WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

2ฝายลอบบ

กระแสแรง สปช.คว่ำร่างรธน. คสช.ชักหวั่นต้านลาม บิ๊กตู่เซ็นถอดยศแม้ว 'อ๋อย'จี้คืนพาสปอร์ต

        'บิ๊กตู่' เซ็นถอดยศ 'แม้ว' แล้ว รอนำขึ้นทูลเกล้าฯห้ามกลุ่มต้านรัฐออกจอ ยันไม่เคยสั่งสปช.โหวตรับ-ไม่รับร่างรธน. แจงเหตุยกเลิกพาสปอร์ต'อ๋อย'ผิดซ้ำซาก ฮึ่มมีโดนอีกหลายคน'อ๋อย"โวยละเมิดสิทธิ จี้ทบทวนคำสั่ง นปช.ยื่นคสช.ขอแถลงจุดยืนรธน. 6 ก.ย.นี้ยันไม่ปลุกระดม เผยกระแสคว่ำรธน.เริ่มแรง คสช.หวั่นเสียงต้านลามหนัก หึ่งล็อบบี้หนักถ้าสปช. ลงมติตามใบสั่งจะได้นั่งสภาขับเคลื่อนฯ-ส.ว. สรรหา 'สิระ'ลั่นถ้ารธน.ถูกตีตกจะคืนเงินเดือน 1.7 ล้าน'วิษณุ'คาดธ.ค.-ม.ค.59 รู้ใครต้องจ่ายหนี้คดีข้าว ป.ป.ช.ฟันเพิ่มเอกชนไทย-ต่างชาติ 15 รายมีเอี่ยว

 

วันที่ 04 กันยายน พ.ศ. 2558 ปีที่ 25 ฉบับที่ 9046 ข่าวสดรายวัน

กล้วยๆ - พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ ปอกกล้วยรับประทาน ระหว่างเดินทักทายผู้ประกอบการ ภายหลังเป็นประธานแถลงข่าวโครงการสุดยอดเอสเอ็มอีจังหวัด ที่ทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 3 ก.ย.


'บิ๊กตู่'เซ็นถอดยศแม้วแล้ว
      เมื่อวันที่ 3 ก.ย. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้สัมภาษณ์ถึงการ ถอดยศพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯว่า ตนยังไม่ได้ลงนามขึ้นทูลเกล้าฯ ขณะนี้เจ้าหน้าที่ อยู่ระหว่างการดำเนินการ ผมยังไม่ได้เซ็นเพราะมันต้องเขียนและทำอะไรอีกเยอะ ส่วนขั้นตอนแรกที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) เสนอเรื่องการถอดยศขึ้นมานั้น ตนเซ็นรับทราบแล้ว เหลือเพียงขั้นตอนการทูลเกล้าฯ
     พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ส่วนการขอคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ยังไม่มีการดำเนินการใดๆ เพราะขั้นตอนการถอดยศยังไม่ได้ทำเลย แล้วจะให้ทำเรื่องขอคืนเครื่องราชฯได้อย่างไร เรื่องนี้เป็นเรื่องของตร. เขาจะพิจารณาเสนอเรื่องขึ้นมาอีกครั้ง เมื่อถอดยศแล้วจำเป็นต้องถอนเครื่องราชฯด้วยหรือไม่ ต้องไปหาข้อมูลมา ต้องดูข้อกฎหมาย อย่าเพิ่งถามตนตอนนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีเยอะแยะไปหมด ที่ผ่านมา มีการปลดมาเยอะแล้ว 600-700 คนมีการคืนเครื่องราชฯ หรือไม่ ต้องไปดูว่ามีกรณีใดบ้าง

ว้ากสื่อก้าวให้พ้น-เข้ามาก็จับ
      "วันนี้อย่าไปสนใจว่า ชื่ออะไรถ้าผิดก็ปลดและถอดยศทั้งหมด ที่ผ่านมาไม่ใช่ว่าไม่ถอด 600-700 คน แต่สื่อไม่สนใจ เพราะคนพวกนี้ชื่อมันโนเนม มีการกระทำความผิดทั้งตำรวจทหารก็ถอดยศทั้งหมด แต่บังเอิญเป็นคนนี้ ยุ่งอยู่ ยุ่งไม่เลิก ก้าวไม่พ้นสักที ให้ความสำคัญไปเรื่อย มันก็สู้อยู่อย่างนี้ สู้ไม่เลิก ลองไม่สนใจ 10 วันมันจะตายหรือเปล่าไม่รู้ ไม่ต้องทำอะไรกัน ตื่นเต้นกันไปหมด ขยับตัว ก็ตื่นเต้น ทำไมต้องตื่นเต้นกันนัก" พล.อ. ประยุทธ์กล่าว
      ผู้สื่อข่าวถามว่า มองว่าพ.ต.ท.ทักษิณยังคงสู้ต่ออยู่หรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่าตนไม่มองอะไรทั้งนั้น พูดถึงสื่อ พอเขาขยับตัวนิดหนึ่ง สื่อก็พูดว่าเขาสู้อยู่ อีกฝ่ายก็สู้ต่อ พอสื่อเขียนอย่างนี้ มันเลยสู้กันอยู่อย่างนี้ ตนไม่สู้กับใคร ถ้าเข้ามาก็จับทั้งนั้น ถ้าส่งเสริมใครกระทำความผิดก็จับ จับไอ้คนทำ แต่ขอร้องว่าอย่าทำกันเลย สื่ออย่าไปเปิดพื้นที่ให้คนนั้นคนนี้พูด เดือดร้อนกันไปหมดแล้ว ทุกคนบอกว่าบ้านเมืองไม่สงบสุขเพราะตนเข้ามาแล้วมันจะจบหรือไม่แบบนี้ ถ้าตนไม่เข้ามาป่านนี้รอบทำเนียบยังคงไม่จบ ม็อบยังอยู่ โดยรอบ ตายกันอีกเป็นร้อย สื่อเดือดร้อนกันหรือไม่ หรือเพราะไม่ใช่ญาติตัวเอง

แจงยึดพาสปอร์ต'อ๋อย'ขู่มีอีก
      ต่อข้อถามถึงเหตุผลการยกเลิกหนังสือ เดินทางหรือพาสปอร์ตของนายจาตุรนต์ ฉายแสง แกนนำพรรคเพื่อไทย พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า เป็นเรื่องที่ผิดซ้ำซาก ผิดมาหลายเรื่อง คดีความก็เยอะ เรียกมาเป็นสิบๆ ครั้งแล้ว ยังมีอีกหลายคน ถ้าเราไม่มีกติกา ก็เดินหน้าไม่ได้ ในเมื่อวันนี้ตนถูกมองแบบนี้อยู่แล้ว ก็ไม่มีอะไรจะเสียไปมากกว่านี้อีกแล้ว และขอให้จำคำพูดตนไว้และเขียนไว้ด้วยว่า สิ่งที่ตนทำแบบนี้แล้วประเทศได้อะไร อย่ามามองว่าตนทำประเทศเสียหาย ให้ไปถามดูว่าวันนี้ดีกว่าเดิมหรือไม่ และไม่ต้องมาถามว่าถ้ามีคนมาวิจารณ์อีกจะเรียกมาหรือไม่ เพราะมันเป็นเรื่องที่ตนจะพิจารณาเอง ไม่ต้องมาตั้งกฎเกณฑ์ มาตีกติกาให้ ถ้าตนจะทำก็จะทำให้เป็นธรรมมากที่สุด อย่ามารบกับตนแบบนี้ ขอให้ดูพฤติกรรม ถ้าตักเตือนแล้วหลายครั้งไม่เชื่อฟังก็ต้องถูกลงโทษกันบ้าง ถ้าไม่อยากถูกลงโทษ ก็ไปรอให้มีรัฐธรรมนูญและมีการเลือกตั้งแล้ว ไปว่ากันตอนนั้นเอาเอง
      เมื่อถามว่า ระยะนี้จะทำอย่างไรให้เกิดความ เข้าใจ และเกิดการเดินหน้า นายกฯกล่าวว่าตนพูดแล้วไม่รู้จักฟัง พูดจนคอจะแตก พูดทุกครั้ง ทุกที ก็ยังจะมาบอกให้ตนรับผิดชอบ จะผ่านหรือไม่ผ่านให้มาเอาที่ตน อยากถามว่าอำนาจเป็นของตนคนเดียวหรือ ตนมีหน้าที่ ที่จะทำให้ประเทศชาติเป็นหนึ่งเดียว สงบสุข และเดินหน้าต่อไป แต่หน้าที่ของพวกท่าน คือจะอยู่กันอย่างไร ตนทำทุกอย่างให้แล้วยังไม่เอาอีก

ยืนยันใครไล่ก็ไม่ไป
       พล.อ.ประยุทธ์กล่าวบนเวทีมอบนโยบายในการเป็นประธานในพิธีเปิดโครงการสุดยอด เอสเอ็มอีจังหวัด จัดโดยสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(สสว.)ที่ทำเนียบรัฐบาล ว่าประชาธิปไตยกำลังสับสนกันอยู่ ระหว่างที่เป็นประชาธิปไตยเสรีภาพ สิทธิเป็นหลัก และเรื่องคะแนนเสียง แต่วันนี้ตนไม่มีคะแนนเสียง ใครจะเกลียดตนก็ไม่เป็นไร ใครจะชมก็ดี ชื่นใจมีกำลังใจ
       "ใครจะเกลียดผม ผมไม่ว่าเพราะผมไม่ไปอยู่แล้ว จะไปตามรัฐธรรมนูญ ไล่ผมไม่ได้อยู่แล้ว ผมอยู่ตามรัฐธรรมนูญชั่วคราว มีแค่ไหนก็แค่นั้น เมื่อผมยืนยันว่ายังอยู่ในเวลาที่เหลืออยู่หนึ่งปี เราต้องขับเคลื่อนประเทศให้ได้ สร้างรากฐานให้เข้มแข็งทุกภาคส่วน ทั้งความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคม" พล.อ.ประยุทธ์กล่าว
     พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ไม่แน่ใจว่าตนคิดผิดเรื่องการปฏิรูป หรือประชาชนคาดหวังว่าคนอื่นจะทำให้ต่อ หรือจะเขียนรัฐธรรมนูญแค่มาตรา 1 เกี่ยวกับพระเจ้าอยู่หัวและสถาบัน ส่วนมาตรา 2 บอกว่าทุกอย่างเชิญตามสบาย ใครจะทำอะไรก็ทำ ซึ่งรัฐธรรมนูญมีเพื่อทำให้ เกิดความเป็นธรรม ตนพูดเสมอว่าไม่มีอะไรในโลกที่เท่าเทียมกันจริงในโลกนี้ แต่กฎหมาย กติกา สัญญาทุกคนต้องได้ประโยชน์อย่าง ทั่วถึง เท่าเทียมมากน้อยตามศักยภาพ

ห้ามคนพูดขัดเแย้งรัฐออกทีวี
       นายกฯกล่าวว่า กฎหมายไม่ได้เอาไว้ฆ่า ไม่ได้รังแกคนจน กฎหมายมีประโยชน์ทั้งสองข้าง แต่ฝ่ายรัฐเป็นคนบังคับใช้ เขาก็บังคับ ใช้อย่างทั่วถึง เป็นธรรม ทั้งหลักรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ ความขัดแย้งก็ลดลง นำไปสู่การขับเคลื่อนไปพร้อมกัน ซึ่งตนพูดจนเมาหมัดไปหมดแล้ว เดี๋ยวนี้นึกอะไรไม่ออก จะนึกคำพูดที่มันเจ็บๆ ก็ยังนึกไม่ออก เพราะสมองมันแย่แล้ว แต่ยังไม่แฮงก์ ยังทำได้ เพราะได้เห็นรอยยิ้มที่ยิ้มแย้มแจ่มใส ก็มี กำลังใจจะทำต่อเท่าที่มีโอกาส มีเวลา ทำตามที่กำหนดไว้ ส่วนจะอยู่หรือไม่อยู่ ให้ไปดูรัฐธรรมนูญ เพราะตนสั่งรัฐธรรมนูญไม่ได้ว่าจะผ่านหรือไม่ ถ้าผ่านก็ไม่ชอบ พอไม่ผ่าน อีกพวกก็หาว่าตนสั่งการ ตนลำเอียง ทำอะไรไม่ได้สักอย่าง
      "แม้กระทั่งการออกมาพูดทีวี กลุ่มนี้พูด กลุ่มนี้ก็ต้องพูด ถ้าไอ้กลุ่มไหนพูดแล้วมันไม่ขัดแย้งกับรัฐบาล ผมก็ไม่ห้ามปราม แต่ถ้ากลุ่มไหนพูดแล้วขัดแย้งก็ไม่ให้พูด เพราะผมเป็นกรรมการ ไม่เช่นนั้นผมไม่มายืนตรงนี้ ให้ใครขึ้นมาก็ได้ ลูกน้องพลขับก็มาได้ สั่งง่ายๆ ผมให้เวลาท่านเป็นกรรมการมานานแล้วท่านทำไม่ได้ วันนี้ผมเป็นกรรมการแล้ว ผมจะทำให้ได้ ถ้าคิดว่าจะไม่เอากรรมการแบบเดิม ก็ไปว่ากันมา ตัดสินใจกันมา" พล.อ.ประยุทธ์กล่าว

บ่นปวดหัว-รับทุกเรื่อง
     นายกฯ กล่าวว่า วันนี้ปวดหัวเพราะรับทุกเรื่อง ถ้าตนใช้อำนาจอย่างเดียวก็ไม่ปวดหัวอย่างนี้ ใช้อำนาจอย่างเดียว ทำงานมันง่าย จะตาย ใครทำไม่ได้ก็เอาออกไป ไล่ออก แต่ท้ายที่สุดจะเหลือกี่คนทำงานด้วยก็ไม่รู้เหมือนกัน ดังนั้นต้องร่วมมือกันเพราะใครคนใดคนหนึ่งทำไม่ได้ และตนไม่โทษใคร แต่ตนโทษคนกำกับดูแลที่ผ่านมา
     พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ครม.ชุดใหม่ทำงาน เต็มที่ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกฯทำเต็มที่ และครม.เก่าก็ทำงานเต็มที่ ม.ร.ว. ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตรองนายกฯก็ทำเต็มที่ เมื่อวันที่ 2 ก.ย. ยังสรุปงานเป็นเอกสารมาถึงตน ซึ่งวิธีการต้องเปลี่ยนแปลงตามสถาน การณ์ ตนไม่ทำร้ายใครอยู่แล้ว พวกเราทุกคนเป็นทีมงาน เป็นเพื่อนร่วมตายของตน เคยได้ยินโฆษณาว่าเล็กๆ มิต้าไม่ ใหญ่ๆ มิต้าทำ แต่ตนทำทั้งหมด ไม่ใช่มิต้าแต่ทำหมด เลยแบกภาระและปวดหัวทั้งวัน เวลาพูดก็งงว่าพูดงานไหน บางทีต้องตั้งสติอยู่นานกว่าจะพูดได้ แต่เห็นคนไทยยิ้มแย้มแจ่มใสก็โอเค
      "มีคนบอกว่าผมตลก ผมไม่ใช่คนตลก ผมพูดอบรมทหารมาก็ต้องให้ทหารเขาฟัง แต่บางคนไม่เคยก็หาว่าพูดมาก ผมพูดไป คนฟังก็หัวเราะคิกคัก แต่คนเครียดคือผม พอพูดไปก็โมโหขึ้นเรื่อยๆ เสียงดังขึ้นเรื่อย คนฟังก็หัวเราะสนุก แต่สนุกมีสาระ พูดแล้วช่วยกันด้วยก็แล้วกัน" พล.อ.ประยุทธ์กล่าว

