- Details
- Category: การเมือง
- Published: Wednesday, 07 October 2015 11:37
- Hits: 4547
กรธ.เตรียมปรับใช้ ฉบับปื๊ด มีชัยหวั่น 6 ด.ไม่เสร็จ 'ปชต.ใหม่'ชูป้ายต้านหน้าสภา'บิ๊กโด่ง'โต้ซดเกาเหลา'บิ๊กหมู' รำลึก 6 ตุลา-ผูกผ้าจุดแขวนคอ ศาลไม่รับ-ปูฟ้องอสส.ปมข้าว
กรธ.ถกนัดแรก วางกรอบร่างรธน.ยึด 5 ข้อตามที่ 'ประธานมีชัย' แถลงพร้อมหยิบฉบับ"บวรศักดิ์"มาปรับแก้ ตั้ง'สุพจน์-อภิชาต' นั่งรองประธาน น.ศ.กลุ่มประชาธิปไตยใหม่บุกต้าน"กรธ.-สปท."ถึงหน้ารัฐสภา สมาชิกสปท.ทยอยรายงานตัว วันแรก 64 คน 'สุชน'ยื่นลาออกสมาชิกเพื่อไทย 'บิ๊กตู่'โต้ตอบแทน ดึงอดีตสปช.นั่งสปท. ยันไม่ใช้ ม.44 ยึดทรัพย์ 'จำนำข้าว" "บิ๊กโด่ง'โต้ข่าวเกาเหลา'บิ๊กหมู' ครม.ตั้งอธิบดีประมง-อธิบดีป่าไม้ ศาลไม่รับคดี'ปู'ฟ้องอดีต'อสส.'กับพวก ญาติวีรชน-นักวิชาการ-นักศึกษาแห่จัดรำลึก 39 ปี 6 ตุลา 19 ผูกผ้าดำต้นมะขาม จุดจับแขวนคอ-เก้าอี้ฟาด
วันที่ 07 ตุลาคม พ.ศ. 2558 ปีที่ 25 ฉบับที่ 9079 ข่าวสดรายวัน
นัดแรก - นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ประชุมคณะกรรมการกรธ.ครั้งแรก เพื่อวางกรอบการทำงาน โดยคาดหมายจะร่างรัฐธรรมนูญแล้วเสร็จภายในเดือนม.ค.2559 และพร้อมรับฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่าย ที่รัฐสภา เมื่อ วันที่ 6 ต.ค.
กรธ.นัดแรกแบ่งงาน-วางกรอบ
เวลา 11.30 น. วันที่ 6 ต.ค. ที่รัฐสภา นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานคณะกรรมการ ร่างรัฐธรรมนูญ(กรธ.) ให้สัมภาษณ์หลังรับกระเช้าดอกไม้แสดงความยินดีจากนาง วรารัตน์ อดิแพทย์ เลขาฯวุฒิสภา และ ผู้บริหารของสำนักงานวุฒิสภาว่า การประชุม กรธ.นัดแรกที่ประชุมจะแบ่งงาน จัดสรรตำแหน่งต่างๆ และกำหนดกรอบทิศทางการทำงานและวิธีการรับฟังความคิดเห็น เนื่องจากทางกรธ.มีเวลาในการทำงานเพียง 180 วัน ซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 1 เม.ย.2559 ถ้าหักวันหยุดนักขัตฤกษ์ และวันเสาร์-อาทิตย์ จะเหลือประมาณ 120 วัน ดังนั้นในช่วงแรกจะประชุมทุกวันเว้นวันเสาร์-อาทิตย์ ซึ่งจะทำงานตลอดวันทั้งเช้า กลางวัน เย็น และดึก ช่วงหลังอาจต้องประชุมทุกวัน เพราะระยะเวลา 120 วัน ยังไม่เพียงพอกับการทำงาน แต่ก็ต้องทำ และอย่าเพิ่งไปคิดว่า จะต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว 2557 เพื่อขยายเวลาการทำงาน เขากำหนดมาอย่างไรต้องทำให้ได้ตามนั้นก่อน หากไปถึงจุดนั้นแล้วเป็นอย่างไรค่อยว่ากันต่อไป คือต้องตั้งเป้าหมายไว้ก่อนว่า กรธ.ต้องดำเนินการให้เสร็จตามกรอบเวลา
เมื่อถามว่า จุดใดที่คิดว่าจะทำให้ระยะเวลาการทำงานไม่พอ นายมีชัยกล่าวว่าเป็นเรื่องการออกแบบประเทศ ถ้านั่งปุ๊บแล้วคิดออกก็ได้ แต่ถ้านั่งแล้วคิดไม่ออกก็ต้องนั่งไปอีกหลายวันแล้วถึงจะคิดออกมันจะกินเวลา เพราะเมื่อร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้วต้องส่งให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ(สปท.) คณะรัฐมนตรี(ครม.) คณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) และประชาชนได้รับทราบ ซึ่งต้องใช้เวลา และต้องมีเวลาให้กรธ.ปรับปรุงแก้ไขสิ่งต่างๆ เหล่านี้ทำให้เราต้องทำงานให้เสร็จเร็วขึ้น ยังไม่รู้ว่าจะทำได้หรือไม่ได้แต่ต้องพยายาม
มีชัยเสนอเปิดฟรีฟังความเห็น
นายมีชัย กล่าวว่า ส่วนกระบวนการรับฟังความคิดเห็นคงต้องมีการหารือที่ประชุม กรธ.ว่าจะดำเนินการอย่างไร เท่าที่นึกออกซึ่งยังไม่ทราบว่าที่ประชุมจะเห็นด้วยหรือไม่ คือวิธีการเปิดฟรี ไม่มีกำหนดวัน ใคร กลุ่มใด แม้กระทั่งพรรคการเมือง อยากเสนอความคิดเห็นใดทำได้ทุกช่องทาง กรธ.ยินดีรับฟัง การรับฟังความคิดเห็นดำเนินการมาหลายครั้งแล้ว เชื่อว่าแต่ละจุดแต่ละคนคงมีแนวคิดของตัวเองอยู่ ดังนั้นไม่ต้องรีรอ นึกสิ่งใดได้ส่งมาได้เลยหากเห็นว่ามีประโยชน์ 2 วันก่อนยังมีคนเสนอสิ่งที่พิสดารมายังเว็บไซต์ มีชัย ไทยแลนด์ ตนพร้อมรับฟังและนำมาประกอบการพิจารณา สมมติทำเสร็จแล้วแล้วมีคนเสนอ ไอเดียเจ๋งมากๆ เราอาจรื้อใหม่ก็ได้ ไม่เป็นไรหากมีเวลา
เมื่อถามว่ากำหนดหรือยังว่าจะใช้รัฐธรรมนูญฉบับใดมาประกอบการพิจารณา นายมีชัยกล่าวว่ากรธ.ยังไม่ได้ประชุม ต้องหารือกันก่อน ตนจะไปตัดสินอะไรล่วงหน้าคนเดียวไม่ได้ ต้องรับฟังความเห็นของกรธ. ทุกคนก่อน ถามว่ากลุ่มเห็นต่างไม่มั่นใจในการทำงานของกรธ. นายมีชัยกล่าวว่าเป็นความทุกข์ของเขา หากเขามีสิ่งใดที่อยากเสนอก็เสนอมา แต่จะให้เราเป็นทุกข์ด้วยคงไม่ได้ ไม่มีเวลาที่จะไปทุกข์ด้วย ถามว่าจุดใดจะเป็นเครื่องพิสูจน์ในการทำงาน นายมีชัยกล่าวว่าตนก็ทำงานไปเรื่อยๆ ทำไมต้องไปพิสูจน์ เขาไม่ชอบก็ไม่ชอบ ไปนั่งคุกเข่าบอกถ้าเขาไม่ชอบก็ไม่ชอบอยู่ดี หากมีสิ่งใดที่คิดว่าเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติก็บอกมา แต่อย่าให้วิธีว่าถ้าเขาพูดแล้วตนต้องฟัง เพราะมันคือคำสั่ง
ยันทำงานไม่มีใครมาสั่ง
"พวกเราถามผมอยู่เรื่อยมาว่ามีใครสั่ง หรือไม่ จนทุกวันนี้ยังไม่มีใครสั่ง ถ้ามีใครสั่งผมจะมาฟ้องพวกคุณ และขอให้สื่อช่วยเป็นพยาน ทุกคนสามารถแสดงความคิดเห็นได้ กรธ.พร้อมนำไปประกอบการพิจารณา ถ้าเป็นความคิดที่ดีแล้วทุกคนเห็นด้วยก็สามารถนำมาใช้ได้ แต่ถ้าไม่เห็นด้วยแปลว่าประชาธิป ไตยมีทั้งคนเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ไม่ได้แปลว่าใครไม่เห็นด้วยกับเราแล้วคนนั้นจะเป็นคนเลว คิดแบบนั้นมันต้องเป็นฮิตเลอร์อย่างเดียว" นายมีชัยกล่าว
เมื่อถามว่าจากความขัดแย้งที่ผ่านมาตั้งแต่พฤษภาทมิฬจนถึงปัจจุบันจะร่างรัฐธรรมนูญเพื่อแก้วิฤตอย่างไร นายมีชัยกล่าวว่าเป็นเป้าหมายอย่างหนึ่งที่กำหนดไว้ในมาตรา 35 รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว กับที่คสช.กำหนดไว้ เราก็ต้องหาหนทาง สื่อเองก็ต้องมีส่วน ลองหยุดคิดยาวๆ ว่าสิ่งใดบ้างที่จะช่วยทำให้เกิดความสมานฉันท์ แล้วช่วยกันเสนอมา ประชาธิปไตยสามารถเถียงกันได้ หากเถียงกันจนพอใจแล้ว ต่างคนก็ต่างไปทำหน้าที่ ไม่ต้องกังวลเรื่องการรับฟัง ตนพร้อมรับฟังทุกฝ่ายเพราะชอบฟังมากกว่าชอบพูด
พรเพชรรุดให้กำลังใจ
ก่อนประชุมกรธ. นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสนช. เข้ามอบกระเช้าดอกไม้เป็นกำลังใจแก่นายมีชัย โดยนายพรเพชรกล่าวว่านายมีชัยถือเป็นอาจารย์ที่ตนเคารพนับถือ ดีใจและขอบคุณที่ตอบรับมาช่วยงานร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญทำให้ประเทศเดินหน้าต่อไปได้ ในฐานะประธานสนช. หาก กรธ.ทั้ง 21 คนต้องการความช่วยเหลือไม่ว่ากำลังคนหรือสถานที่ประชุมและการประชา สัมพันธ์ รวมทั้งการจัดรับฟังความคิดเห็นพร้อมยินดีสนับสนุนเต็มที่ การมีสนช.ร่วมเป็นกรธ. 1 คนถือเป็นเรื่องดี จะได้ประสานการทำงานง่ายขึ้น โดยเฉพาะกระบวนการร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ
นายอภิชาต สุขัคคานนท์ กรธ. ให้สัมภาษณ์ว่า ตนได้รับทาบทามจากนายวิษณุ เครืองาม รองนายกฯ ซึ่งไม่ได้ตัดสินใจยากเพราะถือว่าให้เกียรติ และตนก็ชื่นชมการทำงานของนายกฯที่ทำงานเพื่อประเทศชาติ เชื่อว่าไม่ได้ถูกหลอกมาทำหน้าที่กรธ. อยากให้นำร่างรัฐธรรมนูญและรัฐธรรมนูญฉบับก่อนๆ มาเปรียบเทียบให้ได้สิ่งที่ดีที่สุด โดยเฉพาะเรื่องปราบปรามการทุจริต
'สุพจน์-อภิชาต'รองปธ.กรธ.
