- Details
- Category: การเมือง
- Published: Tuesday, 13 October 2015 21:37
- Hits: 3795
ส่งจม.ถึงตู่ ปูขอเป็นธรรมคดีข้าวสั่งจับแม้วอีกหมิ่นทบ. นายกร่อนสารฉบับ 2 แจงปรองดอง-ยึดกม.
'ปู'ส่งจ.ม.ตรงถึง'ตู่' วอนเป็นธรรมคดีข้าว ให้เป็นไปตามกระบวนการศาล ขอทบทวนข้อเสนอ ใช้อำนาจปกครองสั่งคดี นายกฯร่อนสารฉบับ 2 แจงปรองดอง ทำอย่างรอบคอบ ชัดเจนตามหลักกฎหมาย ไม่นำความเห็นต่างที่เกิดขึ้นแล้วมาเป็นกรณีขัดแย้ง ย้ำกองทัพไม่มีแตก แยก ศาลออกหมายจับ 'นายทักษิณ'หลังทบ.ยื่นฟ้องหมิ่น เหตุให้สัมภาษณ์สื่อเกาหลี "มีชัย"จ่อร่างรธน.ฉบับสั้น คาดมี 200 มาตรา
วันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2558 ปีที่ 25 ฉบับที่ 9085 ข่าวสดรายวัน
บาห์เรนยินดี - พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ ต้อนรับนายอับดุลลา ฮัสซัน ซาอิฟ ที่ปรึกษานายกฯ แห่งราชอาณาจักรบาห์เรน เข้าเยี่ยมคารวะ และแสดงความยินดีที่ได้รับรางวัลจากสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ที่ทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 12 ต.ค.
'ปู'ส่งจม.เปิดผนึกถึง'บิ๊กตู่'
เมื่อวันที่ 12 ต.ค. น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ทำจดหมายเปิดผนึกถึงพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ระบุว่า ขอทำจดหมายเปิดผนึกถึงนายกฯ เพราะไม่มีโอกาสได้พบและติดต่อกับนายกฯ นับแต่วันที่ 22 พ.ค. 2557 ที่เป็นหัวหน้าคสช.และดำรงตำแหน่งนายกฯกว่า 1 ปีเศษแล้ว ในช่วงดังกล่าว ตนถูกดำเนินการในเรื่องต่างๆ ทั้งที่ดำเนินนโยบายสาธารณะที่ครม.แถลงต่อรัฐสภา เกี่ยวกับนโยบายรับจำนำข้าว 1.สนช.ถอดถอนออกจากตำแหน่งนายกฯ ทั้งที่ตำแหน่ง ดังกล่าวไม่มีอยู่และรัฐธรรมนูญได้สิ้นสุดลงแล้ว 2.มีการแถลงสั่งฟ้องคดีต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการ เมือง ก่อนหน้าที่สนช.จะมีมติถอดถอนเพียง 1 ชั่วโมง ซึ่งทั้ง 2 กรณี ไม่เกี่ยวกับนายกฯ โดยตรงเพราะเป็นเรื่องสนช. อัยการสูงสุด และของศาลที่อยู่ในกระบวนการยุติธรรม
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ระบุว่า แต่สิ่งที่เกี่ยวกับตัวนายกฯ โดยตรง คือ การเรียกร้องค่าเสียหายทางคดีแพ่งต่อการดำเนินนโยบายรับจำนำข้าว ที่นายกฯ ออกคำสั่งกระทรวงการคลัง ที่ 448/2558 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด ฉบับลงวันที่ 3 เม.ย. 2558 และนายกฯ ยืนยันว่า "ผิดก็ว่าไปตามผิด ถูกก็ว่าไปตามถูก หากผิดก็มีกลไกอยู่แล้ว เรื่องการเรียกร้องค่าเสียหายทางคดีแพ่ง และยืนยันใช้มาตรฐานเดียวกับทุกพวก เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำ" ซึ่งตนคาดหวังว่านายกฯ ต้องให้นโยบายต่อคณะกรรมการฯ ให้ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยไม่ละเลยประเด็นความยุติธรรม ตามกลไกของระเบียบที่มีอยู่อย่างไม่เร่งรีบและไม่รวบรัด ให้โอกาสผู้เกี่ยวข้องโต้แย้งแสดงพยานหลักฐานอย่างเพียงพอและเป็นธรรม
ค้านใช้คำสั่งปกครองแทนศาล
อดีตนายกฯ ระบุว่า ตามที่ปรากฏต่อสาธารณะว่าฝ่ายกฎหมายของรัฐบาล หนักใจที่รัฐต้องฟ้องเรียกค่าเสียหายซึ่งต้องเสียเงินค่าธรรมเนียมศาลจำนวนมาก ในอดีตถือได้ว่าศาลเป็นกลไกตามกระบวนการยุติธรรม เพื่อเรียกร้องค่าเสียหายในคดีแพ่ง ซึ่งต้องใช้สิทธิทางศาลโดยสุจริต แต่ฝ่ายกฎหมายของนายกฯ กลับ "พลิกมุมกฎหมายและกลไก" เรียกค่าเสียหายใหม่ หากพบว่ามีความผิด รัฐจะไม่ฟ้อง แต่ใช้วิธีให้ออกคำสั่งทางปกครอง (โดยไม่ต้องเข้าครม.) สั่งให้บุคคลที่เกี่ยวข้องชำระหนี้เหมือนคำสั่งยึดทรัพย์ เพื่อหลีกเลี่ยงค่าธรรมเนียมฟ้องเรียกค่าเสียหายที่ต้องเสียเงินค่าธรรมเนียมศาล เท่ากับนายกฯ ใช้อำนาจหน้าที่เสมือนหนึ่งเป็นคำพิพากษาของศาล เป็นกลไกชี้ถูกผิดว่าจะให้ผู้ใดรับผิดชอบในค่าเสียหายต่อการดำเนินนโยบายรับจำนำข้าว ทั้งที่การพิจารณาคดีของศาลในคดีอาญายัง ไม่เสร็จ
น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า ทั้งหมดนี้เกี่ยวข้องกับตน ในฐานะอดีตนายกฯ เคยดูแลการแก้ปัญหาสินค้าข้าว เพื่อให้มีประสิทธิผลเป็นประโยชน์สูงสุดต่อเศรษฐกิจ และยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรอย่างเป็นรูปธรรม มีกลไกบริหารนโยบาย คือคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ ซึ่งในปัจจุบัน คือคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว โดยมีนายกฯ เป็นประธาน
เรียกร้องทบทวน-ยุติข้อเสนอ
น.ส.ยิ่งลักษณ์ระบุว่า การที่ตนเสนอว่าควรให้ศาลเป็นผู้พิจารณานั้น เพราะเห็นว่าทุกคนควรได้รับหลักประกันแห่งความยุติธรรมที่จำต้องมี เพราะการดำเนินโครงการรับจำนำข้าว เป็นการกระทำทางการบริหารตามนโยบายของครม.ที่แถลงต่อรัฐสภา ดังนั้นเพื่อความโปร่งใสและคงไว้ซึ่งความเป็นกลาง นายกฯ ในฐานะหัวหน้าคสช. ซึ่งเป็นประธานกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว และต้องรับผิดชอบแก้ปัญหาข้าว อาจเห็นแตก ต่างกันในเชิงนโยบายและกลไกการบริหารนโยบายข้าวในอดีตที่รัฐบาลของตนดำเนินการ จึงมิใช่ผู้ที่เป็นกลาง แต่เป็นผู้มีส่วนได้เสีย เพราะเห็นต่างกันในนโยบายการแก้ปัญหาข้าว ดังนั้น การใช้อำนาจที่มีอยู่ เป็นผู้ตัดสินความถูกผิดโดยใช้อำนาจนายกฯลงนามในคำสั่งทางปกครอง เพื่อสั่งให้บุคคลใดชำระค่าเสียหาย ทั้งที่ศาลยังไม่มีคำตัดสิน ถือว่าขัดต่อหลักนิติธรรม จึงเห็นว่าเพื่อให้เป็นไปตามหลักนิติธรรม ขอให้นายกฯดำเนินการดังนี้
1.พิจารณาทบทวนและยุติการดำเนินการใดๆ ที่ฝ่ายกฎหมายของรัฐบาลเสนอให้ลงนามทำคำสั่งทางปกครองใดๆ ซึ่งขัดต่อหลักความเป็นกลางและเป็นผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อมีคำสั่งให้บุคคลใดชำระหนี้ค่าเสียหายเกี่ยวกับการนโยบายโครงการรับจำนำข้าวที่แถลงต่อรัฐสภา แทนการพิจารณาและพิพากษาคดี ของศาลหวังได้ความเป็นธรรมตามที่บอก
2.หลังการสอบสวนโดยกระบวนการสอบสวนที่ถูกต้องตามระเบียบ กฎหมายและหลักนิติธรรมเสร็จสิ้น หากพบความเสียหาย รัฐควรให้หน่วยงานของรัฐฟ้องคดีต่อศาลเพื่อแสดงว่ามีความยุติธรรมและเที่ยงธรรมต่อทุกคนที่ถูกกล่าวหา
3.การพิจารณาคดีอาญาของศาลฎีกาฯ ยังไม่เสร็จ และอายุความในคดียังเหลือเวลาอีกนาน จึงไม่ควรเร่งรีบ รวบรัด ทำสำนวนการตรวจสอบความรับผิดทางละเมิด ควรให้โอกาสผู้เกี่ยวข้องหรือผู้เสียหายได้ชี้แจงข้อเท็จจริงและโต้แย้งแสดงพยานหลักฐานอย่างเพียงพอและเป็นธรรม ซึ่งตนมีหนังสือหลายฉบับมายังนายกฯ และคณะกรรมการฯ แต่ยังไม่ได้รับการพิจารณาและไม่แจ้งเหตุ ซึ่งนายกฯสามารถตรวจสอบความมีอยู่จริงของหนังสือนั้นได้ โดยจะมอบให้ทนายความไปยื่นหนังสือถึงนายกฯ ในวันที่ 13 ต.ค. เวลา 10.00 น. ที่ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ ทำเนียบรัฐบาล และหวังว่าเมื่อนายกฯ ได้รับหนังสือแล้วจะไม่เพิกเฉย และจะพิจารณาด้วยความเป็นธรรม ตามที่เคยยืนยันว่าจะให้ความเป็นธรรมกับทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน
วิษณุชี้คดี"ปู"ทำตามกม.
ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวกรณี น.ส.ยิ่งลักษณ์ส่งจดหมายเปิดผนึกถึงพล.อ.ประยุทธ์ ว่า ยังไม่ทราบว่าน.ส.ยิ่งลักษณ์ มีจดหมายเปิดผนึกอะไร แต่ได้ยินว่าจะมีการมายื่นหนังสือในวันที่ 13 ต.ค.ถึงนายกฯ คงส่งมาให้ตนได้ดูว่าร้องเรียนอะไร คงไม่ไปวิจารณ์ว่าน.ส.ยิ่งลักษณ์ เข้าใจผิดหรือเข้าใจถูก
นายวิษณุ กล่าวว่า สิ่งที่รัฐกำลังจะดำเนินการเป็นไปตามกฎหมายพ.ร.บ.ความรับผิดในทางละเมิดนั้นมีการบังคับใช้มาตั้งแต่ปี 2539 และใช้ดำเนินการมากว่า 300 เรื่อง สมัยนายเริงชัย มะระกานนท์ ก็ใช้คำสั่งทางปกครองยึดทรัพย์ ซึ่งนายเริงชัยฟ้องต่อศาลปกครองให้เพิกถอนคำสั่ง สุดท้ายศาลตัดสินให้ เพิกถอนคำสั่งปกครอง และสมัยรัฐบาลน.ส. ยิ่งลักษณ์ ก็อาจเคยใช้มาแล้ว ปัญหาอยู่ที่ว่าคดีนี้เข้าข่ายตามกฎหมายดังกล่าวหรือไม่ และคำตอบที่เจ้าหน้าที่รายงานคือเข้าข่ายเพราะ ผู้กระทำผิดเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งน.ส. ยิ่งลักษณ์ นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ และนายภูมิ สาระผล กระทำผิดในขณะเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ และเป็นกระทำละเมิดและจงใจประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ตามที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เป็นคนส่งเรื่องมาอย่างนั้น
ชี้ร้องค้านต่อศาลปค.ได้
นายวิษณุกล่าวว่า ฉะนั้นจึงเข้าข่ายตาม พ.ร.บ.ความรับผิดในทางละเมิด จึงต้องนำไปสู่การออกคำสั่งในทางปกครองโดยนายกฯ เป็นผู้ลงนาม แต่ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการสรุปรายงานของคณะกรรมการ ซึ่งเอกสารหนึ่งชุดที่ส่งมานั้นยังไม่ได้ส่งถึงนายกฯ ส่วนอีกหนึ่งชุดยังไม่ได้ส่งมาถึงตน ในเอกสารที่ส่งมาไม่ได้ระบุตัวเลขค่าเสียหายแต่บอกสูตรวิธีคิดตัวเลขที่จะคิดเมื่อไรและใครจะคำนวณก็ได้ ตัวเลขจะระบุชัดเมื่อจะออกคำสั่งปกครอง ทั้งนี้ เอกสารจากกรรมการ 2 ชุด เป็นคนละเรื่องกัน ชุดหนึ่งคือเรื่องจำนำข้าว อีกชุดคือการขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐหรือจีทูจี ยืนยันว่าเป็นการดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรมปกติ และผู้ถูกกล่าวหาได้รับความเป็นธรรมตามพ.ร.บ.การรับผิดในทางละเมิด ซึ่งมีทั้งรัฐแพ้และชนะบ้าง
นายวิษณุ กล่าวด้วยว่า การดำเนินการทั้งหมดไม่มีอะไรลับ ลวง พราง และอธิบายให้ทั้งผู้สื่อข่าวและประชาชนรับทราบมาเป็นระยะแล้ว การดำเนินคดีทั่วไปรัฐเป็นโจทก์ฟ้องผู้ถูกกล่าวว่าทำผิดตามหลักแล้ว แต่เมื่อมีวิธีพิจารณาอีกอย่างที่คู่ขนานตั้งแต่ปี 2539 คือพ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งบัญญัติว่าในกรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐถูกกล่าวหาว่ากระทำละเมิดโดยไม่ใช่ความผิดอาญา หากเป็นการกระทำที่ไม่จงใจ ไม่ประมาทเลินเล่อร้ายแรง หรือประมาทเลินเล่อธรรมดา เช่น ตำรวจขับรถไล่จับผู้ร้ายแล้วไปชนใครบาดเจ็บเสียหาย ตามกฎหมายปี 2539 เขาไม่ให้ฟ้องตำรวจคนนั้น แต่ให้ฟ้องสำนัก งานตำรวจแห่งชาติ คือส่วนราชการต้องจ่ายแทนแล้วไปไล่เบี้ยกับตำรวจคนนั้นไม่ได้ แต่หากเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำผิด แล้วการกระทำ นั้นละเมิดและจงใจหรือประมาทเลินเล่อร้ายแรง ต้องฟ้องที่เจ้าตัวไม่ให้ฟ้องร้องรัฐ ซึ่งมาตรา 10 เขียนไว้ชัดเจนว่าให้ออกคำสั่งทางปกครองภายใน 2 ปี หากผู้ถูกกล่าวหาไม่พอใจให้ไปฟ้องศาลปกครอง
วันแรก - พล.ต.อ.เอก อังสนานนท์ ที่โอนย้ายจากรอง ผบ.ตร. ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สักการะศาลพระพรหม และศาลตายาย สิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำทำเนียบรัฐบาล ก่อนเข้าปฏิบัติหน้าที่ในวันแรกอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 12 ต.ค. |
โยนให้ไปเถียงกับ'ปปช.'
"ประเด็นนี้อยู่ตรงที่ผมบอกว่ามี 2 กระบวน การในการดำเนินคดี แต่ไม่ใช่เลือกเอาอันใดอันหนึ่ง หากเข้าล็อกอย่างนี้ก็ใช้กระบวนการ ก.ฟ้องแบบปกติ หากเข้าอีกแบบก็ต้องเลือกแบบ ข.คือใช้กฎหมายความรับผิดทางละเมิด ไม่ใช่จะใช้ ก.หรือข.ก็ได้ ส่วนจะใช้แบบใดขึ้นอยู่กับว่าผู้กระทำผิดทำไปโดยไม่จงใจ ไม่ประมาทเลินเล่อร้ายแรงต้องใช้แบบ ก.เท่านั้น แต่ถ้าจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงต้องใช้แบบ ข.เท่านั้น ถ้าจะเถียงต้องมา เถียงตรงนี้ แต่วันนี้ป.ป.ช.บอกว่ากระทำการประมาท ร้ายแรงก็ต้องใช้แบบ ข." นายวิษณุกล่าว
นายวิษณุกล่าวอีกว่า ดังนั้นเวลาไม่พอใจคำสั่งแล้วจะไปฟ้องศาลก็มีสิทธิที่จะยกว่าไม่ต้องขี่ช้างจับตั๊กแตน ไม่ควรใช้กระบวนการ ข. ไปพิสูจน์กันตรงนี้ ต้องไปเถียงกับป.ป.ช. ไม่ใช่มาเถียงกับรัฐบาล แต่ถ้าคดีศาลฎีกาตัดสินมาก่อนว่าจงใจว่าประมาทเลินเล่อร้ายแรง ก็จะยืนยันว่าเข้าแบบ ก. หรือ ข. หากศาลฎีกาบอกว่าไม่จงใจ ไม่ประมาทร้ายแรง โดยทำไปตามปกติ คำสั่งทางปกครองที่ออกไปก็ใช้ไม่ได้ เรื่องนี้ไม่มีอะไรซับซ้อน
ติดอายุความ 2 ปี-ต้องเร่งสั่งคดี
เมื่อถามว่าน.ส.ยิ่งลักษณ์ระบุว่าควรให้คดีทางอาญาสิ้นสุดก่อน นายวิษณุกล่าวว่า รอไม่ได้ เพราะอายุความที่จะดำเนินคดีโดยการออกคำสั่งทางปกครองมีอายุความ 2 ปีคือเดือน ก.พ. 2560 หากครบแล้วออกคำสั่งไม่ได้อีก ทั้งนี้ หากศาลฎีกาตัดสินออกมาเป็นอีกแบบ ศาลในคดีหลังก็ต้องรับฟังอยู่แล้ว แต่คดีอาญาเมื่อฟ้องแล้วอายุความจะยาวไป 10 หรือ 20 ปี หรือไม่ไม่มีใครรู้ หากรัฐทำอย่างนั้นก็จะกลาย มาเป็นจำเลยเอง ซึ่งรัฐรอไม่ได้เพราะอายุความจะหมดก่อน แต่เมื่อรัฐสั่งแล้วผู้ถูกกล่าวหาจะไปฟ้องให้เพิกถอนคำสั่งส่วนคดีจะไปอยู่ในศาล 10 หรือ 20 ปีก็ไม่เป็นไร
เมื่อถามว่าน.ส.ยิ่งลักษณ์ระบุว่าการที่รัฐเลือกใช้คำสั่งทางปกครองเพื่อเลี่ยงการฟ้องแพ่งซึ่งรัฐต้องมีค่าใช้จ่ายในการวางศาลจำนวนมาก รองนายกฯ กล่าวว่า ไม่ใช่การหลีกเลี่ยง แต่ไม่สามารถไปใช้กระบวนการอื่นดำเนินการได้เพราะกฎหมายสร้างกระบวน การนี้ไว้ตั้งแต่ปี 2539 เมื่อป.ป.ช.รายงานว่าประมาทเลินเล่อร้ายแรงก็ต้องมาใช้กฎหมายนี้ ทุกอย่างถูกบังคับตามกฎหมาย ไม่ใช่เลือกตามใจชอบ
ด้านพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ และรมว.กลาโหม กล่าวว่า กรณีที่น.ส. ยิ่งลักษณ์แสดงความไม่สบายใจเกี่ยวกับการดำเนินคดีโครงการรับจำนำข้าวว่า เราทำขั้นตอนตามกฎหมาย เมื่อถามว่าจะใช้กฎหมายพิเศษดำเนินการหรือไม่ พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า ทุกอย่างทำตามขั้นตอน ทำตามกฎหมายทุกอย่าง
'มีชัย'รอถก-รธน.สั้นหรือยาว
ที่รัฐสภา นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ให้สัมภาษณ์ก่อนการประชุมถึงแนวทางการร่างรัฐธรรมนูญ ว่า ในเรื่องโครงสร้างคงไม่ต่างจากรัฐธรรมนูญ ที่ผ่านมา รูปแบบของเนื้อหาจะใส่ไปตามลำดับ ไม่แบ่งเป็นภาค ส่วนการเขียนจะหารือกับที่ประชุมกรธ. 2 เรื่องว่า จะเขียนแบบละเอียดหรือเขียนสั้นให้ครอบคลุมจะได้ไม่ต้องยืดยาว กับจะออกแบบโดยอิงของเดิม หรือจะลอกของเดิมเลย ซึ่งเมื่อวันที่ 11 ต.ค. ที่ผ่านมา อนุกรรมการร่างก็เริ่มดำเนินการ บ้างแล้ว
นายมีชัย กล่าวต่อว่า การเขียนให้สั้นเพื่อให้มีหลักประกันแก่ประชาชน ซึ่งบางส่วนเมื่อมีหลักแล้วก็ต้องออกกฎเกณฑ์กฎหมายลูกตามมา เพื่อไม่ให้หลักมันเลื่อนลอย เรื่องนี้กรธ.หารือเบื้องต้นแล้วเห็นว่าจะต้องมีมาตร การกดดันในรัฐธรรมนูญ เพื่อให้รัฐบาลที่เข้ามาผลักดันให้มีกฎหมายลูก เช่น กำหนดให้การกู้เงินต้องสอดคล้องกับวินัยการเงินการคลัง หากยังไม่มีกฎหมายลูกที่เกี่ยวข้อง ก็ให้กู้ได้แค่ร้อยละ 1 รัฐบาลที่เข้ามาอยากจะดึงการออกกฎหมายลูกไว้แค่ไหนก็ได้ ทั้งนี้เพื่อไม่ให้เกิดการตีกิน การเขียนกฎหมายบังคับขู่ว่าจะลงโทษ ไม่เอาแล้ว ไม่ได้เรื่อง ส่วนการทำงาน 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา รู้สึกเบาใจเรื่องเวลาทำงานไม่พอลงไปมาก เพราะกรธ.ทั้ง 20 คน ช่วยกันแสดงความคิดเห็นอย่างพอเหมาะ มีความแตกต่างอย่างไม่ขัดแย้ง ส่วนการตั้งอนุกรรมการด้านความปรองดองขึ้นมาก็เพื่อไปศึกษาว่า การปรองดองจะทำอย่างไร รายงาน การศึกษาของเก่าที่สปช.ทำไว้ก็ต้องเอามาศึกษาและต่อยอดเพื่อทุ่นเวลาการทำงาน
คาดไม่เกิน 200 มาตรา