ยันไม่เคยสั่งเรื่องโหวตรธน.
     พล.อ.ประยุทธ์ ให้สัมภาษณ์กรณีการขออนุญาตแสดงความคิดเห็นการวิพากษ์วิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญว่า ทุกประเทศในโลก ถ้าเป็นประชาธิปไตย 100% ใครอยากพูดอะไรก็พูดได้ แต่รู้กันว่าประเทศไทยไม่ได้ 100% ดังนั้น เอาเรื่องนี้มาพูดกับตน ใครที่พูดแล้วสนับสนุน แนวทางรัฐบาล สนับสนุนให้เป็นไปตามโรด แม็ป สามารถพูดได้ ถ้าพูดแต่มาต่อต้านตนจะทำให้โรดแม็ปเดินต่อไปไม่ได้ สิ่งเหล่านี้ต้องแยกออกจากกันให้ได้ ไม่ใช่คนนี้พูดได้ คนนั้นก็ต้องพูดได้บ้าง ไม่ใช่ว่าใครมาพูดเข้าข้างตน เขาพูดตามโรดแม็ปของเขา ทั้ง 2 พวก ตนก็ให้พูดมาโดยตลอด หรือจะมาบอกว่า ไม่เคยได้พูด
    "รัฐธรรมนูญจะผ่านหรือไม่ มันไม่ใช่ผมสั่งหรือไม่สั่ง แต่อยู่ที่ทุกคนจะเรียนรู้ว่าจะอยู่กันอย่างไรในอนาคต จะอยู่ท่ามกลางความ ขัดแย้ง อยู่ท่ามกลางการเมืองที่ไม่เหมือนปัจจุบัน ถ้าจะเอาแบบนั้นก็เอา แต่สิ่งที่จะเตือนไว้คือ รัฐธรรมนูญมีอยู่หลายหมวดหลายมาตรา อย่าไปดูแต่ 1 2 3 4 5 ว่าไม่เป็นประชาธิปไตย ถ้าอย่างนั้นมันก็คงไม่เป็นประชาธิปไตย ต่อให้พูดให้เป็นมันก็ไม่เป็น แต่ความชั่วร้ายที่มันเกิดขึ้น ที่เป็นประชาธิปไตย เต็มใบมันจะมีหรือไม่ ชัดเจนนะ" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว

ย้ำรธน.ผ่านเลือกตั้งปีหน้า
       เวลา 14.00 น. ที่สโมสรทหารบก ถนนวิภาวดีรังสิต พล.อ.ประยุทธ์กล่าวในการเป็นประธานการรับฟังการแถลงยุทธศาสตร์ชาติ-ยุทธศาสตร์ทหาร พ.ศ.2559-2563 ของนักศึกษาวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 57 (นศ.วปอ.รุ่นที่ 5)ว่า เรื่องรับหรือไม่รับ ร่าง รัฐธรรมนูญมีข่าวเข้ามา 2 สาย สายหนึ่งบอกนายกฯรับ อีกสายบอกว่านายกฯไม่รับ ซึ่งยังไม่รู้เลยว่า 2 สายนี้มาจากใคร สรุปว่าตนเหยียบ เรือสองแคม ซ้ายก็ได้ ขวาก็ได้ ยืนยันไม่ได้มีอะไรกับใครและไม่เคยไปขอหรือสั่งกับใคร ขอแค่ 5 ปีให้เดินยุทธศาสตร์ชาติได้ แค่นี้ยังให้กันไม่ได้ ถ้าร่างรัฐธรรมนูญผ่าน ก็ดำเนินการตามขั้นตอนต่อ คือทำประชามติ ออกกฎหมายลูก และเลือกตั้งในปี 2559 ยืนยันว่า คสช.และพล.อ.ประยุทธ์ ไม่ได้ประโยชน์


ทวงสิทธิ์ - นายจาตุรนต์ ฉายแสง เดินทางไปยื่นหนังสือเรียกร้องให้ชี้แจงเป็นลายลักษณ์อักษรกรณีถอดถอนหนังสือเดินทาง ทั้งที่เรื่องคดีความอยู่ในอำนาจศาล และการไปต่างประเทศต้องขออนุญาตจากคสช.ทุกครั้ง ที่กระทรวงการต่างประเทศ เมื่อวันที่ 3 ก.ย.

 

       นายกฯ กล่าวว่า ปัญหาก่อนหน้านี้ที่พบคือไม่รู้จักหน้าที่ตัวเอง และฝ่ายการเมืองเข้ามาทาบทับ ซึ่งตนเป็นห่วงส่วนราชการ หากตน ไม่อยู่จะทำกันอย่างไร ตนไม่ใช่นักการเมือง คนที่อยู่กับตนก็ไม่ใช่นักการเมืองทั้งที่เป็นพลเรือน ข้าราชการ ตำรวจ ทหาร และบางอย่างที่สร้างความขัดแย้งสร้างความสุดโต่ง พวกที่คิดว่ามันต้องแบบนั้นต้องแบบนี้ การคิด แบบนี้คือการสร้างวัฒนธรรมที่ผิด ตนไม่ได้บอกว่าต้องเชื่อตนทุกอย่าง แต่เราต้องพูดกันด้วยเหตุด้วยผล ที่ผ่านมาไม่เคยเห็นนักการเมือง มาพูดแบบตน ซึ่งตนพูดได้ทุกเรื่องเพราะไม่ต้องกลัวอะไร ใครที่จะอยู่เบื้องหลังอยู่ใต้เท้าตนไม่มี วันนี้มีปัญหาเราต้องช่วยกันแก้

ซัดคนปล่อยคลิปทำร้ายชาติ
       พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวถึงปัญหาการอ่านหนังสือไม่ออกว่า ถ้าประชาชนอ่านหนังสือไม่ได้ อ่านเอกสารไม่ได้ เอกสารราชการต้องทำให้อ่านง่ายขึ้น เพราะประชาชนก็กลัวและไม่กล้าทำอะไร กลัวการติดต่อราชการ "อ่านไม่ออกก็ไม่เข้าใจ แต่นี่เจอเจ้าหน้าที่ทะเลาะกับผัวมาแถมหน้างออีก นี่คือปัญหา และคนที่มาติดต่อต้องอารมณ์เย็นอารมณ์ดี ไม่ใช่โมโห และผมได้รับเสียงร้องเรียนถึงศูนย์ดำรงธรรมว่า ฝรั่งโทร.มาขอความช่วยเหลือ เจ้าหน้าที่ ก็อธิบาย มีล่ามแปลแต่ไม่เข้าใจ ก็พูดว่าโง่ฉิบหาย บังเอิญฝรั่งฟังภาษาไทยออก เขาก็เลยมาร้องเรียน อันนี้เรื่องจริง"
      พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า วันนี้มีการใช้โซเชี่ยล มีเดีย เพื่อทำร้ายกันมาก ตนไม่ยอมอยู่แล้วเพียงแต่ว่าเขาอยู่ต่างประเทศ ตอนนี้กำลังหามาตรการอยู่ ถ้าอยู่ต่างประเทศแล้วยังทำอยู่ต่อไป ทั้งคลิปหรืออะไร อยู่ได้อยู่ไป วันนี้ถอนพาสปอร์ตแล้วก็ยังทำอยู่ พวกนี้คิดจะไม่กลับมาแล้ว คิดทำลายให้หมดประเทศไทย อย่าอยู่เป็นสุขกันเลย คิดกันแบบนี้พวกวางระเบิดทั้งหลายในช่วงก่อนหน้านี้ ส่วนช่วงใหม่กำลังสอบอยู่ ไอ้คนเหล่านี้เป็นคนใจร้าย แสดงว่าบ้านเมืองเรายังไม่สงบทั้งปัจจัยภายในและภายนอกจึงต้องขอความร่วมมือกับทุกท่าน

กต.เผยยึดพาสปอร์ตอ๋อย 19 สค.
      ที่กระทรวงการต่างประเทศ นายเสข วรรณ เมธี อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ(กต.) กล่าวว่าตร.มีหนังสือ ถึงกระทรวงการต่างประเทศ ขอให้พิจารณายกเลิกหนังสือเดินทางของนายจาตุรนต์ เนื่องจากเป็นบุคคลที่มีหมายจับและเดินทางไปต่างประเทศ โดยกระทรวงพิจารณาแล้วเห็นว่า กรณีดังกล่าวเข้าข่ายที่จะยกเลิกหนังสือ เดินทางตามระเบียบกระทรวงการต่างประเทศว่าด้วยการออกหนังสือเดินทาง พ.ศ.2548 ข้อ 23 (2) ประกอบข้อ 21 (2) จึงได้ยกเลิกหนังสือเดินทางของนายจาตุรนต์ ตั้งแต่วันที่ 19 ส.ค.ที่ผ่านมา

'อ๋อย'จี้ทบทวนคำสั่ง
      ที่กรมการกงสุล ถ.แจ้งวัฒนะ นายจาตุรนต์ ให้สัมภาษณ์หลังเข้าหารือกับนายธงชัย ชาสวัสดิ์ อธิบดีกรมการกงศุลนานกว่า 40 นาที ว่านายธงชัยชี้แจงว่าได้ยกเลิกหนังสือเดินทางของตนตั้งแต่วันที่ 19 ส.ค. เนื่องจากตร.ขอยกเลิกโดยให้เหตุผลว่าเป็นผู้ถูกออกหมายจับและเดินทางไปต่างประเทศ แต่ไม่ได้ให้รายละเอียดว่าหมายจับเรื่องอะไร ตนจึงระบุว่าเหตุผลข้ออ้างที่ยกเลิกหนังสือเดินทางไม่ตรงกับข้อเท็จจริง เนื่องจากตนไม่ได้ถูกออกหมายจับ แต่ถูกควบคุมตัวด้วยความสมัครใจ ขณะนี้คดีอยู่ในศาลทหาร แต่อยู่ระหว่างการปล่อยตัวชั่วคราว มีการประกันตัว เงื่อนไขข้อหนึ่งคือห้ามออกนอกประเทศ ยกเว้นจะได้รับอนุญาตจากศาลทหาร ตนจึงไม่ใช่ผู้ถูกออกหมายจับ และขณะนี้ยังไม่ได้ไปไหน จึงไม่เข้า ข่ายที่แจ้งมาทั้ง 2 ข้อ
     นายจาตุรนต์ กล่าวว่า กระทรวงการต่างประเทศได้ชี้แจงว่าเป็นการดำเนินการตามปกติ เมื่อได้รับคำร้องขอจากหน่วยงานราชการ เช่น ตร.หรือศาลให้เพิกถอน กระทรวงจะดำเนินการตามโดยไม่ใช้ดุลยพินิจ แสดงให้เห็นความหละหลวมของระเบียบและการบังคับใช้ โดยไม่มีการตรวจสอบข้อเท็จจริง ซึ่งตรวจสอบได้ไม่ยาก ทั้งนี้ ตนได้ยื่นหนังสือขอให้ชี้แจงข้อเท็จจริงและรอคำชี้แจงภายใน 15 วัน รวมทั้งยังร้องขอให้กระทรวงทบทวนการยกเลิก หนังสือเดินทางด้วย

ชี้ละเมิดสิทธิเสรีภาพ
     นายจาตุรนต์ กล่าวว่าส่วนที่พล.อ.ประยุทธ์ระบุทำผิดก็ต้องถูกลงโทษนั้น ยิ่งไปกันใหญ่ ระเบียบกระทรวงการต่างประเทศไม่ได้เปิดช่องให้มาลงโทษพลเมืองด้วยการเพิกถอนหนังสือเดินทาง ยิ่งพูดว่าเกี่ยวกับการแสดงความเห็นทางการเมือง เท่ากับปิดโอกาสการแสดงความเห็นทางการเมืองโดยบริสุทธิ์ใจ และระเบียบดังกล่าวจึงตกเป็นเครื่องมือทางการเมือง ปิดกั้นเสรีภาพ ถือเป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพและเป็นเรื่องน่าห่วงอีกอย่างหนึ่งของบ้านเมือง
     ผู้สื่อข่าวถามว่า ก่อนถูกยกเลิกหนังสือ เดินทางได้ไปไหนบ้าง นายจาตุรนต์กล่าวว่าไปต่างประเทศมา 3-4 ครั้ง แต่ละครั้งศาลทหารอนุญาตทุกครั้ง มี 2 ครั้งที่คสช.ไม่อนุญาต โดยให้เหตุผลว่าตนแสดงความเห็นวิจารณ์คสช.มากเกินไป แต่ตอนนี้ไปไกลกว่าคือยกเลิกหนังสือเดินทาง หากตนได้รับคำชี้แจงก็จะขอให้ทบทวน ถ้าไม่ได้จะดำเนินการตามกฎหมายเพื่อปกป้องสิทธินี้
      "ผมได้ตั้งใจมานานแล้วว่าจะเป็นปากเสียงให้กับประชาชน แสดงความเห็นอย่างตรงไปตรงมา แม้จะถูกดำเนินมาตรการต่างๆ ซึ่งร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ถือเป็นร่างที่เลวร้ายที่สุด เผด็จการที่สุดเท่าที่ประเทศไทยเคยมีมา ถ้าใช้บังคับจะเกิดความเสียหายกับประเทศเกินกว่าที่ใครจะคิด ทางที่ดีคือทำให้ไม่มีผลบังคับใช้ เมื่อถึงเวลาทำประชามติ ประชาชนก็กากบาทในช่องไม่เห็นด้วย ซึ่งเป็นวิธีที่ถูกต้อง ไม่ใช่การปลุกระดมหรือผิดกฎหมาย" นายจาตุรนต์กล่าว
      ทั้งนี้ นายจาตุรนต์ยังนำหนังสือเดินทางปกสีน้ำตาลที่ถูกยกเลิกมาแสดงต่อสื่อมวลชน พร้อมระบุว่าเป็นเล่มที่หมดอายุ และตนนำมาทำออกเล่มใหม่ โดยกรมการกงสุลออกเล่มใหม่ให้เมื่อวันที่ 19 ส.ค.ที่ผ่านมา ส่วนหนังสือ เดินทางการทูตและหนังสือเดินทางปกติอีกเล่มหนึ่งได้หมดอายุไปก่อนหน้าแล้ว

