การกำหนดอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ
- Details
- Category: มติ ครม.
- Published: Sunday, 10 April 2016 09:39
- Hits: 1334
การกำหนดอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบการกำหนดอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอ รวม 5 กลุ่มอุตสาหกรรม 20 สาขาอาชีพ โดยให้มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ดังนี้
กลุ่มอุตสาหกรรม / สาขาอาชีพ อัตราค่าจ้าง
ไม่น้อยกว่าวันละ (บาท)
ระดับ 1 ระดับ 2
ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
(1) พนักงานประกอบอุปกรณ์ไฟฟ้าแสงสว่าง 360 430
(2) พนักงานประกอบมอเตอร์สำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้า 370 445
(3) ช่างเทคนิคบำรุงรักษาเครื่องจักรกลสำหรับอุตสาหรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 410 490
(4) ช่างเทคนิคระบบรักษาความปลอดภัย 400 480
ชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์
(5) ช่างกลึงสำหรับอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ 400 480
(6) ช่างเชื่อมมิก – แม็กสำหรับอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ 400 480
(7) ช่างเทคนิคบำรุงรักษาเครื่งอจักรกลสำหรับอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ 400 480
(8) ช่างเทคนิคเครื่องกลึงอัตโนมัติสำหรับอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ 400 480
ยานยนต์
(9) ช่างเทคนิคพ่นสีตัวถังสำหรับอุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ 400 480
(10) ช่างเทคนิคพ่นซีลเลอร์ตัวถังสำหรับอุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ 400 480
(11) พนักงานประกันคุณภาพผลิตภัณฑ์ยานยนต์ (ขั้นสุดท้าย) 400 480
(12) พนักงานประกันคุณภาพผลิตภัณฑ์ยานยนต์ (ขั้นสุดท้าย) 400 480
อัญมณี
(13) ช่างเจียระไนพลอย 420 550
(14) ช่างหล่อเครื่องประดับ 420 550
(15) ช่างตกแต่งเครื่องประดับ 420 550
(16) ช่างฝังอัญมณีบนเครื่องประดับ 420 550
โลจิสติกส์
(17) นักบริหารขนส่งสินค้าทางถนน 415 500
(18) ผู้ควบคุมรถยกสินค้าขนาดไม่เกิน 10 ตัน 360 430
(19) ผู้ควบคุมสินค้าคงคลัง 350 420
(20) ผู้ปฏิบัติการคลังสินค้า 340 410
ทั้งนี้ การกำหนดอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือจะทำให้แรงงานไทยมีรายได้ที่เหมาะสม เป็นธรรม สอดคล้องกับทักษะฝีมือ ความรู้ ความสามารถ และการจ้างงานในตลาดแรงงาน อีกทั้งเป็นการส่งเสริมให้แรงงานไทยมีการพัฒนาฝีมือแรงงานและมีผลิตภาพแรงงานเพิ่มขึ้น เพื่อเพิ่มศักยภาพแรงงานไทยให้เป็นที่ยอมรับทั้งในประเทศและต่างประเทศ นอกจากนี้ ยังสอดรับกับนโยบายรัฐบาลที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาฝีมือแรงงาน เพื่อรองรับ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยสามารถผลักดันการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ได้ใน 2 รูปแบบ คือ รูปแบบที่ 1 การต่อยอด 5 อุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ ซึ่งเป็นการลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีอยู่แล้วในประเทศ
ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ และอุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร และรูปแบบที่ 2 การเติม 5 อุตสาหกรรมอนาคต ซึ่งเป็นการลงทุนในอุตสาหกรรมใหม่ เพื่อเปลี่ยนรูปแบบสินค้าและเทคโนโลยี ได้แก่ อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและ เคมีชีวภาพ อุตสาหกรรมดิจิตอล และอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร โดยอุตสาหกรรมดังกล่าว เป็นอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพและเป็นที่สนใจของนักลงทุนทั่วโลก ซึ่งจะมีบทบาทสำคัญในการผลักดันเศรษฐกิจของไทยในอนาคต
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 29 มีนาคม 2559