สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรี 1 กันยายน 2558
- Details
- Category: มติ ครม.
- Published: Friday, 04 September 2015 09:57
- Hits: 8790
สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรี 1 กันยายน 2558
สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรี ชุด พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 1 กันยายน 2558
วันนี้ (1 กันยายน 2558) เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี
ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุม พลตรี วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี สรุปสาระสำคัญดังนี้
กฎหมาย
1. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติองค์การมหาชน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
2. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดสาขา คุณสมบัติ หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือก และประโยชน์ตอบแทนของศิลปิลแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
3. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่แขวงบางอ้อ เขตบางพลัด แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ แขวงสามเสนใน เขตพญาไท และแขวงจอมพล แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ....
4. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ พ.ศ. ....
5. เรื่อง ร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดประเภทสถานประกอบกิจการโรงงานและยานพาหนะที่อยู่ภายใต้บังคับของมาตรการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ในสถานประกอบกิจการ โรงงาน และยานพาหนะ พ.ศ. .... และร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง มาตรการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ในสถานประกอบกิจการ โรงงาน และยานพาหนะ พ.ศ. .... จำนวน 2 ฉบับ
เศรษฐกิจ – สังคม
6. เรื่อง แผนประสานสอดคล้องการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
7. เรื่อง การพิจารณาบำเหน็จความชอบกรณีพิเศษให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติด ประจำปี 2557 และประจำปี 2558
8. เรื่อง มาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ของประชาชนผู้มีรายได้น้อยและมาตรการกระตุ้นการลงทุนขนาดเล็กของรัฐบาลทั่วประเทศ
9. เรื่อง การปรับปรุงแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2558 ครั้งที่ 3
10. เรื่อง มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558
11. เรื่อง การเพิ่มความคล่องตัวในการจัดหาพัสดุของส่วนราชการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2559
ต่างประเทศ
12. เรื่อง การประชุมระดับรัฐมนตรีสมาคมแห่งมหาสมุทรอินเดียว่าด้วยเรื่องเศรษฐกิจภาคทะเล ครั้งที่ 1 (1st Indian Ocean Rim Association Ministerial Blue Economy Conference - BEC)
13. เรื่อง ร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจไทย-ฮังการี ครั้งที่ 2
14. เรื่อง ร่างแถลงการณ์ร่วมระดับรัฐมนตรีเอเปคด้านการปฏิรูปโครงสร้าง ครั้งที่ 2 (APEC Structural Reform Ministerial Meeting)
แต่งตั้ง
15. เรื่อง คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 219 /2558 เรื่อง มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี และมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติราชการแทนกัน และคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 222 /2558 เรื่อง ปรับปรุงคำสั่งมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี
16. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ (นักบริหารระดับสูง) (สำนักนายกรัฐมนตรี)
17. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการ ป.ป.ส. (กระทรวงยุติธรรม)
18. เรื่อง การโอนข้าราชการมาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ
19. เรื่อง การโอนข้าราชการมาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
20. เรื่อง การโอนข้าราชการมาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงพลังงาน
21. เรื่อง ขอรับโอนข้าราชการ (กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์)
22. เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง ตำแหน่ง เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์)
23. เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง ตำแหน่ง ที่ปรึกษาและเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (กระทรวงสาธารณสุข)
24. เรื่อง แต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
25. เรื่อง การรักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
26. เรื่อง การแต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุด พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 1 กันยายน 2558
สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรี 1 กันยายน 2558
สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรี ชุด พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 1 กันยายน 2558
วันนี้ (1 กันยายน 2558) เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี
ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุม พลตรี วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี สรุปสาระสำคัญดังนี้
กฎหมาย
1. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติองค์การมหาชน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
2. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดสาขา คุณสมบัติ หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือก และ
ประโยชน์ตอบแทนของศิลปิลแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
3. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่แขวงบางอ้อ
เขตบางพลัด แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ แขวงสามเสนใน เขตพญาไท และแขวงจอมพล แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ....
4.เรื่อง ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงาน
โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ พ.ศ. ....
5.เรื่อง ร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดประเภทสถานประกอบกิจการ
โรงงานและยานพาหนะที่อยู่ภายใต้บังคับของมาตรการป้องกันและปราบปราม
การค้ามนุษย์ในสถานประกอบกิจการ โรงงาน และยานพาหนะ พ.ศ. .... และ
ร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง มาตรการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ในสถานประกอบกิจการ โรงงาน และยานพาหนะ พ.ศ. .... จำนวน 2 ฉบับ
เศรษฐกิจ – สังคม
6. เรื่อง แผนประสานสอดคล้องการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
7. เรื่อง การพิจารณาบำเหน็จความชอบกรณีพิเศษให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติด ประจำปี 2557 และประจำปี 2558
8. เรื่อง มาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ของประชาชนผู้มีรายได้น้อยและมาตรการกระตุ้น การลงทุนขนาดเล็กของรัฐบาลทั่วประเทศ
9. เรื่อง การปรับปรุงแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2558 ครั้งที่ 3
10. เรื่อง มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558
11. เรื่อง การเพิ่มความคล่องตัวในการจัดหาพัสดุของส่วนราชการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2559
ต่างประเทศ
12. เรื่อง การประชุมระดับรัฐมนตรีสมาคมแห่งมหาสมุทรอินเดียว่าด้วยเรื่องเศรษฐกิจ ภาคทะเล ครั้งที่ 1 (1st Indian Ocean Rim Association Ministerial Blue Economy Conference - BEC)
13. เรื่อง ร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจไทย-ฮังการี ครั้งที่ 2
14. เรื่อง ร่างแถลงการณ์ร่วมระดับรัฐมนตรีเอเปคด้านการปฏิรูปโครงสร้าง ครั้งที่ 2 (APEC Structural Reform Ministerial Meeting)
แต่งตั้ง
15. เรื่อง คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 219 /2558 เรื่อง มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี และมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติราชการแทนกัน และคำสั่ง สำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 222 /2558 เรื่อง ปรับปรุงคำสั่งมอบหมายและ มอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี
16. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ (นักบริหารระดับสูง) (สำนักนายกรัฐมนตรี)
17. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการ ป.ป.ส. (กระทรวงยุติธรรม)
18. เรื่อง การโอนข้าราชการมาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ
19. เรื่อง การโอนข้าราชการมาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
20. เรื่อง การโอนข้าราชการมาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงพลังงาน
21. เรื่อง ขอรับโอนข้าราชการ (กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์)
22. เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง ตำแหน่ง เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์)
23. เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง ตำแหน่ง ที่ปรึกษาและเลขานุการรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงสาธารณสุข (กระทรวงสาธารณสุข)
24. เรื่อง แต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
25. เรื่อง การรักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
26. เรื่อง การแต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
*******************
สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396
กฎหมาย
1. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติองค์การมหาชน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติองค์การมหาชน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ที่สำนักงาน ก.พ.ร. ปรับแก้ไขตามมติที่ประชุมร่วมกับรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป
สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ
ประเด็น
สาระสำคัญ ร่าง พ.ร.บ. องค์การมหาชน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
1. คำนิยาม
แก้ไขนิยามคำว่า “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการของแต่ละองค์การมหาชน เพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจและการดำเนินการของคณะกรรมการในแต่ละองค์การมหาชน
2. อำนาจของ ครม.
- กำหนดให้ ครม. มีอำนาจกำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาว่ากิจการอันเป็นบริการสาธารณะใดที่สมควรจะจัดตั้งเป็นองค์การมหาชน โดยข้อเสนอแนะของ กพม.
- เป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาดและกำหนดระเบียบแบบแผนในกรณีที่มีปัญหาการซ้ำซ้อนหรือขัดแย้งในการดำเนินกิจการขององค์การมหาชนกับการปฏิบัติงานของส่วนราชการหรือการดำเนินงานของหน่วยงานอื่นของรัฐตามกฎหมาย โดย กพม. เป็นผู้เสนอ
3. องค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของ กพม.
