้นได้ หรือเกิดได้แต่ไม่เป็นที่ยอมรับ จึงไม่ควรให้นายสุรพงษ์ ร.ต.อ.เฉลิม และนาย ปลอดประสพ ลากเข้าสู่การเลือกตั้งเลือด ถ้ายังคงรวบรัดให้มีการเลือกตั้งเชื่อว่าประชากรไทยจะลดลงอีกหลายร้อยคน
      นายวิรัตน์ กัลยาศิริ หัวหน้าทีมกฎหมายพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า รัฐมนตรีที่เหลือในครม.ชุดปัจจุบันยังรักษาการในตำแหน่ง ได้ ส่วนรักษาการหากเป็นนายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล ก็ยังมีคดีทุจริตจำนำข้าวอยู่ใน ป.ป.ช. ซึ่งป.ป.ช.จะชี้มูลวันที่ 8 พ.ค.นี้ และมีการวิเคราะห์ว่านายนิวัฒน์ธำรง จะถูกชี้มูลความผิดด้วย จะเหลือนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา เพียงคนเดียวที่จะรักษาการนายกฯได้ แต่ตามมารยาทเมื่อศาลวินิจฉัยให้นายกฯพ้นจากตำแหน่ง ครม.ที่เหลือควรลาออกเพื่อรับผิดชอบต่อประเทศและสังคมด้วย เมื่อ นายกฯไม่อยู่รักษาการก็ไม่เคยเห็นครม.ประเทศไหนที่จะอยู่รักษาการ เช่น เกาหลีใต้ แค่เรือล่มยังรับผิดชอบด้วยการลาออก

นักวิชาการชี้ไม่เกิดสุญญากาศ
       ความเห็นของนักวิชาการต่อคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ นายสมชาย ปรีชาศิลปกุล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ ม.เชียงใหม่ กล่าวว่า รัฐบาลยังเดินหน้าต่อ ตุลาการอ่านคำวินิจฉัยชัดเจนว่ารัฐมนตรีที่เหลือต้องอยู่รักษาการจนกว่าจะมีครม.ชุดใหม่เข้ามาทำหน้าที่ ส่วนบางตำแหน่งในครม.ว่างลง อาจใช้วิธีแต่งตั้งปลัดกระทรวงขึ้นมาทำหน้าที่รัฐมนตรีแทนได้ จากนั้นให้เดินหน้าตราพ.ร.ฎ.กำหนดวันเลือกตั้งต่อไป ส่วนกกต.ก็ขอความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ให้การเลือกตั้งเสร็จสมบูรณ์ให้ได้เพื่อมีรัฐบาลชุดใหม่ ไม่ได้เกิดสุญญากาศการเมือง 
       นายสมชาย กล่าวว่า สำหรับคำวินิจฉัยยังมีบางส่วนที่ขาดความชัดเจน แต่สิ่งหนึ่งที่สะท้อนออกมาคือหากเรามีนายกฯ ที่ไม่ได้มาจากพรรคประชาธิปัตย์ จะถูกถอดให้พ้นจากตำแหน่งโดยองค์กรอิสระ ไม่ว่านายสมัคร นายสมชาย จนถึงน.ส.ยิ่งลักษณ์ นี่คือปัญหาใหญ่ที่สังคมควรถกเถียงกันว่า โครงสร้างที่ให้องค์กรอิสระที่ไม่มีส่วนยึดโยงกับประชาชนมากำกับฝ่ายการเมืองที่ผูกติดกับประชาชนจำนวนมากผ่านการเลือกตั้งแบบที่เป็นอยู่นี้ ชอบธรรมหรือไม่ การออกแบบเชิงโครงสร้างดังกล่าวในระยะยาวจำเป็นต้องมีในแผนปฏิรูป ไม่ใช่มีแต่เรื่องนักการเมืองทุจริตเท่านั้น มิเช่นนั้นเสียงของประชาชนจะมีความสำคัญน้อยลง 

ผลักดันเลือกตั้ง 
      นายพัฒนะ เรือนใจดี รองอธิการบดี ม.รามคำแหง กล่าวว่า ยืนยันว่าไม่เกิดสุญญากาศทางการเมือง ทุกอย่างต้องเป็นไปตามระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน รอง นายกฯ ที่ไม่ได้อยู่ในชุดที่ศาลชี้ให้พ้นสภาพรัฐมนตรีต้องทำหน้าที่นายกฯ รักษาการแทน ส่วนครม.ที่ว่างไปบางส่วน ให้ปลัดกระทรวงขึ้นมารักษาการแทนเช่นกัน ส่วนวุฒิสภาที่จะมีการเลือกประธานวันที่ 9 พ.ค.ก็ทำไม่ได้ในส่วนนี้ ทำได้แค่อำนาจหน้าที่ที่มีอยู่ตามมาตรา 132 เพราะขณะนี้อยู่ระหว่างยุบสภา รัฐบาลรักษาการต้องเดินหน้าต่อไป เร่งตราพ.ร.ฎ. กำหนดวันเลือกตั้ง เพื่อให้มีรัฐบาลชุดใหม่เข้ามาทำหน้าที่โดยเร็วที่สุด 
       นายเกษม เพ็ญภินันท์ อาจารย์ประจำคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า ถือเป็นคำวินิจฉัยที่เกินขอบเขตอำนาจ ล้ำเส้น ก้าวล่วงอำนาจของฝ่ายบริหาร ทำลายหลักพื้นฐานการอยู่ร่วมกันในสังคม กลายเป็นบรรทัดฐานใหม่สำหรับการทำงานของฝ่ายบริหารในการโยกย้ายข้าราชการระดับสูงที่จะทำไม่ได้ง่ายๆ อีกต่อไป แม้ข้าราชการนั้นจะไม่สามารถสนองนโยบายรัฐบาลได้ก็ตาม 
       นายเกษม กล่าวว่า คำวินิจฉัยนี้ไม่ใช่สุญญากาศแต่สร้างทางตัน ทำให้การเลือกตั้งมีปัญหาทำได้ยากขึ้น แต่ไม่ใช่สุญญากาศที่จะหยุดความต่อเนื่องในการบริหารราชการแผ่นดินได้ สำคัญที่สุดจากนี้ไปสังคมต้องกดดัน กกต.ให้เร่งจัดการเลือกตั้งให้เสร็จโดยเร็ว ส่วนที่นายไพบูลย์ นิติตะวัน จี้ให้ครม.ลาออกไปด้วยทั้งที่ไม่ใช่อำนาจหน้าที่ส.ว. สะท้อนว่าฝ่ายปฏิปักษ์ต่อประชาธิปไตยจะยังคงรุกคืบและโจมตีอย่างต่อเนื่อง 

