ความตกลงองค์กรสำรองข้าวฉุกเฉินของอาเซียนบวกสาม และข้อเสนอของประเทศไทยในการขอจัดตั้งสำนักเลขานุการองค์กรสำรองข้าวฉุกเฉินของอาเซียนบวกสามในประเทศไทย
- Details
- Category: มติ ครม.
- Published: Sunday, 28 February 2016 15:35
- Hits: 5372
ความตกลงองค์กรสำรองข้าวฉุกเฉินของอาเซียนบวกสาม และข้อเสนอของประเทศไทยในการขอจัดตั้งสำนักเลขานุการองค์กรสำรองข้าวฉุกเฉินของอาเซียนบวกสามในประเทศไทย
เรื่อง ความตกลงองค์กรสำรองข้าวฉุกเฉินของอาเซียนบวกสาม และข้อเสนอของประเทศไทยในการขอจัดตั้งสำนักเลขานุการองค์กรสำรองข้าวฉุกเฉินของอาเซียนบวกสามในประเทศไทย ประกอบกับมติที่ประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านเกษตรและป่าไม้กับรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี ครั้งที่ 12
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอให้นำเรื่องความตกลงองค์กรสำรองข้าวฉุกเฉินของอาเซียนบวกสามและข้อเสนอของประเทศไทยในการขอจัดตั้งสำนักเลขานุการองค์กรสำรองข้าวฉุกเฉินของอาเซียนบวกสามในประเทศไทยประกอบกับมติที่ประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านเกษตรและป่าไม้กับรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี ครั้งที่ 12 เสนอคณะกรรมการประสานงาน สภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พร้อมกับร่างพระราชพระราชบัญญัติคุ้มครองการดำเนินงานของสำนักเลขานุการองค์กรสำรองข้าวฉุกเฉินของอาเซียนบวกสาม พ.ศ. .... ต่อไป
สาระสำคัญของเรื่อง
กษ. รายงานว่า
1. ประเทศไทยได้เสนอขอจัดตั้งสำนักเลขานุการแอปเทอร์ในประเทศไทยซึ่งต่อมาที่ประชุม AMAF+3 ครั้งที่ 12 ได้มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2555 ณ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยได้มีแถลงการณ์ร่วมของการประชุมโดยมีฉันทามติให้ประเทศไทยเป็นที่ตั้งสำนักเลขานุการแอปเทอร์ตามข้อเสนอของประเทศไทย ซึ่งเดิมประเทศภาคีตกลงให้จัดทำความตกลงประเทศเจ้าภาพ (Host-Country Agreement) โดยต่อมาประเทศภาคีมีความเห็นว่าการจัดทำความตกลงประเทศเจ้าภาพมีความยุ่งยาก จึงมีมติขอให้ประเทศไทยหาแนวทางการจัดตั้งสำนักเลขานุการแอปเทอร์โดยวิธีการอื่น
2. เมื่อพิจารณาข้อเสนอของประเทศไทยในการขอจัดตั้งสำนักเลขานุการแอปเทอร์ในประเทศไทยประกอบกับมติที่ประชุม AMAF+3 ครั้งที่ 12 เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2555 จึงถือเป็นข้อสรุปสุดท้ายว่า ความตกลงแอปเทอร์และมติของที่ประชุม AMAF+3 ครั้งที่ 12 ถือเป็นการตกลงร่วมกันของประเทศสมาชิกอาเซียนบวกสามในการจัดตั้งสำนักเลขานุการแอปเทอร์ที่ประเทศไทย นำไปเสนอคณะรัฐมนตรีและรัฐสภาพิจารณาตราพระราชบัญญัติคุ้มครองฯ ต่อไป จึงเข้าลักษณะเป็นหนังสือตามมาตรา 23 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 ที่จะต้องได้รับความเห็นชอบของสภานิติบัญญัติแห่งชาติก่อน
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2559