WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

3 3 3 3 49c66

บิ๊กตู่ ตอกต่างชาติ ห้ามยุ่ง! อัดแมลงสาบจ้องแทะ อ๋อยแนะสูตร 3-3-3-3 มาร์คฉะวิษณุให้มีคปป. อานันท์ปัดชิงปธ.กรธ. เทียนฉายโต้เชียร์มีชัย

      'บิ๊กตู่'เผยเร่งรื้อขยะใต้พรม วอน ทุกคนเลิกต่อต้านลั่นไม่ยอมให้ต่างชาติ-ยูเอ็นเข้ามาจุ้น ใครชักจูง เข้ามาไม่ใช่คนไทย เหน็บทูตบางคนพูดไทยได้แต่ไม่เข้าใจ ชอบรายงานกลับไปแบบผิดๆ ฉะยังมีพวกแมลงสาบคอยแทะเสถียรภาพของประเทศ "บิ๊กป๊อก"ฮึ่มผู้ว่าฯอย่าเลือกสี ขู่คนจังหวัดไหนมาตีกันอีกผู้ว่าฯต้องรับผิดชอบ 'จาตุรนต์'ชูโรดแม็ปใหม่ใช้สูตร 3-3-3-3 ปีเดียวเลือกตั้งได้ 'อานันท์'ปัดถูกทาบทามนั่งประธานกรธ. 'เทียนฉาย'ว้ากถูกอ้างหนุน'มีชัย' นั่งประธานกรธ. 'มาร์ค'โวย'วิษณุ'หนุนมี คปป.ในร่างรธน.ใหม่ 'จตุพร'ยันนปช.ไม่ขอเป็นสปท. ป.ป.ช.เร่งสางคดีสลายม็อบปี 53 สนช.ถกคดีถอดถอน'เสี่ยตือ' อนุญาตเพิ่มพยาน 3 รายการจากที่ขอ 7 รายการ นัดแถลงเปิดสำนวนคดี 29 ต.ค.

 

วันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2558 ปีที่ 25 ฉบับที่ 9060 ข่าวสดรายวัน


ยังฟิต - พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ทดลองตรวจสุขภาพ ระหว่างเป็นประธานพิธีประกาศเกียรติคุณและมอบรางวัล ผู้ประกอบธุรกิจส่งออกดีเด่น ประจำปี 2558 ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เมื่อวันที่ 17 ก.ย.

 

'บิ๊กตู่'ลั่นไม่ให้ต่างชาติจุ้นไทย

       เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 17 ก.ย. ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) เป็นประธานในพิธีประกาศเกียรติคุณและมอบรางวัล ผู้ประกอบธุรกิจส่งออกดีเด่นประจำปี 2558 และพิธีเปิดงาน Thailand Innovation and Design Expo 2015

     พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า วันนี้ยอมรับว่าเหนื่อยเพราะเจอปัญหาหลายด้าน ต้องแก้และเร่งวางอนาคตเพื่อวันข้างหน้า แต่มีเวลาจำกัดที่จะทำให้ จึงขออย่าขัดแย้งกันอีก การต่อต้านต่างๆ ที่เกิดขึ้นต้องให้ความเป็นธรรมกับตนด้วย ความขัดแย้งบนโลกเกิดจากความยากจน จากนั้นมีผู้นำต่อสู้ รัฐบาลก็ต้องใช้กำลัง เมื่อมีการต่อสู้ขึ้นมาต่างชาติหรือสหประชาชาติ (ยูเอ็น) มีคนกลางเข้ามา สุดท้ายจบลงที่ทั้งคนต่อต้านและรัฐบาลเสียทั้งคู่ สิ่งที่ตนระวังมากที่สุดคือทำอย่างไรไม่ให้คนอื่นหรือชาวต่างชาติ เข้ามายุ่งในบ้านเมืองเรา เพราะเป็นประเทศของเรา มีกฎหมายของเรา ใครที่ชักจูงให้คนนั้นคนนี้เข้ามาถือว่าไม่ใช่คนไทย

พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า ตนพยายามทำทุกอย่างให้สังคมมั่นใจ เอาขยะใต้พรมมารื้อใหม่ มันมีเยอะ หลายชั้น จึงขอให้ทุกคนสร้างความเข้าใจไปถึงนอกประเทศด้วยว่ารัฐบาลกำลังวาง อนาคตและสร้างความเข้มแข็งให้กับประเทศ ทุกวันนี้มีแต่คนรู้โจทย์แต่ไม่มีคนทำ

อัดแมลงสาบคอยแทะประเทศ

     "หลายอย่างที่มีปัญหา รวมถึงเรื่องความมั่นคงที่พลิกคว่ำพลิกหงายมาตลอด วันนี้ดีขึ้น แต่ยังมีพวกแมลงสาบที่คอยแทะไปเรื่อย เป็นตัวคอยทำลายไม่ให้ประเทศเกิดเสถียรภาพ ถ้าประเทศไม่สงบก็ยังเดินไปไม่ได้ ถ้ามาถามเรื่องการเลือกตั้ง ผมยืนยันว่าเป็นไปตามโรดแม็ปที่ชัดอยู่แล้ว ผมอยู่ที่สว่าง ถูกโจมตีทุกวันแต่ใจยังสู้ เพื่อประเทศชาติ สถาบันและทุกคน ผมไม่ต้องการเป็นวีรบุรุษ แต่อยาก ให้คนไทยทั้งหมดเป็นวีรบุรุษวีรสตรี ทำให้ประเทศชาติเดินหน้า ตอนที่ผมไปเยือนญี่ปุ่น นายกฯญี่ปุ่นเคยถามว่าผมสนใจเล่นการเมืองหรือไม่ ผมตอบว่าไม่เล่น ผมนั่งดูท่านเล่น ดีกว่า" พล.อ.ประยุทธ์กล่าว

      พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ทุกประเทศต้องช่วยกันสร้างความเข้มแข็งของประเทศเพื่อนบ้านและประเทศตัวเอง ซึ่งทั้ง 10 ประเทศในอาเซียนตกลงกันแล้วว่าจะเดินไปพร้อมกัน เราจะไม่ประกาศว่าใครเป็นผู้แข่งผู้นำ เพราะมันจะเดินไปไม่ได้ เราต้องไม่มีความขัดแย้งกับประเทศรอบบ้าน ซึ่งในงานนี้มีทูตมาด้วย ไม่รู้ว่าฟังตนรู้เรื่องหรือไม่ แต่เห็นว่าพูดภาษาไทยได้ มีทูตบางคนพูดไทยได้ แต่ไม่เข้าใจ ชอบรายงานกลับไปแบบผิดๆ ไม่กลัวเลยว่าจะทำธุรกิจตัวเองขาดทุน

บ่นเจ็บคองดจ้อสื่อ

     ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เวลา 13.30 น. ที่ทำเนียบ รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์เป็นประธานการประชุม คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ(กพช.) มีพล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียง ทั้งนี้ หลังการประชุม นายกฯ ปฏิเสธที่จะให้สัมภาษณ์ใดๆ โดยกล่าวว่า "วันนี้เจ็บคอ"

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตั้งแต่ต้นสัปดาห์ พล.อ.ประยุทธ์ได้เดินสายปาฐกถาทุกวัน บางวันควบ 2 งานและพูดไม่ต่ำกว่า 1 ชั่วโมงทุกครั้ง โดยล่าสุดในงานมอบนโยบายแก่กระทรวงมหาดไทย เมื่อเย็นวันที่ 16 ก.ย. ที่ผ่านมา ได้กล่าวมอบนโยบายนานถึง 2 ชั่วโมงโดยไม่หยุดพัก และเป็นที่น่าสังเกตว่า ในงานมอบรางวัลผู้ประกอบการส่งออกดีเด่นเมื่อช่วงเช้าวันเดียวกันนี้ พล.อ.ประยุทธ์กล่าวเปิดงานด้วยน้ำเสียงเบาๆ ปกติ โดยไม่ใส่อารมณ์ดุดันเหมือนทุกครั้ง และใช้เวลาน้อยกว่าทุกเวทีที่ผ่านมา แต่ยังคงเดินเยี่ยมชมงานอีก 1 ชั่วโมง

"สมคิด"จี้ผู้ว่าฯแจงปชช.