นายอมร วาณิชวิวัฒน์ โฆษก กรธ. กล่าวว่า ที่ประชุมได้พิจารณากรอบร่างรัฐธรรมนูญตามความมุ่งหมายของ คสช. ว่า การสร้างกลไกที่มีประสิทธิภาพในการปฏิรูปและการสร้างปรองดอง ควรนำข้อเสนอของสปท. สนช. มาปรับความคิดเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ โดยให้นักการเมืองมีหน้าที่ทำความเข้าใจกับประชาชนเพื่อให้เกิดการยอมรับ พร้อมวางหลักการให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชน อย่างการเปิดเผยข้อมูลให้กับประชาชนมีส่วนตรวจสอบ ทั้งนี้อนุกรรมการโครงสร้างฝ่ายบริหารและอนุกรรมการรับฟังและสรุปความเห็นที่มีผู้เสนอแนะ ได้ประชุมเป็นครั้งแรกและกำหนดกรอบการดำเนินงานโดยรับฟังความคิดเห็น จะส่งเป็นหนังสือสอบถามความคิดเห็นการยกร่างรัฐธรรมนูญไปยัง คสช. ครม. สนช. ประชาชน พรรคการเมือง มหาวิทยาลัย สภาวิชาชีพและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
นายอมร กล่าวด้วยว่า ส่วนกระแสข่าวกรธ.จะตั้งองค์กรตรวจสอบนโยบายประชานิยมนั้น ไม่เป็นความจริง กรธ.ไม่มีนโยบายและไม่เคยพูดถึงเรื่องนี้ ยืนยันว่ากรธ.ไม่ต้องการทำงานเยิ่นเย้อเกินกรอบเวลา ส่วนการยกร่างรัฐธรรมนูญมีแนวโน้มว่าจะเขียนรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่โดยไม่ได้คัดลอกจากรัฐธรรมนูญเก่า เพื่อสร้างอัตลักษณ์ของเราเอง แต่จะต้องเป็นสากลและเขียนให้สั้น กระชับที่สุด คิดว่าไม่น่ามีเกิน 200 มาตรา และคาดว่าจะพิจารณารายมาตราได้ในสัปดาห์นี้
อลงกรณ์โผล่ชิงรองปธ.สปท.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะนี้มีสปท.เข้ารายงานตัวแล้ว 199 คน ขาดเพียงนางปัทมา เธียรวิเศษฎ์สกุล ที่ปรึกษาสำนักงบประมาณ โดยวันที่ 13 ต.ค. เวลา 09.30 น. จะเปิด ประชุมสปท.นัดแรก และจะมีการเลือกตั้งประธานและรองประธานสปท.อีกสองคน ซึ่งเป็นที่แน่นอนแล้วว่า ร.อ.ทินพันธุ์ นาคะตะ จะได้รับการเสนอชื่อให้เป็นประธาน โดยไม่มีคู่แข่ง เนื่องจากเป็นนักวิชาการ ไม่มีภาพลักษณ์ทหาร ช่วยให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดีในสายตาต่างประเทศ และยังมีความคุ้นเคยกับนายมีชัย และนายวิษณุ ทำให้สามารถประสาน การทำงานกับกรธ. และครม.ได้เป็นอย่างดี
ผู้สื่อข่าวรายงานอีกว่า ส่วนพล.อ.จิระ โกมุทพงศ์ อดีตเจ้ากรมพระธรรมนูญ และน.ส.วลัยรัตน์ ศรีอรุณ อดีตผอ.สำนักงบประมาณ ที่ได้รับการคาดหมายว่าจะมาเป็นรองประธานสปท. ล่าสุดสมาชิกสปท.บางส่วนให้เสนอชื่อนายอลงกรณ์ พลบุตร อดีต สปช. และนางนรรัตน์ พิมเสน อดีตเลขาธิการวุฒิสภา มาชิงตำแหน่ง เนื่องจากต้องการให้นายอลงกรณ์ และนางนรรัตน์ มาช่วยแบ่งเบางานในสภา และยังสามารถเชื่อมโยงการทำงาน กับครม. กระทรวงต่างๆ และกลุ่มการเมืองต่างๆ ได้ ส่วนการเลือกจะใช้การลงคะแนนลับเขียนชื่อใส่กระดาษว่าจะเลือกบุคคลใดแล้วนำไปใส่ในกล่องนับคะแนน
กกต.ขออำนาจชี้คดีเลือกตั้ง
ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) นายบุญส่ง น้อยโสภณ กกต.ด้านกิจการสืบสวนสอบสวนและวินิจฉัย กล่าวว่า เตรียมเสนอประเด็นที่ได้จากการสัมมนาร่วมระหว่างกกต.กับศาลยุติธรรมให้ที่ประชุม กกต.พิจารณาในวันที่ 13 ต.ค. เพื่อเสนอ กรธ. ในวันที่ 15 ต.ค. โดยประเด็นด้านสืบสวนสอบสวนประกอบด้วย 1.ขอให้อำนาจตามมาตรา 251 ของร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับของนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ที่ให้กกต.มีอำนาจแต่งตั้งเจ้าหน้าที่รัฐมาช่วยสนับสนุนการเลือกตั้ง และโยกย้ายเจ้าหน้าที่ที่ไม่เป็นกลาง และมีอำนาจสืบสวนสอบสวนทางวินัย 2.ขอให้กกต.มีอำนาจออกหมายเรียก ยึดอายัดพยานหลักฐาน หมายค้น หมายจับกุม การพิจารณาคดีของศาลให้ยึดสำนวนของกกต.เป็นหลัก และให้การพิจารณาคดีแพ่ง หรือคดีเรียกค่าเสียหายในการจัดการเลือกตั้งใหม่ และคดีอาญาสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง ให้ทำได้ในคราวเดียวกัน
นายบุญส่ง กล่าวว่า ขอให้มีมาตรการคุ้มครองพยานระดับชาติและระดับท้องถิ่น เพราะที่ผ่านมาพยานมักกลับคำให้การในชั้นศาลส่งผลให้หลายคดีถูกยกคำร้อง ซึ่งเห็นว่าเกี่ยวข้องกับกรณีการเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้ง (ใบแดง) หลังประกาศรับรองผลที่ควรให้ผู้ถูกกล่าวหาเป็นผู้ร้องต่อศาลแทนกกต. เพราะภาระการพิสูจน์จะเป็นของผู้ถูกกล่าวหา รวมถึงเสนอให้ขยายเวลาการรับรองผลจากเดิมที่ให้กกต.ประกาศรับรองผล 30 ภายหลังเลือกตั้ง จะขอขยายให้เป็น 60 วันนับแต่วันเลือกตั้ง โดยลดจำนวนการมี ส.ส.เพื่อเปิดประชุมสภาครั้งแรกให้เหลือรอยละ 80 ของส.ส.ทั้งหมด และให้ขยายกำหนดเวลาการ กระทำผิดกฎหมายเลือกตั้งก่อนครบวาระ ที่เดิม ระดับชาติห้ามมีการกระทำเพื่อหวังผลเลือกตั้งก่อน 90 วัน มาเป็น 180 วันก่อนครบวาระ และเพิ่มโทษผู้ที่กระทำผิดกฎหมายการเลือกตั้งก่อนประกาศรับรองผลเลือกตั้ง เดิมมีโทษ 1 ปี มาเป็น 5 ปี เท่ากับผู้บริหารท้องถิ่นหรือ 10 ปี รวมถึงแก้ปัญหาผู้บริหารท้องถิ่นลาออกก่อนครบวาระเพื่อให้ได้เปรียบลงสมัครเลือกตั้ง ทำให้รัฐเสียงบประมาณจัดเลือกตั้งใหม่ จึงควรห้ามไม่ให้ผู้ที่ลาออกลงสมัครครบ 5 ปี และให้ชดใช้ค่าเสียหายใหม่ด้วย
ผู้ตรวจฯขอฟันคนเมินคำสั่ง
ที่ศูนย์ราชการฯ ถ.แจ้งวัฒนะ นายศรีราชา วงศารยางกูร ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน ให้สัมภาษณ์ว่า ได้รับคำเชิญจากนายมีชัยให้ ผู้ตรวจการแผ่นดินไปหารือในวันที่ 15 ต.ค. เวลา 16.00 น. คงพูดคุยกันถึงปัญหาอุปสรรคในการทำงาน โดยผู้ตรวจฯจะได้ยืนยันว่าไม่ขอควบรวมกับองค์กรอื่น รวมทั้งให้คงอำนาจเดิมตามรัฐธรรมนูญปี 2550 ไว้โดยเฉพาะอำนาจตามมาตรา 13 ของพ.ร.บ.ว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน 2552 ที่ให้ผู้ตรวจฯ หยิบยกเรื่องขึ้นพิจารณาได้เองโดยไม่ต้องมีผู้ร้องกรณีดังกล่าวมีผลกระทบกับประชาชนและให้คงอำนาจเรียกเอกสารหลักฐานจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้กรณีมีการสอบสวนตามที่ร้องเรียน หากหน่วยงานไม่ดำเนินการก็แจ้งความดำเนินคดีได้ตามมาตรา 15 ประกอบมาตรา 45 ของพ.ร.บ.ว่าด้วยผู้ตรวจฯ
นายศรีราชา กล่าวอีกว่า ส่วนของอำนาจหน้าที่ ที่อยากขอให้กรธ.พิจารณาเพิ่มให้กับผู้ตรวจฯ คือกรณีผู้ตรวจฯมีข้อเสนอให้หน่วยงานแล้ว ไม่ดำเนินการภายใน 90 วันโดยไม่แจ้งเหตุผล ให้ถือว่าหน่วยงานนั้นผิดวินัยร้ายแรง รวมทั้งให้ผู้ตรวจฯมีอำนาจฟ้องคดีแพ่งแทนประชาชน และรับปรึกษาปัญหาข้อกฎหมายให้กับประชาชน นอกจากนี้จะหารือถึงความเป็นไปได้ในการให้รัฐจัดสรรงบประมาณ 1 เปอร์เซ็นต์ของงบทั้งหมดให้กับองค์กรอิสระ รวมทั้งศาลที่ทำหน้าที่ตรวจสอบการบริหารงานของรัฐ เพื่อความเป็นอิสระในการตรวจสอบอย่างแท้จริงเพราะที่ผ่านมาการจัดสรรงบอยู่ภายใต้สำนักงบประมาณ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ผู้ตรวจฯตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ ย่อมไม่อยากพิจารณางบให้เราเติบโต จึงเชื่อว่าได้มา 1 เปอร์เซ็นต์ แต่ตรวจสอบ 99 เปอร์เซ็นต์ ถือว่าคุ้มค่า เชื่อว่ากรรมการยกร่างฯชุดนี้จะรับฟังมากกว่าชุดที่แล้ว
ศาลรับคำร้อง'พีซทีวี'ฟ้องกสทช.
วันเดียวกันนี้ ศาลปกครองกลางมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องผู้ฟ้องคดีบางราย ในคดีที่บริษัท พีซ เทเลวิชั่น จำกัด กับพวกรวม 6 คน ยื่นฟ้อง คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ที่ 1 กับพวกรวม 2 คน โดยผู้ฟ้องคดีฟ้องว่า กสทช.มีคำสั่งตามหนังสือ ลว. 30 เม.ย. 2558 เพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการให้บริการโทรทัศน์ของช่องพีซ ทีวี และคำสั่งตามหนังสือลว. 30 เม.ย. 2558 ระงับให้บริษัทวีซายท์ เทเลคอม จำกัด ออกอากาศช่องรายการพีซ ทีวี ในฐานะผู้ให้บริการโครงข่ายโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
โดยศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่าคำฟ้องของนายจตุพร พรหมพันธุ์ ผู้ฟ้องที่ 2 น.ส.อรุโณทัย ศิริบุตร ผู้ฟ้องที่ 3 น.ส.กุลธิดา ช้วนกุล ผู้ฟ้องที่ 4 น.ส.ชุติมา กุมาร ผู้ฟ้องที่ 5 และน.ส. ณิชชนันทน์ แจ่มดาว ผู้ฟ้องที่ 6 เป็นเพียง ผู้ดำเนินรายการและผู้ประกาศข่าวทางสถานีดังกล่าว ไม่ได้เป็นคู่กรณีในกระบวนพิจารณาทางปกครอง ไม่อยู่ในบังคับของคำสั่งทางปกครอง และคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตไม่มีผลกระทบโดยตรงต่อผู้ฟ้องคดีทั้ง 5 ราย จึงมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องของผู้ฟ้องคดีทั้ง 5 ราย คดีดังกล่าวเหลือผู้ฟ้องเพียงรายเดียวที่เข้าข่ายผู้ได้รับความเดือดร้อนเสียหายที่จะมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครอง คือบริษัท พีซ เทเลวิชั่น
ศาลออกหมายจับ'แม้ว'หมิ่นทบ.