กกต.เดินหน้าเลือกตั้ง
       นายศุภชัย สมเจริญ ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กล่าวถึงศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยให้น.ส.ยิ่งลักษณ์ สิ้นสภาพความเป็นรัฐมนตรีว่า ไม่กระทบต่อการจัดเลือกตั้งส.ส.ครั้งใหม่ที่จะมีขึ้น หลังจากนี้ กกต.ยังคงเดินหน้าจัดเลือกตั้งต่อไปและไม่ว่ารัฐมนตรีคนใดจะขึ้นมารักษาการแทนนายกฯ ย่อมมีหน้าที่ต้องทูลเกล้าฯ ถวายพ.ร.ฎ.แก้ไขเพิ่มเติมกำหนดวันเลือกตั้งส.ส.เป็นการเลือกตั้งทั่วไป เนื่องจาก กกต.ไม่มีอำนาจทูลเกล้าฯ เองได้ แต่ต้องรอหารือกับรัฐบาลถึงการยกร่างพ.ร.ฎ.อีกครั้ง 
       ด้านนายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต.ด้านกิจการบริหารงานเลือกตั้ง กล่าวว่า หากต้องการให้เลือกตั้งเป็นตามกำหนดเดิมคือวันที่ 20 ก.ค. นั้น กกต.กับรักษาการแทนนายกฯ จะต้องได้ข้อสรุปภายใน 1 สัปดาห์นับจากนี้ ไม่เช่นนั้นจะต้องล่าช้าออกไป

กิตติพงษ์สมัครใจนั่งที่ปรึกษา
       ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายกิตติพงษ์ กิตยารักษ์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม โพสต์เฟชบุ๊กภายหลัง ครม.มีมติย้ายไปนั่งที่ปรึกษานายกฯ ว่า ขอบคุณผู้ที่ห่วงใยหลังครม.ย้ายให้ไปเป็นที่ปรึกษานายกฯ ฝ่ายข้าราชการประจำ ตนดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงยุติธรรมมาครบ 6 ปีแล้ว ซึ่งตามระเบียบราชการไม่สามารถดำรงตำแหน่งนี้ได้อีก การย้ายไปเป็นที่ปรึกษานายกฯ จึงเป็นความสมัครใจ เชื่อว่าตำแหน่งทางราชการเป็นเพียงหัวโขน ซึ่งตำแหน่งที่ปรึกษานายกฯ ฝ่ายข้าราชการประจำถือเป็นตำแหน่งที่ไม่ต้องรอพึ่งพาใคร น่าจะทำให้รักษาเกียรติของความเป็นข้าราชการที่ดำรงตนบนความถูกต้อง นอกจากนี้ยังให้เวลาในงานผลักดันวาระการปฏิรูปประเทศร่วมกับเครือข่ายได้เต็มที่

สื่อนอกชี้'ปู'พ้นนายก-หวั่นรุนแรง
      วันที่ 7 พ.ค. เว็บไซต์สำนักข่าวต่างประเทศชั้นนำของโลกต่างรายงานผลคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร พ้นสภาพนายกฯ จากกรณีแต่งตั้งโยกย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรี เป็นข่าวใหญ่ เช่น บีบีซีรายงานว่า คำวินิจฉัยครั้งนี้เกิดขึ้นท่ามกลางวิกฤตการเมืองซึ่งเริ่มต้นเมื่อกลุ่มต่อต้านรัฐบาลจัดการชุมนุมประท้วงกดดันให้น.ส.ยิ่งลักษณ์ลาออกตั้งแต่เดือนพ.ย. ปีที่ผ่านมา อาจกระตุ้นให้เกิดการประท้วงของผู้สนับสนุนรัฐบาลจำนวนมากในต่างจังหวัด
      นายไมเคิล มอนเตซาโน จากสถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา แห่งมหาวิทยาลัยสิงคโปร์ กล่าวว่า ประวัติศาสตร์จะจดจำน.ส.ยิ่งลักษณ์ในฐานะผู้มีความอดทนที่จะไม่ใช้ความรุนแรง ทั้งที่ตกอยู่ภายใต้ความกดดันมาตั้งแต่เดือนพ.ย.ปีที่ผ่านมา และพยายามรักษาเกียรติในตำแหน่ง แสดงถึงความมีมนุษยธรรมมากกว่าหยิ่งทะนงภายใต้ความกดดันสูงมาก
      สำนักข่าวเอพี สหรัฐวิเคราะห์ว่า คำวินิจฉัยของศาลครั้งนี้เสมือนชัยชนะของฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลซึ่งส่วนใหญ่เป็นชนชั้นสูงและประชาชนในกรุงเทพฯและภาคใต้ที่เรียกร้องรัฐบาลที่ไม่เป็นประชาธิปไตยและความเคลื่อนไหวโดยไม่ได้แก้วิกฤตของประเทศ และเป็นก้าวแรกนำสู่ความรุนแรงอีกครั้ง 
      เว็บไซต์นิตยสารไทม์วิเคราะห์ว่า คำวินิจฉัยนี้เปรียบเสมือนการเติมพลังให้กับกลุ่มกปปส.และพรรคประชาธิปัตย์ รวมถึงปูทางให้เกิดการประท้วงบนถนนอีกครั้ง เช่นเดียวกับซีเอ็นเอ็นรายงานคำให้สัมภาษณ์นายพอล กวายา ผอ.บริษัทวิเคราะห์ความเสี่ยงแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯว่า ดูเหมือนปัญหาใหญ่จะตามมา พร้อมเรียกร้องไม่ให้จัดการประท้วงในบริเวณใกล้เคียงกันเพราะเสี่ยงเกิดความรุนแรง
       ด้านนิวยอร์กไทมส์ ระบุว่า คำวินิจฉัยครั้งนี้เป็นครั้งที่ 3 ตั้งแต่ปี 2549 ที่มีคำสั่งให้บุคคลซึ่งเป็นนายกฯที่เกี่ยวพันกับพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร พ้นจากตำแหน่ง ครั้งนี้มีความวิตกเรื่องความรุนแรงตามมาเพราะกลุ่มต่อต้านรัฐบาลที่มีอาวุธยังคงขวางเส้นทางเข้าออกทำเนียบรัฐบาลและสถานที่ราชการหลายแห่งในกรุงเทพฯ ขณะที่กลุ่มเสื้อแดงนัดชุมนุมใหญ่ในวันเสาร์ที่ 10 พ.ค. ที่จ.นครปฐม

 

ปูพ้นนายก-ไม่สุญญากาศ 'นิวัฒน์'รับไม้ นำ 25 รมต.รักษาการ '9 รัฐมนตรี'ติดบ่วงปิ๋ว ศาลรธน.ฟันย้ายถวิล ปปช.ลงดาบสองวันนี้



นิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล

        ศาลรัฐธรรมนูญสั่ง 'ปู-9 รมต.'พ้นสถานะรัฐมนตรี หยุดปฏิบัติหน้าที่ 'เพื่อไทย'ชี้ปมข้อกฎหมายอื้อ เตรียมยื่นตีความอีก รอลุ้นอีกดาบ ป.ป.ช.ชี้มูลคดีจำนำข้าว 8 พ.ค.

