- Details
- Category: การเมือง
- Published: Monday, 03 August 2015 10:50
- Hits: 4832
บิ๊กตู่ลั่นยึดรัฐธรรมนูญ เมิน'สปช.' ล้มร่างรธน.-ปฏิรูป 2 ปี ฮึ่มทุกกลุ่มอย่าขัดกม. โพลห่วงสุเทพเคลื่อน เต้นหวั่นเกมล่อนกป่า นร.เสวนาปชต.ในรร. จนท.ร่วมฟัง-เช็กชื่อ
'ประยุทธ์' ยันเดินตามรัฐธรรมนูญ เมินสปช.-กปปส.ชงปฏิรูป 2 ปี ยืดเลือกตั้ง โต้บิ๊กบังแนะให้อยู่ยาวป้องกันเสียของ 'จตุพร-ณัฐวุฒิ'วิเคราะห์เกมล่อ'นปช.'ออกมาเคลื่อนไหว
@ 'บิ๊กตู่'ไม่ยุ่งปมสปช.คว่ำรธน.
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้สัมภาษณ์ เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม ที่กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ (ร.11 รอ.) ถึงกรณีที่สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) บางส่วนมีท่าทีโหวตคว่ำร่างรัฐธรรมนูญเพื่อให้ปฏิรูปก่อนเลือกตั้งว่า ไม่ได้คิดอะไร ตอนนี้คิดแต่เรื่องไบค์ฟอร์มัม สปช.จะทำอะไรเรื่องของเขา ไม่ได้ไปควบคุม รัฐธรรมนูญเขียนเอาไว้ว่าอย่างไรก็ทำตามนั้น ไม่ต้องกังวล อย่าเอาอะไรตีกัน อะไรที่ดีก็ว่ากันไป อะไรที่มีปัญหาก็ถกแถลงกันไป อะไรที่จะต้องแก้ไขก็แก้กันไป อย่าเอาไอ้โน่นมาตีไอ้นี่ เหมือนกับต้องมีเรื่องทุกวัน ขอให้เบาๆ บ้าง เพราะสิ่งดีๆ กำลังจะเกิด
@ แนะ'บิ๊กบัง'ไปอ่านรธน.ให้ดี
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีความเห็นอย่างไรกับข้อเสนอของ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน อดีตประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) และหัวหน้าพรรคมาตุภูมิ ที่เสนอให้ คสช.อยู่ต่อจนกว่าจะปฏิรูปเสร็จสิ้น พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า จะอยู่ได้อย่างไร ไปหามา รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 เขียนว่าอย่างไรตามนั้น ให้ไปอ่านรัฐธรรมนูญให้เข้าใจ
เมื่อถามว่า มองอย่างไรที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ประธานมูลนิธิมวลมหาประชาชนเพื่อการปฏิรูปประเทศไทย แถลงถึงแนวทางการทำงานของมูลนิธิ พล.อ.ประยุทธ์ย้อนถามกลับว่า "แล้วเกี่ยวอะไรกับผม เป็นเรื่องของมูลนิธิก็ทำไป แต่อย่าทำผิดกฎหมาย เพราะผมมีหน้าที่รักษากฎหมาย รักษากติกา ด้วยกฎหมายตัวเดียวกัน ฉบับเดียวกันทั้งหมด เพราะฉะนั้นอย่าระรานกัน อย่าพูดจาเสียหาย ไม่เฉพาะพวกนี้แต่ที่ผมพูดหมายถึงทุกพวก ให้จำไว้ด้วย"
@ กมธ.ยกร่างฯนัดถก 5 ส.ค.
นายไพบูลย์ นิติตะวัน คณะกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงความคืบหน้าการยกร่างรัฐธรรมนูญว่า ทาง กมธ.ยกร่างฯจะนัดประชุมร่วมกันอีกครั้งในวันที่ 5-7 สิงหาคม เพื่อพิจารณาทบทวนและปรับแก้ไขบันทึกเจตนารมณ์เป็นรายมาตราต่อจากสัปดาห์ที่ผ่านมาให้แล้วเสร็จ จากนั้นในวันที่ 10-11 สิงหาคม ที่ประชุมจะนำประเด็นที่ยังค้างการพิจารณามาหารือร่วมกันอีกครั้ง ประกอบด้วยประเด็นที่มาของสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) เนื่องจากมีข้อเรียกร้องให้มีการปรับแก้ไขใหม่ โดยเฉพาะรูปแบบของการได้มาที่มีข้อเสนอให้เป็น ส.ว.แบบสรรหาทั้งหมด รวมทั้งข้อเสนอให้ปรับแก้ไของค์ประกอบของคณะกรรมการสรรหาใหม่เช่นกัน แต่ทั้งนี้เข้าใจว่าคงเป็นเพียงนำประเด็นนี้มาหารือเท่านั้นโดยหลักการแล้วคงจะไม่มีการเปลี่ยนแปลง และประเด็นโครงสร้างของคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการปฏิรูปและการสร้างความปรองดอง ซึ่งที่ประชุมยังไม่ได้ข้อสรุปเกี่ยวกับสัดส่วนของคณะกรรมการชุดดังกล่าวว่าจะกำหนดให้มีจำนวน 20 คน หรือ 23 คน
"ภายในวันที่ 14 สิงหาคม ทาง กมธ.ยกร่างฯจะต้องพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับให้แล้วเสร็จ เนื่องจากในวันที่ 17-19 สิงหาคม ทาง กมธ.ยกร่างฯมีกำหนดการเชิญผู้ยื่นคำขอแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญจาก สปช.และคณะรัฐมนตรี (ครม.) รวม 9 กลุ่ม มารับฟังหลักการและเหตุผลของ กมธ.ยกร่างฯในการปรับแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ และคาดว่าจะสามารถเสนอร่างรัฐธรรมนูญฉบับเสร็จสมบูรณ์ให้ทาง สปช.ได้พิจารณาภายในวันที่ 22 สิงหาคม ตามกรอบเวลาที่รัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) 2557 แก้ไขเพิ่มเติม กำหนดไว้ อย่างไรก็ตาม สำหรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หลังมีการปรับแก้ไขเสร็จสิ้นแล้วนั้น เบื้องต้นคาดว่าจะคงเหลือประมาณ 285 มาตรา จากเดิมร่างแรก มีจำนวน 315 มาตรา" นายไพบูลย์กล่าว
@ ชงประชามติ"ปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง"
นายไพบูลย์ กล่าวว่า จะเสนอตั้งคำถามการทำประชามติให้ปฏิรูปประเทศเป็นเวลา 2 ปีก่อนแล้วจึงดำเนินการจัดการเลือกตั้งต่อที่ประชุม สปช.แน่นอน โดยวันที่ 3 สิงหาคม จะขอให้ สปช.ที่เคยเห็นด้วยกับแนวทางดังกล่าวร่วมลงลายมือชื่อเพื่อสนับสนุน แต่ไม่ใช่เป็นการล่ารายชื่อตามที่ปรากฏเป็นข่าวออกมาก่อนหน้านี้
"ที่มี สปช.บางคนออกมาคัดค้านถือว่าเป็นสิทธิส่วนบุคคล เพราะข้อเสนอให้ปฏิรูปประเทศก่อนเลือกตั้ง เราทำตามความเรียกร้องของประชาชนที่มีความต้องการเช่นนั้น หากบุคคลที่คัดค้านกับแนวทางนี้เพราะต้องการให้เป็นไปตามโรดแมปที่ คสช.กำหนดไว้ ส่วนตัวคิดว่าเมื่อถึงขั้นตอนการลงประชามติสามารถออกเสียงไม่เห็นด้วยก็ได้ แต่ไม่ควรขัดขวางบุคคลที่เห็นด้วยกับการปฏิรูปประเทศก่อนเลือกตั้ง"
นายไพบูลย์กล่าว และว่า หากข้อเสนอปฏิรูปประเทศ 2 ปีก่อนเลือกตั้ง ถูกนำไปเป็นคำถามในการทำประชามติและผ่านความเห็นชอบจากเสียงข้างมากของประชาชน ก็ต้องมีผลตามรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) 2557 แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 37/1 ที่กำหนดให้ กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ ดำเนินการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญในส่วนที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับผลการทำประชามติ ซึ่งจะเสนอให้ปรับแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญในส่วนของบทเฉพาะกาล มาตรา 277 (1) โดยแก้ไขให้เป็นว่าเมื่อครบกำหนด 2 ปี นับจากวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ให้ดำเนินการเลือกตั้ง ส.ส.ให้แล้วเสร็จภายใน 90 วัน แต่หากผลการทำประชามติออกมาว่าประชาชนเสียงข้างมากไม่เห็นด้วยที่จะให้มีการปฏิรูป 2 ปีก่อนเลือกตั้งก็ดำเนินการไปตามรัฐธรรมนูญเดิม
@ วันชัยปูดการเมืองปลุกระดม
นายวันชัย สอนศิริ สปช. กล่าวถึงกระแสข่าวที่มีการเคลื่อนไหวให้เลือกตั้งโดยเร็วว่า คณะทำงานที่ติดตามการแก้ไขปรับปรุงร่างรัฐธรรมนูญได้ประสานกับ สปช.ต่างจังหวัดและส่วนกลางในหลายกลุ่ม ซึ่ง สปช.จังหวัดให้ข้อมูลว่ามีการเคลื่อนไหวจากนักการเมืองที่จะให้มีการเลือกตั้งโดยเร็ว มีการเตรียมการประสานกับชาวบ้าน บรรดาหัวคะแนนเตรียมแผนเลือกตั้ง พยายามชี้ให้ชาวบ้านเห็นว่าการปกครองแบบนี้ชาวบ้านไม่มีสิทธิ ไม่มีเสียง ทุกข์ยากลำบากก็ไม่มีใครที่จะเป็นตัวแทนในการแก้ปัญหาให้ ชี้ให้เห็นว่าการเลือกตั้งเท่านั้นที่จะแก้ปัญหาของชาวบ้านได้ ปลุกเร้า เร่งเร้าให้มีการเลือกตั้ง รวมทั้งมีการประสานให้ สปช.ช่วยโหวตผ่านร่างรัฐธรรมนูญและเท่าที่ทราบมี สปช.หลายจังหวัดได้รับการประสานจากฝ่ายการเมืองให้โหวตผ่านร่างรัฐธรรมนูญ
