WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

19กย 40e3a

เข้มนศ.งาน 19 กย. คสช.ห้าม เคลื่อนออก'มธ.''ตู่'แจงวุ่นท้าชก วิษณุชี้รธน.ใหม่ พิสดารแน่นอน'โต้ง'ติงรวบรัด สอบแพ่งคดีข้าว

   คสช.ยอมให้จัดรำลึก 9 ปีปฏิวัติ 19 ก.ย. แต่ห้ามเคลื่อนออกนอก 'ม.ธรรม ศาสตร์' ส่ง ตร.จับตาเข้ม วิษณุเผย 'มีชัย' เมินนั่ง ปธ.กรธ. ชี้รธน.ใหม่พิสดารแน่'ปชป.-พท.' ต้องตีทะเบียนพรรคใหม่ เปิดโอกาสคนอื่นจัดตั้งพรรค ลงสู้ในสนามเลือกตั้ง อดีตสปช.เผยเป็นผลจากร่างฉบับบวรศักดิ์ กำหนดผู้นำการเมืองที่ดี ใน ม.75-76 'บิ๊กตู่'ฉุนวิจารณ์ทหารปฏิวัติ หลุด "ท้าชกปาก" ก่อนแจงวุ่นอยากชกตัวเอง โต้งร่อนจ.ม.เปิดผนึก ติง กก.สอบฟ้องแพ่งจำนำข้าว เตือนอย่าเร่งรีบรวบรัด

 

วันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2558 ปีที่ 25 ฉบับที่ 9061 ข่าวสดรายวัน

เลิฟยู- พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ ขึ้นยืนบนเก้าอี้ พร้อมชูมือเป็นสัญลักษณ์ ไอเลิฟยู ให้กับผู้ร่วมฟังปาฐกถาหัวข้อ "ขับเคลื่อนเอสเอ็มอี ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย" ที่ห้องรอยัล จูบิลี่ อิมแพ็ค เมืองทองธานี เมื่อวันที่ 18 ก.ย. 

 

'บิ๊กตู่'ขอกำลังใจ

    เมื่อวันที่ 18 ก.ย. ที่ห้องรอยัล จูบีลี่ อิมแพ็ค เมืองทองธานี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวปาฐกถาหัวข้อ "ขับเคลื่อน SMEs ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย" จัดขึ้นโดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม 

พล.อ.ประยุทธ์กล่าวตอนหนึ่งว่า ยอมรับว่าเป็นห่วงธุรกิจเอสเอ็มอี ภาคเกษตรกร ปัญหามีมากทั้งข้าว ยาง และเรื่องต่างๆ แก้ปัญหาไม่เคยจบ ดังนั้นการแก้ปัญหาให้จบ ต้องไม่ใจร้อน อย่างการรวมตัวกันมาวันนี้ทำให้ตนดีใจ ไม่ใช่มาเรียกร้องชุมนุมกันเป็นพวกและกลายเป็นความแตกแยก 

     "สมัยก่อนมีคนเล่าให้ผมฟัง เวลาประชุมต่างประเทศ พูดภาษาอังกฤษ เขาพูดอะไรก็ตอบรับว่าเยสๆ พอถึงเวลาก็ไม่ทำ ฝรั่งถามว่าแล้วตอบเยสทำไม แล้วไม่ทำ ตรงนี้คือสิ่งที่เกิดขึ้นมาแล้ว ก่อนหน้าที่ผมเข้ามานี่แหละ ว่าจะไม่พูดแล้ว แต่ก็พูดจนได้ เวลาไปประชุมก็ไม่รู้เรื่องอะไร พอเขาถามอะไรก็ตอบไม่ได้ มันน่าโมโห ผมไม่ได้เก่ง แต่อะไรที่ไม่ได้ก็คือไม่ได้ ไม่เหมือนไอ้พวกปากเก่ง ซึ่งเรื่องมันเยอะ ผมต้องพูด วันนี้กลับต้องไปเตรียมตัวต่อสู้ ขอกำลังใจบ้าง ผมไม่ต้องการเป็นอำนาจใหม่ อย่าตีกันอีกเลย พอได้แล้ว ทุกอย่างต้องเข้ากระบวนการปรองดองด้วยกฎหมาย วันนี้รักใครชอบใคร ผมไม่ว่า แต่สิ่งที่สำคัญสุดคือประเทศชาติ ขอโทษที่เอาทุกคนมาเสี่ยงกับความล้มเหลว ความสำเร็จ" พล.อ.ประยุทธ์กล่าว

ย้ำอีกไม่เลือกปฏิบัติ

    พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า เศรษฐกิจจะดีขึ้น อยู่กับเสถียรภาพของบ้านเมือง วันนี้ไม่มีเรื่อง มันถึงเกิดได้ นักท่องเที่ยวเข้ามาตั้ง 20 กว่าล้านคน เหลืออีก 4-5 เดือนน่าจะดีขึ้น ยิ่งมีเรื่องร้ายทำให้เรารักกัน ไม่ใช่ยิ่งร้ายแล้วต้องทะเลาะกัน มันไปไม่ได้ ทุกอย่างจะแย่ ไม่แย่ อยู่ที่เรา ไม่ตระหนก ไม่ขวัญเสีย ไม่พูดจาให้ด้อยค่ากันเอง บางอย่างมันต้องแก้กันให้ได้ เกิดตรงนี้ต้องแก้ตรงนี้ ไม่ใช่ด่ากันทั้งหมด ไม่รู้จะแก้อย่างไร ของใหม่ก็ต้องแก้กันอีก มันไม่มีอะไรสมบูรณ์ร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่รัฐบาลต้องทำให้เกิดความเป็นธรรม ใช้กฎหมายตัวเดียวกัน ไม่เลือกปฏิบัติทั้งคนจน คนเลว คนดี นี่คือสิ่งที่รัฐบาลทำ รวมถึงรัฐบาลหน้าด้วย 

    พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวอีกว่า การจะเป็นผู้ประกอบการจนถึงเถ้าแก่ใหม่ ต้องเตรียมความพร้อม ต้องรู้กติกาการค้า ระเบียบราชการ ต้องพัฒนาตัวเอง รัฐบาลจะเข้าไปช่วยดูแลตามความเหมาะสม วันนี้เราขาดแรงงานเพราะคนเรียนจบปริญญาตรีกันเยอะแล้วไม่มีงานทำ ยังขาดกลุ่มนักเรียนอาชีวะที่ไม่ค่อยมีพ่อแม่ส่งไปเรียนนักเพราะกลัวตาย ตนไม่รู้ว่าทำไมเก่งกาจกันนัก ชาติก่อนเป็นทหารกันหรือ ตนจะลงโทษก็ไม่ได้ ไปละเมิดสิทธิเขา สรุปคุมกันไม่ได้ซักเรื่อง 

ท้าชกปากวิจารณ์ปฏิวัติ

      พล.อ.ประยุทธ์กล่าวด้วยว่า ประเทศไหนที่เจริญแล้วต้องมีวินัยคนในชาติก่อนจะได้ไม่มีเรื่องเหล่านี้ ประเทศอื่นไม่มีเอาปืนยิงกัน ไม่มีเอาระเบิดขว้างกันเพราะเขามีวินัย รัฐบาลไม่ต้องทำอะไร สู้กันให้ตาย พอจบเลือกตั้งเสร็จก็เลิก แต่บ้านเราไม่เลิก พอสู้กันเสร็จก็เรียกพวกมา เอาอาวุธมา สุดท้ายก็ประชาชนตายทั้งนั้น อย่าให้เกิดขึ้นอีกแล้วกัน

     ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในช่วงท้าย พล.อ. ประยุทธ์ สอบถามว่าใครมีอะไรสงสัยหรือไม่ โดยหันไปถามพล.ต.ท.อำนวย นิ่มมะโน ผบช.ภ.1 ว่า "พี่นวย มีปัญหาหรือไม่ ตอนนี้ตำรวจดีๆ มีเยอะ ถ้าไม่มีตำรวจ ยิ่งกว่านี้ ทุกอย่างมันอยู่ที่คนสั่ง อย่าไปเกลียดชังเขาเลย ถ้าไม่มีตำรวจไปจ้างยามเอาหรือไม่ มีคนเสนอว่าไม่ต้องมีตำรวจ ไม่ต้องมีทหาร มีมาทำไม ทหารไม่ทำอะไรปฏิวัติอย่างเดียว แล้วพวกมึงทำเลวกันรึเปล่าเล่า ถ้าทำดีแล้วใครจะทำ ทำดีแล้วผมจะมายืนตรงนี้ทำไม ผมเองอายเขา เสี่ยงทุกอย่างเข้ามา แล้วมาพูดกันอย่างนี้มาชกปากกันมั้ย"

อ้างอยากชกปากตัวเอง

    พล.อ.ประยุทธ์ให้สัมภาษณ์ภายหลังว่า ที่พูดในห้องว่าอยากจะชกปากใครนั้น จริงๆ แล้วอยากจะชกปากตัวเอง มันลงโทษใครไม่ได้ เพราะเราทำตัวเอง ที่เจ็บคอก็เพราะว่า พูดมาก

    พล.อ.ประยุทธ์ ยังกล่าวถึงการจัดกิจกรรมครบรอบ 9 ปี ปฏิวัติ 19 ก.ย. ว่า จัดไม่ได้ จะผิดกฎหมายไม่ได้ทั้งนั้น เรื่องนี้ต้องถามคสช.

พล.อ.ประยุทธ์กล่าวอีกว่า เวลาที่เหลืออยู่จากนี้มันน้อย ต้องทำทั้งเรื่องการปฏิรูป การปรองดองขั้นต้น การเตรียมการขจัดความขัดแย้งในรัฐบาลต่อไป บางอย่างสามารถนำมาทำเป็นยุทธศาสตร์ชาติได้ก็ทำในวันนี้ จะได้เห็นว่ากระบวนการการปฏิรูป กระบวนการการปรองดอง และกระบวนการลดความขัดแย้งเขาทำอย่างไร ตนต้องทำให้สังคมเข้าใจ 

    "วันนี้พอพูดปฏิรูปปั๊บก็ไปกันใหญ่โต พอพูดถึงปรองดองก็ไปอีกเรื่องหนึ่ง พอพูดถึงประชาธิปไตยก็บอกว่าผมจะมีอำนาจทับรัฐบาล สับสนอลหม่านไปทั้งหมด เพราะคนไม่เข้าใจ แต่ผมไม่โทษท่าน เพราะผมก็ไม่ใช่ว่าจะเข้าใจคนเดียว ขอให้ผมเสนอก่อนได้หรือไม่ว่ามันควรจะเป็นอย่างไร วันนี้ผมเป็นคนรักษากติกาอยู่ ถ้าให้ทุกคนอะไรก็ได้ แล้วจะเรียกว่าผมรักษากติกาหรือไม่ ไม่อยากให้บ้านเมืองสงบแบบนี้กันหรืออย่างไร ต้องให้เวลาผมได้ทำงาน" พล.อ.ประยุทธ์กล่าว

เผย'มีชัย'ไม่รับนั่งปธ.กรธ.

