มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรและรักษาเสถียรภาพราคาข้าว ปีการผลิต 2558/59
- Details
- Category: มติ ครม.
- Published: Sunday, 01 November 2015 20:38
- Hits: 4553
มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรและรักษาเสถียรภาพราคาข้าว ปีการผลิต 2558/59
เรื่อง มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรและรักษาเสถียรภาพราคาข้าว ปีการผลิต 2558/59 เฉพาะโครงการที่เกี่ยวข้องกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรและรักษาเสถียรภาพราคาข้าว ปีการผลิต 2558/59 เฉพาะโครงการที่เกี่ยวข้องกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ตามที่กระทรวงการคลัง เสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
1. โครงการลดดอกเบี้ยเงินกู้ให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2558/59
1.1 วัตถุประสงค์: เพื่อช่วยลดภาระดอกเบี้ยแก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ทำให้เกษตรกรมีเงินเหลือเพื่อการดำรงชีพเพิ่มขึ้น เกิดการใช้จ่ายและการหมุนเวียนเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ
1.2 กลุ่มเป้าหมาย: เกษตรกรผู้มีสิทธิ์เข้าร่วมโครงการเป็นเกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่มีหนี้เงินกู้คงเหลือเพื่อการผลิตข้าว โดยจำนวนเกษตรกรในโครงการประมาณ 1,161,110 ราย
1.3 ระยะเวลาและแนวทางให้ความช่วยเหลือ: เกษตรกรที่มีหนี้เงินกู้กับ ธ.ก.ส. หรือสถาบันเกษตรกร ณ วันที่ 1 เมษายน 2558 จะได้รับการลดดอกเบี้ยเงินกู้ในอัตราร้อยละ 3 ต่อปี จากต้นเงินกู้ไม่เกิน 80,000 บาทแรก เป็นระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน
2. โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2558/59
2.1 วัตถุประสงค์: เพื่อช่วยชะลอปริมาณข้าวเปลือกที่เข้าสู่ตลาดในช่วงที่ผลผลิตข้าวออกสู่ตลาดและดำเนินการเก็บข้าวเปลือกไว้แปรรูปเป็นข้าวสารเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม
2.2 กลุ่มเป้าหมาย: สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ซึ่งประกอบด้วย สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร และวิสาหกิจชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกเพื่อจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป รวมเป็นวงเงินทั้งสิ้น 12,500 ล้านบาท โดย ธ.ก.ส. คิดดอกเบี้ยเงินกู้ตามโครงการเท่ากับ MLR (ปัจจุบันเท่ากับร้อยละ 5 ต่อปี) โดยคิดจากสถาบันเกษตรกรในอัตรา MLR – 3 และรัฐบาลเป็นผู้รับภาระดอกเบี้ยแทนสถาบันเกษตรกรในอัตราร้อยละ 3 ระยะเวลาในการขอรับเงินชดเชยดอกเบี้ยจากรัฐบาลไม่เกิน 12 เดือน
2.3 ระยะเวลาโครงการ: ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2558 – 30 กันยายน 2559
3. โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2558/59
3.1 วัตถุประสงค์: เพื่อชะลอการขายข้าวเปลือกในช่วงผลผลิตออกสู่ตลาดในปริมาณมากเกินความต้องการของตลาดบรรเทาความเดือนร้อนของเกษตรกรเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในครัวเรือนและภาระหนี้สินและรักษาระดับราคาข้าวเปลือกให้มีเสถียรภาพ
3.2 พื้นที่และเป้าหมาย: ธ.ก.ส. จ่ายสินเชื่อชะลอการขายผลิตผลแก่เกษตรกรและสหกรณ์การเกษตร โดยใช้ข้าวเปลือกหอมมะลิและข้าวเปลือกเหนียวเป็นหลักประกัน จำนวนประมาณ 2 ล้านตัน ข้าวเปลือก ดำเนินการในเขตพื้นที่ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วงเงินสินเชื่อ 26,740 บาท
3.3 วงเงินสินเชื่อ: กำหนดวงเงินสินเชื่อต่อตันข้าวเปลือกที่ความชื้นไม่เกินร้อยละ 15 สิ่งเจือปนไม่เกินร้อยละ 2 จำแนกตามชนิดและชั้นคุณภาพข้าวเปลือก ดังนี้
ชนิดข้าวเปลือก (1)
หอมมะลิ
ชนิดสีได้ตันข้าว 36 กรัมขึ้นไป
ราคาต้นทุนบวกกำไรไม่เกินร้อยละ 15 (2)
>>> 15,009 วงเงินสินเชื่อ (บาท/ตัน)ประมาณร้อยละ 90 ของสดมภ์ (2)(3)