      เมื่อเวลา 09.30 น. ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ กระทรวงมหาดไทยจัดโครงการสัมมนา ผู้บริหารระดับสูง เพื่อกำหนดทิศทาง จุดยืนและยุทธศาสตร์การพัฒนาของกระทรวงมหาด ไทย ในระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2559-2563) โดยนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกฯ กล่าวบรรยายว่า บทบาทของผู้ว่าฯ ต้องมีองค์ประกอบ 1.เป็นผู้ออกความคิดริเริ่ม สร้างความเปลี่ยน แปลงให้เกิดขึ้นกับการพัฒนา เป็น ผู้สร้างแรงบันดาลใจ 2.มีทบาทในเชิงสถาปนิก ดีไซน์ให้เกิดการพัฒนา เพราะศักยภาพแต่ละพื้นที่ไม่เหมือนกัน อาจมีสถาบันการศึกษาในพื้นที่มาร่วมด้วย 3.บทบาทด้านการขับเคลื่อน ต้องอาศัยพลังสามัคคี ความตั้งใจและอดทน และ 4.บทบาทในฐานะข้าราชบริพารในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้ว่าฯ ต้องเป็นพ่อเมืองที่ดูแลราษฎรต่างพระเนตรพระกรรณ

       "หลายปีที่ผ่านมา ด้วยความยากจน ความสับสนทางการเมือง มีการบิดเบือนกันจนสังคมปั่นป่วนขัดแย้ง ทั้งที่คนไทยไม่ได้มีนิสัยแบบนั้น ถ้ามหาดไทยใกล้ชิดชาวบ้าน ชาวบ้านก็ไม่ไปไหน ทุกคนรักประเทศกันทั้งนั้น ขอให้ผู้ว่าฯ ชี้แจงทำความเข้าใจด้วย" นายสมคิดกล่าว

"บิ๊กป๊อก"ฮึ่มอย่าเลือกสี

        พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย กล่าวมอบนโยบายและแนวทางขับเคลื่อนภารกิจสำคัญของกระทรวงมหาดไทยแก่ ผู้บริหารกระทรวงมหาดไทยและผู้ว่าราชการจังหวัดว่า การเมืองที่ผ่านมา รัฐบาลที่มาทำงาน มีนโยบายที่โดนใจประชาชนและทำร้ายประเทศ ชาติ เกิดกลไกที่ไม่ได้มาเพื่อรับใช้ประชาชนแต่รับใช้กลุ่มการเมือง เอาพลังประชาชนทั้งหมดมาเป็นเครื่องมือทางการเมือง อาศัยนโยบายที่ประชาชนชื่นชอบมาเป็นตัวบิดเบือน ทราบว่าผู้ว่าฯ บางคน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน มีส่วน เกี่ยวข้อง อย่างไรก็ตาม ไม่มีนโยบายใดทำ ให้คนเอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง เช่น การตั้งโรงเรียนสี เพราะไม่ใช่แค่ฆ่าตัวเอง แต่ฆ่าระบบกลไกของกระทรวงมหาดไทย

พล.อ.อนุพงษ์กล่าวว่า การปรองดองนั้น บางคนบิดเบือนว่าไม่เอาผิดใคร แบบนี้ไม่ได้ ต้องเป็นไปตามกฎหมาย คิดจะนิรโทษกรรม มีส.ส.ในมือ 300 กว่าคน จะให้ช่วยทั้งหมดไม่ได้ ตนรับรองเลยว่าไม่มีผู้ว่าฯ คนไหนไม่รู้เรื่องแบบนี้ ถ้าทำผิดให้ดูตัวเองใหม่ ตนไม่ได้ดูถูกสมองและความสามารถ แต่อย่านำประเทศ สู่ความขัดแย้ง ถ้าบ้านเมืองตีกัน มาจากจังหวัด ใด คนนั้นต้องรับผิดชอบ ตนไม่สนใจจะเป็นประชาธิปไตยหรือไม่ แต่หากสร้างความแตก แยกให้คนในชาติถือว่าเลวร้ายที่สุด คงไม่มีผู้ว่าฯ คนไหนเอาเสื้อแดงเสื้อเหลือง ต้องอธิบายให้เขาเข้าใจ อย่าให้คนไม่เข้าใจไปปลุกปั่น

"ปนัดดา"ให้ขรก.คิดย่นโรดแม็ป

        ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รมต.ประจำสำนัก นายกฯ กล่าวถึงกรณีนายกฯต้องการให้ย่นระยะเวลาการทำงานของรัฐบาลตามโรดแม็ป 20 เดือนว่า ข้าราชการต้องช่วยกันคิดว่าจะย่นโรดแม็ปได้อย่างไรให้เกิดประสิทธิภาพ เป็นผลลัพธ์ที่สร้างสรรค์ ที่สำคัญต้องไม่ทำให้เกิดความแตกแยกขึ้นอีก เชื่อว่าไม่มีคนไทยอยากให้เกิดเหมือนช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ตนอยากเห็นประชาธิปไตยที่สร้างสรรค์ ช่วยเสริมสร้างให้สังคมเป็นสุข ประชาชนกลับมารักกัน อีกครั้ง เมื่อถามว่าคาดหวังกับรัฐธรรมนูญฉบับใหม่อย่างไร ม.ล.ปนัดดากล่าวว่าอยากเห็นสมาชิกที่จะเข้ามาขับเคลื่อนถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดของประชาชนทุกฝ่าย ไม่จำกัด ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด เพราะเราเป็นเจ้าของประเทศด้วยกัน ไม่ควรแบ่งแยกและทำให้เรื่องนี้เป็นชนวนแตกแยก

       ม.ล.ปนัดดากล่าวถึงการเสนอชื่อปลัดสำนัก นายกฯคนใหม่ให้ครม.เห็นชอบว่า คาดว่าจะเสนอชื่อเข้าคณะรัฐมนตรี(ครม.)วันที่ 22 ก.ย.นี้ อยู่ระหว่างการพิจารณาชื่อ 2-3 คน ซึ่งเป็นข้าราชการในสังกัดสำนักนายกฯ ไม่ใช่จากนอกสังกัด ผู้สื่อข่าวถามว่าตำแหน่งนี้ถูกมองว่า เป็นของผู้ที่อกหักจากตำแหน่งอื่น ซึ่งมีชื่อของรองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) และเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้(ศอ.บต.) ม.ล.ปนัดดากล่าวว่าไม่ทราบนิยามของคำว่าอกหัก และบุคคลที่ถูกเอ่ยถึงนั้นอกหักจริงหรือไม่ แต่อยากให้ช่วยกันคิดว่าการเป็นข้าราชการไม่ว่าจะอยู่ตรงไหนก็ยังเป็นข้าราชการอยู่

"อ๋อย"แนะใช้สูตร 3-3-3-3

      นายจาตุรนต์ ฉายแสง แกนนำพรรคเพื่อไทย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า เป็นเรื่องดีที่คิดจะย่นเวลาร่างรัฐธรรมนูญให้สั้นลง ความจริงการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ครั้งนี้ สังคม ไทยเรียนรู้แล้วว่าเรื่องอะไรพอรับได้และรับไม่ได้ ไม่ใช่นับหนึ่งใหม่ จึงคัดเลือกเนื้อหาสาระที่เป็นมาตรฐานของร่างรัฐธรรมนูญกับส่วนที่คิดว่าคนส่วนใหญ่รับได้ออกมาก่อน ส่วนประเด็นที่ยากก็เปิดให้แสดงความเห็นอย่างกว้างขวาง ตรงนี้ใช้เวลา 3 เดือนน่าจะเพียงพอ ส่วนขั้นตอนลงประชามติให้เหลือ 3 เดือน ขณะที่การร่างกฎหมายลูก หาทีมงานร่างไว้ตั้งแต่ตอนนี้เมื่อได้รัฐธรรมนูญแล้วให้นำมาพิจารณาใช้เวลา 3 เดือนน่าจะพอ

นายจาตุรนต์กล่าวว่า ส่วนขั้นตอนสุดท้ายเตรียมการเลือกตั้งก็ไม่จำเป็นต้องใช้เวลานานถึง 4 เดือน ปกติใช้เวลา 30-45 วันได้ ถ้าจะให้เวลานานเป็นพิเศษก็ไม่ควรเกิน 2 เดือน ดังนั้น สูตร 6-4-6-4 เปลี่ยนเป็น 3-3-3-3 หรือ 3-3-3-2 ก็พอ ใช้เวลารวม 11 เดือนหรือ 1 ปีเท่านั้น แต่การเปลี่ยนระยะเวลาของโรดแม็ป นี้ยังไม่อาจแก้ปัญหาได้จริง เพราะหากไม่ผ่านประชามติก็ต้องร่างใหม่อีก กระบวนการทั้งหมด จะยืดออกไป ดังนั้น จึงควรแก้รัฐธรรมนูญชั่วคราว เกี่ยวกับเงื่อนไขการลงประชามติว่าหากประชามติไม่ผ่าน ควรนำรัฐธรรมนูญฉบับใดฉบับหนึ่งมาใช้ก่อน เพื่อให้มีการเลือกตั้งและบริหารประเทศไปได้ แล้วเลือกสภาร่างรัฐธรรมนูญ(ส.ส.ร.)มาร่างรัฐธรรมนูญกันใหม่โดยประชาชนจริงๆ

'อานันท์'ชี้ปฏิรูปอย่ามุ่งแก้รธน.

      ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) นายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกฯ กล่าวปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ "สู่บริบทใหม่ของประเทศด้วยธรรมาภิบาลในระบอบประชาธิปไตย" ในงานประชุมวิชาการประจำปีของธปท.ว่า ไทยกำลังเผชิญความเปลี่ยนแปลงค่อนข้างมาก ทั้งมิติเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง เนื่องจากปัจจัยทั้งภายในและภายนอกที่มีผล กระทบต่อประเทศและประชาชน จึงต้องตระหนักและปรับตัวรับกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว เพื่อเดินหน้าสู่บรรทัดฐานใหม่ จำเป็น ต้องทำอย่างจริงจังตั้งแต่บัดนี้ ซึ่งเป็นเรื่องพูดง่ายแต่ทำยาก เพราะการปฏิรูปนำมาสู่การได้และเสียประโยชน์

ดังนั้น การถ่วงดุลอำนาจไม่ให้ผู้เสียประ โยชน์ขัดขวางการเปลี่ยนแปลงที่เป็นประโยชน์ ต่อส่วนรวม จึงจำเป็นต้องพึ่งกลไกกระจายผลประโยชน์ให้สมาชิกในสังคมได้อย่างสมดุล การปฏิรูปต้องเป็นองค์รวม แต่ที่ผ่านมาจะมุ่งแก้ทั้งหมดไปที่รัฐธรรมนูญ ซึ่งไม่ควรเป็นเช่นนั้น อีกทั้งไทยใช้รัฐธรรมนูญค่อนข้างเปลืองมาก

"การปฏิรูปไม่ใช่การกระทำให้เสร็จในครั้ง เดียว แต่เป็นเพียงกระบวนการที่อาจเริ่มต้นด้วยการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ซึ่งกระบวน การยังคงต้องพัฒนาต่อไป เราต้องไม่ตกหลุมพรางของการใช้ทางลัดต่างๆ ในการบรรลุเป้าหมายสูงสุด การปฏิรูปไปสู่ประชาธิปไตยที่แท้จริงไม่มีสูตรตายตัว ต่างจากการสร้างบ้านที่แบบต้องชัดเจนและทำทีละขั้นตั้งแต่ต้นจนจบ" นายอานันท์กล่าว

ปัดถูกทาบทามเป็นปธ.กรธ.

      นายอานันท์กล่าวว่า กรณีที่มีรายงานข่าวว่า ตนถูกทาบทามให้เป็นประธานกรธ.นั้น ขอยืนยันว่าไม่มีการทาบทาม ส่วนประเด็นที่จะตอบรับหรือไม่รับก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ส่วนการร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับที่ 20 นั้น ตนมองว่ารัฐธรรมนูญแม้จะถูกเขียนให้ดีเท่าไรก็ไม่สามารถสร้างประชาธิปไตยในสังคมได้ เป็นได้เพียงองค์ประกอบหนึ่งเท่านั้น เพราะตัวบทกฎหมายตามไม่ทันคนที่ใช้กฎหมาย ด้วยคนไทยนั้นมีความปลิ้นปล้อน สังคมจะดีได้ต้องมีกฎหมายที่ดีและคนในสังคมต้องเป็นคนดี สิ่งสำคัญต้องวางรากฐานเรื่องการศึกษา มีการปฏิรูปการศึกษาเน้นสนับสนุนพัฒนาศักยภาพผู้สอน และสร้างค่านิยมให้ถูกต้องไม่ปลูกฝังเรื่องคอร์รัปชั่น

นายอานันท์กล่าวว่า ตนมองว่าคอร์รัปชั่นเป็นภัยอันตรายที่สุดของสังคม การปราบคอร์รัปชั่นให้สูญหายไปนั้นทำได้ยาก หากมีการสร้างค่านิยมว่าคอร์รัปชั่นเป็นสิ่งที่ผิด และตราบใดที่รัฐบาลตั้งใจปราบคอร์รัปชั่น นายกฯไม่ทุจริตก็จะมีส่วนช่วยให้ช่วยขจัดปัญหาคอร์รัปชั่นได้

สนช.เร่งเฟ้นตัวแทนเป็นกรธ.

       นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.)คนที่ 1 เปิดเผยว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการสรรหาสนช. 3 คนทำหน้าที่คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) โดยหลักเกณฑ์เลือกจะต้องมีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านกฎหมาย รวมถึง อาจมีประสบการณ์ด้านการร่างรัฐธรรมนูญมาพิจารณามาประกอบและต้องสมัครใจด้วย แต่การตัดสินใจทั้งหมดขึ้นอยู่กับพล.อ.ประยุทธ์

        ส่วนที่รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวกำหนดให้บุคคลที่เป็นกรธ. ไม่สามารถดำรงตำแหน่งทางการเมือง 2 ปีถือเป็นปัญหาในการหาคนมาทำหน้าที่หรือไม่ นายสุรชัยกล่าวว่า ถือว่ามีส่วนสำคัญ เพราะสนช.จำนวนหนึ่งต้องการทำงานด้านการเมืองต่อหลังพ้นจากสนช. แต่เชื่อว่าคสช.และครม.จะไม่เสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญในประเด็นนี้ เพราะถือเป็นหลักการที่รัฐธรรมนูญหลายฉบับวางไว้เพื่อป้องกัน ไม่ให้เกิดผลประโยชน์ทับซ้อน จึงไม่อาจแก้ไขได้

นายสุรชัยกล่าวว่า สำหรับการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวครั้งที่สอง คาดว่าคสช.และครม.น่าจะเสนอมาให้สนช.พิจารณาเร็วๆ นี้ โดยจะแก้ไขในประเด็นสำคัญ คือการทำประชามติ เพื่อกำหนดให้ชัดเจนว่าต้องใช้เสียงข้างมากของผู้มาใช้สิทธิออกเสียงประชามติตัดสินว่าประชาชนเห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญหรือไม่

'เทียนฉาย'ฉุนถูกอ้างหนุน'มีชัย'

       ด้านนายเทียนฉาย กีระนันทน์ อดีตประธาน สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) กล่าวถึงข่าวสนับสนุนนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ที่ปรึกษาด้านกฎหมายคสช. นั่งประธานกรธ.ว่า ข่าวดังกล่าวไม่ใช่ความเห็นของตน แต่มีคนโทรศัพท์มาพูดคุย ให้ออกรายการวิทยุในช่วงเช้าวันที่ 17 ก.ย. ซึ่งตนปฏิเสธไม่ให้สัมภาษณ์ เพียงแต่บอกว่าทุกคนมีความรู้หมด ไม่ได้ฟันธงว่าใครต้องนั่งตำแหน่งใด หรือเหมาะสมหรือไม่ ตนเข้าใจดีว่าเวลานี้ทุกคนต้องการข่าว แต่สิ่งที่อยากพูดคือ ถ้าตนถูกนำไปเป็นเครื่องมือขยายความแบบนี้คงไม่ไหว

"ผมจะไปพูดคุยเรื่องรายชื่อ กรธ.ไม่ได้ เนื่องจากไม่ได้มีตำแหน่ง ไม่รู้จักใครและไม่ได้ติดต่อใครหลังจากหมดวาระประธานสปช. ต่อไปนี้ผมต้องระมัดระวังเรื่องการให้สัมภาษณ์ มากขึ้น" นายเทียนฉายกล่าว

'มาร์ค'สะกิดเตือน'วิษณุ'

      นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีนายวิษณุ เครืองาม รองนายกฯ ระบุในร่างรัฐธรรมนูญใหม่ควรมีคณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปและการปรองดองแห่งชาติ (คปป.)ว่า อยากให้นายวิษณุ ให้เกียรติผู้ที่จะมาร่างรัฐธรรมนูญก่อน เพราะยังไม่ทราบว่าเป็นใคร แนวความคิดที่อยากแก้ปัญหาการเปลี่ยนผ่านหรือการระงับยับยั้งการกระทำที่เสียหายจากรัฐบาลเลือกตั้ง ตนไม่เคยค้าน แต่ถ้าทำในรูปแบบเดิมคือ การมีคปป.ที่มีอำนาจรัฐซ้อนรัฐ จะสร้างปัญหาและความขัดแย้งมากกว่าจะแก้ปัญหา จึงอยากให้ใจเย็นๆ ให้กรธ.คุยกันก่อน เพราะถ้ายึดรูปแบบเดิมที่เคยโต้แย้งก็ซ้ำรอยเดิมนั้น และไม่ช่วยให้ประเทศเดินหน้า

