ยุทธศาสตร์การปฏิรูปกำลังคนและภารกิจบริการด้านสาธารณสุขในภาพรวมทั้งระบบระยะ 10 ปี
- Details
- Category: มติ ครม.
- Published: Wednesday, 07 August 2024 22:43
- Hits: 6930
ยุทธศาสตร์การปฏิรูปกำลังคนและภารกิจบริการด้านสาธารณสุขในภาพรวมทั้งระบบระยะ 10 ปี
คณะรัฐมนตรีรับทราบยุทธศาสตร์การปฏิรูปกำลังคนและภารกิจบริการด้านสาธารณสุขในภาพรวมทั้งระบบระยะ 10 ปี (ยุทธศาสตร์ฯ) และแนวทางการดำเนินการแก้ไขปัญหาวิกฤติเร่งด่วนของการขาดแคลนกำลังคนทางการพยาบาล ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ
สาระสำคัญ
คณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติ (4 กุมภาพันธ์ 2563) ให้ สธ. ร่วมกับหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องเร่งดําเนินการจัดทํายุทธศาสตร์การปฏิรูปกําลังคนและภารกิจบริการด้านสาธารณสุขในภาพรวมทั้งระบบให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เพื่อให้สามารถวางระบบการบริหารอัตรากําลังให้สอดคล้องกับภารกิจบริการสุขภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาระบบสุขภาพของประเทศและการลงทุนในยุทธศาสตร์การจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ สถาบันทางการแพทย์ และสถาบันการศึกษาต่างๆ ในภาพรวมทั้งประเทศในระยะยาว (5 - 10 ปี) และคณะรัฐมนตรีได้มีมติ (9 กรกฎาคม 2567) ให้ สธ. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัด ดําเนินการผลิตบุคลากรทางการแพทย์ การพยาบาล และการสาธารณสุขเพิ่มเติมให้มีจํานวน เพียงพอ เหมาะสม สอดรับกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านสาธารณสุขและสถานการณ์ ปัจจุบันมากยิ่งขึ้น โดยให้ สธ. นําเสนอแนวทางการดําเนินการ ตลอดจนปัญหาอุปสรรค ในการดำเนินการต่อคณะรัฐมนตรีภายใน 2 สัปดาห์ สธ. จึงได้จัดทำยุทธศาสตร์ และแนวทางการดําเนินการแก้ไขปัญหาวิกฤติเร่งด่วนของการขาดแคลนกําลังคนทางการพยาบาล โดยมีสาระสําคัญสรุปได้ ดังนี้
1. ยุทธศาสตร์ฯ มีสาระสำคัญ สรุปได้ดังนี้
หัวข้อ |
รายละเอียด |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
วิสัยทัศน์ |
ประเทศไทยมีกําลังคนและบริการสาธารณสุขที่มีคุณภาพ ประชาชนสามารถเข้าถึงได้อย่างเป็นธรรม มีความมั่นคงทางสุขภาพและความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ อย่างยั่งยืน |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
พันธกิจ |
มุ่งปฏิรูปกําลังคนและภารกิจบริการด้านสาธารณสุขในภาพรวมทั้งระบบ โดยเน้นคุณค่าประชาชนเป็นศูนย์กลาง สามารถเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพ และบริการรูปแบบใหม่รองรับอนาคต ด้วยการอภิบาลระบบที่เข้มแข็ง สร้างความมั่นคงทางสุขภาพ เสริมศักยภาพเศรษฐกิจของประเทศอย่างยั่งยืน |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เป้าหมาย และตัวชี้วัด |
