WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ร่างข้อตกลงด้านการจ้างแรงงานระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

GOV2 copy copyร่างข้อตกลงด้านการจ้างแรงงานระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

               คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอ ดังนี้

               1. เห็นชอบต่อร่างข้อข้อตกลงด้านการจ้างแรงงานระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป. ลาว)

               2. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานเป็นผู้แทนฝ่ายไทยในการลงนามในข้อตกลงฯ

               3. มอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศจัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers)ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานเป็นผู้ลงนามในเอกสารดังกล่าว

               4. หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขร่างข้อตกลงฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย และไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้ให้ รง. ดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลังตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2558 (เรื่อง การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)

               สาระสำคัญของร่างข้อตกลงฯ จัดทำขึ้นเพื่อให้ทั้งสองฝ่ายร่วมกันดำเนินการตามบันทึกความเข้าใจฯ เกี่ยวกับการจ้างงานให้เกิดผลในทางปฏิบัติ โดยส่งเสริมความร่วมมือด้านการจ้างแรงงานของคู่ภาคีให้มีการพัฒนาให้ดีขึ้น เน้นการตอบสนองความต้องการด้านแรงงานในการพัฒนาเศรษฐกิจสังคม และการปกป้องสิทธิประโยชน์ของคนงานให้ถูกต้องตามกฎหมายและระเบียบของแต่ละประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีการดำเนินการตามกฎหมาย หลักการ และขั้นตอนของการจัดส่งและรับแรงงาน โดยให้มีสัญญาจ้างงานและการรับรองเอกสารเพื่ออำนวยความสะดวกและทำให้มั่นใจว่ากระบวนการจ้างงานถูกต้องตามกฎหมายและระเบียบของคู่ภาคีอย่างโปร่งใสและมีประสิทธิภาพ รวมทั้งมีหลักประกันว่าแรงงานได้รับการคุ้มครองและปกป้องสิทธิประโยชน์อย่างเท่าเทียมกันโดยไม่เลือกปฏิบัติ และส่งกลับประเทศเมื่อสิ้นสุดสัญญาจ้างงานตามเงื่อนไข กฎหมาย และระเบียบของคู่ภาคี นอกจากนี้ ยังร่วมมือกันสกัดกั้นและต่อต้านการค้ามนุษย์เพื่อการจ้างแรงงาน และการเข้า–ออกเมืองโดยผิดกฎหมาย

       รง. เห็นว่า การลงนามในข้อตกลงด้านการจ้างแรงงานดังกล่าวจะช่วยส่งเสริมการทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดระหว่างสองประเทศเพื่อกำหนดแนวปฏิบัติและขั้นตอนสำหรับการจ้างแรงงาน การอบรมแรงงานก่อนเดินทาง แรงงานได้รับการคุ้มครองและปกป้องสิทธิประโยชน์ การสกัดกั้นและต่อต้านการค้ามนุษย์ ซึ่งส่งผลให้การจ้างแรงงานระหว่างสองประเทศเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นระบบมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะตอบสนองต่อความต้องการด้านแรงงานในการพัฒนาเศษฐกิจและสังคมของทั้งสองประเทศต่อไปในอนาคต

         ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2560

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!