"อยากขอว่าเราอย่าสร้างปัญหา แต่ต้องช่วยกันคิดว่าจะทำอย่างไรให้มีรัฐธรรมนูญที่ดีมีการปฏิรูป เปิดกว้างในการสร้างกลไกที่จะเดินหน้าเรื่องนี้ แต่พอพูดถึง คปป.ก็กลับมาสู่เรื่องเดิม กล่าวหากันไปมาว่าประชาธิปไตย เผด็จการ สืบทอดอำนาจ เผด็จการรัฐสภา ซึ่งนายกฯ บอกว่าไม่อยากให้วนเวียนอยู่กับเรื่องเหล่านี้ ผมคิดว่าถึงเวลาที่ต้องเอาเนื้อหาสาระมาพูดกันว่าจะปฏิรูปอะไรและจะสร้างกลไกแบบไหนดูแลให้รัฐบาลจากการเลือกตั้งเดินหน้าปฏิรูป" นายอภิสิทธิ์กล่าว

ปชป.แย้มตัวแทนนั่งสปท.

       นายจุติ ไกรฤกษ์ เลขาธิการพรรคประชา ธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่นายกฯจะเชิญพรรคการ เมืองส่งตัวแทนเข้าร่วมเป็นสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ว่า หัวหน้าพรรคบอกแล้วว่ายินดีร่วมมือ ขณะนี้มีหลายคนสนใจ แต่เมื่อทราบว่าหากเป็น สปท.แล้ว จะลงสมัครรับเลือกตั้งในครั้งหน้าไม่ได้ จึงกลัวมีปัญหาทำให้ถอนตัว ดังนั้น ผู้ที่จะเป็น สปท.ต้องเป็นคนที่ไม่คิดลงสมัครรับเลือกตั้งอีกแล้ว โดยหลังรัฐประหารมีอดีตส.ส.พรรคที่มีความอาวุโสแสดงความจำนงไม่ลงเลือกตั้ง 11 คน เนื่องจากมีปัญหาสุขภาพ แต่ไม่มีนายบัญญัติ บรรทัดฐาน กรรมการสภาที่ปรึกษาพรรค รวมอยู่ด้วย ซึ่งคนที่จะไปอยู่ใน สปท.อาจเป็นคนเหล่านี้ก็ได้

"อยากให้นายกฯ ทำงานโดยไม่ต้องคำนึงว่าจะกระทบโรดแม็ปที่วางไว้หรือไม่ อะไรที่รัฐบาลเลือกตั้งทำไม่ได้ อยากให้นายกฯ ทำให้หมด ส่วนเรื่องปรองดอง หากนำเข้ากระบวนการยุติธรรมทั้งหมด เชื่อว่าจะแก้ปัญหาได้" นายจุติกล่าว

'ตู่'ลั่นนปช.ไม่ร่วมสังฆกรรม

      นายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) กล่าวผ่านรายการมองไกล ออกอากาศทางยูทูบถึงการสรรหา สปท.ที่จะเปิดพื้นที่ให้กับพรรคการเมือง โดยรองนายกฯ ฝ่ายความมั่นคงระบุพรรคการเมืองส่งชื่อไปแล้วว่า เขาไม่มีทางติดต่อตน เพราะเขารู้ว่าตนคิดเช่นใด ซึ่งตนบอกชัดเจนว่าพรรคการเมือง กลุ่มการเมืองที่มีความเห็นต่างนั้น ไม่ควรเข้าไปอยู่ในแม่น้ำ 5 สาย ตนไม่รู้ว่าคนเสื้อแดงใครได้รับการทาบทามบ้าง แต่ฟังไว้ว่าตนไม่ได้มีอุปสรรคปัญหากับสปท. และตนเห็นว่าทั้งกลุ่มการเมือง พรรคการเมืองไม่ควรเข้าร่วม ความจริงตนไม่เห็นด้วยกับที่มาของสปท.ตั้งแต่ต้น

       "จุดยืนของ นปช.ชัดเจนคือไม่เข้าไปร่วม และถ้าคนใดในขบวนการที่เคยร่วมต่อสู้กันมาเข้าไปร่วม อย่าได้บอกว่าเขาเป็น นปช. คนเสื้อแดงเป็นแล้วไม่มีที่ลาออก ตายไปแล้วก็ยังออกไม่ได้ แต่มันจะพ้นจากตำแหน่งนั้นไปเพราะพฤติกรรม ถ้าไม่ซื่อสัตย์กับประชาชน ทำในสิ่งที่สวนทางกับความรู้สึก ผมไม่รู้ว่าใครแอบถูกทาบทามบ้าง เพราะเขาไม่มีวันกล้ามาทาบทามผม ดังนั้นใครก็ตามถ้าตัดสินใจเช่นนั้น จริงอยู่เป็นสิทธิเสรีภาพ แต่ไม่ใช่ นปช. ส่วนจะเป็นเสื้อแดงหรือไม่นั้น ประชาชน จะตัดสินเอง เหตุการณ์วันเวลาจะได้กรองกาก ของหยาบบ้าง เพื่อให้ได้ในสิ่งที่มีความละเอียด มากยิ่งขึ้น ผมอยากจะบอกว่า ปีกว่าบทเรียนแม่น้ำ 5 สาย ยังไม่พออีกหรือ เพราะจุดยืนของนักประชาธิปไตยคือสภาที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน และอยู่ภายใต้กติกา ที่เป็นประชาธิปไตยที่ถูกต้องเท่านั้น" นาย จตุพรกล่าว

ป.ป.ช.เร่งสางคดีการเมือง

      ที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) นายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ประธาน ป.ป.ช. กล่าวว่า หลังจากได้ต่ออายุราชการในตำแหน่ง ประธาน ป.ป.ช. จนกว่าจะมีกรรมการชุดใหม่ ตามคำสั่งหน้าคสช. จากนี้จะเร่งพิจารณาคดีทางการเมืองที่สังคมสนใจ เช่น กรณีทุจริตการจัดซื้อจัดสร้างสนามฟุตซอล กรณีทุจริตก่อสร้างโรงพักทดแทน 396 แห่ง กรณีการสลายชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ปี 2553 ซึ่งขณะนี้ได้ไต่สวนพยานครบทุกปากแล้ว อยู่ในขั้นตอนสรุปสำนวนของคณะอนุกรรมการ เพื่อส่งที่ประชุมป.ป.ช. คาดว่าจะใช้เวลาไม่เกิน 1 เดือน ก่อนที่กรรมการ ป.ป.ช.ที่จะครบวาระในปีนี้พ้นจากตำแหน่ง เพื่อไม่ให้เป็นภาระแก่คนใหม่ที่จะเข้ามาปฏิบัติหน้าที่

       "การทำงาน 9 ปีที่ผ่านมา ป.ป.ช.ทำงานเต็มที่ ได้รับความร่วมมือกับทุกฝ่าย แต่ยอมรับ ว่ายังมีบางเรื่องดำเนินการไม่เสร็จ คิดว่าภาพรวมของประเทศไทยเกี่ยวกับการทุจริตดีขึ้น สิ่งที่ผมคาดหวังคือดัชนีภาพลักษณ์ความโปร่งใส (CPI) ในช่วงปลายปีนี้จะดีขึ้น"นายปานเทพกล่าว

สนช.ถกถอดถอน"เสี่ยตือ"

      เมื่อเวลา 10.15 น. ที่รัฐสภา ในการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) มีนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช. เป็นประธานการประชุมพิจารณากระบวนการถอดถอนนายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรมว.ศึกษาธิการ ออกจากตำแหน่ง ตามมาตรา 6 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 ประกอบมาตรา 56 (1) แห่งพ.ร.บ. ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 กรณีป.ป.ช.กล่าวหามีพฤติกรรมร่ำรวยผิดปกติ เนื่องจากไม่ยื่นรายการทรัพย์ สินเป็นบ้านในอ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง มูลค่า 16 ล้านบาท

       นายพรเพชร แจ้งว่า ได้กำหนดวันแถลงเปิดสำนวนคดีของป.ป.ช. ผู้กล่าวหา และนายสมศักดิ์ ผู้ถูกกล่าวหา ในวันที่ 29 ต.ค. เวลา 10.00 น. และให้สมาชิก สนช.ยื่นญัตติประเด็นซักถามทั้งผู้กล่าวหาและผู้ถูกกล่าวหาภายในวันที่ 30 ต.ค. เวลา 12.00 น.