"สปช.ต่างจังหวัดบางคนให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าการทำประชามตินั้นฝ่ายการเมืองที่ต้องการเร่งให้มีการเลือกตั้งโดยยืนยันว่าไม่ต้องห่วง เขาสามารถกุมสภาพและคุมคะแนนให้รัฐธรรมนูญผ่านประชามติได้โดยจะสร้างกระแสในการทำประชามติว่า ถ้าไม่เอา คสช. ต้องการเลือกตั้ง ให้โหวตรับรัฐธรรมนูญ จะเป็นสโลแกนสำคัญในการรณรงค์ทำประชามติเพื่อให้รัฐธรรมนูญผ่าน เชื่อว่าวิธีการนี้จะเป็นการยิงปืนนัดเดียวได้นก 2 ตัว" นายวันชัยกล่าว
@ เกรียงไกรให้รบ.ยึดโรดแมป
นายเกรียงไกร ภูมิเหล่าแจ้ง สปช. กล่าวถึงกรณีที่นายวันชัยระบุว่านักการเมืองเริ่มเคลื่อนไหวขอให้ สปช.จังหวัดโหวตรับร่างรัฐธรรมนูญว่า มีแต่ระดับกลุ่มเล็กๆ ส่วนพรรคใหญ่ไม่ทราบว่ามีหรือไม่ แต่ส่วนตัวเท่าที่เคยคุยกับอดีต ส.ส.บางรายพบว่าอยากให้เลือกตั้ง ตนในฐานะ สปช.ต้องขอดูหน้าตาของร่างรัฐธรรมนูญในวันที่ 23 สิงหาคม ที่ กมธ.ยกร่างฯจะส่งมาให้ก่อนตัดสินใจ แต่เท่าที่ฟังจากข่าว หลายอย่างทำท่าจะไม่เป็นไปตามที่ สปช.เสนอขอแก้ไข ส่วนในภาพรวมเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ก็พบว่า กมธ.ยกร่างฯ ยอมถอยมาเยอะแล้วทั้งสัดส่วน ส.ส.เขตและบัญชีรายชื่อ ก็รู้สึกพอใจ เหมือนพบกันครึ่งทาง "คงมีเพียง สปช.บางกลุ่มเท่านั้นที่ยังไม่พอใจประเด็นการเมือง โดยเฉพาะนายกรัฐมนตรีคนนอก ส่วนข้อเสนอของ สปช.ให้ทำประชามติประเด็นปฏิรูปประเทศ 2 ปีก่อนเลือกตั้งนั้น ผมไม่เห็นด้วย โดยมองว่ารัฐบาลควรเดินตามโรดแมปที่วางไว้ เพราะหากมีการปฏิรูปอีก 2 ปี ภาพจะออกมาไม่ดี จะกลายเป็นว่าสืบทอดอำนาจตนเอง สิ่งที่ทำดีมาทั้งหมดก่อนหน้านี้จะเสียของ" นายเกรียงไกรกล่าว
@ "เสรี"หนุนปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง
นายเสรี สุวรรณภานนท์ สปช. กล่าวถึงกรณีนายไพบูลย์เตรียมเสนอตั้งคำถามทำประชามติให้ปฏิรูปประเทศก่อนจัดการเลือกตั้งว่า สามารถทำได้เพราะจะได้มีแนวทางชัดเจน ว่าสิ่งที่คิดกันแต่ละคนมองอย่างไร ควรจะมีรูปแบบอย่างไรเลือกตั้งก่อนหรือปฏิรูปก่อน อย่างตนมองว่าควรปฏิรูปก่อนการเลือกตั้ง และคิดว่าควรให้ความสำคัญกับการปฏิรูปในเมื่อเดินมามีเป้าหมายหลังปฏิวัติรัฐประหารมาประชาชนเรียกร้องให้ปฏิรูปก่อนการเลือกตั้ง จะต้องไม่ลืม อย่างร่างรัฐธรรมนูญจะเสร็จเอาแต่จะเลือกตั้งอย่างเดียวมันไม่แก้ปัญหากลับไปสู่สถานการณ์แบบเดิม
"ส่วนกระแสข่าวที่ให้คว่ำร่างรัฐธรรมนูญเพื่อให้มีการปฏิรูปก่อนการเลือกตั้งนั้น ยอมรับว่ามีการพูดคุยกันจริง เพราะที่ผ่านมาแนวทางของ กมธ.ยกร่างฯ ไม่ให้ความสำคัญกับการปฏิรูปประเทศให้เสร็จก่อนเลือกตั้ง โดยเนื้อหาเน้นแต่เพียงให้มีการเลือกตั้ง ซึ่งถือว่าผิดวัตถุประสงค์ หากต้องการให้บ้านเมืองเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น สงบเรียบร้อย ประชาชนอยู่กันผาสุก ต้องหยุดงานการเมืองไว้ระยะหนึ่ง เพื่อให้การแก้ปัญหาประเทศให้ดีขึ้นและประสบความสำเร็จ ทั้งนี้ทั้งนั้นการจะคว่ำร่างรัฐธรรมนูญก็ต้องมีเหตุผลว่าเพราะอะไร ไม่ใช่เพราะการปฏิรูปก่อนการเลือกตั้งเพียงอย่างเดียว" นายเสรีกล่าว
@ ชี้"สุเทพ"เคลื่อนเพื่อเตือนสติ
นายเสรี กล่าวว่า หากมีการคว่ำร่างรัฐธรรมนูญจริง คิดว่าไม่น่าจะเกิดแรงต้านภายในสังคม เพราะชาวบ้านส่วนใหญ่ก็มองว่าควรมีการปฏิรูปก่อนการเลือกตั้ง นักการเมืองก็คงไม่ออกมาค้านเพราะเรื่องนี้ดูเป็นเหตุเป็นผล หากให้มีการเลือกตั้งคนออกมาทะเลาะความขัดแย้งก็ยังมีอีก ไม่แก้ปัญหาเดิม ใครชนะเลือกตั้งอีกฝ่ายที่แพ้ก็ออกมาไล่อย่างนี้จะเลือกตั้งทำไม
"ที่นายสุเทพออกมาเคลื่อนไหว คิดว่าไม่น่าจะเกิดแรงต้านใดๆ ในสังคม เพราะทุกคนอยากให้บ้านเมืองสงบ และที่นายสุเทพออกมาก็เหมือนกับมาเตือนสติ ว่าต้องปฏิรูปก่อนการเลือกตั้งเนื่องจากที่ผ่านมา 1 ปี การปฏิรูปไม่คืบหน้าเลย" นายเสรีกล่าว
@ เทียนฉายชี้ล่าชื่อปฏิรูปเป็นสิทธิ
นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธาน สปช.กล่าวถึงข่าว สปช.จะคว่ำร่าง รธน.ว่า รู้สึกตกใจเมื่อเห็นข่าวพาดหัวข่าวว่า สปช.จะคว่ำร่างรัฐธรรมนูญ แต่พออ่านรายละเอียดข่าวก็ไม่กังวล เพราะเป็นความเห็นนายวันชัยคนเดียว แต่จะไม่เรียกนายวันชัยมาตักเตือน เพราะเป็นสิทธิในการแสดงความคิดเห็นที่ทำได้ แต่ขออย่างเดียวเวลาสื่อเขียนข่าวทำนองนี้ ขอให้เขียนว่าเป็นความเห็นของคนคนเดียว อย่าเหมารวม สปช.ทั้งหมด กรณีนายไพบูลย์จะล่ารายชื่อ สปช.เพื่อสนับสนุนให้ตั้งคำถามประชามติว่าเห็นด้วยกับการปฏิรูปประเทศ 2 ปีก่อนเลือกตั้งหรือไม่นั้น มองว่าเสนอได้เพราะเป็นสิทธิ ไม่ใช่เรื่องผิด แต่อย่าลืมว่า สปช.อีก 200 กว่าคน ก็มีสิทธิเสนอคนละ 1 คำถามเช่นกัน โดยหลักต้องมาเสนอผ่านที่ประชุม สปช.ว่าใครจะเสนอหรือไม่ เรื่องล่าชื่อนั้นไม่แปลก แต่สุดท้ายต้องขึ้นอยู่ที่ ครม.ว่าจะเอาด้วยหรือไม่ เพราะรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) 2557 แก้ไขเพิ่มเติม กำหนดให้สปช.เสนอได้ แต่รัฐบาลเป็นผู้ตัดสินใจ
เมื่อถามว่า ใกล้หมดวาระการทำงานในฐานะประธาน สปช.แล้ว มีความในใจ หรือสิ่งใดที่คิดไว้แต่ยังไม่ได้ลงมือทำอีกหรือไม่ นายเทียนฉายกล่าวว่า กรอบเดิมที่วางไว้ยังมีอีกหลายเรื่องที่จะทำ พอมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งล่าสุดมาก็ตัดกรอบเวลา และการทำงานเดิมไปหลายเรื่อง เวลาเหลือกระชั้นไป จนไม่ได้ทำสิ่งที่คิดไว้ เช่น นำร่างรัฐธรรมนูญที่ กมธ.ยกร่างฯทำเสร็จแล้วลงไปทำความเข้าใจกับประชาชน ก็ไม่เป็นไร ใครมีหน้าที่ทำต่อก็ทำไป ไม่เสียดายเพราะทำเต็มที่แล้ว เท่าที่เป็นอยู่ก็เหนื่อยมากแล้ว ต่อจากนี้จะทำงานให้เสร็จทันตามกรอบ ไม่วอกแวก
นายเทียนฉาย กล่าวถึงกรณีนายปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรียกร้องให้รีบแต่งตั้งนายสุเทพเป็นที่ปรึกษาประธาน สปช.ว่า ยังไม่รู้ข่าวเลย สปช.จะหมดวาระการทำงานอยู่แล้ว จะแต่งตั้งใครทำไมเมื่อเหลือการทำงานอีกไม่กี่วัน อีกทั้งไม่มีหน้าที่แต่งตั้งใครด้วย
@ "ดิเรก"งงข่าวล็อบบี้โหวตรธน.
นายดิเรก ถึงฝั่ง สปช.จังหวัดนนทบุรี ให้สัมภาษณ์กรณีนายวันชัยระบุว่า นักการเมืองเคลื่อนไหวขอให้ สปช.จังหวัดโหวตรับร่างรัฐธรรมนูญ ว่า ไม่เห็นมีใครติดต่อมาหาเลย ตนย้ำมาตลอดว่า การตัดสินใจดูที่เนื้อหา ถ้าร่างรัฐธรรมนูญดี ไม่นำสังคมกลับไปสู่ความขัดแย้งอีก จะโหวตผ่านให้ นายวันชัยก็พูดมาตลอดอยู่แล้ว แต่ยืนยันไม่ให้ใครมาล็อบบี้ได้ ยกตัวอย่างที่มานายกรัฐมนตรีคนนอก ที่มา ส.ส.และ ส.ว.ออกมาถอยหลังแบบนี้ สปช.รับไม่ได้ตั้งแต่ต้นอยู่แล้ว การปฏิรูปจะสำเร็จหรือไม่อยู่ที่รัฐธรรมนูญ ถ้าเป็นประชาธิปไตยก็เดินหน้าได้ แต่หากร่างแบบเกรงใจคนอื่น ร่างแบบผิดหลัก งานปฏิรูปคงไม่สำเร็จ
นายดิเรกกล่าวถึงข้อเสนอให้ปฏิรูปประเทศ 2 ปี ก่อนเลือกตั้งว่า ถ้ารากฐานรัฐธรรมนูญวางไม่ถูกทาง อยู่ต่อปฏิรูปไปอีก 5 ปี ก็ไม่ดีขึ้น ทำตามโรดแมปเหมาะสมที่สุดแล้ว ขอให้ พล.อ.ประยุทธ์อย่าหลงคำสรรเสริญเยินยอมาก ปรึกษากับทีมงานให้ดีว่าจะไม่สนใจแรงกดดันทั้งในและต่างประเทศได้หรือไม่ ประชาชนจะแย่จากผลกระทบด้านเศรษฐกิจหรือไม่
@ สปช.นัดถก 6 ส.ค.3 ประเด็น
นายอลงกรณ์ พลบุตร เลขานุการคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติ (วิป สปช.) กล่าวถึงกรณีนายวันชัย ระบุให้ สปช.โหวตคว่ำร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อเปิดทางให้รัฐบาลทำงานปฏิรูปต่อให้สำเร็จว่า สปช.มีจุดยืนเป็นองค์กรทางวิชาการ ไม่ยุ่งเกี่ยวการเมือง ดังนั้น ความเห็นใดๆ ของสมาชิกที่เกี่ยวข้องกับการเมือง เป็นความเห็นส่วนบุคคล ไม่เกี่ยวกับ สปช.
