ร่างกฎกระทรวงกำหนดท่าหรือที่ สนามบินศุลกากร ทางอนุมัติ ด่านพรมแดน และด่านศุลกากร (ฉบับ ..) พ.ศ. ....
- Details
- Category: มติ ครม.
- Published: Tuesday, 31 March 2015 07:30
- Hits: 1932
ร่างกฎกระทรวงกำหนดท่าหรือที่ สนามบินศุลกากร ทางอนุมัติ ด่านพรมแดน และด่านศุลกากร (ฉบับ ..) พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรี มีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดท่าหรือที่ สนามบินศุลกากร ทางอนุมัติ ด่านพรมแดน และด่านศุลกากร (ฉบับ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
กค. เสนอว่า
1. ได้ออกกฎกระทรวงกำหนดท่าหรือที่ สนามบินศุลกากร ทางอนุมัติด่านพรมแดน และด่านศุลกากร พ.ศ. 2553 โดยกำหนดในลำดับที่ 9 ของข้อ 2 ให้ท่ากันตัง ซึ่งตั้งอยู่ในจังหวัดตรัง มีเขตศุลกากรครอบคลุมแม่น้ำกันตังทางด้านเหนือ จากเสาหินบนแหลมเกาะจากเป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันออกจนจดฝั่งตะวันออก และเป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันตก จนจดฝั่งตะวันตกของแม่น้ำ และทางด้านใต้ จากเสาหินบนแหลมเกาะค้อเป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันออกจนจดฝั่งตะวันออก และเป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันตกจนจดฝั่งตะวันตกของแม่น้ำ
2. เจ้าหน้าที่ด่านศุลกากรกันตัง ได้ออกสำรวจพื้นที่บริเวณแม่น้ำกันตังพบว่า มีท่าเรือพาณิชย์เปิดดำเนินการทั้งในและนอกเขตศุลกากรของท่ากันตัง มีเกาะกลางแม่น้ำขนาดใหญ่ จำนวน 3 เกาะ คือ เกาะจากอยู่ทางด้านเหนือ เกาะค้ออยู่ตรงกลาง และเกาะแลนอยู่ทางทิศใต้เกือบถึงปากน้ำกันตัง ซึ่งท่าเรือพาณิชย์ที่เปิดดำเนินการแล้วและกำลังก่อสร้างอยู่ระหว่างเกาะจากกับปากน้ำกันตัง และมีด่านตรวจศุลกากรหาดทรายขาว ซึ่งมีที่ทำการเป็นอาคารคอนกรีตที่แข็งแรง มั่นคง อยู่บริเวณปากน้ำกันตัง ทั้งนี้ บริเวณนอกเขตศุลกากรของท่ากันตังดังกล่าว กรมเจ้าท่าได้ดำเนินการก่อสร้างท่าเรือพาณิชย์ซึ่งแล้วเสร็จภายในปี 2557 และส่งมอบให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดตรังเป็นผู้ดูแล โดยคาดว่าองค์การบริหารส่วนจังหวัดตรังจะขอจัดตั้งเป็นทำเนียบท่าเรือ ตามมาตรา 6 (1) แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พุทธศักราช 2469 ต่อไปด้วย
3. เนื่องจากการที่มีท่าเรือพาณิชย์ตั้งอยู่นอกเขตศุลกากรของท่ากันตังทำให้เรือต่างประเทศไม่สามารถจอดเทียบท่าเรือดังกล่าวเพื่อปฏิบัติพิธีการศุลกากรได้ อันเป็นการไม่อำนวยความสะดวกด้านการค้า การลงทุน การขนส่งระหว่างประเทศ การจัดเก็บอากร อีกทั้ง ยังมีผลต่อการควบคุมทางศุลกากร และการตรวจตราป้องกันการกระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรสำหรับท่าเรือพาณิชย์ที่อยู่นอกเขตศุลกากรของท่ากันตัง ไม่สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยข้อจำกัดทางกฎหมายบางมาตราที่ให้อำนาจพนักงานศุลกากรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ใช้อำนาจตามกฎหมายได้ภายในบริเวณเขตท่าเท่านั้น เช่น อำนาจการตรวจค้นเรือ บุคคล และสิ่งของที่บรรทุกมาภายในเขตท่า เป็นต้น
4. ดังนั้น เพื่ออำนวยความสะดวกในด้านการค้า การลงทุน การขนส่งระหว่างประเทศ อันจะเป็นประโยชน์ในการจัดเก็บอากร การบังคับใช้กฎหมายในการควบคุมทางศุลกากรและการตรวจตราป้องกันการกระทำผิดตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรบริเวณแม่น้ำกันตังให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ กรมศุลกากรจึงต้องทำการกำหนดเขตศุลกากร ณ ท่ากันตัง ใหม่ โดยแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงกำหนดท่าหรือที่ สนามบินศุลกากร ทางอนุมัติ ด่านพรมแดน และด่านศุลกากร พ.ศ. 2553 เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายในการควบคุมทางศุลกากรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นการรองรับการขอจัดตั้งทำเนียบท่าเรือของผู้ประกอบการพาณิชย์
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงกำหนดท่าหรือที่ สนามบินศุลกากร ทางอนุมัติด่านพรมแดน และด่านศุลกากร พ.ศ. 2553 เพื่อขยายเขตศุลกากร ณ ท่ากันตัง ให้ครอบคลุมถึงบริเวณที่มีการก่อสร้างท่าเรือพาณิชย์บริเวณริมฝั่งแม่น้ำกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง โดยยกเลิกความในลำดับที่ 9 ของข้อ 2 และให้ใช้ความดังต่อไปนี้
กฎกระทรวงฯ พ.ศ. 2553 ร่างกฎกระทรวงฯ ที่ขอแก้ไข
เขตศุลกากร เขตศุลกากร
ด้านเหนือ จากเสาหินบนแหลม ด้านเหนือ จากปลายเหนือสุด
เกาะจากเป็นเส้นตรงไปทางทิศ ของเกาะจาก เป็นเส้นตรงไปทาง
ตะวันออกจนจดฝั่งตะวันออก ทิศตะวันตกจนจดฝั่งตะวันตก
และเป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันตก และเป็นเส้นตรงไปทางทิศ
จนจดฝั่งตะวันตกของแม่น้ำ ตะวันออกจนจดฝั่งตะวันออกของแม่น้ำ
ด้านใต้ จากเสาหินบนแหลมเกาะ ด้านใต้ จากฝั่งตะวันตกหน้าด่าน
ค้อเป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันออก ตรวจศุลกากรหาดทรายขาว
จนจดฝั่งตะวันออก และเป็น เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันออก
เส้นตรงไปทางทิศตะวันตกจนจด จนจดฝั่งตะวันออกของแม่น้ำฝั่งตะวันตกของแม่น้ำ
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 27 มีนาคม 2558