กำหนดให้มี กพม. ประกอบด้วย ประธานกรรมการพัฒนาระบบราชการ เป็นประธานกรรมการโดยตำแหน่ง 4 คน (เลขา-สคก. เลขา-สศช. เลขา-ครม. และ ผอ.สงป.) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และให้เลขาธิการ คกก. พัฒนาระบบราชการ เป็นกรรมการและเลขานุการ โดยให้มีอำนาจหน้าที่ เช่น (1) เสนอแนะต่อ ครม. เพื่อให้ความเห็นชอบในการจัดตั้ง การรวมหรือการยุบเลิกองค์การมหาชน (2) เสนอแนะต่อ ครม. เพื่อกำหนดนโยบาย แนวทางและหลักเกณฑ์กลางที่เกี่ยวกับการจัดตั้ง การรวม การยุบเลิก การบริหารและพัฒนา และการประเมินผลขององค์การมหาชน เป็นต้น
4. หลักเกณฑ์และอำนาจหน้าที่ของ คกก. ในองค์การมหาชน
- กำหนดให้ คกก. ในแต่ละองค์การมหาชนมีจำนวนตามที่กำหนดใน พ.ร.ฎ. จัดตั้งแต่ต้องไม่เกิน 11 คน โดยกรรมการไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งต้องไม่เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือน พนักงานหรือลูกจ้างของส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เว้นแต่เป็นผู้สอนในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ
- กำหนดให้การดำรงตำแหน่งกรรมการในองค์การมหาชนเกินกว่า 3 แห่งไม่ได้ (ให้นับรวมการเป็นกรรมการโดยตำแหน่งและการได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติราชการแทนในตำแหน่งกรรมการด้วย) โดยไม่รวมถึงการเป็นกรรมการโดยตำแหน่งที่ได้รับการมอบหมายให้ผู้อื่นปฏิบัติราชการแทน
- ปรับปรุงอำนาจหน้าที่ของ คกก. ในแต่ละองค์การมหาชน เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และมีอำนาจแต่งตั้ง คกก. ตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้ตรวจสอบภายใน
5. หลักเกณฑ์เกี่ยวกับ ผอ. ในองค์การมหาชน
- กำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของ ผอ. ขององค์การมหาชนไว้ในกฎหมายแม่บท เพื่อให้มีลักษณะสอดคล้องและเหมือนกัน
- กำหนดให้การพ้นจากตำแหน่งตามวาระเมื่ออายุครบ 65 ปีบริบูรณ์เป็นการพ้นจากตำแหน่งตามกำหนดเวลาในสัญญาจ้าง
- แก้ไขอำนาจบังคับบัญชาของ ผอ. โดยให้มีอำนาจบังคับบัญชาเจ้าหน้าที่และลูกจ้างขององค์การมหาชนทุกตำแหน่ง เว้นตำแหน่งผู้ตรวจสอบภายในให้ขึ้นตรงต่อ คกก. ตรวจสอบและ คกก. ตามระเบียบที่ คกก. กำหนด
6. การเร่งรัดให้องค์การมหาชนดำเนินการเสนอแก้ไข พ.ร.ฎ. จัดตั้งองค์การมหาชน
กำหนดให้องค์การมหาชนทุกแห่งดำเนินการเสนอร่าง พ.ร.ฎ. แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.ฎ. จัดตั้งองค์การมหาชนให้สอดคล้องกับ พ.ร.บ. ฉบับนี้ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ พ.ร.บ. นี้ใช้บังคับ
2. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดสาขา คุณสมบัติ หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือก และประโยชน์ตอบแทนของศิลปินแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดสาขา คุณสมบัติ หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือก และประโยชน์ตอบแทนของศิลปินแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงวัฒนธรรมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
กฎกระทรวงกำหนดสาขา คุณสมบัติ หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือก และประโยชน์ตอบแทนของศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. 2555
ร่างกฎกระทรวงกำหนดสาขา คุณสมบัติ หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือก และประโยชน์ตอบแทนของศิลปินแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
ข้อ 13 ให้ศิลปินแห่งชาติได้รับประโยชน์ตอบแทนดังต่อไปนี้
ฯลฯ ฯลฯ
(2) ค่ารักษาพยาบาลเฉพาะตัว เช่นเดียวกับผู้มีสิทธิได้รับค่ารักษาพยาบาลตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลโดยอนุโลม เว้นแต่มีสิทธิเบิกจากหน่วยงานอื่นให้เบิกจากหน่วยงานนั้นก่อน ถ้าเบิกจากหน่วยงานนั้นได้ต่ำกว่าสิทธิตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ให้มีสิทธิเบิกในส่วนที่ยังขาดอยู่ แต่ไม่เกินหนึ่งแสนบาทต่อปี
ฯลฯ ฯลฯ
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 13 (2) แห่งกฎกระทรวงกำหนดสาขา คุณสมบัติ หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกและประโยชน์ตอบแทนของศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. 2555 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(2) ค่ารักษาพยาบาลเฉพาะตัว ตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล เช่นเดียวกับข้าราชการโดยอนุโลม หากมีสิทธิเบิกจากหน่วยงานอื่นให้เบิกจากหน่วยงานนั้นก่อน ถ้าเบิกจากหน่วยงานนั้นได้ต่ำกว่าการเบิกตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลข้างต้น ให้มีสิทธิเบิกตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลข้างต้นได้ในส่วนที่ยังขาดอยู่
ค่ารักษาพยาบาลเฉพาะตัว เมื่อเบิกตาม (2) วรรคหนึ่งได้ไม่เต็มจำนวน หรือในกรณีที่เบิกตาม (2) วรรคหนึ่ง ไม่ได้ ส่วนที่ยังขาดอยู่หรือเบิกไม่ได้ ให้เบิกตามกฎกระทรวงนี้ได้อีก ทั้งนี้ ภายในวงเงินไม่เกิน 100,000 บาท ต่อปีงบประมาณ”
ข้อ 3 ให้ศิลปินแห่งชาติมีสิทธิได้รับค่ารักษาพยาบาลเฉพาะตัวตามกฎกระทรวงนี้ ตั้งแต่วันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป
ศิลปินแห่งชาติที่ยังไม่ได้เบิกค่ารักษาพยาบาลเฉพาะตัวก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ ให้ขอเบิกค่ารักษาพยาบาลเฉพาะตัวต่อกรมส่งเสริมวัฒนธรรมภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ
3. เรื่องร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่แขวงบางอ้อ เขตบางพลัด แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ แขวงสามเสนใน เขตพญาไท และแขวงจอมพล แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่แขวงบางอ้อ เขตบางพลัด แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ แขวงสามเสนในเขตพญาไท และแขวงจอมพล แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
มท. เสนอตามรายงานของ กทม. ว่า
1. มีความจำเป็นที่จะต้องได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์เพื่อดำเนินการก่อสร้างสะพานและทางหลวงท้องถิ่น ตามโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาขนาด 6 ช่องจราจร พร้อมทางยกระดับ ขนาด 4-6 ช่องจราจร เชื่อมต่อฝั่งธนบุรีและฝั่งพระนคร ความยาวรวมประมาณ 5.9 กิโลเมตร มีทางขึ้น-ลง 9 แห่ง ในท้องที่แขวงบางอ้อ เขตบางพลัด แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ แขวงสามเสนใน เขตพญาไท และแขวงจอมพล แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร โครงการดังกล่าวเป็นการอำนวยความสะดวกและ ความรวดเร็วแก่การจราจร และการขนส่งอันเป็นกิจการสาธารณูปโภค เพื่อให้เจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมาย จากเจ้าหน้าที่มีสิทธิเข้าไปสำรวจ และเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนที่แน่นอน
2. โครงการดังกล่าวตามข้อ 1. กรุงเทพมหานครได้ดำเนินการจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็น ของประชาชนผู้มีส่วนได้เสียกับโครงการดังกล่าว ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็น ของประชาชน พ.ศ. 2548 แล้ว ซึ่งประชาชนผู้มีส่วนได้เสียส่วนมากเห็นด้วยกับโครงการในเรื่องนี้
สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่แขวงบางอ้อ เขตบางพลัด แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ แขวงสามเสนใน เขตพญาไท และแขวงจอมพล แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร มีส่วนแคบที่สุดสองร้อยเมตร และส่วนกว้างที่สุดหนึ่งพันสองร้อยห้าสิบเมตร ตามโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา
4. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีนำร่างกฎกระทรวงดังกล่าวเสนอนายกรัฐมนตรีลงนาม และประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาต่อไป
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
ปรับปรุงการแบ่งส่วนราชการและอำนาจหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยเปลี่ยนชื่อส่วนราชการจากสำนักเป็นกอง และปรับปรุงอำนาจหน้าที่ ของส่วนราชการดังกล่าว รวมทั้งเพิ่มเติมศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริตเพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจที่เพิ่มขึ้นและเหมาะสมกับสภาพของงานที่เปลี่ยนแปลงไป อันจะทำให้การปฏิบัติภารกิจตามอำนาจหน้าที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น
การแบ่งส่วนราชการเดิม การแบ่งส่วนราชการใหม่
สำนักงานเลขาธิการ สำนักงานเลขาธิการ
สำนักศึกษาการพัฒนาตามแนวพระราชดำริและกิจกรรมพิเศษ กองกิจกรรมพิเศษ
สำนักประสานงานโครงการพื้นที่ 1-2 ตามที่เลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริประกาศกำหนด กองประสานงานโครงการพื้นที่ 1-4
สำนักแผนงานและติดตามประเมินผล กองแผนงานและติดตามประเมินผล
ศูนย์สารสนเทศ ศูนย์สารสนเทศ
กลุ่มตรวจสอบภายใน กลุ่มตรวจสอบภายใน
กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร
ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต
5. เรื่อง ร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดประเภทสถานประกอบกิจการ โรงงานและยานพาหนะ ที่อยู่ภายใต้บังคับของมาตรการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ในสถานประกอบกิจการ โรงงาน และยานพาหนะ พ.ศ. .... และร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง มาตรการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ในสถานประกอบกิจการ โรงงาน และยานพาหนะ พ.ศ. .... จำนวน 2 ฉบับ
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดประเภทสถานประกอบกิจการ โรงงานและยานพาหนะที่อยู่ภายใต้บังคับของมาตรการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ในสถานประกอบกิจการ โรงงาน และยานพาหนะ พ.ศ. .... และร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง มาตรการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ในสถานประกอบกิจการ โรงงาน และยานพาหนะ พ.ศ. .... จำนวน 2 ฉบับ ตามที่ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและ ร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของกระทรวงอุตสาหกรรมไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ และมอบให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์รับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการด้วย
สาระสำคัญของร่างประกาศ
1. ร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดประเภทสถานประกอบกิจการ โรงงานและยานพาหนะที่อยู่ภายใต้บังคับของมาตรการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ในสถานประกอบกิจการ โรงงาน และยานพาหนะ พ.ศ. .... เป็นการกำหนดให้สถานที่ที่ใช้ในการประกอบกิจการ โรงงาน และยานพาหนะตามที่กำหนดอยู่ภายใต้บังคับมาตรการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ดังนี้
1.1 สถานประกอบกิจการ ได้แก่ สถานบริการตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการ โรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม และที่พักอาศัยที่ให้ผู้อื่นเช่าในเชิงพาณิชย์
1.2 โรงงาน ได้แก่ โรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน ยกเว้นโรงงานจำพวกที่ 1
1.3 ยานพาหนะ ได้แก่ เรือตามกฎหมายว่าด้วยการเดินเรือในน่านน้ำไทย หรือ เรือต่างประเทศที่เข้ามาในน่านน้ำไทย ยกเว้นเรือเล็ก รถยนต์สาธารณะและรถยนต์บริการตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ และรถที่ใช้ขนส่งทางบกตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
2. ร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง มาตรการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ในสถานประกอบกิจการ โรงงาน และยานพาหนะ พ.ศ. ....