      เมื่อถามถึงกระแสข่าวนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ที่ปรึกษาคสช. ตอบรับเป็นประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) พล.อ. ประยุทธ์กล่าวว่า ยังไม่ได้ติดต่อใครซักคน เห็นแต่ข่าวบนหน้าหนังสือพิมพ์ ใครติดต่อตนไม่ทราบ ทราบว่านายมีชัยบอกผ่านนายวิษณุ เครืองาม รองนายกฯ ว่าจะไม่รับ 

      "คือนายวิษณุรู้จักฝ่ายกฎหมาย ก็ไปถามคนรู้จักของนายวิษณุ ซึ่งทุกคนทุกฝ่ายจะไปถามคนของเขา เมื่อได้แต่ละกลุ่มจะนำรายชื่อทั้งหมดมารวมกัน และพิจารณาร่วมกัน แล้วผมจะเป็นคนตัดสินใจ วันนี้อย่าสนใจว่าจะ ตั้งใครหรือตั้งอย่างไร ร่างอย่างไร ให้ดูว่าประเทศไทยจะเป็นอย่างไร ขอให้คิดกันไว้ด้วย อย่าคิดว่าจะเลือกตั้งให้เร็ว รัฐธรรมนูญมีประชาธิปไตยหรือไม่ เรื่องแบบนี้ให้มันพอเสียทีได้หรือไม่ หรือจะเอาเพียงว่าใครก็ได้ที่จะเข้ามา ผมขอแค่นี้" พล.อ.ประยุทธ์กล่าว

พล.อ.ประยุทธ์กล่าวอีกว่า ในวันที่ 22 ก.ย.นี้ จะประชุมร่วมครม.-คสช. แต่ไม่ได้หมายความว่าภายในสัปดาห์นั้นจะได้ตัวประธานกรธ. ไว้รอตนกลับมาจากการเข้าร่วมประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติก่อนแล้วค่อยพิจารณาอีกครั้ง รอให้นำรายชื่อทั้งหมดมารวมกันก่อน โดยให้คณะทำงานในส่วนของรองนายกฯที่ตนได้มอบหมายได้คุยกันก่อน กลับมาแล้วตนถึงเป็นผู้ตัดสินใจ

ลั่นไม่ปิดกั้นความเห็นต่าง

       วันเดียวกัน พล.อ.ประยุทธ์กล่าวในรายการ "คืนความสุขให้คนในชาติ" ช่วงเวลาอันสำคัญยิ่งนี้ คสช.และรัฐบาลอยากเชิญชวนคนไทยทุกคนช่วยกันทำความสะอาดประเทศให้ผ่านพ้นความเลวร้ายนานาประการ อาจเกิดจากกลุ่มคนที่ไม่หวังดีต่อประเทศชาติ โดยใช้วิธีการที่ละมุนละม่อม ปราศจากความรุนแรง กำจัดคนเหล่านี้ออกไปให้ได้ภายใต้กฎหมายที่มีอยู่และกระบวนการยุติธรรม ในโซเชี่ยลมีเดียหรือตามสื่อเริ่มมีการใช้ความรุนแรงต่อกันด้วยคำพูด ก็ขอร้อง ทุกคนเห็นต่างได้ ตนเองก็ยอมรับในความเห็นต่างไม่ได้หมายความว่าจะปิดกั้น 

"ขออย่าให้ต้องมีการบังคับใช้กฎหมายพิเศษอีกเลย หรืออำนาจอื่นๆ หลายคนพยายามบังคับเหมือนตั้งใจให้เกิดเหตุการณ์ให้ตนต้องใช้อำนาจพิเศษ เพื่อเอาเหตุการณ์เหล่านั้นไปอ้างกับองค์กรอื่นๆ แล้วให้กลับมาเล่นงานประเทศไทย หรือเล่นงานตนก็ตาม ขอร้องให้ไปหยุดคนเหล่านี้ อย่าให้ทำอีกต่อไป" พล.อ.ประยุทธ์กล่าว

เล็งวิธีสานยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี

      พล.อ.ประยุทธ์กล่าวอีกว่า การตั้ง สปท. จะทำหน้าที่ต่อจาก สปช. จะมาทบทวน จัดระเบียบ ทำให้สอดคล้องเข้ากับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แล้วก็หาวิธีการว่าจะทำอย่างไรกันต่อไปเพื่อจะทำให้สิ่งเหล่านั้นปฏิบัติได้โดยไม่ทาบทับอำนาจในเชิงบริหาร อำนาจของรัฐบาลมาจากการเลือกตั้งอย่างที่ทุกคนเกรงกลัว ยืนยันเจตนารมณ์ไม่เคยคิดอย่างนั้นเลย ตอนนี้กังวลกับประชาชนมากที่สุดในเรื่องของการจัดตั้ง ไม่ว่าจะเป็น กรธ. สปท. กำลังพิจารณาอยู่ขอให้ไว้วางใจกันหน่อย การร่างฯหรือการพิจารณาไม่ได้ปิดลับอะไร เพราะอย่างนั้นถ้าหากขัดแย้งกันอีกก็เป็นไปไม่ได้อีก เหมือนเดิม เพราะอย่างนั้นขอเกริ่นไว้ก่อน อย่ามาลงว่าตนต้องเป็นคนชี้ต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้อีก 

     พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวต่อว่า สัปดาห์ที่ผ่านมานั้นประชุม ครม. คสช. สนช.ร่วมกันให้แนวทางในการคัดเลือกบุคคลว่าต้องเป็นคนมีความรู้ความสามารถจากทุกภาคส่วน เป็นคนดี มีคุณธรรม มีความรู้ความสามารถ มนุษย์ไม่มีอะไร 100% มีข้อบกพร่อง ข้อผิดพลาดทุกคน ที่ผ่านมาเราไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกันต้องลดตรงนี้ให้ได้ เพราะฉะนั้นคนเหล่านี้ก็ไม่ได้มาจากไหน มาจาก สปช.เดิมบ้าง นักกฎหมาย นักวิชาการ ฝ่ายความมั่นคง ข้าราชการทั้งเกษียณ ไม่เกษียณ ภาคประชาสังคม การค้าการลงทุน ภาคประชาชน มีหมด

ลั่นเป็นตัวแทนคนไทยไปยูเอ็น

       พล.อ.ประยุทธ์กล่าวถึงการเดินทางไปร่วมการประชุมสหประชาชาติ สมัยสามัญครั้งที่ 70 ของยูเอ็น ที่นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ว่า ถือเป็นปีที่พิเศษเพราะยูเอ็นมีวาระครบ 70 ปี จะเป็นโอกาสดีที่ได้รับเกียรติจากยูเอ็นเชิญมาในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมโลก ตนก็ยินดีที่จะไป และจะได้แสดงความคิดเห็นบ้างในหัวข้อต่างๆ ว่าทำอะไรไปแล้วบ้าง แนวความคิดของเราที่มีต่อเพื่อนบ้านในประชาคมอาเซียน

"ขอให้ทุกคนทำความเข้าใจในเรื่องนี้ด้วย อย่าเอาเรื่องการเมืองมาเกี่ยวข้องกับเรื่องประเทศชาติ จะทำลายผม จะอะไรก็แล้วแต่ จะต่อต้านอย่างไรก็ตาม แต่ผมไปในนามประเทศของท่าน อย่างไรประเทศนี้ต้องเดินหน้า" พล.อ.ประยุทธ์กล่าว

วิษณุยัน"มีชัย"เมินกรธ.

     นายวิษณุ เครืองาม รองนายกฯ ฝ่ายกฎหมาย กล่าวถึงกระแสข่าวนายมีชัยรับเป็นประธาน กรธ. ว่า เห็นจากหนังสือพิมพ์บางฉบับพาดหัว ต้องไปถามว่าเอาข่าวมาจากไหน ยืนยันว่าตนไม่ทราบ ขณะนี้นายมีชัยอยู่ต่างประเทศเป็นตัวแทนรัฐบาลไปประชุมเรื่องอธิบายข้อกฎหมายเกี่ยวกับประมงให้สหภาพยุโรป (อียู) นานกว่า 10 วัน โดยมีส่วนหนึ่งจะกลับวันที่ 18 ก.ย. และอีกส่วนหนึ่งกลับวันที่ 21 ก.ย. ซึ่งไม่ทราบแน่ชัดว่านายมีชัยกลับวันไหน และยังไม่รู้ว่านายมีชัยยอมรับจริงหรือไม่ ซึ่งไม่ควรไปเดา ให้กลับมาแล้วไปถามนายมีชัยเอง 

      "ตอนที่ทำรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขเพิ่มเติมนั้น นายมีชัยยังพูดทีเล่นทีจริงว่าจะเขียนคุณสมบัติอย่างไร ขอให้เขียนแล้วท่านขัดต่อคุณสมบัติด้วย ท่านกระเซ้าผมว่าให้ช่วยเขียนหน่อย ให้ขาดคุณสมบัติ ซึ่งผมยังบอกว่าอย่างนั้นก็เขียนลงไปเลยว่าห้ามชื่อมีชัย ซึ่งพูดเล่นกันในตอนนั้นเพราะท่านไม่อยากทำ แต่ถ้าสมมติว่าจวนตัวแล้วหาคนยาก ทุกฝ่ายยินยอมพร้อมใจ ก็อาจมีใครรับไปคุยกับท่านก็ได้ แต่ผมไม่พูดเพราะผมทราบเจตนาของท่านแล้ว ผมจึงไม่ควรเป็นฝ่ายไปพูด แต่คนอื่นจะไปพูดก็ไม่เป็นไร เพราะถือว่าเขาไม่เคยรู้เจตนา" นายวิษณุกล่าว

ชี้เงื่อนไขเว้นวรรค 2 ปีทำยุ่ง

     นายวิษณุยังกล่าวถึงรายชื่อ กรธ.ว่า บอกแล้วว่าก่อนวันที่ 22 ก.ย.ต้องได้รายชื่อ แต่ไม่จำเป็นต้องประกาศ เนื่องจากต้องใช้เวลาตัดสินใจ บางคนต้องไปลาออกเพื่อให้ถูกต้องตามคุณสมบัติ เมื่อนายกฯ ไปต่างประเทศ ในวันที่ 1-2 ต.ค.จะกลับมาดู ถ้าทุกอย่างเรียบร้อยไม่มีปัญหา ประกาศในวันเดียวกันนั้นได้ 

     นายวิษณุ กล่าวอีกว่า ตอนนี้หลายคนติดเงื่อนไขต้องเว้นวรรค 2 ปี ดังนั้น การติดต่อทาบทามต้องบอกกันให้ชัดเจนว่าเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญชั่วคราวไม่ต้องการให้รับตำแหน่งทางการเมือง 2 ปี เมื่อครั้งเชิญ 36 คนมาเป็น กมธ.ยกร่างฯ นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ไปสมัครคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) ทั้งที่ไม่ใช่ตำแหน่งทางการเมือง แต่พูดกันจนนายบวรศักดิ์ขอถอนตัวและลาออก จึงต้องทำความเข้าใจกับคนที่จะเป็น กรธ.ด้วย เพราะต้องใช้ข้อห้ามอันเดียวกันนั้นมาใช้โดยอนุโลมด้วยเช่นกัน

เชื่อรธน.ใหม่พิสดารขึ้น

      เมื่อถามถึงนายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีต รมว.ศึกษาธิการ เสนอให้ร่นระยะเวลาโรดแม็ป คสช.เหลือเป็นสูตร 3-3-3-2 หรือ 3-3-3-3 นายวิษณุกล่าวว่า ตนพูดในเชิงคาดหมายในซีกของรัฐบาล และบอกไปชัดว่าพูดให้ยาวไว้ก่อน จากนั้นจะเจรจาลดกันลงมา 6 เดือนแรกอยู่ในอำนาจของ กรธ. ก็ต้องเจรจากับกรธ. 4 เดือนในเรื่องประชามติก็ต้องเจรจากับ กกต. ส่วน 6 เดือนถัดมาเป็นการทำกฎหมายลูก ต้องพูดกับ สนช. และ 4 เดือนสุดท้ายเป็นเรื่องเตรียมการเลือกตั้ง ซึ่งเรื่องนี้คงพูดกับใครไม่ได้ ถ้ารัฐธรรมนูญกำหนดให้หาเสียงเลือกตั้ง 3 เดือนก็ต้อง 3 เดือน แล้วที่โผล่มาเป็น 4 เดือนเพราะ 1 เดือนกำหนดเวลาทูลเกล้าฯ ถวายกฎหมายลูก 6 ฉบับลงพระปรมาภิไธย เมื่อกฎหมายลูกลงมาจึงปล่อยให้หาเสียงได้อีก 3 เดือน ดังนั้น 1 เดือนดังกล่าวคงไปเจรจากับใครไม่ได้ จะช้าหรือเร็วก็เป็นพระมหากรุณาธิคุณ

      นายวิษณุ กล่าวว่า เอาเป็นว่าแค่ช่วงสุดท้ายจาก 4 เดือนให้ลดเหลือ 2 เดือนก็เป็นตัวตั้งได้ ซึ่งสองเดือนนั้นพอสำหรับพรรคเพื่อไทย และพรรคประชาธิปัตย์ แต่คนที่จะตั้งพรรคขึ้นมาใหม่ เขาตั้งไม่ทัน และจะตั้งวันนี้ก็ไม่ได้เพราะมีประกาศ คสช.ห้ามตั้งพรรค ดังนั้น จะตั้งพรรคได้ต่อเมื่อกฎหมายพรรคการเมืองออกมาแล้ว และกฎหมายฉบับใหม่ไม่ใช่ปัจจุบัน ซึ่งเรายังไม่รู้ว่ามีการกำหนดเงื่อนไขใดๆ ที่พิสดารไปกว่าปัจจุบันนี้หรือไม่ 