ศาลรธน.ถกคำวินิจฉัยคดีถวิล

        เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 7 พฤษภาคม ที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ องค์คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้ง 9 คน มีการประชุมเพื่อแถลงด้วยวาจาก่อนลงมติและแถลงด้วยวาจา และร่างคำวินิจฉัยกลางคำร้องที่ประธานวุฒิสภาส่งความเห็นของนายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา กับคณะ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลง ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 182 วรรคหนึ่ง (7) ประกอบมาตรา 268 หรือไม่

        ทั้งนี้ คำร้องดังกล่าวองค์คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้กำหนดประเด็นในการพิจารณาไว้ 3 ประเด็น ประกอบด้วย 1.พิจารณาว่าเมื่อมีการยุบสภาผู้แทนราษฎรแล้ว ปัญหาที่ต้องพิจารณานายกรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 180 วรรคหนึ่ง (2) ความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงแล้ว หรือไม่ 2.การกระทำของนายกรัฐมนตรีเป็นการกระทำการต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 268 ประกอบมาตรา 266 (2) (3) เป็นการทำให้ความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีต้องสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญมาตรา 182 วรรคหนึ่ง หรือไม่ และ 3.เมื่อความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลง ตามมาตรา 182 วรรคหนึ่ง (7) จะทำให้ความเป็นรัฐมนตรีของคณะรัฐมนตรีทั้งคณะต้องสิ้นสุดลงด้วยหรือไม่ 

      นายเชาวนะ ไตรมาศ เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เปิดเผยว่า สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญได้ประสานขอกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจจากสถานีตำรวจนครบาลทุ่งสองห้อง กองบัญชาการตำรวจนครบาล 2 และเจ้าหน้าที่ทหาร รวม 5 กองร้อย มาดูแลรักษาความปลอดภัยและความเรียบร้อยภายในสำนักงาน และพื้นที่ 4 จุดเสี่ยงโดยรอบสำนักงาน ซึ่งสถานการณ์เป็นไปด้วยความปกติ ยังไม่มีการรายงานเหตุการณ์ความวุ่นวายแต่อย่างใด 

40ส.ว.-ทนายปูร่วมฟัง

       ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับบรรยากาศการอ่านคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ มีการถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์และวิทยุกระจายเสียง ขณะที่ฝ่ายผู้ร้องมี นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา น.ส.รสนา โตสิตระกูล ส.ว.กทม., นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา, นายประสาร มฤคพิทักษ์ ส.ว.สรรหา และ น.ส.สุมล สุตะวิริยะวัฒน์ อดีต ส.ว.เพชรบุรี ขณะที่ตัวแทนของรัฐบาลได้ส่งนายวัฒนา เมืองสุข อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย (พท.) และนายสมหมาย กู้ทรัพย์ ผู้รับมอบอำนาจจากนายกรัฐมนตรี พร้อมทีมทนายมาร่วมฟังคำพิพากษา

ศาลชี้มีอำนาจรับวินิจฉัยม.182(7)

       กระทั่งเวลา 12.20 น. ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้ง 9 คนออกนั่งบัลลังก์อ่านคำวินิจฉัย โดยประธานศาลรัฐธรรมนูญมอบหมายให้นายเฉลิมพล เอกอุรุ และนายอุดมศักดิ์ นิติมนตรี ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เป็นผู้อ่านคำวินิจฉัย โดยนายเฉลิมพลกล่าวว่า กรณีที่ขอให้วินิจฉัยว่าความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีว่าจะสิ้นสุดลง ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 182 วรรคหนึ่ง (7) ประกอบมาตรา 268 หรือไม่นั้น แม้ผู้ร้องระบุว่า ความเป็นนายกรัฐมนตรี ได้สิ้นสุดลงไปแล้วเมื่อมีการยุบสภา ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 180 (2) แต่รัฐธรรมนูญมาตรา 181 ระบุ ให้คณะรัฐมนตรียังคงต้องทำหน้าที่ต่อจนกว่าจะมีรัฐมนตรีชุดใหม่เข้ามาทำหน้าที่ ดังนั้น ความเป็นนายกฯยังไม่สิ้นสุดลง จนกว่าคณะรัฐมนตรีชุดใหม่เข้ามาทำหน้าที่ นายกฯยังไม่พ้นจากตำแหน่งโดยเด็ดขาด ซึ่งแตกต่างจากกรณีอื่น เช่น คดีของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ที่ถูกปลดออกจากราชการทหาร เพราะกรณีดังกล่าวผู้ถูกร้องไม่ได้ดำรงตำแหน่ง ส.ส. แล้ว แต่กรณีนี้นายกฯยังคงปฏิบัติหน้าที่อยู่ ดังนั้น ศาลรัฐธรรมนูญจึงมีอำนาจรับกรณีนี้ไว้พิจารณา 

ชี้รีบเร่ง-เอกสารโยกย้ายมีพิรุธ

      นายอุดมศักดิ์ กล่าวว่า ส่วนกรณีการโอนย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรี จากตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ใช้เวลาเพียง4 วัน แสดงให้เห็นว่าเป็นการดำเนินการเร่งรีบ ผิดสังเกต รวบรัด ปราศจากเหตุผลอันสมควรที่ต้องรวดเร็ว ทั้งยังปรากฏการให้ข้อมูลอันเป็นเท็จ ให้เห็นเป็นพิรุธจากภาพถ่ายเอกสารราชการสำคัญ ได้แก่ บันทึกข้อความจากสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักเลขาธิการนายกฯ ที่ นร.0401.2/8303 ที่ศาลมีคำสั่งเรียกมาจากสำนักเลขาธิการนายกฯ ระบุวันที่ทำหนังสือดังกล่าวเป็นวันที่ 5 กันยายน 2554 แต่ภาพถ่ายบันทึกข้อความฉบับเดียวกันที่ได้จากนายถวิล ก่อนหน้านั้นกลับระบุวันที่เป็นวันที่ 4 กันยายน 2554 แสดงว่าต้องมีการแก้ไขวันที่ ทำให้เอกสารผิดเท็จไปจากความจริง จึงส่อให้เห็นถึงความไม่ปกติในการดำเนินการ เพื่อเอื้อประโยชน์ให้ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ อดีต ผบ.ตร. ซึ่งเป็นญาติผู้ถูกร้อง ถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยไม่สุจริต ไม่ชอบด้วยหลักนิติธรรม 

มติเอกฉันท์ปู-ยิ่งลักษณ์ 1 หลุด

        จากนั้นนายจรูญ อินทจาร ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ได้อ่านคำวินิจฉัยว่า การกระทำดังกล่าวถือต้องห้ามตามมาตรา 268 ประกอบมาตรา 266 (2) (3) ทำให้ความเป็นรัฐมนตรีของผู้ถูกร้องสิ้นสุดลงเป็นการเฉพาะตัวแล้ว ไม่สามารถอยู่ปฏิบัติหน้าที่ได้อีกต่อไป และเมื่อความเป็นรัฐมนตรีผู้ถูกร้องสิ้นสุดลงเฉพาะตัว ย่อมทำให้ ครม.ที่เหลืออยู่ที่ไม่ขาดคุณสมบัติต้องห้ามของความเป็นรัฐมนตรี อยู่ในตำแหน่งต่อไปเพื่อปฏิบัติหน้าที่จนกว่า ครม.ชุดใหม่จะเข้ารับหน้าที่ 

