WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

แผนพัฒนาการประกันภัย ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2559-2563)

GOV8แผนพัฒนาการประกันภัย ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2559-2563)

 

   คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบแผนพัฒนาการประกันภัย ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2559-2563) ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ

สาระสำคัญของเรื่อง

 

กค. รายงานว่า

              1. สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ได้จัดทำแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 3 ซึ่งผ่านการระดมความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาธุรกิจประกันภัยไทยในระยะต่อไป และเป็นการวางกรอบทิศทางในการพัฒนาธุรกิจประกันภัยไทยช่วงปี พ.ศ. 2559-2563 ที่ต้องการมุ่งเน้นให้ “ระบบประกันภัยไทยเติบโตอย่างยั่งยืนและได้รับความเชื่อถือไว้วางใจจากประชาชน” ประกอบด้วยยุทธศาสตร์หลัก 4 ยุทธศาสตร์ ดังนี้

 

ยุทธศาสตร์

ยุทธศาสตร์ที่ 1 การเพิ่มศักยภาพอุตสาหกรรมประกันภัย

สาระสำคัญ

              - เสริมสร้างศักยภาพผู้ประกอบการ โดยพัฒนากรอบการกำกับเงินกองทุนตามระดับความเสี่ยง ระยะที่ (RBC 2) และลดต้นทุนจากการประกอบธุรกิจ โดยนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ มาใช้เพื่อมุ่งสู่การเป็นองค์กรดิจิทัล

              - ยกระดับมาตรฐานการดำเนินธุรกิจประกันภัย โดยมุ่งเน้นการบริหารจัดการที่ดี การเปิดเผยข้อมูล รวมถึงการคัดกรองบุคคลที่มีคุณภาพในการเข้ามาดำเนินธุรกิจประกันภัย

              - ยกระดับพฤติกรรมทางการตลาดของระบบประกันภัย โดยให้ความสำคัญกับกระบวนงานที่ส่งผลกระทบโดยตรงก่อนเป็นอันดับแรก

 

ยุทธศาสตร์ที่ 2 การเสริมสร้างความรู้และการเข้าถึงการประกันภัย

สาระสำคัญ

              - เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจด้านการประกันภัย ผ่านการพัฒนาเครื่องมือรูปแบบวิธีการและสื่อประชาสัมพันธ์ที่เหมาะสมกับทุกกลุ่มเป้าหมาย

              - ส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัยให้สอดคลัองกับความต้องการและความเสี่ยงโดยมุ่งเน้นผลิตภัณฑ์ประกันภัยที่รองรับสังคมผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาสและผู้พิการผลิตภัณฑ์ประกันภัยสำหรับรายย่อย รวมถึงผลิตภัณฑ์ประกันภัยที่จะช่วยลดความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ

              - ขยายช่องทางการเข้าถึงการประกันภัยของประชาชนรายย่อยและท้องถิ่นผ่านการพัฒนากระบวนการขายประกันภัยผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ปลอดภัย

 

ยุทธศาสตร์ที่ 3 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการแข่งขัน

สาระสำคัญ

              - เสริมสร้างการแข่งขันผ่านการผ่อนคลายการกำกับผลิตภัณฑ์ประกันภัย เพื่อให้มีความยืดหยุ่นและอิงกลไกตลาดมากขึ้น

              - พัฒนาการกำกับ และกระบวนการให้ความเห็นชอบ / อนุมัติผลิตภัณฑ์ประกันภัยเพื่อลดอุปสรรคและความล่าช้า แต่ต้องอยู่บนพื้นฐานการกำกับตามระดับความมั่นคงและระดับความเสี่ยงของบริษัทประกันภัย

              - ส่งเสริมการเชื่อมโยงตลาดประกันภัยในภูมิภาคอาเซียน โดยให้ไทยเป็นศูนย์กลางด้านการประกันภัยในกลุ่มประเทศ CLMV (กัมพูชา ลาว เมียนมา เวียดนาม) รวมถึงการส่งเสริมความร่วมมือด้านวิชาการในกลุ่มประเทศ CLMV

 

ยุทธศาสตร์ที่ 4 การเสริมสร้างโครงสร้างพื้นฐานประกันภัย

สาระสำคัญ

              - พัฒนาและยกระดับบุคลากรประกันภัยให้เป็นมืออาชีพ โดยการสร้างมาตรฐานวิชาชีพของบุคลากรประกันภัย ผลักดันให้สถาบันวิทยาการประกันภัยระดับสูงเป็นศูนย์กลางพัฒนาหลักสูตรและการฝึกอบรม และการให้ทุนสำหรับบุคลากรประกันภัย และนิสิตนักศึกษาในสาขาที่ขาดแคลน

              - เสริมสร้างศักยภาพการวิจัยและสารสนเทศ โดยส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาในระบบประกันภัย และพัฒนาฐานข้อมูลกลางด้านการประกันภัยให้สมบูรณ์

              - ผลักดันให้การประกันภัยเป็นเครื่องมือบริหารความเสี่ยง โดยเฉพาะการประกันภัยพืชผลสำหรับเกษตรกร การประกันภัยรถโดยสารสาธารณะ อาคารสาธารณะและสถานประกอบการที่มีความเสี่ยงสูง

              - เสริมสร้างศักยภาพของหน่วยงานกำกับ โดยปรับปรุงและพัฒนากฎหมายเกี่ยวกับการประกันภัย รวมถึงพัฒนาการบังคับใช้กฎหมาย และเตรียมความพร้อมเพื่อการประเมินในโครงการประเมินภาคการเงิน (Financial Sector Assessment Program: FSAP)

              2. ความสำเร็จของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 3 พิจารณาจากปัจจัยชี้วัดความสำเร็จด้านพัฒนาการและเสถียรภาพของระบบประกันภัย 5 ปัจจัย ดังนี้

              2.1 สัดส่วนเบี้ยประกันภัยต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (Insurance Penetration) อยู่ในระดับเดียวกับค่าเฉลี่ยสัดส่วนเบี้ยประกันภัยต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของโลก อยู่ที่ร้อยละ 6.2

              2.2 จำนวนกรมธรรม์ประกันชีวิตต่อประชากรอยู่ที่ร้อยละ 50

              2.3 มูลค่าเบี้ยประกันภัยต่อหัว (Insurance Density) ของไทยอยู่ในระดับเดียวกับค่าเฉลี่ยมูลค่าเบี้ยประกันภัยต่อหัวของโลก ระหว่าง 18,000 – 23,000 บาท

              2.4 ระดับความสำเร็จของการยกระดับความมั่นคงทางการเงินโดยบริษัทประกันภัยสามารถดำรงเงินกองทุนได้ครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนดในปัจจุบัน ทั้งนี้ อัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุน (CAR ratio) ในปัจจุบันอยู่ที่ระดับร้อยละ 140

              2.5 สัดส่วนเรื่องร้องเรียนที่เข้าสู่ระบบไกล่เกลี่ยเรื่องร้องเรียนของสำนักงาน คปภ. ต่อจำนวนกรมธรรม์ประกันภัย ไม่เกินร้อยละ 0.016

  ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 12 กรกฏาคม 2559

adsoptimal100

 

 

  

loading...

 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!