ที่ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก ศาลนัดสอบคำให้การจำเลยและตรวจพยานหลักฐานในคดีในคดีดำหมายเลข อ.1824/2558 ที่กองทัพบก มอบอำนาจให้พล.ต.ศรายุทธ กลิ่นมาหอม ผอ.สำนักงานพระธรรมนูญทหารบก เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ เป็นจำเลย ในความผิดฐานหมิ่นประมาทผู้อื่นโดยการโฆษณา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 และ 328 กรณีให้สัมภาษณ์ที่ประเทศเกาหลีใต้ เมื่อวันที่ 19-20 พ.ค. 2558 ซึ่งการ กระทำนั้นส่งผลให้โจทก์ได้รับความเสียหายต่อชื่อเสียง จึงขอให้ศาลพิพากษาลงโทษจำเลย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 และ 328
ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า ตัวจำเลยได้รับทราบนัดโดยชอบแล้วแต่ไม่มาศาล และ ขณะนี้ก็ไม่ได้อยู่ในราชอาณาจักร จึงมีพฤติ การณ์หลบหนี ให้ออกหมายจับจำเลยเพื่อให้ได้ตัวมาพิจารณาภายในอายุความ กรณีไม่แน่ว่าจะจับตัวจำเลยได้เมื่อใด จึงให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความชั่วคราว หากจับตัวจำเลยได้แล้วให้พิจารณาคดีต่อไป
พล.ต.ศรายุทธกล่าวว่า ศาลมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความเป็นการชั่วคราวด้วย ทั้งนี้เรื่องการติดตามตัว เป็นหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามขั้นตอน ในฐานะโจทก์จะนำคำสั่งศาลที่ออกหมายจับนี้ส่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อัยการ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) เพื่อติดตามตัวต่อไป
บิ๊กหมูให้เชื่อมั่นผู้บังคับบัญชา
ที่กองพลทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์ (พล ม.2 รอ.) พล.อ.ธีรชัย นาควานิช ผบ.ทบ. เป็นประธานในพิธีวันสถาปนา พล ม.2 รอ. ครบรอบ 36 ปี ขึ้นแท่นรับการเคารพจากกองทหารกองเกียรติยศ ก่อนถวายสักการะพระ บรมรูปรัชกาลที่ 6 และทำพิธีสงฆ์ ในพิธียังจัดรถสายพานลำเลียงพลแบบ 85 จำนวน 20 คัน มาแสดงโชว์และประกอบพิธีด้วย
พล.อ.ธีรชัย ให้โอวาทตอนหนึ่งว่า หน่วยจะดี จะเข้มแข็ง ขึ้นอยู่กับกำลังพลตั้งแต่พลทหารจนถึงผู้บัญชาการกองพล ทุกคนมีส่วนร่วมและมีความรับผิดชอบในตำแหน่งหน้าที่ ฉะนั้นทุกตำแหน่งมีความสำคัญ ในปัจุบันภาพข่าวต่างๆ สังคมต่างๆ และข่าวสาร เราอย่าไปอยู่ในสังคมที่เรียกว่าสังคมหูเบา ไม่ใช่ว่าอ่านอะไรก็เชื่อตามนั้น ขอให้ทุกคนวิเคราะห์ ไตร่ตรอง มีสติรับทราบข่าวต่างๆ ขอให้เชื่อมั่นผู้บังคับบัญชาทุกระดับชั้น ในการนำพากำลังพลและหน่วย ไปด้วยเกียรติและศักดิ์ศรีของหน่วย ขอให้กำลังพลเชื่อมั่นในผู้บังคับบัญชา ในการปฏิบัติภารกิจในอนาคต
พล.อ.ธีรชัยกล่าวว่า จะเห็นว่าปัญหาที่เกิดขึ้นในทุกวันนี้เนื่องจากกำลังพลบางคน ที่มีทั้งคนเลว คนดี คนไม่ดี ปัญหาคือคนไม่ดี ไม่รู้ว่าตัวเองทำไม่ดี แต่คิดว่าตัวทำดี นั่นคือปัญหา ดังนั้นขอให้คนที่ประพฤติปฏิบัติในสิ่งที่ดี มีคุณธรรม มีความมุ่งมั่น ดูแลผู้บังคับบัญชา นำสิ่งต่างๆ เหล่านั้นไปบอกให้เขารู้ว่าไอ้สิ่งที่เขาทำนั้นมันไม่ดี ต้องปรับปรุงแก้ไขตนเองมาเป็นคนที่ดีของสังคมต่อไปและฝากผู้บัญชาการกองพลดูแลกำลังพลทุกนายด้วย
'โด่ง-หมู'โชว์สัมพันธ์ปึ้ก
ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นประธานประชุมสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม
ต่อมาเวลา 15.30 น. ภายหลังเลิกประชุม พล.อ.ธีรชัย และพล.อ.อุดมเดช สีตบุตร รมช.กลาโหม ได้ออกมาส่งพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯและรมว.กลาโหม ขึ้นรถที่หน้าตึกไทยคู่ฟ้า จากนั้นทั้งคู่ได้ยืนพูดคุยอย่างสนิทสนม ยิ้มแย้มอารมณ์ดี ท่ามกลางสื่อมวลชนที่ถ่ายภาพจากโดยรอบตึกไทยคู่ฟ้า ก่อนที่พล.อ.ธีรชัยจะส่งพล.อ.อุดมเดช ขึ้นรถ โดยพล.อ.ธีรชัย ยกมือไหว้ลา ขณะที่พล.อ. อุดมเดช ยกมือรับไหว้ จากนั้นพล.อ.ธีรชัยได้กลับเข้าไปยังตึกไทยคู่ฟ้า โดยอยู่ประมาณ 1 ชั่วโมงก่อนเดินทางกลับ เช่นเดียวกับพล.อ. อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย ขณะที่ นายกฯได้เดินทางออกจากทำเนียบรัฐบาลเวลา 17.00 น. ส่วนปลัดกลาโหม.และผบ. เหล่าทัพ ได้ทยอยออกจากทำเนียบรัฐบาลตั้งแต่ประชุมเสร็จ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การประชุมสมช. ได้ย้ายสถานที่ประชุมจากตึกสมช. มาที่ตึกไทยคู่ฟ้า โดยการประชุมครั้งนี้ ผู้นำเหล่าทัพเข้าร่วมอย่างพร้อมเพรียง และถือเป็นการประชุมครั้งแรกภายหลังจากพล.อ.ทวีป เนตรนิยม เข้ารับตำแหน่งเลขาธิการสมช.
'บิ๊กตู่'ร่อนสารฉบับ 2
เมื่อเวลา 18.05 น. พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกฯ อ่านสารของพล.อ.ประยุทธ์ฉบับที่ 2 ที่มีถึงประชาชนว่า เรื่องความคิดเห็นที่แตกต่างกันทางการเมือง และการปรองดองกับเรื่องการยกร่างรัฐธรรมนูญนั้น เจตนารมณ์ที่ชัดเจนของรัฐบาล มีความตั้งใจจริงจะพาประเทศชาติสู่ความเจริญที่มั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน
พล.ต.สรรเสริญ กล่าวต่อว่า เรื่องความคิดเห็นที่แตกต่างทางการเมือง จากที่มีตัวแทนของพรรค กลุ่มการเมือง นักวิชาการ หรือสื่อบางแขนงออกมาเสนอความคิดเห็น รัฐบาลขอบคุณทุกคนไม่ว่าจะเป็นความคิดเห็นที่เหมือนกันหรือแตกต่างกัน รัฐบาลพร้อมรับข้อมูลไว้ทั้งหมด เพื่อนำไปสู่การปฏิรูปประเทศอย่างเป็นรูปธรรม ตามกระบวนการต่างๆที่เกี่ยวข้อง
"รัฐบาลและคสช.จำเป็นต้องรับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน หลายเรื่องต้องแก้ไขกฎหมาย เพื่อให้เกิดการแก้ปัญหาที่ยั่งยืนและได้ผลเป็นรูปธรรม สอดคล้องสัมพันธ์กับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี รวมทั้งยุทธศาสตร์และแผนงานระยะยาวของหน่วยงานต่างๆ ซึ่งการดำเนินการทุกอย่างนั้นวางแผนและเตรียมการสำหรับอนาคต เพื่อรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งจะได้ใช้อำนาจหน้าที่อย่างถูกต้องเป็นธรรม และเกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชนอย่างแท้จริง" พล.ต.สรรเสริญกล่าว
ยันยึดหลักนิติรัฐ-นิติธรรม
พล.ต.สรรเสริญ กล่าวต่อว่า นายกฯ ขอความร่วมมือจากนักการเมืองทุกคนกับนักวิชาการ สื่อ และทุกภาคส่วนที่รักในประเทศชาติ รักในประชาธิปไตย ช่วยกันขับเคลื่อนประเทศ ยอมรับปัญหาที่เกิดขึ้นในอดีต ยอมรับข้อบกพร่องต่างๆ ที่เกิดขึ้นในอดีต แล้วหันมาร่วมมือกันแสวงหาแนวทางแก้ปัญหาเหล่านั้น เพื่อให้ประเทศชาติก้าวหน้าและยั่งยืนต่อไป
"ส่วนเรื่องการปรองดองจะต้องศึกษาในรายละเอียดต่างๆ อย่างมีส่วนร่วมเพื่อให้เกิดกระบวนการที่เหมาะสมได้รับการยอมรับจากทุกส่วน ทุกฝ่าย จำเป็นต้องดำเนินการอย่างรอบคอบ ชัดเจนตามหลักการของกฎหมาย ซึ่งนายกฯ คาดหวังว่าจะได้รับความร่วมมือ ร่วมใจจากทุกฝ่ายที่จะหาจุดประสานความร่วมมือเห็นชอบร่วมกัน ไม่นำความเห็นต่างที่มีคดีความที่เกิดขึ้นแล้วในอดีตมาเป็นกรณีขัดแย้ง แต่จะดำเนินโดยหลักนิติรัฐ และนิติธรรมเป็นสำคัญ"
ย้ำกองทัพไม่ขัดแย้ง
พล.ต.สรรเสริญกล่าวอีกว่า ประเด็นเรื่องการเสนอข้อมูลที่ในทางกองทัพมีความขัดแย้งกันนั้น มีความพยายามจากบางส่วนจะนำเสนอข่าวเรื่องนี้ นายกฯ ยืนยันว่าขณะนี้สถานการณ์ในกองทัพเป็นปกติ กำลังพลทุกนายตั้งแต่ระดับผู้บังคับบัญชา ถึงกำลังพลคนสุดท้าย มีความรักสามัคคีต่อกันดี การบริหารภายในก็เป็นไปตามบทบาทภาระหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย แม้บางคนอาจมีแนวความคิดแตกต่างกันไปบ้าง แต่สิ่งสำคัญคือการเคารพต่อการตัดสินใจ การให้เกียรติกันตามหน้าที่ ซึ่งนายกฯ คาดหมายว่าจะได้รับความร่วมมือจากสื่อที่จะยุติการนำเสนอข้อมูลข่าวสารในทางความขัดแย้ง เพราะไม่เป็นข้อเท็จจริงและไม่ได้เกิดประโยชน์ต่อฝ่ายใดเลย