"ในวันที่ 6 สิงหาคม สปช.จะนัดประชุมเพื่อหารือกัน 3 เรื่องคือ 1.การเสนอคำถามควบคู่ไปกับการทำประชามติ ว่าสมาชิกเห็นควรให้เสนอหรือไม่ ซึ่งขึ้นอยู่กับที่ประชุมหารือกัน 2.กำหนดระเบียบวาระการทำงานปฏิรูปช่วงโค้งสุดท้าย 3.หารือเพื่อกำหนดวันโหวตรับ หรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญว่าควรจะเป็นวันไหน ระหว่างวันที่ 5-7 กันยายน นอกจากนี้ อาจยกเรื่องการเเสดงความคิดเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญของสมาชิก สปช.ขึ้นมาพูดคุยในวันดังกล่าวด้วย" นายอลงกรณ์กล่าว
@ "นคร"เชื่อสปช.พอใจเนื้อหา
พล.ท.นคร สุขประเสริฐ กมธ.ยกร่างฯ กล่าวกรณีที่นายวันชัยระบุว่า มีนักการเมืองล็อบบี้ สปช.ให้โหวตผ่านร่างรัฐธรรมนูญ ว่า เชื่อว่า สปช.แต่ละคนมีวุฒิภาวะในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง เท่าที่ได้คุยกับ สปช.ส่วนใหญ่ก็พอใจในร่างรัฐธรรมนูญ ที่ได้แก้ไขแล้วตามข้อเสนอของผู้ยื่นคำขอแก้ไขเพิ่มเติมทั้ง 9 กลุ่ม ซึ่งส่วนใหญ่เห็นว่าในรัฐธรรมนูญมีอะไรดีๆ เสียงส่วนใหญ่กว่า 75 เปอร์เซ็นจึงยอมรับได้ สุดท้ายเชื่อว่า สปช.จะลงมติผ่านร่างรัฐธรรมนูญอย่างแน่นอนแต่ไม่ได้ผ่านเพราะการล็อบบี้แต่เพราะเนื้อหาในร่างรัฐธรรมนูญมากกว่า เพราะหากร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านการเห็นชอบจาก สปช.ต้องตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ เมื่อถึงตอนนั้นร่างรัฐธรรมนูญที่เขียนใหม่อาจไม่เป็นไปตามที่ สปช.ต้องการก็ได้
@ ประสารหนุนปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง
นายประสาร มฤคพิทักษ์ กมธ.ปฏิรูปการเมือง สปช. กล่าวถึงข้อเรียกร้องให้มีการปฏิรูปก่อนเลือกตั้งว่า เห็นด้วยอย่างยิ่ง เพราะการเลือกตั้งสำหรับเมืองไทยจะได้นักเลือกตั้งเข้ามาครองเมือง ส่วนใหญ่ของนักเลือกตั้งประเทศไทยก้าวไปไม่พ้นจากทุนและระบบอุปถัมภ์ จึงเป็นกลุ่มคนที่เสพติดอำนาจมากกว่าจะมุ่งมั่นปฏิรูป อย่างเก่งก็ได้แค่หว่านนโยบายประชานิยมล้นเกินเพื่อคืนสู่อำนาจซ้ำอีก แถมเป็นนโยบายที่สร้างปัญหาระยะยาวให้กับประเทศไทย "ดังนั้น การปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง ต้องทำความกระจ่างต่อสังคมให้ได้ว่า ในระยะเวลาที่แน่นอน จะต้องการให้เกิดผลรูปธรรมระดับไหน ต้องเข้าใจว่าการปฏิรูปไม่อาจเกิดผลได้ฉับพลัน มันไม่ใช่การเปิด-ปิดสวิตช์ไฟ ไม่ใช่การบ่มมะม่วง มันเป็นงานเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างที่ซับซ้อน หลากหลายมิติ ยากลำบากและใช้เวลา" นายประสารกล่าว และว่า การปฏิรูปก่อนเลือกตั้งจึงต้องสร้างสมดุลให้ได้ระหว่างเนื้องานปฏิรูปที่เป็นจริงซึ่งต้องการให้เกิดกับวันเวลาตามโรดแมปของ คสช.ที่อาจยืดหยุ่นได้แต่ควรเป็นที่ยอมรับของสาธารณะ การตั้งคำถามเรื่องนี้ควบไปกับการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ เป็นทางออกอย่างหนึ่ง
@ สปช.ยัง 50:50 โหวตรธน.
รายงานข่าวจากรัฐสภาแจ้งว่า แนวโน้มการโหวตรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญของสมาชิก สปช.ช่วงต้นเดือนกันยายน อยู่ในสัดส่วน 50 ต่อ 50 แบ่งออกเป็นฝ่ายที่ขอรอดูสาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญสุดท้ายที่ กมธ.ยกร่างฯจะส่งมาให้ สปช.ในวันที่ 23 สิงหาคม ก่อนตัดสินใจจะให้ความเห็นชอบ กับฝ่ายที่ตัดสินใจไม่เห็นชอบไปแล้วด้วยเหตุผลทางการเมืองเป็นหลัก โดยไม่สนใจสาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งเวลาที่ยังเหลืออีก 1 เดือนก่อน สปช.จะลงมติ ก็ยังต้องรอดูว่าทิศทางการเมืองเป็นอย่างไร เพราะต่อให้สาระสำคัญของรัฐธรรมนูญดีแค่ไหน แต่หากฝ่ายการเมืองที่ไม่ได้มีแค่รัฐบาล แต่ยังรวมไปถึงพรรคการเมืองและกลุ่มการเมืองมวลชนมาดึงไม่ให้เอาด้วย ผลสุดท้ายร่างรัฐธรรมนูญก็ไม่น่าจะผ่านความเห็นชอบของ สปช.
@ อจ.ปื๊ดนำคณะไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์พม่า
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ นำโดยนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธาน กมธ.ยกร่างฯ นางกาญจนารัตน์ ลีวิโรจน์ นายจรูญ อินทจาร นายปรีชา วัชราภัย นางถวิลวดี บุรีกุล นางนรีวรรณ จินตกานนท์ นายบรรเจิด สิงคะเนติ นายไพบูลย์ นิติตะวัน นายคำนูณ สิทธิสมาน นายประชา เตรัตน์ น.ส.สุภัทรา นาคะผิว นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล ใช้ช่วงวันหยุดยาวระหว่างวันที่ 30 กรกฎาคม-2 สิงหาคม ซึ่งตรงกับวันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษาเดินทางไปพักผ่อนและเยี่ยมชมโบราณสถานและโบราณวัตถุ วัดและเจดีย์สำคัญๆ ที่พุกาม มัณฑะเลย์ อังวะ และย่างกุ้ง ประเทศพม่า ทั้งนี้ นายไพบูลย์กล่าวว่า เดินทางไปตั้งแต่วันที่ 30 กรกฎาคม และจะเดินทางกลับถึงไทยในวันที่ 2 สิงหาคม โดยเดินทางไปที่เมืองมัณฑะเลย์ พุกาม และกราบไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำเมืองเพื่อขอพร
@ ถาวรยัน"มาร์ค"ไม่ขัดแย้งมูลนิธิฯ
นายถาวร เสนเนียม รองประธานมูลนิธิมวลมหาประชาชนฯ กล่าวกรณีที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ไม่เห็นด้วยกับการขยายเวลาโรดแมปเพื่อดำเนินการปฏิรูปประเทศ ว่าความเห็นของนายอภิสิทธิ์ไม่ได้ขัดแย้งกับข้อเสนอของมูลนิธิมวลมหาประชาชนฯ เพราะต่างฝ่ายต่างสนับสนุนแนวความคิดซึ่งกันและกัน เชื่อว่าคนทั่วไปก็จะไม่มองเช่นนั้น
"หลังจากนี้ไปทางมูลนิธิมวลมหาประชาชนฯจะเดินหน้าปฏิรูปด้านต่างๆ ตามที่ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนไว้ โดยจะนำร่องการปฏิรูปด้านการศึกษาและด้านเศรษฐกิจพอเพียงก่อน" นายถาวรกล่าว และว่า กรณีที่นายอภิสิทธิ์ระบุว่า สมาชิก กปปส. (คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข) สามารถกลับเข้าเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ได้อีกนั้นก็เป็นเรื่องที่แน่นอนอยู่แล้ว หากใครที่อยากกลับเข้ามาเล่นการเมืองและต้องการสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ก็สามารถเข้าไปได้ เบื้องต้นสมาชิก กปปส.ก็ได้คุยกันในประเด็นนี้บ้าง
@ "จตุพร"ชี้"บิ๊กตู่"กระอักกระอ่วน
นายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) กล่าวถึงการเคลื่อนไหวของนายสุเทพว่า การออกมาขับเคลื่อนมูลนิธิฯของนายสุเทพจะเป็นภาระให้รัฐบาลมากกว่าที่จะเป็นแรงผลักดัน โดยประเด็นแรกที่เห็นได้ชัดคือการประกาศให้ คสช.อยู่ปฏิรูปโดยไม่จำกัดระยะเวลา จะทำให้ พล.อ.ประยุทธ์เสียสถานะความเป็นผู้นำ เบ็ดเสร็จเด็ดขาด จากคนที่พยายามแสดงตนมาตลอดว่าเป็นพวกเดียวกัน เพราะฉะนั้นความกระอักกระอ่วนนี้จะเกิดขึ้นกับ พล.อ.ประยุทธ์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และที่สำคัญเหตุการณ์ต่างๆ ที่เห็นทุกวันนี้คือประเทศไทยไม่ได้อะไรเลย เสมือนได้ความสงบ แต่ส่งผลคือทุกเรื่องสงบเช่นเดียวกัน ทั้งสังคม เศรษฐกิจ สงบแน่นิ่ง แทนที่จะขับเคลื่อนประเทศกลับสงบทุกอย่าง ดังนั้นการที่นายสุเทพออกมาแสดงตนนั้นไม่มีอะไรเป็นทางบวกต่อ พล.อ.ประยุทธ์แต่อย่างใด
"สิ่งสำคัญที่นายสุเทพพยายามพูดตามลำดับ เช่น การสนับสนุน คสช. มอบหมายภารกิจให้ คสช.อยู่นาน มุมมองเช่นนี้หากที่ พล.อ.ประยุทธ์เคยประกาศว่าทหารไม่ได้โง่ ต้องไม่มองชั้นเดียว เพราะแต่ละถ้อยคำนั้นเป็นน้ำผึ้งอาบยาพิษทั้งสิ้น เป็นน้ำกรดแช่เย็น ผลทั้งปวงไม่เกิดกับคนอื่นแต่จะเกิดกับ พล.อ.ประยุทธ์และคณะ" นายจตุพรกล่าว
@ ชี้แผนล่อ"นปช."ออกเคลื่อน
นายจตุพรกล่าวว่า สิ่งที่แสดงออกของมูลนิธิ ทางการเมืองต้องมีอะไรที่ลับ ลวง พรางไว้จำนวนมาก การที่ นปช.ต่อสู้มานานจะไม่ยอมตกเป็นเครื่องมือ สถานการณ์นี้ในข้อเท็จจริงขบวนการเป่านกหวีด โดยเฉพาะที่เป็นแกนนำ ต้องรับภาระการกดดันจากประชาชน ที่ผิดหวังจากเศรษฐกิจมากมาย ดังนั้นกลยุทธ์เดินหน้าในเวลานี้ให้คนในซีก นปช.ออกมาเคลื่อนไหว แล้วตัวเองรอเข้ามาจังหวะที่สอง ซึ่ง นปช.วิเคราะห์แต่ต้น คิดว่าคนที่เปิดประตูการยึดอำนาจควรรับผิดชอบไม่ใช่หน้าที่ นปช. และที่มีการวางแผนยั่วและให้ข่าวต่างๆ จนเกิดการทนไม่ได้และออกมา อยากบอกว่า นปช.รู้ทันทุกเรื่องราว