2.1 กำหนดคำนิยามคำว่า “สถานประกอบกิจการ” “โรงงาน” “ยานพาหนะ” “ลูกจ้าง” และ “พนักงานเจ้าหน้าที่”
2.2 กำหนดให้เจ้าของ ผู้ครอบครอง หรือผู้ดำเนินการสถานประกอบกิจการ โรงงาน และยานพาหนะต้องปฏิบัติตามที่กำหนด เช่น จัดให้มีการอบรมลูกจ้างของตนอย่างน้อยปีละครั้ง ติดป้ายหรือประกาศเตือนเกี่ยวกับการกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์ หรืออัตราโทษไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่ายในสถานประกอบกิจการ โรงงาน หรือยานพาหนะ อำนวยความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ในการเข้าไปในสถานประกอบกิจการ โรงงาน หรือยานพาหนะที่ตนเป็นเจ้าของ ผู้ครอบครองหรือผู้ดำเนินกิจการ ควบคุม สอดส่อง และดูแล ไม่ให้มีการกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์ในหรือบริเวณสถานประกอบกิจการ โรงงาน หรือยานพาหนะ และแจ้งพนักงานเจ้าหน้าที่ เมื่อพบว่า มีการกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์ เป็นต้น
เศรษฐกิจ – สังคม
6. เรื่อง แผนประสานสอดคล้องการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแผนประสานสอดคล้องการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
ตามที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
ยธ. รายงานว่าแผนประสานสอดคล้องการป้องกันแลแก้ไขปัญหายาเสพติดได้จัดกลุ่มความสัมพันธ์ในแต่ละยุทธศาสาตร์ 4 ด้าน ดังนี้
1. ด้านการป้องกันยาเสพติด ให้ความสำคัญกับการสร้างภูมิและป้องกันเยาวชนรุ่นใหม่ให้ห่างไกลยาเสพติด โดยแบ่งกลุ่มเป้าหมาย 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มเด็กและเยาวชน 2) กลุ่มแรงงาน 3) กลุ่มประชาชนทั่วไป
2. ด้านการบำบัดรักษายาเสพติด ให้ความสำคัญกับการพัฒนางานในเชิงคุณภาพ สร้างเอกภาพ ในทุกกระบวนการของการบำบัดรักษาทั้ง 3 ระบบ รวมทั้งส่งเสริมกระบวนการติดตามช่วยเหลือผู้ผ่านการบำบัดรักษาให้กลับสู่สังคมได้อย่างปกติสุขโดยให้ความสำคัญกับกระบวนการบำบัดรักษา ได้แก่ 1) ระบบสมัครใจ 2) ระบบบังคับบำบัด 3) ระบบต้องโทษ 4) ติดตามช่วยเหลือผ่านการบำบัดรักษา
3. ด้านการปราบปรามยาเสพติด ให้ความสำคัญกับการสร้างเอกภาพในการอำนวยการและปฏิบัติในการสกัดกั้นยาเสพติด และยกระดับความร่วมมือสู่นานาชาติ ได้แก่ 1) การควบคุมตัวยาและผู้ค้ายาเสพติด 2) ความร่วมมือระหว่างประเทศ
4. ด้านการบริหารจัดการ ให้ความสำคัญด้านกลไกการแก้ไขปัญหาทุกระดับ ระบบแผนงบประมาณ การติดตามและประเมินผล ระบบข้อมูล วิจัย วิชาการ ยาเสพติด และระบบสนับสนุนต่าง ๆ เช่น บุคลากร ความดีความชอบ การให้ความช่วยเหลือ การรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ เป็นต้น ตลอดจนพัฒนา/ปรับปรุงกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดให้มีความทันสมัย
7. เรื่อง การพิจารณาบำเหน็จความชอบกรณีพิเศษให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติด ประจำปี 2557 และประจำปี 2558
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เสนอ ดังนี้
1. เห็นชอบบำเหน็จความชอบกรณีพิเศษให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติด ประจำปี 2557 และประจำปี 2558
2. อนุมัติกรอบการพิจารณาบำเหน็จความชอบกรณีพิเศษให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติด ประจำปี 2557 และประจำปี 2558 ปีละจำนวน 9,480 คน เพื่อจัดสรรให้แก่ผู้มีผลการปฏิบัติงานด้านยาเสพติดดีเด่นและเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด
หลักเกณฑ์การพิจารณาบำเหน็จความชอบประจำปี 2557 และประจำปี 2558 (กรณีพิเศษ) แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติดมีหลักเกณฑ์และวิธีการเลื่อนเงินเดือนข้าราชการผู้ได้รับการพิจารณาบำเหน็จความชอบกรณีพิเศษนอกเหนือโควตาปกติดังนี้
1. ข้าราชการพลเรือนสามัญที่ได้รับบำเหน็จความชอบเป็นกรณีพิเศษ ให้ได้รับเงินเดือนเพิ่มจากการเลื่อนเงินเดือนกรณีปกติ อีกร้อยละ 1 ของฐานในการคำนวณเพื่อเลื่อนเงินเดือนในแต่ละครึ่งปี ทั้งนี้ เมื่อรวมการเลื่อนเงินเดือนกรณีปกติกับการเลื่อนกรณีพิเศษแล้ว อัตราการเลื่อนเงินเดือนของข้าราชการพลเรือนสามัญผู้นั้นจะต้องไม่เกินร้อยละ 6 ของฐานในการคำนวณ
2. ข้าราชการที่ยังคงใช้ระบบขั้นเงินเดือนที่ได้รับบำเหน็จความชอบเป็นกรณีพิเศษ ให้เลื่อนเงินเดือนกรณีพิเศษเพิ่มเติมจากที่ได้เลื่อนในกรณีปกติไปแล้วเมื่อรวมแล้วให้ได้ 2 ขั้น ทั้งนี้ กรณีผู้ที่เงินเดือนเต็มขั้น ให้ได้รับค่าตอบแทนเป็นไปตามระเบียบที่กระทรวงการคลังกำหนด
3. สำหรับผู้ที่ไปช่วยราชการด้านยาเสพติดอยู่ที่ส่วนราชการใด ให้ส่วนราชการนั้นเป็นผู้พิจารณาเลื่อนเงินเดือนกรณีพิเศษที่ได้รับ กรณีที่มีการช่วยราชการด้านยาเสพติดหลายส่วนราชการให้ส่วนราชการที่เจ้าหน้าที่นั้นปฏิบัติหน้าที่นานที่สุดเป็นผู้พิจารณาเลื่อนเงินเดือนกรณีพิเศษที่ได้รับ
4. การเลื่อนเงินเดือนให้ระบุในคำสั่งด้วยว่า “เลื่อนเงินเดือนกรณีพิเศษ ให้แก่ผู้ปฏิบัติงานด้าน ยาเสพติด” สำหรับงบประมาณที่ใช้ในการเลื่อนเงินเดือน ให้ใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีของส่วนราชการต้นสังกัดในโอกาสแรกก่อน หากไม่สามารถดำเนินการได้ให้เบิกจ่ายจากงบกลาง รายการเลื่อนเงินเดือนและ เงินปรับวุฒิข้าราชการในลำดับต่อไปตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
8. เรื่อง มาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ของประชาชนผู้มีรายได้น้อยและมาตรการกระตุ้นการลงทุนขนาดเล็กของรัฐบาลทั่วประเทศ
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ ดังนี้
1. เห็นชอบหลักเกณฑ์และเงื่อนไขมาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ในระดับหมู่บ้าน และ อนุมัติงบประมาณในการดำเนินโครงการเป็นวงเงินรวมไม่เกิน 2,478 ล้านบาท ทั้งนี้ ให้เบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 และปีต่อ ๆ ไป ตามประมาณการค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในแต่ละปี โดยให้ธนาคารออมสินและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ทำความตกลงกับสำนักงบประมาณ (สงป.) ในรายละเอียดต่อไป
2. เห็นชอบมาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ระดับตำบล และอนุมัติงบประมาณในการดำเนินมาตรการเป็นวงเงินรวมไม่เกิน 36,275 ล้านบาท ทั้งนี้ ให้เบิกจ่ายจากงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 และ/หรือ 2559 และมอบหมายให้
