- Details
- Category: การเมือง
- Published: Wednesday, 12 August 2015 14:38
- Hits: 5284
ถอดยศแม้ว-ทำได้ ยธ.สรุป โอ๊คให้รีบๆจะได้จบ กมธ.ชี้'ที่มาสว.' เลือกตั้ง 77 คน ครม.สรรหา 123 'บิ๊กตู่'ชี้โผปรับ เสร็จนานแล้ว แค่รอทูลเกล้า
'บิ๊กต๊อก'สรุป ถอดยศ'แม้ว'ทำได้ เข้าองค์ประกอบความผิดตามระเบียบตร. 7 ข้อ โยน กลับผบ.ตร.ดำเนินการ 'โอ๊ค'แนะให้รีบทำ เรื่องจะได้จบๆ กมธ.ยกร่างฯ เคาะที่มาส.ว. เลือกตั้ง 77 คน อีก 123 คนให้ครม.บิ๊กตู่ตั้งทีมสรรหา แจงกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปและการปรองดองฯ ใช้อำนาจนิติบัญญัติ-บริหารช่วง 5 ปี แก้วิกฤต'บวรศักดิ์-เอนก'จุดพลุ'รัฐบาลปรองดอง'เป็นคำถามประชามติ นายกฯ ชี้ยังไม่จำเป็นตั้งโฆษกรัฐบาล สหรัฐจ่อฟันไทยเลื่อนเลือกตั้ง ศาลสั่งคสช.ชี้แจงทำรัฐประหาร หลังกลุ่มพลเมืองโต้กลับยื่นอุทธรณ์
วันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2558 ปีที่ 25 ฉบับที่ 9023 ข่าวสดรายวัน
บายๆ- พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร รับประทานอาหารร่วมกับ"พินทองทา-แพทองธาร" ลูกสาวทั้ง 2 คน และนาย ณัฐพงศ์ คุณากรวงศ์ ลูกเขย ที่ร้านแห่ง หนึ่งในต่างประเทศ ก่อนที่รัฐบาลไทยจะได้ข้อสรุปให้ถอดยศ"พ.ต.ท." เมื่อวันที่ 11 ส.ค.
'บิ๊กตู่'ตัวแทนครม.อวย'บิ๊กป้อม'
เวลา 09.00 น. วันที่ 11 ส.ค. ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยมี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯและรมว.กลาโหม เข้าร่วมประชุมครม.ด้วย หลังจากหยุดพักรักษาอาการบาดเจ็บมือและเท้ากว่า 2 สัปดาห์ โดยยังคงใส่เฝือกอ่อนที่ข้อมืออยู่
ก่อนเข้าสู่วาระประชุมครม. นายกฯ เป็นตัวแทน ครม. มอบแจกันดอกไม้อวยพรเนื่องในวันคล้ายวันเกิดให้กับพล.อ.ประวิตร ด้วย
เวลา 11.15 น. พล.อ.ประวิตร ออกจากห้องประชุมครม.ก่อนรัฐมนตรีคนอื่นๆ โดยกล่าวอารมณ์ดีกับผู้สื่อข่าวที่มาดักสัมภาษณ์และอวยพรแฮปปี้เบิร์ธเดย์ ถึงอาการบาดเจ็บที่ข้อมือถึงกับต้องใส่เฝือกอ่อนว่า "ดีขึ้นมากแล้ว ผมหล่อขึ้นไหม" ก่อนขึ้นรถออกจากทำเนียบ
พระบรมฯพระราชทานดอกไม้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนเข้าร่วมประชุมครม. เวลา 06.30 น. พล.อ.ประวิตร ไปทำบุญตักบาตรในวันคล้ายวันเกิดครบ 70 ปี และถวายภัตตาหารเช้า ที่วัดพระศรีมหาธาตุวรมหา วิหาร บางเขน โดยมีพระธรรมเจติยาจารย์ วิ. (สมณศักดิ์เดิม พระเทพญาณกวี) เจ้าคณะภาค 8 ธรรมยุต และเจ้าอาวาสวัด พระศรี มหาธาตุฯ บางเขน และพระสงฆ์ 8 รูป พร้อมทำบุญอุทิศส่วนบุญกุศลให้กับบิดา ญาติพี่น้องตระกูลวงษ์สุวรรณ โดยมีพล.อ. อุดมเดช สีตบุตร รมช.กลาโหม และผบ.ทบ. พล.ต. กู้เกียรติ ศรีนาคา รองแม่ทัพภาคที่ 1 และข้าราชการทหาร ตำรวจ เข้าร่วมพิธี หลังจากนั้น พล.อ.ประวิตร พร้อมญาติและคนสนิทไปรับประทานอาหารเช้าที่สโมสรราชพฤกษ์ ก่อนมาร่วมประชุมครม.
เวลา 13.00 น. ที่มูลนิธิป่ารอยต่อ 5 จังหวัด ภายในกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ (ร.1 รอ.) พล.ต.คงชีพ ตันตระวาณิชย์ โฆษกกระทรวงกลาโหม กล่าวว่า สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ผู้แทนพระองค์ เชิญแจกันดอกไม้พระราชทานแก่ พล.อ.ประวิตร เนื่องในวันคล้ายวันเกิดครบ 70 ปี ณ มูลนิธิป่ารอยต่อ 5 จังหวัด ในร.1 รอ. ยังความซาบซึ้งและตระหนักสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้
นายกฯชี้สัปดาห์หน้าตั้งปลัดฯ
เวลา 14.00 น. พล.อ.ประยุทธ์ แถลง ภายหลังการประชุมครม.ว่า ที่ประชุมครม.แต่งตั้งข้าราชการ ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ถือว่าจำเป็นและผ่านการกลั่นกรองมาแล้ว จำเป็นต้องทำเพราะเกี่ยวข้องกับ การตัดสินใจตั้งทูตด้วย ส่วนตำแหน่งปลัดกระทรวง ไม่เกินสัปดาห์หน้าจะตั้งทุกกระทรวง จะได้มาพิจารณาแต่งตั้งอธิบดีต่อไป จะพยายามทำให้เร็ว
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ส่วนการแต่งตั้งเลขาธิการสมช.คนใหม่ ยังไม่เห็นชื่อ ที่มีชื่อพล.อ.สุรพงษ์ สุวรรณอัตถ์ และพล.อ.ทวีป เนตรนิยม เป็นตัวเลือกนั้นสื่อตั้งกันเองหรือไม่ พล.อ.สุรพงษ์ ตำแหน่งดีอยู่แล้ว อายุราชการยังเหลืออีกนาน โตตรงนั้นไม่ดีกว่าหรือ เขาอยากเป็นทหารกันทั้งนั้น ไม่มีใครอยากมาอยู่กับตน อยู่แล้วโดนด่าทุกวัน ส่วนจะคิดต่างหรือไม่ตนไม่รู้ ทุกอย่างเป็นไปตามสถานการณ์สิ่งแวดล้อม วันนี้รัฐบาลมาเพื่อการปฏิรูป แก้ปัญหา บางอย่างใช้กลไกหรือวิธีการปกติไม่ได้ มันต้องแยกแต่ละเรื่อง แต่ละกระทรวง ขอให้ตนตัดสินใจ อย่ามากดดัน ใครเป็นก็ตามนั้น ถ้าเชื่อมั่นตนก็ต้องเชื่อถ้าจะตั้งใคร ตนไม่ได้ตั้งเพื่อตัวเอง
ไม่จำเป็นต้องตั้งโฆษกรบ.
นายกฯ กล่าวว่า ส่วนตำแหน่งโฆษกประจำสำนักนายกฯคนใหม่นั้น ยังไม่เห็นตั้ง เมื่อถามว่ามีข่าวแต่งตั้งพล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด ให้ทำหน้าที่โฆษกฯ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ก็ลงความเห็นมาแล้วกัน รองโฆษกฯก็พูดทุกวันอยู่แล้ว ใครจะเป็นก็เหมือนกัน ทำงานเต็มตัว ถ้าไม่เต็มตัวก็เปลี่ยนใหม่ ซึ่งเห็นว่าไม่จำเป็นต้องมีตำแหน่งโฆษก การทำงานไม่ใช่ต้องมีตำแหน่งอย่างเดียวต้องเอาความสามารถ เมื่อคนยังรับได้ก็ทำไปก่อน ถึงเวลาก็เป็นเอง ทำไมต้องเร่งรัดตัวเองไม่เข้าใจ
ยังไม่เห็นคนที่เป็นความหวัง
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวถึงจุดยืนการปฏิรูปว่า ต้องเข้าใจว่าการปฏิรูปคืออะไร ประชาชนต้องการอะไร ไม่ใช่มาบอกว่าตนเป็นคนกำหนด ไม่เคยปฏิเสธเลือกตั้งได้ก็เลือกไป แต่เป็นห่วงคนดีจะได้มาอย่างไร และยังไม่เห็นคนที่เป็นความหวังของตน เพราะความหวังของตนไม่ใช่แบบนี้ ใครจะเข้ามาสู่กระบวน การการเมือง นักการเมืองใหม่ๆ มีหรือยังก็ยังไม่รู้ ไม่ว่าใครมาพูดถึงตนหรือตนพูดถึงใคร ไม่เกี่ยวกับใคร ตนคิดไม่เป็นหรืออย่างไร พอทำอย่างนี้ปุ๊บก็บอกว่าตรงกับคณะอื่นที่ทำไว้แล้ว ตนคิดเป็น ไม่โง่ อยู่ทุกวันนี้ก็ใช้สติปัญญาทำงาน ไม่เคยดูถูกใคร เพียงแต่ไม่ชอบคนที่ไม่เข้าใจแล้วมาพูด สื่อไปคล้อยตามเสนอให้คนรับรู้กันทั่วไป แล้วหวังความสงบสุขบ้านเมืองนี้มาจากไหน
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า การปฏิรูปจะทำได้หรือไม่ก็ไม่รู้ ถ้านักการเมืองทุกคนพูดพร้อมกันว่าจะร่วมกันปฏิรูป ตนสบายใจ จะไปไหนก็สะดวก ปฏิรูปก่อนปฏิรูปหลัง ก็ไปคุยกันมา เมื่อมีการเสนอพิมพ์เขียวปฏิรูปมาวันที่ 6 ก.ย. ตนก็รับและต้องตั้งคณะกรรมการใหม่อยู่แล้ว จะเอาส่งให้เขาไปพิจารณาต่อในคณะใหม่ วันนี้ยังไม่ได้ตั้งใครสักคน ไม่ต้องมายื่นข้อเสนอว่าต้องทำนี่ จะคว่ำ ไม่คว่ำ เคยบอกแล้วว่าใครเสนอมาตนไม่เอาคนแรก ตนคิดเอง ต้องหารือกันต่อไป การปฏิรูปวันนี้ยังไม่ใช่ข้อยุติแค่เสนอมาในรัฐบาลนี้
ปรับครม.ทำเสร็จแล้ว
เมื่อถามถึงความคืบหน้าการปรับครม. นายกฯ กล่าวว่า กำลังดำเนินการอยู่ เรื่องการปรับครม. ตนทำเสร็จตั้งนานแล้ว ส่วนจะทำเมื่อไรก็เรื่องของตน ต้องทำตามใครอย่างนั้นหรือ เมื่อถามว่าปรับกี่ตำแหน่ง นายกฯ กล่าวว่า ปรับได้หมดปรับ 35 ตำแหน่ง ส่วนจะทูลเกล้าฯ เมื่อไรก็เมื่อนั้น ปรับได้ตราบใดที่สื่อยังไม่เลิกเขียน ปรับได้ทั้งหมด 35 ตำแหน่ง จะ 36 ตำแหน่ง ปรับตนออกก็ได้ ทำไมต้องกังวลนักหนา ตนกำกับดูแลและทำงานกันอยู่ ถึงเวลาปรับก็ปรับ แล้ววันหน้าก็ไปไล่คนใหม่ ถ้ามีการปรับจริงหรือปรับได้อย่างนั้นสื่อไปเขียนกันทุกวันก็รวนไปหมด คนเก่าก็ไม่อยากทำงาน คนใหม่ก็รอเมื่อไรจะมาสักที แล้วจะไปเขียนกันทำไม ถึงเวลาเหมาะก็ทำเอง พอถึงวันข้างหน้าก็มาโทษกันอีกแล้วจะเอาอย่างไร ไอ้นั่นก็ไม่ได้ ไอ้นี่ก็ไม่ได้ ก็ไล่ตนคนเดียวง่ายสุด
หน้าที่ตร.เสนอถอดยศ"แม้ว"
เมื่อถามถึงการถอดยศ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องประชุมอยู่ ถ้าจะถอดก็คือถอด แต่ถ้าไม่ถอดก็ต้องมีเหตุผลว่าไม่ถอดเพราะอะไร และไม่ใช่พิจารณาคนนี้เพียงคนเดียวแต่ขณะนี้พิจารณารายแรกรายเดียวก่อน ในทำนองนี้ยังมีอีกหลายคน ต้องมาทบทวนทั้งหมด เขาประชุมกันอยู่ เมื่อไม่ได้ข้อยุติก็ต้องประชุมใหม่แต่มันน่าจะได้ ทำได้ก็ทำ ส่วนแนวโน้มจะเป็นอย่างไรไม่รู้ ถ้ารู้ก็ต้องทำเอง
"ผมไม่ต้องฟังใครก็ได้ ผมทำเอง เพียงแต่ต้องการสร้างการรับรู้ให้มากขึ้นในทางกฎหมาย ว่าอย่างไร ถ้ามีมติว่าถอดได้ก็ต้องโยนเรื่องกลับไปที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) ให้ทำมา ผมมีหน้าที่นำขึ้นทูลเกล้าฯ ในฐานะนายกฯ เท่านั้น เป็นอำนาจของรัฐบาล" พล.อ.ประยุทธ์กล่าว
เมื่อถามว่าขั้นตอนการทำงานของตร.และส่งต่อมาถึงนายกฯ นานแค่ไหน พล.อ. ประยุทธ์ กล่าวว่า ไม่รู้ แต่ก็เร็วที่สุด อะไรทำได้ก็ทำ ตั้งเรื่องมาก็จบ มันอยู่ว่าจะพิมพ์นานหรือไม่
กก.ชุดบิ๊กต๊อกสรุปถอดยศได้
เวลา 15.30 น. ที่กระทรวงยุติธรรม พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รมว.ยุติธรรม เป็นประธานประชุมคณะกรรมการพิจารณาการถอดยศพ.ต.ท.ทักษิณ มีผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วม ประกอบด้วย นายชาญเชาวน์ ไชยานุกิจ รองปลัดยุติธรรม ในฐานะคณะทำงานฝ่ายกฎหมายของกระทรวงยุติธรรม พล.ต.อ.ชัยยะ ศิริ อำพันธ์กุล ที่ปรึกษา (สบ10) ตร. ในฐานะประธานคณะกรรมการถอดยศ พ.ต.ท.ทักษิณ พร้อมตัวแทนจากสำนักงานคณะกรรมการ กฤษฎีกา ใช้เวลาประชุม 2 ชั่วโมง