'วิษณุ'ชี้ถ้าเคสแรกถือว่าแรง
     นายวิษณุ เครืองาม รองนายกฯ กล่าวว่าพาสปอร์ตทางการทูตนั้น กระทรวงการต่างประเทศยึดได้ อาจยึดเล่มน้ำเงินและเล่มสีแดง ส่วนเล่มสีน้ำตาลไม่น่าจะถูกยกเลิก เพราะคนทำต้องเสียค่าใช้จ่ายส่วนตัว แต่เมื่อไม่รู้ข้อมูล จึงบอกไม่ได้ว่ากลั่นแกล้งทางการเมืองหรือไม่ ต้องสอบถามกระทรวงการต่างประเทศ แต่ถ้ายกเลิกจริง กระทรวงการต่างประเทศต้องชี้แจงเหตุผล รวมถึงอำนาจที่จะยกเลิกให้ได้
      "ตอนที่ผมเป็นจำเลย คดีหวย 2 ตัว 3 ตัว ผมคิดว่าแทนที่เขาจะห้ามไปต่างประเทศ ทำไม ไม่ยึดพาสปอร์ต แต่เขาก็ไม่ทำอะไร เพียงแต่เวลาเดินทางออกนอกประเทศ ต้องไปขออนุญาตและเขาก็อนุญาตทุกครั้ง คดีของน.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกฯ ที่ศาลให้ประกันตัว แต่ถ้าจะไปต้องขออนุญาตศาล แต่ประเภทยึดพาสปอร์ต ผมไม่เคยได้ยิน ถ้าไม่เคยทำแล้วเพิ่งทำครั้งนี้ถือว่าแรง แต่วิธีการแบบนี้ผมไม่เคยได้ยิน"นายวิษณุกล่าว

'ตู่'ท้าให้ยึดบ้าง-อัดหาเรื่องเพิ่ม
     นายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) กล่าวว่า การยกเลิกหนังสือเดินทางของนายจาตุรนต์เป็นเรื่องแปลก เพราะคสช.เป็นผู้ควบคุมและพิจารณาอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ออกนอกประเทศได้อยู่แล้ว และคนที่ถูกดำเนินคดี นอกจากต้องขออนุญาตคสช.แล้ว ยังต้องขอจากศาลและต้องได้รับอนุญาตทั้งคู่ และโดยหลักของการไปต่างประเทศมีเงื่อนไขและรายละเอียดกำหนดไว้ชัดเจน ต้องแจ้งสถานที่ วัน และเวลาการเดินทาง และรายงานตัวทั้งก่อนและหลังกลับมาแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องใช้วิธีถอนหนังสือเดินทาง
      "หากคิดจะใช้วิธีนี้เชือดไก่ให้ลิงดู คงไม่ได้ผล เพราะนายจาตุรนต์มีจุดยืนชัดเจน การถอน พาสปอร์ตไม่สามารถหยุดความเชื่อ อุดมการณ์ และหลักการประชาธิปไตยของนายจาตุรนต์ได้ และเห็นว่าการดำเนินการลักษณะนี้ในช่วงที่นายกฯ จะไปประชุมสหประชาชาติ(ยูเอ็น) ไม่เป็นผลดีกับตัวเอง เมื่อมีอำนาจอยู่แล้ว ไม่ควรหาเรื่องเพิ่มอีก และหากคสช.จะถอนหนังสือเดินทางของผมก็ทำได้เลย ยินดีและไม่มีปัญหา เพราะขณะนี้ไม่ได้ใช้เดินทางไปไหนอยู่แล้ว และบอกแกนนำไปแล้วว่าอย่าไปสนใจเรื่องนี้" นายจตุพรกล่าว

ยื่นคสช.ขออนุญาตจ้อรธน.
       นายจตุพร กล่าวถึงการส่งตัวแทนขออนุญาต คสช.จัดแถลงจุดยืนที่มีต่อร่างรัฐธรรมนูญว่า คสช.ยังไม่ได้ตอบกลับว่าจะอนุญาตหรือไม่ เหตุผลที่เราเลือกแถลงวันที่ 6 ก.ย.หลังจากสปช.ลงมติ เพราะไม่ต้องการกลุ่มใดหรือบุคคลใดนำไปเป็นข้ออ้างว่าจะทำให้ขัดแย้งเพราะตอบโต้กัน เนื่องจากมูลนิธิมวลมหาประชาชนเพื่อการปฏิรูปประเทศไทย(กปปส.) ได้แสดงความเห็นสนับสนุนไปแล้ว เราจึงเลือกจะพูดโดยจะย้ำในจุดยืนของนปช.ที่ไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ซึ่งรูปแบบการแถลง วิธีนำเสนอ สถานที่จัดงาน เหมือนกันทุกอย่างกับที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ประธานมูลนิธิกปปส.จัดแถลงทั้งสิ้น ฉะนั้นคสช.ควรพิจารณาอย่างเป็นธรรม
       เวลา 11.00 น. ที่หน้ากองบัญชาการกองทัพบก (บก.ทบ.) ถ.ราชดำเนิน นายจตุพรมอบให้นายธนาวุฒิ วิชัยดิษฐ โฆษกนปช. พร้อมนายสมหวัง อัสราษี อดีตเลขานุการรมว.พาณิชย์ ในฐานะแกนนำนปช. เป็นตัวแทนยื่นหนังสือขออนุญาตจัดแถลงข่าวเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับสื่อมวลชนเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญ ในเวลา 14.00-16.00 น. วันที่ 6 ก.ย. ที่โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล โดยมีพล.ต.หญิง บุษบง นุตสถิต ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก เป็นตัวแทนคสช.รับหนังสือ

ยันไม่ใช่ปลุกระดม
      นายธนาวุฒิ กล่าวว่า ถือเป็นการแสดงความ คิดเห็น ไม่ใช่การปลุกระดมหรือปลุกปั่นให้เกิดความวุ่นวายใดๆ เป็นการแสดงท่าทีและจุดยืนของกลุ่มนปช. วันนั้นจะไม่มีมวลชน มีเพียงนายจตุพร นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ นายวีระกานต์ มุสิกพงศ์ นางธิดา โตจิราการ และนพ. เหวง โตจิราการ รวมถึงแกนนำนปช.คนอื่นๆ
      นายวัฒนา เมืองสุข แกนนำพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงพล.อ.ประยุทธ์ขู่จะยกเลิกพาสปอร์ตบุคคลอีกหลายรายว่า การแสดงความคิดเห็นไม่ว่าเรื่องใด รวมถึงเรื่องร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งคนไทยทุกคนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย ย่อมมีสิทธิวิพากษ์ได้โดยสุจริตและชอบธรรม อยากถามว่านายกฯจะใช้อำนาจที่ยึดเขามาตั้งตัวเป็นนายกฯ แล้วมาใช้อำนาจตามอำเภอใจแบบนี้ได้หรือ ต้องถามประชาชนว่าจะยอมให้พล.อ.ประยุทธ์ใช้อำนาจมาข่มขู่แบบนี้หรือ

แนะเหยียบเบรกวันลงมติ
      นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา ที่ปรึกษาคณะทำงานฝ่ายกฎหมายพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงการลงมติร่างรัฐธรรมนูญของสภาปฏิรูปแห่งชาติ(สปช.)ทั้งกลุ่มหนุนกลุ่มต้านว่า สปช. ทุกคนต้องตัดสินใจให้ดี ระหว่างการโหวตรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ แนวทางไหนจะเกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติสูงสุด ถ้าร่างไม่ผ่านน่าจะเป็นประโยชน์มากกว่าผ่าน ประเทศ จะได้กลับสู่ความเป็นประชาธิปไตยเร็วขึ้น ที่สำคัญประหยัดงบประมาณทำประชามติได้ถึง 3,000 ล้านบาท
      ด้านนายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด รักษาการรองโฆษกพรรคเพื่อไทยกล่าวว่า ถือเป็นความหวังที่มีเสียงต้านร่างรัฐธรรมนูญมากขึ้นเรื่อยๆ เชื่อว่าถึงวันโหวตคะแนนของกลุ่มต้านจะมากขึ้น อาจแซงกลุ่มหนุนก็ได้ สปช.ต้องตัดสินใจให้ดี ถ้าลงมติรับจะก่อให้เกิดปัญหาตามมามาก อาจรับผิดชอบไม่ไหว แต่ละฝ่ายที่อยู่ข้างนอกได้แสดงและย้ำจุดยืนมาตลอด สปช.จะเดินฝ่าความเห็นต้านของประชาชนไปอย่างไร สู้เหยียบ เบรกตั้งแต่วันนี้ดีกว่า หากสปช.ลงมติไม่รับร่างรัฐธรรมนูญไม่ใช่เรื่องเสียหน้า คณะกรรมาธิการ (กมธ.)ยกร่างรัฐธรรมนูญก็ไม่ต้องคืนเบี้ยประชุม กลับไปตั้งกรรมการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ยอมเสียเวลาอีก 180 วัน ดีกว่าให้ร่างผ่านไปทั้งที่รู้ว่าจะสร้างปัญหาตามมามาก

'เต้น'ฉะหางเครื่องรัฐประหาร
     นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ เลขาธิการนปช.กล่าวว่า หากสปช.รับร่างรัฐธรรมนูญ การประกาศจุดยืนว่าไม่รับในชั้นประชามติ ก็เป็นสิทธิโดยชอบเหมือนที่หลายฝ่ายดำเนินการอยู่ตอนนี้ ส่วนการรณรงค์ก็เป็นไปโดยสงบ ไม่มีการเคลื่อนขบวนมวลชน ไม่มีความวุ่นวายใดๆ มั่นใจว่าประชาชนพร้อมรับฟังเหตุผลและเข้าใจหลักประชาธิปไตย แต่สิ่งที่ไม่เข้าใจคือสปช.บางคนจะถือเอาเหตุแบบนี้ไปยื่นถอนประกันได้อย่างไร เป็นธรรมดาของเผด็จการทุกยุคที่ใช้อำนาจกดดันหรือคุกคามประชาชนที่เห็นต่าง แต่ไม่นึกว่าคนที่กินน้ำข้าวเผด็จการไปนานๆ จะลุกขึ้นมาเบ่งกล้ามกับเขาด้วย
     "ตั้งแต่ยึดอำนาจ ก็เข้าใจสถานการณ์ดีว่าอิสรภาพของผมแขวนอยู่บนเส้นด้าย ให้รู้ไปว่าจะถูกจำขังเพราะไม่เห็นด้วยกับการเอาประชาธิปไตยไปพันธนาการ ผมไม่ได้ท้าทายใคร แต่อยากฝากถึงหางเครื่องรัฐประหารบางคนว่า 10 ปีที่แล้วผมชื่อณัฐวุฒิ ถึงวันนี้ผมก็ยังเป็นผมแบบนี้ ท่านมีอะไรจะทำหรือไปตามใจแป๊ะอย่างไรก็ทำไป อย่าเสียเวลามาข่มขู่เลย ผมไม่มีเวลากลัว เพราะต้องทุ่มเทเวลาให้กับการรณรงค์ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ" นายณัฐวุฒิกล่าว

'ป๋า'สอนตอบแทนคุณแผ่นดิน
      ที่มูลนิธิรัฐบุรุษพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ถนนอู่ทองนอก พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ กล่าวในโอกาส เป็นประธานเปิดโครงการ "เยาวชนไทยหัวใจเดียวกัน" รุ่นที่ 3 จัดโดยกองสารนิเทศและประชาสัมพันธ์ สำนักงานศาลยุติธรรม ซึ่งมีเยาวชนในพื้นที่ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 117 คนเข้าร่วมว่า โครงการนี้ต้องการให้ทุกคนได้มาอยู่ที่กรุงเทพฯกับครอบครัว ซึ่งอยู่กันอย่างสงบสุข แต่หันกลับไปดูที่บ้านเรา บางโอกาสอาจจะทะเลาะกัน สิ่งที่เราต้องทำคืออยากให้ทุกคนกลับไปบ้าน และไปบอกว่าการทะเลาะกันไม่เกิดประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัว และบ้านเมืองของเรา ดังนั้น ขอให้จำไว้ว่าทุกคนเกิดในประเทศนี้ไม่ว่าจังหวัดใดก็ตาม มีสัญชาติ ไทยและเป็นเจ้าของประเทศไทย
      พล.อ.เปรม กล่าวว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่จะมีการลงมติกันในวันที่ 6 ก.ย.นี้ ลองเอารัฐธรรมนูญฉบับเดิมๆ ไปดูว่าคนไทยมีหน้าที่อะไรต่อบ้านเมือง แต่มีอย่างหนึ่งที่ไม่ได้เขียน ในรัฐธรรมนูญทุกฉบับแม้แต่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน คือการตอบแทนบุญคุณแผ่นดิน เราคิดเรื่องนี้มา 20 ปี ต้องสอนคนไทย ไม่ว่านับถือศาสนาใด เรามีหน้าที่เหมือนกันคือตอบแทนแผ่นดิน วิธีทำง่ายมากคือทำตนเป็นคนดี ไม่ทำให้ใครเดือดร้อน อีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญคือการโกงชาติ พวกที่ทำไม่ดี เอาเงินหลวงมาใช้เป็นของส่วนตัวโดยวิธีต่างๆ เป็นสิ่งเลวร้าย เราต้องช่วยกันดูแลไม่ให้ใครทำบ้านเมืองเสียหาย การโกงชาติแย่สุด เราขายหน้า ใครๆ ก็ขายหน้า เพราะชาติของเราเป็นชาติที่มีคนขี้โกงเยอะ