2.1 กระทรวงมหาดไทย (มท.) เป็นผู้รับผิดชอบมาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ระดับตำบล โดยให้ มท. กำหนดระเบียบ หลักเกณฑ์ และเงื่อนไข โครงการต่าง ๆ เสนอให้คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบภายในเวลา 2 สัปดาห์ หลังจากวันที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบมาตรการ ทั้งนี้ ให้เปิดเผยข้อมูลโครงการต่อประชาชนและรายงานการประเมินผลโครงการเสนอต่อคณะรัฐมนตรีภายในเดือนมกราคม 2559
2.2 ให้ สงป. เป็นผู้จัดหางบประมาณ พร้อมทั้งติดตามการเบิกจ่ายงบประมาณตามแผนงานการปฏิบัติงานและการเบิกจ่ายงบประมาณ และเสนอรายงานให้คณะรัฐมนตรีทราบความคืบหน้าทุกเดือน
3. เห็นชอบมาตรการเสริมการลงทุนขนาดเล็กของรัฐบาลทั่วประเทศ และอนุมัติงบประมาณ ในการดำเนินมาตรการเป็นวงเงินรวมไม่เกิน 40,000 ล้านบาท ทั้งนี้ ให้เบิกจ่ายจากงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 และงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 โดยให้ สงป. จัดสรรงบประมาณ พร้อมทั้งจัดทำระบบการตรวจสอบ ติดตามและรายงานผลการเบิกจ่ายให้คณะรัฐมนตรีทราบทุกเดือน รวมทั้งรายงานผลสำเร็จของโครงการต่อคณะรัฐมนตรีภายในเดือนมกราคม 2559
4. ให้ยกเว้นการปฏิบัติตามติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2558 (เรื่อง แนวทางการเสนอเรื่องงบประมาณต่อคณะรัฐมนตรี) สำหรับการดำเนินการเกี่ยวกับงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อ กรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ในข้อ 2 และข้อ 3 เนื่องจากมีความจำเป็นเร่งด่วนในการดำเนินมาตรการเพื่อช่วยเหลือประชาชนผู้มีรายได้น้อยที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจโดยเร็ว
สาระสำคัญของเรื่อง
กค. รายงานว่า ในช่วงครึ่งแรกของปี 2558 เศรษฐกิจไทยขยายตัวที่ร้อยละ 2.9 ต่อปี ต่ำกว่าระดับศักยภาพทางเศรษฐกิจ ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากการส่งออกสินค้าที่หดตัว เนื่องจากเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าหลักขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง และผลผลิตและราคาพืชผลเกษตรสำคัญต่าง ๆ ปรับลดลง เนื่องจากปัญหาภัยแล้ง และความผันผวนของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลก จึงเห็นควรมีมาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ของประชาชนผู้มีรายได้น้อยและมาตรการกระตุ้นการลงทุนขนาดเล็กของรัฐบาลทั่วประเทศ ดังนี้
1. มาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ของประชาชนผู้มีรายได้น้อย
1.1 มาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ระดับหมู่บ้าน มีหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังนี้
1.1.1 วัตถุประสงค์ของโครงการ ให้สินเชื่อกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง (กองทุนฯ) ระดับ A ระดับ B กองทุนฯ ละไม่เกิน 1 ล้านบาท โดยมีเงื่อนไขไม่ให้กองทุนฯ Refinance หนี้เดิม เพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินงานให้กับกองทุนฯ กำหนดวงเงิน 60,000 ล้านบาท ประกอบด้วย วงเงินสินเชื่อของธนาคารออมสิน 30,000 ล้านบาท และวงเงินสินเชื่อของ ธ.ก.ส. 30,000 ล้านบาท ทั้งนี้ กองทุนฯ ต้องนำหลักฐานการขอสินเชื่อจากสมาชิกกองทุนฯ เพื่อประกอบการเบิกเงินกู้จากธนาคารออมสินหรือ ธ.ก.ส.
1.1.2 อัตราดอกเบี้ยและระยะเวลา กำหนดให้ธนาคารออมสินและ ธ.ก.ส. ให้สินเชื่อกับกองทุนฯ ระยะเวลา 7 ปี นับจากวันลงนามในนิติกรรมสัญญา และดำเนินการทำนิติกรรมสัญญาให้แล้วเสร็จภายใน 31 ธันวาคม 2558 โดยมีเงื่อนไขอัตราดอกเบี้ยดังนี้
(1) ปีที่ 1-2 ในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0 ต่อปี
(2) ปีที่ 3-7 ในอัตราดอกเบี้ยเท่ากับต้นทุนทางการเงิน (Financing Cost) บวกด้วยร้อยละ 1.0 ต่อปี
และกำหนดให้กองทุนฯ ให้สินเชื่อกับสมาชิกกองทุนฯ โดยมีเงื่อนไขอัตราดอกเบี้ย ดังนี้
(3) ปีที่ 1-2 ในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0 ต่อปี
(4) ปีที่ 3-7 ในอัตราดอกเบี้ยเท่ากับอัตราที่ธนาคารเรียกเก็บจากกองทุน ในข้อ 1.1.2 (2)
โดยมีเงื่อนไขไม่ให้สมาชิกกองทุนฯ Refinance หนี้เดิม
1.1.3 การชดเชย รัฐบาลชดเชยให้ธนาคารออมสินและ ธ.ก.ส. ตามต้นทุนทางการเงินที่เกิดขึ้นจริงของสถาบันการเงินแต่ละแห่ง ได้แก่ ธนาคารออมสินได้รับชดเชยเท่ากับร้อยละ 2.21 ต่อปี เป็นระยะเวลา 2 ปี และ ธ.ก.ส. ได้รับชดเชยเท่ากับร้อยละ 1.92 ต่อปี เป็นระยะเวลา 2 ปี วงเงินชดเชยรวมทั้งหมดไม่เกิน 2,478 ล้านบาท โดยธนาคารออมสินและ ธ.ก.ส. แยกบัญชีโครงการดังกล่าวเป็นบัญชีธุรกรรมตามนโยบายรัฐบาล (Public Service Account : PSA) โดยไม่ได้รับการชดเชยความเสียหายในอนาคต และสามารถนำต้นทุนในการบริหารจัดการบวกกลับเพื่อใช้ในการคำนวณโบนัสประจำปีของพนักงานได้
1.2 มาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ระดับตำบล
1.2.1 วัตถุประสงค์ เพื่อช่วยเหลือประชาชนผู้มีรายได้น้อยในต่างจังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจและราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ ซึ่งมีผลกระทบต่อกำลังซื้อของประชาชนผู้มีรายได้น้อยอ่อนแอลง โดยมาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ในระดับตำบลจะช่วยให้เกิดการจ้างงาน การบริโภค และการลงทุนในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นจากการจัดสรรงบประมาณลงในระดับตำบล
1.2.2 สาระสำคัญ
(1) ให้ มท. เป็นหน่วยงานหลักดำเนินมาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ระดับตำบล โดยจัดสรรงบประมาณให้ในระดับตำบล ตำบลละ 5 ล้านบาท (จำนวน 7,255 ตำบล คิดเป็นเงิน 36,275 ล้านบาท) เพื่อดำเนินโครงการที่มีการจ้างแรงงานหรือก่อให้เกิดการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการในจังหวัด ในลักษณะดังต่อไปนี้
(1.1) โครงการซ่อมแซมหรือบูรณะทรัพย์สินที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ เช่น การซ่อมแซมแหล่งน้ำและระบบส่งน้ำ การซ่อมแซมสถานพยาบาล โรงเรียน ตลาดกลาง และการปรับปรุงและฟื้นฟูแหล่งขยะ เป็นต้น
(1.2) โครงการส่งเสริมการพัฒนาชุมชนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง เช่น การปลูกพืชใหม่ที่มีตลาด การเปลี่ยนแปลงอาชีพ การสร้างฝาย ปลูกต้นไม้หรือป่าชุมชน เป็นต้น
(1.3) โครงการด้านเศรษฐกิจและสังคม เช่น การเพิ่มศักยภาพในการประกอบอาชีพของคนในหมู่บ้าน/ชุมชน ส่งเสริมการประกอบอาชีพ การปรับปรุงซ่อมแซม ศูนย์เด็กเล็ก ศูนย์บริการผู้สูงอายุ เป็นต้น