พล.อ.ไพบูลย์ กล่าวภายหลังประชุมว่า จากการพิจารณาข้อกฎหมายและหลักการที่ประชุมมีมติให้ถอดยศ พ.ต.ท.ทักษิณได้ เนื่องจากเข้าหลักเกณฑ์ระเบียบ ตร.ว่าด้วยการถอดยศ พ.ศ. 2547 ซึ่งระเบียบนี้ใช้กับบุคคลที่ยังรับราชการและอยู่นอกราชการได้ โดยกฤษฎีการะบุว่าทำได้ เพราะอยู่ในราชการตำรวจและเคยตอบมาแล้วเมื่อปี 2554 ส่วนข้อสงสัยว่าตร.จำเป็นต้องประกาศถอดยศในราชกิจจานุเบกษาหรือไม่นั้น ไม่จำเป็นเพราะเป็นเรื่องภายในราชการตำรวจ และทั้งสองประเด็นนี้ตร.เคยสอบสวนเมื่อปี 2552 จนถึงปัจจุบัน และลงมติเรื่องการถอดยศมาแล้ว และในปี 2554 มีคำวินิจฉัยของตร.ว่าผิดในข้อ (2) ต้องคำพิพากษาศาลถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุก หรือโทษที่หนักกว่าจำคุกเว้นแต่ความผิดลหุโทษ หรือความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท ซึ่งพิจารณาถอดยศได้ ต่อมามีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาอีกเรื่องหนึ่งเพื่อสอบถามว่าทำไมไม่ทำให้ครบในข้อ 6 ประเด็นการหลบหนี ซึ่งเป็นประเด็นเดียวกัน
รายงานนายกฯสั่งการต่อ
รมว.ยุติธรรมกล่าวว่า อีกประเด็นคือ คณะทำงานพิจารณาประเด็นการประกาศรายชื่อตำรวจในราชกิจจานุเบกษา ตามพ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสาร พ.ศ. 2540 ซึ่งตร.ได้ทำหนังสือไปยังกฤษฎีกาว่าพ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารบังคับใช้ก่อนระเบียบการถอดยศปี 2547 ซึ่งกฤษฎีกาตอบกลับว่าทำได้ เพราะเป็นเรื่องภายใน และเมื่อถามเรื่องนี้ ตร.ได้ใช้การถอดยศไปแล้วตั้งแต่ปี 2547 จำนวน 632 คน โดยไม่ประกาศรายชื่อในราชกิจจานุเบกษา ส่วนกรณีพ.ต.ท. ทักษิณ มีมติถอดยศมาแล้วตั้งแต่ 2552-58
"การประกาศถอดยศไม่มีการประกาศเป็นราชกิจจานุเบกษา แต่ประกาศใช้ภายในตร.เท่านั้น ใช้มาตั้งแต่ปี 2547 ซึ่งระเบียบนี้ มีการตีความแล้วใช้กับทุกคนที่รับราชการและไม่ได้รับราชการ" พล.อ.ไพบูลย์กล่าวและว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องของผบ.ตร. เป็นกระบวนการภายใน ตร. ซึ่งผบ.ตร.ก็มีหนังสือถึงคณะกรรมการข้อมูลข่าวสาร โดยผู้แทนจากตร. แจ้งกลับว่าอาจใช้ดุลพินิจรอคำตอบ เพราะตนไม่มีอำนาจสั่งการผบ.ตร.ได้ ซึ่ง ผบ.ตร.จะคอย แต่คณะกรรมการชุดนี้เห็นว่าไม่มีเหตุใดที่จะละเว้นไม่ปฏิบัติตามระเบียบกับบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ขณะเดียวกัน ทราบว่ามีข้าราชการตำรวจทั้งในและนอกราชการได้ดำเนินการให้เท่าเทียมกันทุกคน หลังจากนี้จะทำหนังสือรายงานถึงนายกฯ ซึ่งนายกฯจะสั่งการต่อไป
พระราชทาน - สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร โปรดเกล้าฯ ให้ผู้แทนพระองค์เชิญดอกไม้พระราชทานแก่พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ เนื่องในวันเกิดครบ 70 ปี ที่มูลนิธิป่ารอยต่อ 5 จังหวัด เมื่อวันที่ 11 ส.ค. |
เข้าองค์ประกอบความผิดทุกข้อ
รมว.ยุติธรรมกล่าวว่า คณะกรรมการมีหน้าที่พิจารณาเพียงว่าสามารถถอดถอนยศของพ.ต.ท.ทักษิณได้หรือไม่ ส่วนประเด็นอื่นๆ เป็นหน้าที่ของผบ.ตร. ตนไม่มีหน้าที่พิจารณาด้วยว่าต้องมีกรอบเวลาถอดยศหรือไม่
เมื่อถามว่ากรณีดังกล่าวจะทำให้ระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาทหรือไม่ พล.อ.ไพบูลย์ กล่าวว่า ไม่ขอตอบ เพราะตนมีหน้าที่แค่พิจารณาว่าถอดยศได้หรือไม่ และไม่ใช่หน้าที่ของตน ซึ่งเป็นหน้าที่ของนายกฯ ส่วนจะเกิดแรงกระเพื่อมทางการเมืองหรือไม่ พล.อ. ไพบูลย์กล่าวว่า ขอไม่ตอบ
"เรื่องดังกล่าวเข้าองค์ประกอบทั้ง 7 ข้อที่สามารถถอดยศได้ มันไม่มีข้อไหนเลย แต่มันติดแค่ประกาศหรือไม่ประกาศใช้" พล.อ. ไพบูลย์กล่าว
ด้านพล.ต.อ.ชัยยะกล่าวว่า ที่ผ่านมาได้นำข้อมูลสถิติการถอดยศรายงานให้ผบ.ตร.ทราบตลอด กรณีที่ตนเป็นประธานคณะอนุกรรมการมีมติพิจารณาเนื้อหาสาระเกี่ยวเนื่อง โดยเข้าองค์ประกอบความผิดทั้ง 7 ข้อ ตามระเบียบการถอดยศ หรือพฤติกรรม ซึ่งเราได้เสนอไป แต่อำนาจการถอดยศเป็นดุลพินิจของผบ.ตร.
วิษณุชี้ตร.ต้องดำเนินการ
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกฯ กล่าวว่า พล.อ.ไพบูลย์ จะรายงานผลมายังพล.อ. ประยุทธ์ จากนั้นจะส่งเรื่องไปยังตร. ให้ตั้งเรื่องขึ้นมา เพราะโดยหลักเป็นอำนาจของตร.ต้องเป็นผู้พิจารณา เมื่อถามว่า หากตร.ไม่ดำเนินการตามมติได้หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า เรื่องที่นายกฯสั่งแล้วไม่ดำเนินการตนไม่เคยได้ยิน เคยมีที่ไม่ทำตามแต่ต้องทำเหตุผลเสนอขึ้นมายังนายกฯว่าเพราะอะไร ถ้าไม่มีความเห็นเป็นอย่างอื่นก็ต้องดำเนินการ
"สมยศ"พร้อมทำตามผลสรุป
ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) พล.ต.อ. สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ผบ.ตร. กล่าวว่า ตร. ดำเนินการตามขั้นตอน ยึดหลักกฎหมายความรอบคอบเพื่อไม่ให้ผิดพลาด การประชุมที่กระทรวงยุติธรรม มีพล.อ.ไพบูลย์ เป็นประธาน ตร.พร้อมปฏิบัติตาม ตนจะดำรงตำแหน่งได้วันสุดท้ายคือวันที่ 30 ก.ย. หากผลสรุปออกมาก่อนหน้านั้นก็เป็นหน้าที่ของตนต้องปฏิบัติตามคำสั่ง หากผลออกมาหลังจากตนสิ้นสุดการเป็นผบ.ตร. ก็เป็นหน้าที่ของผบ.ตร.คนต่อไปดำเนินการต่อ
พล.ต.อ.สมยศกล่าวว่า การถอดยศ ต้องถือระเบียบตาม พ.ร.บ.ตำรวจ พ.ศ.2547 สำนักงาน กำลังพล (สกพ.) ได้ศึกษาว่าการถอดยศจะดำเนินการกับข้าราชการตำรวจที่กระทำผิดขณะรับราชการ ตร.จึงต้องส่งหนังสือเพื่อปรึกษาคณะกรรมการกฤษฎีกา ผ่านมากว่า 1 เดือนแล้วยังไม่ได้รับคำตอบ ส่วนที่เสนอให้นายกฯ ใช้อำนาจตามมาตรา 44 ถอดยศ พ.ต.ท. ทักษิณได้เลย พล.ต.อ.สมยศกล่าวว่า ไม่ทราบและไม่ใช่ความรับผิดชอบของตน ตนรับผิดชอบในส่วนของตนเต็มที่ ยืนยันไม่ได้ยื้อเวลา
ยึดเครื่องราชฯเรื่องของรบ.
เมื่อถามว่าหากผลสรุปออกมาแล้วไม่ถูกใจกลุ่มคนที่คิดต่าง อาจสร้างแรงกระเพื่อมทางการเมือง พล.ต.อ.สมยศกล่าวว่า หากผล ออกมาเช่นไรต้องยอมรับตามกรอบกฎหมาย การถอดยศครั้งนี้ได้ผ่านการกลั่นกรองจากหลายหน่วยงาน เชื่อว่าผลที่ออกมาจะตอบคำถามของสังคมได้
ผบ.ตร.กล่าวว่า ส่วนเครื่องราชอิสริยาภรณ์นั้น ตร.ดำเนินการได้เฉพาะเครื่องราชฯที่พ.ต.ท.ทักษิณได้มาขณะยังเป็นข้าราชการตำรวจอยู่ ในส่วนที่ออกจากราชการตำรวจแล้วไปดำรงตำแหน่งทางการเมืองนั้น เป็นหน้าที่ของรัฐบาลต้องดำเนินการต่อ ยืนยันว่าตั้งแต่นายกฯสั่งการให้หน่วยงานอื่นร่วมพิจารณานั้นตนก็สบายใจมากยิ่งขึ้น ไม่ถือว่าเสียหน้าหรือเสียใจ ยิ่งกระทรวงยุติธรรมและเจ้าหน้าที่กฎหมายหลายหน่วยงานเข้ามาพิจารณาเรื่องนี้ ยิ่งสร้างความรอบคอบมากขึ้น
สมช.งัดพรบ.ชุมนุมขู่ม็อบ
นายดิสทัต โหตระกิตย์ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีตร.ขอความเห็นการถอดยศ พ.ต.ท.ทักษิณว่า ตร.เคยขอความเห็นมาแล้ว 2 ครั้ง กฤษฎีกาตอบไปแล้ว ส่วนที่พล.ต.อ.สมยศ ส่งมายังกฤษฎีกาล่าสุดนั้นเกี่ยวกับกฎหมายข้อมูลข่าวสาร ซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ จึงไม่ได้รับพิจารณา
นายอนุสิษฐ คุณากร เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) กล่าวถึงการถอดยศพ.ต.ท.ทักษิณ ว่า เราอย่าไปคิดว่าจะวุ่นวายหรือไม่ แต่คิดว่าเราต้องการให้การบังคับใช้กฎหมายเป็นไปตามนั้นหรือไม่ ในอดีตเราละเลยเรื่องการบังคับใช้กฎหมายมาก ความวุ่นวายต่างๆ เช่น การประมงผิดกฎหมาย การค้ามนุษย์ เกิดจากการละเลยการบังคับใช้กฎหมายทั้งสิ้น วันนี้ถึงเวลาที่ต้องทบทวน
เมื่อถามว่า มีการรับมือการเคลื่อนไหวหรือชุมนุมที่อาจเกิดจากกรณีนี้หรือไม่ นาย อนุสิษฐกล่าวว่า ขณะนี้มีพ.ร.บ.ชุมนุมในที่สาธารณะ การปฏิบัติตามกฎหมายเป็นเรื่องสำคัญเราต้องช่วยกัน ส่วนใดที่ผิดกฎหมาย สื่อต้องเฝ้าและประณามคนทำผิดกฎหมาย สังคมถึงจะอยู่ได้ แต่ถ้าบอกว่าอะไรก็ได้ เกิดข่าวขึ้นมาแล้วรู้สึกว่าข่าวเหล่านี้ไปกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกไม่ปรองดอง เกิดความรู้สึกว่ารัฐไม่สามารถบังคับใช้กฎหมายได้ มันไม่น่าเกิดขึ้นและไม่น่าได้รับการสนับสนุน
โอ๊คท้าให้รีบทำให้จบ
นายพานทองเเท้ ชินวัตร โพสต์เฟซบุ๊ก กรณีการถอดยศ พ.ต.ท.ทักษิณ ว่า ถ้าคิดว่าทำแล้วประเทศชาติบ้านเมืองจะดีขึ้นก็ทำไปเถอะ รีบๆ ทำ รีบๆ ถอดให้เสร็จๆ จะได้เอาเวลาที่เหลือไปทำประโยชน์ ช่วยเหลือชาวบ้านที่เขายังลำบาก ยังต้องปากกัดตีนถีบรอความหวังจากรัฐบาลอยู่ อำนาจทุกอย่างก็อยู่ในมือ กฎหมายมาตราพิเศษก็มีใช้มากกว่า รัฐบาลอื่นๆ แต้มต่อมีมากขนาดนี้ประเทศชาติน่าที่จะพัฒนา ประชาชนน่าที่จะสบายกว่านี้หลายเท่าตัวแต่ปัจจุบันกลับมีเสียงบ่นเดือดร้อนกันไปหมดทุกหย่อมหญ้า อำนาจต่างๆ ที่มีอยู่ล้นมือ น่าจะเอาไปใช้กับเรื่องหลักๆ ที่ประชาชนเดือดร้อนจะดีกว่า
นายพานทองแท้ กล่าวว่า เชื่อว่าเรื่องนี้ พ่อตนน่าจะเฉยๆ มียศก็ได้ ไม่มีก็ไม่แปลก จำได้ว่าเคยมีคนตั้งเรื่องจะขอพระราชทานยศชั้นนายพลตำรวจให้พ่อตน ในฐานะที่เป็น นายกฯทำคุณประโยชน์ให้กับบ้านเมือง เมื่อทราบเรื่องดังกล่าวพ่อรีบเบรกเรื่องนี้ทันที เพราะไม่อยากจะให้ระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาทที่ต้องทรงพิจารณาในการจะทรง ลงพระปรมาภิไธย คนเคยเป็นนายกฯมาแล้ว เดินทางไปทุกประเทศทั่วโลก คนเขาก็ยอมรับนับถือ ในฐานะอดีตนายกฯที่นำนโยบายดีๆ มาใช้ได้อย่างเป็นรูปธรรม
เลือกได้พ่ออยากเป็นนายทักษิณ
นายพานทองแท้ ระบุว่า ไม่มีใครมานับถือในการเคยเป็นนายตำรวจยศพันตำรวจโท เมื่อ 30 ปีที่แล้ว ถ้าเลือกได้ตนเชื่อว่า เวลานี้ คุณพ่อตนน่าจะเลือกที่จะใช้ชีวิตเป็นนายทักษิณ ที่สามารถใช้ชีวิตอบอุ่นอยู่กับครอบครัวและลูกหลานได้อย่างปกติสุขอย่างคนทั่วไปมากกว่า ที่จะต้องมาผจญวิบากกรรม จากกระบวนการยุติธรรม ที่ตั้งเรื่องมาจากองค์กรอิสระที่บิดเบี้ยว และคณะตรวจสอบที่ผู้กระทำรัฐประหารครั้งก่อนหน้านี้ ซึ่งตั้งขึ้นโดยมีธงเพื่อมาไล่บี้เอาผิดกันโดยเฉพาะ การปรองดองของคนในชาติ จะต้องเริ่มต้นจากการเยียวยา และให้ความเป็นธรรมกับผู้ถูกกระทำเท่านั้น ใช้วิธีอื่นไม่มีวันสำเร็จ
พท.ชี้สนองข้อเรียกร้องกปปส.