นายจตุพร กล่าวถึงกรณีถึงนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ เลขาธิการ นปช. จะแถลงข่าวสถานการณ์นกกรงหัวจุกในประเทศไทยว่า นายณัฐวุฒิ ต้องการสื่อสารเรื่องสองมาตรฐาน ตัวอย่างเรื่องนกกรงหัวจุกทุกคนรู้ว่าไม่ได้อยู่ในระบบการเมือง แต่เพียงว่าหากบอกว่าต้องการแจ้งเรื่องหนึ่งแล้วพูดเรื่องหนึ่ง สามารถทำได้ใช่หรือไม่ จึงยกตัวอย่างเรื่องนี้ขึ้น และสะท้อนให้เห็นว่าที่ผ่านมาใครมีปัญหาบ้าง เพื่อสื่อให้รู้ว่าต้องการให้บ้านเมืองมีปัญหาใช่หรือไม่ และคำว่าอภิสิทธิ์ชน สองมาตรฐาน จึงเป็นตัวสะท้อนให้เห็น เรื่องนี้จึงถูกยกมาใช้
@ "ณัฐวุฒิ"อัดสปช.รับลูก"สุเทพ"
นายณัฐวุฒิกล่าวถึงกรณีนายสุเทพแถลงถึงท่าทีของมูลนิธิฯ พร้อมยืนยันทุกข้อเรียกร้องจะเป็นเอกสาร ไม่มีเดินขบวนว่า เชื่อว่าไม่จำเป็น เพราะก่อนหน้านี้คนบนเวที กปปส.เดินขบวนไปรับตำแหน่งในแม่น้ำ 5 สายหลายสิบคนแล้ว ซึ่งเด้งรับลุงกำนันทันทีด้วยการประกาศยืนยันคว่ำร่างรัฐธรรมนูญ และล่ารายชื่อเสนอคำถามประชามติปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง สัญญาณแบบนี้ถือเป็นการซ้ำเติมประเทศไทยให้ติดลบทางความน่าเชื่อถือมากขึ้นไปอีก ยิ่งถ้า คสช.นิ่งเฉย ไม่มีท่าทีแตกต่าง มองได้ว่าเกมนี้สมประโยชน์ด้วยกันทุกฝ่ายหรือไม่ ทั้งๆ ที่ไม่มีความชัดเจนอะไรเลยว่าแนวคิดนี้จะพาบ้านเมืองไปทางไหน
อยากให้สติ สปช. อย่าคิดว่าใหญ่แล้วทำอะไรก็ได้ เมื่อไหร่ประชาชนเห็นว่าดูถูกกันเกินไปแล้วจะยุ่ง ส่วนการเพิ่มคำถามปฏิรูปก่อนเลือกตั้งนั้น ขอเรียกร้องเนติบริกรที่อยู่บนเรือแป๊ะอธิบายให้ฟังหน่อยว่า ถ้ารัฐธรรมนูญผ่านประชามติแล้ว จะแก้ให้ปฏิรูปต่ออีก 2 ปีค่อยเลือกตั้งได้อย่างไร เพราะถ้าลงมือทำก็เท่ากับรัฐธรรมนูญที่ผ่านประชามติเป็นคนละฉบับกับที่บังคับใช้" นายณัฐวุฒิกล่าว
@ รอประเมินแถลง"นกกรงหัวจุก"
นายณัฐวุฒิกล่าวถึงการแถลงข่าวสถานการณ์นกกรงหัวจุกในประเทศไทยว่า เดิมทีตั้งใจจะแถลงเลย เพราะโดยประเด็นไม่เกี่ยวข้องกับการเมืองอยู่แล้ว แต่พอเห็นท่าทีฝ่ายความมั่นคงขึงขัง จะให้ขออนุญาตก็เกรงว่าอาจจะมีคนแอบอ้างมาตรา 44 ไปคุกคามนกกรงหัวจุกหรือไม่ จึงขอประเมินสถานการณ์อีกครั้ง
"ขอสรุปภาพรวมให้พอเข้าใจว่า นกกรงหัวจุกเป็นสัตว์ที่รักเสรี เปล่งเสียงขันไพเราะ บินไปไหนก็ได้ในธรรมชาติ ต่อมามนุษย์ผู้มีกำลังและอำนาจเอานกส่วนหนึ่งไปชุบเลี้ยงแล้วสอนให้ขัน จัดแข่งชิงรางวัลโดยสร้างกติกาให้นกของฝ่ายตัวชนะให้ได้ ไม่อย่างนั้นก็หาเรื่องจัดการนกที่เป็นคู่แข่งให้สิ้นซากแล้วค่อยเริ่มประกวด นกกรงหัวจุกเหล่านั้นจึงพยายามส่งเสียงเรียกนกด้วยกันว่า มาอยู่แบบฉัน แล้วขันตามผู้มีอำนาจสั่ง จะได้ดิบได้ดี ทำอะไรก็ถูก มีตำแหน่ง มีรางวัล แต่นกส่วนใหญ่บอกว่า ขอโก่งคอขันเพื่อรับใช้อำนาจที่ชอบธรรมเท่านั้น ทั้งนี้ ที่น่าเป็นห่วงคือ ตอนนี้มีการวางงานให้นกในกรงขันยั่วนกในป่าเพื่อหาเรื่องเอานกป่าเข้ากรงขัง" นายณัฐวุฒิกล่าว
@ วรชัยแนะมาร์ครับความจริง
นายวรชัย เหมะ อดีต ส.ส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย (พท.) ให้สัมภาษณ์กรณีนายอภิสิทธิ์ระบุว่าการเคลื่อนไหวของกลุ่ม กปปส.ไม่เกี่ยวกับพรรค ปชป. ว่าจะพูดว่าไม่เกี่ยวกันได้อย่างไร กปปส.และพรรค ปชป.อยู่ด้วยกันอย่างแยกไม่ออก แยกกันเล่น แยกกันเดิน นายอภิสิทธิ์ต้องยอมรับความเป็นจริงว่ามวลชนของพรรค ปชป.คือ กปปส. เหมือนมวลชนของ นปช.ที่ส่วนมากเลือกอยู่ฝั่งพรรคเพื่อไทย มีลักษณะไม่ต่างกัน อีกทั้งคนใน กปปส.บางคนยังเป็นสมาชิก ปชป. และการแถลงข่าวล่าสุดของมูลนิธิมวลมหาประชาชนฯมี ส.ส.พรรค ปชป.เข้าร่วมด้วย
"กปปส.และพรรค ปชป.แยกกันไม่ได้ กปปส.อาจเคลื่อนไหวมวลชนในลักษณะสนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ให้ปฏิรูปประเทศก่อนเลือกตั้ง ขณะที่คนของพรรค ปชป.หลายส่วนไม่เห็นด้วยกับ กปปส. ลาออกก็มี เพราะไม่เห็นด้วยกับแนวทางที่ไม่ได้เป็นประชาธิปไตย และจากการคุยกับเพื่อน ส.ส.ในพรรค ปชป.หลายคนมีความอึดอัดกับการเคลื่อนไหวของ กปปส.และผู้ใหญ่ในพรรค ปชป.บางคนที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ที่พรรค ปชป.ไม่ชนะเลือกตั้งเพราะไม่ได้มองพื้นฐานของประชาชนคนยากจนเป็นหลัก ที่ผ่านมาเป็นรัฐบาลได้เพราะมาจากการยึดอำนาจ" นายวรชัยกล่าว
@ โพลหวั่น"เทือก"เปิดตัวชาติวุ่น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต เผยแพร่ผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน 1,106 คน ระหว่างวันที่ 30 กรกฎาคม-1 สิงหาคม กรณีที่นายสุเทพ แถลงข่าวเปิดตัวมูลนิธิมวลมหาประชาชนเพื่อการปฏิรูปฯ เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม โดยยืนยันเจตนารมณ์ว่าทำเพื่อส่วนรวม ต้องการปฏิรูปก่อนการเลือกตั้ง และจะร่วมปฏิรูปประเทศไปพร้อมกับ คสช. เพื่อเป็นการสะท้อนความคิดเห็นของประชาชน สรุปผลได้ ดังนี้ 1.ประชาชนคิดอย่างไรกับการแถลงข่าวของนายสุเทพ กรณีเปิดตัวมูลนิธิมวลมหาประชาชนเพื่อการปฏิรูปประเทศไทย อันดับ 1 ร้อยละ 77.85 ระบุการเคลื่อนไหวใดๆ ขอให้นึกถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติและส่วนรวมเป็นสำคัญ อันดับ 2 ร้อยละ 73.42 ระบุไม่อยากให้เป็นเกมการเมืองเพราะจะทำให้บ้านเมืองวุ่นวาย อันดับ 3 ร้อยละ 65.82 เห็นว่า กลายเป็นประเด็นวิพากษ์วิจารณ์ถึงความเหมาะสม โดยเฉพาะฝ่ายเสื้อแดงที่ออกมาต่อต้าน อันดับ 4 ร้อยละ 62.66 เห็นว่า รัฐบาลน่าจะควบคุมดูแลไม่ให้เกิดความวุ่นวายได้
@ เผยปชช.มองเอี่ยวการเมือง
สำหรับ คำถามการแถลงข่าวของนายสุเทพ ประชาชนคิดว่าเป็นประเด็นเกี่ยวข้องกับการเมืองหรือไม่ ร้อยละ 79.74 เห็นว่า เกี่ยวข้อง เพราะมีเรื่องการสนับสนุนการปฏิรูปประเทศก่อนการเลือกตั้งเข้ามาเกี่ยวข้อง นายสุเทพเป็นคนของการเมืองอยู่แล้ว ดูจากคณะที่เข้าร่วมแถลงล้วนแต่เป็นผู้ที่เคยเคลื่อนไหวทางการเมืองหน้าเดิมๆ ฯลฯ ร้อยละ 16.46 ไม่แน่ใจ เพราะอาจเป็นการออกมาเพื่อดูกระแสของสังคมว่าจะให้การตอบรับหรือคัดค้านมากน้อยเพียงใด ฯลฯ และ ร้อยละ 3.80 เชื่อว่า ไม่เกี่ยวข้อง เพราะเป็นสิทธิชอบธรรมที่สามารถทำได้ การก่อตั้งมูลนิธิเป็นไปอย่างถูกต้องและปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด เป็นการช่วยเหลือสังคมและทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม ฯลฯ
เมื่อถามว่า การแถลงข่าวของนายสุเทพจะทำให้การเมืองไทยร้อนแรงขึ้นหรือไม่ ร้อยละ 51.28 เชื่อว่าร้อนแรงขึ้น เพราะทำให้กลุ่มเสื้อแดงออกมาวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก เป็นการจุดกระแสทางการเมืองขึ้นมาอีกครั้ง มองว่าเป็นการท้าทายรัฐบาล และ คสช. ร้อยละ 34.62 ไม่แน่ใจขึ้นอยู่กับการนำเสนอข่าวของสื่อต่างๆ ด้วย ถ้าไม่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากเกินไป ข่าวอาจจะค่อยๆ เงียบไปเอง และ ร้อยละ 14.10 เชื่อว่า เหมือนเดิม เพราะบ้านเมืองขณะนี้มี คสช.และรัฐบาลทหารควบคุมดูแล เชื่อว่าไม่น่าจะเกิดเหตุการณ์รุนแรงหรือออกมาเคลื่อนไหวเพื่อสร้างความวุ่นวายให้กับบ้านเมืองฯลฯ
วันที่ 03 สิงหาคม พ.ศ. 2558 ปีที่ 25 ฉบับที่ 9014 ข่าวสดรายวัน
บิ๊กตู่เมิน'เทือก'ขอ อยู่แค่โรดแม็ป ถาวรป้องมาร์ค
'บิ๊กตู่'เมินข้อเสนออยู่ยาวเพื่อปฏิรูป ระบุรัฐธรรมนูญเขียนอย่างไรก็ต้องทำตามนั้น ปราม"เทือก"ทำมูลนิธิได้ แต่อย่าทำผิดกฎหมาย อย่าระรานพูดจาให้เสียหาย 'จตุพร'เชื่อ'เทือก' มีลับ ลวง พราง เตือนนายกฯระวังน้ำผึ้งอาบยาพิษ 'ณัฐวุฒิ'จี้แจง หากรธน.ผ่านประชา มติแล้วจะแก้ให้อยู่ปฏิรูปต่อ 2 ปีได้อย่างไร จวกสปช.รับลูกประกาศคว่ำร่างรธน. เทียนฉายสวนมีแค่'วันชัย'คนเดียว ด้านวันชัยปูดอีก อ้างมีนักการเมืองล็อบบี้สปช.จังหวัดโหวตผ่านรธน. เร่งให้มีเลือกตั้ง สปช.จังหวัดสวนทันควัน ยันไม่มีล็อบบี้ 'ดิเรก'ย้ำนายกฯคิดให้ดีอยู่ปฏิรูปต่อ 2 ปี หวั่นถูกมองสืบทอดอำนาจ ไพบูลย์ยังเดินหน้าล่าชื่อต่อ อ้างโพลราชภัฏ 40 แห่งหนุน
'ตู่'เมินสปช.จ่อโหวตคว่ำรธน.
