WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Aเชฟต


วิษณุชี้ 4 ทางรธน.
บิ๊กตู่ไม่ภูมิใจ'นายกฯปฏิวัติ'

         หากรัฐธรรมนูญใหม่ไม่ผ่านประชามติ รองนายกฯ'วิษณุ เครืองาม'แย้ม 4 ทางเลือก เผยคิดไว้แล้วแต่พูดออกมาไม่ได้ เตรียมเสนอครม.นัดหน้าชงข้อเสนอแก้ไขร่างรธน.ร่างแรก ด้าน'บวรศักดิ์'ระบุกมธ.ยกร่างฯยังไม่คิดแก้ไขใดๆ จนกว่าจะได้รับข้อเสนอจากสปช.-รัฐบาล เผยถ้าหากล้มไปจะไม่กลับมาใหม่อีกแล้ว ด้าน "บิ๊กตู่"เตรียมเปิดใจครบ 1 ปีรัฐประหารวันนี้ ลั่นไม่ใช่ความภาคภูมิใจที่ต้องมาทำหน้าที่ นายกฯ แต่พอใจผลงานที่ได้ปฏิบัติทำตามหน้าที่ ที่เหลือยกให้ประชาชนประเมิน

 

บิ๊กตู่โชว์เมนูเบอร์เกอร์ปลาร้า

       เมื่อเวลา 09.15 น. วันที่ 20 พ.ค. ที่ศูนย์การประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ อิมแพ็ค เมืองทองธานี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นประธานเปิดงานประชุมผู้ค้าข้าวโลก Thailand Rice Convention 2015 พร้อมกล่าวปาฐกถาในหัวข้อ "ยุทธศาสตร์ด้านการตลาดข้าวและนโยบายการค้าข้าวของไทย"

 

วันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 ปีที่ 25 ฉบับที่ 8940 ข่าวสดรายวัน

เชฟตู่ - พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ โชว์ฝีมือทำเบอร์เกอร์ปลาร้าบอง โดยมีเชฟชุมพล แจ้งไพร เชฟกระทะเหล็กคอยเป็น ลูกมือ ระหว่างเป็นประธานประชุมผู้ค้าข้าวโลก ที่อิมแพ็ค เมืองทองธานี เมื่อวันที่ 20 พ.ค.

      ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากนั้นพล.อ.ประยุทธ์เดินชมบูธภายในงาน โดยในบูธสุดท้าย นายกฯ ได้โชว์ฝีมือทำเบอร์เกอร์ปลาร้าบอง ซึ่งทำจากเนื้อวัวไทย-วากิว ที่แปรรูปจากข้าวไทย โดยมี เชฟชุมพล แจ้งไพร เชฟกระทะเหล็ก คอยดูแล โดยนายกฯ ตกแต่งเบอร์เกอร์ในจานเป็นรูปทรงตั้ง พร้อมระบุว่าดูวิธีจากทีวี และให้ชื่อว่า เบอร์เกอร์ภูเขาไฟโวลคาโน่ ขอให้ช่วยกันอุดหนุนอาหารไทย และจะเปิดร้านเบอร์เกอร์ที่ทำเนียบรัฐบาล 

      ผู้สื่อข่าวแซวว่าพูดแล้วต้องทำ นายกฯ ตอบว่าเวลาคนอื่นพูดแล้วไม่ทำ ทำไมไม่พูด พวกดีแต่พูด จากนั้นนายกฯ ได้ชิมเบอร์เกอร์ แล้วบอกว่ารสชาติปลาร้านำไปหน่อย เบอร์เกอร์ ต้องไม่เผ็ดมาก ตอนเช้าต้องกินขนมปังทาเนย ซื้อมาจากร้านที่ขายตามห้างสรรพสินค้า ต้องกินทุกวันเพราะทำง่ายและเร็ว ขณะที่เชฟชุมพล บอกว่าจะนำเบอร์เกอร์มาให้ครม.ชิม ในวันที่ 26 พ.ค. ก่อนที่จะเปิดร้านขาย และได้ให้นายกฯ เซ็นลายเซ็นที่ผ้ากันเปื้อน เพื่อใส่กรอบติดไว้ที่โรงเรียนสอนทำอาหารด้วย

 

ปลื้มดันราคายางมาที่ก.ก.ละ 56 บ.

ต่อมาเวลา 15.20 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ให้สัมภาษณ์ภายหลังเป็นประธานประชุมคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ ครั้งที่ 2/2558 ถึงแผนการช่วยเหลือเกษตรกรในเรื่องราคาพืชผลการเกษตรตกต่ำ โดยเฉพาะข้าวและยางพาราว่า ราคายางขึ้นแล้ว เกษตรกรชาวสวนยางก็พอใจ ราคาอยู่ที่กิโลกรัมละ 56 บาท ซึ่งปรับขึ้นราคามากกว่าที่คาดการณ์ไว้ จาก 53 บาทเป็น 56 บาท น่าจะดีขึ้น 

นายกฯ กล่าวว่า วันนี้ต้องไม่พูดถึงราคาขายราคาซื้อ แต่ต้องพูดถึงการปรับโครงสร้างการเกษตรทั้งหมด เรื่องข้าวก็พูดแล้วว่า ต้องปรับทั้งระบบ เกษตรกรต้องปรับตัวเอง การปรับโครงสร้างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต้องทำงานร่วมกันระหว่างภาคเอกชนกับ ภาครัฐ ทุกอย่างต้องไปพร้อมกัน

 

ครบ 1 ปี-ปฏิวัติพอใจทำหน้าที่

เมื่อถามถึงการประเมินสถานการณ์ครบรอบ 1 ปีของการเข้ามาทำงานของคสช. นายกฯ กล่าวว่า เดี๋ยววันที่ 22 พ.ค.ค่อยพูด ที่ผ่านมามีการประเมินสถานการณ์ทุกสัปดาห์และวันที่ 22 พ.ค.นี้จะแถลงความก้าวหน้า อีกที ขณะนี้ต้องขอบคุณประชาชน ไม่ใช่ ผลงานของตน ไม่ใช่ความภาคภูมิใจของตนเลยที่ต้องมาทำหน้าที่ตรงนี้

"ผมขอบคุณทุกคนที่เข้าใจสถานการณ์ของประเทศชาติ เว้นแต่บางคนบางพวก ไม่เข้าใจ ก็พิจารณากันเอาเองว่าควรทำอย่างไร ต่อไป ประเทศชาติจะไปอย่างไร วันนี้สิ่งสำคัญ คือการรักษาความสงบเรียบร้อย เดินหน้าประเทศ แก้ปัญหาเร่งด่วน จัดการบริหารระเบียบการใช้จ่ายงบประมาณ ไม่ให้ซ้ำซ้อนหรือรั่วไหล นี่คือสิ่งที่ท่านต้องประเมินให้ผม สำหรับผม ประเมินของผมว่าพอใจ แต่ไม่ใช่ความภาคภูมิใจ" พล.อ.ประยุทธ์กล่าว

ผู้สื่อข่าวถามว่าพอใจในด้านใดบ้าง นายกฯ กล่าวว่า ทุกด้าน เมื่อถามว่าสิ่งที่บอกว่าไม่ภาคภูมิใจคือจุดใด พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า ความไม่ภาคภูมิใจคือทำไมต้องให้ตนมาอยู่ตรงนี้ ทำไมไม่ทำกัน ก็เลือกตั้งกันมาไม่ใช่หรือ 

จากนั้นนายกฯ ได้เดินออกจากวงให้สัมภาษณ์ทันที เมื่อผู้สื่อข่าวพยายามจะถามต่อ พล.อ.ประยุทธ์ยกมือโบกปฏิเสธก่อนเดินขึ้นไปยังห้องทำงานบนตึกไทยคู่ฟ้าทันที

 

วิษณุเผยครม.นัดหน้าถกแก้รธน.

ก่อหน้านี้ เมื่อเวลา 09.30 น.ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวิษณุ เครืองาม รองนายกฯ กล่าวถึงการประชุมครม.วาระพิเศษ วันที่ 25 พ.ค.นี้ เพื่อพิจารณาคำขอแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญว่า การประชุมครม.วันที่ 19 พ.ค. ได้รายงานถึงคำขอแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญไปแล้ว 80 เปอร์ เซ็นต์ แต่ความเห็นยังไม่ครบ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯและหัวหน้าคสช. เห็นว่าควรพิจารณาเพิ่มเติม ตนจึงเตรียมข้อมูลไว้ชี้แจงที่ประชุม หากความเห็นตรงกันไม่มีปัญหา ถ้ามีความเห็นเพิ่มเติมจะรวบรวม ไปอยู่ในคำขอแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ คิดว่า จะส่งคำขอแก้ไขได้ทันวันที่ 25 พ.ค.นี้ เรื่องนี้ ครม.จำเป็นต้องพิจารณาเพื่อเป็นความเห็นทั้งหมดในนามครม. 

 

นายวิษณุกล่าวว่า ความเห็นที่เสนอมานั้นแบ่งได้ 3 กลุ่มคือ กลุ่มขอแก้ถ้อยคำ ที่เป็นเรื่องเล็กน้อย กลุ่มที่เห็นว่าบางถ้อยคำไม่ควรอยู่ในมาตรานั้นๆ และกลุ่มขอแก้ไขในหลักการใหญ่ เช่น การให้สิทธิเลือกตั้งในกลุ่มการเมือง รวมทั้งมาตรา 181,182 สมควรให้ปลัดกระทรวงรักษาการกรณีไม่มีรัฐมนตรีหรือไม่ ซึ่งถือเป็นเรื่องใหญ่ จึงให้ความเห็นว่าควรจะตัดทิ้งหรือไม่

"การแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวนั้น เดินหน้าไป 50 เปอร์เซ็นต์แล้วที่จะไปสู่การทำประชามติ แต่เราเผื่อไว้ว่าถ้าคนพอใจแล้วไม่เรียกร้อง ไม่อยากได้ และถ้าต่อต้านการลงประชามติ เราจะได้ถอยหลังได้ ผมตอบไม่ได้ว่าถ้าแก้ไขแล้วจะต้องทำประชามติอีกหรือไม่ เพราะไม่ได้อยู่ที่รัฐบาล แต่อยู่ที่ประชาชนและคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ บางที เขาแก้แล้วเป็นที่พอใจของคนที่ออกมาต่อต้าน แต่พลังเงียบในตอนแรกที่พอใจ เมื่อไปแก้แล้วอาจไม่พอใจก็ได้ ดังนั้นอยู่ที่กมธ.และประชาชน" นายวิษณุกล่าว

 

แย้ม 4 ทางออกถ้าประชามติไม่ผ่าน

เมื่อถามว่าใครจะเป็นคนตัดสินใจว่าจะทำประชามติหรือไม่ นายวิษณุกล่าวอีกว่า ต้องตั้งหลักที่แก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว เปิดทางให้ทำประชามติได้ก่อน ส่วนจะทำประชามติหรือไม่และใครจะเป็นผู้ตัดสินใจไม่นั้น ไม่ใช่เรื่องยุ่งยาก ซึ่งการแก้ไขต้อง ไม่เขียนล็อกไว้ 

ผู้สื่อข่าวถามว่าจะมีแนวทางใดรองรับหากทำประชามติแล้วไม่ผ่าน รองนายกฯกล่าวว่า มีแนวทางอยู่แล้ว และต้องเขียนไว้ในร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญชั่วคราว ตนมีคำตอบอยู่แล้ว แต่พูดไม่ได้ เพราะยังไม่ถึงเวลาต้องเลือกและยังอยู่ในกระบวนการปรึกษากับหลายฝ่าย ที่จริงมีกระบวนการไว้อยู่แล้ว อาทิ 1.กลับไปตั้งสภาปฏิรูปแห่งชาติ(สปช.)และกมธ.ยกร่างฯขึ้นใหม่ 2.อาจตั้งกมธ.หรือคณะกรรมการขึ้นมาร่างใหม่โดยไม่มีสปช. 3.มอบให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เป็นผู้จัดการ และ 4.ให้องค์กรหนึ่งหรือหลายองค์กร เช่น ครม.ร่วมกับองค์กรใดก็ได้ เสนอให้นำรัฐธรรมนูญฉบับใดฉบับหนึ่งขึ้นมาบังคับใช้ ซึ่งยังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะใช้ทางใดเพราะแต่ละ ทางมีข้อเสียอยู่

 

"อ.ปื๊ด"รอข้อเสนอแก้ไขร่างสอง

ที่รัฐสภา นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธาน กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงกรณีที่ครม. มีมติเห็นชอบให้ขยายเวลาให้กมธ.ยกร่างฯ พิจารณาข้อเสนอแนะแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญจากเดิม 60 วัน เป็น 90 วัน ว่ากรณีดังกล่าวกมธ.ยกร่างฯ ไม่ได้เป็นคน เสนอไป เข้าใจว่าครม.คงเห็นว่ากระบวนการยกร่างฯ เป็นเรื่องที่ฉุกละหุก จึงได้เสนอให้แก้ไขเพิ่มระยะเวลา ทั้งนี้ ระยะเวลา 60 วัน ตามกำหนดการเดิมกมธ.ยกร่างฯ จะต้องพิจารณาแบบไม่มีวันหยุด น่าจะเป็นเหตุผลที่ครม.เห็นว่าจะต้องแก้ไขเพื่อขยายเวลา ซึ่งต้องรอดูว่าสนช.จะเห็นด้วยกับการขยายระยะเวลาไปอีก 30 วันหรือไม่ หากมีการขยายเวลา จะทำให้กระบวนการทุกอย่างต้องเลื่อนออกไปจากกำหนดการเดิม ส่วนจะกระทบต่อวันลงมติรับร่างฯ ของสปช.ในวันที่ 6 ส.ค. หรือไม่นั้น ตนไม่ทราบ เพราะครม.อาจเปลี่ยนใจไม่ขยายเวลาการทำงานให้กับกมธ.ยกร่างฯ ก็ได้ 

นายบวรศักดิ์กล่าวว่า ขณะนี้กมธ.ยกร่างฯ ยังไม่มีการหารือว่าจะแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญประเด็นใด เนื่องจากยังอยู่ระหว่างรอคำขอแก้ไขจากสปช. คสช. และครม. การที่กมธ.ยกร่างฯ บางคนออกมาแสดงความเห็นว่าจะมีการแก้ไขบางประเด็น ยืนยันว่าเป็นความเห็นส่วนตัว ไม่ใช่มติของที่ประชุมกมธ.ยกร่างฯ แต่อย่างใด เพราะสิ่งสำคัญในการแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญจำเป็นต้องได้รับคำขอแก้ไข ที่ถูกต้องมาก่อน จะพูดลอยๆ ไม่ได้ เหมือนกับยังไม่เห็นน้ำไปตัดกระบอก ไม่เห็นกระรอก ไปโก่งหน้าไม้ ดังนั้น อย่าเพิ่งมาถามว่าจะแก้อะไร

 

ย้ำที่ออกมาพูดไม่ใช่มติของกมธ.