(2) ให้หมู่บ้านหรือชุมชน จัดทำโครงการ ตามข้อ (1) เสนอต่อคณะกรรมการตำบลรวบรวมและรับรองโครงการเสนอต่อนายอำเภอ เพื่อเสนอขออนุมัติต่อคณะกรรมการระดับจังหวัด แล้วเสนอ มท. ดำเนินการต่อไป ทั้งนี้ โครงการที่เสนอจะต้องไม่ซ้ำซ้อนกับแผนงาน/โครงการ/กิจกรรมของส่วนราชการ/หน่วยงาน/องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ดำเนินการในพื้นที่
1.2.3 ระยะเวลาดำเนินการ ให้ มท. ดำเนินการและเร่งรัดการใช้จ่ายเงินตามโครงการให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2558
1.2.4 แหล่งเงินและวงเงินงบประมาณ งบกลางรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ปีงบประมาณ 2558 และ/หรือ ปีงบประมาณ 2559 วงเงิน 36,275 ล้านบาท โดยให้นับรวมวงเงินงบประมาณตามมาตรการสำคัญเร่งด่วนเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรและคนยากจนในการเสริมสร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนตามมติคณะรัฐมนตรี (4 ส.ค. 58) วงเงิน 6,541.09 ล้านบาท และโครงการช่วยเหลือเกษตรกรและคนยากจนโดยสนับสนุนการจัดหาเครื่องจักรกลการเกษตรให้แก่กลุ่มสหกรณ์ ตามมติคณะรัฐมนตรี (18 ส.ค. 58) วงเงิน 490.60 ล้านบาท
1.2.5 แนวทางการดำเนินการ
(1) ให้ มท. เป็นผู้รับผิดชอบมาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ระดับตำบล และกำหนดระเบียบ หลักเกณฑ์ เงื่อนไขโครงการต่าง ๆ และกลไกคณะกรรมการในระดับจังหวัด โดยให้มีอำนาจอนุมัติโครงการตามหลักเกณฑ์ที่ มท. กำหนด ทั้งนี้ ระเบียบ หลักเกณฑ์ เงื่อนไขโครงการต่าง ๆ ขั้นตอน และคู่มือการดำเนินงาน ให้ มท. เสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบภายในเวลา 2 สัปดาห์ นับจากวันที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบมาตรการแล้ว โดยให้ มท. เปิดเผยข้อมูลโครงการเพื่อให้ประชาชนสามารถติดตามและตรวจสอบได้ และจัดทำรายงานการประเมินผลโครงการเสนอต่อคณะรัฐมนตรีภายในเดือนมกราคม 2559
(2) เมื่อคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติโครงการ/แผนงานและงบประมาณแล้วให้ มท. เร่งรัดให้จังหวัดดำเนินโครงการและมอบให้นายอำเภอเป็นผู้ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างโครงการที่อยู่ในพื้นที่รับผิดชอบ
(3) ให้ สงป. เป็นผู้จัดหางบประมาณ พร้อมทั้งติดตามการเบิกจ่ายงบประมาณตามแผนงานการปฏิบัติงานและการเบิกจ่ายงบประมาณและเสนอรายงานให้คณะรัฐมนตรีทราบความคืบหน้าทุกเดือน
2. มาตรการกระตุ้นการลงทุนขนาดเล็กของรัฐบาลทั่วประเทศ
2.1 วัตถุประสงค์ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการจ้างงานและส่งเสริมให้มีการลงทุนทั้งในส่วนกลางและต่างจังหวัด
2.2 สาระสำคัญ วงเงินประมาณ 40,000 ล้านบาท ประกอบด้วย
2.2.1 ให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่น ยกเว้นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และกองทุนและเงินทุนหมุมเวียน ที่มีแผนการดำเนินงานที่สอดคล้องกับมาตรการส่งเสริมการลงทุนขนาดเล็กของรัฐบาลทั่วประเทศ จัดทำแผนการดำเนินการรายการที่มีลักษณะเป็นรายจ่ายลงทุนที่มีความสำคัญและจำเป็น ต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของหน่วยงาน วงเงินในการดำเนินการจัดซื้อ/จัดจ้าง รายการละไม่เกิน 1 ล้านบาท และต้องดำเนินการเบิกจ่ายให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2558 โดยให้ขอรับการจัดสรรงบกลางรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
2.2.2 ให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่น ดำเนินการตามมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 ที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณไว้แล้ว โดยจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณให้สอดคล้องกับมาตรการส่งเสริมการลงทุนขนาดเล็กนี้ โดยเฉพาะรายการรายจ่ายลงทุนที่มีวงเงินไม่เกิน 1 ล้านบาท ให้ดำเนินการลงนามในสัญญาและเบิกจ่ายให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2558 และรายจ่ายลงทุนที่มีวงเงินมากกว่า 1 ล้านบาท ให้สามารถลงนาม และเบิกจ่ายงบประมาณได้ตั้งแต่ไตรมาส 1
2.3 แนวทางดำเนินงาน
2.3.1 การขอรับการจัดสรรงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
(1) ให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นจัดทำคำขอรับการจัดสรรงบประมาณ เสนอให้รองนายกรัฐมนตรีที่รับผิดชอบหรือรัฐมนตรีที่กำกับพิจารณาให้ความเห็นชอบ และส่งให้ สงป. ภายในวันศุกร์ที่ 11 กันยายน 2558
(2) สงป. พิจารณาและนำเสนอนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบการใช้งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
(3) ให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ มอบหมายหน่วยงานในพื้นที่เป็นหน่วยงานดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง
2.3.2 หลักเกณฑ์การพิจารณาสำหรับค่าใช้จ่ายงบกลางฯ รายการที่จะขอรับการสนับสนุนต้องมีลักษณะค่าใช้จ่าย เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
(1) เป็นรายการซึ่งมีลักษณะเป็นรายจ่ายลงทุน ภายใต้งบรายจ่ายงบลงทุน งบเงินอุดหนุน และงบรายจ่ายอื่น
(2) เป็นการส่งเสริมให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจ และการจ้างงานในประเทศ
(3) สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล
(4) มีวงเงินต่อรายการไม่เกิน 1 ล้านบาท
(5) เป็นโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการลงทุนเพื่อเศรษฐกิจและสังคม การบริหารจัดการน้ำของประเทศ การเพิ่มประสิทธิภาพและศักยภาพการผลิตของชุมชน
(6) เป็นรายการที่ชุมชนสามารถดูแลรักษาได้และใช้ประโยชน์ได้อย่างต่อเนื่อง
(7) สถานที่ดำเนินการควรเป็นสถานที่สาธารณะที่มีหนังสืออนุญาตให้ใช้ประโยชน์จากหน่วยงานที่ดูแล หรือหากเป็นสถานที่ส่วนบุคคลต้องมีเอกสารยินยอมให้ใช้สถานที่ เป็นลายลักษณ์อักษรและมีระยะเวลาที่สอดคล้องกับการเสื่อมของอาคาร/สิ่งก่อสร้างนั้น ๆ
(8) เป็นรายการที่ไม่ซ้ำซ้อนกับรายการที่ได้รับงบประมาณดำเนินการ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 -2559 จากส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
2.3.3 ให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นพิจารณาจัดทำโครงการโดยให้คำนึงถึงการกระจายตัวของโครงการให้ทั่วถึงทุกพื้นที่จัดทำระบบการตรวจสอบ รวมทั้งรายงานผลสำเร็จของโครงการให้ สงป.