เป้าหมายที่ 1 : คนไทยมีสุขภาวะที่ดีเพิ่มขึ้น (1) คาดเฉลี่ยเมื่อแรกเกิด (Life Expectancy at Birth, LE) ไม่น้อยกว่า 85 ปี (2) อายุคาดเฉลี่ยของการมีสุขภาพดี (Health Adjusted Life Expectancy, HALE) ไม่น้อยกว่า 75 ปี (3) อัตราตายในโรคที่สําคัญลดลง ได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมองทารกแรกเกิด โรคมะเร็ง อุบัติเหตุและฉุกเฉิน และจิตเวชและยาเสพติด |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
เป้าหมายที่ 2 : เพิ่มการเข้าถึงบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข ตัวชี้วัด (1) อัตราส่วนบุคลากรต่อประชากร
(2) การกระจายบุคลากรที่เหมาะสมตามเกณฑ์ศักยภาพของหน่วยบริการ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
เป้าหมายที่ 3 : เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศ ตัวชี้วัด สัดส่วนมูลค่าเพิ่มของสินค้าและบริการสุขภาพต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ เพิ่มเป็นร้อยละ 1.7 (จํานวน 3.81 แสนล้านบาท) ในปี 2570 ทั้งนี้ บริการทางการแพทย์ที่เน้นสร้างมูลค่าเพิ่ม ได้แก่(1) เวชศาสตร์ ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ (2) การป้องกันดูแลเส้นเลือดหัวใจ (3) การรักษากระดูกข้อเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อ (4) ทันตกรรม (5) การรักษาผู้มีบุตรยาก (6) การรักษาโรคมะเร็ง (7) การปลูกถ่ายอวัยวะ (8) การผ่าตัดหัวใจ และการผ่าตัดทําบอลลูน (9) ศัลยกรรมตกแต่งและการแปลงเพศ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ ดังนี้ |
ยุทธศาสตร์ที่ 1 : เร่งผลิตและพัฒนากําลังคนให้เพียงพอต่อการให้บริการด้านสาธารณสุข โดยเฉพาะโรคสำคัญ จําเป็นเร่งด่วนต่อภาระทางสุขภาพและทิศทางของประเทศ (1) เป้าหมาย/ตัวชี้วัด (1.1) ความเพียงพอของกําลังคนด้านสุขภาพในโรคสําคัญจําเป็นเร่งด่วน ภาวะโรคซับซ้อนเฉพาะทาง (1.2) ความพร้อมของกําลังคนด้านสุขภาพในการรองรับทิศทางการพัฒนาประเทศ (2) มาตรการ (2.1) ผลิตและพัฒนากําลังคนด้านสุขภาพให้เพียงพอและมีคุณภาพสอดคล้องกับความจําเป็นเร่งด่วน ตามบริบทและทิศทางของประเทศ (2.2) ส่งเสริม สนับสนุน กํากับ ดูแลแผนและมาตรฐานการผลิตและพัฒนาบุคลากร ให้เกิดผลสัมฤทธิ์ทีพึงประสงค์ (outcome based) (3) สาขาแพทย์เฉพาะทางที่เร่งรัดการผลิตเพื่อตอบสนองเป้าหมายต่างๆ มีดังนี้ (3.1) เป้าหมายที่ 1 : เช่น จิตเวชศาสตร์ ประสาทวิทยา รังสีรักษาและมะเร็งวิทยา ศัลยศาสตร์ทรวงอก (3.2) เป้าหมายที่ 3 : เช่น เวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ ทันตกรรม การรักษาผู้มีบุตรยาก การปลูกถ่ายอวัยวะ การผ่าตัดหัวใจและทําบอลลูน ศัลยกรรมตกแต่งและการแปลงเพศ (4) แผนการผลิตกําลังคนสาธารณสุขภายใต้ยุทธศาสตร์ฯ โดยแจกแจงรายละเอียดสําคัญตามวิชาชีพ เช่น เป้าหมาย บุคลากรต่อประชากร อัตราส่วนปัจจุบัน จํานวนที่ควรต้องมีภายใน 10 ปี จํานวนที่ต้องผลิตเพิ่มและค่าใช้จ่าย มีดังนี้
