WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

รายงานสรุปผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ ประจำปี 2566

Gov 41

รายงานสรุปผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ ประจำปี 2566

          คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานสรุปผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ ประจำปี 2566 ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในฐานะสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติและคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ เสนอ

          สาระสำคัญของเรื่อง 

          สศช. ในฐานะสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติและคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติได้จัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ ประจำปี 2566 โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้

          1. การประเมินผลการพัฒนาตามยุทธศาสตร์ชาติ ประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์ 23 ประเด็น 37 เป้าหมาย และเป้าหมายระดับแผนแม่บทย่อย 140 เป้าหมาย สรุปได้ 

              1.1 การประเมินผลการพัฒนาตามยุทธศาสตร์ชาติในภาพรวมทั้ง 6 มิติ 

 

กรอบการประเมิน

 

สรุปผลการประเมิน

มิติที่ 1

ความอยู่ดีมีสุขของคนไทย

และสังคมไทย

 

มีพัฒนาการที่ดีขึ้น เนื่องจากประเทศไทยสามารถปรับตัวต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ได้ดีขึ้น ซึ่งเป็นใปในทิศทางเดียวกับความอยู่ดีมีสุขของนานาชาติที่เพิ่มขึ้นทั่วโลก โดยในปี 2566 ประเทศไทยได้รับการจัดอันดับประเทศที่มีความสุขอยู่ในอันดับที่ 60 ดีขึ้นจากอันดับที่ 61 ในปี 2565

มิติที่ 2

ขีดความสามารถในการ

แข่งขัน การพัฒนาเศรษฐกิจและการกระจายรายได้

ของประเทศไทย

 

มีการพัฒนาที่ดีขึ้น โดย (1) อันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย โดยในปี 2566 อยู่ในอันดับที่ 30 ดีขึ้นจากอันดับที่ 33 (2) การพัฒนาเศรษฐกิจสะท้อนจากอัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ในปี 2565 มีมูลค่ารวม 17,370.2 พันล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 จากปี 2564และ (3) การกระจายรายได้สะท้อนจากรายได้ประชาชาติต่อหัว เท่ากับ 223,715 บาท/คน/ปี เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 จากปี 2565

มิติที่ 3

การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์

 

มีแนวโน้มดีขึ้น โดยสะท้อนจากดัชนีความก้าวหน้าของคน ปี 2565 มีระดับการพัฒนาคนเท่ากับ 0.6445 คะแนน ปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 0.6376 คะแนนคิดเป็นการเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.07 ในปี 2564

มิติที่ 4

ความเท่าเทียมและความเสมอภาคของสังคม

 

ภาพรวมปรับตัวดีขึ้น โดยสะท้อนจากดัชนีความก้าวหน้าทางสังคมในปี 2566 ประเทศไทยจัดอยู่ในอันดับที่ 58 จาก 170 ประเทศทั่วโลก ดีขึ้นจากอันดับ 71 จาก 169 ประเทศทั่วโลกจากปี 2565

มิติที่ 5

ความหลากหลายทางชีวภาพคุณภาพสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติ

 

ภาพรวมปรับตัวลดลง เนื่องจากการบรรลุเป้าหมายในมิติที่ 14 (ระบบนิเวศทางทะเล) และมิติที่ 15 (ระบบนิเวศบก) ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งสหประชาชาติของประเทศไทย มีสถานะอยู่ในระดับวิกฤติ ประกอบกับดัชนีชี้วัดสถานการณ์สีเขียวแห่งอนาคต ปี 2566 ประเทศไทยจัดอยู่ในอันดับที่ 55 จาก 76 ประเทศ ลดลงจากอันดับที่ 48 ในปี 2565

มิติที่ 6

ประสิทธิภาพการบริหารจัดการและการเข้าถึงการให้บริการของภาครัฐ

 

ภาพรวมปรับตัวดีขึ้น โดยอันดับประสิทธิภาพของภาครัฐของประเทศไทยปี 2566 อยู่ในอันดับที่ 24 ดีขึ้น 7 อันดับ จากปี 2565 อย่างไรก็ตามอันดับเสรีภาพทางเศรษฐกิจของประเทศไทย ปี 2566 อยู่ในอันดับที่ 80 ลดลง 10 อันดับ จากปี 2565 ซึ่งเป็นผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 การขาดดุลงบประมาณภาครัฐและหนี้สาธารณะเพิ่มสูงขึ้นจากการดำเนินมาตรการเยียวยาประชาชนและฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม

 

          2. การประเมินผลรายยุทธศาสตร์ชาติทั้ง 6 ด้าน 

 

กรอบการประเมิน

 

สรุปผลการประเมิน

ด้านความมั่นคง

 

