WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ขออนุมัติหลักการในการเตรียมความพร้อมโครงการคลองระบายน้ำหลากบางบาล – บางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

GOV2 copy copyขออนุมัติหลักการในการเตรียมความพร้อมโครงการคลองระบายน้ำหลากบางบาล – บางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

 

      คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการการเตรียมความพร้อมในการดำเนินโครงการคลองระบายน้ำหลากบางบาล – บางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ และให้ กษ. ดำเนินการให้ถูกต้องเป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย รวมทั้งกฎหมายและระเบียบหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัดต่อไป

 

สาระสำคัญของเรื่อง

        กษ. รายงานว่า กรมชลประทานได้ดำเนินโครงการศึกษาความเหมาะสมและผลกระทบสิ่งแวดล้อม การบริหารจัดการน้ำพื้นที่แม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก แล้วเสร็จเมื่อเดือนสิงหาคม 2557 และได้ศึกษาทบทวน ความเหมาะสมโครงการคลองระบายน้ำหลากบางบาล – บางไทร แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2559 ปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินการสำรวจออกแบบรายละเอียดประกอบการก่อสร้างคลองระบายน้ำหลากบางบาล – บางไทร และอาคารประกอบ ซึ่งในกระบวนการออกแบบจะต้องทำการชี้แจงทำความเข้าใจกับราษฎรเพื่อให้เกิดผลกระทบกับราษฎรในพื้นที่น้อยที่สุด ตามแผนงานจะออกแบบแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2562 และสามารถเริ่มกระบวนการก่อสร้างได้ ในปี พ.ศ. 2562 โดยแผนงานก่อสร้างโครงการคลองระบายน้ำหลากบางบาล – บางไทร แบ่งเป็น 2 ระยะ ดังนี้

        1. แผนงานระยะเร่งด่วน เป็นการก่อสร้างคลองระบายน้ำหลากบางบาล – บางไทร ประตูระบายน้ำปลายคลอง อาคารจ่ายน้ำพร้อมสถานีสูบน้ำ สถานีสูบน้ำแบบ 2 ทาง พร้อมอาคารประกอบ สะพานรถยนต์ข้ามคลอง งานป้องกันตลิ่งบริเวณปลายคลอง และคันกั้นน้ำโดยรอบพื้นที่โครงการและอาคารประกอบ โดยจะเริ่มดำเนินการก่อสร้างในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562

       2. แผนงานระยะต่อไป เป็นการก่อสร้างเขื่อนพระนครศรีอยุธยา เพื่อควบคุมและบริหารจัดการน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งจะเริ่มดำเนินการเมื่อมีความพร้อมครบทุกด้านแล้ว

     ทั้งนี้ โครงการระบายน้ำหลากบางบาล – บางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นโครงการที่มีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องดำเนินการเพื่อบรรเทาปัญหาอุทกภัยและเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำใน ลุ่มน้ำเจ้าพระยา รวมทั้งเป็นโครงการลงทุนขนาดใหญ่อาจมีผลกระทบในวงกว้างในด้านการใช้พื้นที่เพื่อการก่อสร้าง ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาและการบูรณาการความร่วมมือจากหลายภาคส่วนเพื่อให้การดำเนินการในส่วนนี้เป็นไปตามแผนงานที่วางไว้ ประกอบกับในคราวประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2560 นายกรัฐมนตรี มีข้อสั่งการให้ กษ. เป็นหน่วยงานหลักร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พิจารณากำหนดแนวทางการบริหารจัดการน้ำบริเวณ ลุ่มน้ำเจ้าพระยาเพิ่มเติม โดยเฉพาะการเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำในพื้นที่ฝั่งตะวันตกและพื้นที่ฝั่งตะวันออกของบริเวณลุ่มน้ำดังกล่าว ซึ่งโครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของแผนงานเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำดังกล่าว

     ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 19 กันยายน 2560

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!