ขอเพิ่มพยาน 7 รายการ

      จากนั้นเข้าสู่การพิจารณาคำขอเพิ่มเติมพยานหลักฐานของผู้ถูกกล่าวหา โดยนายสมศักดิ์กล่าวว่า ขอเพิ่มพยานหลักฐานเพื่อประกอบการพิจารณา 1 คำขอ 7 รายการ โดยรายการที่ 1 และ 2 เป็นหลักฐานภาพถ่ายทางอากาศและการสำรวจภูมิประเทศ แผนที่ภาพถ่ายทางอากาศจากกรมแผนที่ทหารเป็น ผู้จัดทำขึ้น ส่วนเอกสารพยานหลักฐานในรายการ 3-6 เป็นการสอบปากคำของผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการฝ่ายข้าราชการในขณะนั้น คือ อธิบดีกรมสามัญศึกษา สำนักงานการประถมศึกษาแห่งชาติ และกรมอาชีวศึกษา เนื่องจากทั้ง 3 กรมมีงบประมาณสูง จึงเป็นเป้าสายตาของประชาชน และพบว่าป.ป.ช.ไม่ได้เชิญบุคคลเหล่านี้ให้ปากคำ

      ส่วนรายการที่ 7 คือการให้ปากคำของพ.ต.ท.ก้องกาญจน ฉันทปรีดา สถาปนิกผู้ออก แบบบ้าน เนื่องจากยังขาดรายละเอียดว่าบ้านหลังดังกล่าวก่อสร้างเสร็จเมื่อใด ซึ่งคำให้การของพ.ต.ท.ก้องกาญจนจะชัดเจนว่าตนได้บ้านมาก่อนหรือหลังเป็นรัฐมนตรี

ป.ป.ช.แย้ง-ให้เพิ่มแค่ 3 รายการ

      ด้านนายณรงค์ รัฐอมฤต กรรมการป.ป.ช. กล่าวว่า พยานหลักฐานในรายการที่ 1-6 ป.ป.ช.เห็นว่าเป็นเอกสารที่อยู่นอกเหนือการไต่สวน และสนช.ควรยึดสำนวนของป.ป.ช. เป็นหลัก ประกอบกับผู้ถูกกล่าวหาไม่เคยให้ป.ป.ช.ไปสอบ แม้ป.ป.ช.จะให้โอกาสนำพยาน หลักฐานมาชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาถึง 17 ครั้งก็ตาม ส่วนรายการที่ 7 สถาปนิกนั้น ที่ผ่านมาได้สอบสวนพยานปากนี้ตามขั้นตอนแล้ว จึงไม่ขัดข้องที่จะให้เพิ่มพยานในส่วนนี้ได้

     จากนั้นที่ประชุมลงมติการเพิ่มพยานหลักฐาน โดยเห็นชอบให้นายสมศักดิ์เพิ่มพยานในรายการที่ 1-2 ด้วยคะแนน 90 ต่อ 70 งดออกเสียง 6 และรายการที่ 7 ด้วยคะแนน 123 ต่อ 39 งดออกเสียง 5 และไม่เห็นชอบให้เพิ่มพยานในรายการที่ 3-6 ด้วยคะแนน 84 ต่อ 79 งดออกเสียง 4

       ด้านนายสมศักดิ์ให้สัมภาษณ์หลังการประชุมสนช.ว่า ไม่ติดใจที่สนช.ไม่เห็นชอบให้เพิ่มพยานเป็นบันทึกถ้อยคำของผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการฝ่ายข้าราชการ คิดว่าไม่น่ามีผลต่อการพิจารณาของสนช. ทั้งนี้ รายละเอียดของพยานหลักฐานต่างๆ ยังมีกระบวน การต่อสู้คดีที่อยู่ในศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองด้วย ในส่วนของ สนช.เป็นเรื่องถอดถอนเท่านั้น

 

อ๋อยชงบ้าง 3-3-3-2  11 เดือนจบ ปชป.อาวุโสนั่ง'สปท.''เพื่อไทย-นปช.ปัดร่วม บิ๊กตู่ซัดพวกแมลงสาบ ชักศึกเข้าบ้าน-ป่วนปท. ดันแก้รธน.ปมประชามติ ปชป.เล็งส่ง ส.ส.อาวุโสนั่ง สปท. 'อ๋อย'ชงสูตร '3-3-3-2'

  • มติชนออนไลน์ :
  • ถอดถอน - นายณรงค์ รัฐอมฤต กรรมการ ป.ป.ช.ชี้แจงข้อกล่าวหาถอดถอนนายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง รมว.ศึกษาธิการ ออกจากตำแหน่ง ขณะที่นายสมศักดิ์ลุกขึ้นแก้ข้อกล่าวหาต่อที่ประชุม สนช. ที่รัฐสภา เมื่อวันที่ 17 กันยายน

     

    @ 'บิ๊กตู่'วอนอย่าชักศึกเข้าบ้าน

            เมื่อวันที่ 17 กันยายน ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นประธานในพิธีประกาศเกียรติคุณและมอบรางวัลผู้ประกอบธุรกิจส่งออกดีเด่น ประจำปี 2558 โดยกล่าวตอนหนึ่งว่า สิ่งที่ตนอยากจะพูดคือความขัดแย้งบนโลกใบนี้ เริ่มจากความยากจน เมื่อมีความยากจนก็จะมีการหาคนโทษให้ได้ คนที่ยากจน เกษตรกร คนที่รู้สึกว่าเหลื่อมล้ำก็จะโทษรัฐบาล จากนั้นมีผู้นำในการต่อสู้ รัฐบาลต้องใช้กำลังและพอต่อสู้กันขึ้นมา ต่างชาติ ยูเอ็นจะเข้ามาแล้วก็จะจบลงที่ทั้งรัฐบาลและคนต่อต้านเสียทั้งคู่ โดยมีคนกลางต้องเข้ามา 

            "สิ่งที่ผมระวังที่สุดคือจะอย่างไรก็ตามอย่าให้คนอื่นหรือชาวต่างชาติเข้ามายุ่งในบ้านเรา เพราะมันเป็นดินแดน ประเทศของเรา ตามคำพูดว่า our home our country อย่าลืมว่านี่คือบ้านของเรากฎหมายของเราก็มีอยู่ ใครก็ตามที่ชอบชักชวนคนนั้น คนนี้ เข้ามา ผมว่าไม่ใช่คนไทย เพราะพวกเขาไม่รู้ว่าเหตุการณ์ในพื้นที่ของเราเป็นอย่างไร ถ้าเราทะเลาะกันและขัดแย้งกันอยู่อย่างนี้แล้วใครจะทำงาน เราก็จะเสียด้วยกันทั้งคู่ ดังนั้นสิ่งที่ผ่านมาผมพยายามทำทุกอย่างให้เกิดความปลอดภัยเรียบร้อยให้สังคมมั่นใจ ทุกคนต้องช่วยกัน สร้างความมั่นใจให้กับนอกประเทศด้วยว่าสิ่งที่เราพยายามทำในวันนี้คือการสร้างปัจจุบันและอนาคต เอาขยะใต้พรมมารื้อใหม่ มันมีเยอะ หลายชั้น ขณะเดียวก็ต้องสร้างความเข้มแข็งให้ประเทศ โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจที่จะขับเคลื่อนให้อยู่ดีกินดี จากนั้นค่อยเริ่มสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน" นายกรัฐมนตรีกล่าว

    @ เผยมีแมลงสาบทำลายปท.

             พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า ทุกวันนี้มีแต่คนรู้โจทย์ แต่ไม่มีคนทำ ถ้าอ่านหนังสือพิมพ์ ตั้งแต่เช้าถึงเย็นหรือฟังจากสื่อต่างๆ ก็จะบอกว่ามันมีปัญหาอยู่ในทุกที่ ทั้งๆ ที่เป็นปัญหาต่อเนื่องยาวนานเป็น 10 ชาติ รัฐบาลต้องแก้ไขให้ได้ ภายในเวลาเท่านั้น เท่านี้ จะทำได้อย่างไร ที่ผ่านมาทุกคนไม่เคยเรียนรู้การนำไปสู่การปฏิบัติอย่างไร มีแต่หลักการ วิชาการ มีแต่โจทย์ และสิ่งที่ต้องการ เรียกร้องจะเอาสิ่งนั้น สิ่งนี้ พอช้าก็บอกว่าอยากอยู่เพื่อสืบทอดอำนาจ แต่ความจริงแล้วพร้อมที่จะไป แล้วทุกคนจะอยู่แบบเดิม 

    "เรื่องของปัญหาความมั่นคง ที่ยังมีแมลงสาบคอยแทะไปเรื่อยเปื่อยเป็นตัวคอยทำลายไม่ให้ประเทศเกิดเสถียรภาพ ถ้าเป็นแบบนี้การลงทุนในประเทศก็จะไม่เกิด ประเทศเดินไม่ได้ วันนี้ถ้าประเทศไม่สงบก็ยังเดินไปไม่ได้ ต้องดูแลทุกคนที่มาในประเทศไทย ถ้ามาถามเรื่องการเลือกตั้งผมยืนยันว่าเป็นไปตามโรดแมปที่ชัดอยู่แล้ว ที่ทำทุกวันนี้ไม่มีกำไร เป็นการลงทุนด้วยชีวิต ถ้าทุกคนคิดว่าไม่เป็นประโยชน์ ก็ว่ากันต่อไป วันนี้ผมอยู่ที่สว่าง ไม่ได้อยู่ในที่มืด ถูกโจมตีทุกวัน แต่ใจยังสู้อยู่ เพื่อประเทศชาติ สถาบัน และพวกเราทุกคน ระบอบการประเทศที่ดีก็ต้องเป็นประชาธิปไตย แต่ไม่ได้ดีที่สุดของที่อื่น และถ้าประชาธิปไตยมีปัญหาก็ไม่มีอะไรแก้ได้ นอกจากการเข้ามาแบบผม ที่ผ่านมาประชาธิปไตยของเรารัฐบาลขับเคลื่อนอะไรไม่ได้ ถ้าเขาดีผมไม่เข้ามาหรอก ผมได้ทรมานเขามา 6-7 เดือน คนข้างนอกก็ตายทุกวันๆ เศรษฐกิจเดินไม่ได้ เดี๋ยวต้องสอบถามคนที่มาเที่ยวก่อนหน้านี้ เขามาดูสนามรบกันหรือเปล่า มีการทำนาในทำเนียบรัฐบาลมันเกิดขึ้นได้ยังไง" พล.อ.ประยุทธ์กล่าว 

    @ นายกฯเจ็บคองดสัมภาษณ์ 

          ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 13.30 น. ที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์เป็นประธานการประชุม คณะกรรมการพลังงานแห่งชาติ (กพช.) โดยใช้เวลานานกว่า 2 ชั่วโมง ภายหลังการประชุมเสร็จสิ้น นายกรัฐมนตรีได้เดินผ่านจุดที่สื่อมวลชนรอสัมภาษณ์โดยกล่าวเพียงสั้นๆ ว่า ให้ปลัดกระทรวงพลังงานเป็นผู้แถลง เจ็บคอๆ จากนั้นได้เดินขึ้นตึกไทยคู่ฟ้าทันทีเพื่อบันทึกเทปรายการคืนความสุขให้คนในชาติ

            ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตั้งแต่ต้นสัปดาห์ นายกรัฐมนตรีไปปาฐกถาหลายงานในทุกวันและพูดไม่ต่ำกว่า 1 ชั่วโมงทุกครั้ง โดยล่าสุด ในงานมอบนโยบายแก่กระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 16 กันยายนที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรีได้กล่าวมอบนโยบายนานถึง 2 ชั่วโมงโดยไม่หยุดพัก จนเป็นที่น่าสังเกตว่าในงานมอบรางวัลผู้ประกอบการส่งออกดีเด่นเมื่อช่วงเช้า พล.อ.ประยุทธ์กล่าวเปิดงานใช้เวลาน้อยกว่าทุกเวทีที่ผ่านมา

    @ คสช.ลุยแก้รธน.ปมประชามติ

          ที่รัฐสภา นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) คนที่ 1 เปิดเผยว่า ขณะนี้อยู่ในระหว่างการสรรหาบุคคลจำนวน 3 คนเข้าไปทำหน้าที่คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) โดยหลักเกณฑ์ในการเลือกบุคคลคือจะต้องมีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านกฎหมาย รวมไปถึงอาจมีประสบการณ์ด้านการร่างรัฐธรรมนูญมาพิจารณาประกอบและบุคคลต้องมีความสมัครใจด้วย เมื่อถามว่า การที่รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว 2557 กำหนดให้บุคคลที่มาเป็น กรธ.จะไม่สามารถดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นเวลา 2 ปี นายสุรชัยกล่าวว่า อาจถือว่ามีส่วนสำคัญ เพราะสมาชิก สนช.จำนวนหนึ่งมีความประสงค์ต้องการจะทำงานด้านการเมืองต่อ หลังจากพ้นการทำหน้าที่สมาชิก สนช. 

          "สำหรับการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว 2557 ครั้งที่สอง คาดว่า คสช.และ ครม.น่าจะเสนอมาให้ สนช.พิจารณาเร็วๆ นี้ โดยจะแก้ไขในประเด็นสำคัญ คือ การทำประชามติ เพื่อกำหนดให้ชัดเจนว่าต้องใช้เสียงข้างมากของผู้มาใช้สิทธิออกเสียงประชามติในการตัดสินว่าประชาชนให้ความเห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญหรือไม่" นายสุรชัยกล่าว

    @ 'เทียนฉาย'ปัดหนุนมีชัย 

          นายเทียนฉาย กีระนันทน์ อดีตประธาน สปช. กล่าวกรณีที่มีกระแสข่าวให้ความเห็นสนับสนุนนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ที่ปรึกษาด้านกฎหมายคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) นั่งประธาน กรธ. ว่า ข่าวดังกล่าวไม่ใช่ความเห็นของตนแน่นอน แต่มีคนโทรศัพท์มาสอบถามพูดคุย ให้ตนไปออกรายการวิทยุในช่วงเช้าวันเดียวกันนี้ ตนปฏิเสธไม่ได้ให้สัมภาษณ์ เพียงแต่บอกว่าทุกคนมีความรู้หมด ไม่ได้ฟันธงว่าใครต้องนั่งตำแหน่งใด หรือเหมาะสมหรือไม่ เข้าใจดีว่าเวลานี้ทุกคนต้องการข่าว แต่สิ่งที่อยากพูดคือ ถ้าถูกนำเป็นเครื่องมือนำไปขยายแบบนี้คงไม่ไหว เพราะจะไปพูดคุยเรื่องรายชื่อ กรธ.นั้นไม่ได้ เนื่องจากไม่ได้มีตำแหน่งอะไรแล้ว ไม่รู้จักใคร และไม่ได้ติดต่อใครแล้วหลังจากหมดวาระการทำงานในตำแหน่งประธาน สปช. และต่อไปนี้ตนคงจะต้องระมัดระวังเรื่องการให้สัมภาษณ์มากขึ้น

    @ 'สุภัทรา'ชี้คนไม่อยากร่างรธน. 

          น.ส.สุภัทรา นาคะผิว อดีต กมธ.ยกร่างฯ กล่าวถึงกรณีที่นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช.ระบุว่าอดีต กมธ.ยกร่างฯไม่ควรเข้ามาทำหน้าที่เป็น กรธ.อีก ว่า ตรงนี้ขึ้นอยู่กับมุมมองแต่ละบุคคล หากมองในเรื่องของระยะเวลาการร่างรัฐธรรมนูญครั้งใหม่ เท่าที่ตนทราบมีเวลาระยะเวลาเพียง 5 เดือน ซึ่งถือว่าไม่นานมาก และการที่จะมี กมธ.ยกร่างฯชุดเดิม ซึ่งทำงานมาเป็นระยะเวลา 9 เดือน 18 วัน โดยเราได้ร่วมกับสถาบันพระปกเกล้ารับฟังความคิดเห็นของประชาชนในตัวแทนกลุ่มต่างๆ แม้อาจจะมีข้อจำกัดอยู่บ้างหรือไม่ได้มีการแสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่ แต่ถือว่ามีพื้นฐานเป็นทุนสำหรับ กรธ.ชุดใหม่ แต่ทั้งนี้ที่ระบุมาเช่นนี้ตนไม่ได้บอกว่าจะสนับสนุนหรือแย้งเพราะเรื่องนี้ต้องพิจารณาจากความเหมาะสม ถ้าคิดว่าชุดเดิมเข้าไปทำงานมีประสิทธิภาพก็สามารถใช้ชุดเดิมได้ แต่สำหรับตนคิดว่าจะเป็นใครก็ได้ที่จะเข้ามาทำหน้าที่นี้และต้องพร้อมจะเข้ามาทำงานร่างรัฐธรรมนูญ เรื่องนี้อาจจะเป็นเรื่องยากเพราะหลายคนก็ไม่อยากเข้ามาทำแล้วทั้งคนเก่าคนใหม่ 

    @ มาร์คติงวิษณุชี้นำรธน. 