เวลา 13.30 น. นายมีชัยเป็นประธานการประชุมกรธ.ครั้งแรก บรรยากาศเป็นไปอย่างคึกคัก กรธ.ทั้ง 21 คนร่วมประชุมพร้อมเพรียง เปิดห้องให้สื่อมวลชนเข้าเก็บภาพก่อนประชุมลับ
เวลา 15.15 น. การประชุมยังไม่เสร็จสิ้น นายอมร วาณิชวิวัฒน์ โฆษกกรธ. แถลงความคืบหน้าการประชุมว่า ที่ประชุมมีมติเลือกตั้งตำแหน่งสำคัญในกรธ.ดังนี้ 1.นายมีชัย เป็นประธาน 2.นายสุพจน์ ไข่มุกด์ เป็นรองประธาน คนที่หนึ่ง 3.นายอภิชาต สุขัคคานนท์ รองประธานคนที่สอง 4.นายปกรณ์ นิลประพันธ์ เลขานุการคนที่หนึ่ง 5.นายธนาวัฒน์ สังข์ทอง เลขานุการคนที่สอง 6.นายอมร วาณิชวิวัฒน์ โฆษก 7.นายนรชิต สิงหเสนี โฆษก ส่วนสมาชิกที่เหลืออีก 14 ราย เป็นคณะกรรมการ พร้อมกันนี้ยังตั้งคณะอนุ กรรมการ 2 ชุดคือ อนุกรรมการประชา สัมพันธ์ และอนุกรรมการรับฟังความคิดเห็น
นายอมร กล่าวว่า กรธ.จะประชุมทุกวันจันทร์-ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 13.30 น.เป็นต้นไป เผื่อเวลาช่วงเช้าไว้ให้กรธ.ที่ติดภารกิจ ทั้งที่เป็นข้าราชการ อาจารย์ ได้ปฏิบัติหน้าที่ ส่วนโฆษก กรธ.จะผลัดกันแถลง ช่วงแรกของการทำงานจะยังไม่เปิดห้องประชุมให้สื่อเข้าสังเกตการณ์ แต่หากถึงเวลาที่พร้อมจะเปิดให้ร่วมรับฟัง เรื่องนี้นายมีชัยยืนยันว่าไม่ใช่ต้องการปกปิด แต่ทำเพื่อความเป็นอิสระในการแสดงความคิดเห็นของกรธ.แต่ละคน ขณะเดียวกันอนุญาตให้กรธ.รายอื่นให้สัมภาษณ์ได้ในประเด็นที่ที่ประชุมมีมติร่วมกันแล้ว
ยึด 5 ข้อหลัก-ปรับแก้ฉบับปื๊ด
นายอมรกล่าวว่า เบื้องต้นที่ประชุมวางกรอบการทำงานว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับแรกต้องเสร็จภายในเดือนม.ค.59 จากนั้นจะนำไปเผยแพร่ให้สังคมรับทราบ พร้อมรับฟังข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วน โดยมีคณะอนุกรรมการรับฟังความคิดเห็นเป็นผู้รวบรวม ก่อนนำมาพิจารณาปรับแก้อีกครั้งให้เหมาะสมต่อประชาชนทุกภาคส่วน ซึ่งควรมีหลักการสำคัญที่แก้ไขวิกฤตการเมืองได้ ก่อนจัดทำเป็นร่างรัฐธรรมนูญฉบับสุดท้ายในวันที่ 1 เม.ย. 59 เพื่อนำไปทำประชามติต่อไป ส่วนการลงรายละเอียดเนื้อหาเป็นรายมาตรา คาดว่าจะเริ่มได้ภายใน 2 สัปดาห์นี้ ซึ่งที่ประชุมหารือกันว่าควรยึดเนื้อหาตามที่คำแถลง 5 ข้อของนายมีชัย และควรนำเนื้อหาบางส่วนจากร่างรัฐธรรมนูญที่มีนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เป็นประธาน มาปรับแก้
นายอมร ให้สัมภาษณ์ก่อนประชุมว่า การร่างรัฐธรรมนูญควรยึดแนวทางการร่างรัฐธรรมนูญตามมาตรา 35 รัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 แนวทางของนายมีชัย และนำข้อดีและข้อบกพร่องของร่างฉบับนายบวรศักดิ์มาพิจารณาด้วย ส่วนข้อเรียกร้องหลายฝ่ายให้ร่นโรดแม็ป 6-4-6-4 ไว้ด้วยว่า คาดว่าจะร่นเวลาในกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญโดยเฉพาะช่วงรณรงค์ก่อนประชามติ 4 เดือน ส่วนเวลาพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ 180 วันหรือ 6 เดือน อยากใช้เวลาอย่างเต็มที่ เพื่อความรอบคอบ
กลุ่มปชต.ใหม่ต้านกรธ.-สปท.
เวลา 13.30 น. ที่หน้ารัฐสภา ระหว่างที่กรธ.ประชุม นักศึกษาขบวนการประชาธิป ไตยใหม่ นำโดย นายสิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ หรือจ่านิว ได้มาคัดค้านการทำงานของกรธ. และสปท. โดยนายสิรวิชญ์อ่านแถลงการณ์ว่า กรธ.ทั้ง 21 คนกำลังร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ซึ่งคงไม่ต่างฉบับก่อน คือมีการบ่อนเซาะองค์กรผู้แทนประชาชนให้มีสถานะอ่อนแอ และให้อำนาจมหาศาลแก่องค์กรที่ไม่ยึดโยงประชาชน หากรัฐธรรมนูญนี้มีผลบังคับใช้คงยากที่ประชาธิปไตยจะฟื้นคืนมาได้อีก
คัดค้าน - นักศึกษาขบวนการประชาธิปไตยใหม่นำหุ่นเลียนแบบศพ 12 ตัวและดอกไม้จันทน์ วางบริเวณถนนอู่ทองใน หน้ารัฐสภา ก่อนอ่านแถลงการณ์คัดค้านการทำงานของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ และสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ เมื่อวันที่ 6 ต.ค. |
การชุมนุมดำเนินไปท่ามกลางสายฝนโปรยปราย กลุ่มนักศึกษาชูป้ายต่อต้านคสช. และป้ายที่มีข้อความ "สานต่ออุดมการณ์ 6 ตุลา" และทำกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ต่อต้านการรัฐประหาร นำหุ่นจำลองเป็นซากศพ 12 ตัว พร้อมวางดอกไม้จันทน์ โดยระบุว่าเป็นศพประชาธิปไตยที่ต้องตายเพราะการรัฐประหารมาแล้วถึง 12 ครั้ง เบื้องหลังของศพเหล่านี้คือความทุกข์ยากของประชาชนที่ต้องตายโดยปราศจากความผิด ถูกละเมิดสิทธิเสรีภาพ กระบวนการประชาธิปไตยใหม่ขอใช้ศพเหล่านี้เป็นเครื่องประณามบุคคลทั้ง 21 คน
มีเจ้าหน้าที่ตำรวจจากสน.ดุสิต 40 นายมาดูแลอย่างใกล้ชิด มีการปิดถนนอู่ทองในหน้ารัฐสภา และให้เวลาชุมนุม 30 นาที จากนั้นนักศึกษาแยกย้ายโดยไม่มีเหตุการณ์วุ่นวาย
เลขาฯกฤษฎีกากั๊กนั่งกุนซือ
ที่ทำเนียบรัฐบาล นายดิสทัต โหตระกิตย์ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ในฐานะอดีตเลขานุการกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ ปี 2558 กล่าวกรณีมีข่าวว่านายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรธ. ต้องการให้เลขานุการกมธ. ยกร่างรัฐธรรมนูญปี 2540, 2550 และ 2558 เข้ามาเป็นที่ปรึกษากรธ.ว่า ขณะนี้ยังไม่มี การทาบทาม หากทาบทามมาจริงก็ขอเวลาพิจารณาก่อน แต่ช่วงนี้หากต้องการให้ช่วยอะไรก็พร้อมช่วย เพราะในกรธ.ก็มีคนจากกฤษฎีกาเป็นกรรมการอยู่แล้ว
จาตุรนต์ชี้จุดอ่อน
นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรมว.ศึกษาธิ การ กล่าวถึงกรธ.ว่า มีผู้ที่มีความรู้ความสามารถในทางเทคนิคกฎหมายจำนวนมาก โดยเฉพาะประธานกรธ.ก็มีความเชี่ยวชาญ แต่มีจุดอ่อนตรงที่ไม่เคยร่างรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยมาก่อน และแนวทาง 5 ข้อของประธานกรธ.นั้น มุ่งเน้นบางปัญหาที่ให้ความสำคัญเกินกว่าปัญหาหลักการใหญ่ที่รัฐธรรมนูญควรมี จึงขัดต่อหลักการใหญ่ที่ไม่มีอยู่ใน 5 ข้อ มีแนวโน้มที่ร่างรัฐธรรมนูญใหม่จะมีปัญหาคล้ายกับร่างที่ถูกคว่ำไป
นายจาตุรนต์กล่าวถึงสมาชิกสปท.ว่า ปัญหาคือสปท.ตั้งมาจากคสช. จึงอยู่ในแวดวงที่จำกัด ไม่อาจเชื่อได้ว่าสปท.ชุดนี้จะทำให้เกิดการปฏิรูปได้จริง นอกจากนี้แนวคิดเรื่องการปฏิรูปหลังมีรัฐธรรมนูญ โดยให้ใช้แนวทางการปฏิรูปที่ถูกกำหนดไว้ก่อนเป็นแนวคิดที่ไม่ถูกต้อง เพราะการกำหนดก่อนการเลือกตั้งนั้นไม่เป็นประชาธิปไตย ประชาชนไม่มีส่วนร่วม จึงไม่ใช่การปฏิรูป แต่จะสร้างและสะสมปัญหาให้รัฐบาลหลังเลือกตั้งและประชาชนมาตามแก้
เน้นถก'กม.-ปฏิรูป-ปรองดอง'
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การประชุมกรธ.นัดแรกได้หารือถึงสาระสำคัญของรัฐธรรมนูญประเทศทุกฉบับ ตั้งแต่อดีตจนถึงร่างรัฐธรรมนูญฉบับล่าสุดที่สปช.มีมติไม่เห็นชอบ ที่ประชุมส่วนใหญ่เห็นตรงกันว่าควรประหยัดเวลาการทำงานด้วยการไม่ไปแก้ไขในบท บัญญัติที่คงอยู่มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เช่น บททั่วไปที่ว่าด้วยสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชน เป็นต้น เพื่อกรธ.จะได้ใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการพิจารณาโครงสร้างของสถาบันทางการเมือง การปฏิรูปประเทศและการสร้างความปรองดอง ซึ่งเป็นเนื้อหาที่กรธ.จำเป็นต้องพิจารณาให้ตกผลึก
นอกจากนี้ กรธ.ยังพิจารณาถึงกรอบการทำงานที่กำหนดไว้ในมาตรา 35 รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ด้วยว่ากรธ.จะมีขอบเขตในการเขียนร่างรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตราอย่างไรบ้าง ซึ่งนายมีชัยได้มอบหมายให้ทุกคนไปศึกษาและเสนอความคิดเห็นมาให้ที่ประชุมกรธ. ต่อไป ก่อนสั่งปิดการประชุมเวลา 18.30 น. นัดประชุมต่อในวันที่ 7 ต.ค. เวลา 13.30 น.
'บิ๊กตู่'ให้เวลาคนต้านปรับตัว
เวลา 13.30 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) แถลงหลังการประชุม ครม. ถึงการทำงาน วันแรกของกรธ.ว่า ตนให้กำลังใจตลอด วันที่ 5 ต.ค.ก็ให้กำลังใจมาแล้ว คิดว่าทุกคนเสียสละ ประธานกรธ.บอกว่าทำเพื่อตอบแทนบุญคุณแผ่นดิน
เมื่อถามว่า พูดเรื่อง คปป.กับนายมีชัย หรือยัง พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า ยังไม่ได้คุย แต่นายมีชัยบอกว่าจะเอาแนวทางรัฐธรรมนูญทุกฉบับมาดู รวมถึงร่างฉบับที่แล้วด้วย อะไรที่เป็นประโยชน์ก็จะหารือในกรธ. ตนมอบกรธ.ไปแล้วว่าทำอย่างไรให้ประเทศเดินหน้าต่อไปได้ และไม่เกิดปัญหาเดิมๆ ขึ้นอีก ไม่เกิดความขัดแย้ง เศรษฐกิจดีขึ้น ความเหลื่อมล้ำหายไป ประชาชนมีส่วนร่วมบริหารราชการแผ่นดิน
นายกฯกล่าวว่า สิ่งไหนถูกต้องก็ต้องสนับสนุนรัฐบาล ไม่ใช่ต่อต้านกันตลอด ที่ผ่านมากฎหมายอาญายังไม่ปฏิบัติกันเลย ถามว่ามีรัฐธรรมนูญจะปฏิบัติตามหรือไม่ วันนี้ต้องสอนคนให้รักษากฎหมาย มีพ.ร.บ. การชุมนุมสาธารณะก็ยังออกมาเดินกันอยู่ วันหน้าจะทำอย่างไร ตอนนี้มันผิดกฎหมายกันอยู่แล้ว จึงเตือนไว้ก่อน ยังให้เวลาถือว่ายังปรับตัวกันอยู่ แต่ทุกคนก็ไม่กลัวกฎหมาย ถ้าเป็นอย่างนี้เขียนรัฐธรรมนูญอีกร้อยฉบับ ก็ไม่ได้เรื่อง รัฐบาลใครก็ไม่รู้เข้ามาจะแก้รัฐธรรมนูญอีกหรือเปล่า ประชาชนจะตีกันอีกหรือไม่ก็ไม่รู้ เพราะทุกคนไม่กลัวกฎหมาย
คปป.สืบทอดการแก้ปัญหา
เมื่อถามว่า ที่ระบุว่าเสี่ยงชีวิตเข้ามา ตั้งแต่เข้าสู่ตำแหน่งมีใครข่มขู่หรือไม่ นายกฯกล่าวว่า เข้ามาแบบนี้ก็เสี่ยงผิดกฎหมาย ถ้าไม่ได้รับการยอมรับจากประชาชนอยู่ไม่ได้ ถ้าไม่สำเร็จจะเกิดอะไรขึ้น ตนรู้ก็ยังทำเลยเพราะเห็นคนไทยเดือดร้อน ถ้าวันนั้นตนไม่เข้ามาวันนี้ก็ยังติดอยู่ ตายอีกเท่าไรก็ยังไม่รู้ ทำไมไม่คิดตรงนั้นบ้าง อยากแต่ประชาธิปไตย
นายกฯ กล่าวว่า เดี๋ยวย้อนกลับไปได้ไหม back to the past ในเมื่อ back to the future ไม่ได้แล้ว ตนพยายามสอนให้คนเคารพกฎหมายจะได้ไม่กระทบกระเทือนระหว่างกัน สังคมอยู่ได้อย่างเป็นสุข ถ้าไม่ทำความผิดแล้วถูกเรียกสินบนต่างๆ ฟ้องมาจะสอบให้ แต่อย่ามาเหมาว่าคนทำงานเลวหมด ทหาร ตำรวจ เจ้าหน้าที่เลวหมด วันนี้ไม่ได้อารมณ์เสีย ใจเย็นที่สุดแล้ว ไปอยู่เมืองนอกมา 8-9 วันก็คิดถึง มันเงียบหู น้ำหนักลดลง 3-4 กิโลกรัมเพราะตรอมใจ ไม่ได้กลับมาต่อปากต่อคำกับคน แต่ทั้งหมดตนพยายามชี้แจง
ส่วนที่พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รมว.ยุติธรรม ระบุควรมีกลไกควบคุมรัฐบาลใหม่ให้เดินตามกรอบปฏิรูปที่วางไว้ นายกฯกล่าวว่า กมธ.ยกร่างฯชุดที่แล้วคิดว่าควรมีกลไกเพื่อให้รัฐบาลหน้าสืบทอดการแก้ปัญหาไประยะเวลาหนึ่ง ไม่ใช่ตลอดชีวิตตลอดชาติ
โต้ตอบแทนดึงสปช.นั่งสปท.