ผู้สื่อข่าวถามว่ากมธ.ยกร่างจะเตรียมความพร้อมในการจัดทำประชามติหรือไม่ นายบวรศักดิ์กล่าวว่า ยังไม่มีอะไรต้องเตรียม เพราะต้องเตรียมร่างรัฐธรรมนูญให้เสร็จก่อน เมื่อร่างสุดท้ายเสร็จแล้ว และสปช.ให้ความเห็นชอบ ค่อยมาพูดกัน แต่หากสปช.ไม่เห็นชอบก็ไม่ต้องเตรียมอะไรทั้งนั้น เนื่องจากต้องตั้งสปช.และกมธ.ยกร่างฯ ขึ้นมาใหม่ทั้งหมด และตนจะไม่กลับมาแล้ว เมื่อถามว่า ขณะนี้มีสปช.บางคนออกมาแสดงท่าทีเสนอให้คว่ำร่างรัฐธรรมนูญ นายบวรศักดิ์ กล่าวว่า เป็นความเห็นของสปช.แต่ละคน ตนก็เคารพ เนื่องจากเป็นเอกสิทธิ์ที่จะแสดงความเห็นออกมา แต่ถ้าไม่เห็นชอบต้องรู้ผลว่าจะเกิดอะไรขึ้น ต้องเริ่มกระบวนการใหม่ ใช้เวลาอีกเกือบปี 

ด้านนายวุฒิสาร ตันไชย โฆษกกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ แถลงภายหลังการประชุมว่า ที่ประชุมเห็นชอบกำหนดการเสนอคำขอแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญของสปช. 8 คำขอ และครม. 1 คำขอ เข้าชี้แจงต่อกมธ.ยกร่างฯ วันที่ 2-7 มิ.ย. ให้ส่งตัวแทนเข้ามาชี้แจงไม่เกิน 5 คน และใช้เวลาไม่เกิน 3 ชั่วโมงต่อ 1 คำขอ ซึ่งกมธ.ยกร่างฯ จะนำทุกความคิดเห็นไปพิจารณาอย่างรอบคอบและมีเหตุผล เพื่อพิจารณาปรับปรุงแก้ไขภายใน 60 วัน ยืนยันว่ากมธ.ยกร่างฯ ยังไม่มีมติใดๆ ว่าจะปรับเปลี่ยนในมาตราใดบ้าง ที่ผ่านมาเป็นเพียง การแสดงความคิดเห็นส่วนบุคคลของกมธ. ยกร่างฯ แต่ละคนเท่านั้น 

นายวุฒิสารกล่าวว่า พรรคการเมืองสามารถ ยื่นคำขอแก้ไขร่างได้ ผ่านอนุกมธ.ต่างๆ รวมทั้งอนุกมธ.รับฟังความคิดเห็นด้วย ส่วนการทำประชามติ กมธ.ยกร่างฯ ได้ทำหนังสือชี้แจงแล้วว่าสาระสำคัญในการเห็นควรให้ทำประชามติมีเหตุผลอะไรบ้าง ส่วนขั้นตอนการทำประชามติ ขึ้นอยู่กับสนช. เพราะกมธ. ยกร่างฯ ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องโดยตรง

 

เทียนฉายชี้สัญญาณดีมีประชามติ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ กล่าวถึงครม.และคสช. มีมติให้แก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว 2557 เพื่อเปิดให้ทำประชามติว่า เป็นสัญญาณที่ดี ซึ่งการแก้ไขรัฐธรรมนูญมีกติกากำหนดว่าต้องส่งให้ สนช. พิจารณาเห็นชอบภายใน 15 วัน นับแต่วันที่รับร่างแก้ไข ส่วนตัวมองว่าเมื่อมีมติให้แก้รัฐธรรมนูญได้แล้ว ควรพิจารณาแก้ไขเผื่อไว้ เพื่อไม่ให้เกิดข้อจำกัด โดยเฉพาะ การใช้อำนาจสั่งการทางปกครองตามมาตรา 44 กำหนดไว้ 

นายเทียนฉายกล่าวว่า ยอมรับว่าการใช้ คำสั่งตามมาตรา 44 เพื่อแก้ปัญหาที่สถาน การณ์ปกติทำได้ยาก หรือล่าช้า เช่น แก้ปัญหาโรฮิงยา การย้ายข้าราชการระดับสูง แต่เห็นว่าการแก้ปัญหาในทางปกครอง ควรเน้นทำระบบและกลไกที่เหมาะสมและปรับให้พอดี ซึ่งการใช้คำสั่งพิเศษสั่งในการปกครอง ถึงแม้จะแก้ไขปัญหาได้รวดเร็วแต่ในที่สุดจะเป็นสิ่งที่ทำลายรากฐานประชาธิปไตย ซึ่งการสร้างประชาธิปไตยใหม่ควรทำให้เกิดระบบและตามหลักการประชาธิปไตย

นายเทียนฉายกล่าวว่า ส่วนจะตัดสินใจ ทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญใหม่หรือไม่ ต้องติดตามดู ขณะที่สปช.ต้องมีภาระงานเพิ่มเติมคือ การลงพื้นที่ให้ความรู้และความเข้าใจกับประชาชนในร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เบื้องต้น อาจหารือกับสมาชิกสปช.อีกครั้ง ตนมองว่าการลงพื้นที่ต้องเน้นสร้างความเข้าใจและตอบข้อซักถามประชาชนมากกว่าการชี้นำ ว่าให้รับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ เพราะหากมีการชี้นำอาจถูกยกไปโจมตีได้ ส่วนงานด้านปฏิรูป สปช.ยังเดินหน้าตามกรอบเวลาที่กำหนด ไว้และไม่ถือว่าสปช.ได้รับการขยายเวลาเพิ่มเติมแต่อย่างใด

 

พท.จี้เอาให้ชัด-ไม่ผ่านใช้ร่างใด

นายพีระศักดิ์ พอจิต รองประธานสนช. คนที่ 2 กล่าวถึงกรณีป.ป.ช.เตรียมส่งสำนวนคดีถอดถอน 250 อดีตส.ส. กรณีการแก้ไขรัฐธรรมนูญประเด็นที่มาของ ส.ว.โดยมิชอบ มายังสนช.ว่า สนช.ยังไม่ได้รับสำนวนดังกล่าว จากป.ป.ช. หากได้รับจะบรรจุเป็นวาระ เพื่อเข้า สู่การพิจารณาถอดถอนต่อไป 

เมื่อถามว่าทราบเรื่องที่ป.ป.ช.เตรียมตั้งแท่น ไต่สวนคดีอาญาอดีตส.ส. 310 คน กรณีลงมติเห็นชอบร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมหรือไม่ นายพีระศักดิ์กล่าวว่า ไม่ทราบว่าป.ป.ช.จะดำเนินการอย่างไร เป็นเรื่องที่ป.ป.ช.ต้องพิจารณา แต่เรื่องดังกล่าวไม่เกี่ยวข้องกับสนช. เพราะพิจารณาคดีอาญา 

ด้านนายสามารถ แก้วมีชัย อดีตส.ส.เชียง ราย พรรคเพื่อไทย กล่าวถึงนายวิษณุ เตรียม 4 แนวทางไว้กรณีการทำประชามติไม่ผ่านว่า ที่นายวิษณุระบุว่า 1.ล้มทั้งกมธ.ยกร่างฯ และสปช.แล้วตั้งใหม่นั้น เป็นไปตามรัฐธรรมนูญชั่วคราวซึ่งใช้เวลานาน 2.ให้มีแค่กมธ. ยกร่างฯ ไม่ต้องมี สปช.ก็ต้องใช้เวลายาวอีก 3.ให้ สนช.เป็นผู้ดำเนินการนั้นคงใช้เวลายาวนานพอกัน แค่เปลี่ยนคนร่างเท่านั้น และ 4.ที่ให้ครม.ร่วมกับองค์กรหนึ่งพิจารณาหยิบเอารัฐธรรมนูญฉบับใดฉบับหนึ่งมาใช้ ซึ่ง 3 ช่องทางหลังต้องไปเขียนรัฐธรรมนูญชั่วคราวใหม่ จึงจะทำได้ จึงไม่ใช่เรื่องการทำประชามติ แล้ว แต่เป็นการเสนอทางเลือกอื่นขึ้นมา เพื่อให้อยู่ยาว ดังนั้นเมื่อ ครม. และคสช. มีมติให้ทำประชามติ ก็เขียนให้ชัดเจนเลยว่าถ้าประชาชนไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ จะเอาร่างใดมาใช้แทน ควรระบุให้ชัดไปเลย

 

สดศรีแนะแก้รธน.เกณฑ์ประชามติ

ด้านนางสดศรี สัตยธรรม อดีตคณะกรรม การการเลือกตั้ง(กกต.) ด้านกิจการพรรค การเมืองและการออกเสียงประชามติ กล่าวถึงกรณีที่นายวิษณุกำหนดให้กกต.รับผิดชอบออกระเบียบกกต. เพื่อให้การทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่สามารถปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ 2552 ได้อย่างเรียบร้อย ว่าประเด็นที่จะเป็นปัญหาคือ มาตรา 9 ของพ.ร.บ.การออกเสียงประชามติ ที่กำหนดเกณฑ์ คะแนนให้ความเห็นชอบว่า คสช.และครม.จะใช้ตามวรรคไหน โดยวรรคแรกกำหนดให้ การทำประชามติเพื่อหาข้อยุติจะต้องมีผู้มาลงคะแนนเกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง และใช้เสียงเห็นชอบเกินกึ่งหนึ่งของผู้มาออกเสียง หมายความว่าผู้มีสิทธิเลือกตั้งมี 47 ล้านคน จะต้องมีผู้มาใช้สิทธิ 23.5 ล้านคน และจะต้องมีเสียงเห็นชอบ 11.75 ล้านคน รัฐธรรมนูญจึงจะได้รับความเห็นชอบ ส่วนวรรคสองกำหนด ให้ ใช้เพียงเสียงข้างมากของผู้มาใช้สิทธิ สำหรับ กรณีที่ทำประชามติ ตามมาตรา 168 ของรัฐธรรมนูญ 2550 เพื่อขอเป็นคำปรึกษาให้ครม. 