กระแสโหวตคว่ำรธน.เริ่มแรง
     รายงานจากรัฐสภาเปิดเผยว่า สำหรับความเคลื่อนไหวของสปช.ที่จะลงมติร่างรัฐธรรมนูญ ในวันที่ 6 ก.ย.นี้ ปรากฏว่ากลุ่มสปช.ที่จะรับและไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ต่างเดินเกมล็อบบี้กันอย่างหนักเพื่อโน้มน้าวขอคะแนนเสียง ล่าสุดค่ำวันที่ 2 ก.ย.ที่ผ่านมา กลุ่มสปช.ที่รับร่างรัฐธรรมนูญ 20-30 คน ร่วมรับประทานอาหารค่ำที่ร้านอาหารแห่งหนึ่งย่านลาดพร้าว เพื่อหารือถึงสถานการณ์ที่ถูกสปช.กลุ่มไม่รับร่างทำคะแนนตีตื้นขึ้นมาถึง 80-100 คน จากเดิมมีประมาณ 50 คน โดยได้เสียงเพิ่มจากสปช.กลุ่มวิชาการ กลุ่มนักกฎหมาย สปช.จังหวัดที่เริ่มโน้มเอียงมาทางไม่รับร่าง
    ส่วนสปช.กลุ่มที่ไม่รับร่าง ยังพยายามจุดกระแสว่ามีสปช.ไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับนี้ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้สปช.กลุ่มรับร่างต้องเดินสายล็อบบี้สปช.อย่างหนัก เพื่อดึงคะแนนกลับมาให้ได้ โดยเฉพาะในสายสปช.จังหวัด ที่เริ่มโน้มเอียงที่จะไม่รับ
    อย่างไรก็ตาม น่าสังเกตว่าในการล็อบบี้ขอคะแนนจากสปช.ทั้ง 2 กลุ่ม ต่างอ้างว่ามีคำสั่งจาก"ผู้มีอำนาจในคสช." เพื่อให้ลงมติตามแนวทางที่กลุ่มต้องการ โดยมีข้อแลกเปลี่ยนคือ การเข้าไปนั่งในสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ 200 คน ตลอดจนการได้เป็นส.ว. สรรหา 123 คน ที่ครม.ชุดปัจจุบันจะเป็นคนตั้ง
       ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะเดียวกัน มีกระแสข่าวว่าเริ่มมีคสช.บางคนมองว่าร่างรัฐธรรมนูญ ไม่ควรผ่านสปช. เนื่องจากเห็นว่าหากร่างรัฐธรรมนูญผ่านไปถึงการทำประชามติจะทำให้เกิดปัญหาวุ่นวายตามมาอีกมาก

เชื่อปล่อยข่าวตีฝ่ายตรงข้าม
      นายเอกราช ช่างเหลา สปช.ขอนแก่น กล่าวว่ากระแสข่าวที่สมาชิกสปช. 20 คนไปหารือเรื่องคะแนนเสียงที่ร้านอาหารย่านลาดพร้าว ตนทราบแล้ว ซึ่งเพื่อนสมาชิกสปช.ต่างพูดเหมือนกันว่าเป็นการเลี้ยงสังสรรค์หารือเรื่องทั่วไป ไม่มีประเด็นการเมืองหรือล็อบบี้ ทั้งหมดเป็นเพียงการปล่อยข่าวเพื่อหวังผลทางการเมือง สะท้อนชัดว่าฝ่ายหนุนร่างรัฐธรรมนูญกำลังเพลี่ยงพล้ำ ส่วนการนำ คสช.มาอ้างว่าให้โหวตรับร่าง เพื่อแลกกับเก้าอี้ ในสภาขับเคลื่อนฯ จะสร้างความลำบากใจให้คสช.และเป็นผลเสียกับฝั่งของตนเองในที่สุด
     นายประชา เตรัตน์ สปช.ชลบุรี กล่าวว่า ที่ผ่านมาตนไปทำความเข้าใจเนื้อหาในร่างรัฐธรรมนูญกับสมาชิกสปช.แต่กลับถูกมองว่าไปล็อบบี้ ฉะนั้นตนไม่สนใจว่าจะคว่ำหรือ จะรับ แต่คิดว่าสปช. 247 คน คงจะใช้สติปัญญาพิจารณา คำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติและบ้านเมือง เชื่อว่าคงไม่มีใครมาชักจูงได้

สายจังหวัดคุยพลิกชนะได้
    ด้านนายทิวา การกระสัง สปช.บุรีรัมย์ ซึ่งอยู่ในกลุ่มสปช.ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า ขณะนี้มีการล็อบบี้สปช.จังหวัดบางคนให้ผ่านร่างรัฐธรรมนูญ ให้เหตุผลว่าร่างฉบับนี้ให้อำนาจกับประชาชนเพิ่มขึ้นอย่างมาก รวมถึงสปช.เป็นคนตั้งตัวแทน 21 คนเข้าไปเป็นกมธ.ยกร่างฯ หากไม่รับร่างในผลงานที่ตัวแทนของสปช.ส่งเข้าไปจะทำให้สปช.เสียหายเอง รวมถึงโน้มน้าวว่าหากรับร่างจะมีโอกาสได้ทำงานต่อในตำแหน่งต่างๆ ส่วนคะแนนเสียงกลุ่มของตน ขณะนี้มีเสียงเกิน 100 เสียงแล้ว พร้อมจะพลิกกลับมาชนะได้
     นายวุฒิสาร ตันไชย กมธ.ยกร่างฯ กล่าวว่า เห็นว่าสปช.ควรรับร่างรัฐธรรมนูญเพื่อทำให้ประเทศชาติมีกติกา เดินต่อไปได้ ส่วนที่วิจารณ์ กมธ.ยกร่างฯ 21 คนซึ่งเป็นสปช. ไม่ควรโหวตเพราะมีประโยชน์ทับซ้อน อยู่ยกร่างกฎหมายประกอบรับธรรมนูญต่อ รับเบี้ยประชุม ครั้งละ 6 พันบาทนั้น เงิน 6 พันบาทอย่ามาพูดกับตน ไม่อยากได้เลยเพราะต้องประชุมถึง 5 ทุ่มทุกวันไม่คุ้ม

'สิระ'ลั่นรธน.ตกคืนเงิน 1.7 ล้าน
     นายสิระ เจนจาคะ สปช. กล่าวว่า หากสปช.มีมติไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญ ตนในฐานะที่อาสาเข้ามาผลักดันร่างรัฐธรรมนูญฉบับปฏิรูปประเทศ จะขอแสดงความรับผิดชอบด้วยการคืนเงินเดือน และสวัสดิการของสปช.ตลอด 11 เดือนที่เข้ามาทำหน้าที่ ซึ่งเป็นภาษีประชาชนจำนวน 1.7 ล้านบาท เพราะถือว่าสปช.ทำงานล้มเหลว ไม่สามารถผลักดันสิ่งที่เป็นประโยชน์ผ่านร่างรัฐธรรมนูญที่ดีที่สุดให้ประชาชนใช้ได้
     "ผมยังเรียกร้องสปช. หากร่วมกันลงมติไม่รับ ให้แสดงความรับผิดชอบที่ประเทศชาติต้องสูญเสียงบประมาณที่เป็นเงินเดือนสปช. 247 คน ประมาณ 1 พันล้าน รวมทั้งค่าเบี้ยประชุมของกมธ.ยกร่างฯที่ประชุมกว่า 160 ครั้ง เป็นเงินกว่า 9 แสนบาท"นายสิระกล่าว

มั่นใจผ่านฉลุยกว่า 190 เสียง
     นายสิระ กล่าวว่าจากการเช็กเสียงของสปช. ล่าสุด มีผู้เห็นด้วย 190 คน ส่วนผู้ไม่เห็นด้วยพบว่ามีเพียง 25 คนเท่านั้น ซึ่งอยู่ในกมธ.ปฏิรูปการเมือง กมธ.กฎหมายและกระบวนการ ยุติธรรมบางส่วน และสปช.สายจังหวัดจำนวน หนึ่ง ซึ่งสปช.ที่ลงมติคว่ำร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่ดีที่สุด คงไม่มีใครกล้าจ้างไปทำอะไรอีก เพราะทำงานแค่นี้ยังทำให้ประเทศชาติ ไม่ได้ อีกทั้งยังเป็นประวัติติดตัวไปตลอดชีวิต และหากร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่าน ตนก็เสียใจ เพราะร่างฉบับนี้ประชาชนได้ประโยชน์มากที่สุด คนเสียผลประโยชน์คือนักการเมือง ทั้งนักการเมืองอาชีพ และนักการเมืองที่แฝงอยู่ในร่างสปช.
      ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ระหว่างการแถลง นายสิระนำธนบัตรประกอบด้วยแบงก์พันหลายปึกใหญ่ จำนวน 1.7 ล้านบาทมาแสดง พร้อมรับปากว่าหากร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านความเห็นชอบของสปช. ในวันที่ 7 ก.ย. ตนจะนำเงินดังกล่าวคืนแก่หลวงทันที

'วิษณุ'แจงเสียงประชามติ
      นายวิษณุ เครืองาม รองนายกฯ กล่าวถึงกรณี สปช.บางส่วน ระบุการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญจะผ่านได้ต้องได้รับเสียงข้างมาก จากจำนวนเสียงทั้งหมดของผู้มีสิทธิออกเสียง ไม่ใช่เกินครึ่งของผู้มาออกเสียงประชามติ ว่า เขาอาจเข้าใจถูก แต่เข้าใจคนละอย่างกับที่ตนเข้าใจ ยอมรับว่าถ้อยคำของกฎหมายอาจทำให้ดูมีปัญหา รัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 มาตรา 37 ใช้คำว่าผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติจะต้องเห็นชอบด้วยเสียงข้างมาก ก็มีคนตีความว่ากฎหมายไม่ได้ใช้คำว่าผู้มาใช้สิทธิ แต่ใช้คำว่าผู้มีสิทธิ ฉะนั้นเสียงข้างมากคือเสียงของผู้มีสิทธิทั้งหมด สมมติผู้มีสิทธิมีอยู่ 40 ล้านคน ต้องมีเสียงเห็นชอบรัฐธรรมนูญเกิน 20 ล้านคนถึงจะผ่าน ก็แปลได้ แต่ความจริง มาตรา 37 ใช้คำว่าผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติให้ความเห็นชอบโดยเสียงข้างมาก
     นายวิษณุ กล่าวว่า คิดง่ายๆ ว่า สมมติว่ามีสิทธิ 40 ล้านคน มาใช้สิทธิ 10 ล้านคน และเห็นชอบ 7 ล้านคน ฝ่ายสปช.มองว่า 7 ล้านคน ยังไม่ถึงเสียงข้างมากของผู้มีสิทธิ 40 ล้านคน หากแปลเช่นนั้นคงยาก คุณพูดได้อย่างไรว่าอีก 10 กว่าล้านเสียงที่ไม่มานั้น เห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ จึงต้องถือว่าเสียงตรงนั้นว่าเป็นศูนย์ แล้วมาวัดกันที่ 3 ล้านกับ 7 ล้าน หาก 7 ล้านมากกว่า 3 ล้านก็จบ เพราะเขาใช้คำว่า ผู้มีสิทธิให้ความเห็นชอบโดยเสียงข้างมาก ที่ย้ำอย่างนี้เพราะเราไม่สามารถพูดได้ว่าคนที่มีสิทธิ แต่ไม่มาใช้สิทธิได้เห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ เราจะบอกว่าการที่เขามีสิทธิแต่เขาไม่มาใช้สิทธิแปลว่าเขาไม่เห็นชอบ ถ้าพูดแบบนั้นจะมากกว่า 7 ล้าน แต่พูดแบบนั้นไม่ได้ เพราะเขาไม่ใช้สิทธิ ไม่ได้แปลว่าเขาไม่เห็นชอบ แต่ไม่ได้แปลว่าเขาเห็นชอบ จึงเอาสิ่งที่แปลได้แน่ๆ คือ 7 ล้าน กับ 3 ล้านเสียง มาดูว่า อะไรมากกว่ากัน

ตอนเขียนนึกว่าชัดเจนแล้ว
      รองนายกฯ กล่าวว่า ในรัฐธรรมนูญปี 2550 ตอนลงประชามติครั้งนั้น เขาใช้คำเหมือนคราวนี้ แต่ใช้ละเอียดกว่า คือเมื่อผู้มีสิทธิมาใช้สิทธิเกินกึ่งหนึ่งของผู้ใช้สิทธิ ส่วนใน พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ.2552 เขาไม่ได้พูดอย่างนั้น เราถึงไม่เอาพ.ร.บ. ดังกล่าวมาใช้ เอาแต่เฉพาะโทษ เพราะพ.ร.บ. ดังกล่าว เขียนว่าในการลงประชามติ ต้องให้มีผู้มาใช้สิทธิเกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิจึงจะเรียกว่าใช้สิทธิที่ถูกต้อง มิเช่นนั้น ประชามติจะโมฆะ
     นายวิษณุกล่าวว่า สำหรับพ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ กับรัฐธรรมนูญจะ ขัดกันหรือไม่นั้น มันขัดกันอยู่แล้ว จึงไม่เอาพ.ร.บ.ตัวนี้มาใช้ จึงต้องเขียนวิธีของเขาเองในรัฐธรรมนูญ นำเฉพาะโทษมาใช้ เดิมเคยคิดว่าไม่ต้องเขียนอะไรมาก ให้เอาพ.ร.บ. ประชามติมาใช้ แต่เจอปัญหาแบบนี้ การที่เขาไม่เอาพ.ร.บ.ประชามติมาใช้เพราะเจตนาจะให้เป็นอีกแบบ ซึ่งขณะนี้แปลเหมือนตอนประชามติปี 2550 แบบเดียวกัน คือ 7 ล้านเสียงก็ได้ ผู้สื่อข่าวถามว่าทำไมกฎหมายถึงไม่เขียนให้ชัดเจนว่าผู้มีสิทธิกับผู้มาใช้สิทธิให้ระบุให้ชัดเจน นายวิษณุกล่าวว่า เทคนิคมีหลายวิธี ตอนเขียนก็นึกว่าชัดเจนแล้ว

'สมศรี'แนะแก้ไข-ถูกร้องวุ่น
      นางสดศรี สัตยธรรม อดีตคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.)ด้านกิจการพรรคการเมืองและการออกเสียงประชามติ กล่าวว่า กรณีนี้แตกต่างจากการออกเสียงประชามติที่กำหนดไว้ในพ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ 2552 เนื่องจากพ.ร.บ.ดังกล่าวกำหนดองค์ประกอบไว้ 2 ส่วนคือ 1.ผู้มาออกเสียง ต้องออกเสียงเกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิออกเสียง และ 2.คะแนนเสียงจะเป็นที่ยุติได้นั้น ต้องเกินกึ่งหนึ่งของผู้มาใช้สิทธิออกเสียง
     นายสดศรี กล่าวว่า ดังนั้น หากใช้คำว่าเกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิออกเสียง โอกาสที่ร่างรัฐธรรมนูญจะผ่านประชามติได้นั้นยากมาก เพราะหากมีผู้มีสิทธิออกเสียง 47 ล้านคน เท่ากับจะผ่านประชามติต้องได้เสียงเห็นชอบ 23 ล้านกว่าเสียง ซึ่งมันไม่มีทางถึง โดยหลักการ จึงควรกำหนดให้เสียงเห็นชอบเกินกว่ากึ่งหนึ่งของผู้มาใช้สิทธิออกเสียงจะชัดเจนกว่า ส่วนตัวอยากให้ผู้ที่มีอำนาจดำเนินการแก้ไขให้ชัดเจนไปเลย เพราะถ้ามีคนไปร้องเรียนว่ากกต.เขียนประกาศไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ ฉบับชั่วคราว จะเป็นเรื่องยุ่งยากตามมาได้