เมื่อถามว่าสมาชิกสปท.ที่มีอดีตสปช.อยู่ถึง 60 คน และมีผู้ที่เคยโหวตไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญฉบับล่าสุดถึง 40 คน ถูกมองว่าเป็นการตอบแทน นายกฯ กล่าวว่า คนที่ให้ผ่านก็บอกว่าเข้าข้างตน คนที่ไม่ให้ผ่านก็บอกว่าเข้าข้างตนอีก มันจะบ้าหรือเปล่า จะเอาอย่างไร คนเหล่านี้คัดมาจากผู้ที่มีความรู้ในสิ่งที่ทำไปแล้ว ก็ต้องเอาเข้ามาบ้าง อีกพวกก็เอาเข้ามาเพื่อให้เกิดสมดุล มีพรรคการเมืองเข้ามาหลายคน อย่ามาบอกว่าไม่เกี่ยวข้อง คนพวกนี้อยู่พรรคไหน จะลาออกอย่างไรตนไม่สนใจ ถือว่าเคยอยู่พรรคนั้นมาก่อน ฉะนั้นอย่ามาบอกว่าไม่รู้เรื่องอีก
เมื่อถามว่า ในรัฐธรรมนูญชั่วคราว ทำไมจึงไม่ระบุว่าประชามติต้องใช้เสียงข้างมากของผู้มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดหรือผู้มาใช้สิทธิให้ชัดเจน นายกฯกล่าวว่า ต้องให้กรธ.ร่างรัฐธรรมนูญก่อน ตนอยากให้คนออกมาใช้สิทธิทั้งหมดให้มากที่สุด ไม่ใช่มีสิทธิออกเสียง 40-50 ล้านคน แต่มาเลือกตั้ง 20 กว่าล้านคน แล้วบอกว่านี่คือคะแนนเสียงของคนทั้งประเทศ ไม่ใช่ คนที่พูดแบบนี้คิดผิด
ยันไม่ใช้ม.44 ยึดทรัพย์คดีข้าว
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า กรณีมีคนออกมาพูดโดยไม่เข้าใจว่าจะใช้มาตรา 44 ไปยึดทรัพย์กรณีโครงการรับจำนำข้าว ตนไม่ทำอยู่แล้ว จะไปใช้อำนาจแบบนั้นไม่ได้เพราะเป็นเรื่องกระบวนการยุติธรรม ศาลต้องว่ามา ผิดก็คือผิด ไม่ผิดก็คือไม่ผิด ถ้าผิดก็มีกลไกอยู่แล้ว เรื่องการเรียกร้องค่าเสียหายทางคดีแพ่งหรืออย่างอื่นก็ว่ากัน ตนไม่อยากสร้างปัญหาให้เกิดขึ้นเหมือนเดิมที่ถูกนำไปอ้างว่าไม่เป็นธรรม สองมาตรฐาน กฎหมายมีมาตรฐานเดียว แต่คนบังคับใช้กฎหมายมีกี่มาตรฐาน แต่ตนใช้มาตรฐานเดียวกับทุกพวกทุกฝ่าย เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำและกล่าวอ้างไม่ได้ ตนจะใช้เท่าที่จำเป็นในเรื่องการบริหารเป็นหลัก
นายกฯ กล่าวว่า จากที่ตนเดินทางไปต่างประเทศ หลายประเทศไม่ทราบว่าเกิดอะไรขึ้นในบ้านเรา ตนให้ทุกกระทรวง ทบวง กรมไปชี้แจง จริงๆ แล้วไม่ต้องการให้เสียชื่อประเทศ และวันนี้สหรัฐอเมริกาได้ผ่อนผันมาตรการต่างๆ ให้ไทยหลายอย่าง แสดงว่าท่าทีเปลี่ยนไปในด้านเศรษฐกิจ ส่วนด้านการเมืองถ้าเขามีปัญหากับตน เขาคงไม่ให้เดินทางไป ตนได้ไปยืนยันเดินหน้าตามโรดแม็ปที่วางไว้เท่านั้น
วอนสื่ออย่าต่อต้านมากนัก
พล.อ.ประยุทธ์กล่าวถึงการนำเสนอข่าวของสื่อมวลชนว่า หลายเรื่องที่รัฐบาลทำเป็นสิ่งใหม่แต่พวกเราไม่ค่อยรู้ รู้แต่ว่านี่คือการละเมิดสิทธิมนุษยชน ละเมิดจรรยาบรรณสื่อ สื่อทั้งหมดมีใครถูกติดคุกบ้าง ถ้าเข้าใจผิดก็เชิญมาคุยกันเพื่อให้เกิดความเข้าใจ จากนั้นจะไปเขียนอย่างไรก็เป็นเรื่องของสื่อ ตนทำได้แค่นี้ อย่าให้เป็นเสรีชนจนเกินไป จรรยาบรรณต้องมี ประเทศชาติมันเสียหาย วันนี้สถานการณ์ไม่ปกติเพราะมีปัญหาเกิดขึ้น ถ้าสื่อวิจารณ์ในทางสร้างสรรค์ตนรับทั้งหมด แต่ต้องเห็นใจบ้างว่าตนเป็นคน เป็นมนุษย์ ก็มีอารมณ์บ้างบางเวลา ไม่ใช่พระ
นายกฯ กล่าวว่า ปัญหาของตนวันนี้คือขอความเข้าใจ อย่าต่อต้านมากนัก ทั้งที่ยังไม่ได้ทำอะไรผิดพลาดเลย ไม่เคยทำผิดกฎหมาย ไม่เคยใช้กฎหมายในทางที่ผิด ใช้อำนาจในทางสร้างสรรค์ สร้างความสงบสุข แต่หลายคนก็บอกว่าถูกตนละเมิดสิทธิมนุษยชน เพียงแต่ขอร้อง เชิญมาพูดคุย แต่ก็ยังเสนอข่าวออกไป ต่างชาติไม่เข้าใจเรา ตนทำคนเดียวไม่ไหว สิ่งต่างๆ เหล่านี้ทำให้เราถูกมองว่าประเทศไม่มีเสถียรภาพทางการเมือง ทั้งที่ความสงบสุขก็เกิดขึ้น เมื่อถามว่าจะเตือนสื่อที่พูดถึงหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่าเตือนไปแล้วหลายครั้ง เจอเขาก็คุยกับตนดี พูดว่าเข้าใจ ขอบคุณนายกฯ
รำลึก 39 ปี - ญาติวีรชน 6 ตุลา และกลุ่มน.ศ. ผูกผ้าดำรอบ ต้นมะขามที่นายวิชิตชัย อมรกุล ถูกแขวนคอแล้ว ใช้เก้าอี้ฟาด ในเหตุ 6 ตุลา 2519 พร้อมวางดอกไม้รำลึก 39 ปี บริเวณสนามหลวง ฝั่ง ตรงข้าม ม.ธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 6 ต.ค. |
ยันไม่คุยบีบีซีไทย
เมื่อถามว่าจะเรียกตัวแทนบีบีซีไทยมาพูดคุยด้วยหรือไม่ จากกรณีวิจารณ์นายกฯจับมือกับนายบารัก โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐ พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่าจะคุยทำไม ที่เขาพูดนั้นเป็นข้อเท็จจริงหรือ แล้วเชื่อเขาหรือ เมื่อถามว่ามีการวิจารณ์กรณีพล.ต.วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกรัฐบาล แอบถ่ายภาพดังกล่าวมาเผยแพร่ พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่ามาถามตน ไม่ต้องไปถามพล.ต.วีรชน ตนยืนอยู่แล้วเขาเดินมา เขาจับมือตน ตนก็จับมือกับเขา จะไปขอเขาทำไม ตนก็มีหน้ามีตาเหมือนกัน ไปในฐานะผู้นำประเทศ เขาจะไม่จับมือตนเพราะอะไร หรืออยากจะไม่ให้เขาจับมือ จะได้เขียนกันได้ใหญ่โต เห็นหรือไม่รูปที่ถ่ายร่วมกัน 4 คน บีบีซีชี้แจงหรือไม่ ต่างประเทศเขาก็โพสต์ออกมาแล้วว่าทำไม่ถูกต้อง
พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า สื่อเคยรู้หรือไม่ว่ารัฐบาลทำอะไรมาบ้าง ใช้งบทำอะไร ดีแต่ตีเรื่องนั้นเรื่องนี้ ควรมองในภาพรวมบ้าง อยากให้ประชาชนโง่หรือ โง่ คิดไม่เป็น วันนี้ตนทำให้เขาฉลาด ความจริงเขาฉลาดอยู่แล้วแต่ถูกปิดตาด้วยความยากจน แล้วมีคนมาแสวงหาผลประโยชน์ คนไทยไม่โง่ แต่ใครที่ไปหลอกลวงถือว่าไปดูถูก ไม่เคยหลอกพวกเขา ขอให้เวลาตนทำงาน ไม่มีรัฐบาลไหนทำแบบนี้ การสั่งงานแบบทหารจะต้องสั่งแบบนี้ อีกเดี๋ยว คสช.ก็จะไปเดินด้วยเพื่อสำรวจ ข้อเท็จจริงด้านต่างๆ
ให้กรธ.ตั้งกุนซือ-สปท.ตั้งผช.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันที่ 5 ต.ค.ที่ผ่านมา ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่คำสั่งหัวหน้าคสช. ที่ 34/2558 เรื่อง การอำนวยความสะดวกในการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อให้การปฏิบัติงานของกรธ.เรียบร้อย จึงอาศัยอำนาจตามมาตรา 44 รัฐธรรมนูญชั่วคราว พ.ศ.2557 มีสาระสำคัญ ให้กรธ.มีที่ปรึกษาไม่เกิน 9 คน คำนึงถึงผู้เคยเป็นกมธ.ในการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540, 2550 ส่วน สมาชิกสปท.มีผู้ช่วยปฏิบัติงานและอัตรา ค่าตอบแทนตามที่ประธานรัฐสภาออกระเบียบ เทียบเคียงกับกรณีของสปช. แต่ต้องไม่เกินคนละ 3 อัตรา ให้กรธ.มีผู้ช่วยปฏิบัติงาน ผู้ชำนาญการประจำตัวประธานกรธ. 2 อัตรา ผู้ชำนาญการประจำตัวกรรมการคนละ 1 อัตรา กรธ. อาจตั้งคณะอนุกรธ.ฝ่ายต่างๆ เพื่อปฏิบัติงานโดยได้เบี้ยประชุมเป็นรายครั้งที่มาประชุม ตามอัตราและหลักเกณฑ์เดียวกับกมธ. ของสนช. ให้มีผู้ช่วยเลขานุการในกรธ.ไม่เกิน 5 คน แต่งตั้งจากข้าราชการรัฐสภาสามัญอย่างน้อย 1 คน
นอกจากนี้ เพื่อประโยชน์ในการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน การจัดให้ลงประชามติและการจัดทำร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมายอื่นที่จำเป็น นายกฯอาจแต่งตั้งคณะกรรมการ หรือคณะทำงานอื่น เพื่อศึกษาหรือเตรียมการควบคู่กันไป โดยประสานกับ กรธ.และองค์กรที่เกี่ยวข้อง
สปท.ทยอยรายงานตัว
วันเดียวกัน ที่ห้องโถง อาคารรัฐสภา 1 สำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่สำนักงานเลขาธิการสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ(สปท.) เปิดให้สมาชิกสปท.เข้ารายงานตัวเป็นวันแรก ช่วงเช้าไม่คึกคักมากนัก พล.อ.อ.อนาวิล ภิรมย์รัตน์ อดีตรองผบ.ทอ. มารายงานตัวเป็นคนแรกตั้งแต่เวลา 06.30 น. ด้วยสีหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส ได้รายงานตัวเวลา 07.45 น. พล.อ.อ.อนาวิลกล่าวว่า มาแต่เช้าเพราะรู้สึกตื่นเต้นและบ้านไกล จากนั้นนายกลินท์ สารสิน กรรมการเลขาธิการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศ ไทย และนายพงศ์ศักติฐ์ เสมสันต์ ที่ปรึกษารมว.วัฒนธรรม เข้ารายงานตัวตามลำดับ
พล.ต.ท.อำนวย นิ่มมะโน อดีตผบช.ภ.1 ให้สัมภาษณ์หลังรายงานตัวเป็นสมาชิกสปท. กรณีลงสมัครรับการสรรหาเป็นคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.)ว่า จะเดินหน้ารับการสรรหาเป็นป.ป.ช.ต่อไป เนื่องจากการเป็นสมาชิกสปท.ไม่ขัดต่อมาตรา 8 ของพ.ร.บ.ว่าด้วยป.ป.ช. และมาตรา 41 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราว พ.ศ.2557 ส่วนการทำหน้าที่สปท. จะสานต่อกรรมาธิการ(กมธ.)ปฏิรูปกระบวน การยุติธรรมและกฎหมายของสปช. ที่หลายคนยังขาดความเข้าใจเรื่องตำรวจ การปฏิรูปตำรวจจำเป็นต้องแก้กฎหมาย ไม่ให้ตำรวจต้องรับใช้ฝ่ายการเมือง ต้องไม่ให้นายกฯเป็นหัวโต๊ะตั้งผบ.ตร.