เมื่อเวลา 11.15 น. วันที่ 2 ส.ค. ที่กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ (ร.11รอ.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีมีสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ(สปช.) บางส่วนมีท่าทีสนับสนุนให้สปช.โหวตคว่ำร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อให้มีการปฏิรูปก่อนการเลือกตั้งว่า ไม่ได้คิดอะไร ตอนนี้คิดแต่เรื่องไบค์ฟอร์มัม สปช.จะทำอะไรก็เรื่องของเขา ตนไม่ได้ไปควบคุม รัฐธรรมนูญเขียนเอาไว้ว่าอย่างไรก็ทำตามนั้น ไม่ต้องกังวล อย่าเอาอะไรตีกัน อะไรที่ดีก็ว่ากันไป อะไรที่มีปัญหาก็ถกแถลงกัน อะไรที่ต้องแก้ไขก็แก้กันไป อย่าเอาไอ้โน่นมาตีไอ้นี่ เหมือนกับต้องมีเรื่องทุกวัน ขอให้เบาๆ บ้าง เพราะสิ่งดีๆ กำลังจะเกิด
ดักคอ'เทือก'อย่าระรานกัน
เมื่อถามว่า คิดอย่างไรกับข้อเสนอของ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน หัวหน้าพรรคมาตุภูมิ ที่เสนอให้คสช.อยู่ต่อจนกว่าจะปฏิรูปเสร็จสิ้น พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า จะอยู่ได้อย่างไร ก็ไปหามา รัฐธรรมนูญเขียนอย่างไรก็ตามนั้น ให้ไปอ่านรัฐธรรมนูญให้เข้าใจ
เมื่อถามว่า มองอย่างไรที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เปิดตัวมูลนิธิมวลมหาประชาชนเพื่อการปฏิรูปประเทศไทย พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า "เกี่ยวอะไรกับผม เป็นเรื่องของมูลนิธิก็ทำไป แต่อย่าทำผิดกฎหมาย เพราะผมมีหน้าที่รักษากฎหมาย รักษากติกา ด้วยกฎหมายตัวเดียวกัน ฉบับเดียวกันทั้งหมด ฉะนั้นอย่าระรานกัน อย่าพูดจาเสียหาย ไม่เฉพาะพวกนี้ แต่ที่ผมพูดหมายถึงทุกพวก ให้จำไว้ด้วย"
นปช.เตือน'ตู่'ระวังน้ำผึ้งอาบยาพิษ
นายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธานกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) กล่าวถึงการเคลื่อนไหวของนายสุเทพว่า การขับเคลื่อนมูลนิธิของนายสุเทพ จะเป็นภาระให้รัฐบาลมากกว่าเป็นแรงผลักดัน ประเด็นแรกที่เห็นได้ชัด คือการประกาศให้ คสช.อยู่ปฏิรูปโดยไม่จำกัดเวลา เรื่องนี้จะทำให้พล.อ.ประยุทธ์ เสียสถานะความเป็นผู้นำเบ็ดเสร็จเด็ดขาด จากคนที่แสดงตนมาตลอดว่าเป็นพวกเดียวกัน ฉะนั้นความกระอักกระอ่วนนี้จะเกิดขึ้นกับพล.อ. ประยุทธ์ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ที่สำคัญเหตุการณ์ต่างๆ ทุกวันนี้ คือประเทศไทยไม่ได้อะไรเลย เสมือนได้ความสงบ แต่ส่งผล คือทุกเรื่องสงบเช่นเดียวกัน สังคม เศรษฐกิจ สงบแน่นิ่ง แทนที่จะขับเคลื่อนประเทศ กลับสงบทุกอย่าง ดังนั้น การที่นายสุเทพออกมาแสดงตนไม่มีอะไรเป็นทางบวกต่อพล.อ.ประยุทธ์
"สิ่งสำคัญที่นายสุเทพพยายามพูดสนับสนุน คสช. มอบภารกิจให้คสช.อยู่นาน มุมมองเช่นนี้ หากพล.อ.ประยุทธ์เคยประกาศทหารไม่ได้โง่ ต้องไม่ได้มองชั้นเดียว เพราะแต่ละถ้อยคำนั้นเป็นน้ำผึ้งอาบยาพิษทั้งสิ้น เป็นน้ำกรดแช่เย็น ผลทั้งปวงไม่เกิดกับคนอื่นแต่จะเกิดกับพล.อ.ประยุทธ์และคณะ" นายจตุพรกล่าว
เชื่อ'เทือก'มีลับลวงพราง
นายจตุพร กล่าวว่า สำคัญมากกว่านี้คือ สิ่งที่แสดงออกของมูลนิธิในทางการเมืองต้องมีอะไรที่ลับ ลวง พรางไว้จำนวนมาก การที่เราต่อสู้มานานเราจะไม่ยอมตกเป็นเครื่องมือ ซึ่งสถานการณ์นี้ในข้อเท็จจริงขบวนการเป่านกหวีด โดยเฉพาะที่เป็นแกนนำต้องรับภาระการกดดันจากประชาชนที่ผิดหวังจากเศรษฐกิจมาก ดังนั้น กลยุทธ์เดินหน้าในเวลานี้คือให้คนในซีก นปช.ออกมาเคลื่อนไหวแล้วตัวเองรอเข้ามาจังหวะที่สอง ซึ่งพวกเราวิเคราะห์แต่ต้น คิดว่าคนที่เปิดประตูการยึดอำนาจควรรับผิดชอบ ไม่ใช่หน้าที่ นปช. และที่มีการวางแผน ยั่วและให้ข่าวต่างๆ จนเกิดการทนไม่ได้และออกมา เราอยากบอกว่าเรารู้ทันทุกเรื่อง
นายจตุพร กล่าวถึงการจัดงานนกกรง หัวจุกว่า ตนเข้าใจนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ เลขาธิการ นปช.ว่าต้องการสื่อสารเรื่องสองมาตรฐาน ตัวอย่างเรื่องนกกรงหัวจุก ทุกคนรู้ ไม่ได้อยู่ในระบบการเมือง แต่หากเราบอกว่าต้องการแจ้งเรื่องหนึ่งแล้วพูดเรื่องหนึ่งก็ทำได้ใช่หรือไม่ จึงยกตัวอย่างเรื่องนี้ขึ้น และสะท้อนว่าที่ผ่านมาใครมีปัญหาบ้าง เพื่อสื่อให้รู้ว่าต้องการให้บ้านเมืองมีปัญหาใช่หรือไม่ และคำว่า อภิสิทธิ์ชน สองมาตรฐาน จึงเป็นตัวสะท้อนให้เห็น เรื่องนี้จึงถูกยก มาใช้
'เต้น'จี้เนติบริกรเรือแป๊ะชี้แจง
นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ เลขาธิการนปช. กล่าวถึงท่าทีของนายสุเทพ ที่ยืนยันข้อเรียกร้องจะเสนอเป็นเอกสาร ไม่มีการเดินขบวนว่า ก่อนหน้านี้คนบนเวทีกปปส.เดินขบวนไปรับตำแหน่งในแม่น้ำ 5 สายหลายสิบคน และขณะนี้ออกมารับลูกด้วยการประกาศคว่ำร่างรัฐธรรมนูญ และจะล่ารายชื่อเสนอคำถามประชามติให้ปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง สัญญาณแบบนี้ ซ้ำเติมประเทศให้ติดลบความน่าเชื่อถือมากขึ้น หากคสช.นิ่งเฉย ยิ่งมองได้ว่าสมประโยชน์ด้วยกันทุกฝ่ายหรือไม่ เพราะไม่ชัดเจนว่าแนวคิดดังกล่าวจะพาบ้านเมืองไปทางไหน จึงอยากให้สติกับสปช.ว่าอย่าคิดว่าใหญ่แล้วทำอะไรก็ได้ หากประชาชนเห็นว่าดูถูกเกินไปแล้วจะยุ่ง
"สำหรับ การเพิ่มคำถามให้ปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง ต้องเรียกร้องเนติบริกรบนเรือ แป๊ะอธิบายให้ฟังว่า หากรัฐธรรมนูญผ่านประชามติแล้ว จะแก้ให้ปฏิรูปต่อไปอีก 2 ปีค่อยเลือกตั้งได้อย่างไร เพราะถ้าลงมือทำ เท่ากับรัฐธรรมนูญที่ผ่านประชามติเป็นคนละฉบับกับที่บังคับใช้" นายณัฐวุฒิกล่าว
เปรยมีนกในกรงวางแผนยั่ว
นายณัฐวุฒิ กล่าวว่า ส่วนท่าทีของฝ่ายความมั่นคงต่อการเตรียมแถลงข่าวสถานการณ์นกกรงหัวจุกในประเทศไทยของตนซึ่งไม่เกี่ยวกับการเมือง โดยระบุให้ไปขออนุญาตก่อน เพราะเกรงจะมีคนแอบอ้างมาตรา 44 ไปคุกคามนกกรงหัวจุกหรือไม่ จึงขอประเมินสถานการณ์การแถลงข่าวอีกครั้ง แต่ขอสรุปภาพรวมให้เข้าใจว่า นกกรงหัวจุกเป็นสัตว์ที่รักเสรี เสียงขันไพเราะ บินไปไหนก็ได้ในธรรมชาติ ต่อมามนุษย์ผู้มีกำลังและอำนาจ เอานกส่วนหนึ่งไปชุบเลี้ยงแล้วสอนให้ขัน จัดแข่งชิงรางวัล โดยสร้างกติกาให้นกของฝ่ายตัวชนะให้ได้ ไม่อย่างนั้นก็หาเรื่องจัดการนกที่เป็นคู่แข่งให้สิ้นซากแล้วค่อยเริ่มประกวด นกกรง หัวจุกเหล่านั้นจึงพยายามส่งเสียงเรียกนกด้วยกันว่ามาอยู่แบบฉันแล้วขันตามผู้ มีอำนาจสั่ง จะได้ดิบได้ดี ทำอะไรก็ถูก มีตำแหน่งมีรางวัล แต่นกส่วนใหญ่บอกว่าขอโก่งคอขันเพื่อรับใช้อำนาจที่ชอบธรรมเท่านั้น ที่น่าเป็นห่วงคือ ตอนนี้มีการวางงานให้นกในกรงขันยั่วนกในป่าเพื่อหาเรื่องเอานกป่าเข้ากรงขัง
ถาวร ชี้มาร์คไม่ได้แย้งกปปส.