นางสดศรีกล่าวว่า หากจำได้ประเด็นดังกล่าวนี้เคยมีปัญหาการตีความกันอย่างกว้างขวาง ในระหว่างสมัยรัฐบาลพรรคเพื่อไทยที่ต้องการจะทำประชามติ เพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ ทั้งฉบับ ตามมาตรา 291 ของรัฐธรรมนูญ 2550 จึงน่าสังเกตว่าทำไมคสช.และครม.ถึงไม่แก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราวตามมาตรา 46 เพื่อกำหนดเกณฑ์การนับเสียงประชามติ หรือสั่งให้สนช.ที่เป็นฝ่ายนิติบัญญัติแก้ไขกฎหมาย ลูกฉบับนี้หลังจากแก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราวให้ชัดเจนในคราวเดียว ว่าจะให้ใช้เกณฑ์การนับคะแนนไหน เพื่อให้การออกเสียงประชามติ เรียบร้อย แต่กลับโยนให้กกต.ออกระเบียบแก้พ.ร.บ.การออกเสียงประมติพ.ศ.2552 ซึ่งกกต.ไม่สามารถออกกฎระเบียบมาแก้กฎหมายได้ เนื่องจากระเบียบมีศักดิ์ต่ำกว่ากฎหมาย 

 

ชี้ให้กกต.ออกระเบียบ-เสี่ยงถูกฟ้อง

อดีตกกต.กล่าวว่า กรณีดังกล่าวนี้ยังคล้ายกับการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับ 2550 ในส่วนของการเลือกตั้ง ให้เป็นเขตเดียวเบอร์เดียวและให้กลับมาใช้ประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง สมัยรัฐบาลประชาธิปัตย์ ที่ตอนแรกออกมาระบุว่า ให้กกต.แก้ไขระเบียบ ซึ่งตนได้คัดค้านว่าทำไม่ได้ เพราะผิดกฎหมาย การแก้ไขกฎหมายไม่ว่าจะเป็นรัฐธรรมนูญ หรือพ.ร.บ.จะต้องเป็นอำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติ ก่อนที่สภาผู้แทนราษฎรจะนำไปแก้ไขตามแนวทางในที่สุด 

"หากกกต.ดำเนินการออกระเบียบแก้ไขกฎหมายนี้ ในมาตรา 9 เพื่อจะละเว้นวรรคใดวรรคหนึ่ง จึงถือว่าเป็นเรื่องเสี่ยงอันตรายอย่างยิ่ง เพราะกกต.ไม่มีหลักประกันเลยว่า จะไม่ถูกฟ้องร้องในภายหลัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีรัฐบาลชุดใหม่ที่ไม่มีใครสามารถคุ้มครองกกต.ได้ จึงอยากเตือนกกต.ชุดนี้ให้ระมัดระวังในการดำเนินการ เพราะขนาดสมัยหนึ่งกกต.สั่งหันคูหาออกนอกหน่วยเลือกตั้ง กกต.ยังเคยถูกตัดสินจำคุกมาแล้ว ทั้งที่ไม่มีกฎหมายกำกับไว้ แต่สำหรับกรณีนี้สามารถเห็นได้อย่างชัดเจน" นางสดศรีกล่าว 

 

ถ้าใช้มาตรา 9-เชื่อรธน.ไม่ผ่าน

นางสดศรีกล่าวอีกว่า ส่วนตัวเห็นว่าเกณฑ์การนับคะแนนเสียงสำหรับการทำประชามติรัฐธรรมนูญชั่วคราวฉบับนี้จะต้องใช้มาตรา 9 วรรคแรกของพ.ร.บ.การออกเสียงประชามติ เนื่องจากกฎหมายสูงสุดจำเป็นต้องหาข้อยุติ สอดคล้องกับการที่สปช.และกมธ.ยกร่างฯเคยให้ความเห็นไว้ แต่จะใช้วรรคสองที่ใช้คะแนน เพียงเสียงข้างมากของผู้มาใช้สิทธิตามมาตรา 168 ของรัฐธรรมนูญ 2550 ไม่ได้ เนื่องจากกฎหมายฉบับนี้ถูกยกเลิกไปแล้ว แต่ขึ้นอยู่กับคสช.และครม.ว่าจะกำหนดเกณฑ์เป็นอย่างไร มีความต้องการให้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ผ่านการเห็นชอบหรือไม่ 

นางสดศรีกล่าวต่อว่า หากทำประชามติตามมาตรา 9 วรรคแรก เชื่อแน่นอนว่ารัฐธรรมนูญนี้จะไม่ได้ประกาศใช้ เพราะขนาด ประชามติรัฐธรรมนูญฉบับ 2550 ที่กำหนดให้ใช้เพียงเสียงข้างมากยังชนะได้แค่ฉิวเฉียด ทั้งยังมีประชาชนออกมาใช้สิทธิไม่ถึงครึ่งของผู้มีสิทธิด้วย และเมื่อไม่ผ่านการเห็นชอบ ทางคสช.และครม.เคยระบุแล้วว่าต้องอยู่ต่อแล้วตั้งสปช.และกมธ.ยกร่างฯชุดใหม่ขึ้นมาร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรให้แล้วเสร็จ

 

ชพน.แนะฟังความเห็นรอบด้าน

ด้านนายชลิตรัตน์ จันทรุเบกษา สมาชิกพรรคชาติพัฒนากล่าวว่า ทุกฝ่ายควรให้ความร่วมมือแสดงความเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญ บนพื้นฐานเหตุผลและประโยชน์ต่อส่วนร่วม โดยเสนอไปยังกมธ.ยกร่างฯ เราเชื่อมั่นในกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญ แม้จะมีความเห็นต่างกันหลายประเด็นในร่างแรก ขอให้กำลังใจกมธ.ยกร่างฯ เชื่อว่าจะรับฟังความเห็นของทุกฝ่ายและนำไปปรับปรุงให้เกิดการยอมรับต่อไป เมื่อรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ผ่านการลงประชามติและมีการประกาศใช้แล้ว พรรคยินดีจะทำงานการเมืองภายใต้กติกาตามรัฐธรรมนูญใหม่ทุกประการ เพื่อความเรียบร้อย ของบ้านเมือง

 

ปปช.โต้ลั่นตามจิกส.ส.เพื่อไทย

ด้านนายสรรเสริญ พลเจียก เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กล่าวถึงป.ป.ช.มีมติเมื่อ วันที่ 14 พ.ค. ตั้งคณะทำงานไต่สวนข้อเท็จจริงตามที่มีผู้ร้องเรียนกล่าวหานายวรชัย เหมะ อดีตส.ส.พรรคเพื่อไทย พร้อมอดีตส.ส. รวม 310 คน ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ที่ร่วมกันเสนอและให้การรับรองร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดเนื่องจากการชุมนุมทางการเมือง การแสดงออกทางการเมืองของประชาชน พ.ศ.... ในวาระที่ 1 และวาระอื่นๆ ทั้งที่ร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวมีเนื้อหาขัดต่อรัฐธรรมนูญปี 2550 มาตรา 3, 4, 5 และ 122 รวมถึงขัดต่ออนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต ค.ศ.2003 ซึ่งจะส่งผลเสียหายต่อประเทศอย่างร้ายแรงว่า พิจารณา ว่าในฐานะส.ส. ผู้เสนอร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวมีการดึงดันเสนอโดยมิชอบหรือไม่ และดูว่ามีเจตนาในทางส่ออาญาหรือไม่ จึงให้คณะทำงานไปไต่สวนข้อเท็จจริง ไม่ใช่ป.ป.ช.จะไปตามจิกกัด หรือทำอะไรกับกลุ่มคนเหล่านี้อย่างที่ถูกวิจารณ์

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรณีที่มีคำร้องถอดถอนอดีตส.ส. 310 คน เสนอร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมฯ นั้น นายวิชา มหาคุณ กรรมการป.ป.ช. เคยระบุว่า มีการร้องใน 2 กรณีคือ ร้องให้ถอดถอน และกรณีที่เป็นความผิดทางอาญา ซึ่งป.ป.ช.ส่งเรื่องไปยังสนช.ในช่วงกลางเดือนธ.ค.ที่ผ่านมา แจ้งว่าป.ป.ช.เห็นว่าเมื่อรัฐธรรมนูญปี 2550 สิ้นสุดลงแล้ว จึงไม่มีบทบัญญัติรัฐธรรมนูญเป็นมูลฐานการพิจารณา นำไปสู่การถอดถอนออกจากตำแหน่งได้ จึงไม่มีเหตุที่จะไต่สวนข้อเท็จจริงอีกต่อไป มีมติให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบ แต่ในส่วน คดีอาญายังคงต้องไต่สวนต่อไป หากพบว่ามีความผิดทางอาญาก็ต้องส่งเรื่องให้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

 

รบ.จับตากิจกรรมต้าน 1 ปีปฏิวัติ

      ที่ทำเนียบรัฐบาล นายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รมต.ประจำสำนักนายกฯ เปิดเผยถึงการรายงานความเคลื่อนไหวของกลุ่มต่างๆ ในวันครบรอบ 1 ปีการยึดอำนาจวันที่ 22 พ.ค.นี้หรือไม่ว่า ยังไม่พบรายงานเรื่องดังกล่าว อาจมี บางกลุ่มจัดกิจกรรมของเขา แต่ไม่ใช่ออกมาเคลื่อนไหวต่อต้าน ส่วนการเฝ้าระวังนั้นทางการข่าวเขาทำเต็มที่อยู่แล้ว ทั้งเทศกาล ครบรอบหรือไม่ครบรอบ เขาทำอยู่ตลอด

ที่กระทรวงมหาดไทย พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย กล่าวถึงพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ให้สัมภาษณ์รอยเตอร์ถึงการทำงานในรอบ 1 ปีที่ผ่านมาของรัฐบาลทหารภายใต้การนำของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ และหัวหน้า คสช.ว่าไม่น่าประทับใจว่า แล้วแต่พ.ต.ท.ทักษิณ สามารถวิจารณ์ตามความเห็นของตัวเอง แต่ความคิดเห็นของคนไทยส่วนใหญ่ยังพอใจกับผลงาน ของคสช.

 

กสม.ชี้กสท.ละเมิดสิทธิปิดพีซทวี

        วันเดียวกัน คณะอนุกรรมการสิทธิพลเมือง และสิทธิทางการเมือง คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเชิญคู่ขัดแย้งในกรณีการสั่งระงับใบอนุญาตออกอากาศสถานีโทรทัศน์พีซเข้าให้ข้อมูลต่อคณะอนุกรรมการ

หลังการชี้แจงข้อมูล น.ส.นิชชนันทน์ แจ่มดวง หนึ่งในผู้ดำเนินรายการของพีซทีวีกล่าวว่า เจ้าหน้าที่ กสทช.และ กสท.ที่ส่งมาเป็นตัวแทนไม่สามารถตอบคำถามของผู้ถูกร้อง และคณะอนุกรรมการได้ว่าข้อความที่ถูกอ้างว่าเป็นการยุยงปลุกปั่นนั้นมีความผิดจนเข้าข่ายให้ระงับการออกอากาศได้อย่างไร

      ขณะที่นายแพทย์นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ ประธานอนุกรรมการฯ กล่าวว่า หลังจากที่พิจารณาเนื้อหาการชี้แจงจากทั้งสองฝ่ายแล้ว พบว่าเนื้อหาในรายการเป็นเพียงการแสดงความคิดเห็นเท่านั้น ไม่เข้าข่ายที่จะระงับการออกอากาศได้ การกระทำของกสทช.จึงเข้าข่ายการละเมิดเสรีภาพสื่อ

สำหรับขั้นตอนต่อไป อนุกรรมการฯ จะรอคำชี้แจงด้วยเอกสารจากคณะกรรมการ กสท.และ กสทช. นำมาประกอบกับการรับฟัง ข้อเท็จจริงในวันเดียวกันนี้ เพื่อจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์ออกมา ซึ่งตัวแทนจากพีซทีวี จะได้นำไปฟ้องต่อศาลปกครองต่อไป

 

กกต.แนะแนวทำประชามติรธน.

      ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต.ด้านกิจการบริหารงานเลือกตั้งกล่าวถึงการเตรียมทำประชามติว่า ที่ประชุมกกต.มีการหารือเบื้องต้น แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ การทำประชามติ และการรณรงค์เผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งการทำประชามติ ต้องมีผู้ออกเสียงประชามติมากกว่าครึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิออกเสียง คือหากมีประชาชนมีสิทธิออกเสียง 40 ล้านคน ต้องมีผู้ไปลงคะแนนกว่า 20 ล้านคน ผลที่ออกมาจะใช้เสียงข้างมาก ทั้งนี้ ผลที่ออกมาถือว่าผูกพันรัฐบาล

     นายสมชัย กล่าวว่า หากทำประชามติจริง รัฐบาลและคสช.ต้องออกประกาศเพื่อให้จัดเวทีแสดงความคิดเห็นได้ ตนจะเสนอกกต.พิจารณาให้องค์กรหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งที่เห็นต่างและเห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญ มาจดทะเบียนกับกกต.เพื่อขอรณรงค์ ซึ่งจะควบคุมไม่ให้มีการเมืองเข้ามาแอบแฝง กลุ่มดังกล่าวต้องแสดงที่มา งบประมาณ หรือแนวทางกับกกต. และบางส่วนอาจของบสนับสนุนจาก กกต.ในการรณรงค์ได้ด้วย 

 

ให้กกต.เลื่อนเลือกตั้งได้-ตัดกจต. 

     ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กกต.ได้ส่งข้อเสนอแนะแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญไปยังครม.และคสช. เป็นเอกสาร 24 หน้า รวม 8 ประเด็น ประกอบด้วย

1.เสนอให้กกต.มีอำนาจประกาศงดการเลือกตั้งตามพระราชกฤษฎีกาแล้วให้กำหนดวันเลือกตั้งใหม่ โดยให้นายกฯเสนอพ.ร.ฎ. ตามที่กกต.เสนอ เพื่อป้องกันเวลาเกิดปัญหาที่ทำให้การเลือกตั้งไม่เป็นวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร และให้กกต.กำหนดวันลงคะแนนในหน่วยเลือกตั้งนั้นใหม่ได้ รวมทั้งมีอำนาจไม่จัดให้ลงคะแนนในหน่วยเลือกตั้งนั้น หากเห็นว่าจำนวนหน่วยเลือกตั้งและผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะไม่ทำให้ผลการเลือกตั้งเปลี่ยนแปลงไป เผื่อเกิดเหตุจลาจล หรือเหตุสุดวิสัยอื่นที่ทำให้ลงคะแนนในหน่วยเลือกตั้งนั้นไม่ได้

    2.ให้ยกเลิกการมีคณะกรรมการดำเนินการจัดการเลือกตั้ง (กจต.) มาจัดเลือกตั้ง โดยให้กกต.เป็นผู้ควบคุม ดำเนินการ และจัดเลือกตั้งเช่นเดิม แต่หากจะยังให้มีกจต. ก็ให้ยกเลิกบทเฉพาะกาลมาตรา 308 (1) ของร่างรัฐธรรมนูญ โดยให้กจต.ทำหน้าที่ดำเนินการเลือกตั้งส.ส.และส.ว.ครั้งแรกหลังรัฐธรรมนูญ ฉบับใหม่ประกาศใช้เลย เพื่อจะได้มีประสบ การณ์ นำไปใช้จัดเลือกตั้งครั้งต่อไปที่เวลานั้นจะเป็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง

     3.ให้ยกเลิกการลงคะแนนส.ส.แบบโอเพ่นลิสต์ โดยให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งเลือกบัญชีรายชื่อผู้สมัครที่พรรคทำขึ้นเพียงบัญชีเดียวและอาจระบุด้วยว่าต้องการให้ผู้สมัครในบัญชีนั้นคนใด เป็นส.ส. กรณีบัญชีรายชื่อพรรคใดได้คะแนนเป็นสัดส่วนทำให้ได้รับการจัดสรรส.ส. ก็ให้จัดสรรให้พรรคนั้นตามสัดส่วนโดยให้ผู้มีชื่อในบัญชีรายชื่อที่ประชาชนเลือกซึ่งได้รับคะแนนมากที่สุดเรียงตามลำดับเป็นผู้ได้รับเลือกตั้ง 

 

หนุนยกเลิกโอเพ่นลิสต์-ชี้แตกแยก

     ทั้งนี้ กกต.ให้เหตุผลยกเลิกการเลือกตั้งแบบโอเพ่นลิสต์ว่า ระบบดังกล่าวจะทำลายเจตนารมณ์ของระบบบัญชีทั้งหมด กลายเป็นประชาชนเลือกตัวบุคคล 2 คนในการเลือกตั้ง คือเลือกคนที่ชอบในเขตเลือกตั้ง และในระบบบัญชี มิได้ลงคะแนนเลือกพรรค ทำให้เกิดความแตกแยกภายในพรรครุนแรง ผู้สมัคร พรรคเดียวกันต้องหาเสียงโจมตีกันเองเพื่อให้ได้คะแนนมากที่สุด เกิดช่องว่างการพัฒนาระหว่างจังหวัด และไม่สามารถป้องกันอิทธิพล การครอบงำของนายทุนได้เพราะนายทุนไม่จำเป็นต้องลงเลือกตั้ง แต่ใช้อิทธิพลครอบงำพรรคโดยอยู่เบื้องหลัง

4.ให้ยกเลิกกลุ่มการเมือง เพราะทำให้ระบบพรรคอ่อนแอ ไม่พัฒนาเป็นสถาบันการเมือง 5.คงอำนาจกกต.เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง (ใบแดง) และสั่งเลือกตั้งใหม่ได้ก่อนประกาศผลเลือกตั้ง โดยให้ถือว่าคำวินิจฉัย ของกกต.เป็นที่สุด เพราะการที่ร่างรัฐธรรมนูญ ให้กกต.มีอำนาจก่อนประกาศผล เพียงสั่งเลือกตั้งใหม่ไม่สามารถขจัดผู้ทุจริตการเลือกตั้ง ได้ นักการเมืองกล้าจะทำทุจริตฝ่าฝืนกฎหมายมากขึ้น

6.ให้เพิ่มอำนาจกกต. เรียกเอกสารหรือบุคคลมาให้ถ้อยคำเพิ่มเติม รวมถึงขอให้พนักงานอัยการ พนักงานสอบสวน หน่วยราชการ หน่วยงานรัฐ รัฐวิสาหกิจหรือราชการ ส่วนท้องถิ่น ดำเนินการเพื่อประโยชน์แห่งการ ปฏิบัติหน้าที่ในการสืบสวนหรือวินิจฉัยชี้ขาด

 

แก้ไของค์ประกอบกก.สรรหากกต.

     7.ให้กำหนดเรื่องการนับคะแนนว่า ให้นับที่หน่วยเลือกตั้ง แล้วส่งผลไปรวมที่เขตเลือกตั้ง เพื่อนับคะแนนรวมแล้วประกาศผลโดยเปิดเผย เว้นเกรณีมีความจำเป็นเฉพาะท้องที่ หรือมีเหตุสมควรอื่น ให้กกต.มีอำนาจกำหนดให้นับคะแนน หรือรวมผลการนับคะแนน และประกาศผลการนับคะแนนเป็นอย่างอื่นได้ เป็นไปตามพ.ร.บ.การเลือกตั้งส.ส.และส.ว.กำหนด

     8.ให้แก้ไของค์ประกอบของคณะกรรมการ สรรหากกต. ที่กมธ.ยกร่างฯกำหนดให้มีตัวแทนจากฝ่ายการเมือง 4 คน คือจากพรรคฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายค้าน ครม. ร่วมเป็นกรรมการสรรหาด้วย เพราะอาจทำให้การเมืองแทรก แซงได้ง่าย ขัดเจตนารมณ์การจัดตั้งองค์กรอิสระ โดยเสนอว่าควรยึดองค์ประกอบตามรัฐธรรมนูญ ปี 50 แค่มีประธานสภา และผู้นำฝ่ายค้านร่วมเป็นกรรมการสรรหา ก็ถือว่ายึดโยงประชาชนแล้ว อีกทั้งไม่ควรห้ามผู้ที่เคยดำรงตำแหน่งผู้พิพากษา หรือตุลาการ เข้ารับการ สรรหาเป็นกกต. เพราะภารกิจของกกต.จำเป็น ต้องอาศัยบุคคลที่เชี่ยวชาญด้านอรรถคดี 

ทั้งนี้ กกต.ทั้ง 5 คน อาจแถลงจุดยืนต่อการเสนอแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าวอีกครั้ง ในปลายสัปดาห์นี้ 

 

ผบ.เหล่าทัพหนุนประชามติ

     เมื่อเวลา 10.00 น. ที่กองบัญชาการกองทัพอากาศ พล.อ.วรพงษ์ สง่าเนตร ผู้บัญชาการทหารสูงสุด (ผบ.สส.) เป็นประธานการประชุม ผู้บัญชาการเหล่าทัพ โดยมี พล.ร.อ.ไกรสร จันทร์สุวานิชย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ พล.อ.อ. ตรีทศ สนแจ้ง ผู้บัญชาการทหารอากาศ พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธ์ม่วง ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พล.อ.ธีรชัย นาควานิช ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก เข้าร่วมประชุม

    จากนั้นเวลา 11.00 น. พล.อ.วรพงษ์เปิดเผยผลการประชุมว่า ในที่ประชุมได้หารือ ถึงกรณีที่รัฐบาลและคสช. มีมติให้แก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว เพื่อเปิดช่องให้มีการ ลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เท่านั้น ส่วนจะทำประชามติหรือไม่ ให้เป็นไปตามกระบวนการที่มีอยู่และขณะนี้ยังไม่ชัดเจนว่าจะมีใครเสนอบ้าง ถ้ากระบวนการไม่เสนอ ก็ไม่ต้องทำ หากเสนอให้ทำก็สามารถทำได้ เพราะรัฐธรรมนูญเปิดช่องให้ ที่ผ่านมารัฐธรรมนูญไม่ได้เขียนไว้ให้ทำ เลยทำไม่ได้ 

      "ที่ประชุม ผบ.เหล่าทัพ พิจารณาเห็นว่าควรเปิดโอกาสให้สามารถทำได้ ซึ่งผบ.เหล่าทัพ คุยกันแค่ตรงนั้น ไม่พูดลึกลงไป เพราะอาจทำให้ผู้ปฏิบัติเกิดความไขว้เขวว่าเป็นการชี้นํา จึงต้องปล่อยให้ผู้ที่มีหน้าที่ในแต่ละขั้นตอนพิจารณามาตามระดับขั้น ส่วนอนาคตจะมีการผ่อนปรนให้ชุมนุมทางการเมืองเพื่อให้แสดงความคิดเห็นนั้น เรื่องนี้ตอบไม่ได้ เพราะอยู่นอกเหนืออำนาจหน้าที่" พล.อ.วรพงษ์กล่าว

 

"บิ๊กตู่"คาดโทษพื้นที่แล้งซ้ำซาก

     เมื่อเวลา 09.15 น. วันที่ 20 พ.ค. ที่อิมแพ็ค เมืองทองธานี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นประธานเปิดประชุมผู้ค้าข้าวโลก "Thailand Rice Convention 2015" พร้อมกล่าวปาฐกถา "ยุทธศาสตร์ด้านการตลาดข้าวและนโยบายการค้าข้าวของไทย" ตอนหนึ่งว่า รัฐบาลมีนโยบายและยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนการพัฒนาข้าวไทยให้ก้าวหน้าอย่างยั่งยืน ปี 2014 ไทยส่งออกข้าวได้มากที่สุดในโลก 10.97 ล้านตัน มูลค่าสูงถึง 5,439 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่ยังคงมุ่งมั่นจะผลิตและส่งออกข้าวคุณภาพเยี่ยมให้แก่ผู้บริโภคทั่วโลกในปี 2015 

      พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า จะส่งเสริมให้องค์กรชาวนาเข้มแข็ง มีระบบการค้าที่เป็นธรรม ไม่บิดเบือนตลาด รัฐบาลจะจัดให้มีระบบควบคุมตรวจสอบคุณภาพข้าวอย่างเข้มงวดทุก ขั้นตอน ผลักดันให้ผู้ประกอบการโรงสีปรับปรุงการสีแปรสภาพให้ได้ตามมาตรฐานจีเอ็มพี จัดให้มีศูนย์ปฏิบัติการตรวจสอบ และรับรองคุณภาพมาตรฐานเบ็ดเสร็จที่จุดเดียว และปรับปรุงกฎกติกาการส่งออกข้าวป้องกันการปลอมปน และตั้งเป้าเป็นศูนย์กลางการค้าและการส่งออกข้าวที่ตอบสนองความต้องการของทุกระดับ

       พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ได้สั่งให้กระทรวงพาณิชย์ตรวจสอบโรงสีทั่วประเทศว่ามีคุณภาพจริงหรือไม่ เพราะทุกปีรัฐต้องใช้เงินจ้างโรงสีดูแลสต๊อกข้าววงเงินเป็นหมื่นล้านบาท ดังนั้น หากพบว่าโรงสีใดไม่มีคุณภาพต้องถูกปิด จากนั้นจะจ้างโรงสีในระบบของสหกรณ์ที่อาจทำเป็นโรงสีย่อย หรือโรงสีกลาง มาดูแลแทน ซึ่งการตรวจสอบครั้งนี้ได้มอบเป็นนโยบายให้ทำโดยเร็ว

      นายกฯ กล่าวว่า วันนี้เรามีเขตเศรษฐกิจพิเศษ และไม่ใช่เขตอุตสาหกรรมพิเศษ อย่าไปต่อต้าน หลายจังหวัดไม่อยากให้มีเขตเศรษฐกิจพิเศษ เพราะอุตสาหกรรมจะลงมา ถือว่าไม่เข้าใจอีกแล้ว ซึ่งในนั้นมีทั้งการค้า การบริการ โรงแรม นี่คือภาคหนึ่งในจังหวัดนั้น ฉะนั้นต้องลงทุนให้สอดคล้องกับต้นทุนที่มีตรงนั้น ตอนนี้เราไม่มีสิทธิพิเศษทางด้านภาษีศุลกากรอย่าไปโวยวาย แต่เราต้องพัฒนาให้เป็นประเทศที่เป็นผู้ให้เขาบ้าง ไม่ใช่เป็นผู้รับมาตลอด เราไปขอใครไม่ได้อีกแล้ว เราต้องเข้มแข็งเองถ้าไปทะเลาะกันมันก็ไปไม่ได้ 

     "อยากให้เกษตรกรสบายใจว่าเราทำทั้งระบบ ผมชื่นชมหลายสหกรณ์ที่เข้มแข็ง รัฐบาล มุ่งเน้นส่งเสริมผ่านสหกรณ์ทุกอย่าง ทั้งยาง ข้าว ดังนั้น ต้องรวมตัวกันให้ได้เพื่อร่วมมือ ไม่ใช่เพื่อขัดแย้งกับรัฐบาลหรือเจ้าหน้าที่ ขอร้องคนไทยต้องรวมตัวกันเพื่อร่วมมือกันไม่ใช่เพื่อสร้างความขัดแย้ง" พล.อ.ประยุทธ์กล่าว

      พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวถึงการแก้ปัญหาภัยแล้งว่า ปัจจุบันมีพื้นที่ประสบภัยแล้งซ้ำซาก ทั่วประเทศกว่า 3 พันตำบล ที่ผ่านมาได้สั่งการให้ส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานในพื้นที่ดูแลและแก้ไขปัญหาอย่างใกล้ชิด หากยังประสบปัญหาแล้งซ้ำซากในพื้นที่อีก ต้องดำเนินการกับผู้ที่เกี่ยวข้อง "ถ้ายังเกิดแล้งซ้ำซากในพื้นที่เดิมอีก ก็ต้องเล่นงาน เพราะถือว่าผมสั่งการให้แก้ไขไปหลายครั้งแล้ว"

 

"บิ๊กต๊อก"เร่งสรุปขรก.ทุจริตชุด2

      เมื่อเวลา 09.15 น. วันที่ 20 พ.ค. ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รมว.ยุติธรรม ในฐานะประธานศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (ศอตช.) กล่าวก่อนเป็นประธานการประชุม ถึงการส่งรายชื่อข้าราชการที่ถูกกล่าวหาเกี่ยวข้องทุจริต ล็อตที่ 2 ให้พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯว่า คาดว่าศอตช.จะประชุมในสัปดาห์หน้า เพื่อตรวจสอบรายชื่อทั้งหมด ซึ่งทั้ง 4 หน่วยงาน ได้แก่ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในหน่วยงานภาครัฐ (ป.ป.ท.) คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) และกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) กำลังพิจารณารายชื่ออยู่เรื่อยๆ ในล็อตที่ 2 จะทำให้ได้โดยเร็วที่สุด เราไม่ได้เร่งรัด ขอให้ทำรอบคอบ ถูกต้องและเป็นธรรม 

     เมื่อถามว่าจะออกประกาศคำสั่งหัวหน้าคสช.อาศัยมาตรา 44 เพื่อโยกย้ายข้าราชการอีกหรือไม่ พล.อ.ไพบูลย์กล่าวว่า ต้องถามนายวิษณุ เครืองาม รองนายกฯด้านกฎหมาย เพราะเป็นผู้คัดแยกว่ากลุ่มใดต้องใช้มาตรา 44 หรือกรณีใดใช้วิธีแต่งตั้งโยกย้ายตามกระบวนการภายในกระทรวงนั้นๆ ได้ 

     ต่อมาเวลา 12.00 น. พล.อ.ไพบูลย์ ให้สัมภาษณ์หลังการประชุมว่า การส่งรายชื่อให้นายกฯ ต้องทยอยดำเนินการ ซึ่งรายชื่อเหล่านี้ไม่ได้บ่งบอกถึงความสำเร็จ 100 เปอร์เซ็นต์ เพราะบางรายเกษียณอายุราชการไปแล้ว และรายชื่อบางส่วนยังไม่ถูกต้อง เนื่องจากหน่วยงานที่สอบสวนไม่ใช่ต้นสังกัด และต้องให้ความเป็นธรรมด้วย 

      เมื่อถามว่าทำไมถึงปล่อยจนคนผิดเกษียณ พล.อ.ไพบูลย์กล่าวว่า กระบวนการยุติธรรมมีหลายขั้นตอน ก่อนคสช.จะเข้ามา เราใช้เพียงตุลาการ แต่วันนี้ นายกฯใช้มาตรการของฝ่ายบริหาร ย้ายออกจากตำแหน่ง ส่วนผู้ที่มีรายชื่อถ้าคิดว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม มาร้องเรียนที่ตนได้ จะให้หน่วยงานที่ส่งรายชื่อเข้ามาเป็นผู้ชี้แจง ต้องถามว่ากล้าแบกหน้าออกสื่อหรือไม่ จะได้รู้ว่ามีความผิดอย่างไร ถ้ากล้าตนก็เอาด้วย หรือจะคุยกันเงียบๆ ก็ได้ ตนเน้นย้ำกับ 4 หน่วยงานแล้วว่าอย่ากลั่นแกล้งใคร

       "วันนี้เริ่มมีการรายงานว่าเมื่อย้ายหัวหน้าส่วนท้องถิ่นออกไปแล้ว คนเป็นรองที่ขึ้นมารักษาการแทนก็ชักจะเหมือนเดิม ผมบอกไปแล้วถ้าเหมือนเดิม สอบเจอก็ต้องออกอีก และที่ทำกันอยู่ทุกวันนี้ แม้จะโดนออกไปแล้วแต่ยังบงการอยู่ข้างหลัง อย่าคิดว่าเราไม่สอบ เมื่อรองขึ้นมาแล้วทำก็ต้องโดนไปด้วย" พล.อ.ไพบูลย์กล่าว และว่า ส่วนที่มีรายชื่อทหารและตำรวจเกี่ยวข้องทุจริตน้อยนั้น เป็นเรื่องของแต่ละหน่วยจะดำเนินการ

 

สมาคมตังเกจี้รัฐเร่งแก้ปัญหา

     เมื่อวันที่ 20 พ.ค. ที่ศูนย์บริการประชาชน สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี กลุ่มผู้ประกอบการประมงกว่า 100 คน นำโดยสมาคมประมงเรือลากคู่สมุทรสงคราม, สมาคมการประมงสมุทรสาคร, สมาคมประมงสมุทรสงคราม, สมาคมการประมงสมุทรปราการ, สมาคมการประมงคลองด่านสมุทรปราการ, สหกรณ์ประมง จำกัด, สหกรณ์ประมงบางเกร็ง-บางแก้ว จำกัด และสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค ยื่นหนังสือถึงพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. ชี้แจงข้อเท็จจริงสำหรับเป็นแนวทางประกอบการแก้ไขประมงผิดกฎหมาย โดยมีนายกมล สุขสมบูรณ์ ที่ปรึกษา รมต.ประจำสำนักนายกฯ เป็นตัวแทนรับเรื่อง

     นายมงคล กล่าวว่า ประเทศไทยได้รับการเตือนจากสหภาพยุโรป (อียู) ถึงการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม ภาครัฐจึงออกคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 10/2558 ออกมาบังคับใช้กับชาวประมงทั่วประเทศ เพื่อแก้ปัญหาให้เสร็จสิ้นภายใน 6 เดือนนั้น ทางกลุ่มเห็นว่าคำสั่งดังกล่าวเป็นไปอย่างเร่งด่วน โดยยังไม่มีการศึกษาข้อมูลที่ชัดเจนและขาดการรับฟังความคิดเห็นจากชาวประมงก่อน ทำให้การแก้ปัญหาไม่ถูกจุด ทางกลุ่มขอชี้แจงและเสนอแนวทางแก้ปัญหาของชาวประมง เพื่อให้นายกฯ พิจารณาประกอบการตัดสินใจ 

นายมงคลกล่าวต่อว่า อยากเสนอให้รัฐบาลเริ่มต้นจากการจัดระเบียบเรือประมงใหม่ทั้งหมด ด้วยการออกอาชญาบัตรให้ตรงกับเครื่องมือที่มีอยู่ในปัจจุบัน และปรับแก้ระเบียบกรมเจ้าท่าบางข้อที่เป็นอุปสรรคต่อการทำให้ถูกกฎหมายก่อน จากนั้นจึงดำเนินการแก้ปัญหาเรื่องอื่น รวมทั้งให้ภาครัฐและชาวประมงร่วมกันแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ ด้วยการให้ตัวแทนภาคประมงมีส่วนร่วมในวงเจรจาเพื่อการแก้ปัญหา ในระหว่างที่มีการหาแนวทางแก้ไขควรผ่อนผันการตรวจสอบจับปรับ

คสช.เตรียมแผนแก้เกม ถ้ารธน.ล่ม จัดประชามติ-ยังไม่แน่ 'วิษณุ'ชี้อาจมีกลุ่มต้าน เล็งร่างใหม่-ใช้ฉบับเก่า สุเทพปธ.มูลนิธิหลังสึก บิ๊กตู่โชว์ผลงาน 1 ปีคสช. เทียนฉายจี้รื้อม.44 ด้วย

       'บิ๊กป้อม'ปัดผ่อนปรนให้แสดงความเห็นประชามติ 'วิษณุ'วาง 4 แนวทาง หากประชามติไม่ผ่าน กกต.เสนอแก้ รธน. 8 ประเด็น เลิกโอเพ่นลิสต์ แจกใบแดงเอง

@ "บิ๊กตู่"แถลงยึดอำนาจครบ 1 ปี 

      เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้สัมภาษณ์ถึงการเข้าควบคุมอำนาจของ คสช.ครบรอบ 1 ปี ในวันที่ 22 พฤษภาคมนี้ ได้มีการประเมินสถานการณ์บ้านเมืองอย่างไรว่า "คนประเมินไม่ใช่ผม เราก็อย่าไปขุดความขัดแย้งขึ้นมาอีก เราประเมินมาตลอดทุกสัปดาห์อยู่แล้ว เดี๋ยววันที่ 22 พฤษภาคมนี้ จะแถลงความคืบหน้าผลงานอีกครั้ง วันนี้มันไม่ใช่ผลงานของผม ไม่ใช่ความภาคภูมิใจของผมเลยต้องมาทำหน้าที่ตรงนี้ ขอบคุณประชาชนที่เข้าใจสถานการณ์ประเทศ เว้นแต่บางคนบางพวกไม่เข้าใจ ก็ควรไปพิจารณากันเองว่าจะทำอย่างไรกันต่อไป ประเทศชาติจะไปอย่างไร แล้ววันนี้สิ่งสำคัญคือการรักษาความสงบเรียบร้อยเดินหน้าประเทศ แก้ไขปัญหาเร่งด่วนจัดระเบียบการใช้จ่ายงบประมาณไม่ให้ซ้ำซ้อน ไม่รั่วไหล นี่คือสิ่งที่ท่านต้องประเมินให้ การประเมินของตน พอใจทุกด้าน แต่ไม่ภูมิใจ ส่วนที่ไม่ภาคภูมิใจคือทำไมให้มายืนอยู่ตรงนี้ ทำไมไม่ทำกันมา เลือกตั้งกันมาไม่ใช่หรือ"

@ บิ๊กป้อมรอสปช.ก่อนเคาะประชามติ

พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่ากระทรวงกลาโหม กล่าวว่า ทาง ครม.และ คสช.มีมติเอกฉันท์อย่างชัดเจนให้แก้รัฐธรรมนูญ (ชั่วคราว) เพื่อเปิดช่องไว้ทำประชามติในอนาคต ต้องรอผลประชุมของ สปช.ในวันที่ 6 สิงหาคมก่อนว่าจะมีมติโหวตผ่านร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้หรือไม่ เพราะว่าก่อนหน้านี้รัฐธรรมนูญ (ชั่วคราว) ไม่ได้เปิดช่องให้ทำประชามติไว้ แต่ถ้าเสนอให้ทำประชามติต้องเลื่อนโรดแมป คสช.ออกไป เพราะจะต้องไปจัดพิมพ์รัฐธรรมนูญกว่า 47 ล้านฉบับ เพื่อให้ประชาชนทำความเข้าใจ ก่อนจะลงประชามติ การทำประชามติจะเป็นทางออกที่ดีหรือไม่นั้น ถ้าจะให้ประชาชนรับรู้มันก็ดี แต่ว่าตอนนี้ยังไม่ถึงขั้นตอนนั้น เพราะร่างรัฐธรรมนูญจะผ่านหรือไม่ผ่าน ต้องรอจาก สปช.ก่อน ตอนนี้ไม่มีใครรู้ได้ ส่วนจะใช้เวลานานเท่าใดไม่รู้ แค่พิมพ์รัฐธรรมนูญให้ประชาชนอ่านก็ใช้เวลาประมาณ 3-4 เดือนแล้ว ส่วนจะกระทบกับโรดแมปหรือไม่นั้น ทาง คสช.ก็ต้องทำงานไป ส่วนรัฐบาลก็ทำงาน เพื่อแก้ไขปัญหาพื้นฐานให้เกิดความมั่นคงในอนาคต แต่เชื่อว่าไม่น่าจะมีปัญหา และไม่กระทบกรอบโรดแมป ทั้งนี้ถ้ายืดโรดแมปออกไป จะได้รัฐธรรมนูญฉบับที่ดีหรือไม่ ยังไม่รู้ ยังไม่อยากพูด ถ้าพูดออกไป สื่อก็จะว่ามโน ดังนั้นไม่พูดดีกว่า แต่ขั้นตอนการดำเนินงานก็ต้องเป็นไปตามกรอบรัฐธรรมนูญ (ชั่วคราว) 2557 และตามกรอบโรดแมป คสช. 