ลดส่วนต่างตามชั้นคุณภาพข้าวตันละ 200 บาท
>>> 13,500ชนิดข้าวเปลือก (1)
หอมมะลิ
ชนิดสีได้ตันข้าว 31-35 กรัม
ราคาต้นทุนบวกกำไรไม่เกินร้อยละ 15 (2)
>>> 15,009 วงเงินสินเชื่อ (บาท/ตัน)ประมาณร้อยละ 90 ของสดมภ์ (2)(3)
ลดส่วนต่างตามชั้นคุณภาพข้าวตันละ 200 บาท
>>> 13,300ชนิดข้าวเปลือก (1)
หอมมะลิ
ชนิดสีได้ตันข้าว 26-30 กรัม
ราคาต้นทุนบวกกำไรไม่เกินร้อยละ 15 (2) >>> 15,009 วงเงินสินเชื่อ (บาท/ตัน)ประมาณร้อยละ 90 ของสดมภ์ (2)(3)
ลดส่วนต่างตามชั้นคุณภาพข้าวตันละ 200 บาท
>>> 13,100ชนิดข้าวเปลือก (1)
หอมมะลิ
ชนิดสีได้ตันข้าว 20-25 กรัม
ราคาต้นทุนบวกกำไรไม่เกินร้อยละ 15 (2) >>> 15,009 วงเงินสินเชื่อ (บาท/ตัน)ประมาณร้อยละ 90 ของสดมภ์ (2)(3)
ลดส่วนต่างตามชั้นคุณภาพข้าวตันละ 200 บาท
>>> 12,900ชนิดข้าวเปลือก (1)
เปลือกเหนียว
10% เมล็ดยาว
ราคาต้นทุนบวกกำไรไม่เกินร้อยละ 15 (2)
>>> 12,661 วงเงินสินเชื่อ (บาท/ตัน)ประมาณร้อยละ 90 ของสดมภ์ (2)(3)
ลดส่วนต่างตามชั้นคุณภาพข้าวตันละ 200 บาท
>>> 11,300ชนิดข้าวเปลือก (1)
เปลือกเหนียว
10% เมล็ดสั้น (คละ)
ราคาต้นทุนบวกกำไรไม่เกินร้อยละ 15 (2) >>> 12,661 วงเงินสินเชื่อ (บาท/ตัน)ประมาณร้อยละ 90 ของสดมภ์ (2)(3)
ลดส่วนต่างตามชั้นคุณภาพข้าวตันละ 200 บาท
>>> 10,300นอกจากนี้ รัฐจะสนับสนุนเงินจ่ายขาดเป็นค่าเช่าและค่าเก็บรักษาข้าวเปลือกในยุ้งฉางผู้กู้เป็นเงินจ่ายขาดให้แก่เกษตรกรและสหกรณ์การเกษตรตันละ 1,000 บาท
3.4 ระยะเวลาการเข้าร่วมโครงการและการรับชำระคืนเงินกู้:
(1) ระยะเวลาจ่ายเงินกู้เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2558 ถึง วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2559
(2) กำหนดระยะเวลาชำระคืนเงินกู้ให้เสร็จสิ้นภายใน 4 เดือน นับถัดจากเดือนรับเงินกู้
(3) ระยะเวลาโครงการตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกาย 2558 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2559
3.5 วงเงินกู้ต่อราย: กำหนดวงเงินกู้รายละไม่เกิน 300,000 บาท ขึ้นอยู่กับปริมาณข้าวเปลือก ชนิด และคุณภาพข้าวเปลือกที่นำมาเป็นหลักประกัน
3.6 หลักประกันการกู้เงิน: ใช้การรับรองรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกันและข้าวเปลือกของเกษตรกรที่อยู่ในยุ้งฉางเป็นหลักประกันเงินกู้
3.7 อัตราดอกเบี้ยเงินกู้และการชำระคืนเงินกู้:
(1) ตั้งแต่วันรับเงินกู้หรือวันที่ ธ.ก.ส. โอนเงินกู้เข้าบัญชีเงินฝากของเกษตรกรหรือสหกรณ์การเกษตรจนถึงวันครบกำหนดชำระคืน ธ.ก.ส. จะไม่คิดดอกเบี้ยเงินกู้จากผู้กู้เนื่องจากรัฐบาลชดเชยดอกเบี้ยแทนผู้กู้
(2) เมื่อมีกำหนดเวลาระบายข้าว เกษตรกรหรือสหกรณ์สามารถเลือกที่จะเข้าร่วมโครงการหรือไม่เข้าร่วมมาตรการระบาย โดยมีรายละเอียด ดังนี้
กรณีเข้าร่วมมาตรการระบาย
(2.1) เกษตรกรหรือสหกรณ์จะต้องส่งมอบข้าวเปลือกให้ครบถ้วนโดยรัฐบาลเป็นผู้ชดเชยอัตราดอกเบี้ยแก่ ธ.ก.ส.
(2.2) กรณีเกษตรกรหรือสหกรณ์นำส่งข้าวเปลือกไม่ครบถ้วน ธ.ก.ส. จะนำข้าวเปลือกที่ได้ไประบายแล้วนำมาหักลบหนี้ โดยหนี้ที่เหลือจะคิดดอกเบี้ยสำหรับเกษตรกร อัตรา MRR-3 (ร้อยละ 10) บวกเบี้ยปรับร้อยละ 3 ต่อปี และสำหรับสหกรณ์ อัตรา MLR+2 (ร้อยละ 7) บวกเบี้ยปรับร้อยละ 3 ต่อปี
กรณีไม่เข้าร่วมมาตรการระบาย
(2.3) เกษตรกรหรือสหกรณ์ต้องนำเงินกู้มาชำระคืนแก่ ธ.ก.ส. ภายในกำหนดระยะเวลาระบาย โดยคิดอัตรา MRR (ร้อยละ 7) และสำหรับสหกรณ์ อัตรา MLR (ร้อยละ 5)
(2.4) กรณีเกษตรกรหรือสหกรณ์ชำระเงินกู้ไม่เสร็จสิ้นภายในระยะเวลาระบาย ธ.ก.ส. จะคิดดอกเบี้ยสำหรับเกษตรกร อัตรา MRR+3 (ร้อยละ 10) บวกเบี้ยปรับร้อยละ 3 ต่อปี และสำหรับสหกรณ์ อัตรา MLR+2 (ร้อยละ 7) บวกเบี้ยปรับร้อยละ 3 ต่อปี
3.8 การระบายข้าวเปลือก: ให้ ธ.ก.ส. เป็นผู้ดำเนินการระบายข้าวเปลือก
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 27 ตุลาคม 2558