นายถาวร เสนเนียม รองประธานมูลนิธิมวลมหาประชาชนฯ กล่าวกรณีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ไม่เห็นด้วยกับการขยายเวลาโรดแม็ปเพื่อปฏิรูปประเทศว่า ความเห็นของนายอภิสิทธิ์ ถือว่าไม่ได้ขัดแย้งกับข้อเสนอของมูลนิธิ เพราะต่างฝ่ายต่างสนับสนุนแนวความคิดซึ่งกันและกัน และเชื่อว่าคนทั่วไปจะไม่มองเช่นนั้น ซึ่งหลังจากนี้มูลนิธิจะเดินหน้าปฏิรูปด้านต่างๆ ตามที่แถลงไว้ โดยนำร่องการปฏิรูปด้านการศึกษาและด้านเศรษฐกิจพอเพียงก่อนส่วนที่นายอภิสิทธิ์ ระบุสมาชิก กปปส.สามารถกลับเข้าเป็นสมาชิกพรรคได้อีกนั้น เป็นเรื่องที่แน่นอนอยู่แล้ว หากใครอยากกลับเข้ามาเล่นการเมืองและต้องการสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ก็เข้าไปได้ เบื้องต้นสมาชิกกปปส.มีการพูดคุยกันในประเด็นนี้บ้าง
'ยงยุทธ'เกรงถูกมองยื้อเวลา
นายยงยุทธ ยุทธวงศ์ รองนายกฯ กล่าวกรณีนายวันชัย สอนศิริ สมาชิก สปช. ระบุหากยังปฏิรูปประเทศไม่เสร็จแล้วปล่อยให้มีการเลือกตั้งจะทำให้การรัฐประหารที่ผ่านมาก็ล้มเหลวว่า การปฏิรูปบางเรื่องต้องดำเนินการหลังจากนี้เพราะต้องใช้เวลา เช่น การปฏิรูปการศึกษา ขณะที่บางอย่างทำได้ทันทีก่อนจัดให้มีการเลือกตั้งได้ แต่จะรอให้ปฏิรูปทั้งหมดอาจเป็นไปไม่ได้ ทุกอย่างต้องเป็นไปตามโรดแม็ป ถ้าเราจะทำทุกอย่างให้หมดก่อนอาจถูกมองว่ายื้อเวลาและกว่าจะมีการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญชั่วคราว ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ก็มีเวลากว่า 1 ปี ซึ่งคิดว่าระยะเวลาที่เหลืออยู่การปฏิรูปจะปรากฏเป็นรูปธรรมให้ประชาชนได้เห็น
นายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รมต.ประจำสำนักนายกฯ ให้สัมภาษณ์ถึงนายวันชัย ระบุมีการให้ข้อมูลในแง่ร้ายต่อคสช. จ้องเล่นงานเฉพาะคนที่ไม่ใช่พวกว่า ยังไม่เห็นรายงานเรื่องดังกล่าว หากมีจริงคงมีการเสนอเข้ามา จึงไม่สามารถแสดงความคิดเห็นอะไรได้ ส่วนความเคลื่อนไหวต่างๆ นั้นเป็นเพียงการแสดงความคิดเห็นของฝ่ายต่างๆ ผ่านสื่อ ซึ่งเป็นเรื่องปกติ เชื่อว่าประชาชนเข้าใจสถานการณ์ ไม่มีอะไร น่าห่วง สถานการณ์ทั่วไปไม่มีปัญหา
เทียนฉายชี้โหวตคว่ำแค่'วันชัย'
นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธาน สปช. ให้สัมภาษณ์กรณีนายวันชัยระบุให้สปช.โหวตคว่ำร่างรัฐธรรมนูญเพื่อปิดทางให้รัฐบาลทำงานปฏิรูปต่อให้สำเร็จว่า ตกใจเมื่อเห็นข่าวพาดหัวข่าวว่าสปช.จะคว่ำร่างรัฐธรรมนูญ แต่พออ่านรายละเอียดข่าวก็ไม่กังวลแล้ว เพราะเป็นความเห็นนายวันชัยคนเดียว เรื่องนี้จะไม่เรียกนายวันชัยมาตักเตือน ถือเป็นสิทธิในการแสดงความคิดเห็นที่ทำได้ แต่ขออย่างเดียวเวลาสื่อเขียนข่าวทำนองนี้ขอให้เขียนว่าเป็นความเห็นคนๆ เดียว อย่าเหมารวม สปช.
นายเทียนฉาย กล่าวว่า ส่วนกรณีนายไพบูลย์ นิติตะวัน สมาชิก สปช.จะล่ารายชื่อสปช.เพื่อสนับสนุนให้ตั้งคำถาม 1 ข้อ ควบคู่กับการทำประชามติว่าจะปฏิรูปประเทศ 2 ปีก่อนเลือกตั้งหรือไม่นั้น เสนอได้ เป็นสิทธิ ไม่ใช่เรื่องผิด อย่าลืมว่าสปช.อีก 200 กว่าคนก็มีสิทธิเสนอคนละ 1 คำถามเช่นกัน โดยหลักต้องเสนอผ่านที่ประชุมสปช.ว่าใครจะเสนอหรือไม่ เสนออะไร เรื่องล่าชื่อนั้นไม่แปลก แต่สุดท้ายขึ้นอยู่ที่ครม.ว่าจะเอาด้วยหรือไม่ เพราะรัฐธรรมนูญกำหนดให้สปช.เสนอได้ แต่รัฐบาลเป็น ผู้ตัดสินใจ
ไม่สนดึง"เทือก"นั่งที่ปรึกษา
นายเทียนฉาย กล่าวถึงกรณีนายปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข อดีตรมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แกนนำพรรคเพื่อไทย เรียกร้องให้รีบแต่งตั้งนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ประธานมูลนิธิฯ เป็นที่ปรึกษาประธาน สปช.ว่า ยังไม่รู้ข่าวเลย สปช.จะหมดวาระการทำงานอยู่แล้ว จะแต่งตั้งใครทำไม ในเมื่อเหลือการทำงานอีกไม่กี่วัน อีกทั้งไม่มีหน้าที่แต่งตั้งใครด้วย หน้าที่ต่อจากนี้คือเร่งทำงานที่เหลือให้เสร็จ
เมื่อถามว่า ใกล้หมดวาระการทำงานในฐานะประธาน สปช.แล้ว มีความในใจหรือสิ่งใดที่คิดไว้แต่ยังไม่ได้ลงมือทำอีกหรือไม่ นายเทียนฉายกล่าวว่า กรอบเดิมที่วางไว้ยังมีอีกหลายเรื่องที่จะทำ พอมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งล่าสุดมาก็ตัดกรอบเวลาและการทำงานเดิมเราไปหลายเรื่อง เวลาเหลือ กระชั้นไปจนไม่ได้ทำสิ่งที่คิดไว้ เช่น เรื่อง นำร่างรัฐธรรมนูญที่คณะกรรมาธิการ(กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญทำเสร็จแล้วลงไปทำความเข้าใจกับประชาชน ก็ไม่เป็นไร ใครมีหน้าที่ทำต่อก็ทำไป ไม่เสียดายเพราะทำเต็มที่แล้ว เท่าที่เป็นอยู่ก็เหนื่อยมากแล้ว ยืนยันต่อจากนี้จะทำงานให้เสร็จทันตาม กรอบ ไม่วอกแวก
วันชัย แฉนักการเมืองวิ่งวุ่นล็อบบี้
นายวันชัย สอนศิริ สมาชิก สปช. กล่าวว่า ขณะนี้คณะทำงานที่ติดตามการแก้ไขปรับปรุงร่างรัฐธรรมนูญได้ประสานกับ สปช.ต่างจังหวัดและส่วนกลางในหลายกลุ่ม มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันโดยเฉพาะสปช.จังหวัด ให้ข้อมูลว่ามีการเคลื่อนไหวจากนักการเมืองที่จะให้มีการเลือกตั้งโดยเร็ว เตรียมประสานกับชาวบ้าน หัวคะแนน เตรียมแผนเลือกตั้ง พยายามชี้ให้ชาวบ้านเห็นว่าการปกครองแบบนี้ชาวบ้านไม่มีสิทธิ์ไม่มีเสียง ทุกข์ยากลำบากก็ไม่มีใครเป็นตัวแทนแก้ปัญหาให้ ชี้ให้เห็นว่าการเลือกตั้งเท่านั้นที่จะแก้ปัญหาของชาวบ้านได้ ปลุกเร้า เร่งเร้าให้มีการเลือกตั้ง นอกจากนี้ ยังประสานให้สปช.ช่วยโหวตผ่านร่างรัฐธรรมนูญ และเท่าที่ทราบมี สปช.หลายจังหวัดก็ได้รับการประสานจากฝ่ายการเมืองให้โหวตผ่านร่างรัฐธรรมนูญ
นายวันชัย กล่าวอีกว่า สปช.ต่างจังหวัดบางคนให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าเรื่องการทำประชามตินั้น ฝ่ายการเมืองที่ต้องการเร่งให้มีการเลือกตั้งยืนยันว่าไม่ต้องห่วง เขาสามารถกุมสภาพและคุมคะแนนให้รัฐธรรมนูญผ่านประชามติได้โดยสร้างกระแสในการทำประชามติว่า ถ้าไม่เอาคสช. ต้องการเลือกตั้ง ให้โหวตรับรัฐธรรมนูญ จะเป็นสโลแกนสำคัญรณรงค์ทำประชามติเพื่อให้รัฐธรรมนูญผ่าน เชื่อว่าวิธีการนี้จะยิงปืนนัดเดียวได้นก 2 ตัว
ย้ำต้องปฏิรูปเสร็จก่อนเลือกตั้ง
นายวันชัย กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ยังมีการให้ข้อมูลกับแกนนำ หัวคะแนน และนักการเมืองท้องถิ่นในแง่ร้ายต่อคสช.ว่าเล่นงานเฉพาะคนที่ไม่ใช่พวก จ้องเล่นงานฝ่ายตรงข้าม การแต่งตั้งโยกย้ายก็เล่นพรรคเล่นพวก ใครไม่ใช่พวกก็โดนเล่นงาน การเลือกตั้งเท่านั้นที่จะแก้ปัญหานี้ได้และต้องเอาคืนให้ได้ ข้อมูลเหล่านี้สปช.ในพื้นที่เขารู้การเคลื่อนไหวดี แน่ชัดว่าฝ่ายการเมืองต้องการเร่งให้มีการเลือกตั้ง ให้รัฐธรรมนูญผ่านและจะไปรณรงค์ทำประชามติ
สมาชิก สปช.กล่าวว่า สิ่งที่จะเห็นคือความขัดแย้งแตกแยกในการรณรงค์ทำประชามติ ไฟแห่งการทะเลาะเบาะแว้งจะลุกโชนขึ้น การปรองดองสมานฉันท์จะหักสะบั้นลง วังวนแห่งความขัดแย้งก็จะกลับมาเหมือนเดิม ยิ่งมีการเลือกตั้งก็จะเห็นความขัดแย้งมากยิ่งขึ้น การเอาคืนล้างแค้นจะกลับมาแน่นอน ตราบใดที่การปฏิรูปประเทศ ยังไม่เสร็จ การแก้ปัญหาความขัดแย้งยังไปไม่ถึงไหนแล้วปล่อยให้เลือกตั้ง วังวนแห่งความชั่วร้ายจะกลับมาในประเทศนี้อีกเหมือนเดิม การปฏิวัติที่ผ่านมาก็ล้มเหลว ดังนั้น เพื่อแก้ปัญหาให้เสร็จสิ้นและให้บ้านเมืองเดินต่อไปได้ คสช.ควรแก้ปัญหาทุกอย่างที่เป็นเหตุรัฐประหารให้เสร็จแล้วค่อยนำไปสู่การเลือกตั้ง ไม่อย่างนั้นก็เข้าทางของฝ่ายการเมืองที่เคลื่อนไหวอยู่ขณะนี้