       อย่างไรก็ตาม กรณีการโยกย้ายนายถวิลเข้าสู่การพิจารณาของ ครม.ในวันที่ 6 กันยายน 2554 และมีมติเอกฉันท์อนุมัติให้โยกย้าย ดังนั้น รัฐมนตรีทุกคนที่ร่วมประชุมและลงมติในวันนั้น จึงมีส่วนร่วมโดยทางอ้อมในการก้าวก่ายแทรกแซง เป็นการกระทำต้องห้ามตามมาตรา 268 ประกอบมาตรา 266 (2) (3) เป็นเหตุให้ความรัฐมนตรีเหล่านั้นสิ้นสุดลงเป็นการเฉพาะตัวตามมาตรา 182 วรรคหนึ่ง (7) ไปด้วย 

ยกคำร้องขอตั้งนายกฯคนใหม่

       นายจรูญ กล่าวว่า สำหรับประเด็นที่ผู้ร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ดำเนินการแต่งตั้งนายกฯคนใหม่ตามมาตรา 172 และมาตรา 173 นั้นไม่อยู่ในขอบเขตการเสนอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยในคดีนี้ ศาลจึงไม่พิจารณาวินิจฉัยและยกคำร้อง ทั้งนี้ ให้คัดสำเนาคำวินิจฉัยได้เมื่อพ้น 15 วัน หลังจากมีคำวินิจฉัย (อ่านรายละเอียด น.2)

        ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ผลจากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าว มีรัฐมนตรีที่อยู่ในรัฐบาลรักษาการ จำนวน 10 คน ที่เข้าร่วมประชุมคณะรัฐมนตรีในวันที่ 6 กันยายน 2554 และต้องสิ้นสุดสถานภาพประกอบด้วย 1.น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม 2.นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล ปฏิบัติหน้าที่รองนายกฯและ รมว.การต่างประเทศ 3.นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง ปฏิบัติหน้าที่รองนายกฯและ รมว.คลัง 4.นายปลอดประสพ สุรัสวดี ปฏิบัติหน้าที่รองนายกฯ 5.พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก ปฏิบัติหน้าที่รองนายกฯ 6.ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ปฏิบัติหน้าที่ รมว.แรงงาน 7.พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา ปฏิบัติหน้าที่รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม 8.นายสันติ พร้อมพัฒน์ ปฏิบัติหน้าที่รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ 9.น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ ปฏิบัติหน้าที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) และ 10.นายศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์ รมช.เกษตรและสหกรณ์ เมื่อครั้งเป็น รมช.พาณิชย์

อ่านเสร็จสั่งจนท.เผ่น

       ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้อ่านคำวินิจฉัยเสร็จสิ้นแล้ว ทางสำนักงานฯก็ได้มีการประกาศทางเสียงตามสายภายในสำนักงานฯสั่งให้เจ้าหน้าที่ของสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องเดินทางกลับบ้านก่อนเวลาเลิกงาน เพื่อจะได้มีการดูแลในเรื่องความปลอดภัยของบุคคลและสถานที่ได้สะดวกมากยิ่งขึ้น พร้อมกันนี้ ได้แจ้งให้เจ้าหน้าที่ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดหากมีเหตุไม่ปกติ ทางสำนักงานฯก็จะมีการพิจารณาให้เจ้าหน้าที่หยุดมาปฏิบัติงานที่สำนักงาน นอกจากนี้ ยังพบว่ามีเสียงดังคล้ายเสียงปืนขึ้น 2 นัดบริเวณฝั่งตรงข้ามด้านหน้าสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ

เลขาฯศาลสั่งปิดสนง. 8 พ.ค.

       ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอ่านคำวินิจฉัยเสร็จสิ้น ปรากฏว่าที่ด้านหน้าสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เกิดเสียงดังคล้ายเสียงปืนต่อเนื่องกันกว่า 10 นัด ขณะเดียวกันภายในสำนักงานก็มีการนำประกาศสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญที่ลงนามโดยนายเชาวนะ ไตรมาศ เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ไปติดไว้ที่ประตูทางเข้า โดยมีข้อความแจ้งให้เจ้าหน้าที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญทราบว่า จากผลคำวินิจฉัยดังกล่าว ได้ปรากฏข่าวสารจากสื่อมวลชนหลายแหล่งว่าจะมีบุคคล หรือกลุ่มบุคคล นำผลของคำวินิจฉัยไปสร้างสถานการณ์ยุยง ปลุกปั่น ก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยขึ้น อันก่อให้เกิดอันตรายต่อคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ คณะผู้สนับสนุนการปฏิบัติงานของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ข้าราชการและลูกจ้าง เพื่อเป็นการรักษาความปลอดภัย จึงประกาศให้สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญหยุดทำการในวันที่ 8 พฤษภาคม 

จรัญไม่กังวลคู่ขัดแย้งการเมือง

      นายจรัญ ภักดีธนากุล ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กล่าว กรณีที่มีข้อสังเกตว่าความเป็นรัฐมนตรีของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ต้องสิ้นสุดลงด้วยหรือไม่ เป็นประเด็นที่ฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องไปพิจารณา เพราะศาลรัฐธรรมนูญได้พิจารณาข้อเท็จจริงตามกฎหมายที่ปรากฏอยู่ในคำร้อง

      เมื่อถามว่า กังวลหรือไม่ภายหลังจากมีคำวินิจฉัยแล้วศาลจะเป็นคู่กรณีทางการเมือง นายจรัญกล่าวว่า ในเมื่อปฏิบัติหน้าที่ในฐานะข้าราชการจะมีความเกรงกลัวไม่ได้ เพราะได้ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย เมื่อตอนรับเงินเดือนยังไม่มีความกลัว แล้วตอนปฏิบัติหน้าที่จะกลัวได้อย่างไร 

