แผนปฏิบัติการแม่น้ำโขงปลอดภัย 6 ประเทศ ระยะเวลา 3 ปี (2559-2561) ระหว่างสาธารณรัฐประชาชนจีน
- Details
- Category: มติ ครม.
- Published: Sunday, 24 January 2016 20:21
- Hits: 5731
แผนปฏิบัติการแม่น้ำโขงปลอดภัย 6 ประเทศ ระยะเวลา 3 ปี (2559-2561) ระหว่างสาธารณรัฐประชาชนจีน
เรื่อง แผนปฏิบัติการแม่น้ำโขงปลอดภัย 6 ประเทศ ระยะเวลา 3 ปี (2559-2561) ระหว่างสาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ประเทศไทย ราชอาณาจักรกัมพูชา และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม พร้อมวีดิทัศน์สรุปแผนปฏิบัติการฯ และผลการประชุมระดับรัฐมนตรี เรื่อง แผนปฏิบัติการแม่น้ำโขงปลอดภัย 6 ประเทศ ระยะเวลา 3 ปี (2559-2561) ระหว่างสาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ประเทศไทย ราชอาณาจักรกัมพูชา และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแผนปฏิบัติการแม่น้ำโขงปลอดภัย 6 ประเทศ ระยะเวลา 3 ปี (2559-2561) ระหว่างสาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ประเทศไทย ราชอาณาจักรกัมพูชา และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม พร้อมฉายวีดิทัศน์สรุปแผนปฏิบัติการฯ และผลการประชุมระดับรัฐมนตรี เรื่อง แผนปฏิบัติแม่น้ำโขงปลอดภัย 6 ประเทศ ระยะเวลา 3 ปี (2559-2561) ระหว่างสาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ประเทศไทย ราชอาณาจักรกัมพูชา และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ตามที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เสนอ และให้สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (สำนักงาน ป.ป.ส.) จัดทำคำของบประมาณในการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการแม่น้ำโขงปลอดภัย 6 ประเทศ
สาระสำคัญของเรื่อง
ยธ. รายงานว่า
1. ยธ. โดยสำนักงาน ป.ป.ส. ได้ดำเนินโครงการปฏิบัติการแม่น้ำโขงปลอดภัย 4 ประเภท ระยะที่ 2 (ส่วนขยาย) ระหว่างวันที่ 11 พฤษภาคม – 11 กันยายน 2558 ซึ่งผลการดำเนินงานตามโครงการฯ ได้ผลเป็นที่น่าพอใจอย่างยิ่ง โดยเฉพาะผลด้านจิตวิทยาที่ทำให้การลักลอบค้าและลำเลียงยาเสพติดในลำน้ำโขงลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญ ดังนั้น ประเทศภาคี ทั้ง 4 ประเทศ จึงเห็นพ้องกันที่จะให้จัดทำเป็นแผนปฏิบัติการระยะเวลา 3 ปี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความต่อเนื่องของการปราบปรามและป้องกันการลักลอบค้าและลำเลียงยาเสพติด สารตั้งต้น เคมีภัณฑ์ และอุปกรณ์ผลิตยาเสพติด ให้ครอบคลุมพื้นที่ตลอดลำน้ำโขง โดยขยายพื้นที่ปฏิบัติการลงไปจนถึงราชอาณาจักรกัมพูชาและสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
2. หลังจากโครงการปฏิบัติการแม่น้ำโขงปลอดภัย 4 ประเทศ ระยะที่ 2 (ส่วนขยาย) ได้สิ้นสุดลง ผู้แทนจากทั้ง 4 ประเทศได้ประชุมร่วมกัน ระหว่างวันที่ 14-18 กันยายน 2558 ณ ศูนย์ประสานงานแม่น้ำโขงปลอดภัย จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อยกร่างแผนปฏิบัติการแม่น้ำโขงปลอดภัย 6 ประเทศ ระยะเวลา 3 ปีฯ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ปัญหายาเสพติดในพื้นที่สามเหลี่ยมทองคำเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยแผนปฏิบัติการดังกล่าวมีมาตรการและแนวทางการปฏิบัติ ดังนี้
1) สกัดกั้นสารตั้งต้นและเคมีภัณฑ์ที่ใช้ในการผลิตยาเสพติด (เฮโรอีน ไอซ์ และยาบ้า) ไม่ให้เข้าสู่แหล่งผลิตยาเสพติด
2) จำกัดพื้นที่บริเวณชายแดนระหว่างประเทศที่สำคัญ โดยการเจาะจงพื้นที่ชายแดนบางพื้นที่
3) จำกัดเส้นทางลักลอบลำเลียงยาเสพติดของแต่ละประเทศ
4) จัดตั้งจุดตรวจยาเสพติดบริเวณสะพานมิตรภาพลาว – เมียนมา และพื้นที่ตรงข้ามกับท่าเรือสบหลวย เพื่อสกัดกั้นยาเสพติดไม่ให้ออกจากท่าเรือสบหลวย
5) สกัดกั้นเรือที่เกี่ยวข้องกับการลักลอบลำเลียงยาเสพติดหรือลักลอบลำเลียงสารตั้งต้นและเคมีภัณฑ์ โดยการปฏิบัติการลาดตระเวนร่วมทางเรือพร้อมกันของสมาชิกทุกประเทศ การลาดตระเวนร่วมทางเรือของประเทศสองฝั่งแม่น้ำโขง และการตั้งด่านตรวจเรือต้องสงสัยในแม่น้ำโขง
6) จำกัดพื้นที่ที่พักและแพร่กระจายยาเสพติด รอบพื้นที่สามเหลี่ยมทองคำ และตามเส้นทางแม่น้ำโขง
7) สืบสวนกลุ่มผู้ผลิตยาเสพติดและนักค้ายาเสพติดรายใหญ่ร่วมกัน
8) สนับสนุนส่งเสริมภารกิจด้านการสืบสวนทางการเงินและการสืบสวนการฟอกเงินของแต่ละประเทศโดยเฉพาะประเทศในพื้นที่สามเหลี่ยมทองคำ
9) คัดเลือกหมู่บ้านเป้าหมายที่มีปัญหายาเสพติด เพื่อดำเนินการโครงการพัฒนาทางเลือกตามความเหมาะสม และหมู่บ้านคู่ขนานตามแนวชายแดน
10) ใช้กลไกสำนักงานประสานงานปราบปรามยาเสพติดชายแดน (BLO) ของแต่ละประเทศ สกัดกั้นและปราบปรามยาเสพติดตามแนวชายแดน
11) แต่ละประเทศจัดตั้งศูนย์ประสานงานแม่น้ำโขงปลอดภัย (ศปง. มข.) เพื่อเป็นศูนย์กลางในการประสานงานแลกเปลี่ยนข่าวสาร และเพื่อการบริหารจัดการโครงการ ซึ่งประเทศจีนมีการจัดตั้งแล้วที่เมืองสิบสองปันนา และประเทศไทยจัดตั้งแล้วที่จังหวัดเชียงใหม่
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 19 มกราคม 255