ดิเรกเตือน"ตู่"คิดให้ดีอยู่ต่อ 2 ปี
นายดิเรก ถึงฝั่ง สมาชิก สปช.นนทบุรี กล่าวว่า ไม่มีใครติดต่อมาหาเพื่อให้โหวตผ่านร่างรัฐธรรมนูญเลย ตนย้ำมาตลอดว่าการตัดสินใจดูที่เนื้อหา ถ้าร่างรัฐธรรมนูญดี ไม่นำสังคมกลับไปสู่ความขัดแย้งอีกก็จะโหวตผ่านให้ ยืนยันว่าไม่ให้ใครมาล็อบบี้ได้ อย่างที่มานายกฯ คนนอก ที่มาส.ส. และส.ว.ออกมาถอยหลังแบบนี้เรารับไม่ได้ตั้งแต่ต้นอยู่แล้ว การปฏิรูปจะสำเร็จหรือไม่อยู่ที่รัฐธรรมนูญ ถ้าเป็นประชาธิปไตยก็เดินหน้าได้ แต่หากร่างแบบเกรงใจคนอื่น ร่างแบบผิดหลัก งานปฏิรูปคงไม่สำเร็จ
นายดิเรก กล่าวว่า ส่วนข้อเสนอให้ปฏิรูป 2 ปีก่อนเลือกตั้งนั้น ถ้ารากฐานรัฐธรรมนูญวางไม่ถูกทาง อยู่ต่อปฏิรูปไปอีก 5 ปีก็ไม่ดีขึ้น จึงควรทำตามโรดแม็ปถือว่าเหมาะสมที่สุดแล้ว ขอให้พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ และหัวหน้าคสช. อย่าหลงคำสรรเสริญเยินยอมาก ปรึกษากับทีมงานให้ดีว่าเราจะไม่สนใจแรงกดดันทั้งในและต่างประเทศได้หรือไม่ ประชาชนจะแย่จากผล กระทบด้านเศรษฐกิจหรือไม่
วอนยึดตามโรดแม็ป
นายเกรียงไกร ภูมิเหล่าแจ้ง สมาชิกสปช. กล่าวถึงกรณีนายวันชัยระบุนักการเมืองเริ่มเคลื่อนไหวขอให้ สปช.จังหวัดโหวตรับร่างรัฐธรรมนูญและขอให้ประชาชนในพื้นที่ลงมติเห็นชอบว่า มีแต่ในระดับกลุ่มเล็กๆ ส่วนพรรคใหญ่นั้นไม่ทราบว่ามีหรือไม่ แต่เท่าที่เคยคุยกับอดีตส.ส.บางรายก็ระบุอยากให้มีการเลือกตั้ง ตนในฐานะ สปช.ขอดูหน้าตาของร่างรัฐธรรมนูญในวันที่ 23 ส.ค. ที่ กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญจะส่งมาให้ก่อนตัดสินใจ
นายเกรียงไกร กล่าวว่า ทราบจากข่าวหลายอย่างทำท่าจะไม่เป็นไปตามที่เราเสนอขอแก้ไข ในภาพรวมการเลือกตั้ง พบว่า กมธ.ยกร่างฯ ยอมถอยมาเยอะแล้วทั้ง สัดส่วนส.ส.เขตและบัญชีรายชื่อ ก็พอใจ เหมือนพบกันครึ่งทาง คงมีเพียง สปช.บางกลุ่มเท่านั้นที่ยังไม่พอใจประเด็นการเมือง โดยเฉพาะนายกฯ คนนอก ส่วนข้อเสนอทำประชามติประเด็นให้มีการปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง 2 ปีนั้นตนไม่เห็นด้วย มองว่ารัฐบาลควรเดินตามโรดแม็ปที่วางไว้ เพราะหากมีการปฏิรูปอีก 2 ปีภาพจะออกมาไม่ดี กลายเป็นสืบทอดอำนาจตนเอง สิ่งที่ทำดีมาทั้งหมดก่อนหน้านี้จะเสียของ
สปช.ใต้พอใจปรับเนื้อหารธน.
ด้านนายประเสริฐ ชิตพงศ์ สมาชิก สปช.สงขลา กล่าวว่า เท่าที่พบกับผู้คนในพื้นที่ภาคใต้ยังไม่มีการพูดคุยเรื่องให้ สปช.โหวตรับร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อทำประชามติ ผ่านแล้วจะได้เลือกตั้ง ซึ่งตนต้องใช้เวลาพิจารณาร่างสุดท้ายที่จะได้รับในวันที่ 23 ส.ค.นี้ก่อนตัดสินใจ แต่เบื้องต้นตนค่อนข้างรับได้ เพราะ กมธ.ยกร่างฯ มีการปรับเปลี่ยนให้ตามคำขอแก้ไขหลายอย่าง โดยเฉพาะประเด็นการเมืองให้ทุกฝ่ายพอรับกันได้ ส่วนหัวข้อเสนอให้รัฐบาลปฏิรูป 2 ปีก่อนเลือกตั้งนั้น ตนและเพื่อนสมาชิก สปช.หลายรายยังไม่มีความเห็น จะขอฟังเหตุผลในการอภิปรายจากที่ประชุมก่อน
ตอก"วันชัย"-สปช.มีวุฒิภาวะ
พล.ท.นคร สุขประเสริฐ สมาชิก สปช.ร้อยเอ็ด และ กมธ.ยกร่างฯ กล่าวถึงกรณีนายวันชัยระบุมีนักการเมืองล็อบบี้ สปช.ให้โหวตผ่านร่างรัฐธรรมนูญว่า เชื่อว่า สปช.แต่ละคนมีวุฒิภาวะ กลั่นกรองด้วยตัวเอง เท่าที่ตนพูดคุยกับ สปช.ส่วนใหญ่ก็พอใจในร่างรัฐธรรมนูญที่แก้ไขแล้วตามข้อเสนอของทั้ง 9 กลุ่ม ซึ่งส่วนใหญ่เห็นว่าในรัฐธรรมนูญมีอะไรดีๆ เสียงส่วนใหญ่กว่า 75 เปอร์เซ็นต์จึงยอมรับได้ สุดท้ายเชื่อว่า สปช.จะลงมติผ่านร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งไม่ได้ผ่านเพราะการล็อบบี้ แต่เพราะเนื้อหาในร่างรัฐธรรมนูญมากกว่า เพราะหากร่างรัฐธรรม นูญไม่ผ่านก็ต้องตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ เมื่อถึงตอนนั้นร่างรัฐธรรม นูญที่เขียนใหม่อาจไม่เป็นไปตามที่ สปช.ต้องการก็ได้
พล.ท.นครกล่าวถึงข้อเสนอให้ปฏิรูปประเทศก่อนเลือกตั้งว่า คิดว่าควรทำตามโรดแม็ป หากรัฐบาลไม่ทำตามโรดแม็ปแต่ไปทำตามข้อเสนอปฏิรูป 2 ปีก่อนแล้วค่อยเลือกตั้งอาจจะติดกับดักทางการเมืองได้ ฝ่ายตรงข้ามจะเอาเรื่องนี้ไปเป็นประเด็นโจมตี จนเกิดปัญหาขัดแย้งและแตกแยก รวมทั้งขาดความเชื่อมั่นจากต่างประเทศ ดังนั้น เวลาที่เหลืออยู่ก่อนเลือกตั้งประมาณ 1 ปีกว่าๆ รัฐบาลควรวางกรอบและหลักการปฏิรูปเอาไว้และลงมือทำอย่างจริงจัง และในร่างรัฐธรรมนูญก็กำหนดกรอบการปฏิรูปอยู่แล้ว หากรัฐบาลเอาจริงเชื่อว่าการปฏิรูปก็เดินหน้าได้อย่างแน่นอน
อดีต 40 ส.ว.หนุนปฏิรูป
นายประสาร มฤคพิทักษ์ สมาชิกสปช. ในฐานะ กมธ.ปฏิรูปการเมือง กล่าวว่า ตนเห็นด้วยกับข้อเรียกร้องให้ปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง เพราะนักเลือกตั้งส่วนใหญ่ก้าวไม่พ้นจากทุนและระบบอุปถัมภ์ จึงเป็นกลุ่มคนที่เสพติดอำนาจมากกว่าจะมุ่งมั่นปฏิรูป อย่างเก่งก็แค่หว่านโปรยนโยบายประชานิยมล้นเกินเพื่อคืนสู่อำนาจซ้ำอีก แถมเป็นนโยบายที่สร้างปัญหาระยะยาวให้กับประเทศ เช่น นโยบายรถคันแรก นโยบายจำนำข้าว ทั้งนี้ การปฏิรูปก่อนเลือกตั้งต้องทำความกระจ่างต่อสังคมให้ได้ว่าในระยะเวลาที่แน่นอนจะเกิดผลรูปธรรมระดับไหน เพราะการปฏิรูปไม่อาจเกิดผลได้ฉับพลัน มันไม่ใช่การเปิดปิดสวิตช์ไฟ ไม่ใช่การบ่มมะม่วง มันเป็นงานเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างที่ซับซ้อน หลากหลายมิติ ยากลำบากและใช้เวลา เช่น การศึกษาของไทยปฏิรูปมา 20 ปีแล้วยัง ล้าหลังอยู่จนเดี๋ยวนี้
ไพบูลย์ ยังเดินหน้าล่าชื่อคนหนุน
นายไพบูลย์ นิติตะวัน สมาชิกสปช.และกมธ.ยกร่างฯ กล่าวว่า ตนยืนยันว่าจะเสนอตั้งคำถามการทำประชามติให้ปฏิรูปประเทศ 2 ปีก่อนเลือกตั้งต่อที่ประชุมสปช.แน่นอน โดยวันที่ 3 ส.ค.นี้ จะขอให้สมาชิกสปช.ที่เคยเห็นด้วยมาร่วมลงรายชื่อเพื่อสนับสนุน แต่ไม่ใช่การล่ารายชื่อ ส่วนที่มีสมาชิกสปช.บางคนคัดค้านแนวทางดังกล่าวนี้ ถือเป็นสิทธิส่วนบุคคล ซึ่งจากข้อมูลที่สำรวจโดยมหาวิทยาลัยราชภัฏ 40 แห่ง สอบถามกลุ่มตัวอย่าง 24,721 คน พบว่าร้อยละ 75.75 เห็นว่าควรปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง มีเพียงร้อยละ 24.25 ที่เห็นว่าควรเลือกตั้งก่อนปฏิรูป อีกทั้งมีประชาชน 50,000 ชื่อ ที่ขอให้ปฏิรูปก่อนการเลือกตั้งด้วย ยืนยันว่า ข้อเสนอนี้ไม่ใช่เพื่อต่ออายุของสปช. แต่เพื่อให้บ้านเมืองเกิดความเรียบร้อย
"ที่ผมเสนอเพราะไม่อยากให้ประท้วงกันไม่หยุด แม้มีรัฐธรรมนูญใหม่ ปัญหาก็ยังไม่จบ ยังมีปัญหาขัดแย้งตามมา หากจัดเลือกตั้ง กลุ่มที่ไม่อยากให้เลือกตั้งก็จะออกมาคัดค้าน หรือหากเดินหน้าปฏิรูป กลุ่มที่อยากให้เลือกตั้งก็จะออกมาเรียกร้อง แต่ถ้าทำประชามติ ผมว่าจบ เมื่อเสียงส่วนใหญ่ว่าอย่างไรก็ต้องยอมรับ" นายไพบูลย์กล่าว
นายไพบูลย์ กล่าวว่า หากข้อเสนอปฏิรูป 2 ปีก่อนเลือกตั้ง ทำประชามติแล้วผ่านความเห็นชอบจากเสียงข้างมาก ต้องมีผลตามรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) 2557 แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 37/1 ที่กำหนดให้กมธ.ยกร่างฯ แก้ไขร่างรัฐธรรมนูญให้สอดคล้องกับผลการทำประชามติ ซึ่งตนจะเสนอให้ปรับแก้ไขในส่วนบทเฉพาะ กาล มาตรา 277 (1) โดยแก้ไขว่าเมื่อครบกำหนด 2 ปี นับจากวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ให้เลือกตั้งส.ส.ให้เสร็จภาย ใน 90 วัน แต่หากผลการทำประชามติไม่เห็นด้วยที่จะปฏิรูป 2 ปีก่อนเลือกตั้ง ก็ดำเนินการตามรัฐธรรมนูญเดิม
เล็งถกใหม่ที่มาสว.-เหลือ 285 ม.