โดยสาขาต่อยอด มีค่าใช้จ่ายในการผลิตแพทย์เฉพาะทาง 100,000 บาทต่อคนต่อปี |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
ยุทธศาสตร์ที่ 2 : พัฒนาระบบบริการสาธารณสุขเชิงพื้นที่เป็นหนึ่งเดียว (1) เป้าหมาย/ตัวชี้วัด (1.1) ผลสัมฤทธิ์ของโครงการหรือกิจกรรมการบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานหรือองค์กรในการพัฒนา ระบบบริการสาธารณสุขเชิงพื้นที่เป็นหนึ่งเดียว เพื่อส่งมอบบริการที่มีคุณค่าโดยประชาชนเป็นศูนย์กลาง (1.2) อัตราส่วนบุคลากรต่อภาระงาน และความยากง่ายของบริการ (1.3) อัตราการสูญเสียกําลังคนด้านสุขภาพในวิชาชีพหลัก ได้แก่ แพทย์ พยาบาล) (2) มาตรการ (2.1) สร้างความร่วมมือของภาครัฐ ท้องถิ่น และเอกชนมุ่งเป้าจัดระบบบริการสาธารณสุขโดยเน้นคุณค่า ประชาชนเป็นศูนย์กลางอย่างเชื่อมโยงไร้รอยต่อทั้งแนวราบและแนวดิ่ง (2.2) บริหารจัดการกําลังคนและบริการสาธารณสุขรูปแบบใหม่ที่ยืดหยุ่น คล่องตัว ภายใต้กฎหมาย และระเบียบเฉพาะ (2.3) ยกระดับคุณภาพชีวิตกําลังคนด้านสุขภาพ ธํารงรักษาให้อยู่ในระบบและมีการกระจายที่เหมาะสม |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
ยุทธศาสตร์ที่ 3 : สนับสนุนส่งเสริมบริการสุขภาพที่มีศักยภาพการแข่งขันทางเศรษฐกิจ (1) เป้าหมาย/ตัวชี้วัด (1.1) สัดส่วนมูลค่าเพิ่มของสินค้าและบริการสุขภาพต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (1.2) ประเทศไทยเป็นอันดับ 1 ด้าน Wellness and Medical Hub ในปี ค.ศ. 2025 (2) มาตรการ (2.1) ส่งเสริมพัฒนาศักยภาพหน่วยบริการ ทั้งภาครัฐและเอกชนให้ได้มาตรฐานสากล สร้างมูลค่าเพิ่ม ให้กับเศรษฐกิจของประเทศ (2.2) ส่งเสริมการศึกษา วิจัยและพัฒนานวัตกรรมด้านสุขภาพ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
ยุทธศาสตร์ที่ 4 : สร้างเสริมระบบและกลไกการอภิบาลกําลังคนด้านสุขภาพให้เข้มแข็ง (1) เป้าหมาย/ตัวชี้วัด (1.1) มีระบบและกลไกการอภิบาลกําลังคนด้านสุขภาพที่มีเอกภาพ (1.2) มีฐานข้อมูลกลางกําลังคนด้านสุขภาพของประเทศที่ครบถ้วนและเป็นปัจจุบัน ใช้ประโยชน์ในการบริหารจัดการกําลังคนด้านสุขภาพของประเทศได้ (2) มาตรการ (2.1) สร้างกลไกกําหนดนโยบาย กํากับดูแลกําลังคนด้านสุขภาพในภาพรวมทั้งระบบอย่างเป็นเอกภาพทั้งระดับประเทศและระดับพื้นที่ (2.2) จัดทําฐานข้อมูลกลางกําลังคนด้านสุขภาพของประเทศที่ถูกต้อง ครบถ้วน ใช้ขับเคลื่อนระบบสุขภาพได้ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
การขับเคลื่อน |
แต่งตั้งคณะกรรมการการปฏิรูปกําลังคนและภารกิจบริการด้านสาธารณสุขในภาพรวมทั้งระบบ (คณะกรรมการฯ) เพื่อทําหน้าที่ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์อย่างบูรณาการ กํากับ ติดตาม ให้เกิดประสิทธิผล ทบทวนยุทธศาสตร์ เป็นระยะทุก 1- 3 ปี |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ค่าใช้จ่าย |