พล.ต.สรรเสริญ กล่าวต่อว่า ประเด็นเรื่องการร่างรัฐธรรมนูญ นายกฯ ขอให้คำนึงถึงปัญหาของประเทศชาติว่าแต่ละภาคส่วนจะ มีส่วนร่วมแก้ปัญหาได้อย่างไรจึงจะเกิดประโยชน์ที่สุด และขอให้ทุกคนให้เกียรติและเปิดโอกาสให้กรธ. และสปท. รวมทั้งมีบางส่วนที่อาจมีกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับเดิม คือ คณะของนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ และสปช.เดิมมีส่วนสนับสนุนดำเนินการ เพื่อให้ทุกฝ่ายได้ทำงานอย่างเต็มที่เพื่อนำประเทศกลับมาสู่ความผาสุกโดยเร็วที่สุด
ขอความร่วมมือสู่เลือกตั้งก.ค.60
"ในระยะต่อไป การทำงานของรัฐบาลและคสช. จำเป็นต้องได้รับการรับรู้ ได้รับความ ร่วมมือ ได้รับความเห็นชอบทั้งจากสปท. สนช. และกรธ. เพื่อให้ได้ข้อสรุปในด้านต่างๆ ทั้งรัฐธรรมนูญ ยุทธศาสตร์ชาติ แผนการปฏิรูป การดำเนินการทุกอย่างต้องควบคู่กัน นำสิ่งที่รัฐบาล และคสช.ได้ดำเนินการไปแล้วมาพิจารณาวางแนวทางดำเนินการให้ชัดเจน หลังจากเดือนก.ค. 2560 ซึ่งจะมีการเลือกตั้ง มีคณะรัฐบาลชุดใหม่เข้ามา" พล.ต.สรรเสริญกล่าว
พล.ต.สรรเสริญกล่าวต่อว่า สิ่งที่ท่าน นายกฯ ให้สัมภาษณ์หรือมอบให้เป็นผู้ชี้แจงแถลงข่าวในแต่ละห้วงเวลานั้น เพื่อสร้างความเข้าใจกับประชาชน ส่วนราชการ นักการเมือง ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม เพื่อสร้างเสถียรภาพให้เกิดขึ้นภายในประเทศ เพราะประเทศต้องเดินหน้าอย่างต่อเนื่อง ควบคู่กับการยกร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อให้การบริหารราชการ การค้า การลงทุน และการดูแลความเป็นอยู่ของประชาชนนั้น ต่อเนื่องไม่หยุดชะงัก
ฝากประชาชนตระหนัก 4 ข้อ
พล.ต.สรรเสริญกล่าวด้วยว่า สุดท้ายนายกฯ ฝากประชาชนชาวไทยให้ตระหนักถึงเรื่องสำคัญ 4 ประการ 1.เรื่องความปลอดภัย ทุกภาคส่วนต้องช่วยกันเป็นหูเป็นตาสอดส่อง หากเห็นอะไรผิดสังเกต ผิดปกติขอให้แจ้งเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมกันตรวจตราให้เกิดความปลอดภัยกับสังคมอย่างแท้จริง
2.เรื่องความยั่งยืน การแก้ปัญหาต่างๆ ถ้าแก้ไขกันแบบเดิม จะเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เมื่อแก้แล้วจะส่งผลต่อปัญหาใหม่ เกิดขึ้นในระยะต่อไป ไม่ได้แก้ปัญหาที่ต้นกำเนิดของปัญหาจริงๆ ซึ่งขณะนี้รัฐบาลและคสช. ให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาแบบยั่งยืน
3.ความไว้เนื้อเชื่อใจกัน แต่ละฝ่ายต้องไว้เนื้อเชื่อใจกัน เพื่อให้เกิดความรู้สึกที่ดีต่อกัน นำมาซึ่งความร่วมมือร่วมใจในการดำเนินการร่วมกัน และ 4.ความสำนึกรู้ในบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ ทั้งของตัวเองและต่อบุคคลผู้อื่นด้วย แสวงหาความร่วมมืออย่างเป็น รูปธรรม ลดความขัดแย้ง และปฏิบัติตามกฎหมาย เชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรม ขอให้ร่วมมือกันเดินหน้าเพื่อแสวงหาวิธีการแก้ปัญหาของประเทศร่วมกัน
บาห์เรนชม'บิ๊กตู่'ทุ่มเททำงาน
เมื่อเวลา 08.15 น. วันที่ 12 ต.ค. ที่ทำเนียบรัฐบาล นายอับดุลลา ฮัสซัน ซาอิฟ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรบาห์เรนด้านเศรษฐกิจ เยี่ยมคารวะ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพื่อเชิญสารแสดงความยินดีจากเจ้าชายคอลิฟะห์ บิน ซัลมาน อัล คอลิฟะห์ นายกฯบาห์เรน ในโอกาสที่ นายกฯได้รับรางวัล ICTs in Sustainable Development Award ประจำปี ค.ศ.2015 จากสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU)
พล.ต.วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจำสำนักนายกฯ กล่าวสรุปผลการหารือว่า นายกฯ ได้แสดงความยินดีที่นายกฯ บาห์เรน ทรงได้รับรางวัลดังกล่าวจาก ITU เช่นกัน และทรงเป็นนายกฯคนแรกของประเทศอาหรับที่ได้รับรางวัลนี้ด้วย พร้อมกล่าวขอบคุณที่นายกฯบาห์เรนทรงมีโทรเลขแสดงความเสียพระทัยต่อเหตุการณ์ที่แยกราชประสงค์ด้วย
พล.ต.วีรชน กล่าวว่า ที่ปรึกษานายกฯบาห์เรนด้านเศรษฐกิจ กล่าวชื่นชมความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ประเทศ ซึ่งช่วยส่งเสริมความร่วมมือและสร้างประโยชน์ต่อทั้งสองภูมิภาคและประเทศกลุ่มอ่าวอีกด้วย พร้อมกล่าวยกย่องความเป็นเลิศการบริการด้านการแพทย์ของไทย ซึ่งชาวต่างประเทศโดยเฉพาะชาวตะวันออกกลางนิยมมาตรวจสุขภาพและรับการรักษาทางการแพทย์ในไทย รวมทั้งตนเองด้วย
"นอกจากนี้ยังกล่าวชื่นชมนายกฯ ถึงการทุ่มเททำงานบริหารประเทศ โดยบาห์เรนและไทยต่างเห็นพ้องกันว่าเสถียรภาพและความมั่นคง เป็นปัจจัยสำคัญในการส่งเสริมบรรยากาศที่เอื้อต่อการพัฒนาประเทศ รวมทั้งการเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคม" พล.ต.วีรชนกล่าว
'มีชัย'ลั่นไม่ลอกรธน.เก่า เขียนใหม่ กระชับสุด-โชว์ฝีมือ'กรธ.'เลือกประธานสปท.วันนี้ 'นรรัตน์'โผล่เบียดชิงรอง ปูยื่นจม.ร้องบิ๊กตู่คดีข้าว 'วิษณุ'แจงได้ทำตามกม. 'ประยุทธ์'ส่งสารอีก4ข้อ
'ยิ่งลักษณ์'ส่งจ.ม.เปิดผนึกถึง'บิ๊กตู่' จวกฝ่าย กม.ใช้ให้นายกฯออกคำสั่งทางปกครอง เรียกค่าเสียหาย'จำนำข้าว''วิษณุ'แจงวุ่น 'กรธ.'ลุยร่าง รธน.ขึ้นใหม่ ไม่ลอกของเก่า มีความเป็นสากล สั้นและกระชับ
มติชนออนไลน์ :
@'มีชัย'อยากเขียนรธน.ฉบับสั้น
เมื่อเวลา 13.45 น. วันที่ 12 ตุลาคม ที่รัฐสภา นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ให้สัมภาษณ์กรณีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ก่อนเข้าร่วมประชุม กรธ.ว่า จะมีการถามที่ประชุมว่าจะเขียนร่างรัฐธรรมนูญแบบมีรายละเอียด หรือจะเขียนให้สั้นกะทัดรัดและครอบคลุมหรือจะออกแบบใหม่ทั้งหมด หรือจะนำฉบับของนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ อดีตประธานกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ มาปรับปรุงตัดต่อ หากได้ข้อสรุปจากที่ประชุมจะเริ่มต้นลงมือทำงานได้ เมื่อช่วงวันหยุดเสาร์และอาทิตย์ที่ผ่านมาได้เริ่มต้นร่างแล้ว ส่วนโครงสร้างคงไม่มีการแบ่งเป็น 4 หมวด แต่เนื้อหาคงไม่แตกต่างกัน ส่วนตัวอยากให้รัฐธรรมนูญสั้นกะทัดรัด แต่ไม่รู้ว่าที่ประชุมคิดแบบเดียวกันหรือไม่ หากรัฐธรรมนูญเป็นฉบับสั้นก็จะเขียนกรอบเพื่อเป็นประกันไว้ในร่างไม่ให้เกิดการตีกินกันในภายหลัง
"การเขียนให้สั้นเพื่อต้องการให้มีหลักประกันแก่ประชาชน บางส่วนเมื่อมีหลักแล้วต้องไปออกกฎเกณฑ์กฎหมายลูกตามมาไม่ให้หลักมันเลื่อนลอย เรื่องนี้ กรธ.ได้หารือเบื้องต้นแล้วเห็นว่าจะต้องมีมาตรการกดดันในรัฐธรรมนูญเพื่อให้รัฐบาลที่เข้ามาผลักดันให้มีกฎหมายลูก เช่น กำหนดให้การกู้เงินต้องสอดคล้องกับวินัยการเงินการคลัง หากยังไม่มีกฎหมายลูกที่เกี่ยวข้องก็กำหนดให้กู้ได้แค่ร้อยละ 1 รัฐบาลที่เข้ามาอยากจะดึงการออกกฎหมายลูกไว้แค่ไหนก็ได้ เพื่อไม่ให้เกิดการตีกิน การเขียนกฎหมายบังคับขู่ว่าจะลงโทษไม่เอาแล้วไม่ได้เรื่อง" นายมีชัยกล่าว
@ นึกปรองดองไม่ออก-ช่วยกันคิด
กรณี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ส่งสารชี้แจงแนวทางการยกร่างรัฐธรรมนูญนั้น นายมีชัยกล่าวว่า เท่าที่ประชุมกันเป็นไปตามแนวทางที่ พล.อ.ประยุทธ์เสนออยู่แล้ว เรื่องปรองดองยังนึกไม่ออก ให้ กรธ.ไปคิดกัน ได้ตั้งคณะทำงานศึกษาด้านการสร้างความปรองดองขึ้นมาศึกษาหาเหตุผลว่าทำไมต้องปรองดอง แล้วถ้าจะปรองดองแล้วจะปรองดองกันอย่างไร จะนำของเดิมที่ได้ทำการศึกษาไว้มาดูและต่อยอดเพื่อทุ่นเวลาการทำงาน อย่างไรก็ตาม ก่อนเริ่มต้นประชุมกรธ. มีความเป็นห่วงเรื่องเวลา แต่เมื่อประชุมไปแล้ว 1 สัปดาห์ รู้สึกอุ่นใจขึ้น เพราะ กรธ.ทุกคนแม้จะไม่รู้จักกันมาก่อน แต่ได้แสดงความเห็นที่เป็นประโยชน์มาก มีประเด็นที่แตกต่างแต่ก็ไม่ถึงกับขัดแย้งกัน ซึ่งก็ต้องขอบคุณ กรธ.ทุกคน
@ กรธ.พิจารณากลไกการแก้รธน.
