WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ร่างหนังสือความตกลงว่าด้วยการดำเนินโครงการการใช้สารสนเทศจากดาวเทียมและการประกันภัยพืชผลเพื่อเศรษฐกิจยุคใหม่ ระยะที่ 2 (RIICE Phase II)

GVOร่างหนังสือความตกลงว่าด้วยการดำเนินโครงการการใช้สารสนเทศจากดาวเทียมและการประกันภัยพืชผลเพื่อเศรษฐกิจยุคใหม่ ระยะที่ 2 (RIICE Phase II)

    เรื่อง ร่างหนังสือความตกลงว่าด้วยการดำเนินโครงการการใช้สารสนเทศจากดาวเทียมและการประกันภัยพืชผลเพื่อเศรษฐกิจยุคใหม่ ระยะที่ 2 (RIICE Phase II) ในประเทศไทย

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ ดังนี้

     1. เห็นชอบต่อร่างหนังสือความตกลงการดำเนินโครงการ RIICE Phase II ในประเทศไทย

      2. เห็นชอบการลงนามในหนังสือความตกลงการดำเนินโครงการ RIICE Phase II ในประเทศไทย โดยมอบหมายให้อธิบดีกรมการข้าว ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) และอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรเป็นผู้มีอำนาจในการลงนามในหนังสือความตกลงการดำเนินโครงการ RICE Phase II ในประเทศไทย

สาระสำคัญของการดำเนินงานโครงการ RIICE ในระยะที่ 2

            1. การวิจัยด้านภาพถ่ายทางดาวเทียม ได้เริ่มดำเนินการอย่างแพร่หลายในประเทศไทย โดยมีผลงานวิจัยที่สำคัญ อาทิ การจัดเขตศักยภาพการปลูก พืชการใช้ภาพถ่ายผ่านดาวเทียมเพื่อประเมินผลกระทบจากสภาวะภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงสำหรับโครงการ RIICE เป็นการประยุกต์ใช้ข้อมูลจากดาวเทียมระบบ SAR ซึ่งสามารถลดข้อจำกัดด้านสภาพอากาศในการเก็บข้อมูลจากดาวเทียม

              2. โครงการ RIICE ในระยะที่ 2 เป็นการจัดทำแผนที่การผลิตข้าวและประเมินความเสียหายจากภัยธรรมชาติ ในการผลิตข้าวในพื้นที่ 20 จังหวัดของประเทศไทยในพื้นที่ใช้ข้อมูลระยะไกลจากดาวเทียม Sentinal 1A ซึ่งเป็นดาวเทียมแบบ Synthetic Aperture Radar (SAR) ดวงล่าสุดของ European Space Agency ร่วมกับโปรแกรมแปลผล Mapscape-Rice และประเมินผลผลิตข้าวในระดับอำเภอจำลอง ORYZA 2000 มีขั้นตอนการดำเนินงานต่าง ๆ ได้แก่ การจัดหาข้อมูลระยะไกลจากดาวเทียมแปลภาพและจัดทำแผนที่ การติดตามสภาพจริงในแปลงนาและเจริญเติบโตของข้าวในพื้นที่เป้าหมาย การประเมินและพยากรณ์ผลผลิตโดยใช้แบบจำลอง การตรวจสอบความถูกต้องของแผนที่เพาะปลูกกับสภาพพื้นที่จริงและการจัดการด้านไอทีและฐานข้อมูล

ประโยชน์ที่ประเทศไทยจะได้รับจากการดำเนินโครงการ

              1. ได้รับองค์ความรู้จากสถาบันวิจัยข้าวระหว่างประเทศ และหุ้นส่วนความร่วมมืออื่น ๆ และเป็นการต่อยอดงานวิจัยและพัฒนาข้าวของประเทศไทย โดยเฉพาะด้านภูมิสารสนเทศด้านการเกษตรและสามารถนำไปถ่ายทอดสู่เจ้าหน้าที่ภาครัฐและภาคเอกชนรวมถึงเกษตรกร เพื่อใช้ในการวางนโยบายด้านการผลิต การวางแผนการเพาะปลูก ทำให้เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของข้าวไทย ทั้งโดยตรงจากการส่งออกข้าว และโดยอ้อมจากการลดความสูญเสียของผลผลิต รวมทั้งทำให้นักวิชาการของประเทศไทยมีโอกาสได้เผยแพร่ผลงานวิจัยด้านข้าวให้เป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ

              2. สามารถนำข้อมูลเทคโนโลยีสารสนเทศที่แม่นยำไปประกอบการกำหนดนโยบายการจัดการผลกระทบจากภัยพิบัติ เพื่ออำนวยความสะดวกในการวางแผนการดำเนินงานของภาครัฐ เช่น การประกันพืชผลของเกษตร การให้เงินช่วยเหลือเกษตรกร เป็นต้น

                        ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 22 พฤศจิกายน 2559

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!