@ ปัดตอบผ่อนปรนให้ความเห็น

พล.อ.ประวิตรกล่าวถึงภาพรวมการทำงานครบรอบ 1 ปี คสช. นับตั้งแต่ยึดอำนาจวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ว่า ถ้าถามตนก็เหน็ดเหนื่อยมาทั้งปี เพราะตอนยังไม่เป็นรัฐมนตรีก็ทำหน้าที่เป็นประธานที่ปรึกษา คสช. และเมื่อมาเป็นรัฐมนตรีก็ทำงาน ทุกอย่างเดินตามที่หัวหน้า คสช.บอกตลอด เชื่อว่ามีความก้าวหน้า ประเทศชาติสงบสุข อย่างไรก็ดีอยากขอให้สื่อมวลชนช่วยประเมินผลงานด้วย แต่ทุกอย่าง คสช.จะทำให้ดีที่สุด เท่าที่จะทำได้ ทุกคนต่างทุ่มเทการทำงานเพื่อส่วนร่วม ทำงานเพื่อประเทศชาติและประชาชน โดยเฉพาะตนต้องทำงานเพื่อตอบคำถามนักข่าวให้ได้ ส่วนทำงานเต็มที่จะพอใจหรือไม่ อยู่ที่ประชาชน ประชาชนเป็นผู้ตัดสิน 

ส่วนกรณี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ วิจารณ์ผลงานของรัฐบาล และ คสช.ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมาไม่น่าประทับใจ พล.อ.ประวิตรกล่าวว่า "ก็แล้วแต่ ท่านก็มองของท่านไป ไม่เป็นไร ท่านเป็นผู้ใหญ่ ก็มองไป"

เมื่อถามว่า 1 ปีที่ใช้กฎอัยการศึก จนถึงการใช้มาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) ประเมินผลเป็นอย่างไร พล.อ.ประวิตรกล่าวว่า เป็นการพยายามควบคุมสถานการณ์ให้ดีที่สุด สำหรับข้อเสนอให้ผ่อนปรนกฎหมายพิเศษ เพื่อให้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเอื้อต่อการทำประชามตินั้น ขณะนี้ คสช.ยังอยู่ ไม่เห็นต้องถาม จะถามทำไม จะทำให้วุ่นวายทำไม เป็นแบบนี้ก็สงบดีแล้ว ที่ผ่านมาก็ไม่ได้ห้ามนักวิชาการแสดงความคิดเห็น แต่ขออย่าทำให้เกิดความขัดแย้ง และบางคนจะทำให้เกิดความขัดแย้งในอนาคต ต้องมาคุยกัน

@ "วิษณุ"รวบรวมปมแก้รธน.

นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วาระพิเศษ วันที่ 25 พฤษภาคม เพื่อพิจารณาคำขอแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ 2558 ว่า ในการประชุม ครม.เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคมที่ผ่านมา ได้รายงานถึงคำขอแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญไปแล้ว 80 เปอร์เซ็นต์ แต่ความเห็นยังไม่ครบ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เห็นว่าควรจะพิจารณาเพิ่มเติม ถ้ามีความเห็นเพิ่มเติมจะรวบรวมไปอยู่ในคำขอแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ คิดว่าจะส่งคำขอแก้ไขได้ทันเวลาในวันที่ 25 พฤษภาคมนี้ เรื่องนี้ ครม.จำเป็นต้องพิจารณาเพื่อเป็นความเห็นทั้งหมดในนาม ครม. การเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราวนั้นเดินหน้าไป 50 เปอร์เซ็นต์แล้วที่จะบอกว่าไปสู่การทำประชามติ เพียงแต่เผื่อไว้ว่าถ้าคนพอใจแล้วไม่เรียกร้อง ไม่อยากได้ และถ้าต่อต้านการลงประชามติเราจะได้ถอยหลังได้ ตอบไม่ได้ว่าถ้าแก้ไขแล้วจะต้องทำประชามติอีกหรือไม่ เพราะไม่ได้อยู่ที่รัฐบาลอยู่ที่ประชาชนและกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ บางทีแก้แล้วเป็นที่พอใจของคนที่ออกมาต่อต้าน แต่พลังเงียบในตอนแรกที่พอใจเมื่อไปแก้แล้วอาจไม่พอใจก็ได้ อยู่ที่ กมธ.และประชาชน 

@ วาง 4 แนวรับประชามติไม่ผ่าน

วิษณุกล่าวถึงกรณีใครจะเป็นคนตัดสินใจว่าจะทำประชามติหรือไม่ว่า วันนี้ต้องตั้งหลักที่แก้ไขรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) 2557 เพื่อเปิดทางให้มีการทำประชามติได้ก่อน ส่วนจะทำประชามติหรือไม่และใครจะตัดสินใจว่าจะทำหรือไม่นั้น ไม่ใช่เรื่องยุ่งยาก เพียงแต่ว่าไม่ได้กำหนดว่าจะต้องทำประชามติ เพราะหากแก้ไขแล้วมีเสียงเรียกร้องอีกว่าไม่ควรทำประชามติ แต่รัฐบาลกลับไปบังคับว่าต้องทำ จึงต้องไม่ไปเขียนล็อกเอาไว้ ทั้งหมดต้องมีคำตอบแต่ยังตอบไม่ได้ในขณะนี้ ส่วนแนวทางรองรับหากทำประชามติไม่ผ่าน มีอยู่แล้ว ต้องเขียนไว้ในร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญชั่วคราว มีคำตอบอยู่แล้วแต่พูดไม่ได้ในขณะนี้ เพราะยังไม่ถึงเวลาต้องเลือก และยังอยู่ในกระบวนการปรึกษากับหลายฝ่าย มีกระบวนการไว้อยู่แล้ว อาทิ 1.กลับไปตั้งสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) และกรรมาธิการขึ้นมาใหม่ 2.อาจจะตั้งกรรมาธิการหรือคณะกรรมการขึ้นมาร่างใหม่โดยไม่มี สปช. 3.มอบหมายให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เป็นผู้จัดการ และ 4.ให้องค์กรใดองค์หนึ่งหรือหลายองค์กร เช่น ครม.ร่วมกับองค์กรใดก็ได้ เสนอให้นำรัฐธรรมนูญฉบับใดฉบับหนึ่งขึ้นมาบังคับใช้ ยังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะใช้ทางใด เพราะแต่ละทางมีข้อเสียอยู่

@ "เทียนฉาย"แนะแก้รธน.เผื่อไว้

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธาน สปช. กล่าวถึงกรณีคณะรัฐมนตรี (ครม.) และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มีมติให้แก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว 2557 เพื่อเปิดทางให้ทำประชามติว่า เป็นสัญญาณที่ดีและทำให้เกิดความชัดเจนว่าจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 57 เพื่อทำประชามติ การแก้ไขรัฐธรรมนูญมีกติกากำหนดไว้ว่าต้องส่งไปให้ สนช.พิจารณาเห็นชอบภายใน 15 วันนับแต่วันรับร่างแก้ไข เมื่อ คสช.และ ครม.มีมติให้แก้รัฐธรรมนูญได้แล้ว ควรจะพิจารณาแก้ไขเผื่อไว้เพื่อไม่ให้เกิดข้อจำกัด โดยเฉพาะการใช้อำนาจสั่งการทางปกครองตามมาตรา 44 สามารถแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ปกติทำได้ยาก หรือเกิดความล่าช้า เช่น การแก้ปัญหาโรฮีนจา การย้ายข้าราชการระดับสูง การแก้ไขปัญหาในทางปกครอง ควรเน้นในการทำระบบและกลไกเหมาะสมและปรับให้พอดี การใช้คำสั่งพิเศษสั่งในการปกครอง แม้จะแก้ไขปัญหาได้รวดเร็ว แต่ในที่สุดจะทำลายรากฐานประชาธิปไตย การสร้างประชาธิปไตยใหม่ก็ควรทำให้เกิดระบบและเป็นไปตามหลักการประชาธิปไตย

นายเทียนฉายกล่าวว่า ส่วนกรณีจะทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญใหม่หรือไม่ ต้องติดตามดู สปช.เป็นส่วนหนึ่งที่เกี่ยวข้องต้องมีภาระงานเพิ่มเติม คือ การลงพื้นที่ให้ความรู้และความเข้าใจกับประชาชนในร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เบื้องต้นจะหารือกับสมาชิก สปช.อีกครั้ง การลงพื้นที่จะต้องเน้นสร้างความเข้าใจและตอบข้อซักถามประชาชนมากกว่าชี้นำว่าให้รับหรือไม่รับร่างฯ เพราะหากชี้นำอาจทำให้กลายเป็นประเด็นถูกโจมตีได้ ขณะที่การทำงานของ สปช.ด้านการปฏิรูปยังคงเดินหน้าตามกรอบเวลาที่กำหนดไว้ และ สปช.ไม่ได้รับการขยายเวลาเพิ่มแต่อย่างใด

@ "บวรศักดิ์"ปัดขอเพิ่มเวลา

ที่รัฐสภา มีการประชุมคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ มีนายมานิจ สุขสมจิตร เป็นประธานการประชุม มีวาระพิจารณาความคืบหน้าของกระบวนการทำงานของ กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ ก่อนเริ่มการประชุมได้มีการเห็นชอบแต่งตั้งนางถวิลวดี บุรีกุล กมธ.ยกร่างฯเป็นโฆษก กมธ.ยกร่างฯอีกหนึ่งตำแหน่ง 

นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธาน กมธ.ยกร่างฯ ให้สัมภาษณ์กรณี ครม.มีมติเห็นชอบให้ขยายเวลา กมธ.ยกร่างฯพิจารณาข้อเสนอแนะแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญจากเดิม 60 วันไปอีกไม่เกิน 30 วัน เป็น 90 วัน ว่า กมธ.ยกร่างฯไม่ได้เป็นคนเสนอ เข้าใจว่าทาง ครม.คงเห็นว่ากระบวนการยกร่างฯเป็นเรื่องฉุกละหุกจึงได้เสนอให้แก้ไขเพิ่มระยะเวลา ช่วงระยะเวลา 60 วันตามกำหนดการเดิม ทาง กมธ.ยกร่างฯจะต้องพิจารณาแบบไม่มีวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ เพื่อให้ทัน จึงเข้าใจว่าน่าจะเป็นเหตุผล ครม.เห็นว่าต้องขยายเวลา คงต้องรอดูว่า สนช.จะเห็นด้วยกับการขยายเวลาหรือไม่ ถ้าหากขยายเวลาจะทำให้กระบวนการทุกอย่างจะต้องเลื่อนออกไปจากเดิม ส่วนจะกระทบต่อวันลงมติรับร่างฯของ สปช.ในวันที่ 6 สิงหาคมหรือไม่นั้น ไม่ทราบ จะมาพูดก่อนไม่ได้ ครม.อาจจะเปลี่ยนใจไม่ขยายเวลาให้กับ กมธ.ยกร่างฯก็ได้ 

@ ยันรธน.ถูกตีตกไม่กลับมาแล้ว 

นายบวรศักดิ์กล่าวว่า ขณะนี้ กมธ.ยกร่างฯยังไม่มีการหารือว่าจะแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญประเด็นใด เนื่องจากยังอยู่ระหว่างการรอคำขอแก้ไขจาก สปช. คสช.และ ครม.ต้องส่งกลับมายัง กมธ.ยกร่างฯภายในวันที่ 25 พฤษภาคม กมธ.ยกร่างฯบางคนออกมาแสดงความเห็นว่าจะแก้ไขบางประเด็น ยืนยันว่าเป็นเพียงความเห็นส่วนตัวเท่านั้น ไม่ใช่มติของที่ประชุม กมธ.ยกร่างฯแต่อย่างใด เพราะสิ่งสำคัญการแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญจำเป็นต้องได้รับคำขอแก้ไขที่ถูกต้องมาก่อน จะพูดลอยๆ ไม่ได้ ส่วนเตรียมความพร้อมจัดทำประชามติไว้หรือไม่ ยังไม่มีอะไรต้องเตรียม เพราะต้องเตรียมร่างรัฐธรรมนูญให้เสร็จก่อน "เมื่อร่างสุดท้ายเสร็จแล้วและ สปช.เห็นชอบ ค่อยมาพูดกัน แต่หาก สปช.ไม่เห็นชอบก็ไม่ต้องเตรียมอะไร เนื่องจากต้องตั้ง สปช.และ กมธ.ยกร่างฯขึ้นมาใหม่ และผมจะไม่กลับมาแล้ว" นายบวรศักดิ์กล่าว และว่า ส่วนกรณีมี สปช.บางคนออกมาแสดงท่าทีเสนอให้คว่ำร่างรัฐธรรมนูญ ก็เป็นความเห็นของ สปช.แต่ละคน ตนก็เคารพ เป็นเอกสิทธิ์แสดงความเห็น แต่ถ้าไม่เห็นชอบก็ต้องรู้ผลว่าจะเกิดอะไรขึ้น ต้องเริ่มกระบวนการใหม่ ใช้เวลาอีกเกือบปี 

@ "วุฒิสาร"โยนสนช.เคาะประชามติ

นายวุฒิสาร ตันไชย โฆษก กมธ.ยกร่างฯ แถลงความคืบหน้าของ กมธ.ยกร่างฯในการพิจารณาคำขอแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญของ สปช.ว่า กำหนดการเชิญผู้ขอแก้ไขในแต่ละคณะกรรมาธิการเพื่อมาชี้แจงต่อ กมธ.ยกร่างฯระหว่างวันที่ 2-7 มิถุนายนนี้ จะให้ กมธ.แต่ละคณะส่งตัวแทนเข้ามาชี้แจง 1 คำขอ ไม่เกิน 5 คน และใช้เวลาไม่เกิน 3 ชั่วโมง ต่อหนึ่งคำขอ กมธ.ยกร่างฯจะพิจารณาปรับปรุงแก้ไขภายใน 60 วัน ยืนยันว่า กมธ.ยกร่างฯยังไม่มีมติใดๆ ทั้งสิ้น ว่าจะปรับเปลี่ยนร่างรัฐธรรมนูญในมาตราใดบ้าง ที่ผ่านมาเป็นเพียงการแสดงความคิดเห็นส่วนบุคคลของ กมธ.ยกร่างฯแต่ละคนเท่านั้น สำหรับพรรคการเมืองสามารถยื่นคำขอแก้ไขร่างได้โดยผ่านทางอนุ กมธ.ต่างๆ รวมทั้งคณะกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็นด้วย ส่วนการทำประชามติ กมธ.ยกร่างฯได้ทำหนังสือชี้แจงไปแล้วว่า สาระสำคัญเห็นควรให้ทำประชามติด้วยเหตุผลอะไรบ้าง ส่วนขั้นตอนการทำประชามตินั้นขึ้นอยู่กับ สนช. เพราะ กมธ.ยกร่างฯไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องโดยตรง