เวลา 15.00 น. ที่รัฐสภา นายอมร วาณิชวิวัฒน์ โฆษก กรธ.แถลงความคืบหน้าการประชุมคณะ กรธ. ว่า วันนี้ที่ประชุม กรธ.มีที่ปรึกษา 2 คน เข้าร่วมอย่างเป็นทางการ คือ นายเจษฎ์ โทณะวณิก อดีต กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ และนางกาญจนารัตน์ ลีวิโรจน์ อดีตเลขานุการคณะ กมธ.ยกร่างฯ ทั้งสองไม่มีอำนาจในการลงมติใดๆ ส่วนความคืบหน้าการประชุม มีการพิจารณาต่อเนื่องในกรอบแนวทางการดำเนินการจัดทำร่างตามมาตรา 35 รัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 โดยให้มีกลไกที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันมิให้มีการทำลายหลักการสำคัญ ตามมาตรา 35 (9) คือ ต้องทำความเข้าใจส่วนใดคือหลักการสำคัญของรัฐธรรมนูญที่สามารถแก้ไขได้ และกำหนดหลักการการใช้คะแนนเสียงจำนวนมากเพื่อให้แก้ไขรัฐธรรมนูญได้ยาก เนื่องจากรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ และให้มีกลไกปฏิรูปเรื่องสำคัญให้สมบูรณ์ เช่น การปฏิรูปการศึกษา กระบวนการยุติธรรมและการป้องกันการทุจริต เพราะจะส่งเสริมด้านอื่นๆ ให้การปฏิรูปมีประสิทธิภาพ
นายอมรกล่าวอีกว่า ที่ประชุมได้พิจารณากรอบร่างรัฐธรรมนูญตามความมุ่งหมายของ คสช. ในการสร้างกลไกที่มีประสิทธิภาพในการปฏิรูปและการสร้างความปรองดอง ควรนำข้อเสนอของ สปท. สนช. และ สปช. มาปรับความคิดเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ ให้นักการเมืองมีหน้าที่ทำความเข้าใจกับประชาชนเพื่อให้เกิดการยอมรับ พร้อมทั้งควรวางหลักการให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชน อย่างการเปิดเผยข้อมูลให้กับประชาชนมีส่วนในการตรวจสอบ
@ เขียนร่างรธน.ใหม่-สั้นกระชับ
นายอมรกล่าว ต่อว่า ยังมีอนุกรรมการโครงสร้างฝ่ายบริหารและอนุกรรมการรับฟังและสรุปความเห็นที่มีผู้เสนอแนะได้เข้าร่วมประชุมกับ กรธ.เป็นครั้งแรก มีการกำหนดกรอบการดำเนินงานโดยในการรับฟังความคิดเห็นโดยจะส่งเป็นหนังสือไปสอบถามความคิดเห็นการยกร่างรัฐธรรมนูญ ยัง คสช. ครม. สนช. ประชาชน พรรคการเมือง มหาวิทยาลัยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ กระแสข่าวที่ว่ามีการตั้งองค์กรตรวจสอบนโยบายประชานิยมนั้น ขอยืนยันไม่เป็นความจริง กรธ.ไม่มีนโยบายและไม่เคยมีการพูดถึงเรื่องนี้ การทำงาน กรธ.ไม่ต้องการเยิ่นเย้อไม่ทำงานเกินกรอบเวลา ส่วนการยกร่างรัฐธรรมนูญมีแนวโน้มว่าจะเขียนรัฐธรรมนูญขึ้นมาใหม่ ไม่คัดลอกจากรัฐธรรมนูญเก่าเพื่อสร้างอัตลักษณ์ของกรธ.เอง แต่จะต้องมีความเป็นสากลและเขียนให้สั้น กระชับที่สุด
"ความเห็นของผมคิดว่าน่าจะไม่เกิน 200 มาตรา คาดว่าสามารถพิจารณารายมาตราได้ในสัปดาห์นี้" นายอมรกล่าว และว่า กรณีถูกพาดพิงว่าได้เดินสายล็อบบี้ขอนั่งใน กรธ.และมีอำนาจปรับเปลี่ยนโผ ว่า ไม่เคยสร้างความขัดแย้งดังกล่าว ยืนยันไม่เคยเดินสายล็อบบี้ แต่ยอมรับได้เดินทางไปช่วยงานที่ตึกไทยคู่ฟ้า และต้องการทำงานในฐานะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญจริง แต่เรื่องนี้ไม่มีอำนาจในการตัดสินใจ เป็นเรื่องของผู้มีอำนาจในการจะเลือกใครเข้ามานั่งในตำแหน่งนี้
@ เชื่อรธน.บรรจุเนื้อหาสื่อออกมาดี
นายภัทระ คำพิทักษ์ กรธ. เปิดเผยว่า เมื่อปลายสัปดาห์ได้หารือร่วมกับ 4 องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนเพื่อชี้แจงและแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับการดำเนินงานเพื่อประกอบการทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ระบุถึงปฏิทินทำงานของ กรธ. นับจากนี้ไปจะมีเวลาประมาณ 2 เดือนเพื่อให้องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนระดมความเห็นเกี่ยวกับการเสนอความเห็นต่อการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ นอกจากนั้นได้พูดคุยในหลักการว่าสิ่งที่องค์กรวิชาชีพสื่อยินดีที่จะให้มีในร่างรัฐธรรมนูญ คือ เนื้อหาที่ไม่ด้อยไปกว่าที่เขียนไว้ในรัฐธรรมนูญปี 40 ส่วนบทบัญญัติเพิ่มเติมที่เขียนไว้ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่ สปช.ไม่เห็นชอบนั้น ยอมรับว่ายังมีประเด็นที่เห็นแตกต่างกัน
นายภัทระ กล่าวด้วยว่า การประชุม กรธ.สัปดาห์ที่ผ่านมาได้หารือถึงประเด็นของการควบคุมสื่อมวลชน กรธ.หลายคนแสดงความไม่สบายใจต่อบทบาทของสื่อมวลชนที่ผ่านมา จึงให้ข้อมูลเกี่ยวกับภูมิทัศน์ของสื่อมวลชนที่เปลี่ยนไป ทำให้ กรธ.ที่ไม่สบายใจนั้นได้เห็นข้อมูลเพื่อประกอบการพิจารณา ขณะที่การเขียนร่างรัฐธรรมนูญต่อเนื้อหาที่เกี่ยวกับสื่อมวลชนนั้น เชื่อว่าจะออกมารูปแบบที่ดีพอสมควร เนื่องจากนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธาน กรธ. เมื่อครั้งเป็นประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เคยมีบทบาทอย่างมากต่อการยกเลิกพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การพิมพ์ พ.ศ.2484 นอกจากนั้นยังมีส่วนสำคัญต่อการเขียนเนื้อหาร่างกฎหมายว่าด้วยสิทธิเสรีภาพสื่อมวลชน
@ 'ชัย'ทำหน้าที่ประธานถกนัดแรก
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การประชุมนัดแรกของ สปท.ในวันที่ 13 ตุลาคมนี้ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ในฐานะเลขาธิการสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศได้วางขั้นตอนการประชุม ตามประเพณีปฏิบัติจะให้สมาชิกที่มีความอาวุโสสูงสุดคือ นายชัย ชิดชอบ อดีตประธานรัฐสภา อายุ 87 ปี ทำหน้าที่ประธานการประชุมชั่วคราว ก่อนจะนำสมาชิกเข้าสู่การปฏิญาณตนต่อการทำหน้าที่ หลังจากนั้นจะใช้เวลาไม่นานในการคัดเลือกประธานและรองประธาน สปท. เปิดโอกาสให้ผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อกล่าวแสดงวิสัยทัศน์ต่อที่ประชุม พร้อมลงคะแนนลับเขียนชื่อใส่กระดาษว่าจะเลือกบุคคลใดนำไปใส่ในกล่องนับคะแนน ผู้ที่ได้รับเลือกนั้นจะต้องได้รับเสียงข้างมากของสมาชิกเท่าที่มีอยู่ในที่ประชุม
ผู้สื่อรายงานข่าวว่า ตำแหน่งประธาน สปท.นั้น ร.อ.ทินพันธุ์ นาคะตะ จะถูกเสนอชื่อขึ้นมาโดยไม่มีคนอื่นมาร่วมชิงตำแหน่งด้วย เนื่องจาก คสช.ได้วางตัว ร.อ.ทินพันธุ์ให้เป็นประธาน สปท.ตั้งแต่แรก โดยประสานงานกับสมาชิก สปท.สายทหาร และอดีต สปช.ที่ลงมติไม่รับร่างรัฐธรรมนูญได้ช่วยประสานสมาชิกให้สนับสนุน ร.อ.ทินพันธุ์ในช่วงตลอดทั้งสัปดาห์ที่ผ่านมา ประกอบกับ ร.อ.ทินพันธุ์คุ้นเคยกับนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธาน กรธ. และนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี สมัยร่วมกันร่างรัฐธรรมนูญในอดีต และประสานการทำงานกับ กรธ.และ ครม.ได้อย่างดี ในขั้นตอนการประชุม สปท. วันที่ 13 ตุลาคม หลังจากกล่าวปฏิญาณตนเรียบร้อย พล.อ.ฐิติวัฒน์ กำลังเอก สมาชิก สปท.จะเสนอชื่อ ร.อ.ทินพันธุ์ต่อที่ประชุม
@ ดัน'อลงกรณ์-นรรัตน์'ชิงรองปธ.
ผู้สื่อข่าวรายงานอีกว่า ตำแหน่งรองประธาน สปท.ที่มีกระแสข่าวว่า คสช.วางตัว พล.อ.จิระ โกมุทพงศ์ อดีตเจ้ากรมพระธรรมนูญ เป็นรองประธาน สปท.คนที่ 1 และ น.ส.วลัยรัตน์ ศรีอรุณ อดีต ผอ.สำนักงบประมาณ เป็นรองประธานคนที่ 2 แต่การหยั่งเสียงล่าสุดสมาชิก สปท.บางส่วนร่วมกันหารือให้เสนอชื่อนายอลงกรณ์ พลบุตร อดีต สปช. และนางนรรัตน์ พิมเสน อดีตเลขาธิการวุฒิสภา ประกบชิงตำแหน่งรองประธานสปท.คนที่ 1 และคนที่ 2 ตามลำดับด้วยเห็นว่านายอลงกรณ์และนางนรรัตน์จะมาช่วยแบ่งเบางาน ร.อ.ทินพันธุ์ที่มีอายุมากได้ นายอลงกรณ์ทำงานในสภามายาวนาน เคยเป็นเลขานุการวิป สปช.มาก่อน เข้าใจพิมพ์เขียวการปฏิรูปประเทศที่ สปท.ต้องมาสานต่อเป็นอย่างดี ส่วนนางนรรัตน์เป็นอดีตเลขาธิการวุฒิสภา มีความเข้าใจกลไกการทำงานสภา คาดว่านายอลงกรณ์และนางนรรัตน์น่าจะมีคุณสมบัติดีกว่า พล.อ.จิระ และ น.ส.วลัยลักษณ์ที่ไม่มีประสบการณ์การทำงานในสภา
@'ทินพันธุ์'ปัดพูดนั่งปธ.สปท.
ร.อ.ทินพันธุ์ นาคะตะ สมาชิก สปท. กล่าวถึงกระแสข่าวถูกเสนอให้เป็นประธาน สปท.ว่า "ไม่ทราบอะไรเลยเกี่ยวกับกระแสข่าวนี้ ยังไม่ขอให้สัมภาษณ์ใดๆ ขอให้การประชุมในวันที่ 13 ตุลาคมเสร็จสิ้นก่อน ส่วนที่ถามว่าพร้อมจะรับตำแหน่งหรือไม่นั้น คงต้องแล้วแต่ที่ประชุม"
@'ผู้ตรวจ'เล็งขอเพิ่มอำนาจ
เวลา 11.30 น. ที่ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ถนนแจ้งวัฒนะ นายศรีราชา วงศารยางกูร ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน ให้สัมภาษณ์ว่า ได้รับเชิญจากนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธาน กรธ.ให้ไปหารือในวันที่ 15 ตุลาคม เวลา 16.00 น. คงพูดคุยกันถึงปัญหาอุปสรรคในการทำงานขององค์กร ยืนยันว่าไม่ขอควบรวมกับองค์กรอื่น ให้คงอำนาจเดิมตามรัฐธรรมนูญปี 50 ไว้ และในส่วนของอำนาจหน้าที่ที่อยากให้ กรธ.พิจารณาเพิ่มให้กับผู้ตรวจการแผ่นดินคือ กรณีผู้ตรวจมีข้อเสนอให้หน่วยงานแล้วไม่มีการดำเนินการภายใน 90 วัน โดยไม่แจ้งเหตุผล ให้ถือว่าหน่วยงานนั้นมีความผิดวินัยร้ายแรง รวมทั้งให้ผู้ตรวจมีอำนาจในการฟ้องคดีแพ่งแทนประชาชน เป็นหน่วยงานรับปรึกษาปัญหาข้อกฎหมายให้กับประชาชน
