WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าจ้างบรรทุกคนโดยสารสำหรับรถจักรยานยนต์สาธารณะ พ.ศ. ....

GOVนโยบายร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าจ้างบรรทุกคนโดยสารสำหรับรถจักรยานยนต์สาธารณะ พ.ศ. ....

 

     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าจ้างบรรทุกคนโดยสารสำหรับรถจักรยานยนต์สาธารณะ พ.ศ. ....ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้

 

คค เสนอว่า

    1. คค. ได้ออกกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าจ้างบรรทุกคนโดยสารสำหรับรถจักรยานยนต์สาธารณะ พ.ศ.  2548 โดยกำหนดอัตราค่าจ้างบรรทุกคนโดยสารสำหรับรถจักรยานยนต์สาธารณะ ดังนี้

   1.1 ระยะทาง 2 กิโลเมตรแรก ไม่เกิน 25 บาท และกิโลเมตรต่อ ๆ ไป ไม่เกินกิโลเมตรละ 5 บาท

   1.2 ระยะทางเกินกว่า 5 กิโลเมตรขึ้นไป อัตราค่าจ้างบรรทุกคนโดยสารให้เป็นไปตามที่ผู้ขับรถและผู้โดยสารตกลงกัน ต่อมาคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้มีนโยบายจัดระเบียบรถจักรยานยนต์รับจ้างโดยมอบหมายให้กองพล 1 รักษาพระองค์ (พล.1 รอ.) เป็นหน่วยงานรับผิดชอบร่วมกับกรมการขนส่งทางบก สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และกรุงเทพมหานคร ซึ่งคณะทำงานได้ดำเนินการมาตรการต่าง ๆ สำหรับจัดระเบียบรถจักรยานยนต์รับจ้าง สำหรับมาตรการทางด้านกฎหมาย คณะทำงานจัดระเบียบรถจักรยานยนต์รับจ้างเห็นว่าปัจจุบันกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าจ้างบรรทุกคนโดยสารสำหรับรถจักรยานยนต์สาธารณะ พ.ศ. 2548 กำหนดให้กรณีการจ้างที่มีระยะทางเกินกว่าห้ากิโลเมตรขึ้นไป ให้เป็นไปตามที่ผู้ขับรถและคนโดยสารตกลงราคาเป็นช่องว่างให้ผู้ขับรถจักรยานยนต์สาธารณะเรียกเก็บค่าโดยสารสูงเกินควร สร้างความเดือดร้อนให้กับผู้ใช้บริการรถจักรยานยนต์สาธารณะเป็นอย่างมาก สมควรแก้ไขปรับปรุงกฎกระทรวงดังกล่าวให้เกิดความชัดเจนและไม่เปิดโอกาสให้ผู้ขับรถจักรยานยนต์สาธารณะเอาเปรียบผู้โดยสารที่ใช้บริการ

     2. ปัจจุบันอัตราค่าจ้างบรรทุกคนโดยสารสำหรับรถจักรยานยนต์สาธารณะตามกฎกระทรวงเดิม มีการกำหนดอัตราค่าจ้างที่แน่นอนในระยะทาง 5 กิโลเมตรแรก หากเกินกว่า 5 กิโลเมตรขึ้นไปอัตราค่าจ้างให้เป็นไปตามที่ผู้ขับรถจักรยานยนต์สาธารณะและผู้โดยสารตกลงกัน แต่ผู้ขับรถจักรยานยนต์สาธารณะได้อาศัยช่องว่างของกฎหมายดังกล่าวเป็นผู้กำหนดค่าจ้างขึ้นเองในอัตราที่สูงเกินไปโดยไม่ได้มีการตกลงราคากับผู้โดยสารก่อนทำให้ผู้โดยสารได้รับความเดือดร้อน เพื่อมิให้ผู้ขับรถจักรยานยนต์สาธารณะเอาเปรียบผู้โดยสารและเป็นการกำหนดอัตราค่าจ้างบรรทุกคนโดยสารให้เหมาะสมและเป็นธรรม สมควรปรับปรุงอัตราค่าจ้างบรรทุกคนโดยสารสำหรับรถจักรยานยนต์สาธารณะ โดยขยายการกำหนดอัตราค่าจ้างให้ครอบคลุมการจ้างที่มีระยะทางไม่เกิน 15 กิโลเมตร ต้องจัดเก็บค่าจ้างบรรทุกคนโดยสารตามอัตราที่กำหนด หากระยะทางเกินกว่า 15 กิโลเมตรให้ใช้วิธีตกลงราคาได้ โดยที่มาตรา 5 (14) แห่งพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม บัญญัติให้การดำเนินการดังกล่าวต้องออกเป็นกฎกระทรวง

 

สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง

    1. กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป

    2.ให้ยกเลิกกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าจ้างบรรทุกคนโดยสารสำหรับรถจักรยานยนต์สาธารณะ พ.ศ. 2548

    3. อัตราค่าจ้างบรรทุกคนโดยสารสำหรับรถจักรยานยนต์สาธารณะให้กำหนดดังต่อไปนี้

 

ระยะทาง

(1) 2 กิโลเมตรแรก

อัตราค่าจ้าง

ไม่เกิน 25 บาท

ระยะทาง

(2) กิโลเมตรต่อไป แต่ไม่เกิน 5 กิโลเมตร

อัตราค่าจ้าง

ไม่เกินกิโลเมตรละ 5 บาท

ระยะทาง

(3) เกิน 5 กิโลเมตร แต่ไม่เกิน 15 กิโลเมตร

อัตราค่าจ้าง

ตั้งแต่กิโลเมตรแรก จนสิ้นสุดการรับจ้าง ต้องไม่เกินกิโลเมตรละ 10 บาท

ระยะทาง

(4) เกินกว่า 15 กิโลเมตรขึ้นไป

อัตราค่าจ้าง

- ตามที่ตกลงกัน

- กรณีที่ไม่มีการตกลงกัน ตั้งแต่กิโลเมตรแรกจนสิ้นสุดการรับจ้างไม่เกินกิโลเมตรละ 10 บาท

      3. ให้คณะกรรมการประจำจังหวัดหรืออนุกรรมการประจำท้องที่ตามมาตรา 23/1 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติรถยนต์ (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2547 มีอำนาจกำหนดค่าจ้างบรรทุกคนโดยสารสำหรับรถจักรยานยนต์สาธารณะไม่เกินอัตราตามที่กำหนดในข้อ 3 (1) 3 (2) และ 3 (3) และให้ผู้ขอจัดตั้งสถานที่รอรับคนโดยสารแสดงค่าจ้างบรรทุกคนโดยสาร ณ สถานที่รอรับคนโดยสารตามแบบที่คณะกรรมการประจำจังหวัดกำหนด

       ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 3 พฤศจิกายน 2558

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!