WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ร่างพระราชบัญญัติสหกรณ์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....

GVO4ร่างพระราชบัญญัติสหกรณ์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....

     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติสหกรณ์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) เสนอ และให้ส่ง สคก. ตรวจพิจารณา โดยให้นำไปรวมกับร่างพระราชบัญญัติสหกรณ์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....ที่อยู่ระหว่างการตรวจพิจารณาของ สคก. รวมทั้งให้พิจารณาร่วมกับแนวทางการปฏิรูประบบการบริหารจัดการและกำกับดูแลกิจการสหกรณ์ออมทรัพย์และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนของกระทรวงการคลัง โดยให้รับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และธนาคารแห่งประเทศไทยไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป

 

สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ

               1. กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข รวมทั้งกลไกการกำกับดูแลสหกรณ์ซึ่งประกอบธุรกิจเงินทุน ดังนี้

               1.1 กำหนดให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีหน้าที่เสนอแนะให้มีการตราพระราช

               กฤษฎีกาเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกอบกิจการของสหกรณ์ซึ่งประกอบธุรกิจเงินทุนขึ้นโดยเฉพาะ และกำหนดให้สหกรณ์ดังกล่าวนั้นแม้จะประกอบธุรกิจเงินทุนแต่ไม่ต้องขออนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินแต่ในการดำเนินการต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกา

               1.2 กำหนดให้ ธปท. มีหน้าที่และอำนาจกำกับดูแลให้สหกรณ์ซึ่งประกอบธุรกิจเงินทุน  ปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา และหากพบว่ามีการดำเนินการไม่ถูกต้องให้มีอำนาจสั่งแก้ไขหรือระงับการดำเนินการ หรือกรณีที่การกระทำนั้นอาจจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน อาจขอให้นายทะเบียนสหกรณ์สั่งให้คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์พ้นจากตำแหน่งหรือสั่งเลิกสหกรณ์ได้

               2. กำหนดให้นายทะเบียนสหกรณ์กำหนดระบบบัญชีและมาตรฐานการสอบบัญชี ตลอดจนสมุดบัญชี และแบบรายงานต่าง ๆ ที่สหกรณ์ต้องยื่นต่อนายทะเบียนสหกรณ์ตามคำแนะนำของอธิบดีกรมตรวจสอบบัญชีสหกรณ์

               3. กำหนดให้สมาชิกมีสิทธิร้องขอให้นายทะเบียนสหกรณ์หรือรองนายทะเบียนสหกรณ์ดำนินการร้องทุกข์หรือฟ้องคดีแทนสหกรณ์ได้ และกำหนดให้ดำเนินการพิจารณาเรื่องภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำร้องขอ

               4. กำหนดประเภทและลักษณะ รวมถึงขอบเขตการดำเนินกิจการที่พึงดำเนินการได้ของสหกรณ์แต่ละประเภทในกฎกระทรวง รวมทั้งกำหนดให้นายทะเบียนสหกรณ์มีอำนาจสั่งการได้ตามที่เห็นสมควรในกรณี   ที่สหกรณ์ดำเนินการนอกขอบเขตที่จะพึงดำเนินการได้

               5. กำหนดลักษณะต้องห้ามของกรรมการดำเนินการสหกรณ์เพิ่มเติมกรณีเคยถูกให้พ้นจากตำแหน่งหรือเคยเป็นกรรมการในสหกรณ์ที่ถูกสั่งเลิกสหกรณ์ตามคำสั่งของนายทะเบียน

               6. กำหนดให้กรรมการ ผู้จัดการ และเจ้าหน้าที่ของสหกรณ์ต้องรับผิดชอบร่วมกันต่อสมาชิกสหกรณ์ ในกรณีที่เกิดความเสียหายใด ๆ อันเกิดจากการไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งของนายทะเบียนสหกรณ์   หรือ ธปท.

               7. กำหนดห้ามสหกรณ์จัดสรรกำไรสุทธิประจำปีจนกว่าจะได้ดำเนินการจัดทำบัญชีตามแบบและรายการที่นายทะเบียนสหกรณ์กำหนดให้ถูกต้องตามความเป็นจริง

               8. แก้ไขเพิ่มเติมบทกำหนดโทษ ดังนี้

               8.1 กรณีสหกรณ์ไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไขที่กำหนดให้พระราชกฤษฎีกาตามข้อ 1

               8.2 กรณีคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ กรรมการ ผู้จัดการสหกรณ์ หรือเจ้าหน้าที่สหกรณ์ผู้ใดมีมติหรือดำเนินการฝ่าฝืนข้อห้ามเรื่องการจัดสรรกำไรสุทธิประจำปีตามข้อ 7

               8.3 กรณีสหกรณ์กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ โดยกรรมการดำเนินการสหกรณ์หรือผู้จัดการสหกรณ์ ลงมติให้สหกรณ์ดำเนินการหรืองดเว้นการดำเนินการหรือเป็นผู้ดำเนินการ หรือรับผิดชอบในการดำเนินการนั้น ได้กระทำผิดหน้าที่ของตนด้วยประการใด ๆ โดยทุจริต

        ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 7 มีนาคม 2560

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!