WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

การรับรองร่างปฏิญญาร่วมว่าด้วยการประกาศเริ่มการเจรจาความตกลงการค้าเสรีไทย-ตุรกี

GOV2 copy copyการรับรองร่างปฏิญญาร่วมว่าด้วยการประกาศเริ่มการเจรจาความตกลงการค้าเสรีไทย-ตุรกี

    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ ดังนี้

            1. เห็นชอบต่อร่างปฏิญญาร่วมว่าด้วยการประกาศเริ่มการเจรจาความตกลงการค้าเสรีไทย-ตุรกี

            2. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามในร่างปฎิญญาฯ

            ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างปฏิญญาร่วมว่าด้วยการประกาศเริ่มการเจรจาความตกลงการค้าเสรีไทย-ตุรกี ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้ ให้ พณ. ดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ประเทศไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว ตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2558 (เรื่อง การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ) ด้วย

 

ร่างปฏิญญาฯ มีสาระสำคัญ ดังนี้

            1. วัตถุประสงค์ เพื่อแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันของประเทศคู่เจรจาในการประกาศเริ่มการเจรจา FTA ไทย-ตุรกี

            2. กำหนดให้เริ่มต้นการเจรจารอบแรกในระหว่างวันที่ 19-20 กรกฎาคม 2560

            3. รับรองที่จะดำเนินการตามเอกสารกำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่ในการเจรจาความตกลงฯ (Terms of Reference Negotiation Guideline for Turkey-Thailand FTA) และเอกสารแนวทางการเจรจาบท ว่าด้วยการค้าสินค้าในความตกลงการค้าเสรี ไทย-ตุรกี (The Guideline for Trade in Goods Negotiation for Turkey-Thailand FTA) ซึ่งได้ทำการตกลงกันในการประชุมเตรียมการสำหรับการเปิดเจรจา FTA ไทย-ตุรกี ระหว่างฝ่ายไทยและฝ่ายตุรกี เมื่อวันที่ 21-22 พฤษภาคม 2558 ณ กรุงเทพมหานคร

    ทั้งนี้ การจัดทำ FTA ไทย-ตุรกี จะช่วยพัฒนาความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างกัน เสริมสร้างศักยภาพของไทยในการส่งออกสินค้าไปยังตลาดใหม่ที่มีศักยภาพ มีประชากรประมาณ 80 ล้านคน มีนักท่องเที่ยวกว่าปีละ 30 ล้านคน และมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 19 ของโลก จึงเป็นตลาดที่มีกำลังซื้อสูง โดย FTA จะช่วยลดผลกระทบจากการถูกตัดสิทธิประโยชน์ทางภาษี (Generalized System of Preferences : GSP) ซึ่งตุรกีได้ตัดสิทธิ GSP ของไทยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2558

      นอกจากนั้น ยังเป็นการขยายโอกาสในการขยายฐานการส่งออกไปยังประเทศเพื่อบ้านในตะวันออกกลาง ยุโรปตะวันออก แอฟริกาเหนือ กลุ่มประเทศบอลข่าน และกลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราช (Commonwealth of Independent States : CIS) และเป็นโอกาสในการขยายการลงทุนและใช้สิทธิพิเศษต่างๆ จากการที่ตุรกีมีการจัดทำ FTA กับประเทศต่างๆ มีผลบังคับใช้แล้วกว่า 23 ประเทศ โดยสินค้าและบริการของไทยที่จะได้รับประโยชน์จากการทำ FTA กับตุรกี ได้แก่ ยานพาหนะ ตู้เย็น พลาสติกชนิดโพลิสสไตรีน ผ้าทอ เมล็ดพืช อาหารฮาลลาล เคมีภัณฑ์อินทรีย์ พลาสติก และผลิตภัณฑ์ ยางและผลิตภัณฑ์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เครื่องจักร อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และชิ้นส่วนยานยนต์ ธุรกิจเกี่ยวกับการท่องเที่ยว ร้านอาหาร โรงแรม สปา ธุรกิจที่เกี่ยวกับการจัดประชุมและนิทรรศการอุตสาหกรรมแปรรูปผลิตผลทางการเกษตรและประมง

                    ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 18 กรกฏาคม 2560

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!