เป็นไปตามแผนการผลิตกําลังคนสาธารณสุขในยุทธศาสตร์ฯ โดยใช้งบประมาณของหน่วยงานที่ขอผลิต ภายใต้การพิจารณาของคณะกรรมการฯ |
สธ. ได้นําข้อเสนอแนะจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาพิจารณาปรับปรุงแก้ไข (ร่าง) ยุทธศาสตร์ฯ เรียบร้อยแล้ว
2. แนวทางการดำเนินการแก้ไขปัญหาวิกฤติเร่งด่วนของการขาดแคลนกำลังคนทางการพยาบาล มีสาระสำคัญ สรุปได้ดังนี้
2.1 ปัจจุบันประเทศไทยมีพยาบาล จํานวน 209,187 คน คิดเป็นสัดส่วนพยาบาลต่อประชากร 1 : 316 ทั้งนี้ ยุทธศาสตร์ฯ ได้กําหนดเป้าหมายในระยะ 10 ปี ให้มีสัดส่วนพยาบาลต่อประชากรที่ควรเป็นอยู่ที่ 1 : 200 หรือควรมีพยาบาลอย่างน้อย 333,745 คน เมื่อเทียบกับจํานวนพยาบาลในปัจจุบันพบว่ายังขาดพยาบาลอีกจํานวน 124,558 คน หรือขาดอีกร้อยละ 37.32
2.2 การขาดอัตรากําลังทางการพยาบาลตามเหตุผลข้างต้น ทําให้พยาบาลต้องปฏิบัติงานมากกกว่าจํานวนชั่วโมงการปฏิบัติงานในหนึ่งสัปดาห์ซึ่งสูงเกินกว่ามาตรฐานความปลอดภัยในการทํางาน จึงจําเป็นต้องเร่งเสนอพิจารณาแผนผลิตกําลังคนทางการพยาบาล ระยะ 10 ปี เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดําเนินการต่อไป โดยมีสาระสําคัญสรุปได้ ดังนี้
หัวข้อ |
รายละเอียด |
|||||||||||||
ตัวชี้วัดและ ค่าเป้าหมาย |
(1) เพิ่มการผลิตกําลังคนทางการพยาบาลให้มีสัดส่วนพยาบาลต่อประชากร 1:200 ภายใน 10 ปี (ต้องการเพิ่มอีก 124,558 คน) (2) อันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านสุขภาพของประเทศ ไม่ต่ำกว่าอันดับที่ 20 (3) ค่าดัชนีความครอบคลุมของการเข้าถึงหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ามากกว่าร้อยละ 90 |
|||||||||||||
แนวทางการดำเนินการประกอบด้วย 3 แนวทางได้แก่ |
|
|||||||||||||
การจัดทำคำขอ งบประมาณ |
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดําเนินการจัดทําแผนการผลิตกําลังคนและคําของบประมาณให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ฯ โดยผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการฯ |
|||||||||||||
การขับเคลื่อน |
สธ. กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ฯ และทําความตกลงกับสํานักงาน ก.พ. ในการเร่งรัดดําเนินการ มหาวิกฤติเร่งด่วนของการขาดแคลนกําลังคนทางการพยาบาลแผนพยาบาล |
3. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1) ยกระดับระบบสุขภาพของประเทศ ประชาชนเข้าถึงบริการ ทางการแพทย์และสาธารณสุขที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพได้เพิ่มขึ้น มีสุขภาวะที่ดี ลดการเจ็บป่วยลดการเสียชีวิต
2) เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศ
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) 6 สิงหาคม 2567
8185