กกต.วางกฎแสดงความเห็น
      ที่สำนักงานกกต. นายประวิช รัตนเพียร กกต.ด้านการมีส่วนร่วมฯ กล่าวภายหลังประชุม กกต.ว่า ที่ประชุมได้พิจารณาร่างประกาศหลักเกณฑ์การออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ที่จะมีการลงมติในวันที่ 6 ก.ย.นี้ โดยตรวจสอบร่างประกาศครั้งสุดท้ายก่อนที่ประธานกกต.จะส่งให้กับสนช.ในวันที่ 7 ก.ย.นี้ ส่วนข้อกังวลของนายวิษณุ เรื่องการแสดงความเห็นผ่านโซเชี่ยลมีเดียต่างๆ ที่ประชุมเห็นว่ากกต.คงไม่สามารถจำกัดความคิดเห็นเหล่านั้นได้ แต่ได้วางหลักเกณฑ์การแสดงความคิดเห็นที่ไว้ในร่างประกาศ 3 ข้อ 1.สิ่งที่พูด ถ้าเป็น ข้อเท็จจริงข้อกฎหมายเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ สามารถทำได้ 2.ห้ามใช้ถ้อยคำหยาบคายหรือใส่ร้ายป้ายสี และ 3.ห้ามยุยงปลุกปั่น ถ้ายึดหลัก 3 ข้อนี้ก็ควรปล่อยให้ประชาชนได้แสดงความคิดเห็นเต็มที่
      นายประวิช กล่าวว่า ส่วนวันลงประชามติ จากเดิมระบุเป็นวันที่ 10 ม.ค.2559 นั้น เป็นเพียงกรอบการทำงานของกกต.ในเบื้องต้น ซึ่งกกต.จะประกาศอีกครั้งหลังจัดส่งร่างรัฐธรรมนูญและสาระสำคัญไปยังผู้มีสิทธิ์ออกเสียงประชามติ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 หรือ 13 ล้านครัวเรือน จาก 17 ล้านครัวเรือนให้เสร็จก่อน โดยกำหนดแผนงานจัดส่งให้เสร็จปลายเดือนพ.ย. แต่กกต.ไม่สามารถจัดซื้อจัดจ้างหรือพิมพ์ร่างรัฐธรรมนูญไว้ล่วงหน้า ได้ ต้องรอผลการลงมติของสปช.ในวันที่ 6 ก.ย. อาจทำให้การจัดส่งล่าช้ากว่าที่กำหนด หากเสร็จกลางเดือนธ.ค. วันออกเสียงประชามติต้องเลื่อนจากวันที่ 10 ม.ค.2559 ออกไปอีก 2 สัปดาห์

โพลชี้ปชช.ไม่เอารธน.
      ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เว็บไซต์ thaireform.org ของกมธ.วิสามัญการมีส่วนร่วมและ รับฟังความคิดเห็นของประชาชน ของสปช. ได้เผยแพร่รายงานสรุปการรับฟังความคิดเห็นจากอนุกมธ.แต่ละชุด มีหลายประเด็นที่น่าสนใจได้แก่ รายงานผลการสำรวจวัดระดับความคิดเห็นของประชาชนต่อการปฏิรูปประเทศ ของอนุกมธ.สำรวจวัดระดับความคิดเห็นของประชาชนต่อการปฏิรูปประเทศ ที่ได้สำรวจประชาชนทั่วประเทศ 26,708 คน พบว่าประชาชนร้อยละ 77.5 เห็นว่าที่มาของ นายกฯ ในร่างรัฐธรรมนูญควรมาจากส.ส. มีเพียงร้อยละ 21 ที่เห็นว่านายกฯไม่จำเป็นต้องเป็นส.ส.
     ส่วนอนุกมธ.สังเคราะห์ประเด็นการปฏิรูป นำเสนอรายงานผลการรวบรวมความคิดเห็นของประชาชนและการสังเคราะห์ประเด็นข้อเสนอแนะสำหรับประเด็นการปฏิรูปทั้ง 18 ด้าน โดยรวบรวมจากการจัดตั้งเวทีรับฟังความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศกว่า 42,859 คน โดยประเด็นที่น่าสนใจได้แก่ เสียงสะท้อนของประชาชนต่อประเด็นปฏิรูปการเมือง รายงานระบุว่า ประชาชนได้แสดงข้อเสนอแนะ เช่น อยากมีระบบการเมืองมีเสถียรภาพ มีความมั่นคง และเป็นประชาธิปไตย ไม่ควรมีการเมืองหลายพรรค นายกฯและส.ส.ต้องมาจากการเลือกตั้ง เป็นต้น

 

รัฐแจงคดีแพ่งจำนำข้าว
       เวลา 10.00 น. ที่รัฐสภา มีการประชุมสภานิติบัญญัดติแห่งชาติ (สนช.) โดยมีนายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสนช.คนที่ 1 เป็นประธานการประชุม พิจารณากระทู้ถามของนายกิตติศักดิ์ รัตนวราหะ สมาชิกสนช. ถามนายกฯ ถึงความคืบหน้าการดำเนินคดีทางแพ่งต่อผู้กระทำความผิดโครงการรับจำนำข้าว ทั้งในส่วนเอกชนและภาครัฐและคดีจะหมดอายุความเมื่อไร
      นายวิษณุ เครืองาม รองนายกฯ ได้รับมอบหมายจากนายกฯ ชี้แจงว่า คดีโครงการทุจริตจำนำข้าวแบ่งเป็น 3 ส่วนคือ 1.คดีทางการเมือง คือเรื่องถอดถอน ซึ่งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)และสนช. ได้ดำเนินการเสร็จสิ้นกระบวนการแล้ว 2.คดีทางอาญาขณะนี้ส่งเรื่องฟ้องไปยังศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของ ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองแล้ว 3.การฟ้องทางแพ่ง เพื่อเรียกค่าสินไหมทดแทนจากผู้รับผิดชอบ ซึ่งเจ้าหน้าที่ไม่ได้นิ่งนอนใจ แต่ต้องใช้หลักนิติธรรม สร้างความเป็นธรรมให้คู่กรณี ไม่ใช้อารมรณ์ ใช้หลักกฎหมายดำเนินการ โดยมีกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 2 ฉบับคือ พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ และระเบียบสำนักนายกฯเกี่ยวกับความผิดเกี่ยวข้องเจ้าหน้าที่รัฐ ต้องเชิญผู้เกี่ยวข้องมาชี้แจงเพื่อป้องกันข้อครหาและเสียรูปคดีในอนาคต

ธ.ค.-ม.ค.59 สรุปใครจ่ายหนี้
      นายวิษณุ กล่าวว่า ขั้นตอนแรก ได้ตั้งกรรม การสอบข้อเท็จจริง 2 ชุด 1.กรรมการสอบเท็จจริงที่นายกฯลงนามแต่งตั้งร่วมกับรมว.คลัง สอบน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกฯในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายข้าว โดยใกล้ปิดสำนวนแล้ว 2.กรรมการสอบข้อเท็จจริงที่นายกฯลงนามตั้งร่วมกับรมว.พาณิชย์ เพื่อสอบข้าราชการกระทรวงพาณิชย์ 6 คน ส่วนเอกชนไม่ต้องตั้งกรรมการสอบ แต่แยกฟ้องต่างหาก หากเห็นว่าเชื่อมโยงก็เรียกสอบได้ และเมื่อทั้ง 2 ชุดดำเนินการเสร็จ จะรายงาน ให้นายกฯรับทราบ
      โดยทั้ง 2 ชุดจะต้องทำให้เสร็จภายในสิ้นเดือนก.ย.นี้ จากนั้นส่งต่อไปยังคณะกรรมการความรับผิดทางแพ่งเพื่อเรียกสินไหมทดแทนที่ระบุชื่อทั้ง 2 กลุ่ม ว่ามีใครบ้าง จะต้องดำเนิน การภายใน 2 ปี คือตั้งแต่ ก.พ.2558 คือจะครบอายุความใน ก.พ.2560 แต่เชื่อว่าจะเสร็จสิ้นได้ภายในเดือนธ.ค.2558 หรืออย่างช้า ต้นปี 2559 หากพบว่ามีความผิดรัฐจะไม่ฟ้อง แต่จะสั่งให้ชำระหนี้ เหมือนคำสั่งยึดทรัพย์ ซึ่งผู้ที่ทำผิดสามารถยื่นอุทธรณ์คำสั่งได้ ทุกอย่างน่าจะจบได้ในชั้นอายุความ

ป.ป.ช.ฟันเพิ่ม-เอกชนมีเอี่ยว
      ที่สำนักงานป.ป.ช. นายวิชา มหาคุณ กรรม การ ป.ป.ช. ในฐานะโฆษก ป.ป.ช. แถลงถึงความคืบหน้าการไต่สวนเรื่องกล่าวหานาย บุญทรง เตริยาภิรมย์ รมว.พาณิชย์ขณะนั้น กับพวก รวม 111 ราย กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ ตามประมวลกฎหมายอาญาหรือกฎหมายอื่น กรณีทุจริตโครงการรับจำนำข้าวและการระบายข้าวว่า ตามที่ป.ป.ช.มีมติเมื่อวันที่ 20 ม.ค.2558 ชี้มูลความผิดนายบุญทรง กับพวก รวม 22 ราย กรณีทุจริตโครงการรับจำนำข้าวและการระบายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ ว่าทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 และพ.ร.บ.ว่าด้วยป.ป.ช. ซึ่งอัยการสูงสุด(อสส.) ได้ยื่นฟ้องและศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่ง ทางการเมือง ได้ประทับฟ้องคดีไว้พิจารณาแล้ว วันนี้ที่ประชุมได้พิจารณากรณีผู้ถูกกล่าวหา ที่ยังเหลืออยู่และมีมติ ดังนี้
     กลุ่มที่ 1 ผู้ถูกกล่าวหา 7 ราย ได้แก่ Guangdong stationery & sporting goods imp. & exp. Corp., Ms. Luo Wensui General Manager, Mr. Chen Li Purchase Manager, Mr. Lam Win Coordinator, Hainan grain and oil industrial trading company, Mr. Lin Haihui Deputy General Manager และ Mrs. Zhou Jing Coordinator ร่วมกับผู้ถูกกล่าวหารายอื่นที่ป.ป.ช. มีมติ ชี้มูลความผิดไปแล้ว ในฐานความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาฯ และพ.ร.บ.ว่าด้วยป.ป.ช. โดยให้ส่งรายงาน เอกสาร และความเห็นไปยัง อสส. เพื่อดำเนินคดีอาญากับผู้ถูกกล่าวหาตามฐานความผิดเดียวกัน ตามพ.ร.บ. ว่าด้วยป.ป.ช. มาตรา 97 ต่อไป

บิ๊กบริษัทใหญ่โดนอื้อ
       กลุ่มที่ 2 ผู้ถูกกล่าวหา 8 ราย ได้แก่ ห้างหุ้นส่วนจำกัดโรงสีกิจทวียโสธร, นายทวี อาจสมรรถ หุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัด โรงสีกิจทวียโสธร, บริษัทกิจทวียโสธรไรซ์ จำกัด, นายทวี อาจสมรรถ กรรมการบริษัทกิจทวียโสธรไรซ์ จำกัด, บริษัทเค.เอ็ม.ซี.อินเตอร์ไรซ์ (2002) จำกัด, นายปกรณ์ ลีศิริกุล กรรมการบริษัทเค.เอ็ม.ซี. อินเตอร์ไรซ์ (2002) จำกัด, บริษัทเจียเม้ง จำกัด และนางประพิศ มานะธัญญา กรรมการบริษัทเจียเม้ง จำกัด ได้สนับสนุนการกระทำความผิดของเจ้าหน้าที่รัฐ มีมูลความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาฯ และพ.ร.บ.ว่าด้วยป.ป.ช. ให้ส่งรายงาน เอกสาร และความเห็นไปยัง อสส. เพื่อดําเนินคดีอาญากับถูกกล่าวหาตามฐานความผิด
      กลุ่ม 3 ผู้ถูกกล่าวหาที่เหลือไม่ปรากฏพยานหลักฐานที่จะรับฟังได้ว่ามีการกระทำ ความผิดตามข้อกล่าวหา จึงเห็นควรให้ข้อกล่าวหาตกไป ทั้งนี้ ถือว่าคดีนี้สิ้นสุดการพิจารณาของป.ป.ช.แล้ว

 

 

เดินสาย-ปิดร้านกล่อม ล็อบบี้สปช. กลุ่มหนุน-ต้านอ้างชื่อบิ๊กขอเสียงสปช.โหวตร่างรธน. วิษณุแจงคะแนนประชามติ 'อ๋อย'บุกถามเลิกพาสปอร์ต 'บิ๊กตู่'ซัดคดีเยอะ-ผิดซ้ำซาก นปช.ยื่นทบ.ขอเปิดแถลงบ้าง

     นปช.ยื่นหนังสือ ทบ.ขอแถลงข่าวเหมือน'สุเทพ' สปช. 2 ฝ่ายล็อบบี้รับ-ไม่รับ เสียงสูสี 'สิระ'ลั่น รธน.ไม่ผ่านคืนเงินเดือน 1.7 ล้าน พท.-สมศักดิ์จี้ สปช.อย่าผ่านร่าง รธน.