ยันปูต้องพ้นรมว.กห.ด้วย

       แหล่งข่าวจากศาลรัฐธรรมนูญระบุว่า สำหรับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ให้ความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีต้องสิ้นสุดลงเฉพาะตัว จะมีผลให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ต้องพ้นจากตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม หรือไม่นั้น เห็นว่าความผิดในเรื่องการโยกย้ายนายถวิล เป็นความผิดของบุคคลซึ่งรัฐธรรมนูญกำหนดให้เป็นเหตุให้ต้องพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี ดังนั้น ไม่ว่าบุคคลนั้นจะไปดำรงตำแหน่งใดในคณะรัฐมนตรีก็ต้องพ้นจากตำแหน่งนั้นไปด้วย เช่น บุคคลนั้นขณะดำรงตำแหน่งเป็นผู้จัดการแล้วไปทำร้ายผู้อื่น แต่ต่อมาบุคคลดังกล่าวได้เปลี่ยนหน้าที่เป็นเจ้าของบริษัท ความผิดในการทำร้ายผู้อื่นก็ยังคงอยู่ ต้องได้รับการลงโทษ เช่นเดียวกับรัฐมนตรีที่ได้ร่วมลงมติเห็นชอบกับการย้ายนายถวิล แม้ในปัจจุบันจะได้เปลี่ยนไปดำรงตำแหน่งเป็นเจ้ากระทรวงอื่น แต่เมื่อศาลชี้ว่าเป็นความผิดก็ต้องพ้นจากตำแหน่งความเป็นรัฐมนตรีในปัจจุบัน

รมต.สิ้นสภาพไม่ถูกถอนสิทธิ

        แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า ความผิดดังกล่าวรัฐธรรมนูญไม่ได้กำหนดให้ผู้ที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี ต้องเว้นวรรคทางการเมือง ดังนั้นเมื่อศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยแล้ว ก็สามารถได้รับแต่งตั้งให้เข้าดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีใหม่ได้ทันที เพียงแต่การจะแต่งตั้งรัฐมนตรี เป็นอำนาจเฉพาะของนายกรัฐมนตรี ซึ่งขณะนี้ความเป็นนายกรัฐมนตรีของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้สิ้นสุดลงไปแล้ว แม้จะมีรักษาการนายกรัฐมนตรี ก็ไม่อาจที่จะแต่งตั้งรัฐมนตรีได้ เพราะถือว่าการแต่งตั้งรัฐมนตรีเป็นอำนาจเฉพาะตัวของนายกฯเท่านั้น

นิวัฒน์ธำรง รักษาการนายกฯ

       ต่อมาเวลา 15.00 น. ที่สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ถนนแจังวัฒนะ นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา ปฏิบัติหน้าที่รองนายกรัฐมนตรี และนายธงทอง จันทรางศุ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ร่วมแถลงข่าวภายหลังรับทราบคำตัดสินของศาลรัฐ ธรรมนูญ โดยนายพงศ์เทพกล่าวว่า มีประเด็นเกี่ยวกับรัฐมนตรีซึ่งมีส่วนร่วมในการลงมติโยกย้ายนายถวิล จำนวน 10 คน ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยมีส่วนร่วมทั้งทางตรงและทางอ้อม ถือว่าได้กระทำการต้องห้าม แต่มีรัฐมนตรีจำนวนหนึ่งได้พ้นจากความเป็นรัฐมนตรีไปแล้ว คือได้ย้ายจากตำแหน่งเดิมขณะที่มีการพิจารณาเรื่องการโยกย้ายนายถวิล และบางคนพ้นตำแหน่งไปเกือบ 1 ปี และได้เข้ารับแต่งตั้งให้มาดำรงตำแหน่งใหม่ซึ่งต่างจากตำแหน่งเดิม และมีรัฐมนตรีบางคนเปลี่ยนไปดำรงตำแหน่งอีกกระทรวง จึงเป็นประเด็นข้อสงสัยทางกฎหมายว่า ที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยมีความหมายเป็นอย่างไร จึงมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกายกร่างหนังสือ เพื่อจะสอบถามไปยังศาลรัฐธรรมนูญ

        นายพงศ์เทพ กล่าวว่า ส่วนกรณีศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลง คณะรัฐมนตรี (ครม.) ก็ได้มีมติโดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน มาตรา 10 ให้นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล ปฏิบัติหน้าที่รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี โดยในวันที่ 8 พฤษภาคม เวลา 10.00 น. จะมีการประชุม ครม. เพื่อแบ่งหน้าที่การปฏิบัติงานต่อไป

เล็งยื่นศาลรธน.สถานะบิ๊กอ๊อด

       "กรณีมีคำถามสงสัย ยกตัวอย่าง พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา ที่ดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมใน ครม.ยิ่งลักษณ์ 1และต่อมาไปดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี และพ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีไป 9 เดือนแล้ว จึงมาเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม รวมทั้งหลายคนก็เปลี่ยนตำแหน่ง บางคนเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและพ้นไปเป็นรัฐมนตรีอีกกระทรวง ส่วนกรณีนายกฯก็เป็นอีกกรณีหนึ่ง ซึ่งเป็นนายกฯอย่างเดียวตอน ครม.ยิ่งลักษณ์ 1 แต่ต่อมาก็เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมอีกตำแหน่งด้วย จึงจะถามศาลว่าความหมายในคำวินิจฉัยของท่านคืออะไร" นายพงศ์เทพกล่าว

นิวัฒน์ฯไม่หนักใจทำหน้าที่นายกฯ

       ด้านนายนิวัฒน์ธำรง ให้สัมภาษณ์ว่า ไม่หนักใจที่ต้องเข้ามาทำหน้าที่แทนนายกฯ โดยในวันที่ 8 พฤษภาคม ได้เรียกประชุม ครม.ที่เหลือ เกี่ยวกับการทำหน้าที่และการแบ่งงานต่างๆ รวมทั้งการพิจารณาเรื่องร่างพระราชกฤษฎีกาเลือกตั้ง และบทบาทของศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส.) ที่รัฐมนตรีบางคนใน ศอ.รส.ถูกศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยพ้นสภาพรัฐมนตรี ครม.รักษาการมีหน้าที่หลักคือดำเนินการให้จัดการเลือกตั้ง ทำหน้าที่ดูแลประชาชน และเศรษฐกิจของประเทศตาม พ.ร.บ.การบริหารราชการแผ่นดิน และรัฐธรรมนูญมาตรา 181

ลั่นเดินหน้าจัดเลือกตั้งโดยเร็ว

      เมื่อถามกรณีที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) นัดชี้มูลคดีโครงการรับจำนำข้าว วันที่ 8 พฤษภาคม กังวลว่าจะส่งผลต่อรัฐบาลอีกหรือไม่ นายนิวัฒน์ธำรงกล่าวว่า คดีนี้เป็นการกล่าวหา น.ส.ยิ่งลักษณ์ ว่าปล่อยปละละเลยให้เกิดการทุจริต จึงต้องรอคำตัดสินของ ป.ป.ช.ก่อน 

      ผู้สื่อข่าวถามว่า จากนี้จะมีอุบัติเหตุทางการเมืองจนไม่สามารถจัดการเลือกตั้งได้หรือไม่ นายนิวัฒน์ธำรง กล่าวยอมรับว่ารัฐบาลรักษาการคงทำหน้าที่ไม่ได้เต็มที่ แต่หวังว่าการเมืองจากนี้ไปคงไม่ร้อนแรงแล้ว เพราะศาลรัฐธรรมนูญตัดสินคดี น.ส.ยิ่งลักษณ์ เสร็จเรียบร้อย จึงไม่น่าจะมีประเด็นอะไรเกิดขึ้นอีก และขอความร่วมมือประชาชนทุกกลุ่มทำให้บ้านเมืองสงบเรียบร้อยตามกรอบรัฐธรรมนูญทั้งการเลือกตั้งและการปฏิรูปประเทศ

