WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....

GOV1 copy copyร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....

     เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (เกี่ยวกับการพ้นจากราชการของข้าราชการตุลาการ) และร่างพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การแต่งตั้งและการดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาอาวุโส (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (เกี่ยวกับการกำหนดให้ข้าราชการตุลาการไปดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาอาวุโสเมื่อสิ้นปีงบประมาณที่มีอายุครบหกสิบห้าปี)

      คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (เกี่ยวกับการพ้นจากราชการของข้าราชการตุลาการ) และร่างพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การแต่งตั้งและการดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาอาวุโส (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (เกี่ยวกับการกำหนดให้ข้าราชการตุลาการไปดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาอาวุโสเมื่อสิ้นปีงบประมาณที่มีอายุครบหกสิบห้าปี) รวม 2 ฉบับ ตามที่สำนักงานศาลยุติธรรม (ศย.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป

 

สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ

        1. ร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (เกี่ยวกับการพ้นจากราชการของข้าราชการตุลาการ) เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 ดังนี้

       พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543

      กำหนดให้ข้าราชการตุลาการพ้นจากตำแหน่งเมื่อพ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ

      ร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....

    เพิ่มเติมบทบัญญัติให้ข้าราชการตุลาการซึ่งมีอายุครบ 70 ปีบริบูรณ์พ้นจากราชการเมื่อสิ้นปีงบประมาณที่ข้าราชการตุลาการผู้นั้นมีอายุครบ 70 ปีบริบูรณ์

                แก้ไขเพิ่มเติมให้ข้าราชการตุลาการพ้นจากตำแหน่งเมื่อสิ้นปีงบประมาณที่ข้าราชการตุลาการผู้นั้นมีอายุครบ 70 ปีบริบูรณ์

                2. ร่างพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การแต่งตั้งและการดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาอาวุโส (ฉบับที่..) พ.ศ. .... (เกี่ยวกับการกำหนดให้ข้าราชการตุลาการไปดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาอาวุโสเมื่อสิ้นปีงบประมาณที่มีอายุครบหกสิบห้าปี) เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การแต่งตั้งและการดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาอาวุโส พ.ศ. 2542 ดังนี้

                พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การแต่งตั้งและการดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาอาวุโส พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

                กำหนดให้ข้าราชตุลาการที่มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปสามารถดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาอาวุโสได้

                กำหนดห้ามมิให้ผู้พิพากษาอาวุโสดำรงตำแหน่งหรือทำการแทนในตำแหน่งที่กำหนดในพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

                กำหนดห้ามมิให้ผู้พิพากษาอาวุโสได้รับเลือกเป็นกรรมการตุลาการผู้ทรงคุณวุฒิใน ก.ต.

                ร่างพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การแต่งตั้งและการดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาอาวุโส (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....

                แก้ไขเพิ่มเติมให้ข้าราชการตุลาการซึ่งมีอายุครบ 60 ปี บริบูรณ์ขึ้นไปอาจขอไปดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาอาวุโสได้

                เพิ่มเติมให้ข้าราชการตุลาการที่มีอายุครบ 65 ปีบริบูรณ์พ้นจากตำแหน่งที่ดำรงอยู่และให้ไปดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาอาวุโส จนกว่าจะพ้นจากราชการตามกฎหมาย

                แก้ไขเพิ่มเติมกำหนดห้ามมิให้ผู้พิพากษาอาวุโสดำรงตำแหน่งหรือทำการแทนในตำแหน่งที่กำหนดในพระธรรมนูญศาลยุติธรรม และเพิ่มเติมมิให้ผู้พิพากษาอาวุโสเป็นผู้ทำการแทนโดยอาศัยลำดับอาวุโสในตำแหน่งด้วย

                แก้ไขเพิ่มเติมกำหนดห้ามมิให้ผู้พิพากษาอาวุโสได้รับเลือกเป็นกรรมการตุลาการผู้ทรงคุณวุฒิใน ก.ต. และเพิ่มเติมมิให้ได้รับเลือกเป็นกรรมการบริหารศาลยุติธรรมและกรรมการข้าราชการศาลยุติธรรม

     ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 13 ธันวาคม 2559

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!