อลงกรณ์ยังไม่รู้มีคปป.หรือไม่
นายอลงกรณ์ พลบุตร อดีตสปช. กล่าวหลังรายงานตัวว่า การทำหน้าที่สปท.ต่างจากสปช. สปท.จะผลักดันการปฏิรูปประเทศให้เป็นรูปธรรมมากกว่าต่อยอดจากพิมพ์เขียวที่สปช.เคยเสนอให้ครม.ครั้งที่แล้ว จึงเชื่อว่าสปท.จะทำให้เกิดความสมบูรณ์ในการปฏิรูป สปท.จะทำงานใกล้ชิดกับแม่น้ำ 5 สาย โดยเฉพาะครม. สปท.จะผลักดันวาระการปฏิรูปทั้ง 11 ด้านให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปปฏิบัติ ถึงแม้สปท.จะทำงานใกล้ชิดกับครม.แต่สปท.ก็ทำงานอิสระ ไม่จำเป็นต้องคล้อยตามในสิ่งที่ครม.เสนอ อีกทั้งสปท.ไม่ได้ทำงานในรูปแบบสภาใหญ่ เหมือนสปช. แต่จะเป็นรูปแบบคณะกรรมการหรือกรรมาธิการ
ส่วนที่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่ถูกคว่ำระบุให้มีคณะกรรมการยุทธศาสตร์และการปรองดองแห่งชาติ(คปป.)หลังเลือกตั้ง นายอลงกรณ์กล่าวว่าเป็นอดีตไปแล้ว แต่ก็เป็นไปได้เพราะมาตรา 35 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราวกำหนดไว้ว่ารัฐธรรมนูญใหม่ต้องมีกลไกสร้างการปฏิรูปและปรองดองหลังเลือกตั้ง ส่วนจะมาในรูปแบบคปป.หรือไม่ ยังตอบไม่ได้
สปท.เปิดสเป๊กประธาน
เมื่อถามว่า มีชื่อประธานสปท.ในใจหรือไม่ นายอลงกรณ์กล่าวว่าทุกคนมีความเหมาะสม คนที่จะมาเป็นประธานต้องมีประสบการณ์ มีวิสัยทัศน์ ภาวะความเป็นผู้นำ บริหาร และดูแลสปท.ให้ทำงานบรรลุผลได้ ถามว่าพล.อ.จิระ โกมุทพงศ์ เป็นได้หรือไม่ นายอลงกรณ์กล่าวว่าทุกคนเป็นได้หมด ส่วนบทบาทสปท.จะเป็นอย่างไรต้องรอการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ว่ากำหนดไว้อย่างไร แต่เชื่อว่าสปท.จะอยู่ไม่เกินการเลือกตั้ง เพราะหลังจากนั้นจะเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่มาจากปกติ
นายเสรี สุวรรณภานนท์ กล่าวว่าสปท.จะเป็นแกนกลางเสนอแนวทางการทำงานให้เดินทั้งระบบร่วมกับครม. และทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นรูปธรรม แตกต่างจากสปช.ที่เป็นการอภิปรายเสนอความคิดเห็นจัดทำแผนปฏิรูปแบบต่างคนต่างทำ และเริ่มจากประเด็นย่อยๆ แต่ สปท.จะแบ่งประเด็นการปฏิรูปเป็น 11 ประเด็นใหญ่ๆ แล้วลงมือทำ ส่วนรายชื่อประธานคุณสมบัติที่สำคัญ คือต้องเข้ากับคนอื่นได้ทุกคนและมีความเข้าใจในการทำงาน
นายวันชัย สอนศิริ กล่าวหลังรายงานตัวว่า การคัดเลือกประธานสปท. อยากได้คนที่มีบุคลิกคล้ายพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ ซึ่งเป็นคนทำงานมุ่งมั่น ทุ่มเท กระตือ รือร้น ไม่ใช่มานั่งแค่เป็นประธาน เพราะการขับเคลื่อนการปฏิรูปต้องผลักดันถึงจะสำเร็จ ตัวประธานจึงสำคัญที่จะต้องมีลักษณะดังกล่าว จะเป็นทหารหรือพลเรือนก็ได้แต่ต้องมีคุณสมบัตินี้
อดีตกมธ.นั่งกุนซือกรธ.
พล.อ.นคร สุขประเสริฐ อดีตกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ และสมาชิกสปช. กล่าวหลังรายงานตัวว่า ขอบคุณผู้มีอำนาจที่มองเห็นและให้โอกาส แม้จะลงมติไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ เมื่อถามถึงข่าวอดีตกมธ.ยกร่างฯบางคนได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษากรธ. พล.อ.นครกล่าวว่า เท่าที่ทราบมีอดีตกมธ.ยกร่างฯไปเป็นที่ปรึกษา แล้ว 2 คนคือ นางกาญจนารัตน์ ลีวิโรจน์ สมาชิกสนช. และนายเจษฎ์ โทณะวณิก
เวลา 16.30 น. ผู้สื่อข่าวรายงานว่าการเปิดรับรายงานตัวสมาชิกสปท.วันแรก มีผู้มารายงานตัว 64 คน เป็นอดีตกมธ.ยกร่างฯ อดีตสปช. ตัวแทนพรรค กลุ่มการเมือง อาทิ พล.อ. นคร สุขประเสริฐ พล.อ.ฐิติวัจน์ กำลังเอก พล.อ.ธวัชชัย สมุทรสาคร นายเสรี สุวรรณภานนท์ นายอลงกรณ์ พลบุตร นายวันชัย สอนศิริ นายคุรุจิต นาครทรรพ นายนิกร จำนง นายสันต์ศักย์ จรูญงามพิเชษฐ์ และนายสมพงษ์ สระกวี
ส่วนข้าราชการและนายทหารที่มารายงานตัวในวันแรก อาทิ พล.อ.อ.อนาวิล ภิรมย์รัตน์ พล.ต.ท.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล พล.ต.ท. อำนวย นิ่มมะโน และพล.อ.พหล สง่าเนตร สมาชิกที่เหลือสามารถรายงานตัวต่อได้ใน วันที่ 7 ต.ค. ตั้งแต่เวลา 08.30 น. ที่ห้องโถง อาคารรัฐสภา 1 เปิดให้สมาชิกเข้ามารายงานตัวจนกว่าจะครบ 200 คน
สุชน ยื่นลาออกจากพท.
ที่พรรคเพื่อไทย นายสุชน ชาลีเครือ สมาชิกสปท. และอดีตประธานวุฒิสภา ในฐานะสมาชิกพรรคเพื่อไทย ได้เข้ายื่นหนังสือลาออกจากสมาชิกพรรคแล้ว โดยมีพล.ต.ท. วิโรจน์ เปาอินทร์ รักษาการหัวหน้าพรรค เป็นผู้รับหนังสือ
นายสุชน กล่าวว่า ลาออกจากสมาชิกพรรค เพื่อให้การทำงานเป็นอิสระ เป็นกลาง ไม่ผูกมัดสถานะสมาชิกพรรค พล.ต.ท.วิโรจน์ไม่ได้คัดค้าน การมาทำงานสปท.มาในนามส่วนตัว ไม่เกี่ยวกับพรรค มีเจตนารมณ์ช่วยสร้างปรองดอง ยุติความขัดแย้งในประเทศ ก้าวเข้าสู่ความสมานฉันท์ การลาออกครั้งนี้พร้อมตัดขาดจากพรรคหรือไม่เป็นเรื่องอนาคต แต่ตอนนี้มีอิสระ พร้อมทำงานเพื่อสร้างปรองดอง แม้จะทำงานคนละหน้าที่กับพรรคแต่ความเป็นพี่น้องเพื่อนยังอยู่เหมือนเดิม
สมพงษ์ ลั่นผลักดันนิรโทษ
นายสมพงษ์ สระกวี ที่มายื่นลาออกจากสมาชิกพรรคเพื่อไทย เพื่อไปเป็นสปท.เช่นกัน กล่าวว่า กำลังตรวจสอบว่ายังเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทยอยู่หรือไม่ ไม่แน่ใจว่าเคยยื่นใบลาออกจากพรรคช่วงไปลงสมัครส.ว.สงขลา แล้วหรือยัง แต่ไม่ซีเรียสอะไร เพราะไม่ได้มีตำแหน่งในพรรค และการเป็นสปท.ไม่มีข้อห้ามสมาชิกพรรคการเมืองดำรงตำแหน่ง ได้เป็นสปท.เพราะเคยช่วยงานคณะกรรมการศึกษาแนวทางการสร้างความปรองดองของสปช.ที่มีนายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ เป็นประธาน เมื่อคณะกรรมการถูกยุบได้เสนอชื่อตนและคนอื่นๆ มาเป็นสปท. จึงมาเป็นสปท.ในโควตาของคณะกรรมการปรองดองฯ ไม่ใช่ในนามพรรคเพื่อไทย หรือนปช.
"จะมาเดินหน้าผลักดันเรื่องการนิรโทษกรรมให้สำเร็จ เพราะเป็นหนทางเดียวที่ทำให้เกิดความปรองดอง จะให้นิรโทษกรรมเฉพาะประชาชน ไม่เกี่ยวกับแกนนำและคดีทุจริต คดีตามมาตรา 112 ในส่วนประชาชนที่ต้องโทษคดีเผาบ้านเผาเมืองควรอยู่ในข่ายได้รับการนิรโทษกรรมด้วย เพราะที่ผ่านมาเคยมีการนิรโทษกรรมให้นักศึกษาที่เผาทำลายสถานที่ราชการในเหตุการณ์วันที่ 14 ต.ค. 16 และ 6 ต.ค. 19 และเหตุการณ์เดือนพฤษภาทมิฬมาแล้ว 3 ครั้ง" นายสมพงษ์กล่าว
นายสมพงษ์ กล่าวว่า ที่ผ่านมานายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธานนปช. เคยทักท้วง แต่ตนพิจารณาแล้วอยากมาผลักดันเรื่องการนิรโทษกรรม เพราะขณะนี้มีคดีที่เกี่ยวกับกลุ่ม พันธมิตรฯและคนเสื้อแดงค้างคาอยู่ถึง 6,000 คดี บางส่วนก็ติดคุก จึงต้องมาผลักดัน ส่วนความสัมพันธ์กับกลุ่มนปช. คิดว่าในส่วนของแกนนำนปช.ยังสามารถอธิบายเหตุผลการมาเป็นสปท.ให้เข้าใจได้ แต่ยอมรับว่าคนเสื้อแดงผิดหวังมาก รู้สึกว่าเหมือนถูกหักหลัง ไม่รู้จะอธิบายอย่างไร แต่ตนยังมีความเป็นเสื้อแดงในหัวใจอยู่ ยังรักคนเสื้อแดงอยู่เหมือนเดิม
บิ๊กโด่งโต้ขัดแย้งบิ๊กหมู
ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯและรมว.กลาโหม ให้สัมภาษณ์ถึงข่าวความขัดแย้งระหว่างพล.อ. อุดมเดช สีตบุตร รมช.กลาโหม กับพล.อ. ธีรชัย นาควานิช ผบ.ทบ. หลังมีการยกเลิก คำสั่งเดิมในสมัยพล.อ.อุดมเดช เป็นผบ.ทบ.ว่า ไม่มีอะไร ผบ.ทบ.คนเก่าและคนใหม่คุยกันแล้ว อาจเข้าใจผิดกันบ้างแต่ไม่มีอะไร เขาไม่ได้ทะเลาะกัน ส่วนเรื่องการปรับภูมิทัศน์ใหม่ภายในกองทัพบกนั้น เป็นเรื่องของบุคคลที่อาจมองคนละด้าน ไม่ใช่เรื่องใหญ่
ถามว่าในฐานะพี่ใหญ่ได้พูดคุยกับทั้ง 2 คนอย่างไรบ้าง พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า ไม่มีอะไร แล้วก็ไม่ใช่พี่ใหญ่ เป็นเพียงผู้บังคับบัญชาและต้องดูแลเขา ทั้ง 2 คนไม่ได้คิดอะไรกัน เพราะทำงานเพื่อกองทัพทั้งคู่ ไม่ต้องไปให้ข้อคิดเพราะเป็นผู้ใหญ่กันแล้ว เป็นถึง ผบ.ทบ. และตนไม่ได้บอกให้เขาใจเย็นอย่างที่สื่อนำเสนอ มีแต่ตนที่ต้องใจเย็น มั่นใจในกองทัพไม่มีกระเพื่อมร้อยเปอร์เซ็นต์ เรื่องนี้จบไปแล้วขอให้สบายใจได้
ด้านพล.อ.อุดมเดช กล่าวถึงกระแสข่าวความขัดแย้งกับผบ.ทบ.คนใหม่ว่า ไม่มีอะไร เป็นเรื่องปกติธรรมดา
รบ.ทำชุดความคิดชี้แจงตปท.
ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า ก่อนเข้าสู่วาระ ครม. พล.อ.ประยุทธ์ เล่าให้ครม.ฟังถึงการไปร่วมประชุมองค์การสหประชาชาติ(ยูเอ็น) ที่สหรัฐว่าการประชุมระดับทวิภาคีหลายประเทศไม่เข้าใจสถาน การณ์ในประเทศไทยว่าก่อนที่รัฐบาลชุดนี้หรือ คสช.จะเข้ามาเกิดอะไรขึ้น มีการใช้อาวุธสงคราม ระเบิดในพื้นที่ใจกลางเมือง และ มีปัญหาสะสมมามากมาย มีผลต่อกับปัญหา ไอซีเอโอ ไอยูยู สิ่งที่เป็นปัญหาในอดีตและ สิ่งที่รัฐบาลแก้ไขอยู่ต้องทำเป็นชุดความคิด ชุดข้อมูล ลงรายละเอียดเรื่องตัวเลขด้วย โดยเฉพาะในเรื่องการบริหารจัดการงบประมาณ โดยมอบหมายให้ศูนย์ปฏิบัติการ นายกฯ สำนักโฆษกประจำสำนักนายกฯ กรมประชา สัมพันธ์ และหน่วยที่ต้องลงพื้นที่ไปทำความเข้าใจกับประชาชน ทั้งกระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และคสช.