'ปชป.-พท.'ส่อจดทะเบียนใหม่

      "แต่ผมเชื่อว่าพิสดาร เผลอๆ พรรคเพื่อไทยกับพรรคประชาธิปัตย์จะต้องไปจดทะเบียนตั้งพรรคใหม่ กว่าจะตั้งพรรคเสร็จ หาสมาชิก ลงหาเสียง จัดพิมพ์โปสเตอร์ 2 เดือนแค่นั้นก็ไม่ทัน ถึงได้ให้ไว้ 3 เดือน นี่คือตัวอย่างว่าจะลดได้ไม่ได้ จึงไม่จำเป็นต้องมาต่อปากต่อคำ" นายวิษณุกล่าว

      นายวิษณุกล่าวต่อว่า จะลดเป็น 1-1-1-1 หรือ 4-1-4-1 ก็ไม่ว่า ขอให้จัดการให้ได้เท่านั้น ขออนุโมทนาสาธุด้วย แต่ในฐานะที่รู้อยู่ว่าทุกอย่างมีขั้นตอนและไม่ใช่ง่าย แต่จะพยายามเจรจากับผู้เกี่ยวข้องว่าขอให้พิจารณาปรับลดเอง แล้วจะได้ประกาศระยะเวลาโรดแม็ปใหม่ให้ แต่ครั้งนี้กำหนดไปก่อนเพื่อไม่ให้ใครมาชิงพูดว่า 24 เดือน หรือยาวกว่า 20 เดือน แต่เมื่อกำหนดอย่างนี้แล้วค่อยลดลง มันก็กำไร เหมือนขายของ บอกราคาไป 200 บาท จะหยุดซื้อหรือเดินเลยไป หรือจะเจรจาต่อกันให้เหลือ 160 ก็อีกเรื่องหนึ่ง

ชี้เป็นไปตามรธน.ฉบับปื๊ด

      เมื่อถามว่า ที่ระบุว่าจะพิสดารทำให้พรรคเพื่อไทยและประชาธิปัตย์อาจต้องจดทะเบียนพรรคใหม่นั้น แปลว่าอะไร นายวิษณุกล่าวว่าไม่บอก แต่พูดเผื่อไว้ เพราะกฎหมายพรรคการเมืองจะต้องเขียนตามรัฐธรรมนูญ เรายังไม่รู้ว่ารัฐธรรมนูญจะเขียนอย่างไร รัฐธรรมนูญฉบับนายบวรศักดิ์ 285 มาตรา ถ้ารัฐธรรมนูญฉบับนั้นใช้บังคับ กฎหมายพรรคการเมืองก็ต้องออกใหม่ และเป็นคนละเรื่องกับกฎหมายพรรคการเมืองปัจจุบัน ดังนั้นไปอ่านดูว่า ถ้าฉบับของนายบวรศักดิ์ออกมา พรรคที่มีอยู่แล้วจะต้องตั้งพรรคใหม่อย่างไรหรือไม่ แล้วฉบับที่จะออกมาใหม่จะไม่กำหนดหรือ 

"ต้องให้ความเป็นธรรมกับทุกพรรคในการกำหนดใดๆ การที่บอกว่าพอประกาศใช้กฎหมายลูกแล้วอีก 7 วันเลือกตั้งกันเลย นั่นคือการเอื้อให้พรรคที่มีอยู่แล้ว มีทุน มีสมาชิก มีหัวคะแนนอยู่แล้วได้เปรียบ ซึ่งในทางการเมืองจะยอมอย่างนั้นไม่ได้ เพราะต้องเปิดโอกาสให้กับทุกคนทุกพรรค"

เปิดโอกาสจัดตั้งพรรคใหม่

     นายวิษณุ กล่าวว่า การที่นายจาตุรนต์ระบุให้เลือกตั้งภายใน 45 วันนั้น คงหมายถึงเท่าที่พรรคปัจจุบันบริหารงานอยู่ แต่การเลือกตั้งคราวต่อไป คือการตั้งผู้แทนราษฎร การตั้งรัฐบาล ดังนั้นต้องให้โอกาสคนใหม่ที่เขายังไม่เคยได้เข้ามาด้วย ตรงนี้ต้องให้เวลาเพราะมันต้องใช้เวลาทั้งนั้น

     เมื่อถามย้ำว่าหากจะเกิดความพิสดารอย่างนั้น แสดงว่าทุกคนต้องมาเริ่มนับหนึ่งใหม่หมดเลยใช่หรือไม่ นายวิษณุกล่าวว่าคงไม่ บางพรรคมีทุนเดิมอยู่ก็ใช้ได้ มีสมาชิกพรรคอยู่ก็เอามาได้ แต่พรรคใหม่ไม่มีสมาชิกแม้แต่คนเดียว ต้องหาสมาชิก แค่กรอกแบบฟอร์มก็ไม่ง่ายแล้ว ฉะนั้น 2 พรรคใหญ่จะได้เปรียบ แต่จะเอาเปรียบทั้งหมดไม่ได้ ต้องเปิดโอกาสให้คนอื่นเขาบ้าง เพราะมีต้นทุนอยู่บ้างแล้ว ต้องเผื่อคนที่ไม่มีต้นทุนด้วย แต่จะเอาต้นทุนทั้งหมดมาใช้ 100% คงไม่ได้ ต้องมีอะไรบางอย่างที่ต้องทำเพิ่มเติม

ให้จดทะเบียนใหม่ใช้ชื่อเดิมได้

     รายงานจากรัฐสภาแจ้งว่า ความพิสดารที่อาจทำให้พรรคต้องจดทะเบียนพรรคใหม่ก่อนเลือกตั้งนั้น เกิดจากอดีต กมธ.ยกร่างฯ เห็นว่าวิกฤตการเมืองครั้งนี้ต่างจากครั้งที่ผ่านมา จำเป็นต้องมีการปฏิรูปการเมือง โดยมีพรรคการเมืองเป็นส่วนหนึ่งคือปัญหา จึงกำหนดเนื้อหาไว้ในภาค 2 ผู้นำการเมืองที่ดี และระบบผู้แทนที่ดี หมวด 1 เพื่อหวังจะให้เกิดการปฏิรูปพรรคการเมืองเมื่อมีการเลือกตั้ง ไม่ให้มีปัญหาอีก ขณะเดียวกันก็มีแนวคิดการร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยพรรคการเมือง ด้วยการจะกำหนดให้พรรคการเมืองที่มีอยู่ไปจดทะเบียนใหม่ แต่อาจมีการยกเว้นให้ใช้ชื่อเดิมได้ 

นายทิวา การกระสัง อดีตสมาชิก สปช.บุรีรัมย์ กล่าวว่า พรรคใหญ่อาจต้องใช้เวลาสักระยะเพื่อจดทะเบียนพรรคใหม่ ทำให้สูตรการร่างรัฐธรรมนูญ 6-4-6-4 อาจปรับเปลี่ยนได้ยาก เพราะร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่ สปช.โหวตไม่เห็นชอบ กำหนดคุณสมบัติเกี่ยวกับพรรคการเมืองต่างไปจากรัฐธรรมนูญฉบับที่ผ่านมา ซึ่งในภาค 2 ผู้นำการเมืองที่ดี และระบบผู้แทนที่ดี หมวด 1 มีข้อกำหนดต่างๆ ไว้ โดยให้เป็นไปตามกฎหมายลูกว่าด้วยพรรคการเมือง และว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส.และส.ว. และการร่างกฎหมายลูกจะต้องกำหนดคุณสมบัติต่างๆ เกี่ยวกับพรรค การเมืองเอาไว้ จนทำให้พรรคที่มีอยู่อาจต้องจดทะเบียนพรรคใหม่ เนื่องจากไม่เข้าเงื่อนไขที่กำหนดไว้ 

ชี้ถูกกำกับในมาตรา 75-76

      ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับร่างรัฐธรรม นูญที่นายวิษณุระบุถึงความพิสดาร อดีตสมาชิก สปช.ตั้งข้อสังเกตว่า น่าจะอยู่ในภาค 2 ผู้นำการเมืองที่ดี และระบบผู้แทนที่ดี หมวด 1 มาตรา 75 เรื่องข้อห้ามปฏิบัติของ ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง 6 ข้อ คือ 1.ใช้ตำแหน่งหน้าที่เพื่อประโยชน์ส่วนตนของพรรคการเมืองที่สังกัด หรือกระทำการขัดผลประโยชน์ 2.ละเมิดหลักสำคัญทางศีลธรรม ศาสนา และประเพณี 3.ใช้วาจาไม่สุภาพ หรือกระทำการที่ก่อให้เกิดความเกลียดชังระหว่างคนในชาติหรือศาสนา 4.ยอมให้บุคคลใดครอบงำหรือชี้นำโดยมิชอบด้วยกฎหมาย 5.ใช้อำนาจหน้าที่มุ่งสร้างความนิยมทางการเมืองที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศและประชาชนในระยะยาว และ 6.เลี่ยงหรือชี้นำให้บุคคลอื่นเลี่ยงการปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย 

      มาตรา 76 กำหนดให้พรรคการเมืองต้องจัดองค์กรภายใน ดำเนินกิจการ และออกข้อบังคับ ให้สอดคล้องกับหลักการพื้นฐานแห่งการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ไม่ขัดต่อสถานะและการปฏิบัติหน้าที่ของส.ส. โดยให้ความในมาตรา 75 มาบังคับใช้โดยอนุโลม อีกทั้งยังกำหนดให้ไปร่างไว้ในพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองและกลุ่มการเมือง และพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.และส.ว. ซึ่งหากมีข้อกำหนดต่างๆ ก็อาจทำให้พรรคที่มีอยู่ไร้คุณสมบัติของการเป็นพรรค และต้องจดทะเบียนใหม่ 

'ป้อม'ปัดไม่ได้คุย'มีชัย'

      ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ และรมว.กลาโหม ในฐานะรองหัวหน้าคสช. กล่าวว่า นายมีชัยเดินทางไปต่างประเทศ และจะกลับในวันที่ 18 ก.ย. นี้ ตนยังไม่ได้พบและพูดคุยกับนายมีชัย ส่วนข่าวที่ออกมาสื่อก็พาดหัวข่าวไป สำหรับคสช.ไม่มีสเป๊ก แค่ให้ทำให้ดีและทำให้ได้ ซึ่งใน 20 คน ก็ไปคัดเลือกกันเองว่าจะให้ใครเป็นประธาน ขณะนี้กำลังดำเนินการอยู่ อีกไม่นานคงทราบรายชื่อ ส่วนเป็นใครบ้างยังไม่เห็น เพราะได้ทาบทามจำนวนมาก และนายวิษณุซึ่งรู้จักคนที่มีความรู้ด้านกฎหมาย ก็มีส่วนช่วยดูในเรื่องนี้ และเชื่อว่าจะพิจารณาคนที่ดีเข้ามาทำงาน

     เมื่อถามว่าถ้านายมีชัยเป็นประธานกรธ.จริง จะทำให้การร่างรัฐธรรมนูญครั้งใหม่ราบรื่น และเกิดความสงบเรียบร้อย พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า "สื่อมาถามว่าถ้าแล้วหากผมบอกว่าถ้าผมไม่รู้ ฉะนั้นคำว่า "ถ้า" อย่ามาถามผม ซึ่งผมอยากให้เกิดความเรียบร้อย ให้ประเทศเดินหน้าได้ หากทำได้ใครก็ได้ที่ทำให้ประเทศเดินไปได้และหยุดตีกัน หยุดขัดแย้งจะได้เจริญสักที เพราะเราเสียเวลามามาก 8-9 ปี ขณะที่สื่อเป็นส่วนหนึ่งทำให้ตีกันหรือไม่ ขอให้คิดดูว่าเราจะอยู่อย่างสงบเพื่อให้เจริญไปข้างหน้าอย่างไร" 

โพลชี้คนหนุนมีชัย

     วันที่ 18 ก.ย. กรุงเทพโพล โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ เผยผลสำรวจเรื่อง "ความเห็นของประชาชนต่อคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.)" โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศ 1,062 คน ระหว่างวันที่ 15-17 ก.ย. พบว่าร้อยละ 51.0 เห็นว่านายมีชัย ฤชุพันธุ์ มีความเหมาะสมหากจะเป็นประธาน กรธ. ร้อยละ 10.4 เห็นว่าไม่เหมาะสม ทั้งนี้ มีถึงร้อยละ 38.6 ที่ไม่แน่ใจ

เมื่อถามว่าหากนายมีชัยเป็นประธาน กรธ. เชื่อมั่นหรือไม่ว่าจะร่างรัฐธรรมนูญให้ผ่านประชามติได้ โดยร้อยละ 41.5 เชื่อมั่นว่าจะทำได้ ร้อยละ 22.1 ไม่เชื่อมั่นว่าจะทำได้ และร้อยละ 36.4 ไม่แน่ใจ อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 60.0 เห็นว่าควรมีบุคคลจากคณะกรรมาธิ การ(กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญชุดเดิม เข้าร่วมในกรธ.ด้วย เพราะทราบข้อมูลร่างรัฐธรรม นูญฉบับที่ไม่ผ่านสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ร้อยละ 25.5 เห็นว่าไม่ควรมี เพราะไม่สามารถร่างรัฐธรรมนูญให้ผ่านสปช.ได้ ร้อยละ 14.5 ยังไม่แน่ใจ

'บิ๊กตู่'ชี้ฟ้อง'ปู'ส่อเกิน 5 แสนล.

    พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯและหัวหน้าคสช. กล่าวถึงกรณีการเรียกเก็บค่า เสียหายจากโครงการรับจำนำข้าวกับน.ส. ยิ่งลักษณ์ โดยมีกระแสข่าวมูลค่าสูงถึง 5 แสนล้านบาทว่า ขณะนี้ตัวเลขยังไม่ถึงมือตน ต้องรอถึง 1-2 เดือนข้างหน้า ตัวเลขดังกล่าวเป็นตัวเลขขั้นต้น ถ้าขายไม่ได้ตัวเลขก็จะเพิ่มขึ้น เพราะต้องดูว่าของมีเท่านี้ขายได้เท่าไร ถ้าขายได้มากก็ขาดทุนน้อย แต่ถ้านานเข้า ขายไม่ได้ ติดกฎหมายหรืออะไรต่างๆ อัยการสูงสุดก็ไม่ผ่าน มูลค่าความเสียหายจะเยอะขึ้น เพราะโครงการนี้ทำมากว่าสองปี และใช้เงินหมุนเวียนจำนวนมาก

วิษณุย้ำ 30 กย.ถึงรู้ค่าเสียหาย

   ที่สำนักงานป.ป.ช. สนามบินน้ำ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกฯ ให้สัมภาษณ์ถึงความคืบหน้าการเรียกค่าเสียหายในโครงการรับจำนำข้าวว่า ในวันที่ 30 ก.ย.นี้ ทุกอย่างจะต้องจบภายในชั้นของคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงทั้ง 2 ชุด ที่มีกระทรวงพาณิชย์กับกระทรวงการคลังเป็นผู้รับผิดชอบ แล้วส่งให้พล.อ.ประยุทธ์พิจารณา ก่อนส่งให้คณะกรรมการพิจารณาความรับผิดทางแพ่ง ที่มีอธิบดีกรมบัญชีกลางเป็นประธาน โดยคณะกรรมการชุดนี้จะพิจารณาว่าต้องเรียกค่าเสียหายเท่าไร ซึ่งปกติเมื่อเรียกค่าเสียหาย ผู้ถูกกล่าวหาจะฟ้องกลับรัฐบาลต่อศาลปกครองใน 30 วัน เพื่อให้เพิกถอนคำสั่ง แต่ถ้าไม่ฟ้องกลับ ก็ยึดทรัพย์ตามจำนวนที่คณะกรรมการสรุป 

เมื่อถามถึงตัวเลขค่าเสียหายที่จะเรียก 5 แสนล้านบาทจากน.ส.ยิ่งลักษณ์ นายวิษณุกล่าวว่าตัวเลขเสร็จแล้วแต่ไม่ขอตอบ เอาเป็นว่าข่าวที่ออกมาตัวเลขไม่ตรง

ปลัดคลังยังไม่รู้ให้ใครฟ้อง

     นายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่าขณะนี้กระทรวงคลังรอหนังสือจากสำนักนายกฯ ว่าจะให้กระทรวงคลังเรียกร้องค่าเสียหายจากโครงการรับจำนำข้าวอย่างไร และอาจต้องเรียกชดใช้ค่าเสียหายคืนกว่า 5 แสนล้านบาท ซึ่งหากส่งเรื่องมาแล้วจะให้คณะกรรมการรับผิดทางละเมิด โดยกรมบัญชีกลางพิจารณาต่อว่าจะฟ้องร้องอย่างไร และหน่วยงานใดจะเป็นผู้ฟ้อง ตามปกติหน่วยงานต้นสังกัดจะเป็นผู้ฟ้อง กรณีนี้คลังเข้าไปเป็นคณะกรรมการร่วม แต่ต้องดูว่าคณะกรรมการรับผิดทางละเมิดจะมีวิธีการอย่างไร 

นายรังสรรค์กล่าวต่อว่า ทั้งนี้การส่งฟ้องทำได้หลายแนวทาง หากต้องการเรียกร้องเงินค่าเสียหายคืนรัฐได้เร็ว อาจฟ้องไปที่ศาลปกครอง และผ่านการพิจารณาไปที่ศาลปกครองสูงสุด ซึ่งจะรวดเร็วกว่ายื่นฟ้องผ่านศาลแพ่ง ที่จะต้องผ่านศาลอุทธรณ์และฎีกา จะใช้เวลานานกว่า กระบวนการทั้งหมดไม่เกี่ยวว่าจะหมดอายุความ แต่เป็นการเรียกเงินคืน

นายมนัส แจ่มเวหา อธิบดีกรมบัญชีกลางเปิดเผยว่า เมื่อเรื่องส่งมาที่กระทรวงการคลัง จะส่งต่อมาที่คณะกรรมการรับผิดทางละเมิดที่อธิบดีกรมบัญชีกลางเป็นเลขานุการ ที่มีตัวแทนจากกรมบัญชีกลาง สำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เป็นกรรมการ จะเร่งพิจารณาให้รวดเร็วที่สุด ตามกรอบที่นายกฯวางไว้ คือเสร็จใน 3 เดือน หรือสิ้นปี 2558 แต่กรมบัญชีกลางต้องขอดูสำนวนก่อนว่ามีจำนวนมากแค่ไหน จะฟ้องอย่างไร เพราะเรื่องนี้มีผู้เกี่ยวข้องหลายคน มีองค์ประกอบหลายอย่าง

'ภูมิ'ขอสู้คดีตามกฎหมาย

     ด้านนายภูมิ สาระผล อดีตรมช.พาณิชย์ กล่าวถึงตัวเลขการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจำนำข้าว ว่า ยังไม่ทราบเรื่องต้องให้ฝ่ายกฎหมายดำเนินการสู้คดีไปตามขั้นตอนต่อไป ยังไม่ทราบว่าขั้นตอนจะเป็นอย่างไร จะยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองหรือไม่ ต้องหารือกับทีมกฎหมายอีกครั้งหนึ่ง ยืนยันว่าในช่วงที่ดำรงตำแหน่งรมช.พาณิชย์ ทำหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายด้วยความสุจริตและตั้งใจ เพื่อประโยชน์ของประเทศและประชาชน ดังนั้นก็คงต้องดำเนินการสู้คดีไปตามขั้นตอนของกฎหมาย

"ทุกอย่างก็คงต้องว่ากันไปตามกฎหมาย ผมก็จะพยายามสู้คดีและชี้แจงให้เห็นถึงความตั้งใจจริงในการทำหน้าที่ด้วยความสุจริตใจ อยากขอความกรุณาถึงผู้ที่เกี่ยวข้องว่าการดำเนินการต่างๆ ขอให้ยึดข้อกฎหมาย ปฏิบัติด้วยความเป็นธรรม อย่าเลือกปฏิบัติกับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง" นายภูมิกล่าว 

'โต้ง'ติงรวบรัดสรุปหรือไม่

    นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง อดีตรองนายกฯและรมว.คลัง เขียนจดหมายเปิดผนึกถึงนายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.คลัง เกี่ยวกับการทำงานของคณะกรรมการตรวจสอบการรับผิดในทางละเมิด ว่า การทำงานของคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด โครงการรับจำนำข้าวเปลือกของรัฐบาลก่อนมีการดำเนินการรวบรัดตัดตอนเกินสมควรหรือไม่ เพราะสัปดาห์ที่ผ่านมาได้รับหนังสือเชิญจากคณะกรรมการให้เข้าให้ข้อมูลแก่คณะ วันที่ 17 ก.ย. เวลา 09.00 น. ซึ่งตรงกับตารางภารกิจที่นัดกับโรงเรียนในสังกัดสพฐ.แห่งหนึ่งในต่างจังหวัด เพื่อเป็นวิทยากรพิเศษ แก่นักเรียน 5 ชั้นเรียน กว่า 100 คน ระหว่าง 16-17 ก.ย. เป็นการนัดหมายล่วงหน้ามานานแล้ว จึงเลื่อนการเข้าพบคณะกรรมการ แต่น่าประหลาดใจคือข่าวหน้าหนังสือพิมพ์บางฉบับวันที่ 18 ก.ย. ระบุผู้ใหญ่ระดับสูงบางคนของบ้านเมืองให้ข้อมูลว่าการสอบข้อเท็จจริงสำเร็จเสร็จสิ้นแล้วและพร้อมสรุปขนาดความเสียหายและผู้รับผิดชอบ

     นายกิตติรัตน์ ระบุต่อว่า ขอเรียนว่าในฐานะอดีตหัวหน้าทีมเศรษฐกิจของรัฐบาลก่อนและเป็นประธานคณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะ พร้อมและยินดีเข้าให้ข้อมูลตามกำหนดนัดหมายที่คณะกรรมการจะพิจารณาเลื่อนให้ตามความเหมาะสม ดังนั้นจะเป็นไปได้อย่างไรที่การสอบข้อเท็จจริงจะสำเร็จลงแล้วโดยมิได้ให้ตนเข้าพบเพื่อตอบและชี้แจง 

ฝากพิจารณาให้รอบคอบ

      "ดังนั้นขอชี้แจงใน 2 เรื่องคือ เรื่องแรกเป็นการไม่สมควร และอาจเป็นความเสี่ยงต่อทั้งคณะกรรมการและตนที่จะถูกเข้าใจผิดในเจตนา หากมีการเข้าพบกันอย่างรโหฐาน หรือเป็นจดหมายปิดผนึก" นายกิตติรัตน์ระบุ 

    นายกิตติรัตน์ ระบุอีกว่า ประการที่สอง ขอให้คำแนะนำในฐานะที่เคยทำหน้าที่รัฐมนตรีคลังมาก่อนว่า คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด ถือเป็นขั้นตอนแรกที่สุดก็จริง แต่มีความสำคัญเพราะ จะเป็นฐานในการพิจารณาของคณะกรรมการและหน่วยงาน ในลำดับที่สูงขึ้นไป จนมาถึงตัวรมว.คลัง ผู้มีหน้าที่ที่จะพิจารณาให้ดำเนินการหรือไม่ดำเนินการอย่างไร เมื่อครั้งที่ตนทำหน้าที่จะพิจารณาทุกเรื่องที่มาถึงด้วยความรอบคอบที่สุด ก่อนสั่งการในหลายกรณีเหล่านั้น เคยสั่งการทั้งยุติและชะลอการดำเนินการในเรื่องที่มีการพิจารณามาด้วยความไม่รอบคอบทั้งที่ผู้ถูกกล่าวหาหลายคนในกรณีเหล่านี้มาจากคนละฟากฝั่งทางการเมือง

ชี้คนสงสัยเร่งรีบรวบรัด

      นายกิตติรัตน์ระบุด้วยว่า บางเรื่องเห็นได้ว่าฝ่ายประจำเร่งรัดเรื่องราวอย่างเอาอกเอาใจฝ่ายนโยบาย ถึงขนาดที่การพิจารณาในกระบวนการทางอาญาของศาลสถิตยุติธรรมยังไม่มีความชัดเจน วันนี้รู้สึกดีใจ ภูมิใจที่ไม่เคยทำงานอย่างรวบรัด ไม่รอบคอบ จนเป็นเครื่องมือประหัตประหารฝ่ายอื่นหรือเอื้อประโยชน์แก่ฝ่ายตน 

      "ผมเคยรู้จักท่านรัฐมนตรีในฐานะที่เป็นคนตรง และมีความสามารถ จึงขอเรียนว่าคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงของกระทรวงการคลังคณะนี้ ปฏิบัติหน้าที่อย่างรวบรัดเร่งรีบจนสังคมสามารถตั้งข้อสงสัยว่ามีความจงใจ ไม่ให้ความเป็นธรรม เป็นฐานรากแห่งการทำงานมาตั้งแต่ต้นหรือไม่ โปรดตรวจสอบทักท้วงเสียก่อนที่เรื่องราวจะไปไกลจนแก้ไขได้ยาก และก็ย่อมต้องวนเวียนกลับมาในความรับผิดชอบของท่านอยู่ดี" นายกิตติรัตน์กล่าว

