WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

โครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2558

GOV3โครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2558

     คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ ดังนี้

1.  เห็นชอบในการดำเนินโครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2558 ซึ่งเป็นการดำเนินงานต่อเนื่องจากโครงการฯ ปีการผลิต 2557 เพื่อให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ไปดำเนินการได้ทันฤดูกาลเพาะปลูกที่จะเริ่มในเดือนพฤษภาคม 2558 วงเงินงบประมาณจำนวน 476,483,250 บาท โดยเป็นเงินงบประมาณคงเหลือในส่วนที่ ธ.ก.ส. ได้เบิกจ่ายจากสำนักงบประมาณ (สงป.) เพื่อดำเนินโครงการฯ ในปีการผลิต 2557 จำนวน 208,471,024.74 บาท และเสนอของบประมาณเพิ่มเติมอีกจำนวน 268,012,225.26บาท

2. ให้ ธ.ก.ส. ทดรองจ่ายเงินอุดหนุนค่าเบี้ยประกันภัยแทนรัฐบาลในส่วนของงบประมาณเพิ่มเติมจำนวน 268,012,225.26 บาท และเบิกเงินชดเชยตามจำนวนที่จ่ายจริงพร้อมด้วยอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 6 เดือน ประเภทบุคคลธรรมดาของ 4 ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (FDR) + 1% ในปีงบประมาณถัดไป

3. มอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.)  โดยกรมส่งเสริมการเกษตรประสานงานกับสมาคมประกันภัยวินาศภัยไทย โดยผู้รับประกันภัยเอกชน (สมาคมฯ) ธ.ก.ส. และกระทรวงมหาดไทย (มท.) โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ดำเนินการเชื่อมโยงข้อมูลเอกสารทะเบียนเกษตรกร (ทบก.) แบบประมวลรวบรวมความเสียหายและการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัย (แบบ กษ 02) และแบบรายงานข้อมูลความเสียหายจริงของเกษตรกรผู้เอาประกันภัยข้าว เพื่อรับค่าสินไหมทดแทน (แบบ กษ 02 เพื่อการรับประกันภัย) ตลอดจนพัฒนาระบบฐานข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับระบบการรับประกันภัยและการจ่ายค่าสินไหมทดแทน และข้อมูลพื้นที่ประสบภัยตามการประกาศภัยของผู้ว่าราชการจังหวัดในพื้นที่ดังกล่าว

สาระสำคัญของเรื่อง

กค. รายงานว่า

1. กค. โดยสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินโครงการประกันภัยข้าวนาปี ตั้งแต่ปีการผลิต 2554 – 2557 ได้พบว่าอุปสรรคสำคัญที่ทำให้ผลการดำเนินโครงการต่ำกว่าเป้าหมายในทุกปีการผลิตมาจากโครงการฯ ในปีการผลิตที่ผ่าน ๆ มาเริ่มรับประกันภัยหลังฤดูกาลเพาะปลูกข้าวของเกษตรกร โดยเริ่มดำเนินโครงการตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 27 กรกฎาคม 13 กันยายน และ 24 มิถุนายน สำหรับโครงการฯ ปีการผลิต 2554 2555 2556 และ 2557 ตามลำดับ ในขณะที่เกษตรกรส่วนใหญ่ (ยกเว้นเกษตรกรที่ปลูกในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง) ได้เริ่มเพาะปลูกตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ส่งผลให้เกษตรกรกลุ่มนี้ ซึ่งเป็นกลุ่มเกษตรกรจำนวนมากไม่สามารถเข้าร่วมโครงการฯ ในปีการผลิต 2556 และ 2557 ได้ เนื่องจากได้เริ่มเพาะปลูกไปแล้วเกิน 45 วันหลังจากวันเพาะปลูกวันแรก ซึ่งไม่ตรงกับเงื่อนไขของกรมธรรม์ นอกจากนี้ เกษตรกรจะใช้เวลาในการตัดสินใจซื้อกรมธรรม์ค่อนข้างมาก ประกอบกับระยะเวลาการประชาสัมพันธ์มีจำนวนจำกัด ปัจจัยดังกล่าวล้วนเป็นอุปสรรคสำคัญต่อความสำเร็จของโครงการฯ ดังนั้น หากการดำเนินโครงการฯ ปีการผลิต 2558มีความล่าช้าในการเริ่มดำเนินการเหมือนกับปีการผลิตผ่าน ๆ มา จะทำให้เกษตรกรจำนวนมากไม่สามารถเข้าร่วมโครงการฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีระยะเวลาในการประชาสัมพันธ์จำกัดไม่สามารถจูงใจให้เกษตรกรทำความเข้าใจในการดูแลความเสี่ยงด้วยตนเองโดยการประกันภัย และไม่มีเวลาให้เกษตรกรเพียงพอในการตัดสินใจซื้อกรมธรรม์