นายไพบูลย์ กล่าวถึงความคืบหน้าการ ยกร่างรัฐธรรมนูญว่า กมธ.ยกร่างฯ จะนัดประชุมร่วมกันอีกครั้งในวันที่ 5-7 ส.ค. เพื่อพิจารณาทบทวนและปรับแก้ไขบันทึกเจตนารมณ์เป็นรายมาตราต่อจากสัปดาห์ ที่ผ่านมาให้เสร็จ จากนั้นวันที่ 10-11 ส.ค. จะนำประเด็นที่ยังค้างการพิจารณามาหารือร่วมกันอีกครั้ง ประกอบด้วยประเด็นที่มาของส.ว. ซึ่งมีข้อเรียกร้องให้ปรับแก้ไขใหม่ และประเด็นโครงสร้างของคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการปฏิรูปและการสร้างความปรองดอง ซึ่งที่ประชุมยังไม่ได้ข้อสรุปเกี่ยวกับสัดส่วนของคณะกรรมการว่าจะมี 20 คน หรือ 23 คน
นายไพบูลย์ กล่าวว่า ภายในวันที่ 14 ส.ค. ทางกมธ.ยกร่างฯ จะต้องพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับให้เสร็จ เนื่องจากวันที่ 17-19 ส.ค. ทางกมธ.ยกร่างฯ จะเชิญผู้ยื่นคำขอแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญจากสปช.และครม. รวม 9 กลุ่ม มารับฟังหลักการและเหตุผลในการปรับแก้ และคาดว่าจะเสนอร่างรัฐธรรมนูญฉบับเสร็จสมบูรณ์ให้สปช.พิจารณาภายในวันที่ 22 ส.ค.นี้ ตามกรอบเวลาที่รัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) 2557 แก้ไขเพิ่มเติม กำหนดไว้ สำหรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หลังปรับแก้ไขเสร็จนั้น คาดว่าจะคงเหลือ 285 มาตรา จากเดิมร่างแรกมี 315 มาตรา
โหวตผ่านรธน.ยัง 50-50
รายงานข่าวจากรัฐสภา แจ้งว่า ขณะนี้แนวโน้มการโหวตรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรม นูญของสมาชิกสปช.ช่วงต้นเดือนก.ย.นี้ อยู่ในสัดส่วน 50 ต่อ 50 แบ่งเป็น ฝ่ายที่ขอรอดูสาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญสุดท้ายที่ กมธ.ยกร่างฯ จะส่งมาให้สปช. ในวันที่ 23 ส.ค. ก่อนตัดสินใจจะให้ความเห็นชอบ กับฝ่ายที่ตัดสินใจไม่เห็นชอบไปแล้ว ด้วยเหตุผลทางการเมืองเป็นหลัก โดยไม่สนใจสาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญ อย่างไรก็ตาม เวลาที่ยังเหลืออีก 1 เดือนเศษก่อนลงมติ สปช.จะรอดูว่าทิศทางการเมืองเป็นอย่างไร เพราะต่อให้สาระสำคัญของรัฐธรรม นูญดีแค่ไหน แต่หากฝ่ายการเมืองที่ไม่ได้มีแค่รัฐบาล แต่ยังรวมถึงพรรคการเมือง และกลุ่มการเมืองมวลชน มาดึงไม่ให้เอาด้วย ผลสุดท้ายร่างรัฐธรรมนูญไม่น่าจะผ่านความเห็นชอบของสปช.
วัฒนา จี้รัฐบาลรีบคืนอำนาจ
นายวัฒนา เมืองสุข อดีตรมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) และแกนนำพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงสหรัฐอเมริกาคงสถานะเรื่องค้ามนุษย์ของไทยไว้ที่เทียร์ 3 ว่า ในฐานะคนไทยที่ถูกยึดอำนาจโดยไม่เต็มใจ เห็นว่าไม่มีใครดีใจหรือสะใจกับการที่สหรัฐยังคงระดับไทยอยู่ในระดับต่ำสุด เพราะเป็นความเสียหายของประเทศชาติ และสหรัฐ สหภาพยุโรป (อียู) อาจใช้เป็นเหตุอ้างไม่ซื้อสินค้าจากไทย การส่งออกจะยิ่งเสียหายหนักขึ้น หลังถูกตัดจีเอสพีทางการค้าก่อนหน้านี้
นายวัฒนา กล่าวว่า ปัญหาการค้ามนุษย์เกิดขึ้นมานาน เมื่อเข้ามายึดอำนาจและตั้งรัฐบาลเท่ากับอาสาเข้ามาแก้ปัญหาของประเทศ ถ้าแก้ปัญหาไม่ได้จะต้องรับผิดชอบ ไม่ใช่โทษคนอื่นแบบที่ทำอยู่ ส่วนการแก้ตัวว่าพยายามแก้ปัญหาอย่างเต็มที่นั้น ถามว่าไม่รู้จริงหรือแกล้งไม่รู้ว่าเป็นตัวปัญหา เพราะเป็นรัฐบาลที่มาจากการยึดอำนาจที่ทั่วโลกรังเกียจ หากเป็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง จะได้รับโอกาสและความช่วยเหลือในการแก้ปัญหา
นายวัฒนากล่าวว่า ผลจากการยึดอำนาจจะทำให้สหรัฐและอียูใช้มาตรการต่างๆ มากดดันหลายเรื่องเพื่อให้คืนอำนาจให้ประชาชน ทั้งประมงผิดกฎหมาย เรื่องมาตรฐานการบินที่หากอียูให้ใบแดงหมายถึงการงดนำเข้าสินค้าประมงจากไทยทุกชนิด เราจะสูญเสียรายได้ไม่ต่ำกว่าปีละ 30,000 ล้านบาท การบินไทยคงเจ๊ง ถ้าสหรัฐและอียูใช้เป็นข้ออ้างห้ามการบินไทยไปลงจอดในสนามบินของกลุ่มประเทศเหล่านี้ สรุปแล้วการยึดอำนาจทำลายเศรษฐกิจของประเทศในทุกด้าน ทำไมจึงไม่รีบคืนอำนาจให้ประชาชน และไม่คิดเสียสละให้กับประเทศเพื่อเป็นตัวอย่างกับเด็กบ้าง
ชี้"เทือก"แถลง-โยงปมการเมือง
วันที่ 2 ส.ค. สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต สำรวจความเห็นของประชาชนทั่วประเทศ 1,106 คน วันที่ 30 ก.ค.-1 ส.ค. เรื่องคิดอย่างไรกับกรณีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ แถลงเปิดตัวมูลนิธิมวลมหาประชาชนเพื่อการปฏิรูปประเทศไทย โดยพบว่าร้อยละ 77.85 เห็นว่าการเคลื่อนไหวใดๆ ขอให้นึกถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติและส่วนรวมเป็นสำคัญ ร้อยละ 73.42 ไม่อยากให้เป็นเกมการเมืองเพราะจะทำให้บ้านเมืองวุ่นวาย
นอกจากนี้ ร้อยละ 79.74 ระบุการแถลงข่าวของนายสุเทพ เกี่ยวข้องกับการเมือง เพราะมีเรื่องสนับสนุนการปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง ร้อยละ 16.46 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 3.80 เชื่อว่าไม่เกี่ยวข้อง เพราะเป็นสิทธิชอบธรรมที่ทำได้ ทั้งนี้ ร้อยละ 51.28 เชื่อว่าการแถลงดังกล่าวทำให้การเมืองไทยร้อนแรงขึ้น เป็นการท้าทายรัฐบาลและคสช. ร้อยละ 34.62 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 14.10 เชื่อว่าเหมือนเดิม เพราะขณะนี้มีคสช.และรัฐบาลทหารควบคุมดูแล ไม่น่าเกิดเหตุรุนแรงหรือเคลื่อนไหวสร้างความวุ่นวายให้บ้านเมือง
ร้อยละ 60.76 รู้สึกเฉยๆ ต่อการแถลงข่าวของนายสุเทพ เพราะเป็นเรื่องปกติทางการเมือง มีตัวแทนของคสช.ดูแล มีมาตรา 44 คอยควบคุม ขณะที่ร้อยละ 31.65 ไม่พอใจกับการแถลงข่าวดังกล่าว เพราะสถานการณ์บ้านเมืองขณะนี้ไม่ควรออกมาเคลื่อนไหวหรือสร้างกระแสให้กับสังคม อาจมีผู้ไม่หวังดีใช้โจมตีรัฐบาล สร้างความแตกแยกมากกว่า ร้อยละ 7.59 พอใจเพราะการแถลงเป็นไปด้วยดี ไม่พูดพาดพิงเรื่องการเมือง เน้นการ ทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม และสนับสนุนการทำงานของรัฐบาล
เมื่อถามว่า อยากให้พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯและคสช.ทำอย่างไรกับสถานการณ์ในปัจจุบัน พบว่าร้อยละ 80.38 อยากให้เร่งแก้ปัญหาเศรษฐกิจโดยเฉพาะปากท้องของประชาชน ร้อยละ 72.77 อยากให้ดำเนินการตามโรดแม็ป ร้อยละ 70.89 อยากให้ใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด ควบคุมไม่ให้มีการเคลื่อนไหวทางการเมือง ร้อยละ 60.53 อยากให้ปฏิบัติต่อกลุ่มการเมืองต่างๆ "ภายใต้มาตรฐานเดียวกัน และร้อยละ 59.25 อยากให้ขจัดปัญหาการทุจริตและผู้มีอิทธิพลให้หมดไป