WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

การประชุมผู้นำกรอบความร่วมมือแม่โขง -ล้านช้าง ครั้งที่ 2

GOV 5การประชุมผู้นำกรอบความร่วมมือแม่โขง -ล้านช้าง ครั้งที่ 2

        คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ ดังนี้

       1. เห็นชอบต่อแผนปฏิบัติการระยะ 5 ปี ภายใต้กรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง (ค.ศ. 2018-2022) และร่างปฏิญญาพนมเปญ สำหรับการประชุมผู้นำกรอบความร่วมมือแม่โขง – ล้านช้าง ครั้งที่ 2 หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขร่างเอกสารดังกล่าวทั้งสอง ที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ให้ กต. ดำเนินการได้ โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง

                2. อนุมัติให้นายกรัฐมนตรีหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมผู้นำกรอบความร่วมมือแม่โขง – ล้านช้าง ครั้งที่ 2และเป็นผู้ร่วมให้การรับรองแผนปฏิบัติการระยะ 5 ปี ภายใต้กรอบความร่วมมือแม่โขง – ล้านช้าง (ค.ศ. 2018-2022)และร่างปฏิญญาพนมเปญ สำหรับการประชุมผู้นำกรอบความร่วมมือแม่โขง – ล้านช้าง ครั้งที่ 2

 

สาระสำคัญของแผนปฏิบัติการฯ และร่างปฏิญญาฯ ดังนี้

1. แผนปฏิบัติการระยะ 5 ปี (ค.ศ. 2018-2022)

1.1 แผนปฏิบัติการดังกล่าวเป็นการแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิกแม่โขง – ล้านช้าง ทั้ง 6 ประเทศ ประกอบด้วย จีน กัมพูชา สปป. ลาว เมียนมา เวียดนาม และไทย เพื่อเป็นการกำหนดแนวทางการดำเนินงานของกรอบความร่วมมือแม่โขง – ล้านช้าง ในระยะเวลา 5 ปีข้างหน้าโดยอิงตามปฏิญญาซานย่า และมีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง เพื่อเพิ่มความกินดีอยู่ดีของประชาชน ลดช่องว่างการพัฒนาภายในภูมิภาคและการสร้างชุมชนแห่งสันติภาพและความเจริญรุ่งเรืองในประเทศลุ่มแม่น้ำโขงและในอาเซียน โดยคำนึงถึงความต้องการในการพัฒนาของทุกประเทศสมาชิก บนพื้นฐานของกฎหมายระหว่างประเทศ หลักฉันทามติและความสมัครใจ

1.2 แผนปฏิบัติการฯ จะเป็นแผนฯ ที่สามารถนำมาปฏิบัติได้จริง ตามปฏิญญาซานย่าและมีแนวทางสอดคล้องกับสามเสาหลักของอาเซียน ได้แก่ การเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม โดยได้ระบุถึงการส่งเสริมความร่วมมือในสาขาที่เร่งด่วน (priority areas) 5 สาขา ได้แก่ ความเชื่อมโยง เศรษฐกิจข้ามพรมแดน ทรัพยากรน้ำ การพัฒนาศักยภาพในการผลิต และการเกษตร และการลดความยากจน โดยแผนปฏิบัติการดังกล่าวได้กล่าวถึงการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้เป็นแบบอย่างเพื่อการลดความยากจน

2. ร่างปฏิญญาพนมเปญ

2.1 เอกสารดังกล่าวเป็นการแสดงเจตนารมณ์ทางการเมืองของผู้นำของประเทศสมาชิกฯ โดยมีสาระที่อิงตามปฏิญญาซานย่า และแผนปฏิบัติการฯ โดยผู้นำทั้ง 6 ประเทศตระหนักว่าประเทศลุ่มแม่น้ำโขงทั้ง 6 ประเทศ มีแม่น้ำโขง – แม่น้ำล้านช้างเป็นตัวเชื่อมโยงในอนุภูมิภาคพร้อมทั้งแสดงความยินดีต่อพัฒนาการที่เป็นรูปธรรมของกรอบความร่วมมือ ซึ่งเกิดขึ้นจากเจตนารมณ์ทางการเมืองของประเทศสมาชิก และเน้นย้ำถึงความสำคัญที่กรอบความร่วมมือแม่โขง – ล้านช้าง มีต่อการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจของอนุภูมิภาค พร้อมทั้งต่อการสร้างเสริมความผาสุกของประชาชน

2.2 ยินดีที่ได้มีการจัดตั้งกลไกสถาบันที่เป็นรูปธรรม และการเปิดตัวศูนย์ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ ศูนย์ความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อม ศูนย์ระดับโลกเพื่อการศึกษาแม่น้ำโขง และยินดีต่อการดำเนินงานของกองทุนพิเศษแม่โขง – ล้านช้าง การจัดตั้งสำนักเลขาธิการกรอบความร่วมมือแม่โขง – ล้านช้างแห่งชาติ/ หน่วยประสานงานชั่วคราวของทั้ง 6 ประเทศ ประเทศสมาชิก กรอบความร่วมมือแม่โขง – ล้านช้าง จะมุ่งเน้นงานตามเจตนารมณ์ที่เปิดกว้าง การมีส่วนร่วม และสอดคล้องกับการสร้างประชาคมอาเซียน กรอบความร่วมมืออาเซียน – จีน และสอดคล้องกับข้อริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (Belt and Road Initiative: BRI) และกลไกความร่วมมืออนุภูมิภาคอื่น ๆ

2.3 ร่างปฏิญญาฯ กล่าวถึงประเด็นความร่วมมือใน 3 เสาหลักตามที่ปรากฏอยู่ในแผนปฏิบัติการฯ รวมทั้งได้ให้การรับรองแผนปฏิบัติการระยะ 5 ปี ซึ่งถือว่าเป็นเอกสารสำคัญที่เป็นแนวทางและเป็นบทบัญญัติที่จะนำกรอบความร่วมมือแม่โขง – ล้านช้างพัฒนาไปสู่ยุคใหม่ รวมทั้งการใช้กองทุนพิเศษแม่โขง – ล้านช้าง ในการสนับสนุนโครงการเร่งด่วนและข้อริเริ่มต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ผู้นำและแนวทางของรัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศสมาชิก

                ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 3 มกราคม 2561

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!