ปูแถลงปัดฝ่าฝืนรธน.-ไร้ทุจริต 

      ต่อมาเวลา 16.00 น. ที่สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ถนนแจ้งวัฒนะ น.ส.ยิ่งลักษณ์ เปิดแถลงข่าวผลวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ว่า ตลอดระยะเวลาที่รัฐบาลนี้ได้ทำหน้าที่ ได้ทำหน้าที่ในฐานะนายกรัฐมนตรีอย่างเต็มที่ในการขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลตามที่ได้แถลงไว้ต่อรัฐสภา เพื่อพัฒนาประเทศและความเป็นอยู่ของประชาชนทั้งเรื่องเศรษฐกิจ ในการสร้างสมดุลให้ระบบ เศรษฐกิจ สร้างความแข็งแรงของเศรษฐกิจทั้งภายในและนอกประเทศ ด้านสังคมที่มุ่งสร้างความเสมอภาคและเท่าเทียมกัน เพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยยึดหลักความซื่อสัตย์สุจริตและไม่มีพฤติกรรมการทุจริตหรือการเอื้อประโยชน์ให้อื่นผู้ใด หรือการฝ่าฝืนในบทบัญญัติรัฐธรรมนูญอย่างที่กล่าวหา นอกจากนี้ มีการดำเนินการขับเคลื่อนนโยบายเรื่องการทุจริตเสมอมา 

ขอยึดเส้นทางปชต. 

       น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าวต่อว่า ขอถือโอกาสนี้ขอขอบคุณพี่น้องข้าราชการที่สนับสนุนการทำงานของรัฐบาลตลอด 2 ปีที่ผ่านมา ที่สำคัญขอบคุณประชาชนที่ให้ความไว้ใจ ซึ่งได้รับใช้ประชาชนตลอดมาและให้กำลังใจที่ให้ตลอดการทำงานไม่ว่าช่วงยากลำบากเพียงใด ช่วงที่เดือดร้อนในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ สังคมหรือเหตุการณ์ทางการเมืองก็ได้รับกำลังใจเสมอมา เป็นสิ่งที่ทำให้มีกำลังใจในการทำงานด้วยความทุ่มเทเป็นเวลา 2 ปี 9 เดือน 2 วัน ทุกนาทีอยู่บนความภูมิใจที่ได้ทำหน้าที่นายกฯจากการเลือกตั้งจากประชาชน ด้วยวิถีทางประชาธิปไตย ต่อไปนี้ไม่ว่าสถานะใดก็จะขอเดินตามเส้นทางประชาธิปไตยยึดมั่นในหลักนิติรัฐ นิติธรรม สุดท้ายนี้ไม่ว่าอยู่ตำแหน่งไหน ขอยืนเคียงข้างพี่น้องประชาชนคนไทยตลอดไป

ยังเร็วไปตอบอนาคตการเมือง

       เมื่อถามว่า ได้วางอนาคตทางการเมืองและคิดว่าจะเล่นการเมืองอีกหรือไม่ น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าวว่า "วันนี้เร็วไปที่จะตอบคำถามนี้ เหตุการณ์ต่างๆ เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว"

       เมื่อถามต่อว่า คิดว่าได้รับความยุติธรรมหรือไม่ น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าวว่า "ไม่ขอให้ความเห็นวันนี้เพราะต้องรอคำวินิจฉัยอย่างเป็นทางการก่อน วันนี้ไม่อยู่ในวิสัยที่จะวิพากษ์วิจารณ์ใดๆ แต่ยืนยันได้ว่าทำหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต การทำงานยึดหลักระบบคุณธรรมจริยธรรมมาตลอด"

       เมื่อถามว่า จะใช้เวลานานแค่ไหนในการตัดสินใจทางการเมือง น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าวย้ำว่า ยังเร็วเกินไปที่จะตอบคำถามนี้

ชัยเกษมเชื่อปูยังนั่งกห.

        นายชัยเกษม นิติสิริ ปฏิบัติหน้าที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม แสดงความเห็นถึงสถานะของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ว่า โดยส่วนตัวเห็นว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ยังคงสามารถปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งรัฐมนตรีว่การกระทรวงกลาโหมได้ เนื่องจากเป็นการโปรดเกล้าฯแต่งตั้ง หลังจากการย้ายนายถวิล ซึ่งช่วงที่นายกฯและ ครม.ลงนามโยกย้ายนายถวิล น.ส.ยิ่งลักษณ์ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเพื่อตำแหน่งเดียวเท่านั้น เช่นเดียวกับรัฐมนตรีอีกหลายคน เช่น ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ช่วงนั้นดำรงตำแหน่งรองนายกฯ ต่อมามีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้พ้นจากรองนายกฯ และโปรดเกล้าฯให้ดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ดังนั้น ร.ต.อ.เฉลิมจึงพ้นสถานะรองนายกฯไปแล้ว ก่อนจะเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ฉะนั้นตำแหน่งปัจจุบันเป็นตำแหน่งใหม่ ครม.ชุดใหม่ 

นพดลเผยคำสั่งศาลไม่เกินคาด

        นายนพดล ปัทมะ กรรมการกิจการ พท. กล่าวว่า ไม่เหนือความคาดหมายในคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ โดยเนื้อหาในคำตัดสินส่วนใหญ่พูดถึงการกระทำของนายกฯ และ ครม.ยืดยาว แต่ใช้เวลาสั้นๆ พูดถึงเหตุผลของรัฐบาลที่ต้องโยกย้ายนายถวิล ศาลให้น้ำหนักและความจำเป็นในการย้ายนายถวิลน้อยเกินไป วันนี้ก็ชัดเจนว่าหลักการแบ่งแยกอำนาจที่ให้อำนาจบริหาร ตุลาการ และนิติบัญญัติ ตรวจสอบถ่วงดุลกัน ถูกทำลายลง จนมีคนตั้งคำถามว่า อำนาจของฝ่ายบริหารที่มาจากประชาชนถูกครอบงำ โดยอำนาจตุลาการเกินไปแล้วหรือไม่ เพราะการโยกย้ายข้าราชการประจำเป็นอำนาจของฝ่ายบริหารที่ต้องจัดคนให้เหมาะสมกับงาน ประเทศไทยมีประชาธิปไตยแค่เพียงรูปแบบ แต่ในเนื้อหาความเป็นประชาธิปไตยแทบไม่เหลือแล้ว พท.เห็นว่าคำวินิจฉัยไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญและหลักกฎหมาย คิดว่าคนไทยส่วนใหญ่คงไม่เห็นด้วย และจะคัดค้านคำวินิจฉัยตามกรอบกฎหมายโดยสันติวิธี 