นายอนุสิษฐกล่าวว่า การข่าวของหน่วยงานมั่นคงได้เฝ้าระวังทุกมิติ ส่วนกรณีนี้อาจจะกระตุ้นมวลชนให้เคลื่อนไหวนั้น ตนคิดว่าประชาชนส่วนใหญ่เข้าใจ และนายกฯได้อธิบายชัดเจนแล้วว่าไม่ใช่เรื่องที่เราตัดสินใจ แต่เป็นเรื่องกระบวนการ หากเข้าใจแล้ว กระแสต่างๆ คงไม่เกิดขึ้น
ด้าน นายสมคิด เชื้อคง อดีตส.ส.อุบล ราชธานี พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า อยากถอดก็ถอดไป จะไปทำให้ยากทำไม การยึดอำนาจเมื่อปี 2549 มีความพยายามจะถอดยศมาแล้ว ยึดอำนาจคราวนี้จะถอดยศอีกครั้งถ้าทำแล้วสบายใจก็ทำไป เรื่องนี้คงไม่มีผลต่อพ.ต.ท. ทักษิณ ถ้าถอดยศแล้วทำให้ราคายางสูงขึ้น 100 บาทต่อกิโลกรัม ราคาข้าวสูงขึ้น บ้านเมืองดีขึ้นก็ถอดไป เรื่องถอดยศทำได้หรือไม่ได้ก็ไม่ได้ทำให้บ้านเมืองดีขึ้น ก็เท่าเดิม อาจมีนัยการเมืองหรือมีผลต่อกลุ่มคนที่ไม่ชอบ เพื่อทำให้เห็นว่าที่เคยเดินขบวนประท้วงกันมา ยึดอำนาจแล้วได้ทำให้แล้ว หากอยากทำให้เป็นผลงานชิ้นเอกก็ถอดไปเลย ส่วนตัวเฉยๆ กับเรื่องนี้ ถ้าทำได้จะได้จบๆ ไป ไม่ต้องมาพูดกันอีก ถ้าทำไม่ได้ก็จบไป แล้วไม่ต้องเอามาพูดกันต่อ
จตุพรบอกทำเพื่อความสะใจ
นายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธานนปช. กล่าวในรายการมองไกลทางยูทูบว่า การเร่งรัดถอดยศ พ.ต.ท.ทักษิณ หลายฝ่ายทราบดีว่าไม่สามารถ ทำได้ เพราะความผิดต้องอยู่ในขณะที่เป็นข้าราชการตำรวจ แต่พ.ต.ท.ทักษิณลาออกจากตำรวจมาทำธุรกิจก่อนเล่นการเมือง มีความพยายามทำมาตั้งแต่รัฐประหารปี 2549 แต่ทำไม่ได้เพราะตามข้อกฎหมายไม่สามารถทำได้ แม้กระทั่ง พล.ต.อ.สมยศ ก็ทราบว่าหากดำเนินการถอดยศ อาจมีความผิดเรื่องการถอดยศโดย มิชอบและอาจโดนถอดยศกลับได้เช่นกัน ตนมองว่าเรื่องนี้ทำเพื่อความสะใจของคนบางกลุ่มเท่านั้น
นายจตุพร กล่าวว่า การจัดงานวันคล้ายวันเกิด พล.อ.ประวิตร ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ ผบ. เหล่าทัพ ตำรวจ และนายทหารชั้นผู้ใหญ่เข้าอวยพร แสดงให้เห็นว่าพล.อ.ประวิตร ยังเป็นพี่ใหญ่แห่งบูรพาพยัคฆ์และยังมีบารมี ที่ผ่านมา ทราบกันดีว่า พล.อ.ธีรชัย นาควานิช ผช. ผบ. ทบ. จะมาเป็นผบ.ทบ. แทนพล.อ.อุดมเดช สีตบุตร ที่จะเกษียณเพราะเป็นสายบูรพาพยัคฆ์ แต่ครั้งนี้ไม่ใช่ เพราะคู่แข่งเป็นถึงน้องชาย นายกฯ ไม่ว่าใครเป็นผบ.ทบ.หรือผบ.ตร.ไม่เกี่ยวกับคนเสื้อแดง แต่มีความสำคัญต่อประเทศที่ยังไม่เป็นประชาธิปไตย เพราะการเปลี่ยนแปลง การปกครอง ต้องขับเคลื่อนโดยผบ.ทบ.เท่านั้น
นายจตุพร ยังเรียกร้องให้นายกฯพร้อมคณะกรรมการ ป.ป.ช เชิญนพ.หทัย ชิตานนท์ ประธานสถาบันส่งเสริมสุขภาพไทย มาให้ข้อมูลหลังออกมาเปิดเผยว่ามีคนใกล้ชิดพล.อ. ประยุทธ์ มีส่วนได้ส่วนเสียรับเงินสินบนจากนายทุนบริษัทบุหรี่ข้ามชาติ ที่ล็อบบี้กรณีเงินภาษีเหล้าและบุหรี่ เรื่องนี้พล.อ.ประยุทธ์จะนิ่งเฉยเหมือนกรณีที่ต้องการให้ประเทศไทยมีบ่อนกาสิโนโดยมีการจ่ายเงิน ให้นายทหารระดับพล.อ.บางคน แต่เรื่องเงียบหายไม่ได้
ได้ประกัน- นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อดีตอธิบดีดีเอสไอ ถูกศาลอาญาพิพากษาให้จำคุก 2 ปี โดยไม่รอลงอาญา กรณีโยกย้าย พ.ต.อ.ปิยะวัฒก์ กิ่งเกตุ โดยยื่นหลักทรัพย์ 2 แสนประกันตัว เมื่อวันที่ 11 ส.ค. |
กมธ.เคาะที่มาส.ว.
เวลา 15.45 น. ที่รัฐสภา พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช ที่ปรึกษาและโฆษกกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ แถลงว่า ที่ประชุมกมธ.ยกร่างฯ เห็นชอบในมาตรา 118 ที่กำหนดให้ ส.ว.มี 200 คน โดยมาจากการเลือกตั้ง 77 จังหวัด ส่วนอีก 123 คน มาจากการสรรหา ที่แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ส่วนมาตรา 119 ว่าด้วยองค์ประกอบของคณะกรรมการสรรหาทั้ง 4 กลุ่ม กำหนดให้ไปบัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.และการได้มาซึ่ง ส.ว.
พล.อ.เลิศรัตน์ กล่าวว่า ที่ประชุมยังเห็นชอบให้กำหนดในบทเฉพาะกาลว่า ต้องดำเนินการได้มาซึ่ง ส.ว. ชุดแรกภายใน 150 วัน นับตั้งแต่รัฐธรรมนูญประกาศใช้ โดยส.ว.ชุดแรกทั้ง 200 คน จะมีที่มาจากการเลือกตั้ง 77 จังหวัด และ 123 คนที่มาจากการสรรหาโดย ครม. เพียงอย่างเดียว เพื่อทำหน้าที่ในระยะเปลี่ยนผ่าน คอยดำเนินการตามภาค 4 ว่าด้วยการปฏิรูปและการสร้างความปรองดอง คอยทำงานร่วมกับคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการปฏิรูปและการสร้างความปรองดองแห่งชาติ มีวาระดำรงตำแหน่ง 3 ปี จากนั้นจึงให้ดำเนินการได้มาซึ่ง ส.ว.ทั้ง 200 คน ตามมาตรา 118 และ 119 อย่างไรก็ตาม กมธ.ยกร่างฯไม่ได้จำกัดสิทธิส.ว.ชุดแรกลงสมัครรับเลือกตั้งหรือเข้ารับการสรรหา เมื่อครบวาระ 3 ปีแรกไปแล้ว
ให้ครม.ตู่ตั้งทีมสรรหาชุดแรก
เมื่อถามว่าการกำหนดที่มาส.ว.ชุดแรก วาระ 3 ปี โดยเฉพาะในส่วนที่มาจากการสรรหาของ ครม. 123 คน ตามบทเฉพาะกาล ถือเป็นการ จูงใจให้สปช.โหวตผ่านรัฐธรรมนูญหรือไม่ พล.อ.เลิศรัตน์กล่าวว่า ไม่สามารถตอบได้ เพราะยังไม่ทราบว่าใครจะได้รับการสรรหาเป็น ส.ว.บ้าง แต่เชื่อว่าครม.จะตั้งกรรมการมาสรรหาเข้ามาตามความเหมาะสม ส่วนครม.ที่ทำหน้าที่สรรหา ส.ว.ระยะเปลี่ยนผ่านคือ ครม.ที่อยู่ระหว่างการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ
ตั้ง 23 กก.ยุทธศาสตร์
เวลา 18.15 น. นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานกมธ.ยกร่างฯ แถลงว่า ในมาตรา 260 ที่ประชุมเห็นชอบให้มีกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปและการปรองดองแห่งชาติ ประกอบด้วย ประธานกรรมการ 1 คน และกรรมการไม่เกิน 22 คน ประกอบด้วย กรรมการโดยตำแหน่งได้แก่ ประธานรัฐสภา ประธานวุฒิสภา นายกฯ ผู้บัญชาการกองทัพไทย(ผบ.ทท.) ผบ.ทบ. ผบ.ทร. ผบ.ทอ.และผบ.ตร. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากผู้เคยดำรงตำแหน่งประธานรัฐสภา นายกฯ ประธานศาลฎีกา ซึ่งเลือกกันเองประเภทละ 1 คน และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิไม่เกิน 11 คน ซึ่งแต่งตั้งตามมติรัฐสภา จาก ผู้มีความเชี่ยวชาญการปฏิรูปด้านต่างๆ และการสร้างปรองดอง มีอำนาจหน้าที่เสริมสร้างการปฏิรูปและกำกับการสร้างปรองดอง และระงับเหตุที่นำไปสู่ความรุนแรง
ให้อำนาจพิเศษ 5 ปี
นายบวรศักดิ์ กล่าวว่า กมธ.ยกร่างฯ ยังกำหนดอำนาจพิเศษของกรรมการยุทธศาสตร์ฯ ไว้ในบทเฉพาะกาล ระบุว่า หากครม.ไม่มีเสถียรภาพ จนไม่สามารถบริหารประเทศได้ กรรมการยุทธศาสตร์ฯมีมติคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของกรรมการทั้งหมด มีอำนาจใช้มาตรการที่จำเป็นจัดการกับสถานการณ์ดังกล่าว หลังจากปรึกษากับประธานศาลรัฐธรรมนูญ และประธานศาลปกครองสูงสุดแล้ว เพื่อให้สถานการณ์กลับเข้าสู่สภาวะปกติโดยเร็ว จากนั้นประธานกรรมการยุทธศาสตร์ฯ มีอำนาจสั่งระงับยับยั้งหรือกระทำการใดๆ ไม่ว่าการกระทำนั้นจะมีผลทางนิติบัญญัติหรือในทางบริหาร ให้ถือว่าคำสั่ง ดังกล่าว เป็นคำสั่งและการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญนี้และถือเป็นที่สุด และเมื่อดำเนินการตามมาตรการดังกล่าวแล้ว ให้คณะกรรมการยุทธศาสตร์ฯ รายงานต่อประธานสภา ประธานวุฒิสภา รายงานต่อประธานศาลรัฐธรรมนูญ และประธานศาลปกครองสูงสุด รับทราบโดยเร็วและแถลงให้ประชาชนทราบ และเมื่อใช้อำนาจตามมาตรานี้ ให้ถือเป็นการเปิดประชุมสภา โดยอำนาจพิเศษตามมาตรานี้กำหนดให้ใช้ได้เพียง 5 ปี ซึ่งอำนาจตามมาตรานี้ไม่เหมือนกับมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 เพราะไม่มีอำนาจทางตุลาการ
อ้างแก้วิกฤต-โต้สืบทอดอำนาจ