ห้ามขรก.ประกันคดีค้ามนุษย์

    เมื่อวันที่ 18 ก.ย. ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ และการทำประมงผิดกฎหมาย (ไอยูยู) ครั้งที่ 1/2558 

นายวิเชียร ชวลิต ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการฯ แถลงผลการประชุมว่า ที่ประชุมพิจารณาระเบียบสำนักนายกฯ ว่าด้วยการป้องกันเจ้าหน้าที่ของรัฐมิให้เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ พ.ศ.2558 โดยจะออกข้อกำหนด ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์ใหม่ในการกำกับดูแลเจ้าหน้าที่ หากมีเจ้าหน้าที่กระทำการดังกล่าว ต้องเข้าสู่คณะกรรมการตรวจพิจารณาการใช้อำนาจทางการบริหารเพื่อดำเนินการทั้งวินัยและคดีอาญาด้วย 

    นายวิเชียร กล่าวอีกว่า นายกฯ ได้ยกตัวอย่างว่าการที่ข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ไปแสดงตน ใช้อำนาจหน้าที่หรือตำแหน่งประกันตัวผู้ต้องหา หรือคนที่ถูกกล่าวหา ถือเป็นการปกป้องหรือแสดงการคุ้มครอง ซึ่งเป็นเรื่องร้ายแรง ไม่สามารถทำได้ โดยระเบียบดังกล่าวจะแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ และที่ประชุมเห็นชอบในหลักการ และจะดำเนินการในรายละเอียดเสนอ ครม. เพื่อออกเป็นระเบียบสำนักนายกฯ ต่อไป โดยนายกฯ กำชับว่าจะต้องทำให้เสร็จและมีผลบังคับใช้ในวันที่ 15 ต.ค.นี้

     พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ย้ำให้มาตรการของไทยเป็นไปตามหลักสากล เพื่อยกระดับการทำประมงในไทยให้ดีขึ้น ป้องกันการประมงผิดกฎหมาย ซึ่งอียูให้เราพัฒนากฎหมายให้เสร็จภายในวันที่ 15 พ.ย.นี้ หากพบว่ามีเจ้าหน้าที่เข้าไปเกี่ยวข้องจะถูกลงโทษอย่างเด็ดขาด 

      "วันที่ 12 ต.ค. เจ้าหน้าที่ของอียูจะเข้ามาสังเกตการณ์การแก้ปัญหาของไทย และวันที่ 19-23 ต.ค.นี้ ผู้บริหารระดับสูงจะเข้ามาดูอีกครั้ง ถ้าเรามีความพร้อม หากไม่พร้อมก็ต้องไปเล่นงานเจ้าหน้าที่ที่ทำให้ไม่พร้อม ถ้าเราไม่ทำต่อไปจะมีปัญหา หาปลาก็ไม่ได้ แล้วจะทำอย่างไร" พล.อ.ประวิตรกล่าว

คสช.คุมเข้มรำลึกปฏิวัติ 9ปี

       เมื่อวันที่ 18 ก.ย. พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร รมช.กลาโหม และผบ.ทบ. ในฐานะเลขาธิการ คสช. ให้สัมภาษณ์ถึงกลุ่มขบวนการประชาธิปไตยใหม่จะจัดกิจกรรมเสวนาและกิจกรรมแสดงสัญลักษณ์ระลึกถึงเหตุการณ์ 9 ปี รัฐประหาร 19 ก.ย. 2549 ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ในวันที่ 19 ก.ย.นี้ว่า มอบให้กองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย (กกล.รส.) ของกองทัพภาคที่ 1 ทำความเข้าใจว่าการจัดกิจกรรมต่างๆ ถ้าไม่กระทบต่อความสงบเรียบร้อยจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยว แต่จะติดตามทุกการเคลื่อนไหว วันนี้พล.ท.กัมปนาท รุดดิษฐ์ แม่ทัพภาคที่ 1 ในฐานะผบ.กกล.รส. จะประชุมเพื่อประเมินการจัดกิจกรรมดังกล่าวให้อยู่ในกรอบได้อย่างไร ป้องกันไม่ให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย 

      ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กกล.รส.ได้ส่งเจ้าหน้าที่ทหาร พร้อมทำหนังสือถึงกลุ่มขบวนการประชาธิปไตยใหม่ ชี้แจงแนวทางการจัดเสวนาและกิจกรรมแสดงสัญลักษณ์ระลึกถึงเหตุการณ์ 9 ปี รัฐประหาร 19 ก.ย. 2549 ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ในวันที่ 19 ก.ย.นี้ โดยระบุว่า เบื้องต้น คสช.อนุญาตให้จัดภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ แต่ไม่ให้ออกมารณรงค์นอกพื้นที่ ซึ่งโดยหลักแล้วไม่ควรจัดกิจกรรมดังกล่าว อย่างไรก็ตาม จะมีเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าไปดูแลความเรียบร้อยอีกครั้ง

       ด้านนายรังสิมันต์ โรม แกนนำกลุ่มขบวนการประชาธิปไตยใหม่ กล่าวว่า การจัดงานครั้งนี้มีผู้ร่วมดำเนินงาน 4-5 คน และยื่นหนังสือขออนุญาต คสช.แล้ว แต่ยังไม่ได้รับคำตอบ ยืนยันว่าวันที่ 19 ก.ย. เวลา 13.00 น. จะจัดงานอย่างแน่นอน ที่ห้องประกอบ หุตะสิงห์ ชั้น 3 อาคารอเนกประสงค์ 1 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ โดยเชิญวิทยากรมาร่วมเสวนา ในหัวข้อ "9 ปีก้าวไม่พ้นรัฐประหาร 19 ก.ย." เช่น น.ส.พวงทอง ภวัครพันธุ์ นางเยาวลักษณ์ อนุพันธุ์ นายสมบัติ บุญงามอนงค์ นายปกรณ์ อารีกุล จากนั้นในเวลา 17.00-22.00 น. จะตั้งขบวนและเดินมาบริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ก่อนแยกย้ายกลับ

 

วิษณุ แย้มกม.พิสดาร ชูพรรคใหม่ ลดพท.-ปชป.ได้เปรียบ นับหนึ่งตีทะเบียนอีกรอบ แย้งอ๋อยชงสูตร 3-3-3-2 สะพัดดึงเจ๊หน่อยนั่งสปท. 22 นายพลเฮ-ภท.ส่งปู่ชัย คสช.เบรกงานรำลึก 19 กย.

มติชนออนไลน์ :

    2 พรรคใหญ่มีหนาว 'วิษณุ'เชื่อ กม.พรรคการเมืองฉบับใหม่มี'พิสดาร' เปรยเก่าอาจต้องจดทะเบียนใหม่ ปิดทางได้เปรียบพรรคใหม่ โต้สูตร'อ๋อย'ร่นโรดแมปเร็วเกิน ยันมีขั้นตอนมาก ต้องเผื่อเวลาให้พรรค-นักการเมืองหน้าใหม่ด้วย 

 

'บิ๊กตู่'เผยต้องดูสุขภาพ'มีชัย'ด้วย

      เมื่อวันที่ 18 กันยายน ที่อิมแพค เมืองทองธานี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้สัมภาษณ์ถึงกระแสข่าวว่า นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ที่ปรึกษา คสช.ตอบรับเป็นประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ว่า "ผมยังไม่ได้ติดต่อท่านเลย ผมเห็นแต่ข่าวบนหน้าหนังสือพิมพ์ แต่ใครติดต่อผมไม่ทราบ และผมยังไม่ได้ติดต่อใครสักคน"

ผู้สื่อข่าวถามว่า มอบหมายให้ใครเป็นผู้ไปติดต่อหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า "ยังไม่เคยคุยกับใคร ยังไม่ได้คุยเลย ยังไม่ได้มอบหมายใคร แต่เขาไปคุยกันเองละมั้ง ใครไปคุยกันมา เดี๋ยวเขาก็ส่งมาที่ผม" เมื่อถามว่าคุณสมบัตินายมีชัยครบถ้วนสมบูรณ์ที่จะเป็นประธาน กรธ.หรือไม่ นายกฯกล่าวว่า "สุขภาพท่านแข็งแรงหรือเปล่าไม่รู้ ก็ต้องดูสุขภาพของท่านด้วย"

เมื่อถามว่านายกฯจะมีโอกาสพูดคุยกับนายมีชัยหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า "เมื่อถึงเวลาก็ต้องคุยซิ แต่ไม่ใช่ว่านายมีชัยจะใช่คนที่จะเข้ามาเป็นประธาน กรธ. ผมทราบว่าท่านบอกผ่านมาทางนายวิษณุ เครืองาม รองนายกฯ ว่าท่านจะไม่รับ คือนายวิษณุท่านรู้จักฝ่ายกฎหมาย ท่านก็ไปถามคนรู้จักของท่าน ทุกคนทุกฝ่ายก็จะไปถามคนของท่าน เมื่อได้แต่ละกลุ่มก็จะนำรายชื่อทั้งหมดมารวมกัน และพิจารณาร่วมกัน แล้วผมจะเป็นคนตัดสินใจ"

   พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า วันที่ 22 กันยายนนี้ จะประชุมร่วม ครม.และ คสช. แต่ไม่ได้หมายความว่าจะได้ตัวประธาน กรธ. ไว้รอให้กลับมาจากการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติก่อน กลับมาเมื่อไรก็ให้ส่งมาเมื่อนั้น โดยให้คณะทำงานในส่วนของรองนายกฯ ที่ตนมอบหมายได้คุยกันไปก่อน กลับมาแล้วตนถึงเป็นผู้ตัดสินใจ

'บิ๊กตู่'ท้าชกปากคนเลว

     เมื่อถามว่า ที่บ่นว่าเจ็บคอวันนี้หายแล้วหรือยัง พล.อ.ประยุทธ์กล่าวทีเล่นทีจริงว่า "เจ็บมากเลย แต่พอเจอหน้าพวกสื่อก็ดีขึ้นเลย ส่วนที่พูดในห้องว่าอยากจะชกปากใครนั้นจริงๆ แล้วอยากจะชกปากตัวเอง มันลงโทษใครไม่ได้หรอก เพราะเราทำตัวเอง ที่เจ็บคอก็เพราะว่าพูดมากไง"

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในช่วงท้ายการกล่าวปาฐกถาหัวข้อ "ขับเคลื่อน SMEs ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย" พล.อ.ประยุทธ์ได้สอบถามว่าใครมีอะไรสงสัยหรือไม่ โดยหันไปถาม พล.ต.ท.อำนวย นิ่มมะโน ผบช.ภ.1 ว่า "พี่นวย มีปัญหาอะไรหรือไม่ ตอนนี้ตำรวจดีๆ มีเยอะ ถ้าไม่มีตำรวจน่ะยิ่งกว่านี้ ทุกอย่างมันอยู่ที่คนสั่ง อย่าไปเกลียดชังเขาเลย ถ้าไม่มีตำรวจไปจ้างยามเอาไหม มีคนเสนอว่าไม่ต้องมีตำรวจ ไม่ต้องมีทหาร มีมาทำไม ทหารไม่ทำอะไรปฏิวัติอย่างเดียว แล้วพวกมึงทำเลวกันรึเปล่าเล่า ถ้าทำดีแล้วใครจะทำ ทำดีแล้วผมจะมายืนตรงนี้ทำไม ผมเองอายเขา เสี่ยงทุกอย่างเข้ามา แล้วมาพูดกันอย่างนี้มาชกปากกันไหม"

ยันกก.ยุทธศาสตร์ไม่ทับรบ.ใหม่

     ต่อมาเวลา 20.15 น. พล.อ.ประยุทธ์กล่าวผ่านรายการ "คืนความสุขให้คนในชาติ" ว่า รัฐบาลและ คสช.ยังคงมีหน้าที่นำพาประเทศฝ่าฟันอุปสรรคต่อไปอีกระยะหนึ่งตามโรดแมป ในระยะที่ 2 นับจากกันยายน 2558 -กรกฎาคม 2560 หรือน้อยกว่านั้น จะมีคณะกรรมการขับเคลื่อนต่างๆ อีกหลายคณะ มีคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพิ่มขึ้นอีก ที่นายกฯแต่งตั้งไว้ช่วยงานรัฐบาลทั้ง 3 ด้าน ด้วยการผนวก 11 ประเด็นปฏิรูปของ คสช. เข้ากับข้อเสนอของสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) 36 ประเด็นปฏิรูป กับอีก 7 ประเด็นพัฒนา รวมทั้งนโยบายใหม่ๆ ของรัฐบาลเป็นแนวทาง 

พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า สำหรับสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) จะทำหน้าที่ต่อจาก สปช. จะมาทบทวน มาจัดระเบียบ มาทำให้สอดคล้องเข้ากับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แล้วหาวิธีการว่าจะทำอย่างไรกันต่อไป เพื่อจะทำให้สิ่งเหล่านั้นปฏิบัติได้โดยที่ไม่ไปทาบทับอำนาจในเชิงบริหารอย่างที่ทุกคนเกรงกลัวกัน เกรงว่าคณะกรรมการฯ ถ้ามีขึ้นมาแล้วจะไปทาบทับกับอำนาจของรัฐบาลมาจากการเลือกตั้ง ตนยืนยันเจตนารมณ์ ไม่เคยคิดแบบนั้นเลย มีแต่ว่าจะช่วยเขาอย่างไร ต้องให้เกียรติซึ่งกันและกัน

ขอให้วางใจตั้งคนนั่ง'กรธ.-สปท.'