ภูมิธรรมยันใช้สิทธิม.69 

       นายภูมิธรรม เวชยชัย เลขาธิการ พท. กล่าวว่า เมื่อศาลตัดสินออกมาเช่นนี้ ไม่ใช่ว่า พท.ไม่ยอมรับ แต่ก็จะขอต้องใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญมาตรา 69 ในการวิพากษ์วิจารณ์ แสดงความเห็นต่างทางกฎหมาย ว่าศาลได้ตีความเกินรัฐธรรมนูญ ส่วน ครม.จะทำตามคำวินิจฉัยหรือไม่ เป็นเรื่องของ ครม.จะตัดสินใจ อย่างไรก็ตาม เห็นว่าไม่ว่าจะทำตามคำสั่งศาลหรือไม่ ก็ไม่ได้ทำให้เกิดสุญญากาศทางการเมือง 

'ชูศักดิ์'ชี้ศาลยกกระพี้มาเป็นแก่น

       นายชูศักดิ์ ศิรินิล คณะทำงานฝ่ายกฎหมาย พท. กล่าวว่า กรณีศาลพยายามอ้างว่าการโยกย้ายนายถวิลมีการปลอมแปลงเอกสาร เป็นไปอย่างเร่งรีบ เนื่องจากมีการออกเอกสารในวันอาทิตย์ที่ 4 กันยายน แต่เอกสารที่ให้ความเห็นชอบกลับระบุเป็นวันจันทร์ที่ 5 กันยายนนั้น เหมือนกับศาลจะเอากระพี้มาเป็นแก่น เอาจุดบกพร่องเล็กๆ น้อยๆ มาเป็นประเด็น ทั้งที่ไม่ใช่สาระสำคัญ เพราะศาลปกครองสูงสุดเคยชี้ไว้แล้วว่าวันที่ 4 หรือ 5 กันยายน ไม่ใช่สาระสำคัญ ถือว่าได้ทำถูกต้องตามกระบวนการ แต่ศาลรัฐธรรมนูญไปจับมาเป็นประเด็น ทั้งที่กระบวนการจัดทำเอกสาร ครม.มักเป็นแบบนี้อยู่แล้ว

ไม่ห่วงคดีป.ป.ช.เชื่อเป็นไปตามธง

       นายโภคิน พลกุล คณะทำงานฝ่ายกฎหมาย พท. กล่าวถึงกรณีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) จะชี้มูลความผิด น.ส.ยิ่งลักษณ์ ในคดีโครงการรับจำนำข้าวว่า ไม่ห่วงเลย เพราะรู้ว่าอย่างไรก็ต้องเป็นไปตามธงอยู่แล้ว ก็ว่ากันไป เพียงแต่เราอยากให้มองสักนิดว่า บ้านเมืองจะเป็นอย่างไร ถ้าไม่มีความยุติธรรม อยู่ไม่ได้ ทั้งการที่ศาลรัฐธรรมนูญบอกว่าการพิจารณาย้ายนายถวิลมีความเร่งรัด เร่งรีบ ขอถามว่าศาลฯมีความเร่งรีบหรือไม่ เปิดโอกาสให้นำพยานหลักฐานมาชี้แจงครบถ้วนหรือไม่ ขออ้างตุลาการศาลปกครองมาเป็นพยาน ศาลฯก็ไม่อนุญาต ป.ป.ช.เสนอไป 11 ก็ตัดเหลือ 3 การจะเอาผิดคนอื่น ในฐานะที่ตนเป็นตุลาการมาก่อน ต้องเปิดโอกาสให้ต่อสู้และชี้แจงอย่างเต็มที่ เรื่องคอขาดบาดตายแล้วไม่ให้สู้อย่างเต็มที่ ลองคิดว่าหากเป็นเรา จะทนได้หรือไม่ พรรคไม่เคยขออะไรมาก ขอเพียงแค่รัฐธรรมนูญฉบับนี้ในส่วนที่ดีนั้นมีมาก ส่วนที่ไม่ดี ไม่เป็นประชาธิปไตยขอแก้ไขเสีย ไม่ใช่แก้เพื่อพรรค แต่แก้เพื่อสังคมทั้งหมด        

       นอกจากนี้ องค์กรตามรัฐธรรมนูญทั้งหมด เมื่อรัฐธรรมนูญไม่เป็นธรรมอยู่แล้ว ก็ขออย่าซ้ำเติมกันเลย ขอความเป็นธรรมบ้าง ไปเลือกตั้งก็ไม่รู้ว่าจะแพ้หรือชนะ ทั้งที่ผ่านมาการเลือกตั้งก็ไม่ได้อยู่ในบรรยากาศเราเป็นรัฐบาล การเลือกตั้งจะสุจริตเที่ยงธรรมหรือไม่ จึงไม่เกี่ยวกับเราเลย เมื่อออกมาอย่างนี้ ถามว่าท้อแท้ใจไหม ก็อาจจะน้อยใจบ้าง เสียใจบ้าง ก็ต้องสู้ต่อไปตามระบอบประชาธิปไตย เชื่อว่าคนส่วนใหญ่คงต้องการการเลือกตั้ง แต่อีกฝ่ายบอกการเลือกตั้งไม่ใช่คำตอบ ใช่ อาจจะไม่ใช่คำตอบทุกอย่าง แต่เป็นคำตอบสำหรับการเปลี่ยนถ่ายโดยสันติก็เท่านั้นเอง

ย้ำพท.เดินหน้าสู้ตามกรอบกม.

        เมื่อถามว่า การต่อสู้ของ พท.หลังจากนี้ที่มีการเรียกร้องให้ประชาชนออกมาปกป้องประชาธิปไตยโดยใช้มาตรา 69 จะร่วมกับกลุ่ม นปช.หรือไม่ นายโภคินกล่าวว่า ตรงนี้ยังไม่ได้คิดถึงรายละเอียดขนาดนั้น เพราะเพิ่งฟังคำคิดเห็นและยกร่างแถลงการณ์เสร็จ เห็นว่าไม่ว่าจะถูกกระทำอย่างไรก็จะต่อสู้ในกรอบของกฎหมาย เพราะมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ชุมนุม และดำเนินคดีต่างๆ ตามที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้ และมีสิทธิจะต่อต้านการกระทำใดๆ ก็ตาม ที่ทำให้ได้มาซึ่งอำนาจโดยไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญโดยสันติวิธี ดังนั้น จะทำให้ประชาชนเข้าใจว่าบ้านเมืองต้องก้าวข้ามสถานการณ์ไม่เป็นธรรม นี่คือสิ่งที่เราต้องการ

ปูลุ้นอีกป.ป.ช.ชี้จำนำข้าว 8 พ.ค.