"ตัวอย่างการใช้มาตรานี้ เช่น หากเกิดการชุมนุมขึ้นหลายพื้นที่จนกลายเป็นจลาจล รัฐบาลประกาศใช้กฎหมายความมั่นคง ประกาศใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินแล้ว ตำรวจ ทหารก็ยังเอาไม่อยู่ ถือว่ากลไกกฎหมายตามปกติไม่สามารถใช้ได้แล้ว กรรมการยุทธศาสตร์ฯต้องมาใช้อำนาจตามมาตรานี้ ซึ่งขอบเขตของอำนาจตามมาตรานี้ มีไว้เพื่อทำให้สถานการณ์กลับคืนสู่สภาวะปกติโดยเร็ว ยืนยันว่าเรื่องนี้ไม่มีการหมกเม็ด แต่เปิดเม็ดวางอยู่บนโต๊ะ ทั้งยังไม่ใช่การสืบทอดอำนาจแต่ต้องการทำให้เมืองสงบ" นายบวรศักดิ์กล่าว
เสนอคำถามประชามติ-รบ.ปรองดอง
นายบวรศักดิ์ กล่าวว่า นอกจากนี้ตนและนายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ ยังมีแนวคิดเสนอคำถามประชามติว่า อยากให้มีรัฐบาลปรองดองแห่งชาติหรือไม่ เพื่อยุติความขัดแย้งทางการเมืองในรอบ 10 ปี ควบคู่กับการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งกมธ.ยกร่างฯจะหารือกันอีกครั้งเพื่อหาข้อยุติ หากกมธ. ยกร่างฯ ไม่เห็นด้วยก็จบ แต่หากเห็นด้วยก็จะนำความเห็นนี้ เสนอสนช. และสปช. ให้ตั้งเป็นคำถามประชามติต่อไป
นายบวรศักดิ์ กล่าวว่า หากเรื่องดังกล่าวผ่านความเห็นของประชาชน ภายหลังรัฐธรรมนูญประกาศใช้ บทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญจะกำหนดให้การจัดตั้งรัฐบาลปรองดองแห่งชาติ ต้องใช้เสียง ส.ส.สนับสนุน 4 ใน 5 จาก 450 คน หรือรัฐบาลปรองดองแห่งชาติต้องใช้เสียง 360 คน ส่วนที่เหลือเป็นฝ่ายค้าน เพื่อรัฐบาลดังกล่าวนี้ แก้ปัญหาความขัดแย้งของประเทศต่อไปอีก 4 ปี หลังรัฐธรรมนูญประกาศใช้ และเมื่อพ้นระยะเวลาดังกล่าวแล้ว บทเฉพาะกาลมาตรานี้ก็ถือว่าสิ้นผลไป และหลังจากนั้น หากบ้านเมืองยังไม่สงบก็ช่วยไม่ได้ ซึ่งกรณีนี้ประเทศที่เคยใช้และประสบความสำเร็จ ได้แก่ เยอรมัน
ด้านนายเอนกกล่าวว่า หากเรื่องดังกล่าวผ่านการทำประชามติ ก็เชื่อว่าพรรคต่างๆ ก็จะยินยอม เพราะเราไม่สามารถปล่อยให้บ้านเมืองกลับมาขัดแย้งเหมือนที่ผ่านมาได้
สปช.เสวนาชำแหละรธน. 1 ก.ย.
นายบุญเลิศ คชายุทธเดช สมาชิกสปช. ในฐานะโฆษกกมธ.ปฏิรูปการเมือง กล่าวว่าในวันที่ 25 ส.ค. กมธ.ปฏิรูปการเมือง จะประชุมเพื่อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ และแลกเปลี่ยนความเห็นอย่างเต็มที่ว่าได้นำเสนอบทบัญญัติไปอย่างไรบ้าง และได้รับการตอบรับจาก กมธ.ยกร่างฯแค่ไหน นอกจากนี้ กมธ.ปฏิรูปการเมืองร่วมกับกมธ.ปฏิรูปกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม จัดเสวนาแลกเปลี่ยนความเห็นร่างรัฐธรรมนูญ โดยจะเชิญสปช.ร่วมรับฟังในวันที่ 1 ก.ย.นี้
เมื่อถามว่า การจัดเสวนาก่อนวันลงมติรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญเพียงไม่กี่วัน ถือเป็นการหยั่งเสียงสปช.หรือไม่ นายบุญเลิศกล่าวว่า ไม่ได้หยั่งเสียงและคงไม่สามารถชี้นำใครได้ แต่สปช.ไม่มีเวทีแลกเปลี่ยนกัน การจะนัดเกาะกลุ่มกินข้าวกันก็ไม่ใช่วิสัย การจัดเสวนาจึงเหมาะสมที่สุด ขึ้นอยู่กับความสมัครใจของสปช.ว่าจะมาแลกเปลี่ยนกันหรือไม่
สปช.จี้กมธ.ทยอยส่งร่างรธน.
เวลา 10.00 น. ที่รัฐสภา มีการประชุมสปช. น.ส.ทัศนา บุญทอง รองประธานสปช.คนที่ 2 เป็นประธาน ก่อนเข้าสู่วาระ นายเกรียงไกร ภูมิเหล่าแจ้ง สมาชิกสปช. หารือว่า ตอนนี้มีการวิจารณ์ถึงการลงมติรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญและการเสนอคว่ำ ทั้งที่ยังไม่เห็นเนื้อหาของแต่ละมาตรา จึงขอเสนอให้กมธ. ยกร่างรัฐธรรมนูญนำเสนอมาตราที่พิจารณาเสร็จให้สปช.ศึกษาก่อน เนื่องจากเวลา 15 วันนั้นไม่เพียงพอ และอาจศึกษาได้ไม่ทัน
เวลา 11.00 น. นายเกรียงไกร พร้อม สมาชิกสปช.สายข้าราชการส่วนท้องถิ่น อาทิ นายคณิศร ขุริรัง สมาชิกสปช.หนองบัวลำภู นายบุญถิ่น มั่นเกษวิทย์ สมาชิกสปช.อุทัยธานี นายธำรง อัศวสุธีรกุล สมาชิกสปช.กำแพงเพชร และนายถาวร เฉิดพันธุ์ สมาชิกสปช.ปทุมธานี และนายธีรศักดิ์ พานิชวิทย์ สมาชิกสปช. แถลงถึงกรณีมีสมาชิก สปช.ให้ความเห็นทั้งสนับสนุนและคัดค้านร่างรัฐธรรมนูญ
เสียงส่วนใหญ่ยังไม่ตัดสินใจ
นายเกรียงไกรกล่าวว่า พวกตนในฐานะสมาชิกสปช.เกินกึ่งหนึ่ง ซึ่งเป็นเสียงส่วนใหญ่ของกมธ. 18 คณะ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสมาชิกสปช.ที่ให้ความเห็นทั้งสนับสนุนและคัดค้านร่างรัฐธรรมนูญ แต่จะขอรอดูหน้าตาก่อนว่าออกมาอย่างไร หากเป็นประโยชน์ต่อประชาชน พวกตนก็เห็นด้วย แต่หากมีจุดด่างดำพวกตนจะโหวตไม่ผ่าน จึงไม่สามารถคาดเดาได้ว่าผลจะออกมาอย่างไร เพราะยังไม่เห็นหน้าตาร่างรัฐธรรมนูญ
นายเกรียงไกร กล่าวว่า สมาชิกสปช.ที่ออกมาสร้างซีนด้วยการมโน สร้างคุณค่าให้ตัวเอง อย่าเอาสมาชิกสปช.ทั้ง 250 คนไปเกี่ยวข้องด้วย ต้องยืนยันว่าสมาชิกแต่ละคนมีความคิดเห็นเป็นของตัวเองและไม่เห็นด้วยกับการชี้นำ ขอเรียกร้องให้กมธ.ยกร่างฯ ทั้ง 36 คน ให้นำเสนอภาพรวมด้วยว่าร่างรัฐธรรมนูญไปถึงไหน เป็นอย่างไรบ้าง เพราะพวกเรามีส่วนร่วมกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ด้วย ส่วนที่มีกระแสข่าวแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ของสมาชิกสปช.กับการลงมติร่างรัฐธรรมนูญนั้นตนไม่ทราบ
ไม่รับการชี้นำ-ฟังองค์กรท้องถิ่น
เมื่อถามถึงคำถามประชามติปฏิรูปอีก 2 ปีก่อนเลือกตั้ง นายเกรียงไกรกล่าวว่า ส่วนตัวยังไม่เห็นด้วยเพราะตั้งแต่วันที่ 2 ต.ค. 2557 ถือว่าดำเนินการปฏิรูปอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องกำหนดว่าจะต้องปฏิรูปอีก 2-3 ปี เชื่อว่า คสช.และครม.มีวิจารณญาณว่าจะปฏิรูปกี่ปี ตนไม่ได้มองว่าต้องปฏิรูป 2-3 ปี แต่จะกี่ปีก็ได้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม
ด้านนายธีรศักดิ์ กล่าวว่า รู้สึกวิตกต่อการชี้นำการลงมติของสมาชิกสปช. ตนไม่ยอมรับการชี้นำ และในฐานะเลขาธิการสมาคม อบต. จะนำสาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญที่ได้รับจากกมธ.ยกร่างฯ ในวันที่ 22 ส.ค. ไปหารือในสมาคม จังหวัด เพื่อรับฟังความคิดเห็นว่าอบจ. อบต. เทศบาล ประชาชนในพื้นที่จะมีความคิดเห็นอย่างไร ประกอบการตัดสินใจก่อนลงมติรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ
แจงขั้นตอนโหวต 248 อดีตสส.
ที่รัฐสภา นพ.เจตน์ ศิรธรานนท์ โฆษกวิป สนช. แถลงผลประชุมว่า สนช.กำหนดแถลงปิดสำนวนถอดถอนอดีตส.ส. 248 คน ที่ร่วมเสนอญัตติและลงมติแก้ไขรัฐธรรมนูญ ประเด็นที่มา ส.ว.ในวันที่ 13 ส.ค.นี้ ซึ่งคงใช้เวลาไม่มาก เพราะมีการชี้แจงไปมากแล้ว คาดว่าจะมี ผู้แถลงเพียงคนเดียว และกำหนดวันที่ 14 ส.ค.นี้ เป็นวันลงมติถอดถอนหรือไม่ถอดถอน ซึ่งกระบวนการการลงคะแนนนั้น สมาชิกจะได้รับแจกบัตรลงคะแนนแบ่งเป็น 3 กลุ่มตามฐานความผิด ซึ่งกลุ่มแรก 237 คน ใช้บัตรลงคะแนน 5 ใบ ประกอบด้วยบัตรสีม่วง สีฟ้า สีเขียว สีเหลือง และสีส้ม กลุ่ม 2 จำนวน 1 คน จะใช้บัตรสีขาว และกลุ่มที่ 3 จำนวน 10 คน จะใช้บัตรสีชมพู ที่ประชุมจะตั้งสมาชิก สนช. 36 คน และเจ้าหน้าที่ 24 คน รวม 60 คน เป็นกรรมการควบคุมการนับคะแนน คาดว่ากระบวนการทั้งหมดจะใช้เวลา 4-5 ช.ม. จึงจะทราบผลคะแนนอย่างเป็นทางการได้
พิชัยถูกเชิญเข้าค่ายทหารอีก
นายพิชัย นริพทะพันธุ์ อดีต รมว.พลังงาน เผยว่า ช่วงเช้าวันนี้ตนถูกเชิญเข้ากองทัพภาคที่ 1 สอบถามเรื่องการร่วมเสวนาตรรกะวิบัติ หัวข้อเรื่อง "หนักหัวใคร ถ้าฉันใช้ตรรกะวิบัติ" เมื่อวันที่ 8 ส.ค. ซึ่งอธิบายว่าตนเป็นแขกรับเชิญ พร้อมกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และนักวิชาการอีกหลายคน เนื้อหาพูดถึงปัญหาเศรษฐกิจของไทยที่ขึ้นอยู่กับความเชื่อมั่นของต่างประเทศ และตรรกะทางเศรษฐกิจก็เป็นเนื้อหาคล้ายกับที่เคยพูดออกรายการทีวีเดินหน้าปฏิรูปของศูนย์ปรองดองสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูป (ศปป.)
