WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

การดำเนินงานเมืองสิ่งแวดล้อมยั่งยืน ประจำปี 2559

GOV8 copyการดำเนินงานเมืองสิ่งแวดล้อมยั่งยืน ประจำปี 2559

 

      คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบ ดังนี้

        1. รับทราบผลการดำเนินงานเมืองสิ่งแวดล้อมยั่งยืนประจำปี 2559 ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ

        2. เห็นชอบในหลักการแนวทางการขับเคลื่อนเมืองสิ่งแวดล้อมยั่งยืนและให้ ทส. ร่วมกับกระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณากำหนดกรอบแนวทางการขับเคลื่อนเมืองสิ่งแวดล้อมยั่งยืนให้มีความชัดเจนเป็นรูปธรรมมากขึ้น เช่น แผนงาน/โครงการที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องดำเนินการเพื่อนำไปสู่เป้าหมายการพัฒนาเมืองสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนให้ครอบคลุมทั่วประเทศได้ภายในปี 2563 ทั้งนี้ กรอบแนวทางการขับเคลื่อนดังกล่าวควรมุ่งเน้นการสร้างการรับรู้ให้ทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน

 

และประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการด้วย

       สาระสำคัญของแนวทางการขับเคลื่อนเมืองสิ่งแวดล้อมยั่งยืน เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้เป็นกรอบในการดำเนินงานอย่างบูรณาการร่วมกัน และผลักดันให้การดำเนินงานเมืองสิ่งแวดล้อมยั่งยืนขยายผลและครอบคลุมพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสรุปดังนี้

       1. วัตถุประสงค์ : เพื่อผลักดันให้การดำเนินงานเมืองสิ่งแวดล้อมยั่งยืนขยายผลและครอบคลุมพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ

        2. เป้าหมาย : พัฒนาให้มีเมืองศูนย์กลางจังหวัดเป็นเมืองน่าอยู่ 1 แห่งต่อจังหวัด และขยายผลการดำเนินงานให้ครอบคลุมจำนวน 76 จังหวัด ภายในปี 2563 โดยในปี 2564 เป็นการประเมินผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานและพัฒนารูปแบบการพัฒนาเมืองในอนาคต

      3. กลยุทธ์การดำเนินงาน แบ่งออกเป็น 4 กลยุทธ์ ได้แก่

(1) ผลักดันสู่นโยบายระดับชาติและบูรณาการความร่วมมือ โดยกลไกประชารัฐ

(2) พัฒนาปรับปรุงเกณฑ์เพื่อประเมินผลการดำเนินงานของเทศบาล

(3) พัฒนาศักยภาพภาคีที่เกี่ยวข้องให้สามารถดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ

(4) สร้างแรงจูงใจและเชิดชูเกียรติพื้นที่ต้นแบบการดำเนินงาน

4. กลไกการขับเคลื่อนเมืองสิ่งแวดล้อมยั่งยืน แบ่งเป็น 3 ระดับ ดังนี้

 

ระดับ จังหวัด

องค์ประกอบ

- ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานและสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเป็นฝ่ายเลขานุการ โดยมีองค์ประกอบกรรมการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับจังหวัด

กลไกการขับเคลื่อน

- มีกลไกในการบูรณาการการทำงานและงบประมาณในระดับจังหวัด การพิจารณาจัดทำตัวชี้วัดระดับจังหวัดและระดับหน่วยงานรวมถึงการ บูรณาการการทำงานระดับพื้นที่

 

ระดับกลุ่มจังหวัด

องค์ประกอบ

- ผู้ว่าราชการจังหวัด (หัวหน้ากลุ่มจังหวัด) เป็นประธาน และสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคเป็นฝ่ายเลขานุการ โดยมีองค์ประกอบกรรมการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องระดับกลุ่มจังหวัดและระดับภาค

 

กลไกการขับเคลื่อน

- มีกลไกในการบูรณาการการทำงานและงบประมาณในระดับกลุ่มจังหวัดพัฒนาระบบกลไกการติดตามและประเมินผลการสร้างเครือข่ายให้เกิดความเข้มแข็งการสื่อสารและประชาสัมพันธ์

 

ระดับประเทศ

องค์ประกอบ

- นายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีเป็นประธานและกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมเป็นฝ่ายเลขานุการ โดยมีหน่วยงานจากกระทรวงที่เกี่ยวข้องและองค์กรหรือสมาคมในระดับประเทศเป็นองค์ประกอบกรรมการ

 

กลไกการขับเคลื่อน

         - มีกลไกในการบูรณาการนโยบายการทำงานระดับกระทรวง รวมถึงการเพิ่มช่องทางงบประมาณพิเศษ

         1. หน่วยงานดำเนินการหลัก ได้แก่ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาค สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันการศึกษา กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

         2. ทส. โดย กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมได้ประสานหารือแนวทางการดำเนินงานความร่วมมือในเบื้องต้นกับกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นถึงกรอบแนวทางการขับเคลื่อนเมืองสิ่งแวดล้อมยั่งยืนและการผลักดันให้มีการนำเกณฑ์ชี้วัดเมืองสิ่งแวดล้อมยั่งยืน ซึ่งประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ 34 ตัวชี้วัด ไปเป็นเกณฑ์ในการประเมินประสิทธิภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (Local Performance Assessment - LPA) ในทุกระดับในปีงบประมาณต่อไป

          ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 10 ตุลาคม 2560

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!