WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ขออนุมัติการแสดงเจตจำนงที่จะร่วมมือกับ OECD ในการดำเนินโครงการ Country Programme ในโอกาสที่เลขาธิการ OECD เยือนไทย

GOVนโยบายขออนุมัติการแสดงเจตจำนงที่จะร่วมมือกับ OECD ในการดำเนินโครงการ Country Programme ในโอกาสที่เลขาธิการ OECD เยือนไทย

 

       คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ ดังนี้

       1. เห็นชอบร่างหนังสือแสดงความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organisation for Economic Co-operation and Development : OECD) เพื่อสะท้อนเจตนารมณ์ของทั้งสองฝ่ายในการร่วมมือในการดำเนินโครงการ Country Programme (CP) และมอบหมายให้รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสุวิทย์ เมษินทรีย์) เป็นผู้ลงนามแทนรัฐบาลไทย โดยให้ กต. สามารถปรับถ้อยคำได้ตามความเหมาะสม หากไม่กระทบกับสาระสำคัญ

       2. อนุมัติให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินโครงการ CP ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสุวิทย์ เมษินทรีย์) ตามบัญชาของนายกรัฐมนตรี

 

สาระสำคัญของโครงการ CP

       1. CP เป็นโครงการความร่วมมือระยะ 2-3 ปี มีวัตถุประสงค์เพื่อกระชับความร่วมมือระหว่าง OECD กับประเทศไทยอย่างบูรณาการ และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของไทยในหน่วยงานของ OECD ทำให้ไทยสามารถเข้าถึงองค์ความรู้ และแนวปฏิบัติที่ดีของ OECD ซึ่งจะช่วยพัฒนาแนวนโยบายภาครัฐของไทยที่จำเป็นเร่งด่วนต่อการส่งเสริมศักยภาพ พัฒนาขีดความสามารถ และปฏิรูปกฎระเบียบภายในให้ดียิ่งขึ้น ทั้งนี้ จากการหารือกับหน่วยงานไทยที่เกี่ยวข้อง ส่วนใหญ่เห็นถึงประโยชน์ของการร่วมมือกับ OECD ผ่านโครงการ CP ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการเสริมสร้างความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติอีกด้วย

               2. โครงการ CP มีแนวทางความร่วมมือ 5 รูปแบบ ได้แก่

               (1) การจัดทำรายงานวิเคราะห์นโยบาย (Policy Reviews) เพื่อศึกษา/ประเมินนโยบายด้านนั้น ๆ ของประเทศไทย

               (2) การเพิ่มการมีส่วนร่วมของหน่วยงานไทยในองค์กรของ OECD เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์และแนวปฏิบัติที่ดี

               (3) การจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ/ฝึกอบรมแก่หน่วยงานต่าง ๆ ของไทย

               (4) การรับรองตราสารทางกฎหมาย (Legal Instrument) ของ OECD เพื่อยกระดับมาตรฐานของไทยให้ทัดเทียมสากล และ

               (5) การส่งเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานของไทยไปปฏิบัติงานชั่วคราวที่สำนักเลขาธิการ OECD ณ กรุงปารีส เพื่อพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรภาครัฐของไทย

               3. กต. และ สศช. ได้จัดการประชุมหารือร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ของไทยอย่างต่อเนื่อง จนได้ข้อสรุปเรื่องสาขาความร่วมมือภายใต้โครงการ (CP) โดยจะแบ่งเป็น 4 เสาหลัก ได้แก่

               (1) ธรรมภิบาลภาครัฐและความโปร่งใส (Governance & Transparency)

               (2) สภาพแวดล้อมทางธุรกิจและความสามารถในการแข่งขัน (Business Climate & Competitiveness)

               (3) ประเทศไทย 4.0 (Thailand 4.0) และ

               (4) การเติบโตอย่างทั่วถึง (Inclusive Growth) ทั้งนี้ รูปแบบของสาขาความร่วมมือจะประกอบด้วย โครงการความร่วมมือที่ต่อยอดจากส่วนที่มีการดำเนินการระหว่าง OECD กับหน่วยงานต่าง ๆ ของไทยอยู่แล้ว และความร่วมมือเพิ่มเติมกับหน่วยงานที่ยังไม่เคยมีความร่วมมือกับ OECD มาก่อน รวม 16 โครงการ

              ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 22 สิงหาคม 2560

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!