นายพิชัย กล่าวว่า นอกจากนี้ ปัญหาตรรกะวิบัติในประเทศนี้ คนมักใช้เหตุผลเข้าข้างตัวเองมากกว่าเหตุผลที่แท้จริง จึงทำให้ประเทศวุ่นวายถึงปัจจุบัน และอยากให้รัฐบาลตระหนักถึงปัญหานี้ และเร่งแก้ไข
ชงเยียวยาเข้าครม.ใน 2 สัปดาห์
ที่ทำเนียบ ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รมต.ประจำสำนักนายกฯ ในฐานะคณะกรรมการเยียวยาด้านตัวเงิน ผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองระหว่างปี 2547-2553 และปี 2556-2557 กล่าวก่อนประชุมครม.ถึงการพิจารณาจ่ายเงินเยียวยาฯ ว่า นายวิษณุ เครืองาม รองนายกฯ ได้รายงานผลการพิจารณาการจ่ายเงินของสำนักงบประมาณและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ให้พล.อ.ประยุทธ์รับทราบเรียบร้อยแล้ว คาดว่าจะนำเรื่องเสนอเข้าที่ ประชุมครม.พิจารณาเห็นชอบไม่เกิน 2 สัปดาห์ คิดว่าผลที่ออกมาจะเป็ นไปอย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่เลือกปฏิบัติและอยู่ภายในกรอบกฎหมาย
ศาลสั่งคุก 2 ปี'ธาริต'ไม่รออาญา
วันที่ 11 ส.ค. ที่ศาลอาญา รัชดาภิเษก ศาลนัดอ่านคำพิพากษา คดีที่ พ.อ.ปิยะวัฒก์ กิ่งเกตุ อดีตผู้บัญชาการสำนักคดีทรัพย์สินทางปัญญา กรมสอบสวนคดีพิเศษ เป็นโจทก์ ยื่นฟ้องนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อดีตอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) และนายชาญเชาวน์ ไชยานุกิจ รองปลัดกระทรวงยุติธรรม เป็นจำเลยที่ 1-2 ฐานเป็นเจ้าพนักงานร่วมกันปฏิบัติหรือละเว้นหน้าที่โดยมิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
จากกรณีนายธาริต โยกย้าย พ.อ.ปิยะวัฒก์ ไปเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะคดี ซึ่งมีระดับต่ำกว่าเดิม โดยผ่านความเห็นชอบของนายชาญเชาวน์ คดีนี้ศาลอาญามีคำสั่งไม่รับฟ้อง แต่ต่อมาศาลอุทธรณ์ พิพากษากลับให้ศาลอาญารับฟ้อง ไว้พิจารณา
ศาลพิเคราะห์เห็นว่า หลังถูกโยกย้าย พ.อ.ปิยะวัฒก์ ยื่นร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม ซึ่งมีคำวินิจฉัยว่าคำสั่งโยกย้าย ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และปลัดยุติธรรม ยกเลิกคำสั่งย้ายพ.อ.ปิยะวัฒก์ให้กลับมาปฏิบัติหน้าที่ตามเดิม และเชื่อว่า การเสนอขอย้ายดังกล่าวมาจากความขัดแย้งในการปฏิบัติหน้าที่ จึงเป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ พิพากษาจำคุก 2 ปี โดยไม่รอลงอาญา ส่วนนายชาญเชาวน์ พิพากษายกฟ้อง
นายธาริต ได้ยื่นคำร้องพร้อมหลักทรัพย์ขอปล่อยชั่วคราว ศาลพิจารณาอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวโดยตีราคาประกัน 2 แสนบาท และไม่ได้กำหนดเงื่อนไขใดๆ
นายสงกานต์ อัจฉริยะทรัพย์ ทนายความโจทก์ กล่าวว่า นายธาริต คงอุทธรณ์สู้คดี ตนในฐานะทนายโจทก์จะอุทธรณ์คดีเช่นกัน เนื่องจากเห็นว่าโทษแค่ 2 ปี ยังเบาเกินไป ส่วนที่ยกฟ้องจำเลยที่ 2 ก็จะยื่นอุทธรณ์เช่นกัน
"อภิชาต"ปลัดกต.-ไก่อูยังรองโฆษก
วันที่ 11 ส.ค. ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลประชุมครม.ว่า ครม.มีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการต่างประเทศ เสนอ แต่งตั้ง นายเฉลิมพล เอกอุรุ เป็นสมาชิกฝ่ายไทยในศาลประจำอนุญาโตตุลาการ ณ กรุงเฮก มีวาระ 6 ปี และนายอภิชาต ชินวรรโณ เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูตกรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส เป็นปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.2558 ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง
อนุมัติตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอแต่งตั้ง ร.อ.สุวิพันธุ์ ดิษยมณฑล รองอธิบดีกรม ส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เป็นที่ปรึกษาการพาณิชย์ (นักวิชาการพาณิชย์ทรงคุณวุฒิ) สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ ตั้งแต่วันที่ 13 มี.ค.2558 อนุมัติตามที่กระทรวงการคลัง เสนอแต่งตั้ง นายชูชัย อุดมโภชน์ รองอธิบดีกรมศุลกากร เป็นที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบ สิทธิประโยชน์ทางศุลกากร (นักวิชาการศุลกากรทรงคุณวุฒิ) กรมศุลกากร กระทรวงการคลัง ตั้งแต่วันที่ 16 ก.พ.2558 ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง
เมื่อถามถึงการแต่งตั้งตำแหน่งปลัดกระทรวงต่างๆ ที่จะเกษียณอายุ พล.ต.สรรเสริญ กล่าวว่า ตำแหน่งปลัดกระทรวง นายกฯบอกว่าต้องดำเนินการให้เสร็จในสัปดาห์หน้า เพื่อให้ช่วยพิจารณาแต่งตั้งข้าราชการในหน่วยงานนั้นๆ ก่อน
พล.ต.สรรเสริญกล่าวถึงกระแสข่าวปรับให้ขึ้นเป็นโฆษกประจำสำนักนายกฯว่า ไม่มี เหมือนเดิม ยังเป็นรองโฆษกรัฐบาล จะลาออกทำไม
ศาลอุทธรณ์สั่ง"บิ๊กตู่-คสช."ชี้แจง
วันที่ 11 ส.ค. จากกรณีกลุ่มพลเมืองโต้กลับ 15 คน เป็นโจทก์ยื่นคำร้องต่อศาลอาญา วันที่ 22 พ.ค.ที่ผ่านมา ฟ้อง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกและหัวหน้าคสช. พล.อ.อ. ประจิน จั่นตอง พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว และ พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 91, 113 และ 114 เป็นจำเลยฐานกบฏ ร่วมกันใช้กำลังขู่เข็ญประทุษร้ายและล้มล้างเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ให้สิ้นสุดลง ล้มล้างอำนาจนิติบัญญัติ บริหารและตุลาการ อันเป็นความผิดฐานกบฏ ช่วงเวลาวันที่ 20-24 พ.ค.2557 และยังออกคำสั่ง คสช.หลายฉบับที่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพประชาชนและสื่อมวลชน ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ต่อมาวันที่ 29 พ.ค. ศาลพิจารณายกฟ้องตามมาตรา 48 ในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ.2557 ได้นิรโทษกรรมความผิดของ คสช.ไว้แล้ว กลุ่มพลเมืองโต้กลับจึงยื่นอุทธรณ์คำร้องอีกครั้งเมื่อวันที่ 29 ก.ค.ที่ผ่านมา
นายอานนท์ นำภา ทนายความจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนและตัวแทนกลุ่มพลเมืองโต้กลับ เผยว่า วันที่ 10 ส.ค.ที่ผ่านมา ศาลอาญามีคำสั่งรับอุทธรณ์คำร้องของกลุ่มพลเมืองโต้กลับแล้ว โดยมีคำสั่งให้จำเลยทำคำแก้อุทธรณ์ยื่นต่อศาลภายใน 15 วัน จากนั้นให้รวบรวมสำนวนส่งศาลอุทธรณ์พิจารณาต่อไป
นายอานนท์กล่าวว่า เมื่อจำเลยทั้ง 5 ทำคำแก้อุทธรณ์ส่งศาลอาญาแล้ว ศาลอุทธรณ์อาจพิจารณาว่าคสช.ออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้ตนเองแล้ว จึงไม่มีความผิดก็จะยกฟ้องตามศาลชั้นต้น แต่หากศาลอุทธรณ์กลับคำสั่งศาลชั้นต้นโดยให้ศาลชั้นต้นเปิดการไต่สวนตามที่กลุ่มพลเมืองโต้กลับฟ้อง คสช. ทาง คสช.อาจประสานสำนักงานอัยการ ขอให้อัยการมาว่าความให้จำเลยในฐานะทนายของรัฐ
พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า ก็ฟ้องมา ตนไม่สนใจ ฝ่ายกฎหมายดูแลอยู่แล้ว เมื่อถามว่าถ้าศาลรับอุทธรณ์ นายกฯ กล่าวว่า ก็รับไป อยู่ที่ดุลพินิจของศาล อยากให้ดูพฤติกรรมคนฟ้องว่าเป็นอย่างไร ปี 2553 เขาอยู่ตรงกลางราชประสงค์ ประตูน้ำ เป็นคนต่อรองกับ ศอฉ. เดี๋ยว จะเลิก เขาทั้งแก๊ง เราก็โอเค ใครจะป่วยไข้ก็ดูแล หวังว่ามันคงเรียบร้อย ปรากฏว่าความรุนแรงก็เกิดขึ้น คนเหล่านี้รู้เรื่องทั้งหมด ตนเข้ามาอาจไม่ถูก แต่เข้ามาเพื่อทำความเลวหรือเปล่า ไม่ได้ทำ ใครที่เข้ามาถูกแล้วทำความเลวเยอะแยะทำไมไม่โจมตีเขาบ้าง
สหรัฐส่อฟันถ้าไทยเลื่อนเลือกตั้ง
วันที่ 11 ส.ค. เดอะดิโพลแมต เว็บไซต์ข่าววิเคราะห์การเมืองระหว่างประเทศ เผยแพร่บทความวิเคราะห์ความสัมพันธ์ไทยกับสหรัฐอเมริกา ว่า ภายหลังมีสัญญาณการเลือกตั้งของไทยมีแนวโน้มเลื่อนจากปี 2559 ไปเป็นปี 2560 อาจทำให้สหรัฐตอบโต้ไทยหนักกว่าการคว่ำบาตรความร่วมมือและความช่วยเหลือด้านการทหาร รวมถึงการทูต จากกรณีก่อการรัฐประหาร
ดิโพลแมตตั้งข้อสังเกต หลังวุฒิสภาสหรัฐเพิ่งลงมติรับรองการแต่งตั้งนายเกล็น เดวีส์ อดีตผู้แทนพิเศษด้านนโยบายเกาหลีเหนือ เป็นเอกอัครราชทูตสหรัฐประจำประเทศไทยคนล่าสุด เป็นไปได้ว่าการส่งทูตมาไทยไม่ใช่การลดความตึงเครียด แต่จะเพิ่มแรงกดดันให้รัฐบาลไทยเร่งคืนอำนาจประชาชน ต่างจากยุคนายราล์ฟ บอยซ์ ในยุคของนางคริสตี เคนนีย์ เอกอัครราชทูตหญิงสหรัฐ เห็นชัดถึงการยึดแบบแผนตามระบอบประชาธิปไตย ประกอบกับความชื่นชมต่อน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกฯ ที่มาจากการเลือกตั้ง จึงไม่แปลกที่นางเคนนีย์ ปฏิเสธการเข้าพบ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชาในช่วงแรก แม้ต่อมาจะเข้าหารือกับบุคคลอื่นในรัฐบาลแต่เป็นไปเพื่อรักษาผลประโยชน์ที่มีกับไทย มากกว่าในฐานะพันธมิตรหลักต่อสู้กับการก่อการร้าย
นายเมอร์เรย์ ฮีเบิร์ต ผู้เชี่ยวชาญด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์และนานาชาติ (ซีเอสไอเอส) เสนอแนะต่อคณะอนุกรรมาธิการสภาผู้แทนสหรัฐเมื่อมิ.ย. หากการเลือกตั้งของไทยเลื่อนไปจากก.ย.2560 รัฐบาลควรย้ายจุดศูนย์กลางที่ตั้งหน่วยงานการพัฒนาระหว่างประเทศ หน่วยสอบสวนกลาง และศูนย์บัญชาการปฏิบัติการต่อต้านการค้ายาเสพติด ออกจากกรุงเทพฯ ไปชาติอื่นในอาเซียน รวมถึงแต่งตั้งทูตพิเศษว่าด้วยกิจการในไทยแยกกับตำแหน่งเอกอัครราชทูต เพื่อหารือและเป็นตัวกลางเจรจากับรัฐบาลทหารไทยโดยตรง ซึ่ง นายราล์ฟ บอยซ์ อาจเหมาะสมกับหน้าที่นี้ที่สุด
นายเดสมอนต์ วอลเตอร์ ผู้แทนอาวุโสกระทรวงกลาโหมสหรัฐระหว่างปี 2555-2558 ระบุว่า เพนตากอนต้องการใช้การทูตเพื่อยุติความขัดแย้งกับกองทัพไทยเช่นกัน หลังความพยายามกดดันให้รัฐบาลทหารคืนอำนาจแก่ประชาชน ส่งผลกระทบอย่างมากต่อกระบวนการทางความมั่นคงของทั้งสองประเทศ เมื่อไทยหันไปสานสัมพันธ์ทางทหารกับจีน
กรณีไทยจะซื้อเรือดำน้ำ 36,000 ล้านบาทจากจีน นักวิเคราะห์บางส่วนมองว่า การให้บริการหลังการขายและการซ่อมบำรุงจะเป็นช่องทางให้จีนพัฒนายุทธศาสตร์เข้าถึงฐานทัพเรือสัตหีบและอ่าวไทยมากขึ้น ขณะที่คำสั่งระงับซื้อเรือดำน้ำชั่วคราวของพล.อ.ประยุทธ์อาจเกิดจากการเล็งเห็นความกังวลของสหรัฐจุดนี้ แต่ถ้าถูกคว่ำบาตรอีกอาจผลักดันให้รัฐบาลทหารยิ่งถลำลึกไปตามกลยุทธ์ของจีน