2.กค. โดย สศค. ธ.ก.ส. และสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) ได้หารือร่วมกับ กษ. และสมาคมประกันวินาศภัยไทย  โดยผู้รับประกันภัยเอกชน เพื่อดำเนินโครงการฯ ปีการผลิต 2558 โดยเห็นควรดำเนินการรับประกันภัยต่อเนื่องจากโครงการฯ ในปีการผลิต 2557 และเริ่มดำเนินการก่อนฤดูกาลเพาะปลูกข้าวของเกษตรกร ทั้งนี้ โครงการฯ ปีการผลิต 2558 มีหลักการแนวทางการรับประกันภัย และรายละเอียดการรับประกันภัย เช่นเดียวกับรูปแบบที่ได้ดำเนินการในปีการผลิต 2557 ดังนี้

รายละเอียดโครงการ                    การรับประกันปี 2558

ผู้รับประกันภัย                          สมาคมประกันวินาศภัยไทย โดยผู้รับประกันภัยเอกชน

ระยะเวลาการขาย                      หลังจากที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติ

และสิ้นสุดการขายกรมธรรม์ภายใน 30 วัน หลังจากเดือนที่มีปริมาณพื้นที่เพาะปลูกสูงสุดผ่านไป

อัตราเบี้ยประกันภัย (บาทต่อไร่)            แบ่งพื้นที่รับประกันภัย 5 พื้นที่ตามระดับความเสี่ยง 115-450 บาทต่อไร่

- เบี้ยประกันภัยเบื้องต้น                  (กระทรวงการคลังได้เจรจาขอปรับ

ลดอัตราเบี้ยประกันภัยจากสมาคมฯ

ได้ต่ำกว่าโครงการฯ ปีการผลิต 2557

อยู่ที่ร้อยละ 4.8 ทั้งนี้  ปัจจัย

สำคัญที่ส่งผลให้การลดลงของอัตรา

- เบี้ยประกันภัยที่เกษตรกรต้องชำระ         เบี้ยประกันภัยไม่มากเท่าที่ควรมาจากสัดส่วนพื้นที่ที่เข้าร่วมโครงการฯ

ต่อพื้นที่เพาะปลูกรวมยังอยู่ในระดับต่ำ)

60-100 บาทต่อไร่ (เป็นอัตราเดียวกับโครงการฯ ปีการผลิต 2557)

- เบี้ยประกันภัย                        64.12-383.64 บาทต่อไร่

ส่วนที่รัฐต้องอุดหนุน                      วงเงิน 476,483,250 บาท (โดยเป็นเงินงบประมาณคงเหลือในส่วนที่

ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์

การเกษตรได้เบิกจ่ายจากสำนักงบประมาณเพื่อดำเนินโครงการฯ ในปีการผลิต 2557 จำนวน208,471,024.74 บาท  และเสนอขอ

งบประมาณเพิ่มเติมอีกจำนวน 268,012,225.26 บาท) ซึ่งน้อยกว่าโครงการฯ ปีการผลิต 2557 จำนวน 18,422,971.50 บาท หรือคิดเป็น

อัตราการลดลงร้อยละ 3.72

ความคุ้มครอง                          ภัย 7 ประเภท ได้แก่ น้ำท่วมหรือฝนตกหนัก ภัยแล้ง ฝนแล้งหรือฝนทิ้ง

ช่วงลมพายุหรือพายุไต้ฝุ่น ภัยอากาศหนาวหรือน้ำค้างแข็ง ลูกเก็บและไฟไหม้ รวมทั้งภัยศัตรูพืชและโรคระบาด

อัตราค่าสินไหมทดแทน (บาทต่อไร่)          1,111 บาทต่อไร่ สำหรับภัย

ธรรมชาติ 6 ภัย และวงเงินคุ้มครอง

555 บาท ต่อไร่ สำหรับภัยศัตรูพืช

และโรคระบาด (เป็นอัตราเดียวกับ

โครงการฯ ปีการผลิต 2557)

พื้นที่เพาะปลูกเข้าร่วมโครงการ (ไร่)        1.5 ล้านไร่

                ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 28 เมษายน 2558

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!