WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ขอความเห็นชอบให้รัฐบาลไทยเป็นเจ้าภาพในการจัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการกับทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ

GOV2 copy copyขอความเห็นชอบให้รัฐบาลไทยเป็นเจ้าภาพในการจัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการกับทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ

       คณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) เสนอให้สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติตอบรับการเป็นเจ้าภาพจัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการในประเทศไทย และให้สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติดำเนินการประสานงานกับกระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เพื่อแจ้งให้คณะผู้แทนถาวรไทยประจำกรุงเวียนนา สาธารณรัฐออสเตรีย ทราบและแจ้งทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (International Atomic Energy Agency: IAEA) ตามแนวทางปฏิบัติต่อไป

 

สาระสำคัญของเรื่อง

วท.รายงานว่า

1. กต. โดยกรมองค์การระหว่างประเทศได้แจ้งสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ วท. ในฐานะ ผู้ประสานงานแห่งชาติระหว่างประเทศกับ IAEA ว่า IAEA ได้ขอให้รัฐบาลไทยพิจารณาเป็นเจ้าภาพจัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ Sub-regional Workshop on the Logical Framework Approach for TC Project Design ภายใต้กรอบโครงการภูมิภาค RAS/0/073 “Supporting Human Resource Development and Nuclear Technology” (การสนับสนุนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านเทคโนโลยีนิวเคลียร์)

2. การสัมมนาเชิงปฏิบัติการ Sub-regional Workshop on the Logical Framework Approach for TC Project Design สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้

2.1 วัตถุประสงค์ เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบและบริหารจัดการโครงการความร่วมมือทางเทคนิค โดยใช้วิธี Logical Framework Approach ซึ่งจะนำไปปรับใช้กับการออกแบบโครงการความร่วมมือทางวิชาการในรอบปี พ.ศ. 2561-2562

2.2 จำนวนผู้เข้าร่วม 30 คน จากประเทศต่าง ๆ และผู้แทน IAEA

2.3 ประโยคที่คาดว่าจะได้รับ เกิดประโยชน์ต่อนักวิชาการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยในการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์การใช้ประโยชน์จากพลังงานปรมาณู ในทางสันติ รวมทั้งเป็นการส่งเสริมบทบาทของไทยในกรอบความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับนานาชาติอีกด้วย

2.4 วัน เวลา และสถานที่ ระหว่างวันที่ 22-26 กุมภาพันธ์ 2559 ณ กรุงเทพมหานคร

2.5 ผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย IAEA จะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด รวมถึงค่าใช้จ่ายของผู้เข้าร่วมการสัมมนา (ค่าโดยสารเครื่องบิน ค่าที่พัก และค่าเบี้ยเลี้ยง)

2.6 การใช้เอกสิทธิ์และความคุ้มกัน IAEA กำหนดให้รัฐบาลไทยต้องใช้เอกสิทธิ์และความคุ้มกันแก่ทรัพย์สินของ IAEA เจ้าหน้าที่ IAEA ผู้เข้าร่วมประชุมและครอบครัว (members of the immediate families of such persons) ตามความตกลงว่าด้วยเอกสิทธิ์และความคุ้มกันของ IAEA ที่ไทยเข้าเป็นภาคีเมื่อปี พ.ศ. 2505 ซึ่งเป็นการอำนวยความสะดวกตามที่พระราชบัญญัติคุ้มครองการดำเนินงานของทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศในประเทศไทย พ.ศ. 2505 รับรองให้กระทำได้

3. หนังสือของ IAEA กับร่างหนังสือตอบรับของฝ่ายไทยในการเป็นเจ้าภาพจัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการฯ ถือเป็นเอกสารสนธิสัญญาตามกฎมายระหว่างประเทศและเป็นหนังสือตามมาตรา 23 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับชั่วคราวพุทธศักราช 2557 ซึ่งจะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี แต่ไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 23 วรรคสอง ที่จะต้องได้รับความเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

   ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2559

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!