นายศรีราชา กล่าวอีกว่า จะหารือถึงความเป็นไปได้ในการให้รัฐจัดสรรงบประมาณ 1 เปอร์เซ็นต์ของงบประมาณแผ่นดินให้กับองค์กรอิสระ รวมทั้งศาลที่ทำหน้าที่ตรวจสอบการบริหารงานของรัฐ ให้เกิดความเป็นอิสระในการตรวจสอบอย่างแท้จริงเพราะที่ผ่านมาการจัดสรรงบประมาณอยู่ภายใต้สำนักงบประมาณ เป็นหน่วยงานที่ผู้ตรวจสามารถตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ทำให้ย่อมไม่อยากพิจารณางบประมาณให้เราเติบโต
"ผมเชื่อในความสามารถของท่านมีชัยเพราะเป็นผู้มีประสบการณ์ มีความคิดลุ่มลึก รอบคอบ มีประสบการณ์ในเรื่องการยกร่างมามาก คิดว่าไม่มีปัญหา การที่ท่านเชิญเราไปชี้แจงก่อนแสดงว่าอยากรับฟังเรา ไม่เหมือนกับชุดที่แล้วที่เสนอให้ควบรวม ถือว่าเจตนาไม่ดีกับองค์กรเรา เชื่อว่า กรธ.ชุดนี้จะรับฟังมากกว่าชุดที่แล้ว" ประธานผู้ตรวจการกล่าว
@'กกต.'เตรียมชงอำนาจสืบสวน
เวลา 15.00 น. ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) นายบุญส่ง น้อยโสภณ กกต.ด้านกิจการสืบสวนสอบสวนและวินิจฉัย กล่าวว่า เตรียมเสนอประเด็นที่ได้จากการสัมมนาร่วมระหว่าง กกต.กับศาลยุติธรรมให้ที่ประชุม กกต.พิจารณาในวันที่ 13 ตุลาคม เพื่อนำไปเสนอกับ กรธ.ในวันที่ 15 ตุลาคมนี้ กกต.ทั้ง 5 คน จะเดินทางไปด้วย ประเด็นของด้านสืบสวนสอบสวนประกอบด้วย ขอให้คงอำนาจตามมาตรา 251 ของร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับของนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ อดีตประธาน กมธ.ยกร่างฯ ที่ให้ กกต.มีอำนาจแต่งตั้งเจ้าหน้าที่รัฐมาช่วยสนับสนุนการเลือกตั้ง และโยกย้ายเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่ไม่เป็นกลาง มีอำนาจสืบสวนสอบสวนทางวินัย ที่ผ่านมา กกต.ไม่เคยเสนอย้ายผู้ว่าราชการจังหวัดที่มีพฤติกรรมดังกล่าวได้เลย เนื่องจากผู้บังคับบัญชาออกมาปกป้อง ขอให้ กกต.มีอำนาจในการออกหมายเรียก ยึด อายัดพยานหลักฐาน หมายค้น จับกุม การพิจารณาคดีของศาลให้ยึดสำนวนของ กกต.เป็นหลัก และให้การพิจารณาคดีแพ่งหรือคดีเรียกค่าเสียหายในการจัดการเลือกตั้งใหม่ และคดีอาญาในการสั่งเพิกถอนสิทธิในการเลือกตั้ง ให้กระทำได้ในคราวเดียวกัน
นายบุญส่ง กล่าวต่อว่า ขอให้มีการขยายระยะการกำหนดเวลาการกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้งก่อนครบวาระ เดิมในระดับชาติห้ามมีการกระทำเพื่อหวังผลในการเลือกตั้งก่อน 90 วันก่อนครบวาระ มาเป็น 180 วันก่อนครบวาระ และเพิ่มโทษผู้ที่กระทำผิดกฎหมายการเลือกตั้งก่อนประกาศรับรองผลการเลือกตั้ง แต่เดิมมีโทษ 1 ปี มาเป็น 5 ปี เท่ากับผู้บริหารท้องถิ่นหรือ 10 ปี รวมถึงให้มีการแก้ไขปัญหาผู้บริหารท้องถิ่นลาออกก่อนครบวาระเพื่อให้ได้เปรียบในการลงสมัครการเลือกตั้ง ทำให้รัฐเสียงบประมาณจัดการเลือกตั้งใหม่ ควรห้ามไม่ให้ผู้ที่ลาออกลงสมัครครบ 5 ปี และให้ชดใช้ค่าเสียหายใหม่ด้วย
@'ยิ่งลักษณ์'ร่อนหนังสือถึงนายกฯ
ขณะที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้โพสต์เฟซบุ๊ก Yingluck Shinawatra ทำจดหมายเปิดผนึกถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯเรื่องคดีจำนำข้าว เนื้อหาที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์เขียนได้ขอใช้โอกาสนี้ทำจดหมายเปิดผนึก เพราะไม่มีโอกาสได้พบและติดต่อมานับแต่วันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ที่ พล.อ.ประยุทธ์ได้เป็นหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และดำรงตำแหน่งนายกฯกว่า 1 ปีเศษแล้ว ช่วงเวลาดังกล่าว ได้ถูกดำเนินการในเรื่องต่างๆ ทั้งที่เป็นการดำเนินนโยบายสาธารณะที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้แถลงต่อรัฐสภาเกี่ยวกับนโยบายรับจำนำข้าว
อดีตนายกฯระบุว่า ศาลเป็นกลไกตามกระบวนการยุติธรรมเพื่อการเรียกร้องค่าเสียหายในคดีแพ่ง ต้องใช้สิทธิทางศาลโดยสุจริต แต่ฝ่ายกฎหมายของ พล.อ.ประยุทธ์ กลับพลิกมุมกฎหมายและกลไกในการเรียกค่าเสียหายใหม่ หากพบว่ามีความผิด รัฐจะไม่ฟ้อง แต่ใช้วิธีให้ พล.อ.ประยุทธ์ ออกคำสั่งทางปกครอง โดยไม่ต้องเข้า ครม. สั่งให้บุคคลที่เกี่ยวข้องชำระหนี้เหมือนคำสั่งยึดทรัพย์ เพียงเพื่อหลีกเลี่ยงค่าธรรมเนียมในการฟ้องเรียกค่าเสียหายที่จะต้องเสียเงินค่าธรรมเนียมศาล เท่ากับว่าได้ใช้อำนาจหน้าที่เสมือนหนึ่งเป็นคำพิพากษาของศาล เป็นกลไกในการชี้ถูกผิดว่าจะให้ผู้ใดรับผิดชอบในค่าเสียหายต่อการดำเนินนโยบายรับจำนำข้าว ทั้งที่การพิจารณาคดีของศาลในคดีอาญายังไม่เสร็จสิ้น
@ ย้ำคำสั่งทางปกครองไม่เป็นกลาง
จดหมายเปิดผนึกช่วงท้าย ระบุว่า "เพื่อให้เป็นไปตามหลักนิติธรรม ขอให้ท่านควรจะได้มีการดำเนินการดังนี้ 1.พิจารณาทบทวนและยุติการดำเนินการใดๆ ที่ฝ่ายกฎหมายของรัฐบาลเสนอ ดำเนินการให้ท่านใช้อำนาจในฐานะนายกฯ และในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายและการบริหารจัดการข้าว (นบข.) ในปัจจุบัน ลงนามทำคำสั่งทางปกครองใดๆ อันขัดต่อหลักความเป็นกลาง และเป็นผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อมีคำสั่งให้บุคคลใดชำระหนี้ค่าเสียหาย อันเกี่ยวกับการดำเนินนโยบายโครงการรับจำนำข้าว ที่ได้แถลงไว้ต่อรัฐสภา แทนการพิจารณาและพิพากษาคดีของศาล 2.ภายหลังการสอบสวนโดยกระบวนการสอบสวนที่ถูกต้องตามระเบียบ กฎหมาย และหลักนิติธรรม เสร็จสิ้น หากพบความเสียหาย รัฐเองควรให้หน่วยงานของรัฐฟ้องคดีต่อศาล เพื่อแสดงให้เห็นว่าท่านมีความยุติธรรมและเที่ยงธรรมต่อทุกคนที่ถูกกล่าวหา 3.การพิจารณาคดีอาญาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองยังไม่เสร็จสิ้น และอายุความในคดียังเหลือเวลาอีกนาน ตามที่ฝ่ายกฎหมายของรัฐบาลแถลง จึงไม่ควรเร่งรีบ รวบรัด ในการทำสำนวนการตรวจสอบความรับผิดทางละเมิด ควรให้โอกาสผู้เกี่ยวข้องหรือผู้เสียหายได้ชี้แจงข้อเท็จจริง ทั้งนี้ ได้มอบหมายให้ทนายความไปยื่นหนังสือถึงท่านในวันอังคารที่ 13 ตุลาคม เวลา 10.00 น. ณ ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ ทำเนียบรัฐบาล และหวังว่าเมื่อท่านได้รับหนังสือแล้ว ท่านคงจะไม่เพิกเฉย และจะได้พิจารณาด้วยความเป็นธรรม เพราะท่านได้ยืนยันว่าจะให้ความเป็นธรรมกับทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน"
@ "วิษณุ"ยันทำตามขั้นตอนกม.
เวลา 13.30 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์กรณี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ออกจดหมายเปิดผนึกถึง พล.อ.ประยุทธ์ว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม กรณีนายกฯใช้คำสั่งทางปกครองเรียกค่าเสียหายในโครงการรับจำนำข้าว เพื่อหลีกเลี่ยงค่าธรรมเนียมศาลในการฟ้องเรียกค่าเสียหาย ว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์จะให้ทนายมายื่นหนังสือถึงนายกฯในวันที่ 13 ตุลาคม จะได้รู้ว่ามีการร้องเรียนอย่างไรบ้าง รัฐบาลได้ดำเนินการตามขั้นตอน ทั้งหมดไม่มีอะไรลับลวงพรางมีกระบวนการพิจารณา ตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 บัญญัติในกฎหมายไว้เป็นพิเศษว่า 1.เจ้าหน้าที่ของรัฐที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำการละเมิดแต่ไม่ใช่การทำผิดอาญา 2.การกระทำนั้นเป็นการกระทำที่ไม่จงใจ ไม่ประมาท เลินเล่อ กรณีอย่างนี้ถ้าเจ้าหน้าที่กระทำความผิดหรือประมาทเลินเล่อ แต่การกระทำนั้นไม่ได้จงใจกระทำความผิด หรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง พ.ร.บ.ดังกล่าวจะไม่ฟ้องร้องแต่ต้องการจะช่วยเจ้าหน้าที่ จึงให้ฟ้องหน่วยงานต้นสังกัดของเจ้าหน้าที่นั้นๆ ซึ่งหน่วยราชการต้องจ่ายค่าเสียหายแทน แต่หากเจ้าหน้าที่รัฐกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงต้องฟ้องเจ้าหน้าที่คนนั้นๆ ในมาตรา 10 ของกฎหมายนี้ ให้มีการออกคำสั่งทางปกครองภายในอายุความ 2 ปี หากผู้ถูกฟ้องไม่พอใจก็สามารถฟ้องศาลปกครองให้เพิกถอนคำสั่งได้
@ ชี้เข้าข่ายจงใจทำผิดเลินเล่อ
นายวิษณุ กล่าวว่า ปัญหาอยู่เพียงว่าในกรณีนี้เข้าข่ายตามกฎหมายหรือไม่ เมื่อเจ้าหน้าที่รายงานว่าเข้าข่ายเพราะผู้กระทำผิดเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ แม้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ และนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ อดีต รมว.พาณิชย์ และนายภูมิ สาระผล อดีต รมช.พาณิชย์ ไม่ได้ไปกระทำความผิดส่วนตัว แต่เป็นการกระทำความผิดขณะเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐโดยการประมาท เป็นการกระทำที่จงใจเลินเล่ออย่างร้ายแรงตามข้อกล่าวหาของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ที่ชี้มูลความผิด และส่งเรื่องมาให้รัฐบาล จึงเข้าข่ายตาม พ.ร.บ.ฉบับนี้ ต้องนำไปสู่กระบวนการออกคำสั่งทางปกครอง ขณะนี้ยังอยู่ในระหว่างการตรวจสอบ เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการยุติธรรมตามปกติ
เมื่อถามว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ต้องการให้คดีอาญาในศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองสิ้นสุดลงก่อน นายวิษณุกล่าวว่า ไม่ได้ เพราะอายุความในคดีเรียกค่าเสียหายนี้มีเพียง 2 ปี จะหมดอายุในเดือนกุมภาพันธ์ 2560 จะทิ้งไว้ให้อายุความขาดไม่ได้ เพราะรัฐจะกลายเป็นจำเลย รัฐจึงรอไม่ได้ อย่างไรก็ตามเมื่อรัฐสั่งฟ้องจำเลย ก็ไปฟ้องศาลปกครองเพื่อให้เพิกถอนคำสั่ง ส่วนคดีจะอยู่ในศาล 10 หรือ 20 ปี ก็ไม่มีปัญหา