บิ๊กตู่ถาม-'บิ๊กติ๊ก'เป็นน้อง ผิดตรงไหน ลั่นผบ.ทบ.ใหม่ไม่ดีไม่ตั้ง จัดโผครม.เสร็จนานแล้ว รอเวลาเหมาะ-ทูลเกล้าฯ กมธ.เคาะกก.ยุทธศาสตร์ ให้อำนาจพิเศษแก้วิกฤต ชงประชามติรบ.ปรองดอง
'บิ๊กตู่'ลั่นตั้ง ผบ.ทบ.คนใหม่ อยู่ที่ กก.ปรับย้ายฯ ย้อนถามถ้า'บิ๊กติ๊ก' น้องชายได้เป็นเสียหายหรือเปล่า ย้ำ 14 ส.ค.ได้ ผบ.ตร.คนใหม่ เผยปรับ ครม.เสร็จนานแล้วรอเวลาเหมาะนำขึ้นทูลเกล้าฯ ไฟเขียว'อภิชาติ'นั่งปลัดบัวแก้ว
บิ๊กตู่ตัวแทนครม.อวยพร'ป้อม'
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 11 สิงหาคม ที่ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล ก่อนการประชุม พล.อ.ประยุทธ์เรียกนายจตุพร บุรุษพัฒน์ อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ เข้าพบเพื่อสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งระบายน้ำที่ท่วมขังในพื้นที่ จ.ภูเก็ตและ จ.นครราชสีมาโดยด่วน เนื่องจากประชาชนได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เข้าร่วมประชุม ครม.ตามปกติ หลังจากได้หยุดพักรักษาอาการบาดเจ็บมือและเท้ากว่า 2 สัปดาห์ เป็นที่น่าสังเกตว่า พล.อ.ประวิตรยังคงใส่เฝือกอ่อนเพื่อป้องกันการกระทบกระเทือนอาการบาดเจ็บอยู่ อย่างไรก็ตาม ก่อนการประชุม ครม. พล.อ.ประยุทธ์เป็นตัวแทน ครม.มอบแจกันดอกไม้อวยพรเนื่องในวันคล้ายวันเกิดให้กับ พล.อ.ประวิตร
ทั้งนี้ ก่อนหน้านั้น เวลา 06.30 น. พล.อ.ประวิตรทำบุญตักบาตรและถวายภัตตาหารเช้าที่วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร บางเขน พร้อมทำบุญอุทิศส่วนบุญกุศลให้กับบิดา ญาติพี่น้องตระกูลวงษ์สุวรรณ มี พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมและผู้บัญชาการทหารบก พล.ต.กู้เกียรติ ศรีนาคา รองแม่ทัพภาคที่ 1 และข้าราชการทหาร ตำรวจ เข้าร่วมพิธี
ลั่น 14 ส.ค.ได้ผบ.ตร.คนใหม่
พล.อ.ประยุทธ์แถลงหลังการประชุม ครม.ว่า จะแต่งตั้งปลัดกระทรวงทุกกระทรวงให้เสร็จโดยเร็ว แต่จะทำเฉพาะปลัดกระทรวงก่อน จะได้มาดูไปถึงการแต่งตั้งระดับอธิบดีทั้งคนเก่าและคนใหม่ ก็จะพยายามทำให้เร็ว เช่นเดียวกับในส่วนของการแต่งตั้งทหารและตำรวจภายในสัปดาห์หน้าก็จะเสร็จ โดยการประชุมคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.) จะมีขึ้นในวันที่ 14 สิงหาคม คงจะเสร็จสิ้นวันไหนก็วันนั้น ไม่ต้องถามว่าผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) เป็นใคร จะถามกันทำไม รู้วันนี้กับรู้วันหน้าก็ไม่ต่างกัน
"ตำรวจก็คือตำรวจ ซึ่งเขาก็ทำหน้าที่กันอยู่แล้ว ใครเป็นลูกน้องก็เป็นทั้งชาติ ผมขอใช้คำนี้ คนเป็น พล.ต.ต.จะเป็นนาย พล.ต.อ.ก็ไม่ได้ พล.ต.อ.ก็ต้องดูแลทั้ง พล.ต.ท. พล.ต.ต. และลูกน้องข้างล่างตามลำดับ นายกฯต้องควบคุมตำรวจได้อยู่แล้ว ไม่ต้องห่วงอำนาจผม ผมมีเยอะแยะไป แต่ผมไม่ได้ใช้ทั้งหมดอยู่แล้ว อะไรที่มาตามขั้นตอนของเขาได้ก็ทำมา" พล.อ.ประยุทธ์กล่าว
ถามน้องผิดตรงไหนไม่ดีจริงไม่ตั้ง
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวถึงการแต่งตั้งผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ว่า "การแต่งตั้งโยกย้ายแต่ละหน่วยงานจะเป็นผู้พิจารณาตัดสินขึ้นมาแล้วขอให้ผมตัดสินใจ อย่ามากดดันผมเลย ใครเป็นก็เป็นตามนั้น ถ้าคุณเชื่อมั่นผม คุณก็เชื่อผมก็แล้วกัน จะตั้งใครผมไม่ได้ตั้งเพื่อตัวเอง รวมทั้งตำแหน่ง ผบ.ทบ.ก็เป็นขั้นตอนของเขาอยู่แล้ว จะมาโยนให้ผมอยู่ได้"
ผู้สื่อข่าวถามว่า เก้าอี้ ผบ.ทบ.คนใหม่มีชื่อของ พล.อ.ปรีชา จันทร์โอชา ผู้ช่วย ผบ.ทบ. น้องชายของนายกฯ ดังมาก พล.อ.ประยุทธ์กล่าวย้อนถามทันทีว่า "แล้วทำไมเล่า ทำไม เขาเป็นน้องผมผิดอะไรหรือเปล่า เคยพูดไปแล้วในส่วนของกระทรวงกลาโหม เป็นเรื่องของคณะกรรมการและสภากลาโหมพิจารณาขึ้นมา ซึ่งเขามีหลักเกณฑ์อยู่แล้ว ทำไมล่ะ ถ้าเขาจะเป็นมันเสียหายหรือเปล่าไม่รู้ หรือถ้าเขาไม่ได้เป็นจะเสียหายหรือเปล่าก็ไม่รู้ ผมเป็นของผมมาอย่างนี้ เขาตั้งผมมาทุกตำแหน่ง ถ้าผมไม่ดีเขาไม่ตั้งผมมาเป็น ผบ.ทบ.หรอก"
เมื่อถามว่า ในฐานะที่เป็น ผบ.ทบ.มาก่อน มองคุณสมบัติคนที่มาเป็น ผบ.ทบ.คนใหม่อย่างไร พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า "ไม่คิด คิดไม่ได้ ไม่ใช่หน้าที่ อย่าไปคิดแทนคนอื่น ไม่เอา ไม่ใช่เรื่องของการตัดสินใจ เขาทำขึ้นอย่างไรผมเซ็นตามนั้น ให้เขาเสนอขึ้นมาก่อน คณะกรรมการฯเขาเสนอขึ้นมาผมก็ต้องเซ็นตามนั้น จะไปแก้อะไรเขาได้"
ท้าใครปว.ซ้อนมาบอกพร้อมยกให้
ผู้สื่อข่าวถามว่า หาก พล.อ.ปรีชาขึ้นมาเป็น ผบ.ทบ.คนใหม่จริง จะส่งผลกระทบกับนายกฯหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า จะมากระทบกับตนเรื่องอะไร สื่อไปมองและวาดภาพออกมาอย่างนี้ไง แล้วทีอดีตรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีที่ผ่านๆ มานามสกุลเดียวกัน ทำไมสื่อไม่ไปเล่นงานกันบ้าง ทำไมมาเล่นงานแต่กับตน
"มีหรือไม่นามสกุลเดียวกันเป็นญาติกันทั้งหมด ไม่เห็นมีใครว่าอะไรล่ะ ผิดบ้างถูกบ้างก็เห็นชื่นชมกันหมด ทีของผมยังไม่ได้เป็นอะไรสักอย่างหนึ่ง แล้วพูดไปพูดมาน้องชายผมก็น้อยใจผมอีก เพราะผมยังไม่คุยอะไรกับเขาเลยจริงๆ เขาไม่เคยมาคุยมาขออะไรผมเลย เพราะผมอยู่กับเขามาแบบนั้นตั้งแต่เด็ก เป็นทหารด้วยกัน เขาต้องโตขึ้นมาด้วยตัวของเขาเอง ไม่ใช่ผมจะไปเอื้อประโยชน์เพราะเป็นน้องของผมให้โต มันไม่ใช่ ได้แค่ไหนก็แค่นั้นและเป็นอย่างนี้มาโดยตลอด การจะเป็นผู้ใหญ่ในกองทัพมันไม่สบาย ต้องลำบาก ต้องเหน็ดเหนื่อย ต้องได้รับการยอมรับจากคนในกองทัพด้วย ไม่ใช่ว่าฉันจะเป็นก็เป็น ถ้าเป็นแล้วมันปั่นป่วนทั้งหมดเขาก็คงไม่ชอบ" พล.อ.ประยุทธ์กล่าว
และว่า ข้าราชการมีตั้ง 2 แสนกว่าคน จะตั้งใครส่งเดชได้อย่างไร มันก็จะรวนไปหมด วันข้างหน้าก็จะกลับไปเป็นเหมือนหลายหน่วยงานที่ใครก็ได้แล้วเชียร์ให้ขึ้นมาเป็น ต้องสร้างวัฒนธรรมที่ดีให้คงอยู่ต่อไป ที่ผ่านมาก็ไม่เคยมีปัญหาในเรื่องการตั้ง ผบ.ทบ. กลัวกันเรื่องจะมีปฏิวัติซ้อน มาเลยมา ไม่ต้องจะมาปฏิวัติหรอก มาบอก จะยกให้ไปเลย ไม่ต้องการอำนาจ ไม่ต้องการผลประโยชน์ จะเอาไปทำไม ต้องการทำให้ประเทศชาติมีอนาคต ซึ่งถ้าไม่ฟังตนจะไม่รู้ว่าอนาคตอยู่ตรงไหน เพราะสื่อบางครั้งก็ไม่สามารถเสนอข่าวลงได้ทั้งหมด บางคนก็ไปเขียนความเห็นของตัวเองลงไปทั้งชอบและไม่ชอบ ซึ่งอยากถามว่าการวิจารณ์ใครรู้จักตัวเขาดีพอหรือยัง บางคนไม่รู้จักเลย แต่ไปวิจารณ์จนเกิดความเสียหาย ทำให้คนที่จะขึ้นมาเป็นคนที่อยู่ในกระแส เพื่อนก็อยากจะช่วยก็เขียนเชียร์หน่อย ยืนยันจะไม่ตั้งตามคนเชียร์ เป็นเรื่องของคณะกรรมการพิจารณาแต่งตั้งมา
เผยปรับครม.ทำเสร็จนานแล้ว
พล.อ.ประยุทธ์กล่าวถึงกระแสการปรับ ครม.ว่า กำลังดำเนินการอยู่ การปรับ ครม.ทำเสร็จตั้งนานแล้ว ส่วนจะทำเมื่อไรก็เรื่องของตน สื่อไม่ต้องมาร้องอ้าว จะอ้าวกันทำไม ต้องทำตามใครอย่างนั้นหรือ
เมื่อถามว่า ปรับกี่ตำแหน่ง พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า "ไม่รู้ ปรับได้หมดปรับ 35 ตำแหน่งส่วนจะทูลเกล้าฯ เมื่อไหร่ต้องตอบว่าเมื่อถึงเวลา เมื่อไหร่ก็เมื่อนั้น ปรับได้ตราบใดที่สื่อยังไม่เลิกเขียน ปรับได้ทั้งหมด 35 ตำแหน่งนั่นแหละ 36 ตำแหน่งก็ได้ ปรับตัวผมเองออกก็ได้ ทำไมจะต้องกังวลนักหนา ผมกำลังกำกับดูแลและทำงานอยู่ก็ทำกันไป ถึงเวลาปรับก็ปรับแล้ววันหน้าก็ไปไล่คนใหม่เขาเอา ถ้าปรับจริงหรือปรับได้อย่างนั้นล่ะก็ สื่อไปเขียนกันทุกวันก็รวนไปหมด คนเก่าก็ไม่อยากทำงาน คนใหม่ก็รอว่าเมื่อไรจะมาสักที แล้วจะไปเขียนกันทำไมถึงเวลาเหมาะก็ทำเองนั่นแหละ"
ลั่นไม่เคยปฏิเสธการเลือกตั้ง
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า "วันนี่้ต้องเข้าใจว่าการปฏิรูปคืออะไร ประชาชนทั้งประเทศต้องการอะไร ถามเขาหรือยัง ไม่ใช่ท่านมาบอกว่าผมเป็นคนกำหนด แต่ที่สุดท่านต้องมากำหนดโดยบอกว่าต้องเลือกตั้งมา ประชาธิปไตยต้องเป็นอย่างนี้อย่างนั้น ผมไม่เคยปฏิเสธ เลือกตั้งได้ก็เลือกไป แต่ผมเป็นห่วง คนดีจะได้มาอย่างไรผมไม่รู้ ผมก็ยังไม่เห็นคนที่เป็นความหวังของผม ความหวังของผมก็ไม่ใช่แบบนี้ ใครจะเข้ามาสู่กระบวนการการเมือง นักการเมืองใหม่ๆ มีหรือยัง ยังไม่รู้ ไม่ว่าใครมาพูดถึงผม หรือผมพูดถึงใคร และไม่ตรงกัน ผมไม่เกี่ยวกับใคร ผมคิดไม่เป็นหรือไง พอทำอย่างนี้ปุ๊บก็บอกว่าตรงกับคณะอื่นที่ทำไว้แล้ว ผมคิดเป็น ผมไม่โง่ อยู่ทุกวันนี้ก็ใช้สติปัญญาทำงาน ไม่เคยดูถูกใคร เพียงแต่ไม่ชอบคนที่ไม่เข้าใจแล้วมาพูด แล้วสื่อไปคล้อยตามเสนอให้คนรับรู้กันทั่วไป แล้วหวังความสงบสุขบ้านเมืองนี้มาจากไหน"
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวต่อว่า การปฏิรูปจะทำได้หรือไม่ ตนไม่รู้ ทุกคนต้องการปฏิรูปหมด แต่ไม่ยอมเปลี่ยนแปลงตัวเองเลย การปฏิรูปจะต้องเริ่มจากจิตใจตัวเองก่อน ว่าพร้อมจะทำหรือไม่ ถ้านักการเมืองทุกคนออกมาพูดพร้อมกันว่าจะร่วมกันปฏิรูปตรงนี้ ตนก็สบายใจ จะไปไหนก็สะดวก จะปฏิรูปกันอย่างไรก็ว่ามา ปฏิรูปก่อน ปฏิรูปหลัง ไปคุยกันมา ทั้งนี้ เมื่อมีการเสนอพิมพ์เขียวปฏิรูปมาในวันที่ 6 กันยายน ตนก็รับ ยังไงก็ต้องตั้งคณะกรรมการใหม่อยู่แล้ว จะเอาอันนี้ส่งให้เขาไปพิจารณาต่อในคณะใหม่
"รัฐบาลที่เข้ามาวันนี้ ก็รู้ว่าต้องทำอะไร ต้องแก้ปัญหาตรงไหนบ้าง คือทุกคนลืมไปหมดแล้วว่า วันนี้เราเข้ามาอยู่ทำอะไร จนลืมไปและนึกว่าเลือกตั้งผมมาหรือไง ถ้าผมลงสมัครก็ไม่มีใครเลือกอยู่แล้ว ส่วนผมจะอยู่แค่ไหนก็ดูที่รัฐธรรมนูญเขียนว่าอย่างไร มันมีสองพวกเสมอ พวกหนึ่งอยากให้อยู่ พวกหนึ่งอยากให้ไป อีกพวกอยู่ตรงกลาง ซึ่งตรงกลางนั้นสำคัญต้องแสดงให้เห็นบ้างว่าจะเอาอย่างไร เลือกตั้งคราวหน้า มาถึง 80-90 เปอร์เซ็นต์ได้ไหม จะอย่างไรก็แล้วแต่ทำให้มันครบเถอะ วันนี้มันเหมือนมีคนอยู่แค่สองฝ่ายถือกันคนละข้างและเลือกตั้งกันอยู่แค่นี้ ที่เหลือตรงกลางไม่รู้เรื่องเลย เพราะหลายคนก็ไม่ชอบการเมือง เวลาเลือกตั้งก็ไม่ออกมาเลือกกัน แต่พอถึงเวลาก็มาต้องการอย่างนี้อย่างนั้นมันไม่ได้" พล.อ.ประยุทธ์กล่าว
ครม.ตั้ง"อภิชาติ"นั่งปลัดกต.
พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุม ครม.ว่า ครม.มีมติอนุมัติให้นายอภิชาติ ชินวรรโณ เอกอัครราชทูตสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส เป็นปลัดกระทรวงต่างประเทศ นายเฉลิมพล เอกอุรุ เป็นสมาชิกฝ่ายไทยในศาลประจำอนุญาโตตุลาการ ณ กรุงเฮก เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ร.อ.สุวิพันธุ์ ดิษย
มณฑล รองอธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เป็นที่ปรึกษาการพาณิชย์ สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงพาณิชย์ นายชูชัย อุดมโภชน์ รองอธิบดีกรมศุลกากร เป็นที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบสิทธิประโยชน์ทางศุลกากร กรมศุลกากร กระทรวงการคลัง
คาด'สมชัย'ผงาดปลัดคลัง
นายสมหมาย ภาษี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า สัปดาห์หน้าจะเสนอรายชื่อปลัดกะรทรวงการคลังคนใหม่เข้า ครม.แทนนายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ ปลัดกระทรวงการคลังที่จะเกษียณอายุราชการ โดยเสนอผ่านไปยัง ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจแล้ว และหาก ครม.เห็นชอบรายชื่อปลัดกระทรวงคนใหม่ตามที่เสนอ ตนจะหารือกับปลัดกระทรวงคนใหม่ถึงการโยกย้ายผู้บริหารของกระทรวงการคลัง เพื่อเสนอเรื่องโยกย้ายเข้า ครม.อีกรอบหนึ่ง
"มีผู้บริหารของกระทรวงที่เหมาะสมจะเป็นปลัดกระทรวงคนใหม่ 3 คน แต่ในการเสนอชื่อต้องเสนอไป 1 คน ซึ่งคงไม่สามารถเปิดเผยรายชื่อได้ คงต้องรอให้ผ่าน ครม.ก่อน" นายสมหมายกล่าว
รายงานข่าวจากกระทรวงการคลังเปิดเผยว่า ในการประชุม ครม. ได้สอบถามความเห็นรายชื่อปลัดกระทรวงการคลังคนใหม่กับผู้ที่เกี่ยวข้อง ต่างเห็นตรงกันที่จะให้นายสมชัย สัจจพงษ์ อธิบดีกรมศุลกากร เป็นปลัดกระทรวงการคลังคนใหม่ ตามโผที่เคยประเมินกันไว้ ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้นายสมหมายเคยระบุถึงคุณสมบัติ 5 ข้อปลัดกระทรวงคนใหม่ ประกอบด้วย 1.ประวัติดี เป็นคนสุจริต ไม่ใช่พอเห็นหน้าร้องยี้ 2.เป็นบุคคลที่รู้ว่าควรจะปฏิเสธการเมืองหรือตอบรับการเมืองอย่างไร 3.ต้องเป็นคนที่อินเตอร์ ภาษาดีสามารถสื่อสารได้ ไม่จำเป็นต้องพูดเก่ง 4.ต้องมีธรรมาภิบาล 5.ผ่านงานกรมต่างๆ มาพอสมควร
เกรียงไกรจี้กมธ.ทยอยส่งร่างรธน.
เมื่อเวลา 10.00 น. ที่รัฐสภา มีการประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) โดย น.ส.ทัศนา บุญทอง รองประธาน สปช.คนที่ 2 ทำหน้าที่ประธานก่อนเข้าสู่วาระการประชุม ได้เปิดให้สมาชิกหารือ โดยนายเกรียงไกร ภูมิเหล่าแจ้ง สปช.ด้านการปกครองส่วนท้องถิ่น หารือว่ามีการวิพากษ์วิจารณ์กันถึงเรื่องการลงมติรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ รวมถึงการเสนอคว่ำร่างรัฐธรรมนูญด้วย ทั้งที่ยังไม่เห็นเนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญในแต่ละมาตรา จึงขอเสนอให้คณะกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญนำเสนอร่างรัฐธรรมนูญในมาตราที่พิจารณาเสร็จแล้วให้ สปช.ได้ศึกษาก่อน เนื่องจากระยะเวลา 15 วัน ไม่เพียงพอ และอาจจะศึกษาได้ไม่ทัน
"ที่ สปช.บางคนออกมาพูดว่าไม่รับร่างรัฐธรรมนูญนั้น เราเป็น สปช.ยังไม่เห็นหน้าตาของร่างรัฐธรรมนูญว่าเป็นอย่างไร แต่กลับตีโพยตีพายสร้างเงื่อนไข ผมเป็น สปช.ต้องดูร่างรัฐธรรมนูญให้ออกมาหน้าตาดี เป็นประโยชน์กับประเทศชาติและประชาชน ถ้าเป็นแบบนี้มั่นใจว่า สปช.รับร่างแน่นอน แต่ถ้าออกมาหน้าตาไม่ดี ขี้เหร่ มีตำหนิ ไม่เป็นประโยชน์กับประชาชน ผมมั่นใจว่า สปช.จะไม่รับร่าง เราควรจะออกมาแสดงจุดยืนไม่ให้เป็นจำเลยสังคม ไม่เช่นนั้นจะเป็นการชี้นำว่ามีการล็อบบี้กัน ผมขอยืนยันว่าไม่มีการล็อบบี้กันเกิดขึ้นแน่นอน" นายเกรียงไกรกล่าว
เคาะส.ว.เลือกตั้ง 77 สรรหา 123
เมื่อเวลา 09.30 น. ที่รัฐสภา ในการประชุมคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ มีนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธาน กมธ.ยกร่างฯ ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุม มีวาระพิจารณาทบทวนบทบัญญัติร่างรัฐธรรมนูญรายมาตราที่ยังไม่ได้ข้อยุติในประเด็นสำคัญ คือที่มาของวุฒิสภา (ส.ว.) และประเด็นในภาค 4 ว่าด้วยการปฏิรูปและการสร้างความปรองดอง ส่วนของโครงสร้างคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการปฏิรูปและการสร้างความปรองดองแห่งชาติ
พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช ที่ปรึกษาและโฆษก กมธ.ยกร่างฯ แถลงว่า ที่ประชุม กมธ.ยกร่างฯได้มีการพิจารณามาตรา 118 เกี่ยวกับที่มาของ ส.ว. โดยคงหลักการให้มี ส.ว. 200 คน แบ่งเป็น ส.ว.เลือกตั้ง 77 คน และ ส.ว.สรรหา 123 คน มาจาก 4 กลุ่ม ขณะที่มาตรา 119 ที่เกี่ยวกับองค์ประกอบของคณะกรรมการสรรหา ส.ว.ทั้ง 4 กลุ่มนั้น ที่ประชุมเห็นชอบร่วมกันให้ปรับหลักการของคณะกรรมการสรรหาทั้ง 4 กลุ่มใหม่ โดยให้ที่มาขององค์ประกอบของคณะกรรมการสรรหาทั้ง 4 กลุ่มเป็นไปตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.และการได้มาซึ่ง ส.ว.แทน เนื่องจาก 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมามีเสียงท้วงติงเรื่องของคณะกรรมการสรรหาว่ามีจำนวนมากเกินไป ไม่ยึดโยงกับประชาชน ดังนั้น เพื่อความรอบคอบในการร่างรัฐธรรมนูญจึงได้นำองค์ประกอบของคณะกรรมการสรรหาไปใส่ไว้ใน พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.และการได้มาซึ่ง ส.ว.แทน เพื่อจะได้ผ่านขั้นตอนการยกร่างของอนุ กมธ.ยกร่างฯ กมธ.ยกร่างฯ และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ทั้งนี้ เชื่อว่าคณะกรรมการสรรหาจะมีคุณสมบัติที่หลากหลายยึดโยงกับทุกภาคส่วน
ส.ว.ชุดแรกมีอายุ 3 ปีลงเลือกใหม่ได้
พล.อ.เลิศรัตน์กล่าวว่า ขณะเดียวกันในวาระเปลี่ยนผ่านหลังรัฐธรรมนูญมีผลบังคับใช้ และเพื่อให้เกิดความเรียบร้อยในการทำงานของ ส.ว.ในช่วง 3-4 ปีแรก รวมทั้งเพื่อให้การทำงานปฏิรูปประเทศและการสร้างความปรองดองบรรลุเป้าหมายสูงสุด กมธ.ยกร่างฯจึงได้กำหนดว่าในบทเฉพาะกาลวาระเริ่มแรกนับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ให้ ส.ว.มี 200 คน มีวาระการดำรงตำแหน่ง 3 ปี โดยกำหนดให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เป็นผู้จัดการเลือกตั้งจังหวัดละ 1 คน จำนวน 77 คน ส่วน ส.ว.สรรหา 123 คนนั้น ให้อำนาจ ครม.แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาเพื่อสรรหา ส.ว.อีก 123 คน เพื่อสนับสนุนภารกิจของรัฐบาลในการปฏิรูปประเทศร่วมกับคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการปฏิรูปและการสร้างความปรองดอง ทั้งนี้ หลังจาก ส.ว.ชุดแรกครบวาระก็ให้ดำเนินการวิธีการได้มา ส.ว.ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 118 และ 119 มีวาระการดำรงตำแหน่ง 6 ปี โดยจะไม่มีการตัดสิทธิ ส.ว.ชุดแรกในการมาลงสมัครรับเลือกตั้งและสรรหาหลังครบวาระ 3 ปีแรก
คง4กลุ่มเดิมชิงส.ว.สรรหา 123 คน
ผู้สื่อข่าวถามว่า การที่ กมธ.ยกร่างฯเขียนให้ ส.ว.ชุดแรกที่มาจากการสรรหา 123 คนเป็นอำนาจ ครม. เป็นการปูทางให้ สปช.ที่จะหมดวาระลงในวันที่ 7 กันยายนหรือไม่ โฆษก กมธ.ยกร่างฯกล่าวว่า ไม่มีใครตอบได้ เพราะต้องผ่านการสรรหาที่เชื่อว่า ครม.ก็ต้องเลือกคนที่เหมาะสมที่สุดเพื่อเข้ามาทำหน้าที่
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับ ส.ว.สรรหาจำนวน 123 คน แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มที่ 1 ผู้ซึ่งเคยเป็นข้าราชการฝ่ายพลเรือนซึ่งดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงหรือเทียบเท่า และข้าราชการฝ่ายทหารซึ่งดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการทหารสูงสุด หรือผู้บัญชาการเหล่าทัพ ประเภทละไม่เกิน 5 คน กลุ่มที่ 2 ผู้แทนสภาวิชาชีพ องค์กรวิชาชีพ หรืออาชีพที่มีกฎหมายจัดตั้ง จำนวนไม่เกิน 15 คน กลุ่มที่ 3 ผู้แทนองค์กรซึ่งเป็นองค์กรนิติบุคคลด้านเกษตรกรรม ด้านแรงงาน ด้านวิชาการและการศึกษา ด้านชุมชนและด้านท้องถิ่นและท้องที่ จำนวนไม่เกิน 30 คน และกลุ่มที่ 4 ผู้ทรงคุณวุฒิและคุณธรรมด้านการเมือง ความมั่นคง การบริหารราชการแผ่นดิน กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม การเศรษฐกิจ การสาธารณสุข สิ่งแวดล้อม ผังเมือง ทรัพยากรธรรมชาติ พลังงาน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สังคม ชาติพันธุ์ ศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม คุ้มครองผู้บริโภค ด้านเด็กเยาวชน สตรี ด้านผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้ประกอบวิชาชีพอิสระ และด้านอื่นๆ จำนวนไม่เกิน 68 คน
กก.ยุทธศาสตร์มีอำนาจพิเศษ