มีการพัฒนาในทิศทางที่ดีขึ้น โดยสถานการณ์ความมั่นคงภายในประเทศปรับตัวดีขึ้นจากระบบการเมืองที่เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีและระดับความมั่นคงปลอดภัยทางสังคมและระดับของกำลังทหารดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งสถานการณ์สันติภาพในประเทศไทยเพิ่มขึ้นมากที่สุดในภูมิภาคแปซิฟิก สอดคล้องกับความสุขของประชากรไทยที่อยู่ดีมีความสุขเพิ่มขึ้นจากดัชนีชี้วัดความสุขโลกในปี 2566

ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน

 

ปรับตัวดีขึ้น ซึ่งสามารถสะท้อนได้จากรายได้ประชาชาติที่มีมูลค่า 16,878,222 ล้านบาท ขยายตัวจาก 15,626,316 ล้านบาท หรือขยายตัวร้อยละ 8 จากปี 2565 และผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ปี 2566 ขยายตัวร้อยละ 2.5 จากปี 2565 ที่มีมูลค่า 17,370.2 พันล้านบาท (ข้อมูล ณ วันที่ 20 พฤศจิกายน 2566)

ด้านการพัฒนาและเสริมศักยภาพทรัพยากรมนุษย์

 

ภาพรวมค่อนข้างคงที่ เป็นผลมาจากการพัฒนาของปัจจัยในด้านต่างๆ ที่มีทั้งการปรับตัวดีขึ้นและปรับตัวลดลง เช่น

- สถานการณ์คุณธรรมของคนในสังคมไทยในแต่ละช่วงวัย ปี 2566 ปรับตัวดีขึ้น

- การประเมินผลทางการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O - NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปี 2565 ปรับตัวดีขึ้น

- การประเมินสมรรถนะนักเรียนมาตรฐานสากล (PISA) ปี 2565 นักเรียนไทยมีคะแนนเฉลี่ยทุกวิชาลดลง

- อัตราการตายด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของ 4 โรคหลัก (โรคมะเร็ง โรคหัวใจ หลอดเลือด โรคเบาหวาน และโรคทางเดินหายใจเรื้อรัง) มีการปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย

- สภาวะโรคซึมเศร้ามีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นและอัตราการฆ่าตัวตายคงที่

ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม

 

ความเหลื่อมล้ำของประเทศไทยดีขึ้น ซึ่งมีความก้าวหน้าในการลดสัดส่วนความยากจน โดยสามารถลดช่องว่างด้านรายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคระหว่างกลุ่มประชากรที่ยากจนที่สุดและกลุ่มประชากรที่รวยที่สุด

ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

 

มีการดำเนินการเพื่ออนุรักษ์ ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ลดลง สะท้อนจากพื้นที่ป่าธรรมชาติของไทย ปี 2565 มี 102.14 ล้านไร่ ลดลงร้อยละ 0.068 จากปี 2564 รวมทั้งคุณภาพของน้ำที่มีแนวโน้มลดลง

ด้านการปรับสมดุลและการพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ

 

ในภาพรวมปรับตัวดีขึ้นโดยส่วนใหญ่สะท้อนจาก (1) ภาครัฐมีวัฒนธรรมการทำงานที่มุ่งผลสัมฤทธิ์และผลประโยชน์ส่วนรวม (2) ภาครัฐมีขนาดที่เล็กลงพร้อมปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง และ (3) ภาครัฐมีความโปร่งใสปลอดการทุจริตและประพฤติมิชอบ

 

          4. การประเมินสถานะการบรรลุเป้าหมายของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (แผนแม่บทฯ) สรุปได้ ดังนี้ 

 

เป้าหมาย

 

สถานะการบรรลุเป้าหมาย

 

แผนแม่บทระดับประเด็น 

(Y2)

(37 เป้าหมาย)

 

 

สถานะ

จำนวนเป้าหมาย

ตัวอย่างเป้าหมาย

บรรลุเป้าหมาย

ตามที่กำหนดไว้

(ร้อยละ 100)

4 เป้าหมาย

- การเกษตร (ผลิตภาพการผลิตของภาคเกษตรเพิ่มขึ้น)

- เศรษฐกิจฐานราก (รายได้ของประชากรกลุ่มรายได้น้อยเพิ่มขึ้นอย่างกระจายและต่อเนื่อง)

การบรรลุเป้าหมาย

อยู่ในระดับใกล้เคียง

(ร้อยละ 76-99.99)

16 เป้าหมาย

- ความมั่นคง (ประเทศชาติมีความมั่นคงในทุกมิติและทุกระดับเพิ่มขึ้น)

- การต่างประเทศ (การต่างประเทศของไทยมีเอกภาพ ทำให้ประเทศมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน มีมาตรฐานสากล และมีเกียรติภูมิในประชาคมโลก)

การบรรลุเป้าหมาย

อยู่ในระดับเสี่ยง

(ร้อยละ 51-75.99)