@ เชิญแม่น้ำ5สายฟังนักวิชาการติว

นายวุฒิสารกล่าวถึงการเชิญนักวิชาการจากประเทศฝรั่งเศสและเยอรมนีมาถ่ายทอดประสบการณ์จัดทำรัฐธรรมนูญในวันที่ 22 พฤษภาคม และวันที่ 26-27 พฤษภาคม ที่กระทรวงการต่างประเทศว่า การเชิญนักวิชาการดังกล่าวเพื่อให้มาอธิบายบริบทสังคมประวัติศาสตร์ของประเทศนั้น และเล่าประสบการณ์การจัดทำรัฐธรรมนูญ โดยนำรัฐธรรมนูญของประเทศนั้นมาแก้ปัญหาความขัดแย้งนำไปสู่การแก้ปัญหาภายในประเทศระยะยาว เพื่อให้มีประชาธิปไตยที่มั่นคง และฝ่าวิกฤตของประเทศได้อย่างไร แต่นักวิชาการที่เชิญมาจะไม่ได้มาวิจารณ์รัฐธรรมนูญของประเทศไทย โดยคณะทำงานจะนำประสบการณ์ของสองประเทศนี้มาเทียบเคียงกับไทยว่าจะมีประเด็นใดนำมาปรับใช้ได้บ้าง ขณะนี้ได้เชิญ คสช. คณะ กมธ.ยกร่างฯ สปช. สนช. องค์กรอิสระ คณะกรรมการกฤษฎีกาเข้าร่วมรับฟังตามกำหนดการแล้ว สำหรับภารกิจของคณะทำงานตามคำสั่ง คสช.ให้เชิญนักวิชาการต่างประเทศ พร้อมกับศึกษาวิจัยปัญหาการใช้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 และปี 2550 และการปฏิรูปประเทศ เบื้องต้นจะทำเรื่องเชิญนักวิชาการก่อน คณะทำงานจะไม่มีกรอบเวลาทำงาน เมื่อคณะทำงานได้ศึกษาวิจัยเสร็จก็จะสรุปรายงานเสนอต่อหัวหน้า คสช.ต่อไป

@ "บิ๊กตี๋"ยันเหล่าทัพหนุนประชามติ 

พล.อ.วรพงษ์ สง่าเนตร ผู้บัญชาการทหารสูงสุด (ผบ.สส.) กล่าวภายหลังเป็นประธานประชุมผู้บัญชาการเหล่าทัพ (ผบ.เหล่าทัพ) กรณีที่ประชุม ผบ.เหล่าทัพมีการพูดถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญ (ชั่วคราว) 2557 เพื่อเปิดช่องให้ทำประชามติว่า ตอนนี้ ครม.กับ คสช.ได้มีมติให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ (ชั่วคราว) เพื่อเปิดช่องให้ทำประชามติได้ ส่วนจะทำหรือไม่ เป็นไปตามกระบวนการที่มีอยู่แล้ว แต่ที่ผ่านมารัฐธรรมนูญ (ชั่วคราว) ก็ไม่เคยเปิดช่องให้ทำประชามติ จึงทำไม่ได้ 

เมื่อถามว่า ในที่ประชุม ผบ.เหล่าทัพได้มีการหารือการทำประชามติหรือไม่ภายหลังการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญชั่วคราว พล.อ.

วรพงษ์กล่าวว่า ที่ประชุมพิจารณาเห็นว่าควรเปิดโอกาสให้ทำได้ ทั้งนี้ถ้าจะให้พูดลึกในรายละเอียดมากกว่านี้จะทำให้ผู้ปฏิบัติไขว้เขว ดูเป็นการชี้นำมากไป ปล่อยให้ผู้มีหน้าที่ส่งเรื่องขึ้นมาตามกระบวนการ ถ้าแนวโน้มความเป็นไปได้ตามมติที่ประชุมร่วม ครม. คสช. เมื่อ 19 พฤษภาคมที่ผ่านมา จะผ่านขั้นตอนการแก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราว จนกว่าจะออกมาเป็นทางการที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา หมายความว่าจะมีเวทีให้สามารถทำได้

@ สปช.เผย11ปีงบกาบัตร 3.6 หมื่นล. 

นายบุญเลิศ คชายุทธเดช สมาชิก สปช. แถลงถึงการจัดทำประชามติว่า การจัดทำประชามติต้องใช้งบประมาณ 3,000 ล้านบาท ในความรู้สึกของชาวบ้านถือว่าเงินจำนวนนี้แพงมาก ที่ผ่านมา พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เคยระบุว่ารู้สึกเสียดายเงินในส่วนนี้ หากทำประชามติครั้งนี้ไม่ผ่าน ก็ต้องทำประชามติครั้งต่อไป เสียเงินอีก 3,000 ล้านบาท พล.อ.ประยุทธ์เห็นว่าสามารถนำงบประมาณตรงนี้ไปใช้ประโยชน์ช่วยเหลือเกษตรกรได้มากกว่า 9 ปี ตั้งแต่ปี 2548-2557 เคยจัดให้ประชาชนได้ออกมาใช้สิทธิออกเสียงทั้งการเลือกตั้ง ส.ส. ส.ว. และประชามติ รวม 9 ครั้ง อาทิ การเลือก ส.ส. วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2548 เลือกตั้ง ส.ส. วันที่ 23 เมษายน 2549 (โมฆะ) เลือกตั้ง ส.ว. วันที่ 19 เมษายน 2549 (สิ้นสภาพเพราะคำสั่งรัฐประหาร) ทำประชามติวันที่ 19 สิงหาคม 2550 เลือกตั้ง ส.ส. วันที่ 23 ธันวาคม 2550 เลือกตั้ง ส.ว. ปี 2551, เลือกตั้ง ส.ส. วันที่ 3 กรกฎาคม 2554 เลือกตั้ง ส.ส. วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 (โมฆะ) และเลือกตั้ง ส.ว. ปี 2557 (สิ้นสภาพเพราะคำสั่งคณะรัฐประหาร) รวมเป็นเงิน 27,000 ล้านบาท แต่ผลที่ออกมาคือ มีการเคลื่อนไหวเพื่อล้มการเลือกตั้ง พรรคการเมืองบอยคอตการเลือกตั้ง สังคมเกิดความแตกแยกจึงอยากเรียกร้องให้ทำประชามติในครั้งนี้ ตลอดจนการเลือกตั้ง ส.ส.และ ส.ว. ระหว่างปี 2558-2559 ต้องใช้งบประมาณรวมอีก 9,000 ล้านบาท เป็นไปอย่างคุ้มค่า การจัดลงคะแนนเสียงในรอบ 11 ปีที่ผ่านมา มูลค่ากว่า 36,000 ล้านบาท จะต้องไม่ก่อให้เกิดวิกฤตการเมืองครั้งใหม่ขึ้นอีก

@ "สมชัย"ชี้ประชามติเดือนม.ค.

ที่โรงแรมเซ็นทราศูนย์ราชการและคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ มีการสัมมนาโครงการพัฒนาฐานข้อมูลและระบบสารสนเทศสนับสนุนการดำเนินงานจัดการเลือกตั้ง โดยมีนายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต.ด้านกิจการบริหารงานเลือกตั้ง เป็นประธานมอบนโยบายให้กับผู้อำนวยการ กกต.จังหวัดทั่วประเทศ และเจ้าหน้าที่ กกต.กล่าวตอนหนึ่งว่า ขอให้เจ้าหน้าที่ทุกด้านเตรียมความพร้อมสำหรับการเลือกตั้งนับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนเป็นต้นไป เนื่องจากมีความชัดเจนแล้วว่าต้องทำประชามติ คาดว่าน่าจะเดือนมกราคม 2559 และการเลือกตั้ง ส.ส. น่าจะเกิดขึ้นในเดือนสิงหาคม และเดือนตุลาคมเป็นการเลือกตั้ง ส.ว. ดังนั้นต้องทำให้สังคมเห็นว่า กกต.มีความพยายามทุ่มเทอย่างเต็มที่ให้เกิดการเลือกตั้ง ทำให้การเลือกตั้งเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องการ และจัดการเลือกตั้งให้เกิดความน่าเชื่อถือ มีคุณภาพ เป็นมืออาชีพ เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย

ส่วนการเตรียมความพร้อมทำประชามติ ได้หารือกันในที่ประชุม กกต.ว่าจะแบ่งออกเป็นสองส่วน คือส่วนของการดำเนินการทำประชามติและการรณรงค์เผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญ 

@ ชี้ช่ององค์กรร่วมรณรงค์รธน.

นายสมชัยกล่าวว่า สำหรับการทำประชามติตามความหมายจะต้องมีผู้ไปออกเสียงประชามติมากกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติ หากมีประชาชนมีสิทธิออกเสียง 40 ล้านคน จะต้องมีผู้ไปลงคะแนนกว่า 20 ล้านคน เมื่อมีผู้ไปออกเสียงเกินกว่าครึ่งหนึ่งแล้ว ผลคือจะใช้เสียงข้างมาก การทำประชามติโดยปกติจะถือว่าเป็นเครื่องมือในการตัดสินใจของรัฐบาลว่าจะดำเนินการตามผลที่ออกมาหรือไม่ แต่การทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ หากทำจริงผลที่ออกมาถือว่าผูกพันรัฐบาล

นายสมชัยกล่าวว่า หากรัฐบาลจะทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญ รัฐบาลและ คสช.คงต้องออกประกาศอย่างใดอย่างหนึ่งออกมา เพื่อให้สามารถจัดเวทีแสดงความคิดเห็นได้ และส่วนตัวจะเสนอให้ที่ประชุม กกต.พิจารณาให้องค์กรหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งที่เห็นต่างและเห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญมาจดทะเบียนกับ กกต.เพื่อขอรณรงค์ จะเป็นการควบคุมไม่ให้กลุ่มไปรณรงค์มีการเมืองเข้ามาแอบแฝง กลุ่มดังกล่าวจะต้องแสดงที่มา งบประมาณ หรือแนวทางกับ กกต. และบางส่วนอาจของบประมาณสนับสนุนจาก กกต.ในการรณรงค์ได้ด้วย

@ กกต.ชงแก้ร่างรธน.8 ประเด็น 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กกต.ได้ส่งข้อเสนอแนะในการแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญไปยัง ครม. คสช. โดยจัดส่งเป็นเอกสาร 24 หน้า รวม 8 ประเด็น ประกอบด้วย 1.เสนอให้ กกต.มีอำนาจประกาศงดการเลือกตั้งตามพระราชกฤษฎีกาแล้วให้กำหนดวันเลือกตั้งใหม่ ให้นายกรัฐมนตรีเสนอพระราชกฤษฎีกาตามที่ กกต.เสนอ เพื่อป้องกันเวลาเกิดปัญหาวิกฤต อาจทำให้การเลือกตั้งไม่เป็นวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร และให้ กกต.กำหนดวันลงคะแนนในหน่วยเลือกตั้งนั้นๆ ใหม่ได้ รวมทั้งมีอำนาจไม่จัดให้มีการลงคะแนนในหน่วยเลือกตั้งๆ นั้น หากเห็นว่าจำนวนหน่วยเลือกตั้ง และผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะไม่ทำให้ผลการเลือกตั้งเปลี่ยนแปลงไป เผื่อเกิดกรณีเหตุจลาจลหรือเหตุสุดวิสัยอื่นทำให้ลงคะแนนในหน่วยเลือกตั้งนั้นไม่ได้ 2.ให้ยกเลิกคณะกรรมการดำเนินการจัดการเลือกตั้ง (กจต.) มาจัดการเลือกตั้ง โดยให้ กกต.เป็นผู้ควบคุม ดำเนินการ และจัดการให้มีการเลือกตั้งเช่นเดิม 