2.3.4 ให้ สงป. ติดตามและรายงานผลการเบิกจ่ายให้คณะรัฐมนตรีทราบทุกเดือน และจัดทำรายงานสรุปผลสำเร็จของโครงการเสนอต่อคณะรัฐมนตรีภายในเดือนมกราคม 2559
9. เรื่อง การปรับปรุงแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2558 ครั้งที่ 3
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและอนุมัติตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ ดังนี้
1. รับทราบการปรับปรุงแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2558 ครั้งที่ 3 ที่มีวงเงินปรับลดลง 132,365.87 ล้านบาท จากเดิม 1,597,566.30 ล้านบาท เป็น 1,465,200.43 ล้านบาท
2. อนุมัติการกู้เงินของรัฐบาลเพื่อการกู้มาและการนำไปให้กู้ต่อและการค้ำประกันเงินกู้ให้กับรัฐวิสาหกิจ ตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม รวมทั้งอนุมัติการกู้เงินของรัฐวิสาหกิจเพื่อดำเนินโครงการลงทุนและการกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ภายใต้กรอบวงเงินของแผน การบริหารหนี้สาธารณะประจำปีงบประมาณ 2558 ปรับปรุงครั้งที่ 3
3. อนุมัติให้ กค. เป็นผู้พิจารณาการกู้เงิน วิธีการกู้เงิน เงื่อนไขและรายละเอียดต่าง ๆ ของการกู้เงิน การค้ำประกันและการบริหารความเสี่ยงในแต่ละครั้งได้ตามความเหมาะสมและจำเป็น ภายใต้แผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2558 ปรับปรุงครั้งที่ 3 ทั้งนี้ หากรัฐวิสาหกิจสามารถดำเนินการกู้เงินได้เอง ก็ให้สามารถดำเนินการได้ตามความเหมาะสมและจำเป็นของรัฐวิสาหกิจนั้น ๆ
4. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังหรือผู้ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมอบหมาย เป็นผู้ลงนามผูกพันการกู้เงินและหรือการค้ำประกันเงินกู้และเอกสารที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ กค. จะรายงานผลการดำเนินการตามแผนการบริหารหนี้สาธารณะดังกล่าวตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2549
10. เรื่อง มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 ตามที่สำนักงบประมาณเสนอ ทั้งนี้เพื่อให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่น สามารถดำเนินการตามมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความชัดเจนและเป็นรูปธรรม
แนวทางการดำเนินงานตามมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 มีดังนี้
1. ให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่น จัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ ส่งให้สำนักงบประมาณพิจารณาภายในวันที่ 4 กันยายน 2558 โดยมีหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังนี้
(1) รายจ่ายประจำ ให้ความสำคัญกับการจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ ให้สอดคล้องกับเป้าหมายการเบิกจ่ายงบประมาณรายไตรมาส โดยในส่วนของการดำเนินงานตามภารกิจยุทธศาสตร์ ภารกิจหน่วยงาน จะต้องเร่งรัดให้เริ่มดำเนินงานและเริ่มเบิกจ่ายงบประมาณตั้งแต่ไตรมาสที่ 1
สำหรับ การฝึกอบรมประชุมสัมมนา ให้คำนึงถึงประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับเป็นหลัก ทั้งนี้ ให้จัดแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ โดยเบิกจ่ายได้ในไตรมาสที่ 1 ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของวงเงินงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
(2) รายจ่ายลงทุน กรณีจัดหาครุภัณฑ์ ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นจะต้องมีความพร้อมเกี่ยวกับคุณลักษณะเฉพาะ ผลการสืบราคา และสถานที่/พื้นที่รองรับครุภัณฑ์ รวมถึงการดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายหรือระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างถูกต้องครบถ้วน กรณีสิ่งก่อสร้างส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่น ต้องพิจารณาให้มีความพร้อมเกี่ยวกับข้อกำหนดและขอบเขตของงาน (TOR) แบบรูปรายการ ประมาณราคา สถานที่/พื้นที่ก่อสร้าง รวมถึงการดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างถูกต้องครบถ้วน
(3) ให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่น เริ่มกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างได้ เมื่อคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 พิจารณาแล้วเสร็จ (วันที่ 14 สิงหาคม 2558) โดยมีเงื่อนไขว่าจะก่อหนี้ผูกพันได้ก็ต่อเมื่อได้รับจัดสรรงบประมาณจากสำนักงบประมาณแล้ว ทั้งนี้ รายการรายจ่ายลงทุนที่มีวงเงินไม่เกิน 2 ล้านบาท ให้ก่อหนี้ผูกพันและเบิกจ่ายงบประมาณในไตรมาสที่ 1 รายการรายจ่ายลงทุนที่มีวงเงินตั้งแต่ 2 ล้านบาทขึ้นไป จะต้องก่อหนี้ผูกพันให้แล้วเสร็จภายในไตรมาสที่ 1 ยกเว้นรายการที่มีวงเงินเกิน 500 ล้านบาท ให้ก่อหนี้ผูกพันอย่างช้าภายในไตรมาสที่ 2 และรายการครุภัณฑ์ที่มีวงเงินสูง รวมถึงครุภัณฑ์ที่มีคุณลักษณะพิเศษหรือจัดหาจากต่างประเทศ จะต้องเร่งรัดก่อหนี้ผูกพันโดยเร็ว
2. เมื่อสำนักงบประมาณเห็นชอบแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณและจัดสรรงบประมาณให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นแล้ว ขอให้เร่งดำเนินการโอนจัดสรรงบประมาณที่ดำเนินการในเขตพื้นที่จังหวัดไปยังสำนักเบิกส่วนภูมิภาคนั้นๆ ตามแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณที่กำหนดไว้โดยเร็ว อย่างช้าไม่เกินสามวันทำการ นับตั้งแต่วันที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ
3. ให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่น รายงานผลการปฏิบัติงานและการใช้จ่ายงบประมาณตามตัวชี้วัดผลผลิตและตามขั้นตอนการปฏิบัติงาน พร้อมทั้งระบุปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ไข โดยให้จัดส่งผลการปฏิบัติงานและการใช้จ่ายงบประมาณด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐเป็นรายเดือนและราย ไตรมาส เพื่อสำนักงบประมาณจะได้ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินการของแผนงาน/โครงการเป็นรายเดือน และรวบรวมรายงานผลการปฏิบัติงานและการใช้จ่ายงบประมาณเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเป็นรายเดือนและรายไตรมาสต่อไป
4. ให้หัวหน้าส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอื่น และผู้ว่าราชการจังหวัดติดตามและกำกับดูแลหน่วยงานในสังกัดให้ปฏิบัติตามแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณโดยเคร่งครัด
5. ให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่น ที่มีเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปีเร่งรัดการก่อหนี้และ เบิกจ่ายเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปีโดยเร็ว
6. กรณีที่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่น มีความจำเป็นเร่งด่วนต้องดำเนินการให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล และการกระตุ้นเศรษฐกิจ เห็นสมควรให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่น พิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณไปดำเนินการ ยกเว้นรายการรายจ่ายลงทุนที่มีวงเงินไม่เกิน 2 ล้านบาท โดยเสนอรองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีที่กำกับดูแลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่น พิจารณาและส่งให้สำนักงบประมาณพิจารณาเห็นชอบการปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณตามระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป
11. เรื่อง การเพิ่มความคล่องตัวในการจัดหาพัสดุของส่วนราชการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2559
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบการเพิ่มความคล่องตัวในการจัดหาพัสดุของส่วนราชการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
กค. รายงานว่า
1. กระทรวงการคลัง โดยกรมบัญชีกลาง ในฐานะฝ่ายเลขานุการในคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุ (กวพ.) ได้นำเสนอ กวพ.ในคราวประชุม ครั้งที่ 15/2558 เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2558 ขอยกเว้นการปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และการปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติแนบท้ายประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีฯ เกี่ยวกับการกำหนดวงเงินในวิธีตกลงราคาวิธีตลาดอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Market : e-market) และวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Bidding : e-bidding) เป็นการชั่วคราว เพื่อให้การจัดซื้อจัดจ้างของส่วนราชการสามารถดำเนินการได้อย่างคล่องตัว โดยเฉพาะแผนงาน/โครงการขนาดเล็ก อันส่งผลให้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้น รวมถึงมาตรการเร่งรัดการเบิกจ่ายเงินงบประมาณของส่วนราชการ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดย กวพ. ได้อาศัยอำนาจตามระเบียบ สำนักนายกรัฐมนตรีฯ พ.ศ.2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 12 (2) และข้อ 15 และอาศัยอำนาจตามแนวทางปฏิบัติแนบท้ายประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีฯ ข้อ 7 (1) ยกเว้นผ่อนผันการกำหนดวงเงินในวิธีตกลงราคาวิธีตลาดอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Market : e-market) และวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Bidding : e-bidding) ดังนี้
1.1 กำหนดวงเงินในการจัดหาพัสดุตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม จากเดิมเป็นดังนี้
1) การซื้อหรือการจ้างโดยวิธีตกลงราคา ได้แก่ การซื้อหรือการจ้างครั้งหนึ่ง ซึ่ง มีราคาไม่เกิน 500,000 บาท
2) การซื้อหรือการจ้างโดยวิธีสอบราคา ได้แก่ การซื้อหรือการจ้างครั้งหนึ่ง ซึ่งมีราคาเกิน 500,000 บาท แต่ไม่เกิน 2,000,000 บาท
3) การซื้อหรือการจ้างโดยวิธีประกวดราคา ได้แก่ การซื้อหรือการจ้างครั้งหนึ่ง ซึ่งมีราคาเกิน 2,000,000 บาท
4) การซื้อโดยวิธีพิเศษ ได้แก่ การซื้อครั้งหนึ่งซึ่งมีราคาเกิน 500,000 บาท ให้กระทำได้เฉพาะกรณีหนึ่งกรณีใดตามที่กำหนดในระเบียบฯ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 23
5) การจ้างโดยวิธีพิเศษ ได้แก่ การจ้างครั้งหนึ่งซึ่งมีราคาเกิน 500,000 บาท ให้กระทำได้เฉพาะกรณีหนึ่งกรณีใดตามที่กำหนดในระเบียบฯ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 24