มติชนออนไลน์ :

บุกบัวแก้ว - นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย เข้าพบนายธงชัย ชาสวัสดิ์ อธิบดีกรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ เพื่อสอบถามเหตุผลการออกคำสั่งเพิกถอนหนังสือเดินทาง ตามที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติทำหนังสือร้องขอ ที่กรมการกงสุล ถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 3 กันยายน

 

 

ขอแถลงข่าว - นายธนาวุฒิ วิชัยดิษฐ โฆษก นปช. และนายสมหวัง อัสราษี แกนนำ นปช. เป็นตัวแทน นปช.ยื่นหนังสือขออนุญาต คสช.จัดแถลงข่าวเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับสื่อมวลชนเกี่ยวกับร่าง รธน.ในวันที่ 6 กันยายน ที่กองทัพบก เมื่อวันที่ 3 กันยายน

@ 'ป๋าเปรม'ชี้โกงชาติเรื่องเลวร้าย

     เมื่อวันที่ 3 กันยายน ที่มูลนิธิรัฐบุรุษ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ถนนอู่ทองนอก พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ เป็นประธานเปิดโครงการ "เยาวชนไทยหัวใจเดียวกัน" รุ่นที่ 3 โดยกล่าวตอนหนึ่งว่า "อยากให้เธอเข้าใจ เราเกิดมาเป็นคนไทย ต้องมีหน้าที่ตอบแทนคุณแผ่นดิน มีหน้าที่ผูกมิตรปรองดอง สามัคคีกัน และขออย่าลืมว่าเธอทุกคนเป็นเจ้าของประเทศเท่าๆ กัน เรามีหน้าที่เดียวกัน แต่เรามีศาสนานับถือคนละอย่างกัน เป็นสิ่งสำคัญพวกเธอต้องการบอกเธอ เรามีหน้าที่ในฐานะคนไทย ดูแลแผ่นดิน รักกัน สามัคคีกัน ใครจะยุ่งกับแผ่นดินเราไม่ได้ เพราะเราเป็นเจ้าของแผ่นดินนี้

     เรื่องหนึ่งที่สำคัญคือ การโกงชาติ พวกที่ทำไม่ดีไม่งาม เอาเงินหลวงมาใช้เป็นของส่วนตัวโดยวิธีการต่างๆ เป็นสิ่งเลวร้าย พวกเธอต้องจำไว้ว่าการฉ้อราษฎร์บังหลวง เราต้องช่วยกันดูแลไม่ให้ใครทำชาติบ้านเมือง เราก็ต้องช่วยกัน ดังนั้นเราจึงมาเล่าสู่กันฟังว่าการโกงชาติแย่สุด เราขายหน้า ใครๆ ก็ขายหน้า เพราะว่าชาติของเราเป็นชาติที่มีคนขี้โกงเยอะ

@ บิ๊กตู่ลั่นอยู่ตามโรดแมป 

       ขณะที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวตอนหนึ่งระหว่างเป็นประธานในพิธีเปิดโครงการสุดยอดเอสเอ็มอีจังหวัด (SME Provincial Champions) ที่ทำเนียบรัฐบาลว่า ขณะนี้เรื่องประชาธิปไตยกำลังสับสนกันอยู่ ระหว่างที่เป็นประชาธิปไตย เสรีภาพ สิทธิเป็นหลัก และเรื่องของคะแนนเสียงอะไรก็แล้วแต่ แต่วันนี้ตนไม่มีคะแนนเสียง ใครจะเกลียดก็ไม่เป็นไร ใครจะชมก็ดี ชื่นใจมีกำลังใจ ใครจะเกลียดก็ไม่ว่า เพราะจะไปตามรัฐธรรมนูญ จะไล่ยังไง ไล่ก็ไม่ได้อยู่แล้ว เพราะจะอยู่ตามรัฐธรรมนูญชั่วคราว ทั้งนี้รัฐธรรมนูญเพื่อทำให้เกิดความเป็นธรรม ได้พูดเสมอว่าไม่มีอะไรในโลกที่เท่าเทียมกันจริงในโลกนี้ แต่กฎหมาย กติกา สัญญา ทุกคนต้องได้ประโยชน์อย่างทั่วถึง เท่าเทียมมากน้อยตามศักยภาพ 

@ บ่นพูดจนเมาหมัดไปหมด 

      พล.อ.ประยุทธ์กล่าวอีกว่า "ผมพูดจนเมาหมัดไปหมดแล้ว เดี๋ยวนี้นึกอะไรไม่ออก จะนึกคำพูดที่เจ็บๆ ก็ยังนึกไม่ออก เพราะว่าสมองแย่แล้ว สั่งรัฐธรรมนูญไม่ได้ว่าจะผ่านหรือไม่ พอไม่ผ่าน อีกพวกก็หาว่าสั่งการ ลำเอียง ทำอะไรไม่ได้สักอย่าง 

"แม้กระทั่งการออกมาพูดผ่านทีวี กลุ่มนี้พูด กลุ่มนี้ก็ต้องพูด ถ้าไอ้กลุ่มไหนพูดแล้วมันไม่ขัดแย้งกับรัฐบาล ผมก็ไม่ได้ห้ามปรามอะไร แต่ถ้ากลุ่มไหนพูดแล้วขัดแย้งก็ไม่ให้พูด เพราะผมเป็นกรรมการ ไม่เช่นนั้นก็ไม่มายืนตรงนี้ ให้ใครขึ้นมาก็ได้ ลูกน้องพลขับก็มาได้ สั่งง่ายๆ ถ้าผมเป็นกรรมการ ให้เวลาท่านเป็นกรรมการมานานแล้ว แล้วท่านทำไม่ได้ วันนี้ผมเป็นกรรมการแล้วผมจะทำให้ได้ ถ้าท่านคิดว่าจะไม่เอากรรมการแบบเดิม ก็ไปว่ากันมาตัดสินใจกันมา"

@ ปัดสั่งผ่าน-ไม่ผ่านร่างรธน. 

      พล.อ.ประยุทธ์ ให้สัมภาษณ์อีกครั้งว่า ทุกประเทศในโลก ถ้าเป็นประชาธิปไตย 100 เปอร์เซ็นต์ ใครอยากพูดอะไรก็พูดได้ แต่ก็รู้กันอยู่ว่าประเทศไทยไม่ได้ 100 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นอย่าเอาเรื่องนี้มาพูด ใครก็ตามที่พูดแล้วสนับสนุนแนวทางรัฐบาล โดยสนับสนุนให้เป็นไปตามโรดแมป สามารถพูดได้ แต่ถ้ามาพูดต่อต้าน จะทำให้โรดแมปเดินต่อไปไม่ได้ สิ่งเหล่านี้ต้องแยกออกจากกันให้ได้ ไม่ใช่คนนี้พูดได้ คนนั้นก็ต้องพูดได้บ้าง ไม่ใช่ว่าใครมาพูดเข้าข้างตน เขาพูดตามโรดแมปของเขา ทั้ง 2 พวก ตนก็ให้พูดมาโดยตลอด หรือจะมา บอกว่าไม่เคยได้พูด

"เรื่องที่รัฐธรรมนูญจะผ่านหรือไม่ผ่าน มันไม่ใช่ผมสั่งหรือไม่สั่ง แต่อยู่ที่พวกท่านจะเรียนรู้ว่าจะอยู่กันอย่างไรในอนาคต จะอยู่ท่ามกลางความขัดแย้ง จะอยู่ท่ามกลางการเมืองที่ไม่เหมือนปัจจุบัน ถ้าจะเอาแบบนั้นก็เอา แต่สิ่งที่จะเตือนไว้คือ รัฐธรรมนูญมีอยู่หลายหมวด หลายมาตรา อย่าไปดูแค่บางมาตราว่าไม่เป็นประชาธิปไตย ถ้าอย่างนั้นมันก็คงจะไม่เป็นประชาธิปไตย ต่อให้พูดให้เป็นมันก็ไม่เป็น แต่ความชั่วร้ายที่มันเกิดขึ้น ที่เป็นประชาธิปไตยเต็มใบ มันจะมีหรือไม่" พล.อ.ประยุทธ์กล่าว

@ โวยไม่ใช้ประชานิยมเหมือนอดีต

      "ผมเป็นคนกำหนดกติกา ผมร่าง ผมทำมาแบบนี้ ทำจนแทบจะเป็นอาหารให้กินแล้ว ยังไม่เลือกที่จะกินอีก ถ้าจะทำใหม่ก็ไปกินที่อื่น ไปเปิดร้านหากินกันเอาเอง เข้าใจหรือยัง ผมไม่ใช่ศัตรูใคร ไม่ได้ว่าใคร แต่ใครที่ทำความเสียหายก็ต้องรับผิดชอบ ถ้าจะให้ทุกอย่างเรียบร้อยก็ออกมารับผิดชอบ แต่ทุกอย่างที่ผ่านมาผมรับผิดชอบอยู่คนเดียว พูดแบบผมพูดซิ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องคดีความหรือเรื่องศาล ผมจะผิดทั้งหมด ผิดก็ว่าไปตามผิด ถูกก็ว่าไปตามถูก มีใครพูดแบบนี้หรือไม่ ว่าวันหน้าถ้าเลือกตั้งแล้ว จะทำให้บ้านเมืองสงบ ไม่ให้เกิดเหตุการณ์อย่างเดิมอีก ถ้าประท้วงก็จะต้องแก้ปัญหาให้ได้ ถ้ายิงกัน ฆ่ากัน ระเบิดกัน เป็นรัฐบาลจะแก้ปัญหาเหล่านี้ให้ได้ มีพูดหรือไม่ วันนี้มาตีผมเรื่องเศรษฐกิจประชานิยม ว่าเหมือนประชานิยมรัฐบาลในอดีต มันเหมือนตรงไหน มันเหมือนเพียงแค่เอาเงินลงไปให้ถึงหมู่บ้านเท่านั้น เขามีการคัดกรองหรือไม่ คัดกรองก็ไม่ทั่วถึง ไปลงให้เฉพาะกลุ่ม เฉพาะพวก ซึ่งร้องเรียนกันมามากมาย มาตอนนี้ผมไปดูว่าจะช่วยเขาอย่างไร อาจให้ทหาร ให้ คสช.ไปช่วยดูที่เขาล้มๆ เจ๊งๆ อยู่และจะทำให้ยั่งยืน" นายกฯกล่าว

@ อ้าง 2 สายรายงานรับ-ไม่รับ 

         เมื่อเวลา 14.00 น. ที่ห้องมัฆวานรังสรรค์ สโมสรทหารบก ถนนวิภาวดีรังสิต พล.อ.ประยุทธ์เป็นประธานการรับฟังการแถลงยุทธศาสตร์ชาติ-ยุทธศาสตร์ทหาร พ.ศ.2559-2563 ของนักศึกษาวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 57 พร้อมให้ข้อคิดเห็นตอนหนึ่งว่า หลังจากได้ฟังการแถลงยุทธศาสตร์และฟังข้อสรุปแล้ว ต้องขอชื่นชมและดีใจที่คิดตรงกันกับรัฐบาล ปัญหาอยู่ที่ว่าเราจะทำอย่างไรให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม 

        "วันนี้ มีปัญหาว่าร่างรัฐธรรมนูญจะรับหรือไม่รับในวันที่ 6 กันยายน มีข่าวเข้ามาสองสาย สายหนึ่งบอกนายกฯรับ อีกสายบอกว่านายกฯไม่รับ ซึ่งยังไม่รู้เลยว่าสองสายนี้มาจากใครยังไม่รู้เลย สรุปว่าผมเหยียบเรือสองแคมอย่างนั้นหรือซ้าย ก็ได้ ขวาก็ได้ ผมไม่ได้มีอะไรกับใครอยู่แล้ว ไม่เคยไปขอหรือสั่งอะไรกับใคร ขอแค่ 5 ปีให้เดินยุทธศาสตร์ชาติได้" พล.อ.ประยุทธ์กล่าว 

@ วิษณุแจงเสียงผ่านประชามติ 

      นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวข้อกฎหมายการออกเสียงประชามติว่า มาตรา 37 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราวใช้คำว่าผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติจะต้องเห็นชอบด้วยเสียงข้างมาก มีคนตีความว่ากฎหมายไม่ได้ใช้คำว่าผู้มาใช้สิทธิ แต่ใช้คำว่าผู้มีสิทธิ ฉะนั้นเสียงข้างมากคือเสียงของผู้มีสิทธิทั้งหมด เช่น สมมุติผู้มีสิทธิมีอยู่ 40 ล้านคน ต้องมีเสียงเห็นชอบรัฐธรรมนูญเกิน 20 ล้านคนถึงจะผ่าน ซึ่งก็แปลได้ แต่ความจริงมาตรา 37 ใช้คำว่าผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติให้ความเห็นชอบโดยเสียงข้างมาก

       "คิดง่ายๆ ว่า สมมุติว่ามีสิทธิ 40 ล้านคน มาใช้สิทธิ 10 ล้านคน และเห็นชอบ 7 ล้านคน ฝ่าย สปช.นั้นก็จะมองว่า 7 ล้านยังไม่ถึงเสียงข้างมากของผู้มีสิทธิ เพราะมีสิทธิ 40 ล้านคน แต่หากแปลเช่นนั้นคงยากเพราะผู้มีสิทธิเห็นชอบด้วยเสียงข้างมาก สมมุติมีสิทธิ 40 ล้านคน มาใช้สิทธิ 10 ล้านคน เห็นชอบ 7 ล้านคน ซึ่งไม่ถึงเสียงข้างมากของ 40 ล้านคน แต่เป็นเสียงข้างมากของผู้มาใช้สิทธิ ถามว่าเห็นชอบ คุณพูดได้อย่างไรว่าอีก 10 กว่าล้านเสียงที่ไม่มาเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ เพราะฉะนั้นต้องถือเสียงตรงนั้นว่าเป็นศูนย์ จะต้องมาวัดกันที่ 3 ล้าน กับ 7 ล้าน ซึ่งหาก 7 ล้านมากกว่า 3 ล้านก็จบ เพราะใช้คำว่าผู้มีสิทธิให้ความเห็นชอบโดยเสียงข้างมาก ที่ย้ำอย่างนี้เพราะว่าไม่สามารถจะพูดได้ว่าคนที่มีสิทธิ แต่ไม่มาใช้สิทธิได้เห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ จะบอกว่าการที่เขามีสิทธิแต่เขาไม่มาใช้สิทธิแปลว่าเขาไม่เห็นชอบ ถ้าพูดแบบนั้นจะมากกว่า 7 ล้าน แต่พูดแบบนั้นไม่ได้เพราะเขาไม่ใช้สิทธิ ไม่ได้แปลว่าเขาไม่เห็นชอบ แต่ก็ไม่ได้แปลว่าเขาเห็นชอบ จึงเอาสิ่งที่แปลได้แน่ๆ คือ 7 ล้าน กับ 3 ล้านเสียง แล้วอะไรมากกว่ากัน" นายวิษณุกล่าว