     "เรื่องจัดตั้ง ไม่ว่าจะเป็นคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) และ สปท.นั้น ผมกำลังพิจารณาอยู่ ขอให้ไว้วางใจกันหน่อย การร่างหรือการพิจารณาอะไรก็ตาม ไม่ได้ปิดลับ ให้รับรู้ไปตลอดระยะเวลาที่ดำเนินการอยู่ทั้งหมด อย่ามาลงว่าผมจะต้องเป็นคนชี้ต้องเป็นอย่างนั้น ต้องเป็นอย่างนี้ ผมเพียงแต่ว่าแสดงความคิดเห็นเหมือนกับท่าน เพราะท่านแสดงความคิดเห็นกันทุกคน ทุกภาค ทุกการเมือง แสดงออกมาตลอดนะ ผมถือว่าในเมื่อบอกว่าผมต้องให้ความยุติธรรม ให้ความเป็นธรรม ผมจะเสนอของผมบ้าง" พล.อ.ประยุทธ์กล่าว

นายกฯกล่าวว่า สัปดาห์ที่ผ่านมานั้นมีประชุม ครม. คสช. สนช.ร่วมกัน ตนให้แนวทางในการคัดเลือกบุคคลว่าจะต้องเป็นคนที่มีความรู้ความสามารถจากทุกภาคส่วน เป็นคนดี มีคุณธรรม เป็นคนที่ทำเพื่อชาติ บ้านเมือง คนเหล่านี้ก็ไม่ได้มาจากไหน มาจาก สปช.เดิมบ้าง นักกฎหมาย นักวิชาการ ฝ่ายความมั่นคง ข้าราชการทั้งเกษียณ ไม่เกษียณ ภาคประชาสังคม ภาคประชาชน มีหมด ทหารก็มี แต่ไม่มาก

'วิษณุ'ให้ถาม'มีชัย'เองนั่งปธ.กรธ.

     ที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายกฎหมาย กล่าวถึงกรณีกระแสข่าวที่ระบุว่านายมีชัย ฤชุพันธุ์ ที่ปรึกษาคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และอดีตประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ตอบรับเป็นประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ว่า เห็นจากหนังสือพิมพ์บางฉบับพาดหัวข่าว ไม่ทราบข้อเท็จจริง และขณะนี้นายมีชัยอยู่ต่างประเทศ เป็นตัวแทนรัฐบาลไปประชุมอธิบายข้อกฎหมายเกี่ยวกับประมงให้สหภาพยุโรป (อียู) 

เมื่อถามว่า มีการทาบทามนายมีชัยเป็นประธาน กรธ.หรือไม่ นายวิษณุกล่าวว่า ไม่ทราบ ไม่ได้เป็นคนทำเรื่องนี้ และจนถึงวันนี้ นายกฯและหัวหน้า คสช. ไม่ได้หารือหรือปรึกษาแต่อย่างใด และเข้าใจว่าในเวลานี้นายกฯคงไม่ได้ปรึกษาใคร เพราะเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาที่เหลืออยู่ก่อนจะเดินทางไปต่างประเทศ และตนก็ยังไม่รู้ว่านายมีชัยยอมรับจริงหรือไม่ และก็ไม่ควรไปเดา ให้นายมีชัยกลับมาแล้วก็ไปถามกันเอาเอง 

เผย'มีชัย'เคยบอกไม่อยากทำ

      "ตอนที่ทำรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขเพิ่มเติมนั้น ท่าน(นายมีชัย) ยังพูดทีเล่นทีจริงเลยว่าจะเขียนคุณสมบัติอย่างไรก็ตามขอให้เขียนแล้วท่านขัดต่อคุณสมบัติด้วยเถอะ ท่านกระเซ้าผมว่าให้ช่วยเขียนหน่อย ให้ท่านขาดคุณสมบัติ ผมยังบอกไปเลยว่าอย่างนั้นก็เขียนลงไปเลยว่าห้ามชื่อมีชัย (หัวเราะ) เป็นการพูดเล่นกันในตอนนั้น เพราะท่านไม่อยากทำ แต่ถ้าสมมุติว่าจวนตัวแล้ว หาคนยาก แล้วทุกฝ่ายยินยอมพร้อมใจ ก็อาจจะมีใครรับไปคุยกับท่านก็ได้ แต่ผมไม่พูดเรื่องนี้ เพราะผมทราบเจตนาของท่านแล้ว ผมจึงไม่ควรเป็นฝ่ายไปพูด แต่คนอื่นจะไปพูดก็ไม่เป็นไรเพราะถือว่าเขาไม่เคยรู้เจตนา" นายวิษณุกล่าว

     เมื่อถามว่า แสดงว่าจะปล่อยให้นายมีชัยตัดสินใจเอง นายวิษณุกล่าวว่า "เอาให้แน่ก่อนว่ามีคนไปชวนนายมีชัย เพราะไม่เช่นนั้นเดี๋ยวจะเหมือนนายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกฯ ที่ระบุว่ายังไม่มีใครมาเชิญ หากมาเชิญแล้วจะรับหรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ในเมื่อยังไม่มีใครเชิญ แล้วจะมาถามข้ามขั้นว่ารับหรือไม่ เดี๋ยวก็หน้าแตกกันไปหมด" 

ชี้หลายคนหวั่นเว้นวรรค 2 ปี

      เมื่อถามว่า จะไปเชิญนายอานันท์หรือไม่ นายวิษณุกล่าวว่า มาถามตนไม่ได้ เพราะไม่ใช่หน้าที่ และไม่ทราบ อย่างไรก็ตามหากมีใครมอบหมายมาก็ต้องทำ แต่ไม่มีใครมอบหมาย หรือมอบหมายใครอยู่หรือไม่ ก็ไม่ทราบ อย่างที่บอกว่าก่อนวันที่ 22 กันยายน จะต้องได้รายชื่อ แต่ไม่จำเป็นต้องประกาศ เนื่องจากต้องใช้เวลาในการตัดสินใจ เพราะบางคนต้องไปลาออกเพื่อให้ถูกต้องตามคุณสมบัติ เมื่อนายกฯเดินทางกลับจากต่างประเทศวันที่ 1-2 ตุลาคม จะได้มาดู และถ้าทุกอย่างเรียบร้อย ไม่มีปัญหาอะไร ก็สามารถประกาศในวันเดียวกันนั้นได้ 

"ตอนนี้หลายคนกำลังติดเงื่อนไขหนึ่งคือจะต้องเว้นวรรคสองปี ดังนั้นการติดต่อทาบทามต้องบอกกันให้ชัดเจนว่าเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญชั่วคราวไม่ต้องการให้รับตำแหน่งทางการเมืองสองปี เมื่อครั้งเชิญ 36 คนมาเป็นคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ นายบวรศักดิ์ (อุวรรณโณ ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างฯ) ไปสมัคร คปก. (คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย) ทั้งที่ไม่ใช่ตำแหน่งทางการเมือง แต่ก็พูดกันเสียจนนายบวรศักดิ์ต้องขอถอนตัวและลาออก ดังนั้นจึงต้องทำความเข้าใจกับคนที่จะมาเป็น กรธ.ด้วย" นายวิษณุกล่าว 

โต้สูตร'อ๋อย'ร่นโรดแมปเร็วไป

       นายวิษณุกล่าวว่า ที่นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการพรรคเพื่อไทย (พท.) เสนอให้ร่นเวลาโรดแมปเป็นสูตร 3-3-3-2 หรือ 3-3-3-3 (จากสูตรรัฐบาล 6-4-6-4) ว่า ไม่ว่าอะไร เพราะตนพูดในเชิงคาดหมายในซีกของรัฐบาล และบอกไปชัดว่าเป็นการพูดให้ยาวไว้ก่อน ต่อจากนั้นจะเจรจาลดกันลงมาอย่างไรก็จะทำ เมื่อรู้ว่า 6 เดือนหรือ 4 เดือนไปอยู่ในอำนาจใคร ฟุตบอลเข้าเท้าใคร 6 เดือนแรกอยู่ในอำนาจของกรธ. ก็ต้องเจรจากับ กรธ. 4 เดือนหลังเป็นอำนาจคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เรื่องประชามติต้องเจรจากับ กกต. 6 เดือนถัดมาเป็นเรื่องการทำกฎหมายลูก ต้องพูดกับ สนช. และ 4 เดือนสุดท้ายเป็นเรื่องการเตรียมการเลือกตั้ง เรื่องนี้คงพูดกับใครไม่ได้ เพราะถ้ารัฐธรรมนูญกำหนดให้หาเสียงเลือกตั้ง 3 เดือน ก็ต้อง 3 เดือน แล้วที่โผล่มาเป็น 4 ก็เพราะ 1 เดือนกำหนดเวลาทูลเกล้าฯกฎหมายลูก 6 ฉบับลงพระปรมาภิไธย 

      "เมื่อกฎหมายลูกลงมาจึงไปปล่อยให้หาเสียงได้อีก 3 เดือน เพราะฉะนั้น 1 เดือนดังกล่าว คงไปเจรจากับใครไม่ได้ จะช้าหรือเร็วก็เป็นพระมหากรุณาธิคุณ ดังนั้น 1+3 = 4 เอาเป็นว่าแค่ช่วงสุดท้ายนายจาตุรนต์เสนอให้ลดจาก 4 เหลือ 2 เดือน นายจาตุรนต์รวมเวลาถวายร่างกฎหมายให้ลงพระปรมาภิไธยและลงราชกิจจานุเบกษาด้วยแล้วหรือยัง แล้วสมมุติว่าคงกะว่าถวายวันนี้ แล้วลงพระปรมาภิไธยพรุ่งนี้อย่างนั้นหรือ หากเป็นอย่างนั้นได้ การหาเสียงเลือกตั้งก็คงคิดว่า 2 เดือนเพียงพอ ซึ่ง 2 เดือนนั้นพอสำหรับพรรคเพื่อไทย (พท.) และพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ที่เขาตั้งไว้เรียบร้อยแล้ว" นายวิษณุกล่าว

เชื่อ'กม.พรรค'ใหม่มีพิสดาร

      นายวิษณุกล่าวว่า แต่สำหรับคนที่จะตั้งพรรคการเมืองขึ้นมาใหม่ เขาตั้งไม่ทัน บางคนอาจบอกว่าทำไมถึงไม่ทัน ถ้าตั้งเสียแต่วันนี้ แล้ววันนี้ตั้งได้เสียที่ไหน เพราะมีประกาศ คสช.ห้ามตั้งพรรคการเมือง ดังนั้น ถ้าถามว่าเมื่อไรจะตั้งได้ ก็เมื่อตอนที่กฎหมายพรรคการเมืองที่จะออกมาคราวหน้า แล้วกฎหมายฉบับใหม่นั้น ก็ยังไม่รู้ว่ามีการกำหนดเงื่อนไขใดๆ ที่พิสดารไปกว่าปัจจุบันนี้หรือไม่ 

