WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

การจัดทำความตกลงระหว่างไทยกับสหประชาชาติสำหรับการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อสนับสนุนกระบวนการรายงานและประเมินผลสำหรับสิ่งแวดล้อมทางทะเลทั่วโลก

GOV4 copyการจัดทำความตกลงระหว่างไทยกับสหประชาชาติสำหรับการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อสนับสนุนกระบวนการรายงานและประเมินผลสำหรับสิ่งแวดล้อมทางทะเลทั่วโลก

 

       เรื่อง การจัดทำความตกลงระหว่างไทยกับสหประชาชาติสำหรับการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อสนับสนุนกระบวนการรายงานและประเมินผลสำหรับสิ่งแวดล้อมทางทะเลทั่วโลกรวมทั้งประเด็นด้านเศรษฐกิจสังคม (Regional Workshop to Support the Regular Process for the Global Reporting and Assessmentof the Marine Environment, Including Socioeconomic Aspects)

 

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ ดังนี้

      1. อนุมัติให้จัดทำความตกลงระหว่างไทยกับสหประชาชาติในรูปแบบของหนังสือแลกเปลี่ยนสำหรับการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อสนับสนุนกระบวนการรายงานและประเมินผลสำหรับสิ่งแวดล้อมทางทะเลทั่วโลกรวมทั้งประเด็นด้านเศรษฐกิจสังคม (Regional Workshop to Support the Regular Process for the Global Reporting and Assessment of the Marine Environment, Including Socioeconomic Aspects)

     2. อนุมัติให้นายวีรชัย พลาศรัย เอกอัครราชทูต ผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายลงนามในหนังสือแลกเปลี่ยนฯ ของฝ่ายไทย พร้อมทั้งอนุมัติให้ กต. จัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers)ให้แก่ผู้ลงนาม

     3. หากมีความจำเป็นจะต้องแก้ไขปรับปรุงหนังสือแลกเปลี่ยนฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญก่อนการลงนาม ให้ กต. สามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง

ทั้งนี้ จะมีการลงนามในหนังสือแลกเปลี่ยนฯ ในวันที่ 24 พฤศจิกายน 2560 และการฝึกอบรมดังกล่าว จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 29-30 พฤศจิกายน 2560 ที่สำนักงาน UNESCO กรุงเทพมหานคร

     สาระสำคัญของการร่วมมือกับสหประชาชาติในการจัดการฝึกอบรมดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อเจ้าหน้าที่ในสายงานด้านกฎหมายระหว่างประเทศและสิ่งแวดล้อมทางทะเลของไทยที่จะได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และสร้างเครือข่ายกับผู้เชี่ยวชาญ ระหว่างประเทศจากประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ตลอดจนสะท้อนให้เห็นถึงความร่วมมืออันดีระหว่างไทยกับสหประชาชาติอันจะเชิดชูบทบาทและส่งเสริมภาพลักษณ์ของไทยในเวทีระหว่างประเทศ

     ทั้งนี้ ร่างหนังสือแลกเปลี่ยนสำหรับการฝึกอบรมฯ มีเนื้อหาสอดคล้องกับแนวปฏิบัติที่ผ่านมาของไทยในการจัดการฝึกอบรมและการประชุมระหว่างประเทศ ซึ่งสรุปได้ดังนี้

    1. กำหนดการดำเนินงาน : การฝึกอบรมฯ จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 29-30 พฤศจิกายน 2560 ที่สำนักงาน UNESCO กรุงเทพมหานครโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจให้กับผู้แทนจากประเทศ ต่าง ๆ ในการจัดทำรายงานการประเมินสภาพมหาสมุทรทั่วโลกอย่างบูรณาการ (Global Integrated Marine Assessment) ตลอดจนเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมการฝึกอบรมฯ ได้เสนอความเห็นและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการกำหนดแนวทางการดำเนินงานของกระบวนการประเมินสถานะของสิ่งแวดล้อมทางทะเลทั่วโลก รอบที่ 2 ซึ่งมีกำหนดจัดทำให้แล้วเสร็จภายในปี ค.ศ. 2020

    2. ความรับผิดชอบ : สหประชาชาติจะรับผิดชอบในการเตรียมหลักสูตรการฝึกอบรมฯ และเชิญผู้เข้าร่วมการฝึกอบรมจำนวนไม่เกิน 40 คน ประกอบด้วย ผู้แทนจากประเทศไทยจำนวน 5 คน (เสนอชื่อโดยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง จากประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก เช่น สาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลีประเทศสมาชิกอาเซียนและองค์การระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง เช่น องค์การทางทะเลระดับภูมิภาคองค์การด้านการบริหารและจัดการด้านการประมงระดับภูมิภาค องค์การระหว่างรัฐบาลด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเลในระดับภูมิภาค รวมทั้งจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการฝึกอบรมฯ ทั้งหมด

     3. เงื่อนไข : รัฐบาลไทยจะให้เอกสิทธิ์และความคุ้มกันแก่ผู้แทนจากประเทศและองค์การ ต่าง ๆ ผู้บรรยายที่ได้รับเชิญจากสหประชาชาติ และพนักงานของสหประชาชนที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวเนื่องกับการฝึกอบรมฯ โดยจะให้เอกสิทธิ์และความคุ้มกัน เท่าที่กำหนดไว้ในอนุสัญญาว่าด้วยเอกสิทธิ์และความคุ้มกันของสหประชาชาติที่ได้รับรองโดยสหประชาชาติเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1946 ซึ่งไทยมีพระราชบัญญัติคุ้มครองการดำเนินงานของสหประชาชาติและทบวงการชำนาญพิเศษในประเทศไทย พ.ศ. 2504 เป็นกฎหมายรองรับอยู่แล้ว

                        ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 21 พฤศจิกายน 2560

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!