พล.ต.สรรเสริญ กล่าวว่า นายกฯ ต้องการให้ไปทำรายละเอียดว่าเป็นงบประมาณลงทุน งบประจำเท่าไร แยกตัวเลขให้ละเอียดว่านำเงินไปใช้อะไรบ้าง ทำให้เป็นหนี้อย่างไร การทำความเข้าใจกับประชาชนต้องมีตัวเลขที่แท้จริง การชี้แจงหน่วยงาน กระทรวงต่างๆ และคสช.ต้องทำความเข้าใจโดยการแปลงตัวเลขให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายที่จะทำความเข้าใจ ไม่เฉพาะในประเทศอย่างเดียวแต่หมายถึงต่างประเทศด้วย เพื่ออธิบายให้รับรู้ปัญหาและให้เกิดความเข้าใจว่าทำไมรัฐบาลและคสช.ต้องเข้ามา
ญาติวีรชนรำลึก 39 ปี 6 ตุลาฯ
เวลา 07.00 น. ที่ประติมานุสรณ์ 6 ตุลาคม 2519 หน้าหอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(มธ.) ท่าพระจันทร์ ญาติวีรชน 6 ตุลา ร่วมกับมูลนิธินิคม จันทรวิทูร มูลนิธิวีรชนประชาธิปไตย เครือข่ายเดือนตุลา มูลนิธิศักยภาพชุมชน ชมรมโดมร่วมใจ และกลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย จัดกิจกรรมรำลึก 39 ปี วีรชน 6 ตุลา 2519 โดยทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ จากนั้นร่วมเปิดผ้าดำที่คลุมประติมา นุสรณ์ 6 ตุลาฯ แสดงความรำลึกถึงวีรชนผู้เสียสละชีวิต ก่อนที่ตัวแทนกลุ่มต่างๆ จะวางพวงมาลาและโปรยดอกไม้หน้าที่วางพวงมาลา โดยสมมติว่าโปรยดอกไม้ลงรั้วลวดหนาม กล่าวสดุดีวีรชน โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจเฝ้าสังเกตการณ์จำนวนหนึ่ง
นายสินธุ์สวัสดิ์ ยอดบางเตย ตัวแทนผู้จัดงานกล่าวว่า ขอยืนยันในเจตนารมณ์ประชาธิป ไตยเพื่อประชาชน เป็นอุดมการณ์ที่ยึดโยงสู่สังคมไทยอย่างถึงที่สุด โดยเฉพาะผู้ที่ผ่านเหตุการณ์เดือนตุลาฯ ยังคงเป็นหนึ่งเดียวกัน จุดยืนอาจแตกต่างกัน แต่เส้นทางเพื่อไปสู่ประชาธิปไตยเพื่อประชาชนต้องปรากฏเป็นจริง ต่อมากลุ่มนักศึกษามธ.ร่วมกันแสดงละคร โดยนำหุ่นมาป้ายด้วยน้ำสีแดงก่อนใช้เก้าอี้ฟาดที่ตัวของหุ่น แล้วชูป้ายต่อต้านคสช.
เวลา 08.30 น. นายธงชัย วินิจจะกูล ผู้แทน 18 ผู้ต้องหากบฏนำญาติและผู้มาร่วมงานเดินข้ามถนนไปยังท้องสนามหลวง เพื่อผูกผ้าดำบนต้นมะขามที่เชื่อว่านายวิชิตชัย อมรกุล ถูกแขวนที่จุดนี้ จากนั้นร่วมกันวางดอกไม้และร้องเพลงแสงดาวแห่งศรัทธา
บรรยากาศการจัดการเป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีผู้ร่วมงานประมาณ 50 คน ทาง ผู้จัดยืนยันว่าปีหน้าซึ่งครบรอบ 40 ปี 6 ต.ค. ก็จะจัดงานเช่นเดิม
อดีตแกนนำหลั่งน้ำตา
นายธงชัย วินิจจะกูล อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประวัติศาสตร์ไทย ม.วิสคอนซิน แมดิสัน สหรัฐอเมริกา อดีตผู้นำนักศึกษายุค 6 ต.ค.2519 กล่าวว่า มาเพื่อรำลึกถึงวีรชนผู้เสียสละชีวิตเพื่อประชาธิปไตย ปีหน้าครบ 40 ปี เราขอให้มธ.เป็นตัวแทนนักศึกษาที่ตายไป ไม่ตั้งตัวเป็นตัวแทนอำนาจรัฐที่เอาแต่ขัดขวางการจัดงานรำลึก 6 ตุลาฯ
นายธงชัย กล่าวทั้งน้ำตาว่า สังคมแบบไหนกันที่ปล่อยให้คนทำผิดไม่ต้องรับผิด และปล่อยให้คนทำผิดยังคงเสวยสุขครองอำนาจต่อไปได้ ทั้งนี้ปีหน้ายืนยันว่าจะจัดงานต่อไป มหา วิทยาลัยไม่มีสิทธิปฏิเสธ อย่าจำกัดคนพูด อย่ามาต่อรองเราไม่ให้ใช้ไมค์ จากนี้พวกเราจะประชุมกันถึงงานปีหน้า อธิการบดีส่งตัวแทนมาคุยกับเราได้เลย
พลเมืองโต้กลับนำจุดเทียน
เวลา 18.00 น. ที่บริเวณสนามหลวง ตรงข้ามมธ. กลุ่มพลเมืองโต้กลับ นำโดยนายสิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ แกนนำ ร่วมกันจัดกิจกรรมรำลึกเหตุการณ์สังหารหมู่นักศึกษาประชาชน 6 ต.ค. 2519 มีการร้องเพลงและกล่าวบทกวีรำลึก มีนายพันธ์ศักดิ์ ศรีเทพ หรือพ่อน้องเฌอ ผู้เสียชีวิตจากเหตุสลายการชุมนุมในปี 2553 ร่วมอ่านบทกวีรำลึกด้วย ร่วมถึงการแสดงอื่นๆ มีประชาชนเข้าร่วมงานกว่า 100 คน
จากนั้นเวลา 18.30 น. กลุ่มได้บอกเล่าประสบการณ์เหตุการณ์จากอดีต-ปัจจุบัน ก่อนที่ นายสิรวิชญ์นำกล่าวคำรำลึกถึงวีรชน 6 ต.ค. จากนั้นประชาชนและกลุ่มพลเมืองโต้กลับร่วมจุดเทียนพร้อมร้องเพลงเพื่อมวลชน และ แสงดาวแห่งศรัทธา เพื่อแสดงความรำลึกผู้ที่จากไปก่อนจะเสร็จสิ้นพิธี บรรยากาศเป็นไปอย่างเรียบร้อย มีเจ้าหน้าที่ตำรวจร่วมสังเกต การณ์จำนวนหนึ่ง
นายเจนวิทย์ เชื้อสาวัตถี ศิษย์เก่ามธ. กล่าวว่าปีนี้เราจัดงานเป็นปีที่ 39 ทางมธ.มีข้อต่อรองกับเรามาก ปีหน้าเราจะจัดงานรำลึก 6 ต.ค. ครบรอบ 40 ปี ซึ่งมธ.ต้องต้อนรับเรา เชื่อว่าคนจะมากันมากขึ้นเรื่อยๆ
นักวิชาการ-นักคิดร่วมเสวนา
เวลา 18.30 น. ที่ลานกิจกรรมนักศึกษา มธ.รังสิต มีกิจกรรม 6 ตุลา พิราบคืนรัง ครบรอบ 39 ปี เหตุการณ์ล้อมปราบนักศึกษาประชาชน 6 ต.ค. 2519 และมีเสวนาหัวข้อ "6 ตุลา ชาตินิยม อุดมการณ์" วิทยากรได้แก่ นายพิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มธ. นายสมบัติ บุญงามอนงค์ นักกิจกรรมประชาธิปไตย และนายอธึกกิจ แสวงสุข หรือใบตองแห้ง คอลัมนิสต์การเมือง จัดโดยองค์การนักศึกษา มธ. กลุ่มธรรมศาสตร์เสรีเพื่อประชาธิปไตย และสภาหน้าโดม มีเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจทั้งในและนอกเครื่องแบบกว่า 40 คนติดตามใกล้ชิด ทั้งนี้ กลุ่มนักศึกษาชายและหญิงแสดงละครสั้นรำลึกเหตุการณ์ผ่านบทกวีของนายเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ศิลปินแห่งชาติ
นายพิชิตกล่าวว่า ปัจจุบันคนถูกปลุกให้เกลียดชังด้วยวาทกรรมคนโกง ซึ่งไม่ได้ต่างไปจาก 39 ปีที่ผ่านมา โซเชียลเน็ตเวิร์กมีคนลงชื่อ 3 แสนกว่าคนให้มีกฎหมายห้ามทารุณสัตว์ แต่การเลือกตั้งกลับถูกขัดขวาง เป็นความตลกร้าย อีกทั้งสังคมไทยไม่เคยค้นหาความจริงและหาความยุติธรรม เห็นได้จากการนิรโทษกรรมทุกครั้งที่มีรัฐประหาร
ด้านนายสมบัติกล่าวว่า สิ่งที่ต่างกันระหว่างปี 2519 กับปัจจุบัน คือวันนี้ไม่มีป่าให้เข้า และโลกโซเชียลเน็ตเวิร์กกลายเป็นสมรภูมิใหม่ที่รุนแรง มีการต่อเถียงด้วยข้อเท็จจริงและการ กุข่าว ซึ่งตนคิดว่าการต่อสู้ในปัจจุบันด้วยวิธีการดังกล่าวดีกว่าการฆ่ากัน
โรดแมปรธน.-มค.59เสร็จ'มีชัย'เร่ง เมย.สรุป-ส่งทำประชามติ กรธ.ถกนัดแรกวางกรอบ สุพจน์-อภิชาตนั่งรองปธ. 64สปท.รายงานตัวสภา สะพัดปานเทพประธาน 'กลุ่มปชต.ใหม่'โผล่ต้าน
'มีชัย'ลั่นยกร่าง รธน.เดินตามกรอบเวลา ฟังความเห็นทุกฝ่าย เผยมีคนชงสูตรพิสดารผ่านเว็บไซต์มาให้ เลือก'สุพจน์-อภิชาต'นั่งรองประธาน ร่างแรกเสร็จ ม.ค.59 'บิ๊กตู่'เผยเหตุ'มีชัย'รับนั่งประธาน กรธ.เพื่อตอบแทนบุญคุณแผ่นดิน
มติชนออนไลน์ :
@ 'บิ๊กตู่'แนะกินเจสร้างกุศล
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นประธานประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 6 ตุลาคม ที่ตึกบัญชาการ ทำเนียบรัฐบาล ก่อนการประชุม นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม พร้อมนายกฤษศญพงษ์ ศิริ อธิบดีกรมการศาสนา นายจำเริญ ทิพญพงศ์ธาดา ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต นำดารา อาทิ แจ็ค-จารุพงศ์ กล้วยไม้งาม หรือ แจ็ค แบล๊กแจ็ค และ น.ส.นงผณี มหาดไทย หรือ จ๊ะ อาร์สยาม เข้าพบนายกรัฐมนตรีเพื่อรณรงค์และมอบธงสัญลักษณ์ถือศีลกินเจ ประจำปี 2558 พร้อมเชิญชวน พล.อ.ประยุทธ์รับประทานอาหารเจ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พล.อ.ประยุทธ์สนใจแวะชิมอาหารเจเกือบทุกบูธ อาทิ ซาลาเปาไส้เผือกชาร์โคล พร้อมกล่าวว่า "ภรรยาผมก็ทานเจ แต่ผมช่วงนี้ทานเนื้อไม่ค่อยได้ เมื่อก่อนชอบมาก ตอนไปสหรัฐอเมริกาก็ทานไม่ได้ ปกติชอบทานเนื้อมาก แต่ตอนนี้ได้กลิ่นเนื้อแล้วรู้สึกได้กลิ่นเหม็น แต่การทานอาหารเจเป็นสิ่งที่ดี ขอให้ทุกคนทำ เพื่อให้เกิดความสมดุลกับตัวเอง สร้างบุญกุศล และขอให้ทุกคนร่วมกันทำความดี"
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ช่วงที่มีการแนะนำศิลปิน นายกฯได้พูดชื่อของศิลปินพร้อมทำท่าเหมือนกำลังคิดว่าศิลปินแต่ละคนเป็นใครบ้าง จ๊ะ อาร์สยาม จึงกล่าวกับนายกฯว่า "จ๊ะคันหูเองค่ะ วันนี้แต่งตัวเรียบร้อย อาจจะจำไม่ได้" นายกฯจึงหัวเราะก่อนที่จะกล่าวว่า "อ้อ จำได้แล้ว"
@ ปัดคุยรูปแบบร่างรธน.