7 เป้าหมาย

- การบริการประชาชนและประสิทธิภาพ

ภาครัฐ (มีการดำเนินการที่มีประสิทธิภาพด้วยการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้)

- การวิจัยและพัฒนานวัตกรรม (มูลค่าการลงทุนวิจัยและพัฒนานวัตกรรมต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศเพิ่มขึ้น)

การบรรลุเป้าหมาย

อยู่ในระดับวิกฤต

(ต่ำกว่าหรือเท่ากับ

ร้อยละ 50.99)

10 เป้าหมาย

- อุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต (ผลิตภาพการผลิตของภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการเพิ่มขึ้น)

- เชตเศรษฐกิจพิเศษ (การลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษทั้งหมดเพิ่มขึ้น)

 

 

ระดับ

แผนแม่บทย่อย 

(Y1)

(140 เป้าหมาย)

 

 

สถานะ

จำนวนเป้าหมาย

ตัวอย่างเป้าหมาย

บรรลุเป้าหมาย

ตามที่กำหนดไว้

(ร้อยละ 100)

33 เป้าหมาย

- ความมั่นคง (ภาคใต้มีความสงบร่มเย็นมากขึ้น)

- การพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต (ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความมั่นคงในชีวิต มีทักษะการดำรงชีวิต เรียนรู้พัฒนาตลอดชีวิตมีส่วนร่วมในกิจกรรมสังคม สร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สังคมเพิ่มขึ้น)

การบรรลุเป้าหมาย

อยู่ในระดับใกล้เคียง

(ร้อยละ 76-99.99)

51 เป้าหมาย

- อุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต (แรงงานไทยมีประสิทธิภาพมากขึ้น)

- เขตเศรษฐกิจพิเศษ (การขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมของพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเพิ่มขึ้น)

การบรรลุเป้าหมาย

อยู่ในระดับเสี่ยง

(ร้อยละ 51-75.99)

21 เป้าหมาย

- การต่างประเทศ (ประเทศไทยเป็นหุ้นส่วนการพัฒนาที่ยั่งยืนกับต่างประเทศเพื่อร่วมกันบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลก)

- การเติบโตอย่างยั่งยืน (คนไทยมีลักษณะและพฤติกรรมที่พึงประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตที่ดี)

การบรรลุเป้าหมาย

อยู่ในระดับวิกฤต

(ต่ำกว่าหรือเท่ากับ

ร้อยละ 50.99)

35 เป้าหมาย

- ผู้ประกอบการและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมยุคใหม่ (มูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของประเทศเพิ่มขึ้น)

- การต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ (คดีทุจริตและพฤติกรรมมิชอบลดลง)

 

 

          2. ประเด็นท้าทายที่ส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติและข้อเสนอแนะเพื่อการดำเนินการในระยะต่อไป เช่น

 

ด้าน

 

ประเด็นท้าทาย

 

ข้อเสนอแนะ

การวางแผน

(Plan)

 

- หน่วยงานของรัฐบางแห่งยังขาดความเข้าใจในหลักการ วัตถุประสงค์และความสำคัญของยุทธศาสตร์ชาติและแผนระดับที่ 2 ซึ่งเป็นแผนระดับชาติที่ให้ทุกหน่วยงานใช้เป็นเป้าหมายในการดำเนินการร่วมกัน

- กระบวนการจัดสรรงบประมาณอาจยังไม่สะท้อนการพุ่งเป้าการบรรลุเป้าหมายของแผนระดับที่ 2 และยุทธศาสตร์ชาติ

 

- สร้างความตระหนักรู้ให้กับบุคลากรทุกระดับของหน่วยงานของรัฐ เพื่อให้เห็นความสำคัญของยุทธศาสตร์ชาติ แผนระดับที่ 2 และนโยบายรัฐบาล ยึดเป้าหมายของแผนระดับชาติเป็นหลักในการทำงานร่วมกันอย่างบูรณาการ โดยให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ

- บูรณาการและพัฒนากระบวนการงบประมาณเพื่อให้การจัดสรรงบประมาณมีความสอดคล้องกับสถานการณ์พัฒนาประเทศ พุ่งเป้าการบรรลุเป้าหมายของนโยบายรัฐบาล แผนระดับที่ 2 และยุทธศาสตร์ชาติ โดยให้ความสำคัญในการจัดสรรงบประมาณเพื่อปิดช่องว่างและตอบโจทย์การพัฒนาประเทศ

การปฏิบัติ

(Do)

 

- การดำเนินการของหน่วยงานต่าง บางส่วนยังคงต่างคนต่างทำ อาจขาดการบูรณาการในการทำงานร่วมกันโดยคำนึงถึงภารกิจของตนเองเป็นหลักทำให้โครงการ/การดำเนินงานระหว่างหน่วยงานโดยส่วนใหญ่