      "ผมเชื่อว่าพิสดารด้วย ดังนั้น เมื่อพิสดาร พรรค พท.กับพรรค ปชป.ก็เผลอๆ จะต้องไปจดทะเบียนตั้งพรรคใหม่ กว่าจะตั้งพรรคเสร็จ กว่าจะหาสมาชิก กว่าจะลงหาเสียง จัดพิมพ์โปสเตอร์ 2 เดือนแค่นั้นก็ไม่ทัน ถึงได้ให้ไว้ 3 เดือน นี่คือตัวอย่างว่าจะลดได้ไม่ได้ จึงไม่จำเป็นต้องมาต่อปากต่อคำ ต่อล้อต่อเถียง ผมก็ไม่เถียงด้วย เพราะจะลดเป็น 1-1-1-1 ผมก็ไม่ว่า ขอให้จัดการให้ได้เท่านั้น หรือบางคนบอกว่าจะเป็น 4-1-4-1 ก็ไม่ว่า รวมแล้ว 10 เดือน เพียงแต่ขอให้จัดการได้เท่านั้น ก็ขออนุโมทนาสาธุด้วย ไม่ว่าอะไร แต่ในฐานะที่รู้อยู่ว่าทุกอย่างมีขั้นตอนและไม่ใช่ง่าย แต่จะพยายามเจรจากับผู้ที่เกี่ยวข้องว่าขอให้ท่านไปพิจารณาปรับลดเอง แล้วผมจะได้ประกาศระยะเวลาโรดแมปใหม่ให้ แต่ครั้งนี้กำหนดไปก่อนเพื่อไม่ให้ใครมาชิงพูดว่า 24 เดือน หรือยาวกว่า 20 เดือน แต่เมื่อกำหนดอย่างนี้แล้วค่อยลดลง มันก็กำไรทั้งนั้น เหมือนขายของ บอกราคาไป 200 บาท ก็ดูว่าคุณจะหยุดซื้อหรือคุณจะเดินเลยไปหรือจะเจรจาต่อกันให้เหลือ 160 ก็อีกเรื่องหนึ่ง" นายวิษณุกล่าว

เปรยไม่ให้พรรคเก่าได้เปรียบ

       เมื่อถามว่า ที่ระบุว่ากฎหมายพรรคการเมืองจะมีพิสดารแล้วอาจทำให้พรรค พท.และพรรค ปชป.ต้องจดทะเบียนพรรคการเมืองใหม่นั้น แปลว่าอะไร นายวิษณุกล่าวว่า ไม่บอก แต่พูดเผื่อไว้เพราะกฎหมายพรรคการเมืองต้องเขียนตามรัฐธรรมนูญ ขณะนี้ยังไม่รู้ว่ารัฐธรรมนูญจะเขียนอย่างไร รัฐธรรมนูญฉบับของนายบวรศักดิ์ 285 มาตรา ก็เห็นหน้าตากันหมด นี่ก็เป็นตัวอย่างว่า ถ้ารัฐธรรมนูญฉบับนั้นได้ใช้บังคับ กฎหมายพรรคการเมืองต้องออกใหม่ ไปอ่านดูก็แล้วกันว่าถ้าฉบับของนายบวรศักดิ์ออกมา พรรคที่มีอยู่แล้วต้องไปตั้งพรรคขึ้นใหม่อย่างไรหรือไม่ แล้วคิดว่าฉบับที่ออกมาใหม่นั้นจะไม่กำหนดหรือ 

       "เพราะรัฐธรรมนูญใหม่ที่จะออกมาต้องให้ความเป็นธรรมกับทุกพรรค ในการกำหนดใดๆ บางอย่าง เพราะฉะนั้นการที่จะบอกว่า พอประกาศใช้กฎหมายลูกแล้วอีก 7 วันเลือกตั้งกันเลย ก็คือการเอื้อให้พรรคการเมืองที่มีอยู่แล้วได้เปรียบ หมายถึงพรรคที่มีการบริหารอยู่แล้ว มีทุน มีสมาชิก มีหัวคะแนนอยู่แล้วจะได้เปรียบ ในทางการเมืองจะยอมอย่างนั้นไม่ได้ เพราะต้องเปิดโอกาสให้กับทุกคน ทุกพรรค" นายวิษณุกล่าว 

ชี้ต้องเปิดโอกาส-ให้เวลาพรรคใหม่

      นายวิษณุกล่าวว่า การที่นายจาตุรนต์ระบุว่าให้เลือกตั้งภายใน 45 วัน คงหมายถึงเท่าที่พรรคการเมืองปัจจุบันบริหารงานกันอยู่ แต่การเลือกตั้งคราวต่อไป หลังประเทศว่างเว้นการเลือกตั้งมาหลายปี และพรรคการเมืองหยุดทำกิจกรรมมานานหลายปี การจะฟื้นกิจกรรมหาเสียงเลือกตั้ง ก็ต้องอย่าลืมว่านี่คือการตั้งผู้แทนราษฎร การตั้งรัฐบาล ดังนั้น ต้องให้โอกาสคนใหม่ที่เขายังไม่เคยได้เข้ามามีโอกาสด้วย ตรงนี้ก็ต้องให้เวลา

เมื่อถามย้ำว่า หากจะเกิดความพิสดารอย่างนั้น แสดงว่าทุกคนจะต้องมาเริ่มนับหนึ่งใหม่หมดเลยใช่หรือไม่ นายวิษณุกล่าวว่า คงไม่ เพราะบางพรรคมีทุนเดิมอยู่ก็ใช้ได้ มีสมาชิกพรรคอยู่ก็เอามาได้ แต่สำหรับพรรคใหม่ไม่มีสมาชิกเลยแม้แต่คนเดียว ก็ต้องมาหาสมาชิก เพียงแค่กรอกแบบฟอร์มก็ไม่ใช่เรื่องง่ายแล้ว เพราะฉะนั้น2 พรรคใหญ่จะได้เปรียบ แต่จะเอาเปรียบทั้งหมดไม่ได้ ต้องเปิดโอกาสให้คนอื่นเขาบ้าง เพราะมีต้นทุนอยู่บ้างแล้ว ก็ต้องเผื่อคนที่ไม่มีต้นทุนด้วย จะเอาต้นทุนทั้งหมดมาใช้ 100% คงไม่ได้ ต้องมีอะไรบางอย่างที่ต้องทำเพิ่มเติม

ปม'พิสดาร'พรรคตีทะเบียนใหม่

     รายงานข่าวแจ้งว่า ที่นายวิษณุระบุว่ากฎหมายพรรคการเมืองฉบับใหม่จะมีความพิสดารที่พรรค ปชป.และพรรค พท.อาจต้องจดทะเบียนพรรคใหม่นั้น อาจมาจาก กมธ.ยกร่างฯชุดนายบวรศักดิ์ เห็นว่าวิกฤตการเมืองครั้งนี้ต่างจากครั้งที่ผ่านมา จำเป็นต้องมีการปฏิรูปการเมือง โดยมีพรรคการเมืองเป็นส่วนหนึ่งของปัญหา จึงกำหนดเนื้อหาไว้ในภาค 2 ผู้นำการเมืองที่ดีและระบบผู้แทนที่ดี หมวด 1 เพื่อหวังจะให้เกิดการปฏิรูปพรรคการเมืองเมื่อมีการเลือกตั้งไม่ให้มีปัญหาอีก ขณะเดียวกันก็มีแนวทางคิดการร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยพรรคการเมือง ด้วยการจะกำหนดให้พรรคการเมืองที่มีอยู่ไปจดทะเบียนใหม่ แต่อาจมีการยกเว้นให้ใช้ชื่อเดิมได้

'ทวีศักดิ์'พร้อมนั่งกก.ยกร่างฯ

       นายทวีศักดิ์ สูทกวาทิน สมาชิก สนช.ให้สัมภาษณ์ผ่านรายการห้องข่าวรัฐสภาทาง สถานีโทรทัศน์รัฐสภา ถึงกรณีมีชื่อเป็น กรธ.ในสัดส่วนของ สนช. ว่าเป็นความเห็นของนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช. ต้องขอขอบคุณที่ระบุว่าตนเป็นหนึ่งใน สนช.ที่มีคุณสมบัติไปร่วมเป็น กรธ.ได้ แต่สุดท้ายก็ต้องขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของ คสช. ว่าเห็นสอดคล้องกับนายพรเพชรหรือไม่ 

เมื่อถามว่า มีความพร้อมหรือไม่หากมีชื่อเป็น กรธ. นายทวีศักดิ์กล่าวว่า ตนเข้ามาเป็น สนช. ก็มีบทบาทหน้าที่ทางนิติบัญญัติอยู่แล้ว ถ้าจะได้รับมอบหมายให้เข้าไปทำหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญก็เป็นเรื่องที่อยู่ในฝ่ายนิติบัญญัติ ตนก็พร้อมและยินดีหากได้รับความไว้วางใจ

หึ่งคสช.ทาบกลุ่ม'เจ๊หน่อย'นั่ง'สปท.'

       ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มีกระแสข่าวว่า ทาง คสช.มีการทาบทามกลุ่มของคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ แกนนำภาค กทม. พรรคเพื่อไทย (พท.) ให้ส่งคนเข้าร่วมเป็น สปท. ซึ่งทางคุณหญิงสุดารัตน์เองยังมีท่าทีแบ่งรับแบ่งสู้ เพราะแม้จะมีความสนิทกับทางผู้ใหญ่ใน คสช. แต่ก็ยังมีความเกรงใจผู้ใหญ่ในพรรค พท.เช่นกัน

แหล่งข่าวระดับสูงจากพรรค พท. กล่าวว่า กรณีที่มีการเรียกร้องให้พรรคการเมืองส่งตัวแทนเข้าร่วม สปท.นั้น พท.ยังมีจุดยืนชัดเจนที่จะไม่ส่งตัวแทนไปเข้าร่วมเป็น สปท.อย่างแน่นอน อย่างไรก็ตาม ทางพรรคไม่ได้ปิดกั้นหากจะมีสมาชิกพรรคคนใดประสงค์จะไปร่วมเป็น สปท. เพราะถือเป็นสิทธิ แต่จะต้องลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรค พท.ทันที ทั้งนี้ แกนนำพรรคแจ้งเรื่องดังกล่าวให้สมาชิกรับทราบแล้ว

'ตู่'ลั่นพท.นั่งสปท.-แยกทางเดิน

     นายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) กล่าวผ่านรายการ "มองไกล" ตอนหนึ่งว่า การจะแต่งตั้ง สปท.โดยเปิดพื้นที่ให้พรรคการเมืองและกลุ่มการเมืองเข้าร่วมนั้น ในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ตนไม่เห็นด้วยที่จะนำคนมีปัญหาสุขภาพและแสดงความจำนงไม่ลงเลือกตั้งเข้าร่วม สปท. เพราะขนาดในสภาปกติยังไม่ไหว แล้วไปอยู่ใน สปท. 5 ปี จะขับเคลื่อนประเทศได้อย่างไร เหมือนเอาคนไฟมอดไปปฏิรูป ไม่ถูกต้องเป็นการปฏิสังขรณ์มากกว่า หวังว่าพรรคอื่นคงไม่คิดอะไรเช่นนี้

      นายจตุพร กล่าวว่า ส่วน นปช.ขอประกาศชัดว่าไม่ขอให้สมาชิก นปช.เข้าร่วมเด็ดขาด ใครก็ตามที่เข้าไปร่วมโดยอ้างความเป็นเสื้อแดงหรือ นปช. องค์กร นปช. ภายใต้ที่ตนเป็นประธานจะไม่ร่วมสังฆกรรม นานาสังวาส พูดง่ายๆ ผีไม่เผาเงาไม่เหยียบกัน ขอให้พรรค พท.ประกาศชัดเจนด้วยว่าจะไม่ส่งญาติ พี่น้อง บุตรภรรยา หรือใครเข้าร่วม หากพรรค พท.ส่ง ตนในฐานะประธาน นปช.ขอแยกทางเดินกับพรรค พท.โดยเด็ดขาด หากมีใครเข้าร่วมต้องปลดคนนั้นออกจากสมาชิกพรรค 

เตือน'คสช.'คืนอำนาจให้ครบ

      นายจตุพรกล่าวกรณีที่นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ที่ปรึกษา คสช. พร้อมจะเป็นประธาน กรธ. ว่า ไม่เชื่อว่าการเขียนรัฐธรรมนูญจะต้องเป็นใครแล้วจะเดินหน้าไปได้ หากเป็นใครเขียนแล้วเดินหน้าได้ นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ อดีตประธาน กมธ.ยกร่างฯคงไม่มีสภาพตกน้ำป๋อมแป๋มเช่นนี้ สาระการร่างรัฐธรรมนูญไม่อยู่ที่คน แต่อยู่ที่ผู้มีอำนาจว่าต้องการอะไร หากยังคงแนวคิด คปป. ก็ทราบผลลัพธ์อยู่แล้ว หากจะมีก็อยู่เป็น คสช. ไม่ต้องเปลี่ยนชื่อให้เมื่อยตุ้ม ตนไม่ติดใจเรื่องเวลา แต่วันใดที่จะคืนอำนาจให้ประชาชนต้องคืนให้ครบ หากมีความจริงใจขอให้แก้ไขมาตรา 35 รัฐธรรมนูญชั่วคราวด้วย เพราะหากไม่แก้ ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่เกิดขึ้นจะไม่แตกต่างจากรัฐธรรมนูญฉบับนายบวรศักดิ์