@ เหตุไม่ใช้พ.ร.บ.ประชามติปี཰

       นายวิษณุ กล่าวอีกว่า อย่างรัฐธรรมนูญปี 2550 ตอนลงประชามติครั้งนั้น ใช้คำเหมือนคราวนี้แต่ใช้ละเอียดกว่าคือ เมื่อผู้มีสิทธิมาใช้สิทธิเกินกึ่งหนึ่งของผู้ใช้สิทธิ ส่วนใน พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ.2552 ไม่ได้พูดอย่างนั้น ถึงไม่เอา พ.ร.บ.ดังกล่าวมาใช้ เอาแต่เฉพาะโทษ เพราะ พ.ร.บ.ดังกล่าวเขียนว่าในการลงประชามติจะต้องให้มีผู้มาใช้สิทธิเกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิจึงจะเรียกว่าเป็นการใช้สิทธิที่ถูกต้องมิเช่นนั้นประชามตินั้นจะโมฆะ สำหรับ พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติกับรัฐธรรมนูญจะขัดกันหรือไม่นั้น ก็ขัดกันอยู่แล้ว จึงไม่เอา พ.ร.บ.ตัวนี้มาใช้ จึงต้องเขียนวิธีของเขาเองในรัฐธรรมนูญ นำแต่เฉพาะโทษ เดิมเคยคิดว่าไม่ต้องเขียนอะไรมากให้เอา พ.ร.บ.ประชามติมาใช้ แต่จะเจอปัญหาแบบนี้ ฉะนั้นการที่ไม่เอา พ.ร.บ.ประชามติมาใช้เพราะเจตนาจะให้เป็นอีกแบบ ขณะนี้ก็แปลเหมือนตอนประชามติปี 2550 แบบเดียวกัน คือ 7 ล้านเสียงก็ได้ เมื่อถามว่า ทำไมกฎหมายถึงไม่เขียนให้ชัดเจนว่าผู้มีสิทธิกับผู้มาใช้สิทธิให้ระบุให้ชัดๆ นายวิษณุกล่าวว่า เทคนิคมีหลายวิธี ซึ่งตอนเขียนก็นึกว่าชัดเจนแล้ว

@ กกต.วาง 3 เกณฑ์คุมรณรงค์

      ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) นายประวิช รัตนเพียร กกต.ด้านกิจการการมีส่วนร่วม กล่าวภายหลังการประชุม กกต. ว่า ที่ประชุม กกต.ได้พิจารณาร่างประกาศหลักเกณฑ์การออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญโดยเป็นการตรวจสอบร่างประกาศฯครั้งสุดท้ายก่อนที่นายศุภชัย สมเจริญ ประธาน กกต.จะได้นำส่งให้กับสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ในวันจันทร์ที่ 7 กันยายนนี้ ซึ่งในส่วนข้อกังวลของนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เรื่องการแสดงความเห็นผ่านโซเซียลมีเดียนั้น ที่ประชุมเห็นว่า กกต.คงไม่สามารถไปจำกัดความคิดเห็นเหล่านั้นได้ แต่ได้วางหลักเกณฑ์การแสดงความคิดเห็นที่ไว้ในร่างประกาศฯ 3 ข้อ คือ 1.สิ่งที่พูดออกไป ถ้าเป็นข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญสามารถทำได้ 2.อย่าใช้ถ้อยคำหยาบคาย ใส่ร้ายป้ายสี และ 3.ต้องไม่ยุยงปลุกปั่น หากยึดหลัก 3 ข้อนี้แล้วก็ควรปล่อยให้ประชาชนได้แสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่ 

@ ส่อเลื่อนวันลงประชามติอีก

       นายประวิช กล่าวว่า การกำหนดวันลงประชามติ จากเดิมที่กำหนดไว้วันที่ 10 มกราคม 2559 นั้น เป็นเพียงกรอบการทำงานของ กกต.ในเบื้องต้นเท่านั้น เพราะเงื่อนไขในการกำหนดวันลงประชามติ กกต.จะประกาศอีกครั้งหลังจากจัดส่งร่างรัฐธรรมนูญและสาระสำคัญไปยังผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 หรือประมาณ 13 ล้านครัวเรือน จาก 17 ล้านครัวเรือนที่มีสิทธิออกเสียงประชามติ โดยตามแผนงาน กกต.จะจัดส่งให้แล้วเสร็จประมาณปลายเดือนพฤศจิกายน 2558 แต่กระบวนการจัดพิมพ์ร่างรัฐธรรมนูญ กกต.ต้องการให้มีความโปร่งใสมากที่สุด จึงไม่สามารถที่จะมีการจัดซื้อจัดจ้างหรือพิมพ์ไว้ล่วงหน้าได้ เนื่องจากต้องรอผลการลงมติของ สปช.ในวันที่ 6 กันยายนนี้ก่อน ดังนั้น อาจทำให้การจัดส่งไปยังครัวเรือนต่างๆ ล่าช้าไปกว่าที่กำหนด หากแล้วเสร็จกลางเดือนธันวาคม วันออกเสียงประชามติก็ต้องเลื่อนจากวันที่ 10 มกราคม 2559 ออกไปอีก 2 สัปดาห์ 

@ โยนนายกฯเคาะเสียงประชามติ

       เมื่อถามว่า ขณะนี้มีการโต้เถียงเรื่องจำนวนเสียงที่จะผ่านประชามติ กล่าวว่า ร่างประกาศฯที่เตรียมจะส่ง สนช.ไม่ได้มีการกำหนดในเรื่องนี้ เพราะ กกต.เห็นว่าการกำหนดหลักเกณฑ์ดังกล่าวไม่ใช่ส่วนที่ กกต.ได้รับมอบหมาย กกต.จึงไม่ต้องไปตีความ ซึ่งการประกาศว่าร่างรัฐธรรมนูญจะผ่านหรือไม่ผ่าน หรือยึดจากจำนวนผู้มาออกเสียง หรือผู้มีสิทธิออกเสียง เป็นดุลพินิจของนายกรัฐมนตรี เมื่อถามว่า ในส่วน กกต.เห็นว่าจำนวนเสียงที่จะผ่านประชามติต้องยึกหลักเกณฑ์ใด นายประวิชกล่าวว่า ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ.2552 กำหนดให้ใช้เสียงข้างมากของผู้มาใช้สิทธิออกเสียง และการออกเสียงประชามติทั้งโลกก็ใช้หลักเกณฑ์ดังกล่าว แต่ในกรณีนี้เป็นกติกาใหญ่อยู่ในรัฐธรรมนูญ 

       รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับการประชุม กกต.ครั้งนี้ นายประวิชได้เชิญนายสุรพล นิติไกรพจน์ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) หนึ่งในทีมที่ปรึกษากฎหมายของ กกต. มาให้ความเห็นในประเด็นความไม่ชัดเจนเกี่ยวกับจำนวนเสียงที่ร่างรัฐธรรมนูญจะผ่านประชามติ ซึ่งนายสุรพล มีความเห็นว่า เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) 2557 แก้ไขเพิ่มเติม กำหนดให้ยึดเสียงข้างมากของผู้มาออกเสียงประชามติ แต่ก็ไม่เข้าใจว่าตอนยกร่างรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) เหตุใดผู้ยกร่างจึงต้องเขียนถ้อยคำให้วกวนและทำให้เกิดการตีความ 

@ 'สมชัย'ชี้เกณฑ์สากลให้ผู้ใช้สิทธิ

       นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต.ด้านกิจการบริหารงานเลือกตั้ง กล่าวว่า กรณีที่มีการออกมาตั้งข้อสังเกตเรื่องจำนวนเสียงที่จะผ่านประชามติ ตามหลักสากลการออกเสียงประชามติของประเทศต่างๆ จะใช้หลักเกณฑ์เสียงข้างมากของผู้มาออกเสียงประชามติ ไม่มีประเทศใดใช้เสียงข้างมากของผู้มีสิทธิออกเสียงเลย ส่วนประเด็นที่กำลังมีความเห็นแตกต่างกันอยู่ในขณะนี้ว่าจะใช้เสียงข้างมากของ

ผู้มีสิทธิออกเสียงหรือผู้มาออกเสียงนั้น ประเด็นนี้จึงยังไม่มีความชัดเจน ซึ่ง กกต.เห็นว่าประเด็นนี้ไม่ใช่ประเด็นที่ กกต.จะต้องมาตอบคำถามกับสังคม เนื่องจากหน้าที่ของ กกต.คือการจัดให้มีการออกเสียงประชามติให้ครบถ้วนสมบูรณ์ นำผลตัวเลขของการทำประชามติรายงานให้นายกรัฐมนตรีได้รับทราบ หน้าที่ของนายกฯคือต้องพิจารณาว่าเมื่อตัวเลขออกมาแบบนี้ผลประชามติจะเป็นการรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ

@ สปช.2 ฝ่ายล็อบบี้'รับ-ไม่รับ' 

      ผู้สื่อข่าวรายงานความเคลื่อนไหว สปช.ว่าล่าสุดกลุ่ม สปช.ในการลงมติร่างรัฐธรรมนูญวันที่ 6 กันยายนว่า กลุ่มที่จะไม่รับร่างรัฐธรรมนูญและกลุ่ม สปช.ที่จะรับร่างรัฐธรรมนูญต่างเดินสายล็อบบี้กันอย่างหนักเพื่อขอคะแนนเสียง ด้วยวิธีการโทรศัพท์เป็นรายบุคคล รวมไปถึงการจับกลุ่มรับประทานอาหารกัน โดยช่วงค่ำของวันที่ 2 กันยายนที่ผ่านมา กลุ่ม สปช.ที่รับร่างรัฐธรรมนูญ ประมาณ 20-30 คน ร่วมรับประทานอาหารค่ำที่ร้านอาหารแห่งหนึ่ง ย่านลาดพร้าว เพื่อหารือถึงสถานการณ์ที่ถูก สปช.กลุ่มไม่รับร่าง ทำคะแนนตีตื้นขึ้นมาเป็น 80-100 คน จากเดิมที่มีเพียง 50 คนเท่านั้น โดยได้เสียงเพิ่มจาก สปช.กลุ่มวิชาการ กลุ่มนักกฎหมาย ตลอดจน สปช.จังหวัดที่เริ่มโน้มเอียงมาทางไม่รับร่าง ขณะเดียวกัน สปช.กลุ่มที่ไม่รับร่างก็ยังพยายามจุดกระแสว่ามี สปช.ไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จึงทำให้ขณะนี้ สปช.กลุ่มรับร่างต้องเดินสายล็อบบี้ สปช.ด้วยกันอย่างหนัก เพื่อดึงคะแนนกลับมาให้ได้ โดยเฉพาะในสาย สปช.จังหวัดที่เริ่มโน้มเอียงไปในทางที่จะไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ทำให้กลุ่มรับร่างต้องรีบส่งตัวแทนไปล็อบบี้ สปช.จังหวัด เพื่อดึงคะแนนกลับคืนมา 

       ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เป็นที่น่าสังเกตว่าในการล็อบบี้ขอคะแนนจาก สปช.ทั้ง 2 กลุ่ม ต่างอ้างว่ามีคำสั่งจากผู้มีอำนาจใน คสช.มากล่าวอ้าง เพื่อให้ลงมติเป็นไปตามแนวทางที่กลุ่มต้องการ โดยมีข้อแลกเปลี่ยนคือ การเข้าไปนั่งในสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ จำนวน 200 คน ตลอดจนการได้เป็น ส.ว.สรรหา จำนวน 123 คน 

@ เผยเสียงคว่ำรธน.เกิน100 

      นายทิวา การกระสัง สปช.บุรีรัมย์ กล่าวว่า ขณะนี้มีการเข้ามาล็อบบี้ สปช.จังหวัดบางคน ให้ผ่านร่างรัฐธรรมนูญ รวมถึงมีการโน้มน้าวว่า หากรับร่างจะมีโอกาสได้เข้ามาทำงานต่อในตำแหน่งต่างๆ ส่วนคะแนนเสียงกลุ่มของตนที่จะลงมติไม่รับร่างรัฐธรรมนูญนั้น ขณะนี้ มีเสียงเกิน 100 เสียงแล้ว พร้อมที่จะพลิกกลับมาชนะได้

      พล.อ.เอกชัย ศรีวิลาศ สมาชิก สปช. กล่าวว่า ได้เข้าร่วมการพบปะของสมาชิก สปช. ที่ร้านอาหารย่านลาดพร้าวด้วย กว่า 20-30 คน แต่ยืนยันว่าในวงดังกล่าวไม่ได้มีการพูดคุยเรื่องรัฐธรรมนูญ หากให้วิเคราะห์เสียงตอนนี้ สปช.ทะเลาะกัน มีวิวาทะตลอด ทำให้เสียงสั่นคลอน ดังนั้นที่บอกว่าจะได้เสียงถึง 200 นั้น ไม่น่าจะเป็นไปได้ แต่อย่างไรคิดว่าเสียงที่ออกมาน่าจะถึง 125 เสียง เพราะยังไม่มีอะไรทำให้พลิกได้ ส่วนที่มีการระบุว่ามีสายทหารมาล็อบบี้นั้น ก็ไม่เห็นมีทหารมาล็อบบี้ตนเลย 

       นายประชา เตรัตน์ สปช.ชลบุรี กล่าวว่า ที่ผ่านมาตนได้ไปทำความเข้าใจเนื้อหาในร่างรัฐธรรมนูญกับสมาชิก สปช. แต่กลับถูกมองว่าไปล็อบบี้ เพราะฉะนั้นตนไม่สนใจว่าจะคว่ำหรือจะรับ แต่คิดว่า สปช. 247 คน คงจะใช้สติปัญญาในการพิจารณา 

      รายงานข่าวจาก สปช.สายจังหวัดแจ้งว่า ขณะนี้เสียงออกมา 50 ต่อ 50 หากสายจังหวัดเห็นชอบไปรัฐธรรมนูญผ่านจริง ก็ต้องมาแก้กันอีก ดังนั้นหากไม่ดีก็ไม่ควรผ่าน นอกจากนี้ หากผ่านในชั้น สปช. แล้วไปตกในส่วนของทำประชามติจะยิ่งดูแย่กว่าเดิม เพราะนักการเมืองและพรรคการเมืองส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย 

       นายเสรี สุวรรณภานนท์ สปช. กล่าวว่า จากการพูดคุยกับเพื่อนสมาชิกหลายกลุ่ม ล่าสุดประเมินได้ว่าเสียง สปช.เกินกึ่งหนึ่งที่จะไม่ให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ 

