WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

แผนการจัดการกากอุตสาหกรรม ปี พ.ศ. 2558-2562

GOV3แผนการจัดการกากอุตสาหกรรม ปี พ.ศ. 2558-2562

      คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบแผนการจัดการกากอุตสาหกรรม พ.ศ. 2558-2562 ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ โดยให้กระทรวงอุตสาหกรรมดำเนินการปรับกรอบระยะเวลาของแผนดังกล่าวให้สอดคล้องกับระยะเวลาของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  แล้วแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความร่วมมือในการปฏิบัติตามแผนต่อไป

สาระสำคัญของแผนการจัดการกากอุตสาหกรรม  พ.ศ. 2558-2562 มีดังนี้

 

รายละเอียด

วัตถุประสงค์   1. โรงงานผู้ก่อกำเนินกาอุตสาหกรรม ได้แก่ โรงงานจำพวกที่ 3 ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง.4) ตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 และมีการแจ้งการประกอบกิจการแล้ว เข้าสู่ระบบการจัดการกากอุตสาหกรรม โดยดำเนินการแจ้งการขนส่งกากอุตสาหกรรมออกไปบำบัด /กำจัด/รีไซเคิลยังโรงงานผู้รับดำเนินการที่ได้รับอนุญาต เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 5 ปี

      2. มีการควบคุม กำกับ ดูแล ผู้ขนส่งกากอุตสาหกรรม โดยเฉพาะยานพาหนะขนส่งกากอันตรายทุกคัน โดยอาศัยความร่วมมือจากหน่วยงานราชการเครือข่าย และระบบการติดตามยานพาหนะโดยใช้เทคโนโลยีผ่านสัญญาฯดาวเทียม (GPS)

3. โรงงานที่ได้รับอนุญาตให้บำบัด/กำจัด/รีไซเคิลกากอุตสาหกรรม ได้แก่โรงงานลำดับที่ 101 ลำดับที่ 105 และลำดับที่ 106 ตามพระราชบัญญัติโรงงานพ.ศ. 2535 ได้รับการตรวจสอบโดยหน่วยงานของรัฐและเอกชน (Third Party)  ทั้งทางตรง โดยวิธี Post Audit/Inspection และทางอ้อมโดยวิธีสุ่มตรวจเอกสารกำกับของเสีย (Waste Manifest) เพื่อให้การประกอบกิจการโรงงานถูกต้องตามกฎหมายและหลักวิชาการ

4. เจ้าหน้าที่ผู้กำกับ ดูแล และผู้อนุญาตมีวิธีการปฏิบัติงานที่เป็นมาตรฐานและมีการถ่ายโอนอำนาจให้แก่หน่วยงานระดับจังหวัด รวมทั้งมีเอกชน (Third Party)  ที่

สามารถปฏิบัติหน้าที่ตรวจสอบแทนเจ้าหน้าที่ของรัฐได้

เป้าหมาย         1. โรงงานผู้ก่อกำเนิดกากอุตสาหกรรมในประเทศเข้าสู่ระบบการจัดการกากอุตสาหกรรม โดยดำเนินการแจ้งการขนส่งกากอุตสาหกรรมออกไปบำบัด /กำจัด/รีไซเคิลที่โรงงานที่ได้รับอนุญาตปัจจุบันมีอยู่ 5,297 โรงงาน ตั้งเป้าเพิ่มขึ้นปีละ 12,500

โรงงาน (ระยะเวลา 5 ปี  รวม 62,500 โรงงาน)

2. กากอุตสาหกรรมได้รับการจัดการอย่างถูกต้องตามกฎหมายและตามหลักวิชาการ

2.1ปัจจุบันมีกากอุตสาหกรรมอันตราย จำนวน 1.03 ล้านตัน ตั้งเป้าให้เข้าระบบเพิ่มขึ้นปีละ 0.47 ล้านตัน (ระยะเวลา 5 ปี รวม 13.55 ล้านตัน)

2.2ปัจจุบันกากอุตสาหกรรมไม่อันตราย จำนวน 12.24 ล้านตัน ตั้งเป้าให้เข้าระบบเพิ่มขึ้นปีละ 8.01 ลานตัน (ระยะเวลา 5 ปี รวม 194.8 ล้านตัน)

ยุทธศาสตร์        ยุทธศาสตร์ที่ 1 การควบคุม /กำกับดูแล และการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังกับผู้ฝ่าฝืนไม่

ปฏิบัติตามกฎหมาย  มีเป้าหมายเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ประสงค์จะปฏิบัติตามกฎหมายอย่างถูกต้องและลงโทษผู้กระทำความผิดอย่างเป็นขั้นตอน (เริ่มจากสั่งการปรับปรุง

แก้ไข สั่งหยุดโรงงานชั่วคราว และไปจนถึงการสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน) เพื่อให้มีจำนวนโรงงานที่มีการจัดการกากอุตสาหกรรมอย่างถูกต้องเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

ยุทธศาสตร์ที่ 2 การสร้างความร่วมมือและแรงจูงใจกับผู้ประกอบการและประชาชน มีเป้าหมายเพื่อให้มีความตระหนัก ความรู้และความเข้าใจ เกี่ยวกับการจัดการกากอุตสาหกรรม และมีระบบฐานข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ ตลอดจนการอนุญาตทางอิเล็กทรอนิกส์ที่

สามารถรองรับปริมาณงานและผู้ประกอบการสามารถใช้งานได้โดยสะดวก รวมทั้งการเพิ่มรางวัลสินบนนำจับจากค่าปรับผู้ลักลอบ ทิ้งกากอุตสาหกรรม สำหรับประชาชนผู้แจ้งเบาะแส

ยุทธศาสตร์ที่ 3 การสร้างเครือข่ายกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง ทั้งภายใน และต่างประเทศ มีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของกระทรวงอุตสาหกรรมทั้งด้าน

วิชาการเทคโนโลยี การจัดหาพื้นที่รองรับการจัดการกากอุตสาหกรรมในอนาคต และร่วมกับอก. ตรวจสอบการขนส่งกากอุตสาหกรรม

ยุทธศาสตร์ที่ 4 การแก้ไข/ปรับปรุงกฎหมาย มีเป้าหมายเพื่อเพิ่มบทลงโทษให้สามารถติดตามผู้กระทำผิดเกี่ยวกับกากอุตสาหกรรม (เพิ่มโทษจำคุก) แก้ไขกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรค เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ปฏิบัติตามกฎหมาย และออกระเบียบให้เจ้าหน้าที่

รัฐมีวิธีปฏิบัติงานควบคุม ที่ชัดเจน  ลดการใช้ดุลยพินิจ

                        ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 26 พฤษภาคม 2558

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!