WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

การประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาบาเซล สมัยที่ 12 การประชุมรัฐภาคีอนุสัญญารอตเตอร์ดัมฯ สมัยที่ 7 และการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสตอกโฮล์มฯ สมัยที่ 7

GOVการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาบาเซล สมัยที่ 12 การประชุมรัฐภาคีอนุสัญญารอตเตอร์ดัมฯ สมัยที่ 7 และการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสตอกโฮล์มฯ สมัยที่ 7

     คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ ดังนี้

     1. รับทราบองค์ประกอบคณะผู้แทนไทยสำหรับการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาบาเซล สมัยที่ 12 การประชุมรัฐภาคีอนุสัญญารอตเตอร์ดัมฯ สมัยที่ 7 และการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสตอกโฮล์มฯ สมัยที่ 7 และมอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการจัดทำหนังสือแต่งตั้งคณะผู้แทนไทยต่อไป

     2. เห็นชอบต่อท่าทีของไทยสำหรับใช้ในการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาบาเซล สมัยที่ 12 การประชุมรัฐภาคีอนุสัญญารอตเตอร์ดัมฯ สมัยที่ 7 และการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสตอกโฮล์มฯ สมัยที่ 7

     3. หากมีข้อเจรจาใดที่นอกเหนือจากท่าทีการเจรจาฯ และไม่มีผลผูกพันทางกฎหมาย (Legally Binding) ต่อประเทศไทย ให้เป็นดุลยพินิจของหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเป็นผู้พิจารณา โดยไม่ต้องนำกลับเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาใหม่จนสิ้นสุดการประชุมรัฐภาคีฯ ในวันที่ 15 พฤษภาคม 2558 ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส

สาระสำคัญของเรื่อง

     1. องค์ประกอบคณะผู้แทนไทยที่จะเข้าร่วมการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาบาเซล สมัยที่ 12 การประชุมรัฐภาคีอนุสัญญารอตเตอร์ดัมฯ สมัยที่ 7 และการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสตอกโฮล์มฯ สมัยที่ 7 รวมทั้งสิ้น 15 คน ประกอบด้วย 1) อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือผู้แทนในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทน 2) ประธานและผู้ทรงคุณวุฒิในคณะอนุกรรมการอนุสัญญาฯ ภายใต้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ 3) ผู้แทนกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม 4) ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข 5) ผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศ และ 6) เจ้าหน้าที่กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

    2. ท่าทีของไทยสำหรับใช้ในการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาบาเซล สมัยที่ 12 การประชุมรัฐภาคีอนุสัญญารอตเตอร์ดัมฯ สมัยที่ 7 และการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสตอกโฮล์มฯ สมัยที่ 7 จะสนับสนุนการดำเนินงานให้เป็นไปตามหลักการและจุดมุ่งหมายของทั้ง 3 อนุสัญญาฯ ในการคุ้มครองสุขภาพอนามัยของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม โดยคำนึงถึงสภาพการณ์ต่าง ๆ และความต้องการจำเพาะของประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะความจำเป็นที่จะต้องเพิ่มขีดความสามารถในระดับประเทศด้านการจัดการสารเคมีอย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมตลอดวงจร โดยผ่านการให้ความช่วยเหลือทางด้านเทคนิคและทางด้านการเงิน การถ่ายทอดเทคโนโลยี และการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาคีต่าง ๆ รวมทั้งสนับสนุนความร่วมมือและการบูรณาการร่วมกันในการดำเนินงานตามพันธกรณีข้อตกลงระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องที่ประเทศไทยเป็นภาคี และข้อตกลงที่สอดคล้องกับศักยภาพและขีดความสามารถของประเทศ และไม่ขัดกับนโยบายของรัฐบาลที่ได้แถลงต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11

  ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 28 เมษายน 2558

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!