WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ท่าทีไทย และการลงนามในการประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้า (Joint Trade Committee: JTC) ระหว่างไทย-บังกลาเทศ ครั้งที่ 4

GOV2 copyท่าทีไทย และการลงนามในการประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้า (Joint Trade Committee: JTC) ระหว่างไทย-บังกลาเทศ ครั้งที่ 4

 

 

        คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ ดังนี้

       1. เห็นชอบท่าทีไทยสำหรับการประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้าไทย-บังกลาเทศ(Joint Trade Committee: JTC) ครั้งที่ 4

       2. หากในการประชุมดังกล่าวมีผลให้มีการตกลงเรื่องความร่วมมือด้านเศรษฐกิจการค้าในประเด็นอื่น ๆ อันจะเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจการค้าสองฝ่ายระหว่างไทยกับบังกลาเทศ โดย ไม่มีการจัดทำเป็นความตกลงหรือหนังสือสัญญาขึ้นมา ให้ พณ. และผู้แทนไทยที่เข้าร่วมการประชุมดังกล่าวสามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง

      3. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายรับรองผลการประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้าไทย-บังกลาเทศ ครั้งที่ 4 รวมถึงเอกสารอื่น ๆ ที่เป็นผลจากการหารือขยายความร่วมมือเฉพาะด้าน (หากมี)

      4. อนุมัติการลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการซื้อขายข้าวระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลบังกลาเทศ โดยมอบอำนาจให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์หรือผู้ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์มอบหมายให้เป็นผู้ลงนามฝ่ายไทย ทั้งนี้ หากมีการแก้ไขถ้อยคำที่มิได้ทำให้สาระสำคัญในร่างบันทึกความเข้าใจฯ เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ให้อยู่ในดุลยพินิจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์หรือผู้ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์มอบหมาย ที่จะดำเนินการได้

     5. มอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) จัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ หรือผู้ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์มอบหมายให้เป็นผู้ลงนามในบันทึกความเข้าใจดังกล่าว

 

สาระสำคัญของเรื่อง

       1. การประชุม JTC ไทย-บังกลาเทศ ครั้งที่ 4 มีประเด็น ดังนี้ 1) การเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจ 2) การตั้งเป้าหมายทางการค้าและการขยายการลงทุน 3) ความเป็นไปได้ในการจัดทำความตกลงการค้าเสรี (FTA) ไทย-บังกลาเทศ 4) การให้สิทธิพิเศษในการยกเลิกภาษีนำเข้าและโควตาภายใต้ Duty Free Quota Free: DFQF 5) ความร่วมมือระหว่างภาคเอกชน และ 6) ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ

       2. บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการซื้อขายข้าวระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลบังกลาเทศ เป็นความตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลบังกลาเทศเกี่ยวกับการซื้อขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ (G to G) โดยมีสาระสำคัญ คือ รัฐบาลบังกลาเทศตกลงที่จะซื้อข้าวทุกชนิดปริมาณไม่เกิน 1 ล้านตันต่อปี ในช่วงระยะเวลาตั้งแต่วันที่ลงนามและสิ้นสุดในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 โดยมีเงื่อนไขขึ้นอยู่กับสถานการณ์การผลิตและราคาตลาดโลกในช่วงที่มีการ ซื้อขายจริงในขณะนั้น ทั้งนี้ การจัดทำบันทึกความเข้าใจฉบับนี้เป็นเพียงกรอบความตกลงในการจะซื้อจะขายเท่านั้น โดยการตกลงซื้อขายที่จะเกิดขึ้นจริงผ่านแบบรัฐต่อรัฐ ฝ่ายไทยมอบหมาย พณ. โดยกรมการค้าต่างประเทศเป็นผู้ดำเนินการ และฝ่ายบังกลาเทศมอบหมายกระทรวงอาหารโดยกรมอาหารเป็นผู้ดำเนินการ

     ทั้งนี้ ร่างบันทึกความเข้าใจที่จะจัดทำนี้ มีเนื้อหาสอดคล้องกับบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการซื้อขายข้าวระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลบังกลาเทศฉบับเดิม ซึ่งได้หมดอายุลงเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2556 และฉบับต่ออายุซึ่งหมดอายุลงเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2559 โดยรัฐบาลไทยและรัฐบาลบังกลาเทศได้ตกลงที่จะซื้อขายข้าวนึ่งระหว่างกันไม่เกิน 1 ล้านตันต่อปี ในช่วงระยะเวลา 2 ปี (พ.ศ. 2555-2556) และ 4 ปี (พ.ศ. 2556-2559) ตามลำดับ โดยมีเงื่อนไขขึ้นอยู่กับอุปสงค์ของตลาด สถานการณ์การผลิตและปริมาณข้าวของแต่ละประเทศและราคาตลาดระหว่างประเทศที่มีการซื้อขายจริงในขณะนั้น

        ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 30 พฤษภาคม 2560

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!