เวลา 19.00 น. นายบวรศักดิ์แถลงว่า ที่ประชุม กมธ.ยกร่างฯได้บัญญัติมาตรา 260 ให้มีคณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปและการปรองดองแห่งชาติ ประกอบด้วย ประธานกรรมการ 1 คน และกรรมการไม่เกิน 22 คน จากบุคคลดังต่อไปนี้ 1.ประธานรัฐสภา ประธานวุฒิสภา นายกรัฐมนตรี ผู้บัญชาการกองทัพไทย ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ ผู้บัญชาการทหารอากาศ และผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ 2.กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งแต่งตั้งจากผู้ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งประธานรัฐสภา นายกรัฐมนตรี ประธานศาลฎีกา ซึ่งเลือกกันเองในแต่ละประเภท ประเภทละ 1 คน และ 3.กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนไม่เกิน 11 คน แต่งตั้งตามมติรัฐสภา จากผู้ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในการปฏิรูปด้านต่างๆ และการสร้างความปรองดอง โดยมีอำนาจกำกับการปฏิรูปและการสร้างความปรองดอง ป้องกันและระงับยับยั้งความขัดแย้งที่นำไปสู่ความรุนแรง
นายบวรศักดิ์ กล่าวว่า กมธ.ยกร่างฯได้กำหนดอำนาจพิเศษของกรรมการยุทธศาสตร์ฯไว้ในบทเฉพาะกาล มีสาระสำคัญว่า หาก ครม.ไม่มีเสถียรภาพ จนไม่สามารถบริหารประเทศได้ คณะกรรมการยุทธศาสตร์ฯมีมติคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของกรรมการทั้งหมด มีอำนาจใช้มาตรการที่จำเป็นสำหรับจัดการกับสถานการณ์ดังกล่าว ภายหลังจากที่ได้รับการปรึกษากับประธานศาลรัฐธรรมนูญ และประธานศาลปกครองสูงสุดแล้ว เพื่อให้สถานการณ์กลับเข้าสู่สภาวะปกติโดยเร็ว
"จากนั้นประธานกรรมการยุทธศาสตร์ฯมีอำนาจสั่งการระงับยับยั้งหรือกระทำการใดๆ ไม่ว่าการกระทำนั้นจะมีผลทางนิติบัญญัติหรือในทางบริหาร ให้ถือว่าคำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งและการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญ และถือเป็นที่สุด เมื่อได้ดำเนินการตามมาตรการดังกล่าวแล้ว ให้คณะกรรมการยุทธศาสตร์ฯรายงานต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ และประธานศาลปกครองสูงสุดรับทราบโดยเร็ว และแถลงให้ประชาชนรับทราบถึงการใช้มาตรการ" นายบวรศักดิ์กล่าว และว่า
เมื่อมีการใช้อำนาจตามมาตรานี้ ให้ถือเป็นการเปิดประชุมสภา โดยอำนาจพิเศษตามมาตรานี้กำหนดให้ใช้ได้เพียง 5 ปี ซึ่งไม่เหมือนกับมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) 2557 เพราะไม่มีอำนาจทางตุลาการ
ชงคำถามรัฐบาลปรองดอง
นายบวรศักดิ์ กล่าวว่า ตัวอย่างสำหรับการใช้มาตรานี้ เช่น หากเกิดการชุมนุมขึ้นหลายพื้นที่ จนกลายเป็นจลาจล รัฐบาลประกาศใช้กฎหมายความมั่นคง ประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินแล้วตำรวจ ทหาร ยังเอาไม่อยู่ ถือว่ากลไกทางกฎหมายตามปกติไม่สามารถใช้ได้แล้ว กรรมการยุทธศาสตร์ฯก็ต้องมาใช้อำนาจตามมาตรานี้ ซึ่งขอบเขตของอำนาจตามมาตรานี้มีไว้เพื่อทำให้สถานการณ์กลับคืนสู่สภาวะปกติโดยเร็ว ยืนยันว่าไม่มีการหมกเม็ด แต่เปิดเม็ดวางอยู่บนโต๊ะ ทั้งยังไม่ใช่การสืบทอดอำนาจ แต่ต้องการทำให้บ้านเมืองสงบ
นายบวรศักดิ์ กล่าวอีกว่า ตนและนายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ ยังมีแนวคิดเสนอคำถามประชามติว่า ประชาชนเห็นว่าควรมีรัฐบาลปรองดองแห่งชาติหรือไม่ ควบคู่ไปกับการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญ โดย กมธ.ยกร่างฯจะหารือกันอีกครั้งเพื่อหาข้อยุติ หาก กมธ.ยกร่างฯไม่เห็นด้วยก็จบ แต่หากเห็นด้วยก็จะนำความเห็นนี้ เสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และ สปช. ให้ตั้งเป็นคำถามประชามติต่อไป
"หากเรื่องดังกล่าวผ่านความเห็นของประชาชน ภายหลังรัฐธรรมนูญประกาศใช้ บทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญจะกำหนดให้ การจัดตั้งรัฐบาลปรองดองแห่งชาติต้องใช้เสียง ส.ส.สนับสนุน 4 ใน 5 จาก 450 คน หรือรัฐบาลปรองดองแห่งชาติต้องใช้เสียง 360 คน ส่วนที่เหลือเป็นฝ่ายค้าน เพื่อให้รัฐบาลดังกล่าวนี้แก้ปัญหาความขัดแย้งของประเทศต่อไปอีก 4 ปี หลังรัฐธรรมนูญประกาศใช้ และเมื่อพ้นระยะเวลาดังกล่าวแล้ว บทเฉพาะกาลมาตรานี้ก็ถือว่าสิ้นผลไป หลังจากนั้นหากบ้านเมืองยังไม่สงบก็ช่วยไม่ได้" นายบวรศักดิ์กล่าว
'พิชัย'ถูกทัพภาคที่ 1 เรียกอีก
เมื่อเวลา 10.30 น. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายพิชัย นริพทะพันธุ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ถูกกองทัพภาคที่ 1 เชิญเข้าพูดคุย
นายพิชัย กล่าวว่า ถูกสอบถามเรื่องการร่วมเสวนาตรรกะวิบัติในหัวข้อเรื่อง "หนักหัวใคร ถ้าฉันใช้ตรรกะวิบัติ" เมื่อวันที่ 8 สิงหาคมที่ผ่านมา จัดโดยกลุ่มนักศึกษา จับวิบัติ Fallacies Thailand ซึ่งได้อธิบายว่า ตนเป็นแขกรับเชิญ พร้อมกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) และนักวิชาการอีกหลายคน เนื้อหาที่พูดคือปัญหาทางเศรษฐกิจของไทยในปัจจุบันที่ต้องขึ้นกับความเชื่อมั่นของต่างประเทศ และตรรกะทางเศรษฐกิจก็เป็นเนื้อหาคล้ายกับที่เคยพูดออกในรายการทีวีเดินหน้าปฏิรูปของศูนย์ปรองดองสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูป (ศปป.) แล้ว นอกนั้นก็เป็นเรื่องปัญหาตรรกะวิบัติในประเทศนี้ที่คนมักจะใช้เหตุผลเข้าข้างตัวเองมากกว่าเหตุผลที่แท้จริง จึงทำให้ประเทศวุ่นวายถึงปัจจุบัน
นายพิชัย กล่าวว่า การสนทนาเป็นไปอย่างราบรื่น ซึ่งได้แสดงความห่วงใยในปัญหาเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มจะตกต่ำลงไปอีก หากมีเรื่องใดที่คิดว่าพูดไม่ถูกต้องหรือไม่เข้าใจ ให้ถามเพื่อจะได้ชี้แจงเพื่อเป็นประโยชน์ในการบริหารประเทศ โดยผู้แทนทหารได้ขอความร่วมมือไม่ให้วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล
'เอกนัฏ'สอนมวยกกต.รุ่นใหญ่
นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ โฆษกมูลนิธิมวลมหาประชาชนเพื่อการปฏิรูปประเทศ กล่าวถึงกรณีกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กล่าวพาดพิงถึงนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ประธานมูลนิธิที่ให้ปฏิรูป กกต.ว่า การปฏิรูป กกต. เป็นเพียงส่วนเล็กในเรื่องใหญ่ที่นายสุเทพพูด เรื่องใหญ่ที่พูดคือการปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง ซึ่งพูดชัดว่าไม่ต้องไปคิดปรับโรดแมปหรือเลื่อนเลือกตั้ง แต่ถึงเวลาแล้วที่ต้องเริ่มทำจริงจังเพื่อให้เสร็จก่อนเลือกตั้ง เพราะฉะนั้นต้องเริ่มที่การจัดลำดับความสำคัญ จำแนกการปฏิรูปก่อนเลือกตั้งคืออะไร อะไรที่สำคัญต้องทำก่อนเลือกตั้ง อะไรที่สามารถทำต่อหลังเลือกตั้งได้ ซึ่งครอบคลุมทุกฝ่าย ทั้งระบบ ทั้งผู้เล่น ทั้งกรรมการ ไม่ได้มีเจตนาไปคาดโทษ กกต.ในฐานะกรรมการฝ่ายเดียวจนทำให้ท่านต้องอารมณ์เสียไม่พอใจ
"ต้องขอบคุณนายประวิช รัตนเพียร ที่ชี้แจงแบบเข้าใจให้เหตุผล แต่ขอยํ้าว่าพวกเราไม่ใช่แค่บ่น แต่ได้ต่อสู้มาไม่น้อยกว่า 204 วัน เสี่ยงเป็นเสี่ยงตาย นอนกลางดินกินกลางถนน ส่วนนายสมชัย ศรีสุทธิยากร อยากให้ฟังกับอ่านให้ละเอียดก่อนวิจารณ์ ถ้าท่านพอจะยอมรับฟังเสียงสะท้อนได้ 1.กรณีให้ใบเหลืองแดงนายสุเทพบอกว่าส่วนใหญ่เกิดจากการร้องเรียนจากฝ่ายตรงข้าม ซึ่งหลายคำร้องเป็นกรณีการกล่าวปราศรัยหรือเรื่องอื่นๆ ที่ไม่ใช่เรื่องซื้อสิทธิขายเสียง 2.ทุจริตซื้อสิทธิขายเสียง ต้องยอมรับว่าเกิดขึ้นจริง ไม่สามารถจับคนผิดมาลงโทษได้หรือจับได้น้อยมาก นายสุเทพก็พูดหมดทุกองค์ประกอบ ลงโทษนักการเมืองที่ซื้อ ปรามประชาชนที่ขาย และทำให้กรรมการ คือ กกต.มีประสิทธิภาพ ไม่อยากให้ฝ่ายใดปฏิเสธความรับผิดชอบ โดยเฉพาะการโยนความผิดให้กับนักการเมืองฝ่ายเดียว" นายเอกนัฏกล่าว
เย้ยอย่าใช้อารมณ์ให้ฟังเหตุผล
นายเอกนัฏ กล่าวว่า 3.ส่วนที่บอกว่าเราไม่เอาเลือกตั้ง ส.ส. แต่จะให้เลือกตั้ง กกต. ที่ท่านบอกเป็นการใช้ตรรกะวิบัติ ตรรกะนี้วิบัติจริงๆ เพราะเราต้องเลือกตั้ง ส.ส. แต่ขอใช้เวลาที่มีอยู่ก่อนเลือกตั้งภายใต้โรดแมปมาปฏิรูปการเลือกตั้งให้บริสุทธิ์ยุติธรรมก่อน ส่วนเรื่องเลือกตั้ง กกต. ไม่ได้เป็นข้อเสนอของเราแต่มีผู้สื่อข่าวสอบถามว่าจะต้องเลือกตั้ง กกต.หรือไม่ ท่านก็แค่ตอบว่าก็อาจคิดเช่นนั้นได้ เพราะควรที่จะคิดหาวิธีการให้ กกต.มีความรับผิดชอบมากขึ้น ถ้าเกิดทุจริตแล้วจับไม่ได้ต้องร่วมกันรับผิดชอบหรือไม่
"4.ท่านทราบหรือไม่ว่ามีข่าวการตั้งราคาวิ่งเต้นให้แดงเป็นเหลือง เหลืองเป็นหลุด ในหลายจังหวัด ซึ่งถ้าไม่รับฟังปล่อยปละละเลย ให้อำนาจกรรมการแต่ไม่มีความรับผิดชอบแบบนี้ จะหวังอะไรกับผู้เล่นที่เป็นนักการเมือง ซึ่งคงไม่กล้าพูดอย่างเปิดเผย ทั้งหมดอยากให้ฟังด้วยเหตุผล โปรดกรุณาอย่าใช้อารมณ์ เราพูดถึงปัญหาในเชิงโครงสร้างขององค์กร ซึ่งทุกฝ่ายต้องรับผิดชอบ ต้องช่วยกันแก้ไขร่วมกัน" นายเอกนัฏกล่าว