WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ขอความเห็นชอบยุทธศาสตร์พัฒนากำลังคนสนับสนุนเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (พ.ศ. 2560 – 2564)

GOV1 copy copyขอความเห็นชอบยุทธศาสตร์พัฒนากำลังคนสนับสนุนเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (พ.ศ. 2560 – 2564)

 

   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบยุทธศาสตร์พัฒนากำลังคนสนับสนุนเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (พ.ศ. 2560 – 2564) ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เสนอ

    ทั้งนี้ ให้ ศธ. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนบูรณาการการพัฒนาบุคลากรเพื่อรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมอนาคตของประเทศในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกทั้งในส่วนของภาครัฐและเอกชน ให้ครอบคลุมการศึกษาทั้งระบบ รวมทั้งให้เห็นถึงความเชื่อมโยงของแผนงาน / โครงการภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนากำลังคนฯ กับเป้าหมายและแนวทางการพัฒนาของแผนงานพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (พ.ศ. 2560 – 2564) และยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี รวมทั้งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีส่งยุทธศาสตร์พัฒนากำลังคนสนับสนุนเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (พ.ศ. 2560 – 2564) ให้คณะกรรมการเตรียมการยุทธศาสตร์ชาติทราบเพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาดำเนินการเกี่ยวกับการเตรียมการยุทธศาสตร์ในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป

     สาระสำคัญของยุทธศาสตร์พัฒนากำลังคนสนับสนุนเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (พ.ศ. 2560 – 2564) มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาที่มีคุณภาพและมาตรฐานสากลรองรับการพัฒนา EEC เสริมสร้างคุณลักษณะผู้เรียนให้มีความรู้ ทักษะนิสัยอุตสาหกรรม คุณธรรม จริยธรรม และความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงที่สอดคล้องกับการประกอบอาชีพและการดำรงชีวิตในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ส่งเสริมความร่วมมือกับสถานประกอบการ ประชาสังคมในรูปแบบประชารัฐเพื่อยกระดับมาตรฐานการจัดอาชีวศึกษาในทุกมิติให้สอดคล้องกับบริบทของภาคการผลิตและบริการใน EEC รวมทั้งเพิ่มขีดความสามารถ คณาจารย์ ครู บุคลากรทางการศึกษาและครูฝึกในสถานประกอบการ รองรับการจัดการเรียนการสอนสอดคล้องกับการพัฒนาภาคการผลิตและบริการในยุคประเทศไทย 4.0 ประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์ ได้แก่

 

ยุทธศาสตร์ที่

     1. จัดการอาชีวศึกษาเพื่อความมั่นคงของสังคมและประเทศชาติ ยุทธศาสตร์ที่

     2. ผลิตและพัฒนากำลังคนระดับอาชีวศึกษาการวิจัย และนวัตกรรมเพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ยุทธศาสตร์ที่

     3. การพัฒนาศักยภาพกำลังคนด้านอาชีวศึกษาทุกช่วงวัยและการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ยุทธศาสตร์ที่

     4. การสร้างโอกาสความเสมอภาค และความเท่าเทียมกันด้านอาชีวศึกษา ยุทธศาสตร์ที่

     5. การสอน การแนะนำทั้งในและนอกระบบการศึกษาเพื่อสร้างการเติบโตของคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และยุทธศาสตร์ที่

     6. การขับเคลื่อนธุรกิจเศรษฐกิจ ประเทศ ด้วยงานวิจัยทุกระดับ เพื่อการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการจัดการบริหารจัดการภาครัฐ

                    ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 18 กรกฏาคม 2560

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!