มีความซ้ำซ้อน ขาดความเชื่อมโยงส่งผลให้เกิดช่องว่างการพัฒนาและไม่สามารถนำไปต่อยอดให้เกิดผลลัพธ์ตามเป้าหมายของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติได้

 

- หน่วยงานของรัฐต้องสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคีการพัฒนาอื่น ในการขับเคลื่อนการพัฒนาในระดับพื้นพื้นที่โดยอาจประยุกต์ใช้การดำเนินงานในลักษณะของการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน (SML) เพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาตามบริบทและความต้องการในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การติดตามตรวจสอบและประเมินผล (Check)

 

- หน่วยงานบางส่วนยังไม่มีการนำเข้าข้อมูลแผนระดับที่ 3 และข้อมูลโครงการ/การดำเนินงานในระบบ

eMENSCR ส่งผลให้ข้อมูลเพื่อใช้ในการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติยังไม่มีความครอบคลุมและครบถ้วนทุกการดำเนินงานของรัฐ

 

- ทุกหน่วยงานของรัฐต้องให้ความสำคัญในการนำเข้าทุกข้อมูลของแผนระดับที่ 3 โครงการ/การดำเนินงานในระบบ eMENSCR ให้ครบถ้วน พร้อมทั้งการรายงานผลสัมฤทธิ์ของแผนระดับที่ 3 และผลการดำเนินโครงการ/การดำเนินงานตามกรอบระยะเวลาที่กำหนดอย่างเคร่งครัด เพื่อให้หน่วยงานและภาคี การพัฒนาที่เกี่ยวข้องมีข้อมูลที่ครอบคลุมทุกการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติของหน่วยงานของรัฐไปใช้ประกอบการวิเคราะห์การดำเนินงานต่าง ที่เกี่ยวข้องได้ต่อไป

 

 

- การกำหนดตัวชี้วัดเพื่อประเมินประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของหน่วยงานของรัฐ ยังไม่สะท้อนผลลัพธ์ จากการดำเนินงานของหน่วยงานที่ส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติที่เกี่ยวข้องเท่าที่ควร

 

- สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการต้องพิจารณากำหนดตัวชี้วัดของหน่วยงานของรัฐที่สามารถสะท้อนการถ่ายระดับเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติ และแผนระดับที่ 2 รวมถึงนโยบายรัฐบาล โดยไม่ได้เป็นการนำตัวชี้วัดของยุทธศาสตร์ชาติ แผนระดับที่ 2 รวมถึงนโยบายรัฐบาลไปเป็นตัวชี้วัดของหน่วยงานโดยตรง

การปรับปรุงการดำเนินงาน (Act)

 

- หน่วยงานของรัฐอาจยังไม่ได้นำผลการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลเช่น รายงานสรุปผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ รายงานผลสัมฤทธิ์

ของแผนระดับที่ 3 ไปใช้ประกอบการปรับปรุงการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องในทุกขั้นตอน ทำให้ในกระบวนการจัดสรรงบประมาณอาจยังไม่สอดคล้อง

กับช่องว่างในการพัฒนาประเทศและส่งผลให้การบรรลุเป้าหมายของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติในห้วงที่ 2 (2566-2567) ยังคงมีความเสี่ยงในการไม่บรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้

 

- สำนักงบประมาณต้องให้ความสำคัญกับกระบวนการจัดสรรงบประมาณที่ต้องสอดคล้องและปิดช่องว่างการพัฒนาประเทศ ซึ่งจะต้องเป็นการดำเนินการที่มีความเชื่อมโยงและบูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยงานรัฐในการมุ่งเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ในการพัฒนาประเทศ

- หน่วยงานของรัฐนำหลักการบริหารงานคุณภาพ (PDCA) ไปประยุกต์ใช้ในระดับหน่วยงาน โดยจะต้องประยุกต์ใช้ข้อมูลจากรายงานผลการดำเนินการต่าง ที่ได้มีการจัดทำและเผยแพร่ ไปประกอบการปรับปรุงการดำเนินการ ตั้งแต่การพุ่งเป้า เพื่อแปลงเป้าหมายของแผนระดับชาติและนโยบายรัฐบาลไปสู่การปฏิบัติผ่านแผนระดับที่ 3 พร้อมทั้งติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลการดำเนินการตามแผนให้สามารถบรรลุเป้าหมายของโครงการและแผนระดับที่ 3 ส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายของแผนระดับชาติและนโยบายรัฐบาลได้อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้การดำเนินการปรับปรุงการดำเนินการเป็นไปอย่างครบวงจร

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) 6 สิงหาคม 2567

 

 

8191

Click Donate Support Web 

TOA 720x100

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

SME720x100 2024

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

kbank 720x100 66

ธกส 720x100PTG 720x100

ใจฟู720x100px

AXA 720 x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!