WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 (การกำหนดปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดที่เหมาะสม)

GOV5ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 (การกำหนดปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดที่เหมาะสม)

 

      เรื่อง ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 (การกำหนดปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดที่เหมาะสม)

     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 (การกำหนดปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดที่เหมาะสม) ตามที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้วดำเนินการต่อไปได้

สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง

     แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวง ฉบับที่ 16 (พ.ศ. 2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 เพื่อปรับปรุงเกณฑ์ปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด ที่ให้ถือว่าเมาสุราในขณะขับรถ สำหรับผู้ขับขี่ซึ่งมีอายุ ไม่ถึง 20 ปีบริบูรณ์ ผู้ขับขี่ซึ่งไม่มีใบอนุญาตขับรถ หรือผู้ขับขี่ซึ่งได้รับใบอนุญาตขับรถชั่วคราว ดังนี้

     กฎกระทรวง ฉบับที่ 16 (พ.ศ. 2537) ออกตามความใน พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ. 2522 ร่างกฎกระทรวงฯ ตามที่ ตช. เสนอ

ข้อ 3 ถ้ามีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดดังต่อไปนี้ให้ถือว่าเมาสุรา

(1) กรณีตรวจวัดจากเลือด เกิน 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์

(2) กรณีตรวจวัดจากลมหายใจหรือปัสสาวะ ให้เทียบปริมาณแอลกอฮอล์โดยใช้ปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเป็นเกณฑ์มาตรฐานดังนี้

(ก) กรณีตรวจวัดจากลมหายใจ ให้ใช้ค่าสัมประสิทธิ์ในการแปลงค่าเท่ากับ 2,000

(ข) กรณีตรวจวัดจากปัสสาวะ ให้ใช้ค่าสัมประสิทธิ์ในการแปลงค่าเท่ากับเศษ 1 ส่วน 1.3ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 3 ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 16 (พ.ศ. 2537) ออกตามความใน พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ. 2522 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

ข้อ 3 ถ้ามีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าเมาสุรา

(1) กรณีตรวจวัดจากเลือด ให้ถือเกณฑ์ดังต่อไปนี้

(ก) ผู้ขับขี่ซึ่งมีอายุไม่ถึงยี่สิบปีบริบูรณ์ มีปริมาณแอลกอฮอล์เกิน 20 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์

(ข) ผู้ขับขี่ซึ่งไม่มีใบอนุญาตขับรถ หรือผู้ขับขี่ซึ่งได้รับใบอนุญาตขับรถชั่วคราวมีปริมาณแอลกอฮอล์เกิน 20 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์

(ค) บุคคลอื่นนอกจาก (ก) และ (ข) มีปริมาณแอลกอฮอล์เกิน 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์

(2) กรณีตรวจวัดจากลมหายใจหรือปัสสาวะ ให้เทียบปริมาณแอลกอฮอล์โดยใช้ปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเป็นเกณฑ์มาตรฐานดังนี้

(ก) กรณีตรวจวัดจากลมหายใจ ให้ใช้ค่าสัมประสิทธิ์ในการแปลงค่าเท่ากับ 2,000

(ข) กรณีตรวจวัดจากปัสสาวะให้ใช้ค่าสัมประสิทธิ์ในการแปลงค่าเท่ากับเศษ 1 ส่วน 1.3”

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 28 มีนาคม 2560

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!