WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ร่างแถลงการณ์ร่วมอาเซียนว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อที่ประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 23

GOVPolicyร่างแถลงการณ์ร่วมอาเซียนว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อที่ประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 23

 

     เรื่อง ร่างแถลงการณ์ร่วมอาเซียนว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อที่ประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 23 (ASEAN Joint Statement on Climate Change to COP 23)

      คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ ดังนี้

      1. เห็นชอบในหลักการของร่างแถลงการณ์ร่วมอาเซียนว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อที่ประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 23 (ร่างแถลงการณ์ร่วมอาเซียนฯ) (ASEAN Joint Statement on Climate Change to COP 23)

      2. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายร่วมรับรองร่างแถลงการณ์ร่วมอาเซียนฯ

     3. หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างแถลงการณ์ร่วมอาเซียนฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้ ทส. พิจารณาดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก

       ร่างแถลงการณ์ร่วมอาเซียนฯ เป็นการแสดงถึงจุดยืนร่วมกันของประเทศสมาชิกอาเซียนในความร่วมมือการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change: UNFCCC) และความตกลงปารีส (Paris Agreement) โดยสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้

       1. การสนับสนุนด้านการเงิน การเสริมสร้างศักยภาพ และการพัฒนาถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เพียงพอ คาดการณ์ได้ โปร่งใส และเป็นไปตามความต้องการที่เป็นไปตามพันธกรณีระยะยาวของภาคีประเทศพัฒนาแล้ว ในการเพิ่มความมุ่งมั่นด้านการปรับตัวและการลดก๊าซเรือนกระจกอย่างสมดุล

        2. การเข้าถึงการสนับสนุนการเตรียมความพร้อมและการดำเนินงานจากกองทุน Green Climate Fund (GCF) ที่ควรได้รับการอำนวยความสะดวกและเข้าถึงได้จริง

       3. การจัดให้มีกลไกการดำเนินงานแก่ประเทศสมาชิกอาเซียน และภาคีประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆ เพื่อยกระดับการป้องกันและการจัดการอย่างยั่งยืน ตลอดจนการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ ระบบนิเวศและภูมิประเทศ รวมทั้งระบบนิเวศที่เปราะบางทั้งทางบก ทางชายฝั่งและทะเล ผ่านแนวปฏิบัติเชิงภูมิทัศน์เพื่อสร้างภูมิต้านทานและความสามารถในการฟื้นตัวจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

        4. การตอบสนองอย่างทันท่วงทีในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการลดความเสี่ยงจากภับพิบัติในภูมิภาคอาเซียนให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้นผ่านกลไกที่มีอยู่ภายใต้ความตกลงอาเซียนว่าด้วยการบริหารจัดการภัยพิบัติและการตอบสนองต่อสถานการณ์เหตุฉุกเฉิน รวมทั้งการสนับสนุนการดำเนินมาตรการปรับตัวในภาคเกษตร โดยตระหนักถึงบทบาทที่สำคัญของภาคการเกษตรต่อความมั่นคงทางอาหารและการให้ผลประโยชน์ร่วมด้านการปรับตัว

      ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 5 กันยายน 2560

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!