WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ร่างแถลงการณ์ร่วมของการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงาน ครั้งที่ 34 และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง

GOV4 copy copyร่างแถลงการณ์ร่วมของการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงาน ครั้งที่ 34 และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง

   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงพลังงาน (พน.) เสนอ ดังนี้

    1. เห็นชอบร่างแถลงการณ์ร่วมของการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงาน ครั้งที่ 34 (The 34th ASEAN Ministers on Energy Meeting : AMEM) ร่างแถลงการณ์ร่วมของการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงาน +3 (จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้) ครั้งที่ 13 (The 13th ASEAN+3 (China, Japan and  Korea) Ministers on Energy Meeting) ร่างแถลงการณ์ร่วมของการประชุมสุดยอดรัฐมนตรีพลังงานเอเชียตะวันออก ครั้งที่ 10 (The 10th East Asia Summit Energy Ministers Meeting) และร่างแถลงการณ์ร่วมของรัฐมนตรีพลังงานอาเซียนกับทบวงการพลังงานระหว่างประเทศ (ASEAN Ministers on Energy Meeting-International Energy Agency Dialogue : AMEM-IEA Dialogue) ครั้งที่ 6

   2. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (หรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน) เป็นผู้ให้การรับรองในร่างแถลงการณ์ร่วมฯ นี้ ร่วมกับรัฐมนตรีพลังงานของกลุ่มประเทศสมาชิกดังกล่าวได้

   3. หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงร่างแถลงการณ์ร่วมของการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงาน ครั้งที่ 34 และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญหรือกระทบต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย และไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้ให้ พน. และคณะผู้แทนไทยที่เข้าร่วมการประชุมดังกล่าวสามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีกครั้ง

สาระสำคัญของร่างแถลงการณ์ร่วมฯ 4 ฉบับ  มีดังนี้

     (1) ร่างแถลงการณ์ร่วมของการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงาน ครั้งที่ 34 เป็นแถลงการณ์ร่วมสรุปผลการประชุม ประกอบด้วยสาระหลัก คือ การให้ความสำคัญในการบรรลุเป้าหมายตามแผนปฏิบัติการฯ ระยะที่ 1 ปี ค.ศ. 2016-2020 ซึ่งให้ความสำคัญกับสัดส่วนในการใช้พลังงานทดแทนเพิ่มขึ้นร้อยละ 23 ในปี ค.ศ. 2025 และวางเป้าหมายการลดความเข้มการใช้พลังงานในภูมิภาคอาเซียนให้ได้ร้อยละ 20 ในปี ค.ศ. 2020 (โดยใช้ปี ค.ศ. 2025 เป็นปีฐาน) เพื่อนำไปสู่การพัฒนาพลังงานสะอาดและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งส่งเสริมความเชื่อมโยงและความมั่นคงด้านพลังงานผ่านโครงการเชื่อมโยงท่อส่งก๊าซธรรมชาติอาเซียน (TAGP) ท่าเรือขนถ่าย LNG (LNG Receiving Terminals) และโครงการเชื่อมโยงสายส่งไฟฟ้าอาเซียน (APG) การให้ความสำคัญในการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีถ่านหินสะอาด รวมถึงเพิ่มพูนความร่วมมือกับประเทศคู่เจรจาและองค์กรระหว่างประเทศ

     (2) ร่างแถลงการณ์ร่วมของรัฐมนตรีพลังงานอาเซียน +3 ครั้งที่ 13 เป็นแถลงการณ์ร่วมสรุปผลการประชุม ประกอบด้วยสาระหลัก คือ การให้ประเทศในกลุ่มอาเซียน +3 สนับสนุนการแบ่งปันข้อมูลด้านนโยบายและประสบการณ์ตลอดจนแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศของประเทศสมาชิกและประเทศคู่เจรจา การพัฒนาแนวทางการสำรองน้ำมันในอาเซียน เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางพลังงานในภูมิภาค จัดกิจกรรมการประชุมในเวทีของภาครัฐและธุรกิจด้านตลาดน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ตลอดจนการสนับสนุนด้านการแบ่งปันข้อมูลและประสบการณ์ความรู้ด้านพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน

      (3) ร่างแถลงการณ์ร่วมของรัฐมนตรีพลังงานแห่งเอเชียตะวันออก ครั้งที่ 10 เป็นแถลงการณ์ร่วมสรุปผลการประชุม ประกอบด้วยสาระหลัก คือ การส่งเสริมความร่วมมือด้านวิชาการและการวิจัยด้านพลังงานในมิติต่างๆ ด้านพลังงานทดแทน การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และการอนุรักษ์พลังงาน การใช้พลังงานสะอาดในการขนส่ง เพื่อลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก

    (4) ร่างแถลงการณ์ร่วมของรัฐมนตรีพลังงานอาเซียนกับทบวงพลังงานระหว่างประเทศ ครั้งที่ 6 เป็นแถลงการณ์สรุปผลการประชุม ประกอบด้วยสาระหลัก คือ การเน้นย้ำความสำคัญของการเตรียมความพร้อมรองรับสภาวะฉุกเฉินด้านพลังงานในระดับประเทศและภูมิภาคอาเซียนให้มากยิ่งขึ้น และพัฒนาความร่วมมือระหว่างภูมิภาคอาเซียนกับทบวงการพลังงานระหว่างประเทศในการเพิ่มพูนความร่วมมือในเรื่องข้อตกลงอาเซียนว่าด้วยความมั่นคงทางปิโตรเลียมและมาตรการการตอบสนองต่อภาวะฉุกฉิน

        ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 20 กันยายน 2559

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!