        รายงานข่าวจากคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เปิดเผยว่า ในวันที่ 8 พฤษภาคมจะมีการประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช.ชุดใหญ่ที่สำนักงานใหญ่ ป.ป.ช. สนามบินน้ำ จ.นนทบุรี มีวาระที่คณะอนุกรรมการไต่สวนกรณีถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ในคดีละเลย เพิกเฉยให้มีการทุจริตโครงการรับจำนำข้าว เตรียมรายงานสรุปสำนวนข้อเท็จจริงคดีดังกล่าวเข้าที่ประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช.ชุดใหญ่เพื่อให้พิจารณา ถ้าคณะกรรมการ ป.ป.ช.เห็นว่าสำนวนสมบูรณ์เพียงพอจะสามารถชี้มูลความผิดได้ก็ทำได้ทันที แต่หากเห็นว่ายังขาดรายละเอียดในบางส่วนก็สามารถนัดชี้มูลความผิดได้ในการประชุมครั้งต่อไปได้

       รายงานข่าวแจ้งว่า นอกจากนี้มติที่ประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช.เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคมที่ผ่านมาให้สำนักงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการจัดแถลงข่าวผลการดำเนินงานของคณะกรรมการ ป.ป.ช.ในรอบ 6 เดือน ในเวลา 13.00 น. วันที่ 15 พฤษภาคมนี้ ที่อาคาร 4 สำนักงาน ป.ป.ช. สนามบินน้ำ จ.นนทบุรี

ศอ.รส.ผวารุนแรงสอยปู-ครม.

        ที่กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด(บช.ปส.) ภายในสโมสรตำรวจ นายธาริต เพ็งดิษฐ์อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ในฐานะเลขาธิการศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส.)กล่าวก่อนรับทราบผลการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญว่า ศอ.รส.มีความเป็นห่วงสถานการณ์อย่างมาก หากคำวินิจฉัยของศาลออกมาในแนวทางว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พ้นสภาพพร้อมทั้งคณะรัฐมนตรี (ครม.) ศอ.รส.มีข้อมูลเชื่อถือได้ว่า กลุ่มผู้ชุมนุมทั้งแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) คณะกรรมการประชาชนเพื่อ เปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) และกลุ่มอื่นๆ เตรียมดำเนินการถึงขั้นรุนแรง

เล็งขอพระบรมราชวินิจฉัย

      นายธาริต กล่าวว่า ศอ.รส.ได้เตรียมแนวทางแก้ไขหากคำวินิจฉัยออกมาเช่นที่กล่าว โดยจะเริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 8 พฤษภาคม เพื่อนำความขึ้นกราบบังคมทูลขอพระบรมราชวินิจฉัยว่า การตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ ครม.จำเป็นต้องอยู่ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา 181 และในระหว่างที่ยังไม่ชัดเจน ให้รัฐบาลอยู่ปฏิบัติหน้าที่ไปก่อน

"เชื่อว่าการขอพระบรมราชวินิจฉัยเป็นหนทางบรรเทาทุกข์ ทำให้ทั้งสองฝ่ายหยุดชั่วคราว และเป็นหนทางที่ดีกว่าให้ประชาชนตัดสินความเองจะเกิดกลียุค ขณะนี้ร่างทูลเกล้าฯอยู่ในช่วงจัดทำ" นายธาริตกล่าว

มาร์คซัดเฉลิมขู่ศาลรธน.

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ให้สัมภาษณ์กรณี ศอ.รส.ออกแถลงการณ์เกี่ยวกับคดีการโยกนายถวิล ว่าเป็นแถลงการณ์ทางการเมือง เป็นกระบอกเสียงของฝ่ายการเมืองมากกว่า เชื่อว่ากองทัพหรือบางหน่วยงานไม่ได้เห็นด้วย เพราะ ศอ.รส.ควรดูแลความสงบเรียบร้อยความปลอดภัยของประชาชนทุกด้าน ควรหลีกเลี่ยงการฝักฝ่ายทางการเมือง การที่ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ในฐานะ ผอ.ศอ.รส.พูดถึงครอบครัวของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ว่านรกมีจริงนั้น ถือเป็นการข่มขู่ ไม่เป็นผลดีกับฝ่ายที่มีอำนาจรัฐ เพราะเป็นการสร้างความแตกแยกมากขึ้น ทั้งนี้ ไม่ว่าศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยมาอย่างไร ก็จะเกิดการปลุกระดมต่อต้านตามมา จึงอยากให้ศาลอธิบายเหตุผลให้ชัดแจ้ง

ปชป.จี้เคารพคำวินิจฉัย

        นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษก ปชป. แถลงว่า ขอเรียกร้องให้ ศอ.รส.ออกมาขอโทษศาลรัฐธรรมนูญ เพราะคำวินิจฉัยไม่เป็นไปตามที่ ศอ.รส.และรัฐบาลกล่าวหา เนื่องจากสั่งให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์พ้นสภาพเฉพาะตัว ถือว่า ศอ.รส.พยายามลดความน่าเชื่อถือของศาลรัฐธรรมนูญ มีส่วนทำลายความมั่นคงของประเทศ และเมื่อ น.ส.ยิ่งลักษณ์พ้นสภาพความเป็นรัฐมนตรี ก็ขอให้ทุกคนเคารพคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อให้บรรยากาศทางการเมืองจบลงด้วยคำวินิจฉัยของศาล ตลาดหุ้นหมดห่วงไม่สุญญากาศ

        ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศการซื้อขายหุ้นวันนี้ ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ปรากฏว่าในช่วงเช้าทันทีที่เปิดตลาด ดัชนีลดลงทันทีกว่า 14 จุด ดัชนีหลุด 1,400 จุด แต่หลังจากนั้นดัชนีค่อยๆ ปรับตัวขึ้นจนปิดตลาดช่วงเช้า ติดลบ 8 จุด และเปิดตลาดช่วงบ่าย ดัชนีติดลบไม่ถึง 1 จุด กระทั่งดัชนีปิดตลาดที่ 1,401.85 จุด ลดลง 2.16 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขาย 29,601.16 ล้านบาท เนื่องจากนักลงทุนคลายความกังวลจากที่คำตัดสินของศาลไม่ได้ทำให้ ครม.ของ น.ส.ยิ่งลักษณ์สิ้นสภาพทั้งคณะ ไม่ได้เกิดสุญญากาศอย่างที่คาดการณ์ไว้แต่แรก 

สื่อนอกชี้ส่อเกิดรุนแรง

        ด้านสำนักข่าวต่างประเทศ ต่างรายงานข่าวคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ โดยเอพีระบุว่า คำพิพากษาจะเป็นการผลักดันประเทศไปสู่ความสับสนอลหม่านที่ลึกล้้ำลงไปอีก และอาจมีแนวโน้มจะเกิดความรุนแรงมากยิ่งขึ้น โดยคำตัดสินทำให้เกิดข้อสงสัยว่าการเลือกตั้งที่กำหนดว่าจะมีขึ้นในเดือนกรกฎาคมจะเกิดขึ้นได้หรือไม่ ซึ่งจะสร้างความโกรธแค้น

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!