@ ไม่ได้เลี่ยงหนีวางเงินมัดจำศาล
เมื่อถามว่า การที่รัฐดำเนินการด้วยวิธีการนี้ เป็นการหลีกเลี่ยงวิธีการฟ้องต่อศาลแพ่งที่รัฐต้องมีเงินวางศาลจำนวนมากจนเป็นข้อกังวลหรือไม่ นายวิษณุกล่าวว่า ไม่ได้หลีกเลี่ยง เพียงแต่รัฐไม่สามารถใช้กระบวนการอื่นดำเนินการ กฎหมายได้สร้างกระบวนการนี้เพื่อให้ใช้ตั้งแต่ปี 2539 เป็นไปตามหลักกฎหมาย ไม่ใช่รัฐมีทางเลือก 2 ทาง แล้วเลือกทางนี้เพราะไม่มีกฎหมายอื่นให้เลือก
"ถ้าหากจะฟ้องต่อศาลแพ่งเพื่อเรียกค่าเสียหายเหมือนตอนแรกที่คิดไว้ อย่างนั้นเราต้องลดราวาศอก ตั้งข้อหาลงมาว่าประมาทจิ๊บจ๊อย มันถึงจะไปฟ้องธรรมดา แต่เมื่อ ป.ป.ช.ส่งรายงานเอกสารยืนยันว่าเป็นเรื่องประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ก็ต้องมาใช้ขั้นตอนนี้ มันจึงถูกบังคับโดยกระบวนการของมัน ไม่ใช่เลือกได้ตามใจชอบ" นายวิษณุกล่าว
เมื่อถามว่า ในจดหมายเปิดผนึกระบุว่านายกฯจะเป็นผู้ลงนามทางปกครอง ถือเป็นผู้ส่วนได้ส่วนเสีย ไม่เป็นกลางที่จะออกคำสั่ง นายวิษณุกล่าวว่า ไม่ทราบว่าจริงๆ แล้ว นายกฯมีส่วนได้ส่วนเสียอะไรบ้าง แต่ขั้นตอนที่จะดำเนินการนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์กับผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถฟ้องร้องเพิกถอนคำสั่งหรืออุทธรณ์ได้ อย่างไรก็ตามคดีนี้จะเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่มีคำสั่งทางปกครองที่นายกฯได้ลงนามออกมา
เมื่อถามว่า ยืนยันใช่หรือไม่ว่าการที่รัฐบาลใช้วิธีการนี้ ทางจำเลยถือว่าได้รับการเป็นธรรม นายวิษณุกล่าวว่า ถูกต้องตามความเป็นธรรมตามกฎหมาย กฎหมายดังกล่าวใช้มาแล้วหลายกรณี รัฐแพ้บ้างชนะบ้าง จึงเข้าข่ายกฎหมายที่ออกมาตั้งแต่ปี 2539
@ ให้ไปเถียงกับป.ป.ช.-ไม่ใช่รัฐบาล
เมื่อถามว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ออกจดหมายเปิดผนึกดังกล่าวอาจเข้าใจผิดบางประเด็นหรือไม่ นายวิษณุกล่าวว่า "คงไม่วิจารณ์ น.ส.ยิ่งลักษณ์อาจเข้าใจถูก แต่ประเด็นอยู่ตรงนี้ ไหนๆ จะพูดแล้วชี้ช่องให้เลยก็ได้ คือที่ผมบอกว่า มันมี 2 กระบวนการสำหรับดำเนินคดี แต่ไม่ใช่เลือกเอาอันใดอันหนึ่ง ถ้าเข้าล็อกอย่างนี้ก็ต้องใช้กระบวนการ ก. แต่ถ้าเข้าล็อกอย่างโน้นก็ต้องใช้กระบวนการ ข. ไม่ใช่ว่าเรื่องนี้จะใช้ ก.ก็ได้ ข.ก็ได้ จึงต้องมาเถียงกันว่าจงใจหรือประมาทเลินเล่อร้ายแรงหรือไม่ และถ้าไม่พอใจคำสั่งทางปกครองแล้วไปฟ้องศาลก็มีสิทธิยกคำอ้างว่าเรื่องนี้ ไม่ควรใช้กระบวนการรับผิดทางละเมิด เพราะไม่ได้ละเมิดอย่างร้ายแรงก็ต้องพิสูจน์กัน นั่นแปลว่าคุณต้องเถียงกับ ป.ป.ช. ไม่ใช่เถียงกับรัฐบาล"
เมื่อถามว่า ขณะนี้ได้รับรายงานข้อเท็จจริงจากคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงเพื่อความรับผิดทางแพ่ง กรณีโครงการรับจำนำข้าวที่เหลืออีก 1 คณะ แล้วหรือยัง นายวิษณุกล่าวว่า ยังไม่ได้ส่งมา ส่วนรายงานข้อเท็จจริงจากคณะกรรมการฯชุดแรก ยังไม่ได้ส่งให้กับนายกฯเพื่อพิจารณา ส่วนตัวเลขความเสียหายในรายงานดังกล่าวไม่ได้มีการระบุ ระบุเพียงสูตรวิธีคิด ตัวเลขไม่คงที่ในแต่ละวัน ตัวเลขความเสียหายจะต้องระบุให้ชัดเจนในขั้นตอนการออกคำสั่งทางปกครองว่าให้ใครรับผิด อย่างไรก็ตามไม่สามารถนำตัวเลขความเสียหายจากรายงานข้อเท็จจริงของคณะกรรมการฯทั้ง 2 ชุด ที่มีกระทรวงการคลังและกระทรวงพาณิชย์รับผิดชอบมารวมกันได้ เพราะเป็นคนละข้อหา เนื่องจากกระทรวงการคลังสรุปข้อมูลในเรื่องของจำนำข้าว ขณะที่กระทรวงพาณิชย์สรุปข้อมูลการขายข้าวแบบจีทูจี
@ ศาลออกหมายจับ'ทักษิณ'หนีศาล
เมื่อเวลา 09.30 น. ที่ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก ศาลนัดสอบคำให้การจำเลยและตรวจพยานหลักฐานในคดีดำหมายเลข อ.1824/2558 ที่กองทัพบกมอบอำนาจให้ พล.ต.ศรายุทธ กลิ่นมาหอม ผู้อำนวยการสำนักงานพระธรรมนูญทหารบก เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นจำเลยในความผิดฐานหมิ่นประมาทผู้อื่นโดยการโฆษณา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 และ 328
ตามคำฟ้องบรรยายพฤติการณ์สรุปว่า เมื่อวันที่ 19-20 พฤษภาคม 2558 จำเลยให้สัมภาษณ์ใส่ความโจทก์ที่ประเทศเกาหลีใต้ผ่านสื่อโซเชียลซึ่งไม่ใช่ความจริง จำเลยได้ให้สัมภาษณ์ถึงการเมืองในประเทศไทยที่มีการเผยแพร่ผ่านยูทูบและสื่อออนไลน์ ส่งผลให้โจทก์ได้รับความเสียหายต่อชื่อเสียง จึงขอให้ศาลพิพากษาลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 และ 328
ในวันนี้ พล.ต.ศรายุทธ ตัวแทนผู้รับมอบอำนาจโจทก์และทนายความจำเลยเดินทางมาศาล ทนายความจำเลย ขึ้นแถลงต่อศาลว่า จำเลยอยู่ระหว่างลี้ภัยทางการเมือง จำเลยเองไม่ได้เข้ามาในประเทศไทยก่อนที่จะถูกฟ้องคดีขอให้ศาลพิจารณาคำร้องตามเห็นสมควร
ตัวแทนผู้รับมอบอำนาจโจทก์แถลงศาลว่า ตัวจำเลยได้รับทราบหมายเรียกโดยชอบแล้วไม่เดินทางมาศาล ซึ่งขณะนี้ตัวจำเลยอยู่ต่างประเทศ จึงขอให้ศาลพิจารณาออกหมายจับหรือตามเห็นสมควร
ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า ตัวจำเลยเองได้รับทราบนัดโดยชอบแล้วแต่ไม่เดินทางมาศาล และขณะนี้ตัวจำเลยไม่ได้อยู่ในราชอาณาจักร จึงมีพฤติการณ์หลบหนี ให้ออกหมายจับจำเลยเพื่อให้ได้ตัวมาพิจารณาภายในอายุความ กรณีไม่แน่ว่าจะจับตัวจำเลยได้เมื่อใด จึงให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความชั่วคราว หากมีการจับตัวจำเลยได้แล้วให้พิจารณาคดีต่อไป
@ พล.ต.นำคำสั่งส่งอัยการล่าตัว
ด้าน พล.ต.ศรายุทธ ผู้อำนวยการสำนักงานพระธรรมนูญทหารบก กล่าวว่า วันนี้ได้แถลงต่อศาลว่าจำเลยไม่มาศาลตามนัด ก็ให้พิจารณาออกหมายจับ ขณะที่ฝ่ายทนายความจำเลยแถลงว่าตัวจำเลยอยู่ที่ต่างประเทศ ดังนั้นศาลจึงให้ออกหมายจับเพื่อตามตัวจำเลยมาดำเนินคดีตามกระบวนการของกฎหมายต่อไปภายในอายุความ ซึ่งไม่แน่ใจ อาจอยู่ที่ประมาณ 5-7 ปี โดยศาลก็ได้มีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความเป็นการชั่วคราวด้วย ทั้งนี้ เรื่องการติดตามตัวก็ต้องเป็นหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป โดยฐานะโจทก์ จะนำคำสั่งศาลที่ออกหมายจับนี้ส่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอัยการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) เพื่อดำเนินการติดตามตัวต่อไป ส่วนคดีหมิ่นประมาทฯ กองทัพบกมีเพียงคดีเดียวที่ตนได้รับมอบอำนาจให้ยื่นฟ้อง
นายโชคชัย อ่างแก้ว ทนายความนายทักษิณ กล่าวว่า วันนี้ได้มีการแถลงว่านายทักษิณลี้ภัยอยู่ต่างประเทศ แต่ขณะนี้ก็ไม่ทราบว่าอยู่ประเทศใด ซึ่งการที่ศาลได้มีคำสั่งออกหมายจับนั้นเป็นไปตามกระบวนการ
@ "บิ๊กหมู"เตือนทหารมีสติเสพข่าว
ที่กองพลทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์ (พล.ร.2 รอ.) พล.อ.ธีรชัย นาควานิช ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) เป็นประธานในวันคล้ายวันสถาปนา พล.ร.2 รอ. ครบ 36 ปี ให้โอวาทตอนหนึ่งว่า วันนี้รู้สึกยินดี ภาคภูมิใจที่เห็นกำลังพลของ พล.ม.2 รอ.มีความเข้มแข็ง เด็ดเดี่ยว และเป็นหน่วยหลักของกองทัพบก ที่ผ่านมา 36 ปีของ พล.ม.2 รอ. ผู้บังคับบัญชาจนถึงกำลังพลได้สร้างคุณงามความดี ผ่านร้อนผ่านหนาว สร้างชื่อเสียงและศักดิ์ศรีให้กับหน่วยและกองทัพบกมาตลอด ปัจจุบันภาพข่าวต่างๆ สังคมและข่าวสาร อย่าไปอยู่ในสังคมที่เรียกว่าสังคมหูเบา อ่านอะไรก็เชื่อตามนั้น ขอให้พวกเราทุกคนได้วิเคราะห์ ไตร่ตรอง มีสติในการรับทราบข่าวต่างๆ ขอให้เชื่อมั่นผู้บังคับบัญชาทุกระดับชั้นในการนำพากำลังพล หน่วย ไปด้วยเกียรติและศักดิ์ศรีของหน่วย ฉะนั้นขอให้กำลังพลของ พล.ม.2 รอ.ทุกนายมีความเชื่อมั่นในผู้บังคับบัญชาของท่านในการปฎิบัติภารกิจในอนาคต ประเทศในยามนี้จะต้องพึ่งกำลังพล
@ กำชับสานงานบิ๊กตู่เคร่งครัด
ที่กองบัญชาการกองทัพบก (บก.ทบ.) พล.อ.ธีรชัย ในฐานะเลขาธิการ คสช. เป็นประธานการประชุมสำนักเลขาธิการ คสช. โดย พ.อ.หญิง ศิริจันทร์ งาทอง รองโฆษก คสช. เปิดเผยว่า มีการชี้แจงผลการปฏิบัติงานในรอบสัปดาห์ เลขาธิการ คสช.สั่งการให้ทุกส่วนของ คสช.สนับสนุนนโยบายเร่งด่วนและปฏิบัติตามบัญชาของหัวหน้า คสช.อย่างเคร่งครัด ทั้งการบังคับใช้กฎหมายเพื่อดูแลสถานการณ์ในประเทศ การชี้แจงทำความเข้าใจในเรื่องนโยบายและแผนการปฏิบัติงานที่สำคัญของรัฐบาลให้ประชาชนและต่างประเทศได้รับทราบ การดูแลปัญหาความเดือดร้อนของกลุ่มต่างๆ ให้ใช้กลไกของคณะทำงานร่วมฝ่ายปกครอง ตำรวจ ทหาร ลงพื้นที่ถึงระดับหมู่บ้านอย่างสม่ำเสมอผ่านกิจกรรมประชาคมหมู่บ้าน พบปะและนำผลการดำเนินงานของรัฐบาลที่สำคัญไปชี้แจงกับประชาชน การสร้างความเข้าใจใน 3 เรื่องสำคัญ ได้แก่ ทำไมต้องร่างรัฐธรรมนูญใหม่, ตัวเลข 6-4-6-4 คืออะไร, รัฐบาลสั่งห้ามใช้น้ำหรือสั่งห้ามทำนาจริงหรือ และโรดแมปของ คสช. การชี้แจงจะดำเนินการควบคู่ไปกับการให้ข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาภัยแล้ง
@'บิ๊กหมู-บิ๊กโด่ง'ยืนคุยอารมณ์ดี
เวลา 13.30 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมสภาความมั่นคงแห่งชาติ