          ที่พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรค ปชป. กล่าวถึงกรณีที่นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ระบุว่าในร่างรัฐธรรมนูญใหม่จำเป็นต้องมีคณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปและการปรองดองแห่งชาติ (คปป.) ว่า อยากให้นายวิษณุให้เกียรติผู้ที่จะมาร่างรัฐธรรมนูญก่อน เพราะขณะนี้ยังไม่ทราบว่าเป็นใคร แต่ถ้าพยายามทำในรูปแบบเดิมคือการมี คปป. ที่มีอำนาจรัฐซ้อนรัฐจะสร้างปัญหาและความขัดแย้งมากกว่าจะแก้ไขปัญหา จึงอยากให้ใจเย็นๆ ให้ กรธ.คุยกันก่อน อยากขอว่าเราอย่าสร้างปัญหาแต่ต้องช่วยกันคิดว่าจะทำอย่างไรให้มีรัฐธรรมนูญที่ดีมีการปฏิรูป เปิดกว้างในการสร้างกลไกที่จะเดินหน้าเรื่องนี้ แต่พอพูดถึง คปป.ก็กลับมาสู่เรื่องเดิม กล่าวหากันไปมาว่า ประชาธิปไตย เผด็จการ สืบทอดอำนาจ เผด็จการรัฐสภา 

    @ ปชป.ส่งส.ส.อาวุโสนั่งสปท.

          นายจุติ ไกรฤกษ์ เลขาธิการ ปชป. กล่าวถึงกรณีที่นายกรัฐมนตรีจะเชิญพรรคการเมืองส่งตัวแทนเป็นสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ว่า หัวหน้าพรรค ปชป.ได้บอกแล้วว่ายินดีให้ความร่วมมือ ซึ่งขณะนี้มีหลายคนที่สนใจ และแสดงความจำนงและสนใจที่จะไปทำหน้าที่นี้ แต่เมื่อทราบว่าหากเข้าไปเป็น สปท.แล้ว จะลงสมัครรับเลือกตั้งในครั้งหน้าไม่ได้ ทำให้ต้องถอนตัว ดังนั้นผู้ที่จะเข้าไปเป็น สปท.ต้องเป็นคนที่ไม่คิดลงสมัครรับเลือกตั้งอีกแล้ว ขณะนี้มีอดีต ส.ส.ของพรรคหลายคน ที่มีความอาวุโสแสดงความจำนงไม่ลงเลือกตั้งประมาณ 11 คน เนื่องจากมีปัญหาเรื่องสุขภาพ แต่ไม่มีนายบัญญัติ บรรทัดฐาน กรรมการสภาที่ปรึกษาพรรค อยู่เป็นหนึ่งในนั้น ดังนั้นคนที่จะไปอยู่ใน สปท.อาจจะเป็นคนเหล่านี้ก็ได้ 

    @ 'อ๋อย'ชงสูตรƉ-3-3-2' 

             นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า สูตร 3-3-3-2 เป็นเรื่องดี ที่มีความคิดว่าจะย่นระยะเวลาในการร่างรัฐธรรมนูญให้สั้นเข้า ความจริงการร่างรัฐธรรมนูญกันใหม่ในครั้งนี้สังคมไทยก็ได้เรียนรู้พอสมควรแล้วว่าเรื่องอะไรพอรับกันได้และเรื่องอะไรรับไม่ได้ จึงไม่ใช่การมานับหนึ่งกันใหม่ แต่สามารถรวบรวมเนื้อหาสาระของร่างรัฐธรรมนูญที่เคยมีมาแล้วคัดเลือก ส่วนที่เป็นมาตรฐานกับส่วนที่คิดว่าคนส่วนใหญ่น่าจะรับได้ออกมาเสียก่อน ส่วนประเด็นยากๆ คือ ที่มีการวิพากษ์วิจารณ์กันมากๆ ก็รวบรวมเข้าแล้วก็เปิดให้มีการแสดงความคิดเห็นกันอย่างกว้างขวางสักรอบสองรอบน่าจะตัดสินใจกันได้ในเวลาสั้นๆ 3 เดือนก็น่าจะเกินพอ ขั้นตอนต่อๆ ไปก็ยังสามารถย่นย่อได้อีกทั้งนั้น ขั้นตอนการลงประชามติเหลือสัก 3 เดือน ร่างกฎหมายลูกหลายฉบับสามารถหาทีมงานร่างไว้ตั้งแต่ตอนนี้เลย พอได้รัฐธรรมนูญก็นำมาพิจารณา ใช้เวลา 3 เดือนก็พอ ส่วนขั้นตอนสุดท้าย คือ เตรียมการเลือกตั้งก็ไม่จำเป็นต้องใช้เวลานานถึง 4 เดือน เพราะปกติการเลือกตั้งที่รู้กำหนดเวลาล่วงหน้า ใช้เวลา 30-45 วัน ก็ยังได้ ถ้าจะให้เวลานานเป็นพิเศษก็ไม่ควรเกิน 2 เดือน

    @ ประชามติไม่ผ่านเดินต่ออย่างไร 

           "สูตร 6-4-6-4 จึงสามารถเปลี่ยนเป็น 3-3- 3-3 หรือ 3-3-3-2 ก็พอ ใช้เวลารวมทั้งหมดก็จะประมาณ 11 เดือน หรือ 1 ปีเท่านั้น" นายจตุรนต์กล่าว และว่า ควรกำหนดเสียให้ชัดเจนว่าถ้าลงประชามติไม่ผ่านจะทำอย่างไร ซึ่งก็คือมีทางเลือกให้ประชาชนเลือกในการลงประชามติ ไม่ใช่ให้เลือกระหว่างร่างของ กมธ.กับการร่างกันใหม่อีกไม่รู้จักจบเท่านั้น ข้อเสนอหนึ่งที่มีการเสนอกันมาก่อนหน้านี้ ก็คือ หากไม่ผ่านการลงประชามติก็ควรนำรัฐธรรมนูญฉบับใดฉบับหนึ่งมาใช้ไปก่อนเพื่อให้มีการเลือกตั้งและมีการบริหารประเทศไปได้ แล้วก็กำหนดให้มีการเลือกสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) มาร่างรัฐธรรมนูญกันใหม่โดยประชาชนจริงๆ แนวโน้มคงต้องมีการแก้รัฐธรรมนูญชั่วคราวเกี่ยวกับเงื่อนไขในการลงประชามติอยู่แล้ว ก็น่าจะนำประเด็นเหล่านี้ไปรวมแก้เสียด้วยในคราวเดียวกันเลย

    @ ยันพท.ไม่ส่งสมาชิกนั่งสปท.

           นายจาตุรนต์ระบุว่า น่าจะชัดเจนแล้วว่าจะไม่มีการตั้งนักการเมืองเข้าไปเป็น กรธ.ชุดใหม่ จะมีนักการเมืองจากพรรคใหญ่บางพรรคเข้าไปเป็น สปท. แต่ยังไม่ชัดเจนว่าพรรคใดบ้าง ทั้งนี้พรรคเพื่อไทย (พท.) ได้พูดถึงแนวทางของพรรคไปบ้างแล้วว่า พรรคคงไม่อาจเข้าร่วมในองค์กรที่มาจากการรัฐประหารได้ แต่จะมีสมาชิกพรรคไปร่วมบ้างหรือไม่ ยังไม่อาจทราบได้ อยากจะให้ความเห็นส่วนตัวเพิ่มเติม เหตุผลที่นักการเมืองบางส่วนเห็นว่าไม่ควรเข้าร่วมใน สปท. เนื่องจากความไม่เชื่อในการปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง ซึ่งเป็นแนวความคิดที่มีมาก่อนการรัฐประหารและดูเหมือนจะดำรงอยู่อย่างต่อเนื่อง สิ่งที่เรียกว่าปฏิรูปก่อนเลือกตั้งไม่ปรากฏวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน

    ผ่านมาจะปีครึ่งไม่เห็นข้อสรุปอะไรที่เป็นชิ้นเป็นอัน

    @ 'ตู่'ยันนปช.ไม่ร่วมเป็นสปท. 

          นายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) กล่าวถึงกรณีที่มีสัดส่วนฝ่ายการเมืองใน สปท.ว่า ที่ยืนของกลุ่มการเมืองและพรรคการเมืองคือสภาผู้แทนราษฎร ไม่ใช่ สปท. ถ้านักการเมืองเข้าร่วมใน สปท.จะเป็นปัญหาในอนาคต เช่น การให้กลุ่ม 40 ส.ว.เข้าไปนั่งใน สปช.และ กมธ.ยกร่างฯก็เกิดปัญหาตามมามากมาย เพราะมีการพกความอาฆาตฝ่ายตรงข้ามเข้าไปด้วย 

           เหตุนี้ทำให้ปัญหาของประเทศไม่มีวันจบสิ้น ดังนั้น สปท.จึงไม่ควรเดินตามรอยอดีตที่ผิดพลาด เพราะปัญหาทั้งหมดของประเทศมาจากทุกกลุ่มการเมือง ขณะเดียวกันรัฐบาลต่างก็มีปัญหามากอยู่แล้ว จึงไม่ควรเพิ่มปัญหาเข้าไปอีก สปท.ไม่ควรให้มีคนจากพรรคการเมืองเข้าไปนั่ง เพราะจะเกิดผลเสียมากกว่าได้ประโยชน์ สำหรับ นปช.เองก็จะไม่มีใครเข้าร่วม และในฐานะประธาน นปช.ได้สื่อสารไปยังแนวร่วมในเรื่องดังกล่าวแล้วว่า หากใครคนใดรับตำแหน่งใน สปท. จะไม่ใช่ นปช. และผู้มีอำนาจต่างรู้ดีว่าตนมีความคิดเห็นอย่างไร จึงไม่มีใครเข้ามาทาบทามร่วม สปท. แต่จะมีการทาบทามคนที่ไม่ใช่แกนนำเพื่อใช้เป็นสัญลักษณ์ของสีเสื้อหรือไม่นั้นยังไม่ทราบ 

    @ 'อานันท์'แนะวิธีการปฏิรูป

           ที่โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ กรุงเทพฯ นายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี กล่าวปาฐกถาพิเศษหัวข้อ "สู่บริบทใหม่ของประเทศด้วยธรรมาภิบาลในระบอบประชาธิปไตย" ในงานสัมมนาวิชาการธนาคารแห่งประเทศไทยประจำปี 2558 ว่า ไทยกำลังเผชิญการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างมาก ไม่ว่าจะเป็นในมิติเศรษฐกิจ สังคม หรือการเมือง สืบเนื่องจากปัจจัยภายในและภายนอก และมีผลกระทบต่อประเทศและประชาชน ดังนั้น ต้องตระหนักถึงและปรับตัวให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลง เพื่อเดินหน้าไปสู่บรรทัดฐานใหม่นั้น จำเป็นต้องมีการปฏิรูปอย่างจริงจัง ตั้งแต่บัดนี้

          นายอานันท์ กล่าวว่า ยอมรับว่าเป็นเรื่องที่พูดง่าย แต่ทำยาก เพราะกระบวนการปฏิรูป มักนำมาซึ่งผู้ได้ประโยชน์และเสียประโยชน์ ดังนั้นการถ่วงดุลอำนาจไม่ให้ผู้เสียประโยชน์กีดขวางการเปลี่ยนแปลงที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม จำเป็นต้องพึ่งกลไกการกระจายผลประโยชน์ที่ได้ระหว่างสมาชิกในสังคมอย่างสมดุล การปฏิรูปควรมองเป็นองค์รวม แต่ในช่วงที่ผ่านมาจะมุ่งการแก้ไขปัญหาทั้งหมดไปที่รัฐธรรมนูญ ซึ่งไม่ควรเป็นเช่นนั้น อีกทั้งไทยใช้รัฐธรรมนูญค่อนข้างเปลืองมาก ปัจจุบันเป็นฉบับที่ 19 ในระยะเวลา 83 ปี

    @ รบ.ยังไม่มีทาบนั่งปธ.กรธ.

         "การปฏิรูปไม่ใช่การกระทำที่เสร็จได้ในครั้งเดียว แต่การปฏิรูปเป็นเพียงกระบวนการที่อาจเริ่มขึ้นด้วยการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ ซึ่งกระบวนการต้องพัฒนาต่อไป และต้องไม่ตกหลุมของการใช้ทางลัดต่างๆ ในการบรรลุเป้าหมายสูงสุด การปฏิรูปไปสู่ประชาธิปไตยที่แท้จริงไม่มีสูตรตายตัว ต่างจากการสร้างบ้านที่ต้องมีแบบชัดเจนและดำเนินการจากต้นจนจบทีละขั้นตอน" นายอานันท์กล่าว

          นายอานันท์ กล่าวว่า สำหรับกรณีที่มีรายงานข่าวว่าถูกทาบทามให้เป็นประธานคณะกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญหรือไม่นั้นว่า ยังไม่ได้รับการทาบทาม ส่วนจะตอบรับหรือไม่รับ ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง สำหรับรายละเอียดในร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับที่ 20 จะมีข้อเสนอแนะอย่างไรนั้น มองว่ารัฐธรรมนูญแม้จะถูกเขียนให้ดีเท่าไรก็ไม่สามารถสร้างประชาธิปไตยในสังคมได้ เป็นได้เพียงองค์ประกอบหนึ่งเท่านั้น เพราะตัวบทกฎหมายตามไม่ทันคนที่ใช้กฎหมาย ด้วยคนไทยนั้นมีความปลิ้นปล้อน สังคมจะดีได้ต้องมีกฎหมายที่ดีและคนในสังคมต้องเป็นคนดี สิ่งสำคัญจึงต้องวางรากฐานในเรื่องของการศึกษา มีการปฏิรูปการศึกษาเน้นสนับสนุนในการพัฒนาศักยภาพผู้สอน และสร้างค่านิยมให้ถูกต้องไม่ปลูกฝังเรื่องคอร์รัปชั่น

    @ มท.1ชี้เหตุคนอยากได้ผจว.เลือกตั้ง

          ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ กรุงเทพฯ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย กล่าวมอบนโยบายต่อผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศ ว่า การเมืองที่ผ่านมามีทั้งส่วนที่ดีและไม่ดี มีทั้งนโยบายที่ประชาชนโดนใจและมีนโยบายที่ทำร้ายประเทศชาติเต็มไปหมด แต่ประชาชนไม่รู้ กลไกที่ไม่ได้มาเพื่อรับใช้ประชาชนจริงๆ แต่ไปรับใช้กลุ่มการเมือง เอาพลังประชาชนทั้งหมดมาเป็นเครื่องมือทางการเมือง โดยอาศัยนโยบายที่ประชาชนชื่นชอบมาเป็นตัวบิดเบือน ขอพูดแรงๆ ได้ไหมว่า ผู้ว่าฯบางคน นายอำเภอบางคนก็มีส่วนเกี่ยวข้อง นโยบายในการปกครองไม่มีหนังสือใดบอกไว้ทั้งหมด แต่ไม่มีนโยบายใดที่ทำให้คนเอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง เช่น การตั้งโรงเรียนสี ดังนั้น อยากให้ผู้ว่าฯและข้าราชการทุกระบบในอนาคตอย่าทำเช่นนั้น เพราะไม่ใช่แค่ได้ฆ่าตัวเอง แต่ได้ฆ่าระบบกลไกของกระทรวงมหาดไทย และเพราะเป็นอย่างเช่นนี้คนถึงอยากให้ผู้ว่าฯมาจากการเลือกตั้ง

    @ เอกชนหนุนเลือกตั้งเร็ว 

          นายไพบูลย์ นลินทรางกูร นายกสมาคมนักวิเคราะห์การลงทุน และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ ทิสโก้ จำกัด กล่าวว่า ขณะนี้นักลงทุนต่างชาติเริ่มสอบถามสถานการณ์ในไทยมากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องการร่างรัฐธรรมนูญ การจัดการเลือกตั้ง และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ เพราะนานาประเทศต้องการเห็นความต่อเนื่องในการพัฒนาปฏิรูปเพื่อนำไปสู่การเลือกตั้งโดยเร็ว หากดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะช่วยเรียกความเชื่อมั่นของนักลงทุนได้มาก รวมถึงจะส่งผลให้ตลาดหุ้นไทยช่วงครึ่งปีแรกของปี 2559 ฟื้นตัวเด่นชัด โดยเฉพาะกลุ่มค้าปลีกและการบริโภคที่จะได้รับอานิสงส์มากที่สุด

    apm

     

     

    Facebook

    5 ข่าวฮอตนิวส์!