@ 'สิระ'ไม่ผ่านคืนเงิน 1.7 ล้าน

      ที่รัฐสภา นายสิระ เจนจาคะ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ได้นำธนบัตรจำนวน 1.7 ล้านบาท มาแสดงต่อสื่อมวลชน พร้อมทั้งแถลงว่า การลงมติรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญในวันที่ 6 กันยายนนี้ สมมุติว่าผลออกมา สปช.มีมติไม่เห็นด้วย ตนในฐานะที่อาสาเข้ามาผลักดันรัฐธรรมนูญฉบับปฏิรูปประเทศ จะขอแสดงความรับผิดชอบด้วยการคืนเงินเดือนและสวัสดิการของ สปช.ตลอด 11 เดือน ที่เป็นภาษีประชาชนจำนวนประมาณ 1.7 ล้านบาท เพราะถือว่า สปช.ทำงานล้มเหลวไม่สามารถผลักดันสิ่งที่เป็นประโยชน์ ขณะเดียวกันยังขอเรียกร้องความรับผิดชอบแก่บรรดา สปช.ที่ร่วมกันลงมติไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ แสดงความรับผิดชอบที่ประเทศชาติต้องสูญเสียเงินงบประมาณที่เป็นเงินเดือน สปช.จำนวน 247 คน ประมาณ 1 พันล้าน ประกอบกับค่าเบี้ยประชุมของคณะ กมธ.ยกร่างฯที่ประชุมกันกว่า 160 ครั้ง เป็นเงินกว่า 9 แสน ไม่นับเงินเดือนของ สปช.ด้วย

      "จากการเช็กเสียงล่าสุด มีผู้เห็นด้วย 190 คน โดยพบว่ามีผู้ไม่เห็นด้วย 25 คนเท่านั้น ซึ่งอยู่ในคณะ กมธ.ปฏิรูปการเมืองและคณะ กมธ.กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมบางส่วน และ สปช.สายจังหวัดจำนวนหนึ่ง" นายสิระกล่าว 

@ 'ตือ'ร่อนจม.อย่าถอยหลัง 

      นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล ที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา ได้ทำจดหมายปิดผนึกถึง สปช. โดยมีเนื้อหาสรุปว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้เปรียบเสมือนฟางเส้นสุดท้ายของประชาชนที่มีต่อการปฏิรูปประเทศ ประชาชนฝากความหวังว่าจะมีรัฐธรรมนูญดีที่สุด เป็นประชาธิปไตย ที่จะนำไปสู่การปฏิรูปประเทศในทุกด้าน

       "ผมเชื่อและเคารพในความเป็นคนไทยของท่านว่า รักประเทศไทยไม่น้อยกว่าคนไทยอีกกว่า 60 ล้านคน คงไม่ทำร้ายประเทศและเหนี่ยวรั้งประเทศให้ถอยหลังไปกว่านี้ การลงมติของท่านในครั้งนี้จะนำไปสู่การลงประชามติของประชาชนโดยงบประมาณ 3 พันล้านบาทต่อไป เป็น 3 พันล้านบาทที่ต้องเสียโดยจำเป็นหรือไม่ 6 กันยายนนี้ 1 เสียงของท่านคืออนาคตของประเทศ คืออนาคตของประชาธิปไตย อย่าให้คนไทยผิดหวังนะครับ"นายสมศักดิ์ระบุ 

@ พท.หนุนสปช.อย่าผ่านรธน. 

       นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา ที่ปรึกษาคณะทำงานฝ่ายกฎหมายพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวถึงการลงมติร่างรัฐธรรมนูญของ สปช.ในวันที่ 6 กันยายนนี้ว่า สปช.ต้องตัดสินใจให้ดี ระหว่างการโหวตรับหรือไม่รับร่าง รธน. แนวทางไหนจะเกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติสูงสุด ถ้าร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่าน สปช. น่าจะเป็นประโยชน์มากกว่าผ่าน ประเทศจะได้กลับสู่ความเป็นประชาธิปไตยเร็วขึ้น ที่สำคัญประเทศสามารถประหยัดงบประมาณได้ถึง 3,000 ล้านบาท ในการทำประชามติ

       นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด รักษาการรองโฆษกพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวว่า ถือเป็นความหวังที่มีเสียงต้านร่างรัฐธรรมนูญมากขึ้นๆ เรื่อยๆ เชื่อว่าถึงวันโหวต คะแนนของกลุ่มต้านจะมากขึ้นจนอาจแซงกลุ่มหนุนก็ได้ สปช.ต้องตัดสินใจให้ดี ถ้าลงมติรับร่างรัฐธรรมนูญจะก่อให้เกิดปัญหาตามมามากมาย จนอาจรับผิดชอบไม่ไหว 

@ นปช.ยื่นขอแถลงเหมือน'สุเทพ'

      ในเวลา 11.00 น. ที่บริเวณด้านหน้ากองบัญชาการกองทัพบก นายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) มอบหมายให้นายธนาวุฒิ วิชัยดิษฐ โฆษก นปช. พร้อมด้วยนายสมหวัง อัสราษี ในฐานะแกนนำ นปช. เป็นตัวแทนกลุ่ม นปช. มายื่นหนังสือขออนุญาตจัดการแถลงข่าวเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับสื่อมวลชนเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญในวันที่ 6 กันยายน ที่โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล เวลา 14.00-16.00 น. โดยมี พล.ต.หญิง บุษบง นุตสถิต ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก เป็นตัวแทนคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) รับหนังสือ โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจจาก สน.นางเลิ้งและเจ้าหน้าที่ทหารจากกองทัพยกร่วมสังเกตการณ์ดูแลความเรียบร้อย

นายธนาวุฒิกล่าวว่า ถือเป็นการแสดงจุดยืนของกลุ่ม นปช.ต่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว ในขณะเดียวกันก็เป็นสถานที่เดียวกับนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ประธานมูลนิธิมวลมหาประชาชนเพื่อการปฏิรูปประเทศไทย เคยจัดแถลงข่าวมาแล้ว พร้อมทั้งยืนยันว่าที่ผ่านมากลุ่ม นปช.ได้ทำตามกฎหมายและกติกาของรัฐบาลและ คสช.ที่ให้ไว้เพราะฉะนั้นจึงหวังว่าจะได้รับการอนุญาตให้จัดการแถลงข่าวดังกล่าว เพื่อให้ประชาชนได้รับความคิดเห็นรอบด้านและเป็นประโยชน์ต่อการนำไปสู่การทำประชามติ

@ 'เต้น'ชี้อิสรภาพบนเส้นด้าย 

       นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ แกนนำ นปช. กล่าวว่า การแสดงความเห็นเรื่องรัฐธรรมนูญของตนยืนอยู่บนหลักการประชาธิปไตย หาก สปช.รับร่างรัฐธรรมนูญ การประกาศจุดยืนว่าไม่รับในชั้นประชามติก็เป็นสิทธิโดยชอบเหมือนที่หลายฝ่ายดำเนินการอยู่ตอนนี้ อย่างไรก็ตาม หากพูดถึงการรณรงค์ก็จะเป็นไปโดยสงบ ไม่มีการเคลื่อนขบวนมวลชน ไม่มีความวุ่นวายใดๆ แต่สิ่งที่ไม่เข้าใจ คือ สปช.บางคนจะถือเอาเหตุแบบนี้ไปยื่นถอนประกันได้อย่างไร เป็นธรรมดาของเผด็จการทุกยุคที่มีการใช้อำนาจกดดันหรือคุกคามประชาชนที่เห็นต่าง ตั้งแต่ยึดอำนาจก็เข้าใจสถานการณ์ดีว่าอิสรภาพแขวนอยู่บนเส้นด้าย ก็ให้รู้ไปว่าจะต้องถูกจำขังเพราะไม่เห็นด้วยกับการเอาประชาธิปไตยไปพันธนาการ 

@ 'บิ๊กตู่'ลั่น'อ๋อย'ผิดซ้ำซาก 

       พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวถึงเหตุผลการยกเลิกพาสปอร์ตของนายจาตุรนต์ ฉายแสง แกนนำพรรคเพื่อไทยว่า "เป็นเรื่องที่ผิดซ้ำซาก ผิดมาหลายเรื่อง คดีความก็เยอะ เรียกมาเป็นสิบๆ ครั้งแล้ว นี่ก็ยังมีอีกหลายคน ถ้าเราไม่มีกติกาก็จะเดินหน้าไม่ได้ ในเมื่อวันนี้ผมถูกมองแบบนี้อยู่แล้ว ก็ไม่มีอะไรจะเสียไปมากกว่านี้อีกแล้ว และขอให้จำคำพูดผมไว้และเขียนไว้ด้วยว่า สิ่งที่ผมทำแบบนี้แล้วประเทศได้อะไร อย่ามามองว่าผมทำประเทศเสียหาย ให้ไปถามดูว่าวันนี้ดีกว่าเดิมหรือไม่ และไม่ต้องมาถามว่าถ้ามีคนมาวิจารณ์อีก จะเรียกมาหรือไม่ เพราะเป็นเรื่องที่ผมจะพิจารณาเอง ไม่ต้องมาตั้งกฎเกณฑ์ มาตีกติกาให้ผม ถ้าจะทำ ผมก็จะทำให้เป็นธรรมมากที่สุด อย่ามารบกับผมแบบนี้ ขอให้ดูพฤติกรรม ถ้าตักเตือนแล้วหลายครั้ง ไม่เชื่อฟังก็ต้องถูกลงโทษกันบ้าง ถ้าไม่อยากถูกลงโทษ ก็ไปรอให้มีรัฐธรรมนูญและมีการเลือกตั้งแล้ว ก็ไปว่ากันตอนนั้นเอาเอง" 

@ ตร.ทำหนังสือกต.ยกเลิก 

       วันเดียวกัน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ เผยแพร่ข่าวกรณีการยกเลิกหนังสือเดินทางของนายจาตุรนต์ ฉายแสงระบุว่า ด้วยสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) ได้มีหนังสือถึงกระทรวงการต่างประเทศ ขอให้พิจารณายกเลิกหนังสือเดินทางของนายจาตุรนต์ ฉายแสง เนื่องจากเป็นบุคคลที่มีหมายจับและเดินทางไปต่างประเทศ

กระทรวงการต่างประเทศได้พิจารณาแล้วเห็นว่า กรณีดังกล่าวเข้าข่ายที่จะยกเลิกหนังสือเดินทางตามระเบียบกระทรวงการต่างประเทศว่าด้วยการออกหนังสือเดินทาง พ.ศ.2548 ข้อ 23 (2) ประกอบข้อ 21 (2) จึงได้ยกเลิกหนังสือเดินทางของนายจาตุรนต์ ฉายแสง ตั้งแต่วันที่ 19 สิงหาคม 2558

@ 'อ๋อย'ยื่นหนังสือกงสุลชี้แจง 

        ต่อมาเวลา 14.50 น. ที่กรมการกงสุล แจ้งวัฒนะ นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและแกนนำพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวว่า เดินทางมายื่นหนังสือต่อนายธงชัย ชาสวัสดิ์ อธิบดีกรมการกงสุล เพื่อให้กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ ชี้แจงต่อกรณีการถอดถอนหนังสือเดินทาง 

       จากนั้นเวลา 15.30 น. นายจาตุรนต์กล่าวภายหลังจากการเข้าฟังคำชี้แจงจากอธิบดีกรมการกงสุลว่า ได้รับคำชี้แจงว่าได้มีการยกเลิกหนังสือเดินทางไปแล้วเมื่อวันที่ 19 สิงหาคมที่ผ่านมา เนื่องจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติขอให้ยกเลิกเหตุเพราะเป็นผู้ถูกออกหมายจับและเดินทางไปต่างประเทศ แต่ไม่มีรายละเอียดว่าเป็นหมายจับอะไร ซึ่งมองว่าเหตุผลที่ใช้อ้างนี้ไม่ตรงกับความเป็นจริง เพราะไม่ใช่ผู้ถูกออกหมายจับ แต่ตนถูกควบคุมตัวโดย

        สมัครใจตั้งแต่ต้น ไม่มีการออกหมายจับ ขณะนี้คดีของตนก็ไปอยู่ในศาลทหารแล้ว และได้ขอยื่นประกันตัวอย่างถูกต้อง ในการประกันตัวก็ได้มีข้อตกลงว่าหากจะเดินทางไปต่างประเทศให้ขออนุญาตจากศาลทหารทุกครั้ง นอกจากนี้ ขณะนี้ตนไม่ได้อยู่ต่างประเทศ ไม่ได้เดินทางไปไหน และไม่ได้ขอเดินทางไปต่างประเทศ ดังนั้นจึงไม่เข้าข่ายที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติอ้างมาทั้ง 2 ข้อ 

@ จี้กต.ทบทวน-หวั่นละเมิด 

       นายจาตุรนต์กล่าวว่า ได้ยื่นหนังสือไปแล้วว่าจะรอคำชี้แจงและคงจะดำเนินการร้องขอให้กระทรวงการต่างประเทศทบทวนการยกเลิกหนังสือเดินทางของตนต่อไป อย่างไรก็ตาม ความหละหลวมของระเบียบนี้กลายเป็นเรื่องใหญ่ถ้าไม่มีวิธีการให้ความคุ้มครองกับคน และรับฟังข้อเท็จจริงจากผู้เสียหาย ได้กลายเป็นการละเมิดและลิดรอนสิทธิและเสรีภาพ และสิทธิมนุษยชนของพลเมืองที่พึงได้รับการคุ้มครองทั้งตามรัฐธรรมนูญและกติการะหว่างประเทศ แต่ผู้ที่จะต้องเดินทางไปเจรจากับองค์กรระหว่างประเทศที่สำคัญที่สุดคือกระทรวงการต่างประเทศเอง แต่มาเกิดความหละหลวมกับกระทรวงที่ต้องคุ้มครองเรื่องนี้ เมื่อโยงกับกรณีที่นายกฯได้ชี้แจงบอกว่าเป็นการทำผิดซ้ำซากจึงต้องลงโทษ ยิ่งไปกันใหญ่เพราะตามระเบียบนี้ไม่ได้เปิดช่อง หรือไม่ได้ให้อำนาจใครที่จะใช้ระเบียบนี้มาลงโทษพลเมืองด้วยการเพิกถอนหนังสือเดินทาง ยิ่งไปโยงกับการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองยิ่งเป็นการไม่เปิดโอกาสให้ประชาชนได้แสดงความคิดเห็น 

         "ความหละหลวมของระเบียบเมื่อตกเป็นเครื่องมือทางการเมืองเพื่อใช้ในการปิดกันเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นก็กลายเป็นการละเมิดสิทธิเรื่องนี้ด้วย ก่อนหน้าที่จะถูกยกเลิกหนังสือเดินทางได้เดินทางไปต่างประเทศ 3-4 ครั้ง ซึ่งได้รับการอนุญาตจากศาลทหารทุกครั้ง มีเพียง 2 ครั้งที่ไม่ได้รับการอนุญาตจากทาง คสช." นายจาตุรนต์กล่าว

เมื่อถามว่า หากคำร้องขอต่างๆ ไม่เป็นผลจะดำเนินการอย่างไรต่อไป นายจาตุรนต์กล่าวว่า คงต้องดำเนินการตามกฎหมายต่อไปเพื่อให้ได้รับการคุ้มครองสิทธินี้

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!