พล.อ.ประยุทธ์แถลงข่าวหลังการประชุม ครม.ถึงการทำงานของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ว่า ให้กำลังใจตลอด เมื่อวันที่ 5 ตุลาคมก็ให้กำลังใจมาแล้ว คิดว่าทุกคนเสียสละ ประธาน กรธ.บอกว่าทำเพื่อตอบแทนบุญคุณแผ่นดิน ตนอยากให้คนไทยทุกคนที่อยู่บนแผ่นดินนี้มีที่ยืนอยู่ทุกวัน ซึ่งประเทศนี้มีศักดิ์ศรี มีอิสระเสรี ไม่เคยเป็นเมืองขึ้นของใคร มีวันชาติ วันต่อสู้ของเรามาตลอด ต้องภูมิใจตรงนี้ จะแตกแยกกันไปทำไม เดี๋ยวต้องไปอยู่กับคนอื่นเขา เพราะประเทศล้มเหลว เงินทองไม่มี ต้องไปกู้ธนาคารโลกมาใช้จ่าย ซึ่งเห็นตัวอย่างกันอยู่แล้ว เดี๋ยวก็รบกัน ประชาชนแบ่งเป็นพวกเป็นฝ่ายรบกัน อีกหน่อยต่างชาติส่งกองกำลังรักษาสันติภาพเข้ามา ก็อยู่กันไปแล้วกัน
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีการคุยเรื่องคณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปและการปรองดองแห่งชาติ (คปป.) กับนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธาน กรธ. หรือยัง พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า ยังไม่ได้คุย แต่นายมีชัยบอกว่าจะเอาแนวทางรัฐธรรมนูญทุกฉบับมาดู รวมถึงรัฐธรรมนูญฉบับที่แล้วด้วย อะไรที่คิดว่าจะเป็นประโยชน์จะหารือกันใน กรธ. ซึ่งตนได้มอบหมาย กรธ.ไปแล้ว ทำไมตนจะต้องไปคุยว่าจะต้องออกอย่างโน้นอย่างนี้ ตนไม่คุยหรอก บอกเพียงว่าทำอย่างไรจะให้ประเทศชาติเดินหน้าต่อไปได้และไม่เกิดปัญหาเดิมๆ ขึ้นมาอีก สิ่งไหนถูกต้องก็ต้องสนับสนุนรัฐบาล ไม่ใช่ต่อต้านกันตลอด ทั้งนี้ ที่ผ่านมากฎหมายอาญายังไม่ปฏิบัติกันเลย แล้วถามว่ามีรัฐธรรมนูญจะปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญหรือไม่
@ ลั่นต้องสอนคนให้รักษากม.
พล.อ.ประยุทธ์กล่าวอีกว่า วันนี้ต้องสอนคนให้รักษากฎหมาย ทั้งกฎหมายอาญา กฎหมายแพ่ง แม้แต่พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การชุมนุมก็ออกมาแล้ว ยังออกมาเดินอยู่นั่น วันหน้าจะทำอย่างไร ตอนนี้มันผิดกฎหมายกันอยู่แล้ว ฉะนั้นจึงเตือนเอาไว้ก่อน ยังให้เวลา ถือว่ายังปรับตัวกันอยู่ แต่ทุกคนไม่กลัวกฎหมายเลย ถ้าเป็นอย่างนี้เขียนรัฐธรรมนูญอีกร้อยฉบับก็ไม่ได้เรื่อง เพราะรัฐบาลใครก็ไม่รู้เข้ามาจะทำหรือเปล่าตามรัฐธรรมนูญ แล้วจะแก้รัฐธรรมนูญอีกหรือเปล่าก็ไม่รู้ และประชาชนจะตีกันอีกหรือเปล่าก็ไม่รู้ เพราะทุกคนไม่กลัวกฎหมายทั้งสิ้น
"ตรงนี้จะว่ากันอย่างไร วันข้างหน้าสื่อไปไล่เอาแล้วกัน วันนี้กำลังทำทุกอย่างและผมก็ไม่ได้ห่วงว่ารัฐบาลไหนจะเข้ามา เพราะท่านเป็นคนเลือกเข้ามา แต่ผมห่วงประเทศชาติจะอยู่ได้หรือไม่เท่านั้นเอง ถ้าไม่ได้ ผมก็ไม่อยู่ด้วย ท่านก็อยู่กันไปผมถือว่าทุ่มเทให้ทุกอย่างแล้ว แม้แต่ชีวิตผมก็ให้ ทุ่มเทชีวิตมีใครเสี่ยงเท่าผมบ้าง และผมเข้ามาเพื่ออะไร เพื่อประโยชน์หรือ สลึงนึงยังไม่ได้เลย" พล.อ.ประยุทธ์กล่าว
@ โอดอยู่เมืองนอกนานตรอมใจ
"เดี๋ยวย้อนกลับไปได้ไหม back to the past อะไรซักอย่าง back to the future ไม่ได้แล้ว ดูซิวันนี้ทำใหม่เป็นร้อยเรื่อง กฎหมายสามสี่ร้อยฉบับมีใครทำให้หรือไม่ แล้วถ้าไม่ทำจะเกิดอะไรขึ้นในวันข้างหน้า ทำแล้วผมยังไม่รู้เลยเขาจะเชื่อฟังกันหรือเปล่า เพราะบ้านนี้สอนให้คนไม่เคารพกฎหมาย ผมพยายามสอนให้คนเคารพกฎหมาย มันจะได้ไม่ไปกระทบกระเทือนระหว่างกัน สังคมอยู่ได้อย่างเป็นสุข กฎหมายมีหน้าที่แค่นั้น ถ้าตัวเองไม่ทำความผิด แล้วถูกเรียกร้องว่าให้สินบนต่างๆ ก็ฟ้องมาสิ ผมจะสอบให้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องตั้งด่าน ฟ้องมาเลย ผมจะเรียกสอบให้ แต่อย่ามาเหมาทั้งหมดว่าเขาเลว สรุปว่าคนทำงานเลวหมดเลยหรืออย่างไร ทหาร ตำรวจ เจ้าหน้าที่เลวหมด แล้วคนดีจะอยู่อย่างไร ถ้าไม่มีข้าราชการแล้วจะอยู่กันอย่างไร ผมไม่รู้ ประชาธิปไตยไม่ต้องมีข้าราชการมีหรือไม่ ไม่ต้องมีทหาร ไม่ต้องมีตำรวจ ปกครองกันเองมีหรือไม่ในโลกใบนี้ จะเอาแบบต่างประเทศทิ้งระเบิดกันโครมๆ จะเอาแบบนั้นก็เอาสิ ผมไม่ว่าอะไรอยู่แล้ว" พล.อ.ประยุทธ์กล่าว
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ไม่ได้อารมณ์เสียอะไร วันนี้ใจเย็นที่สุดแล้ว ใจเย็นทุกวัน ไปอยู่เมืองนอกมา 8-9 วันก็คิดถึง มันเงียบหู น้ำหนักลดลง 3-4 กิโลกรัมเพราะตรอมใจ ไม่ได้กลับมาต่อปากต่อคำกับคน แต่ทั้งหมดพยายามที่จะชี้แจง
@ ติงพรรคอย่าบอกไม่รู้เรื่อง
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีความเห็นอย่างไรที่สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ที่มีสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) อยู่ถึง 60 คน และมีคนเคยโหวตไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญฉบับล่าสุดถึง 40 คน จึงถูกมองว่าเป็นการตอบแทน สปช.เหล่านี้โดยการให้มาอยู่ใน สปท. พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า คนที่ให้ผ่านก็บอกว่าเข้าข้างตน คนที่ไม่ให้ผ่านบอกว่าเข้าข้างตนอีก มันจะบ้าหรือเปล่า จะเอาอย่างไร คนเหล่านี้ก็คัดมาจากผู้ที่มีความรู้ในสิ่งที่ทำไปแล้ว ต้องเอาเข้ามาบ้าง อีกพวกหนึ่งก็เอาเข้ามาเพื่อให้เกิดความสมดุล
"มีพรรคการเมืองเข้ามาหลายคนไม่เห็นหรือ อย่าบอกนะว่าไม่รู้เรื่อง อย่ามาบอกว่าไม่เกี่ยวข้อง อะไรก็ไม่เกี่ยวๆ ถึงเวลาบอกไม่รู้เรื่อง แล้วคนพวกนี้อยู่พรรคไหน จะลาออกอย่างไรผมไม่สนใจ ถือว่าเคยอยู่พรรคนั้นมาก่อน เข้ามาหมดก็เข้ามาหมด ฉะนั้นอย่ามาบอกว่าไม่รู้เรื่องอีก" พล.อ.ประยุทธ์กล่าว
@ หวังคนใช้สิทธิประชามติทั้งหมด
ผู้สื่อข่าวถามว่า ในรัฐธรรมนูญชั่วคราว ทำไมจึงไม่ระบุว่าประชามติต้องใช้เสียงข้างมากของผู้มีสิทธิออกเสียงออกเสียงทั้งหมดหรือผู้มาใช้สิทธิให้ชัดเจน พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า ต้องให้ กรธ.ร่างรัฐธรรมนูญก่อน ยังไม่มีเดี๋ยวเขาก็ต้องเขียน ต้องแก้รัฐธรรมนูญชั่วคราว ทำไมเสียงข้างมากข้างน้อยจะเป็นปัญหาอย่างไร ตนไม่รู้ ใครจะมากจะน้อย จะผ่านหรือไม่ผ่าน แต่ตนอยากให้คนออกมาใช้สิทธิทั้งหมด ต้องรณรงค์แบบนี้ให้ออกมาใช้สิทธิกันให้มากที่สุด ไม่ใช่ทั้งหมดมีสิทธิออกเสียง 40-50 ล้านคน แต่มาเลือกตั้ง 20 กว่าล้านคน แล้วบอกว่านี่คือคะแนนเสียงของคนทั้งประเทศ ตนว่าไม่ใช่ "คนที่พูดแบบนี้คิดผิด จะคิดในทางลบแบบนั้นไม่ได้ ต้องมีวิธีใหม่ คนไทยต้องเปลี่ยนวิธีคิดใหม่ ต้องมองไปข้างหน้า อย่างที่บอกตั้งแต่วันแรก มองให้พ้นตัวเองหน่อย ถ้าติดตัวเองจะไปไม่ได้ทั้งหมดทุกเรื่อง ติดนั่นติดนี่" พล.อ.ประยุทธ์กล่าว
@ มีชัยยันร่างรธน.ยึดกรอบเวลา
ที่รัฐสภา นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธาน กรธ. ให้สัมภาษณ์ภายหลังรับกระเช้าดอกไม้แสดงความยินดีจากนางวรารัตน์ อติแพทย์ เลขาวุฒิสภาและผู้บริหารของสำนักงานวุฒิสภา ว่าการประชุม กรธ.นัดแรกจะแบ่งงาน จัดสรรตำแหน่งต่างๆ กำหนดกรอบทิศทางการทำงาน และวิธีการรับฟังความคิดเห็น เนื่องจากทาง กรธ.มีเวลาในการทำงานเพียง 180 วัน จะครบกำหนดในวันที่ 1 เมษายน 2559
"หากหักวันหยุดนักขัตฤกษ์และวันเสาร์-อาทิตย์ การทำงานของ กรธ.จะเหลือประมาณ 120 วัน ดังนั้นในช่วงแรกจะประชุมทุกวัน เว้นวันเสาร์-อาทิตย์ จะทำงานตลอดวันตั้งแต่เช้ายันดึก จากนั้นช่วงหลังอาจต้องประชุมทุกวัน เพราะระยะเวลา 120 วัน ยังไม่เพียงพอกับการทำงาน แต่เมื่อกำหนดเวลาเท่านี้ก็ต้องทำ อย่าเพิ่งไปคิดว่าจะต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 เพื่อขยายเวลาการทำงาน เมื่อเขากำหนดมาอย่างไรเราก็ต้องทำให้ได้ตามนั้น ต้องตั้งเป้าหมายไว้ก่อนว่า กรธ.ต้องดำเนินการให้เสร็จตามกรอบเวลา" นายมีชัยกล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า จุดใดที่จะทำให้ระยะเวลาการทำงานไม่พอ นายมีชัยกล่าวว่า การออกแบบประเทศ ถ้านั่งปุ๊บแล้วคิดออกก็ได้ แต่ถ้านั่งแล้วคิดไม่ออก ต้องนั่งไปอีกหลายวันแล้วถึงจะคิดออก ซึ่งจะกินเวลา เพราะเมื่อทำร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้วก็ต้องส่งให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) สปท. ครม. คสช. และประชาชนได้รับทราบ ซึ่งต้องใช้เวลา และต้องมีเวลาให้ กรธ.ปรับปรุงแก้ไข ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้ทำให้ต้องทำงานให้เสร็จเร็วขึ้น
@ เผยคนส่งสูตรพิสดารให้ทางเว็บไซต์
นายมีชัยกล่าวถึงกระบวนการรับฟังความคิดเห็นว่า เบื้องต้นต้องหารือกับที่ประชุม กรธ.ว่าจะดำเนินการอย่างไร แต่เท่าที่นึกออก ซึ่งยังไม่ทราบว่าที่ประชุมจะเห็นด้วยหรือไม่ คือวิธีการเปิดฟรี ไม่มีกำหนดวัน ใคร กลุ่มใด แม้กระทั่งพรรคการเมือง อยากเสนอความคิดเห็นใดก็สามารถทำได้ทุกช่องทาง กรธ.ยินดีรับฟัง ซึ่งเชื่อว่าแต่ละจุดแต่ละคนก็คงมีแนวคิดของตัวเองอยู่ ดังนั้นไม่ต้องรีรอ นึกสิ่งใดได้สามารถส่งมาได้เลย หากเห็นว่ามีประโยชน์
"สองวันก่อนยังมีคนเสนอสิ่งที่พิสดารมายังเว็บไซต์มีชัย ไทยแลนด์ฯ ผมพร้อมรับฟัง ไม่ว่าความเห็นจะมาจากไหน ยินดีรับฟังและนำมาประกอบการพิจารณา เมื่อได้ข้อมูลแล้วก็จะรวบรวม สมมุติหากเราทำเสร็จแล้ว แล้วมีคนเสนอไอเดียที่เจ๋งมากๆ อาจจะต้องรื้อใหม่ก็ได้ หากมีเวลา" นายมีชัยกล่าว
@ ลั่นไม่มีใครมาสั่งการ
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีความเห็นอย่างไรที่กลุ่มเห็นต่างไม่มั่นใจในการทำงานของ กรธ. นายมีชัยกล่าวว่า เป็นความทุกข์ของเขา หากเขามีสิ่งใดที่อยากเสนอก็เสนอมา แต่จะให้เราเป็นทุกข์ด้วยคงไม่ได้ เพราะไม่มีเวลาที่จะไปทุกข์ด้วย ส่วนว่าจุดใดจะเป็นเครื่องพิสูจน์ในการทำงานนั้น ตนทำงานไปเรื่อยๆ ทำไมต้องไปพิสูจน์ เขาไม่ชอบก็ไม่ชอบ เราไปนั่งคุกเข่ากอดเขา ถ้าเขาไม่ชอบก็ไม่ชอบอยู่ดี หากเขามีสิ่งใดที่คิดว่าเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติก็บอกมา แต่อย่าใช้วิธีว่า ถ้าเขาพูดแล้วตนต้องฟัง เพราะมันคือคำสั่ง
"ถามผมอยู่เรื่อยว่ามีใครสั่งหรือไม่ ทุกวันนี้ยังไม่มีใครสั่ง ถ้ามีใครสั่งก็จะมาฟ้องพวกคุณ (สื่อมวลชน) ขอให้สื่อช่วยเป็นพยาน ทุกคนสามารถแสดงความคิดเห็นได้ ทาง กรธ.พร้อมนำไปประกอบการพิจารณา ซึ่งเข้าใจว่าแต่ละคนมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันไป แต่ถ้าเป็นความคิดที่ดี แล้วทุกคนเห็นด้วยและสามารถนำมาใช้ได้ แต่ถ้าไม่เห็นด้วยก็แปลว่าประชาธิปไตยมีทั้งคนเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ไม่ได้แปลว่าใครไม่เห็นด้วยกับเราแล้วจะเป็นคนเลว คิดแบบนั้นต้องเป็นฮิตเลอร์อย่างเดียว" นายมีชัยกล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า จากความขัดแย้งที่ผ่านมาตั้งแต่พฤษภาทมิฬจนถึงปัจจุบัน จะร่างรัฐธรรมนูญเพื่อแก้วิฤตอย่างไร นายมีชัยกล่าวว่า เป็นเป้าหมายอย่างหนึ่งที่กำหนดไว้ในมาตรา 35 ของรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) กับที่ คสช.กำหนดไว้ ก็ต้องหาหนทาง สื่อต้องมีส่วน ลองหยุดคิดยาวๆ ว่ามีสิ่งใดบ้างที่จะช่วยทำให้เกิดความสมานฉันท์ แล้วช่วยกันเสนอมา ตนไม่ค่อยลำบากใจกับการรับฟังความเห็นของบุคคลอื่นๆ ประชาธิปไตยสามารถเถียงกันได้ หากเถียงกันจนพอใจแล้ว ต่างคนก็ต่างไปทำหน้าที่ ไม่ต้องกังวลเรื่องการรับฟัง ตนพร้อมรับฟังทุกฝ่ายเพราะชอบฟังมากกว่าชอบพูด
@ อมรขอนั่งเก้าอี้'โฆษกกรธ.'