@ เลิกโอเพ่นลิสต์-แจกใบแดงเอง

3.ให้ยกเลิกการลงคะแนน ส.ส.แบบโอเพ่นลิสต์ โดยให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งเลือกบัญชีรายชื่อผู้สมัครที่พรรคการเมืองจัดทำขึ้นเพียงบัญชีเดียว กกต.ให้เหตุผลการยกเลิกการเลือกตั้ง ส.ส.โอเพ่นลิสต์ว่า ระบบดังกล่าวจะทำลายเจตนารมณ์ของระบบบัญชีรายชื่อทั้งหมด เพราะจะกลายเป็นประชาชนเลือกตัวบุคคล 2 คน ในการเลือกตั้ง คือเลือกคนที่ชอบในเขตเลือกตั้ง และในระบบบัญชีรายชื่อ มิได้ลงคะแนนเลือกพรรค ขณะเดียวกันจะทำให้เกิดความแตกแยกภายในพรรครุนแรง ผู้สมัครจากพรรคเดียวกันต้องหาเสียงโจมตีกันเอง เพื่อให้ตัวเองได้คะแนนจากประชาชนมากที่สุด 4.ให้ยกเลิกกลุ่มการเมือง เพราะกลุ่มการเมืองจะทำให้ระบบพรรคการเมืองอ่อนแอ ไม่พัฒนาไปเป็นสถาบันการเมือง กลายเป็นปัญหาต่อการทำงานของฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติ 5.คงอำนาจ กกต.เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง (ใบแดง) และสั่งเลือกตั้งใหม่ได้ก่อนการประกาศผลการเลือกตั้ง โดยให้ถือว่าคำวินิจฉัยของ กกต.เป็นที่สุด เพราะการร่างรัฐธรรมนูญให้ กกต.มีอำนาจก่อนการประกาศผลเลือกตั้งเพียงสั่งเลือกตั้งใหม่ไม่สามารถขจัดผู้ทุจริตการเลือกตั้งออกไปได้ 

@ กก.สรรหากกต.ยึดรธน.ปี"50 

6.ให้เพิ่มอำนาจ กกต.ในการเรียกเอกสารหรือบุคคลมาให้ถ้อยคำเพิ่มเติม รวมถึงขอให้พนักงานอัยการ พนักงานสอบสวน หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น ดำเนินการเพื่อประโยชน์แห่งการปฏิบัติหน้าที่ในการสืบสวนหรือวินิจฉัยชี้ขาด 7.ให้กำหนดเรื่องการนับคะแนนว่าให้นับที่หน่วยเลือกตั้งแล้วส่งผลการนับคะแนนของหน่วยเลือกตั้งไปรวมที่เขตเลือกตั้งเพื่อนับคะแนนรวมแล้วประกาศผลโดยเปิดเผย และ 8.ให้แก้ไของค์ประกอบของคณะกรรมการสรรหา กกต. กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญกำหนดให้มีตัวแทนจากฝ่ายการเมือง 4 คน คือ

จากพรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายค้าน คณะรัฐมนตรี ร่วมเป็นกรรมการสรรหาด้วย เพราะอาจทำให้การเมืองแทรกแซงได้ง่าย ขัดเจตนารมณ์การจัดตั้งองค์กรอิสระ โดยเสนอว่าควรยึดองค์ประกอบของคณะกรรมการสรรหาตามรัฐธรรมนูญ 50 เนื่องจากแค่มีประธานสภาผู้แทนราษฎร และผู้นำฝ่ายค้านร่วมเป็นกรรมการสรรหา ก็ถือว่ายึดโยงกับประชาชนแล้ว อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้ทาง กกต.ทั้ง 5 คน อาจจะแถลงจุดยืนต่อการเสนอแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าวอีกครั้งในปลายสัปดาห์นี้ 

@ "สดศรี"ห่วงม.9ปมประชามติ 

นางสดศรี สัตยธรรม อดีต กกต.ด้านกิจการพรรคการเมืองและการออกเสียงประชามติ กล่าวกรณีนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีกำหนดให้ กกต.รับผิดชอบออกระเบียบ กกต. เพื่อให้การทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ สามารถปฏิบัติตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ.2552 ได้อย่างเรียบร้อย ว่า ประเด็นจะเป็นปัญหาคือ มาตรา 9 ของ พ.ร.บ.การออกเสียงประชามติ กำหนดเกณฑ์คะแนนให้ความเห็นชอบว่า คสช.และ ครม.จะใช้ตามวรรคไหน โดยวรรคแรกกำหนดให้การทำประชามติเพื่อหาข้อยุติจะต้องมีผู้มาลงคะแนนเกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง และใช้เสียงเห็นชอบเกินกึ่งหนึ่งของผู้มาออกเสียง หมายความว่า ผู้มีสิทธิเลือกตั้งมี 47 ล้านคน จะต้องมีผู้มาใช้สิทธิ 23.5 ล้านคน และจะต้องมีเสียงเห็นชอบ 11.75 ล้านคน รัฐธรรมนูญจึงจะได้รับความเห็นชอบ ส่วนวรรคสองกำหนดให้ใช้เพียงเสียงข้างมากของผู้มาใช้สิทธิ สำหรับกรณีทำประชามติตามมาตรา 168 ของรัฐธรรมนูญ 2550 เพื่อขอเป็นคำปรึกษาให้ ครม. 

@ เตือนเดินหน้าเสี่ยงกกต.ถูกฟ้อง 

นางสดศรีกล่าวว่า หากจำได้ประเด็นดังกล่าวนี้เคยมีปัญหาการตีความกันอย่างกว้างขวาง ในระหว่างสมัยรัฐบาลพรรคเพื่อไทย (พท.) ต้องการจะทำประชามติเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ตามมาตรา 291 ของรัฐธรรมนูญ 2550 จึงน่าสังเกตว่าทำไม คสช.และ ครม.ถึงไม่แก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราวตามมาตรา 46 เพื่อกำหนดเกณฑ์การนับเสียงประช ามติ หรือสั่งให้ สนช.แก้ไขกฎหมายลูกฉบับนี้หลังจากแก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราว ให้ชัดเจนในคราวเดียวว่าจะให้ใช้เกณฑ์การนับคะแนนไหน เพื่อให้การออกเสียงประชามติเรียบร้อย แต่กลับโยนให้ กกต.ออกระเบียบแก้ พ.ร.บ.การออกเสียงประชามติ พ.ศ.2552 กกต.ไม่สามารถออกกฎระเบียบมาแก้กฎหมายได้ เนื่องจากระเบียบมีศักดิ์ต่ำกว่ากฎหมาย กรณีดังกล่าวนี้ยังคล้ายกับการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับ 2550 ในส่วนของการเลือกตั้งให้เป็นเขตเดียวเบอร์เดียวและให้กลับมาใช้ประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง สมัยรัฐบาลประชาธิปัตย์ (ปชป.) ตอนแรกออกมาระบุว่าให้ กกต.แก้ไขระเบียบ ตนคัดค้านว่าทำไม่ได้ เพราะผิดกฎหมาย การแก้ไขกฎหมายไม่ว่าจะเป็นรัฐธรรมนูญ หรือ พ.ร.บ.จะต้องเป็นอำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติ ก่อนสภาผู้แทนราษฎรจะนำไปแก้ไขตามแนวทางในที่สุด 

"หาก กกต.ดำเนินการออกระเบียบแก้ไขกฎหมายนี้ในมาตรา 9 เพื่อจะละเว้นวรรคใดวรรคหนึ่ง ถือว่าเสี่ยงอันตรายอย่างยิ่ง เพราะ กกต.ไม่มีหลักประกันเลยว่าจะไม่ถูกฟ้องร้องในภายหลัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีรัฐบาลชุดใหม่ ไม่มีใครสามารถคุ้มครอง กกต.ได้ จึงอยากเตือน กกต.ชุดนี้ให้ระมัดระวัง เพราะขนาดสมัยหนึ่ง กกต.สั่งหันคูหาออกนอกหน่วยเลือกตั้ง กกต.ยังเคยถูกตัดสินจำคุกมาแล้ว ทั้งที่ไม่มีกฎหมายกำกับไว้ กรณีนี้เห็นได้อย่างชัดเจน" นางสดศรีกล่าว 

@ อจ.ชี้คสช.ต้องเกี่ยวแก้ร่างรธน.

นายอัษฎางค์ ปาณิกบุตร อดีตคณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง กล่าวกรณี พล.อ.ประยุทธ์ระบุว่า คสช.จะไม่เสนอข้อพิจารณาใดๆ ในการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ เพราะเกรงจะถูกมองว่าเป็นการชี้นำว่า คสช.ไม่ยุ่งไม่ได้หรอกเพราะเป็นต้นเรื่อง จริงๆ แล้ว คสช.กับรัฐบาลน่าจะเป็นตัวเดียวกัน เมื่อประธาน คสช.ใช้คำพูดว่าไม่ยุ่งเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ต้องมาดูว่ายุ่งเกี่ยวกับการทำประชามติไหม ถ้าทำประชามติต้องแก้รัฐธรรมนูญชั่วคราวที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ถ้า คสช.ไม่ยุ่งเกี่ยวเลย จะไม่เหมาะ ทำประชามติจะไม่มีใครกล้าทำ เพราะต้องได้รับไฟเขียวเพื่อให้แก้รัฐธรรมนูญชั่วคราว ให้มีประชามติได้ โดยหลักการถ้าแก้แล้วจะเป็นที่โล่งอกของผู้ดำเนินการทุกคน ไม่ต้องกลัวถูกฟ้องร้องทีหลัง

"จุดสำคัญอยู่ที่คำพูดนี้แปลได้ 2 สถาน การณ์ บอกว่าไม่ยุ่งเกี่ยวเลย แต่ให้ ครม.ช่วย น่าจะทำได้ คือยุ่งเกี่ยวทางลับ แต่ไม่ยุ่งเกี่ยวทางตรง คิดดูว่า คสช.คิดอะไร เพราะจริงๆ แล้วทั้ง คสช.และ ครม.นั้นมีหัวคนเดียวกันคือ พล.อ.ประยุทธ์ ฉะนั้นต้องตัดสินใจด้วยกันทั้งสองฝ่าย ต้องให้สัมภาษณ์ทันทีว่ายินดีให้ทำประชามติ จะดำเนินการอย่างถูกต้องตามกฎหมาย นี่คือคำพูดต้องรอฟัง" นายอัษฎางค์กล่าว

@ "วัฒนา"ชง5ข้อประชามติไม่ผ่าน

นายวัฒนา เมืองสุข แกนนำพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวว่า เห็นหลายฝ่ายดีใจ ครม.และ คสช.มีมติเป็นเอกฉันท์ให้แก้มาตรา 46 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราวเพื่อเปิดทางให้มีการทำประชามติรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ไม่อยากขัดความสุขของคนไทยในสภาพหาความสุขไม่ค่อยจะได้ แต่จำเป็นต้องตั้งข้อสังเกตเพื่อดักทางไว้ดังนี้ 1.ตามคำแถลงของรัฐบาล การทำประชามติจะเกิดขึ้นได้เฉพาะในกรณี สปช. มีมติรับร่างรัฐธรรมนูญ หาก สปช.ลงมติไม่รับร่างรัฐธรรมนูญตกไปไม่ต้องทำประชามติ หากถือตามรัฐธรรมนูญชั่วคราวก็ต้องย้อนกลับไปให้ คสช.แต่งตั้งสภาปฏิรูปเพื่อแต่งตั้ง มหาปราชญ์ชุดใหม่ยกร่างรัฐธรรมนูญ ซื้อเวลากันต่อไปไม่รู้จบ 2.เพื่อให้เรื่องนี้จบลงครั้งเดียวไม่ยืดเยื้อ เสนอให้แก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราวให้ครอบคลุมทุกประเด็นที่เกี่ยวกับยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ มีสาระสำคัญว่าหากที่ประชุม สปช.ลงมติไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ หรือรับแต่ประชาชนเสียงข้างมากออกเสียงในการลงประชามติไม่รับอันเป็นผลให้ร่างรัฐธรรมนูญตกไป ให้มีการสรรหากรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญชุดใหม่โดยประชาชน เพื่อดำเนินการแทนตามอำนาจหน้าที่ แทนที่จะให้ คสช.เป็นผู้แต่งตั้งตามมาตรา 38 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราว 3.รูปแบบและวิธีการเพื่อให้ได้มาซึ่งกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญชุดใหม่ เสนอให้ ครม.หรือ คสช. เชิญพรรคการเมือง นักวิชาการ ภาคประชาชนและตัวแทนวิชาชีพมาร่วมกันหารือ จะได้นำไปแก้ไขแล้วใส่ไว้ในรัฐธรรมนูญชั่วคราวเสียทีเดียว

@ แนะตั้งกมธ.ยกร่างใหม่จากปชช.

นายวัฒนากล่าวว่า 4.ฝากไปยัง กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญชุดใหม่ หากต้องการแสดงเจตนาบริสุทธิ์ ขจัดการมีส่วนได้เสีย อย่าไปทำแบบที่มหาปราชญ์เขียนไว้ในมาตรา 306 วรรคสอง เพราะไปเลือกห้ามเฉพาะการดำรงตำแหน่งทางการเมืองมาจากประชาชน ถึงไม่เขียนไว้ก็คงไม่เข้าไปยุ่งเพราะอะไร ที่มาจากประชาชนกรรมาธิการก็ไม่เอาด้วยอยู่แล้ว ส่วนตำแหน่งในองค์กรทั้งหลายไปแอบตั้งขึ้นเพื่อสืบทอดอำนาจต่อไปกลับลืมห้าม 5.ฝากความห่วงใยไปยังประธาน คสช. ว่าความจำเป็นเร่งด่วนที่สุด

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!