       นายจตุพร กล่าวว่า กรณีที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯและหัวหน้า คสช.ระบุว่ามีแมลงสาบคอยแทะประเทศ ไม่ทราบว่าแมลงสาบที่ไหนที่แทะประเทศไทย เคยมีบางพรรคบอกว่าแมลงสาบยิ่งใหญ่กว่าไดโนเสาร์เพราะมันไม่สูญพันธุ์ จนกระทั่งพรรคนั้นถูกเรียกว่าพรรคแมลงสาบ สิ่งที่สำคัญที่สุดแมลงสาบที่คอยแทะประเทศไม่ให้เกิดเสถียรภาพอยู่ในวงจรอุบาทว์ ไม่รู้ว่าหมายถึงแมลงสาบตัวใด

22นายพลนั่งสปท.-ภท.ส่ง'ปู่ชัย'

       ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับการคัดเลือกบุคคลเข้าเป็น สปท. ในส่วนของพรรคภูมิใจไทย (ภท.) มีมติจะส่งนายชัย ชิดชอบ อดีตสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) และอดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร เข้าเป็น สปท. ขณะที่นายทิวา การกระสัง อดีต สปช. จ.บุรีรัมย์ คาดว่าจะได้รับคัดเลือกเป็น สปท. ในโควต้าของอดีต สปช. ที่โหวตไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ 

      นอกจากนี้ คาดว่านายทหารทั้ง 22 คน ที่ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญจะมีชื่อได้รับคัดเลือกให้เป็น สปท.ด้วย อาทิ พล.ท.ฐิติวัจน์ กำลังเอก อดีต สปช.ด้านการเมือง พล.อ.ธวัชชัย สมุทรสาคร อดีต สปช.ด้านการเมือง พล.อ.วิชิต ยาทิพย์ อดีต สปช.ด้านการเมือง พล.อ.อ.มนัส รูปขจร อดีต สปช.ด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม พล.อ.วัฒนา สรรพานิช อดีต สปช.ด้านการบริหารราชการเเผ่นดิน พล.ร.อ.สุรินทร์ เริงอารมณ์ อดีต สปช.ด้านการเมือง พล.อ.จิระ โกมุทพงศ์ อดีต สปช.ด้านกฎหมายละกระบวนการยุติธรรม 

คสช.ยันจัดรำลึก 19 กย.ห้ามเคลื่อน

      นายรังสิมันต์ โรม แกนนำกลุ่มขบวนการประชาธิปไตยใหม่ กล่าวถึงการกิจกรรมแสดงสัญลักษณ์ระลึกถึงเหตุการณ์ 9 ปี รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ในวันที่ 19 กันยายน ว่า การจัดงานครั้งนี้มีผู้ร่วมดำเนินงาน 4-5 คน และยื่นหนังสือขออนุญาต คสช.แล้ว แต่ยังไม่ได้รับคำตอบ ยืนยันว่าในวันที่ 19 กันยายน เวลา 13.00 น. จะจัดงานอย่างแน่นอนที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ โดยจะเชิญวิทยากรมาร่วมเสวนา ในหัวข้อ "9 ปีก้าวไม่พ้นรัฐประหาร 19 ก.ย." เช่น นางพวงทอง ภวัครพันธุ์ นางเยาวลักษณ์ อนุพันธุ์ นายสมบัติ บุญงามอนงค์ นายปกรณ์ อารีวงศ์ เป็นต้น หลังจากนั้นเวลา 17.00-22.00 น. จะตั้งขบวนและเดินไปบริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ก่อนแยกย้ายกลับ

      ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย (กกล.รส.) ส่งเจ้าหน้าที่ทหาร พร้อมทำหนังสือถึงกลุ่มขบวนการประชาธิปไตยใหม่ถึงแนวทางการจัดกิจกรรมดังกล่าว โดยหนังสือดังกล่าวมีเนื้อหาว่า การจัดกิจกรรมทางการเมือง ต้องทำหนังสือชี้แจงรายละเอียดการจัดกิจกรรม เพื่อขอนุญาต คสช. การจัดงานดังกล่าวต้องไม่กระทบต่อความมั่นคงและสร้างความวุ่นวาย และต้องเกิดขึ้นภายหลังการทำหนังสือขออนุญาต คสช.แล้วเท่านั้น ซึ่งในหนังสือขออนุญาตต้องระบุรายละเอียดการจัดงาน กิจกรรมในงานว่ามีอะไรบ้าง และถ้า คสช.อนุญาตก็จะให้จัดภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ไม่ให้ออกมารณรงค์นอกพื้นที่ 

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯและหัวหน้าคสช. กล่าวถึงกรณีจะมีหลายกลุ่มจัดกิจกรรมครบรอบ 9 ปีเหตุ 19 กันยายน ว่า จัดไม่ได้ จะผิดกฎหมาย ไม่ได้ทั้งนั้น เรื่องนี้ต้องไปถาม คสช. 

'วิษณุ'ยัน 30 กย.สรุปแพ่งคดีข้าว

    พล.อ.ประยุทธ์ยังกล่าวกรณีการฟ้องคดีทางแพ่งเพื่อเรียกค่าเสียหายจากโครงการรับจำนำข้าวกับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกฯ ตามกระแสข่าวมูลค่าสูงถึง 5 แสนล้านบาท ว่า ตัวเลขยังไม่ถึงมือตน จะต้องถึงภายใน 1-2 เดือนข้างหน้า ตัวเลขดังกล่าวเป็นตัวเลขขั้นต้น ถ้าขายไม่ได้ตัวเลขก็จะเพิ่มขึ้น เพราะต้องดูว่าของมีเท่านี้ขายได้เท่าไร ถ้าขายได้มากก็ขาดทุนน้อย แต่ถ้านานขายไม่ได้ ติดกฎหมายหรืออะไรต่างๆ มูลค่าความเสียหายก็จะเยอะขึ้น 

นายวิษณุ เครืองาม รองนายกฯกล่าวถึงความคืบหน้าการดำเนินการเรียกค่าเสียหายโครงการรับจำนำข้าว ว่า ในวันที่ 30 กันยายนนี้ ทุกอย่างจะต้องจบภายในชั้นคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง 2 ชุด ที่มีกระทรวงพาณิชย์กับกระทรวงการคลังเป็นผู้รับผิดชอบ เสร็จแล้วจะส่งให้นายกฯอ่าน จากนั้นส่งไปให้คณะกรรมการพิจารณาความรับผิดทางแพ่ง ที่มีอธิบดีกรมบัญชีกลางเป็นประธานพิจารณา โดยคณะกรรมการชุดนี้จะพิจารณาว่าต้องเรียกค่าเสียหายเท่าไร 

     นายวิษณุ กล่าวว่า ปกติเมื่อเรียกค่าเสียหาย ผู้ถูกกล่าวหาจะไม่ยอม และฟ้องกลับรัฐบาลต่อศาลปกครองใน 30 วัน เพื่อให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าว แทนที่รัฐจะเป็นโจทก์ก็กลายเป็นผู้ถูกกล่าวหา ส่วนผู้ถูกกล่าวหาก็กลายเป็นโจทก์ฟ้องเอง แต่ถ้าเขาไม่ฟ้องกลับ ก็ยึดทรัพย์ตามจำนวนที่คณะกรรมการสรุปมา วิธีนี้ใช้มาแล้วคดีของนายเริงชัย มะระกานนท์ อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กรณีก่อให้เกิดความเสียหายจากการนำเงินทุนสำรองระหว่างประเทศไปใช้ในการปกป้องค่าเงินบาทช่วงปี 2539-2540 ส่วนที่มีข่าวว่าจะเรียกค่าเสียหาย น.ส.ยิ่งลักษณ์ 5 แสนล้านบาท และนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ อดีต รมว.พาณิชย์กับพวก 1 หมื่นล้านบาท ว่า ตัวเลขเสร็จแล้ว แต่ไม่ขอตอบ เอาเป็นว่าข่าวที่ออกมาตัวเลขไม่ตรง

'ภูมิ'ยันสู้คดีฟ้องแพ่งจำนำข้าว 

      นายภูมิ สาระผล อดีต รมช.พาณิชย์ กล่าวถึงกรณีที่คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงและกำหนดค่าความเสียหาย และคณะกรรมการว่าด้วยการรับผิดทางแพ่งคดีทุจริตโครงการรับจำนำข้าว ที่มีนายวิษณุ เครืองาม รองนายกฯเป็นประธาน มีมติให้ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายมูลค่า 5.1 แสนล้านบาท แบ่งเป็นโครงการรับจำนำข้าวของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกฯ 5 แสนล้านบาท และโครงการขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ

(จีทูจี) ของนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ อดีต รมว.พาณิชย์ และนายภูมิ มูลค่า 1 หมื่นล้านบาท ว่า ยังไม่ทราบเรื่องนี้ ต้องให้ฝ่ายกฎหมายสู้คดีไปตามขั้นตอน ยังไม่ทราบว่าจะยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองหรือไม่ 

"ทุกอย่างคงต้องว่ากันไปตามกฎหมาย ผมจะพยายามสู้คดี และชี้แจงให้เห็นถึงความตั้งใจจริงในการทำหน้าที่ด้วยความสุจริตใจ อยากขอความกรุณาถึงผู้ที่เกี่ยวข้องว่าการดำเนินการต่างๆ ขอให้ยึดข้อกฎหมาย ปฏิบัติด้วยความเป็นธรรม อย่าเลือกปฏิบัติกับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง" นายภูมิกล่าว

'โต้ง'ข้องใจกก.สอบไม่รอชี้แจง

       วันเดียวกัน นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง อดีต รมว.คลัง ส่งจดหมายเปิดผนึกถึงนายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.คลัง ระบุว่า คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด เรื่องโครงการรับจำนำข้าวเปลือกดำเนินการรวบรัดตัดตอนเกินสมควรหรือไม่ โดยเมื่อสัปดาห์ที่แล้วได้รับหนังสือเชิญจากคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงให้เข้าให้ข้อมูลวันที่ 17 กันยายนที่ผ่านมา แต่ตนมีกำหนดนัดหมายกับโรงเรียนในสังกัด สพฐ.แห่งหนึ่งในต่างจังหวัด ระหว่างวันที่ 16-17 กันยายน เป็นนัดหมายล่วงหน้านานแล้ว จึงเลื่อนการเข้าให้ข้อมูลแก่คณะกรรมการ แต่เป็นที่น่าประหลาดใจ คือเห็นข่าวว่าผู้หลักผู้ใหญ่บางคนให้ข้อมูลว่าการสอบข้อเท็จจริงเสร็จสิ้นแล้ว และพร้อมสรุปความเสียหาย 

     นายกิตติรัตน์ ระบุอีกว่า เป็นอดีตหัวหน้าทีมเศรษฐกิจของรัฐบาลก่อน และยินดีเข้าให้ข้อมูลแก่คณะกรรมการตามที่คณะกรรมการจะพิจารณาเลื่อนให้ตามความเหมาะสม จะเป็นไปได้อย่างไรที่การสอบข้อเท็จจริงจะสำเร็จลงแล้วโดยมิได้ให้ตนเข้าชี้แจง และขอให้คำแนะนำว่าคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงถือเป็นขั้นตอนแรกก็จริง แต่มีความสำคัญเพราะจะเป็นฐานในการพิจารณาจนถึงตัว รมว.คลังผู้มีหน้าที่พิจารณาให้ดำเนินการหรือไม่ ขอเรียนว่าเมื่อครั้งที่ทำหน้าที่จะพิจารณาทุกเรื่องที่มาถึงด้วยความรอบคอบที่สุดก่อนพิจารณาสั่งการ การดำเนินการเรื่องที่มีการพิจารณามาด้วยความไม่รอบคอบ ทั้งๆ ที่ผู้ถูกกล่าวหาหลายคนมาจากคนละฟากฝั่งทางการเมือง บางเรื่องเห็นได้ว่าฝ่ายประจำเร่งรัดเรื่องอย่างเอาอกเอาใจฝ่ายนโยบาย ถึงขนาดที่การพิจารณาในกระบวนการทางอาญายังไม่มีความชัดเจน

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!