1.2 การจัดหาพัสดุครั้งหนึ่งซึ่งมีราคาเกิน 500,000 บาท แต่ไม่เกิน 2,000,000 บาท ซึ่งเดิมกำหนดให้ส่วนราชการต้องดำเนินการจัดหาพัสดุด้วยวิธีตลาดอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Market : e-market) และด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Bidding : e-bidding) ให้ส่วนราชการดังกล่าว ดำเนินการจัดหาพัสดุด้วยวิธีสอบราคาตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
สำหรับ การจัดหาพัสดุครั้งหนึ่งซึ่งมีราคาเกิน 2,000,000 บาท ให้ส่วนราชการดำเนินการจัดหาพัสดุด้วยวิธีตลาดอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Market : e-market) หรือด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Bidding : e-bidding) แล้วแต่กรณี
1.3 แนวทางการปฏิบัติในข้อ 1.1 และ 1.2 ให้เริ่มถือปฏิบัติตั้งแต่วันที่ 15 กันยายน 2558 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2559 สำหรับกระบวนการจัดหาพัสดุที่ได้ดำเนินการก่อนวันที่ 15 กันยายน 2558 และยังไม่แล้วเสร็จ ให้ถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการเดิม ต่อไป
2. กระทรวงการคลัง โดยกรมบัญชีกลางจะประเมินผลการดำเนินการในเรื่องดังกล่าวและรายงานคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบต่อไป
ต่างประเทศ
12. เรื่อง การประชุมระดับรัฐมนตรีสมาคมแห่งมหาสมุทรอินเดียว่าด้วยเรื่องเศรษฐกิจภาคทะเล ครั้งที่ 1 (1st Indian Ocean Rim Association Ministerial Blue Economy Conference - BEC)
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ ดังนี้
1. เห็นชอบในหลักการต่อร่างปปฏิญญามอริเชียสว่าด้วยเรื่องเศรษฐกิจภาคทะเล และหากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขร่างปฏิญญาดังกล่าวที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ให้ กต. ดำเนินการได้ โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีกครั้ง
2. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้ได้รับมอบหมายเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมประชุมระดับรัฐมนตรีสมาคมแห่งมหาสมุทรอินเดียว่าด้วยเรื่องเศรษฐกิจภาคทะเล ครั้งที่ 1 และร่วมให้การรับรองร่างปฏิญญามอริเซียสว่าด้วยเรื่องเศรษฐกิจภาคทะเล
สาระสำคัญของเรื่อง
1. ร่างปฏิญญามอริเชียสมีจุดประสงค์เพื่อสร้างความร่วมมมือในการพัฒนาเศรษฐกิจภาคทะเล ในภูมิภาคมหาสมุทรอินเดียให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน ซึ่งมีความสำคัญต่อประเทศที่มีอาณาเขตทางทะเลที่เชื่อมต่อกับมหาสมุทรอินเดีย ดังนั้น ไทยจึงควรมีส่วนร่วมในการรับรองร่างปฏิญญาดังกล่าวอย่างสร้างสรรค์ ประกอบกับ IORA เป็นเวทีที่เน้นส่งเสริมความร่วมมืออย่างรอบด้านที่สอดคล้องกับนโยบายของไทย อาทิ ความปลอดภัยและความมั่นคงทางทะเล การอำนวยความสะดวกด้านการค้าและการลงทุน การพัฒนาความเชื่อมโยง การจัดการด้านประมง และการท่องเที่ยว การให้ความสำคัญกับ IORA จึงเป็นการเปิดโอกาสให้ไทยมีส่วนร่วมใน เวทีดังกล่าวอย่างเป็นรูปธรรม และแสดงบทบาทในฐานะประเทศสมาชิก IORA อีกด้วย
2. ร่างปฏิญญาฉบับนี้เป็นการประกาศเจตนารมณ์ทางการเมืองของรัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่อาวุโสของประเทศสมาชิกและคู่เจรจาของ IORA โดยไม่ได้มุ่งให้เกิดพันธกรณีที่มีผลบังคับภายใต้กฎหมายระว่างประเทศ อีกทั้งการให้ความเห็นชอบต่อร่างปฏิญญาฯ จะทำโดยการรับรองโดยที่ประชุมโดยไม่มีการลงนาม ร่างปฏิญญาฯ จึง ไม่เป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศ และไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 23 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557
3. รัฐบาลมอริเชียสจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับรัฐมนตรีสมาคมแห่งมหาสมุทรอินเดีย ว่าด้วยเรื่องเศรษฐกิจภาคทะเล ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 2 – 4 กันยายน 2558 เพื่อให้ประเทศสมาชิกร่วมกันกำหนดวิสัยทัศน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจภาคทะเลในภูมิภาคมหาสมุทรอินเดียอย่างเท่าเทียมกันและส่งเสริมการเติบโตที่ยั่งยืน โดยจะมีการรับรองร่างปฏิญญามอริเชียสว่าด้วยเศรษฐกิจภาคทะเล (Draft Mauritius Declaration on Blue Economy) เพื่อแสดงเจตนารมณ์ของประเทศสมาชิกในการผลักดันประเด็นความร่วมมือดังกล่าว
13. เรื่อง ร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจไทย-ฮังการี ครั้งที่ 2
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ ดังนี้
1. เห็นชอบต่อร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจไทย-ฮังการี ครั้งที่ 2 เพื่อเป็นกรอบการหารือกับฝ่ายฮังการีในระหว่างการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมฯ ครั้งที่ 2
2. อนุมัติให้ปลัดกระทรวงการต่างประเทศร่วมลงนามในเอกสารผลลัพธ์การประชุมดังกล่าวร่วมกับ Minister of State for Economic Diplomacy กระทรวงการต่างประเทศและการค้าฮังการี
3. หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมฯ ดังกล่าว ในส่วนที่จะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินความสัมพันธ์ แต่มิใช่สาระสำคัญหรือกระทบต่อผลประโยชน์ของไทย ให้ กต. และคณะ ผู้แทนไทยที่เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมฯ สามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง
สาระสำคัญของร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมฯ ครั้งที่ 2 ระบุถึงแนวทางความร่วมมือด้านการค้าและเศรษฐกิจ และการลงทุน ตลอดจนสาขาความร่วมมือทางวิชาการที่ส่งเสริมเศรษฐสัมพันธ์ระหว่างกัน ได้แก่ สิ่งแวดล้อมและการบริหารจัดการน้ำ อุตสาหกรรมเกษตร และอาหาร พลังงาน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การศึกษาและวัฒนธรรม สาธารณสุขและอุตสาหกรรมสาธารณสุข และการท่องเที่ยว
ร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมฯ เป็นการแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันในการขยายความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและวิชาการในสาขาต่าง ๆ ทั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายตกลงกันว่าเอกสารผลลัพธ์การประชุมฯ ไม่ก่อให้เกิดข้อผูกพันทางกฎหมายระหว่างกัน ภายใต้บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศ ดังนั้น จึงไม่เป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศ และไม่เข้าข่ายเป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 23 ของรัฐธรรมนูญ
14. เรื่อง ร่างแถลงการณ์ร่วมระดับรัฐมนตรีเอเปคด้านการปฏิรูปโครงสร้าง ครั้งที่ 2 (APEC Structural Reform Ministerial Meeting)
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอ ดังนี้
1. เห็นชอบต่อร่างแถลงการณ์ร่วมระดับรัฐมนตรีเอเปคด้านการปฏิรูปโครงสร้าง ครั้งที่ 2 (APEC Structural Reform Ministerial Meeting)
2. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมและเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนเจ้าหน้าที่ไทย และปฏิบัติหน้าที่ในการ ประชุมระดับรัฐมนตรีเอเปคด้านการปฏิรูปโครงสร้าง (APEC Structural Reform Ministerial Meeting) ระหว่างวันที่ 7-8 กันยายน 2558 ณ เมืองเซบู สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ และร่วมรับรองเอกสารดังกล่าวโดยไม่มีการลงนาม
3. หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงถ้อยคำในร่างแถลงการณ์ร่วมระดับรัฐมนตรีฯ ดังกล่าว
ในกรณีที่ไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญให้ สศช. สามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง
สาระสำคัญของร่างแถลงการณ์ร่วมระดับรัฐมนตรี (Joint Ministerial Statement)
มีดังนี้
1. หารือเกี่ยวกับความคืบหน้าของการทำงานของเอเปคในการปฏิรูปโครงสร้าง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ใหม่สำหรบการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจเอเปค (APEC New Strategy for Structural Reform: ANSSR) และเพื่อเห็นชอบกับทิศทางการดำเนินงานหลังปี 2558
2. ยินดีกับความก้าวหน้าในการดำเนินงานด้านปฏิรูปโครงสร้างภายใต้ ANSSR และตระหนักถึงความสำคัญในการยกระดับการดำเนินงาน
3. เพื่อขับเคลื่อนการทำงานด้านการปฏิรูปโครงสร้างในช่วงห้าปีต่อจากนี้จนถึงปี 2563
4. ให้ความสำคัญกับการปฏิรูปโครงสร้างและการเติบโตอย่างทั่วถึง
5. ให้ความสำคัญกับการปฏิรูปโครงสร้างและนวัตกรรม
6. ให้ความสำคัญกับการปฏิรูปโครงสร้างและการบริการ
7. ให้ความสำคัญกับเครื่องมือสำหรับการปฏิรูปโครงสร้าง
8. รับทราบผลการดำเนินงานของยุทธศาสตร์ใหม่สำหรับการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจเอเปค ในการผลักดันให้ประเด็นการปฏิรูปโครงสร้างได้รับความสนใจมากขึ้นในเอเปค
9. ตระหนักถึงผลการดำเนินงานเกี่ยวกับความยากง่ายในการประกอบธุรกิจ เพื่อลดต้นทุนทางธุรกิจในภูมิภาคเอเปคผ่านโครงการการดำเนนงานที่มีการกำหนดเป้าหมายชัดเจนและเป็นรูปธรรม
แต่งตั้ง
15. เรื่อง คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 219 /2558 เรื่อง มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี และมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติราชการแทนกัน และคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 222 /2558 เรื่อง ปรับปรุงคำสั่งมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 219 /2558 เรื่อง มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี และมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติราชการแทนกัน และคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 222 /2558 เรื่อง ปรับปรุงคำสั่งมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้
ตามที่สำนักนายกรัฐมนตรีได้มีคำสั่งที่ 104/2557 ลงวันที่ 16 กันยายน 2557 เรื่อง มอบหมาย ให้รองนายกรัฐมนตรีรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี และมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนกัน นั้น
อาศัยอำนาจตามความใน มาตรา 10 มาตรา 11 มาตรา 12 มาตรา 15 มาตรา 38 มาตรา 41 มาตรา 42 มาตรา 48 และมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ประกอบกับมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2558 จึงให้ยกเลิกคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 104/2557 ลงวันที่ 16 กันยายน 2557 และมีคำสั่งมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี และมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนกัน ดังต่อไปนี้
ส่วนที่ 1 คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี
1. ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีไม่อาจปฏิบัติราชการได้ คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้ รองนายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี ตามลำดับ ดังนี้
1.1 พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ
1.2 พลเอก ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร
1.3 พลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย
1.4 พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง
1.5 นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์
1.6 นายวิษณุ เครืองาม
2. ในระหว่างการรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี ผู้รักษาราชการแทนข้างต้น จะสั่งการใดเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลและการอนุมัติเงินงบประมาณอันอยู่ในอำนาจของนายกรัฐมนตรีได้ ต้องได้รับความเห็นชอบจากนายกรัฐมนตรีเสียก่อน
ส่วนที่ 2 นายกรัฐมนตรีมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี
ในกรณีที่รองนายกรัฐมนตรีท่านใดท่านหนึ่งไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้รองนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนกันตามลำดับ ดังนี้
ลำดับที่
รองนายกรัฐมนตรี
รองนายกรัฐมนตรีที่ปฏิบัติราชการแทนตามลำดับ
1.
พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ
1. นายวิษณุ เครืองาม
2. พลเอก ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร
2.
พลเอก ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร
1. พลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย
2. พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง
3.
พลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย
1. พลเอก ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร
2. นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์
4.
พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง
1. นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์
2. พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ
5.
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์
1. พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง
2. นายวิษณุ เครืองาม
6.
นายวิษณุ เครืองาม
1. พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ
2. พลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย
ส่วนที่ 3 นายกรัฐมนตรีมอบหมายและมอบอำนาจให้รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี
ในกรณีที่รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติราชการได้
ให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติราชการแทนกัน ตามลำดับ ดังนี้
ลำดับที่
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำ
สำนักนายกรัฐมนตรีที่ปฏิบัติราชการแทน
ตามลำดับ
1.
หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล
1. นายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ
2. นายวิษณุ เครืองาม
2.
นายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ
1. หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล
2. นายวิษณุ เครืองาม
สั่ง ณ วันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2558
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 222 /2558 เรื่อง ปรับปรุงคำสั่งมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้
ตามที่สำนักนายกรัฐมนตรีได้มีคำสั่งที่ 216/2558 ลงวันที่ 24 สิงหาคม 2558 มอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี นั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 10 มาตรา 11 มาตรา 12 มาตรา 15 และมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติมครั้งสุดท้าย โดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 และพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 ประกอบกับพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการมอบอำนาจ พ.ศ. 2550 นายกรัฐมนตรีจึงมีคำสั่งให้ยกเลิกความในข้อ 1.5.7 ของคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 216/2558 ลงวันที่ 24 สิงหาคม 2558 และให้ใช้ความดังต่อไปนี้แทน
“1.5.7 เรื่องสำคัญที่เคยมีประเพณีปฏิบัติให้เสนอนายกรัฐมนตรีลงนาม”
สั่ง ณ วันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2558
16. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ (นักบริหารระดับสูง) (สำนักนายกรัฐมนตรี)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักข่าวกรองแห่งชาติเสนอแต่งตั้ง นายเชิดศักดิ์ สันติวรวุฒิ รองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ ให้ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2558 เพื่อทดแทนผู้เกษียณอายุราชการ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป
17. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการ ป.ป.ส. (กระทรวงยุติธรรม)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอแต่งตั้ง นายณรงค์ รัตนานุกูลที่ปรึกษาการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ให้ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กระทรวงยุติธรรม ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2558 เพื่อทดแทนผู้เกษียณอายุราชการ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป
18. เรื่อง การโอนข้าราชการมาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักนายกรัฐมนตรีเสนอรับโอน พลเอก ทวีป เนตรนิยม ข้าราชการทหาร ตำแหน่ง ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองบัญชาการกองทัพไทย มาบรรจุเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อทดแทนผู้เกษียณอายุราชการ ทั้งนี้ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) ในฐานะบังคับบัญชาสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติและกระทรวงกลาโหม ได้ตกลงยินยอมด้วยแล้ว โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 2 ตุลาคม 2558 เนื่องจากมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง พลเอก ทวีป เนตรนิยม ให้เป็น ที่ปรึกษาพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2558 ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป
19. เรื่อง การโอนข้าราชการมาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอรับโอน นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ อธิบดีกรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ของทางราชการ และผู้มีอำนาจสั่งบรรจุของทั้งสองฝ่ายได้ตกลงยินยอมในการโอนแล้ว
20. เรื่อง การโอนข้าราชการมาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงพลังงาน
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงพลังงานเสนอรับโอน นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงพลังงาน ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2558 เพื่อทดแทนผู้เกษียณอายุราชการและเพื่อประโยชน์ของทางราชการ และผู้มีอำนาจสั่งบรรจุของทั้งสองฝ่ายได้ตกลงยินยอมในการโอนแล้ว ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป
21. เรื่อง ขอรับโอนข้าราชการ (กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอรับโอน นายไมตรี อินทุสุต ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงมหาดไทย และได้รับพระราชทานโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2558 เพื่อทดแทนผู้เกษียณอายุราชการ ไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ตั้งแต่วันที่ 2 ตุลาคม 2558 เพื่อประโยชน์ของทางราชการ และผู้มีอำนาจสั่งบรรจุทั้งสองฝ่ายได้ตกลงยินยอมในการโอนแล้ว ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป
22. เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง ตำแหน่ง เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์)
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอแต่งตั้ง พลเอก ประสาท สุขเกษตร เป็นข้าราชการการเมือง ตำแหน่ง เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2558 เป็นต้นไป
23. เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง ตำแหน่ง ที่ปรึกษาและเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (กระทรวงสาธารณสุข)
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเสนอแต่งตั้งข้าราชการการเมือง ดังนี้ 1. นางมยุรา กุสุมภ์ ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข 2. นายกิตติศักดิ์ กลับดี ดำรงตำแหน่ง เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2558 เป็นต้นไป
24. เรื่อง แต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติเป็นหลักการมอบหมายผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานในกรณีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ตามความในมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ตามลำดับ ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ โดยให้ครอบคลุมถึงกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานด้วย ดังนี้ 1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (พลเอก สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์) 2. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว)
25. เรื่อง การรักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติเป็นหลักการในการมอบหมายให้รัฐมนตรีเป็นผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ตามมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 จำนวน 2 ราย ตามลำดับ ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ดังนี้ 1. นายพิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2. นางอรรชกา สีบุญเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
26. เรื่อง การแต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติเป็นหลักการมอบหมายให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์) เป็นผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขในกรณีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขไม่อาจปฏิบัติราชการได้ และไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ตามความในมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