นายอมร วาณิชวิวัฒน์ กรธ.กล่าวถึงกรณีที่หลายฝ่ายต้องการให้ร่นโรดแมป 6-4-6-4 ว่า คาดว่าจะสามารถร่นระยะเวลาในกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะช่วงการรณรงค์ก่อนการประชามติ 4 เดือน ส่วนเวลาในพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ 180 วัน หรือ 6 เดือนนั้น อยากจะใช้เวลาอย่างเต็มที่ เพื่อความรอบคอบของร่างรัฐธรรมนูญ การร่างรัฐธรรมนูญจะเปิดกว้างรับฟังความคิดเห็นของประชาชน โดยต้องการให้รับฟังประชาชนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายจริงๆ สำหรับพรรคการเมืองก็ต้องรับฟังมาโดยตลอดและให้ความร่วมมือส่งตัวแทนเข้ามาร่วมแลกเปลี่ยนความเห็น
เมื่อถามว่า มีความต้องการจะเป็นโฆษก กรธ.หรือไม่ นายอมรกล่าวว่า แสดงความจำนงขอเป็นโฆษก กรธ. เพราะน่าจะช่วยงานได้มากกว่าการเป็นกรรมการ เพราะกรรมการนั้นธรรมดาไม่มีตัวตน
@ อภิชาตเชื่อไม่ถูกหลอกนั่งกรธ.
นายอภิชาต สุขัคคานนท์ กรธ. ให้สัมภาษณ์ก่อนเข้าร่วมประชุม กรธ.ว่า อยากให้นำร่างรัฐธรรมนูญและรัฐธรรมนูญฉบับก่อนๆ มาพิจารณาเปรียบเทียบให้ได้สิ่งที่ดีที่สุด เพราะถือว่ามีส่วนดีหลายเรื่อง โดยเฉพาะเรื่องการปราบปรามการทุจริตการคอร์รัปชั่น ทั้งนี้ การเข้ามาทำหน้าที่ดังกล่าว ไม่ได้ตัดสินใจยากอะไร เพราะถือว่าเป็นการได้รับเกียรติ โดยนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เป็นผู้มาทาบทามด้วยตัวเอง
"ผมชื่นชมการทำงานของ พล.อ.ประยุทธ์ ที่ทำงานเพื่อนประเทศชาติ จึงยินดีที่จะเข้ามาทำงาน โดยเชื่อว่าไม่ได้ถูกหลอกให้เข้ามาทำหน้าที่เป็น กรธ." นายอภิชาตกล่าว
@ พรเพชรมอบกระเช้ายินดี'มีชัย'
ที่รัฐสภา ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช.เข้ามอบกระเช้าดอกไม้แก่นายมีชัย เพื่อให้กำลังใจในการเข้าทำหน้าที่วันแรกและในฐานะลูกศิษย์แสดงความเคารพต่ออาจารย์ นายพรเพชร ให้สัมภาษณ์ภายหลังการมอบกระเช้าดอกไม้ว่า นายมีชัยถือเป็นอาจารย์ที่ตนเคารพนับถือ ส่วนตัวดีใจและขอบคุณที่นายมีชัยตอบรับมาช่วยงานร่างรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่ทำให้ประเทศเดินหน้าต่อไปได้ ตนในฐานะเป็นประธาน สนช.ดูแลงานด้านนิติบัญญัติ หาก กรธ.ทั้ง 21 คนต้องการความช่วยเหลือ ไม่ว่ากำลังคน สถานที่ประชุม การประชาสัมพันธ์ หรือแม้กระทั่งการจัดรับฟังความคิดเห็น ยินดีที่จะสนับสนุนอย่างเต็มที่
นายพรเพชรกล่าวถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวเพื่อให้เกิดความชัดเจนในประเด็นการจัดทำประชามติว่า เป็นความรับผิดชอบของ สนช.และ ครม. หากกังวลว่ายังมีความชัดเจนไม่เพียงพอก็เสนอมาแก้ไขได้ แต่ทั้งนี้ ครม. คสช.คงจะต้องหารือให้ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนก่อนจึงจะส่งให้ สนช.พิจารณา
@ 'ดิสทัต'พร้อมช่วยงานกรธ.
ที่ทำเนียบรัฐบาล นายดิสทัต โหตระกิตย์ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ในฐานะอดีตเลขานุการ กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญปี 2558 กล่าวถึงกรณีนายมีชัยต้องการได้เลขานุการของ กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญปี 2540, 2550 และปี 2558 มาเป็นคณะที่ปรึกษา กรธ.ว่า ยังไม่มีการทาบทามมา ถ้าทาบทามมาต้องขอพิจารณาดูก่อนว่าจะรับตำแหน่งหรือไม่ แต่ขณะนี้หากต้องการให้ช่วยอะไร ก็พร้อมช่วย ขณะนี้ก็มีคนจากกฤษฎีกาไปเป็นกรรมการ กรธ.อยู่
@ 'สุพจน์-อภิชาต'นั่งรองปธ.กรธ.
เมื่อเวลา 15.15 น. ที่รัฐสภา นายอมร วาณิชวิวัฒน์ โฆษก กรธ. แถลงความคืบหน้าการประชุม กรธ.ว่า ที่ประชุมมีมติเลือกนายมีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นประธาน นายสุพจน์ ไข่มุกด์ เป็นรองประธาน คนที่ 1 นายอภิชาต รองประธาน คนที่ 2 นายปกรณ์ นิลประพันธ์ เลขานุการ คนที่ 1 นายธนาวัฒน์ สังข์ทอง เลขานุการ คนที่ 2 นายนรชิต สิงหเสนี และตน โฆษก กรธ. ส่วนสมาชิกที่เหลืออีก 14 ราย เป็นคณะกรรมการ พร้อมกันนี้ได้ตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมา 2 ชุด คือ อนุกรรมการประชาสัมพันธ์ และอนุกรรมการรับฟังความคิดเห็น
@ วางกรอบรธน.ร่างแรกเสร็จม.ค.59
นายอมรกล่าวว่า ที่ประชุมวางกรอบการทำงานว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับแรกจะต้องแล้วเสร็จภายในเดือนมกราคม 2559 จากนั้นจะนำไปเผยแพร่ให้สังคมได้รับรู้รับทราบ พร้อมทั้งรับฟังข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วน ก่อนจะนำมาพิจารณาปรับแก้อีกครั้งให้เหมาะสมต่อประชาชนทุกภาคส่วน ซึ่งควรมีหลักการสำคัญที่สามารถแก้ไขวิกฤตการเมืองได้ ก่อนจัดทำเป็นร่างรัฐธรรมนูญฉบับสุดท้ายในวันที่ 1 เมษายน 2559 เพื่อนำไปสู่การทำประชามติต่อไป
"การลงรายละเอียดเนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรา คาดว่าจะเริ่มได้ภายใน 2 สัปดาห์นี้ ซึ่งที่ประชุมก็ได้หารือกันว่า ควรจะยึดเนื้อหาให้เป็นไปตามคำที่แถลง 5 ข้อ ของนายมีชัย และควรนำเนื้อหาบางส่วนจากร่างรัฐธรรมนูญ ที่มีนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เป็นประธาน มาปรับแก้" นายอมรกล่าว
นายอมรกล่าวถึงแนวทางการทำงาน กรธ.ว่า จะประชุมทุกวันจันทร์-ศุกร์ เริ่มตั้งแต่เวลา 13.30 น. เป็นต้นไป โดยเผื่อเวลาช่วงเช้าไว้ให้ กรธ.ที่ติดภารกิจทั้งที่เป็นข้าราชการ อาจารย์ ได้ไปปฏิบัติหน้าที่ ส่วนโฆษก กรธ. จะผลัดกันแถลง ช่วงแรกของการทำงานจะยังไม่เปิดห้องประชุมให้สื่อมวลชนเข้าร่วมสังเกตการณ์ แต่หากถึงเวลาที่พร้อมก็จะเปิดให้ร่วมรับฟัง
@ เผย'มีชัย'ชงชื่อทีมงานเอง
ผู้สื่อข่าวรายงานถึงการแต่งตั้ง กรธ.ในตำแหน่งสำคัญ อาทิ รองประธาน กรธ. 2 คน เลขานุการ กรธ. 2 คน และโฆษก กรธ. 2 คน ว่า นายมีชัยเป็นผู้ที่เสนอชื่อด้วยตนเองทั้งหมดต่อที่ประชุมและได้สอบถามที่ประชุมว่ามีความเห็นใดๆ ต่อรายชื่อที่เสนอหรือไม่ ปรากฏว่าที่ประชุมไม่มีผู้ใดกล่าวคัดค้านหรือเสนอความเห็นแย้ง ส่วนของการเสนอรายชื่อโฆษก กรธ. เดิมนายมีชัยได้เสนอ 3 คน ได้แก่ นายอมร วาณิชวิวัฒน์ นายนรชิต สิงหเสนี และนายภัทระ คำพิทักษ์ แต่นายภัทระขอถอนตัวและไม่รับตำแหน่งใดๆ เนื่องจากกังวลเรื่องการทำหน้าที่
สำหรับนายสุพจน์ รองประธาน กรธ. คนที่ 1 นายอภิชาต รองประธาน กรธ. คนที่ 2 ถือว่าเป็นผู้ที่มีความรู้ด้านกฎหมายสำคัญ และมีความเป็นผู้ใหญ่ที่สามารถกำกับการประชุมได้ ขณะที่ตำแหน่งเลขานุการ กรธ. ที่ได้นายปกรณ์เป็นเลขานุการคนที่หนึ่ง และนายธนาวัฒน์เป็นเลขานุการคนที่สอง ถือเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญด้านการร่างกฎหมาย และมาจากสำนักงานกฤษฎีกา ซึ่งมีความใกล้ชิดกับนายมีชัย ส่วนตำแหน่งโฆษก กรธ. ซึ่งที่ประชุมได้ตั้งนายอมรนั้น นอกจากเป็นไปตามที่นายอมรร้องขอแล้ว นายอมรยังมีทักษะการสื่อสารกับสาธารณะให้เข้าใจได้ง่าย ขณะที่นายนรชิตได้รับมอบหมายให้ดูแลด้านการสื่อสารด้านต่างประเทศ เพราะเคยดำรงตำแหน่งสำคัญในงานด้านต่างประเทศ
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังมีมติให้แต่งตั้งที่ปรึกษาให้ช่วยทำงานโดยให้สิทธิ กรธ. ร่วมพิจารณาและเสนอให้ที่ประชุมพิจารณาในการประชุมนัดถัดไป
@ 'อ๋อย'ชี้'มีชัย'ไม่เคยร่างรธน.เป็นปชต.
นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวถึงการร่างรัฐธรรมนูญของ กรธ.ว่า ดูแล้วมีผู้ที่มีความรู้ความสามารถในทางเทคนิคกฎหมายจำนวนมาก โดยเฉพาะประธาน กรธ.เป็นผู้มีความเชี่ยวชาญ แต่มีจุดอ่อนตรงที่ไม่เคยร่างรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยมาก่อนเลย ซึ่งการที่มีผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคนิคกฎหมายจำนวนมากคงจะทำให้ร่างรัฐธรรมนูญได้อย่างรวดเร็ว ใครต้องการอย่างไรก็คงจะสามารถทำให้ได้ในเวลาอันรวดเร็ว
"แต่ปัญหาคือ บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญชั่วคราวที่กำหนดทิศทางของร่างรัฐธรรมนูญ และแนวทาง 5 ข้อของโจทย์ประธาน กรธ. ฟังดูเหมือนเป็นเรื่องที่น่าจะดี แต่แนวทางตามรัฐธรรมนูญชั่วคราวและ 5 ข้อของประธาน กรธ. จริงๆ แล้วมุ่งเน้นไปที่ปัญหาบางปัญหาที่ดูให้ความสำคัญเกินกว่าปัญหาหลักการใหญ่ที่รัฐธรรมนูญควรมี เช่น ต้องการให้เกิดการปฏิรูป ป้องกันการทุจริตคอร์รัปชั่น และการป้องกันไม่ให้รัฐบาลที่มาจากประชาชนมีนโยบายที่เป็นประชานิยม" นายจาตุรนต์กล่าว และว่า ปัญหาเหล่านี้เมื่อถูกเน้นจนเกินไปจึงไปขัดต่อหลักการใหญ่ที่ไม่มีอยู่ใน 5 ข้อ คือ การแบ่งแยกอำนาจ การตรวจสอบถ่วงดุลอย่างเหมาะสม การจะให้พรรคการเมืองและรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งตอบสนองความต้องการของประชาชนผ่านกระบวนการระบบรัฐสภา การยึดหลักนิติธรรม การป้องกันไม่ให้องค์กรที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งมีอำนาจเหนือประชาชน เรื่องเหล่านี้ไม่มีใน 5 ข้อ ทำให้มีแนวโน้มที่ร่างรัฐธรรมนูญใหม่มีปัญหาคล้ายกับร่างที่ถูกคว่ำไป
@ 'อนาวิล'รายงานตัวสปท.คนแรก
ผู้สื่อข่าวรายงานจากรัฐสภาถึงบรรยากาศการรายงานตัวของสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ที่ได้รับการแต่งตั้งเมื่อวันที่ 5 ตุลาคมที่ผ่านมาว่า สปท.ได้ทยอยมารายงานตัว โดย พล.อ.อ.อนาวิล ภิรมย์รัตน์ อดีตรองผู้บัญชาการทหารอากาศ (รอง ผบ.ทอ.) มารายงานตัวเป็นคนแรกตั้งแต่เวลา 07.30 น.
พล.อ.อ.อนาวิลกล่าวว่า เดินทางมาถึงตั้งแต่เวลา 06.30 น. รู้สึกตื่นเต้น และบ้านไกล
ต่อมานายกลินท์ สารสิน รองประธานกรรมการหอการค้าไทย เดินทางเข้ารายงานตัว กระทั่งเวลา 12.00 น. มีผู้มารายงานตัวเพียง 12 คน มีบุคคลที่น่าสนใจซึ่งเป็นอดีตคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ และอดีตสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ได้แก่ พล.อ.นคร สุขประเสริฐ นายอลงกรณ์ พลบุตร นายวันชัย สอนศิริ นายกษิดิ์เดชธนทัต เสกขุนทด และนายเสรี สุวรรณภานนท์
รายงานข่าวแจ้งว่าสำหรับประธาน สปท.มีการคาดหมายว่านายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) จะได้รับเลือกจากสปท.ให้เป็นประธาน
@ 'จ้อน'ชี้สปท.หน้าที่ต่างจากสปช.
นายอลงกรณ์กล่าวว่า การเข้ามาทำหน้าที่ในฐานะ สปท.ต่างจาก สปช. เพราะ สปท.จะผลักดันการปฏิรูปประเทศให้เป็นรูปธรรมมากกว่า ต่อยอดจากพิมพ์เขียวที่ สปช.เคยเสนอให้ ครม.ในครั้งที่แล้ว จึงเชื่อว่า สปท.จะทำให้เกิดความสมบูรณ์ในการปฏิรูป ขอขอบคุณนายกฯที่ให้โอกาสอดีต สปช.ได้เข้ากลับมาทำหน้าที่ รวมทั้งการที่ให้มีตัวแทนจากกลุ่มหรือพรรคการเมืองได้เข้ามาทำหน้าที่ด้วย จึงถือว่า สปท.มาจากทุกภาคส่วน
"สปท.จะทำงานใกล้ชิดกับ ครม.และแม่น้ำ 5 สาย ถึงแม้ว่า สปท.จะทำงานใกล้ชิดกับ ครม. แต่ สปท.จะทำงานอย่างเป็นอิสระ ไม่จำเป็นต้องคล้อยตามในสิ่งที่ ครม.เสนอ เนื่องจาก สปท.ไม่ได้ทำงานในรูปแบบสภาใหญ่เหมือน สปช." นายอลงกรณ์กล่าว
@ ชี้บทบาทสปท.อยู่ที่รธน.ใหม่
ผู้สื่อข่าวถามว่า บทบาทของ สปท.อยู่ตรงไหน นายอลงกรณ์กล่าวว่า ต้องรอการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ว่าจะกำหนดไว้อย่างไร แต่เชื่อว่า สปท.จะอยู่ไม่เกินการเลือกตั้ง หลังจากนั้นจะเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ส่วนกรณีที่รัฐธรรมนูญฉบับที่ถูกคว่ำไประบุให้มีสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ส่วนตัวเห็นว่ารัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวเป็นอดีตไปแล้ว แต่ก็อาจมีความเป็นไปได้ เพราะมาตรา 35 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราวได้กำหนดไว้ว่ารัฐธรรมนูญใหม่ต้องมีกลไกในการสร้างการปฏิรูปและปรองดอง ส่วนจะมาในรูปแบบคณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปและการปรองดองแห่งชาติ (คปป.) อย่างที่รัฐธรรมนูญเดิมกำหนดหรือไม่ ยังตอบไม่ได้
@ นครบอกไม่รู้'บวรศักดิ์'นั่งที่ปรึกษา
พล.อ.นครกล่าวว่า มีความยินดีที่ได้รับเลือกและขอบคุณผู้มีอำนาจที่มองเห็นและให้โอกาส แม้จะลงมติรับร่างรัฐธรรมนูญ คิดว่าการทำเช่นนี้ก็จะเกิดผลดีเพราะการทำงาน สปท.ก็จะมีความเห็นหลากหลายและที่สำคัญ สปท.ก็มีหลายหลากทั้งเอกชน ข้าราชการ และอื่นๆ ไม่ใช่มีเพียงแต่นักวิชาการ ส่วนการเลือกประธาน สปท.นั้น เมื่อมีการรายงานตัวครบแล้ว เป็นการเรียกประชุมกันนัดแรก จากนั้นเข้าสู่กระบวนการประชุมเพื่อคัดเลือกบุคคลที่มีความเหมาะสม ทั้งคุณวุฒิ คุณสมบัติ เข้ามาทำหน้าที่ ซึ่งตรงนี้ก็ยังไม่ทราบว่าจะเป็นใคร ทราบข่าวมีการเสนอว่าน่าจะเป็นคนนั้นคนนี้ แต่ทั้งนี้ก็ยังไม่มีความแน่นอนว่าจะเป็นใคร
เมื่อถามถึงกระแสข่าวว่าอดีต กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญบางคนได้รับการแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษา กรธ. พล.อ.นครกล่าวว่า ไม่ทราบว่าใครได้รับแต่งตั้งบ้าง แต่ที่ฟังข่าวนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวว่า กรธ.สามารถแต่งตั้งที่ปรึกษาได้ 9 คนนั้น เท่าที่ทราบอดีต กมธ.ยกร่างฯเป็นที่ปรึกษาแล้ว 2 ท่าน คือ นางกาญจนารัตน์ ลีวิโรจน์ นายเจษฎ์ โทณะวณิก ส่วนคนอื่นๆ อย่างนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ อดีตประธาน กมธ.ยกร่างฯ ไม่ทราบ
@ วันชัยชี้ปธ.สปท.ต้องคล้าย'บิ๊กตู่'
นายวันชัย สอนศิริ สปท. กล่าวหลังรายงานตัว สปท. ว่าการทำงานของ สปท.ต่างจาก สปช. วันนี้ต้องมาขับเคลื่อน จึงอยากให้ สปท.นำวาระปฏิรูป 37 วาระของ สปช.ทั้งหมดมาพิจารณาร่วมกัน ซึ่งควรนำเรื่องสำคัญมาดำเนินการให้เสร็จสิ้น โดยต้องทำให้เห็นผลทันทีภายใน 1 ปี
เมื่อถามว่า การประชุมนัดแรกต้องคัดเลือกประธาน สปท. มีรายชื่อในใจหรือไม่ นายวันชัยกล่าวว่า ไม่ขอพูดถึงรายบุคคล แต่อยากได้ประธาน สปท.ที่มีบุคลิกคล้าย พล.อ.ประยุทธ์ ซึ่งเป็นคนทำงานมุ่งมั่น ทุ่มเท กระตือรือร้น ไม่ใช่มานั่งแค่เป็นประธาน เพราะการขับเคลื่อนการปฏิรูปต้องผลักดันถึงจะสำเร็จ ตัวประธานจึงสำคัญที่จะต้องมีลักษณะดังกล่าว จะเป็นทหารหรือพลเรือนก็ได้ แต่ต้องมีคุณสมบัตินี้
@ อำนวยยันเข้ารับสรรหาป.ป.ช.
พล.ต.ท.อำนวย นิ่มมะโน อดีตผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 1 กล่าวถึงกรณีลงสมัครรับการสรรหาเป็นคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ว่าจะเดินหน้ารับการสรรหาเป็น ป.ป.ช.ต่อไป เนื่องจากการเป็น สปท.ไม่ขัดต่อมาตรา 8 ของ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย ป.ป.ช. และมาตรา 41 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราว พ.ศ.2557 ตนมีความชัดเจน และมีคุณสมบัติครบถ้วน ทั้งความเป็นกลาง ความรู้ความสามารถ พร้อมนำวิทยาการด้านการอาญามาประยุกต์ใช้กับ ป.ป.ช.
"ส่วนการทำหน้าที่ สปท.จะเน้นการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมและตำรวจ สานต่อการทำงานของ กมธ.ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมและกฎหมายของ สปช. การปฏิรูปตำรวจจำเป็นต้องแก้ไขกฎหมาย ไม่ให้ตำรวจต้องรับใช้ฝ่ายการเมือง ต้องไม่ให้นายกรัฐมนตรีเป็นหัวโต๊ะตั้งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ซึ่งร่างกฎหมายดังกล่าวได้เตรียมพร้อมไว้แล้วเพื่อผลักดัน" พล.ต.ท.อำนวยกล่าว
@ สปท.รายงานตัววันแรก 64 คน
เวลา 16.30 น. ที่รัฐสภา ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มี สปท.มารายงานตัวทั้งสิ้น 64 คน รวมทั้งนายสมพงษ์ สระกวี อดีตสมาชิกพรรคเพื่อไทยและแกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.)
นายสมพงษ์กล่าวว่า การได้เป็น สปท.เนื่องจากก่อนหน้านี้เคยมาช่วยงานคณะกรรมการศึกษาแนวทางการสร้างความปรองดองของ สปช. ที่มีนายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ อดีต สปช.
เป็นประธาน ต่อมาเมื่อคณะกรรมการชุดดังกล่าวถูกยุบไป ทางคณะกรรมการได้เสนอชื่อตนและคนอื่นๆ มาเป็น สปท. เพื่อสานงานต่อเรื่องความปรองดอง จึงมาเป็น สปท.ในโควต้าของคณะกรรมการปรองดองฯ ไม่ใช่ในนามพรรคเพื่อไทย หรือนปช.
@ สมพงษ์เผยทำคนเสื้อแดงผิดหวัง
นายสมพงษ์กล่าวต่อว่า จะมาเดินหน้าผลักดันเรื่องการนิรโทษกรรมให้สำเร็จ เพราะเป็นหนทางเดียวที่ทำให้เกิดความปรองดอง จะให้นิรโทษกรรมเฉพาะประชาชน ไม่เกี่ยวกับแกนนำและคดีทุจริต คดีตามมาตรา 112 อย่างไรก็ตาม ในส่วนประชาชนที่ต้องโทษคดีเผาบ้านเผาเมืองเห็นว่าควรอยู่ในข่ายได้รับการนิรโทษกรรมด้วย เพราะที่ผ่านมาเคยมีการนิรโทษกรรมให้นักศึกษาที่เผาทำลายสถานที่ราชการในเหตุการณ์วันที่ 14 ตุลา 16 หรือ 6 ตุลา 19 และเหตุการณ์เดือนพฤษภาทมิฬมาแล้ว 3 ครั้ง
"ความสัมพันธ์กับกลุ่ม นปช.หลังจากนี้ คิดว่าในส่วนของแกนนำ นปช.ยังสามารถอธิบายเหตุผลการมาเป็น สปท.ให้เข้าใจได้ แต่ยอมรับว่าคนเสื้อแดงผิดหวังมาก รู้สึกว่าเหมือนถูกหักหลัง ซึ่งไม่รู้จะอธิบายอย่างไร อย่างไรก็ตาม ผมยังมีความเป็นเสื้อแดงในหัวใจอยู่ ยังรักคนเสื้อแดงอยู่เหมือนเดิม" นายสมพงษ์กล่าว
@ 'สุชน-สมพงษ์'ยื่นลาออกจากพท.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายสุชน ชาลีเครือ สมาชิกพรรคเพื่อไทย (พท.) เข้ายื่นหนังสือลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรค พท.แล้ว หลังจากได้รับเลือกให้เป็น สปท. โดยมี พล.ต.ท.วิโรจน์ เปาอินทร์ รักษาการหัวหน้าพรรค พท. เป็นผู้รับหนังสือ เนื่องจากทางพรรคระบุชัดเจนว่าใครจะไปทำหน้าที่ สปท. จะต้องลาออกจากการเป็นสม