WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

การขยายระยะเวลาปรับลดอัตราเงินนำส่งเข้ากองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ

Gov 36

การขยายระยะเวลาปรับลดอัตราเงินนำส่งเข้ากองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ

           คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอดังนี้

           1. การกำหนดอัตราเงินนำส่งเข้ากองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่อัตราร้อยละ 0.125 ต่อปี ของยอดเงินที่ได้รับจากประชาชน เป็นระยะเวลา 1 ปี สำหรับรอบการนำส่งเงินในปี พ.ศ. 2567 และมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2567

           2. ร่างประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กำหนดอัตราเงินนำส่งเข้ากองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ พ.ศ. ....

           ข้อเท็จจริงและสาระสำคัญของร่างประกาศฯ

           กค. รายงานว่า 

           1. สืบเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในปัจจุบันเริ่มคลี่คลายลงและสภาวะเศรษฐกิจได้เริ่มฟื้นตัวแล้ว แต่ยังคงส่งผลต่อกลุ่มลูกค้าของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นลูกหนี้ประชาชนรายย่อยที่เป็นกลุ่มเปราะบาง และกลุ่มเศรษฐกิจฐานรากที่ยังอยู่ระหว่างการฟื้นตัวและอาจไม่สามารถกลับมาชำระหนี้ได้ตามปกติ สถาบันการเงินเฉพาะกิจจึงเป็นกลสำคัญในการประคับประคองเศรษฐกิจและยังคงต้องให้ความช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ลูกหนี้กลุ่มดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมีข้อสั่งการให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจทั้ง 4 แห่ง จัดทำข้อเสนอโครงการหรือมาตรการใหม่ที่สะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนว่า หากสถาบันการเงินเฉพาะกิจได้รับการปรับลดอัตราเงินนำส่งเข้ากองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ จะสามารถส่งผ่านการลดอัตราเงินนำส่งดังกล่าวเพื่อไปช่วยเหลือแก่ลูกหนี้ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจได้อย่างแท้จริงและเป็นรูปธรรม

           2. ดังนั้น เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระต้นทุนให้กับสถาบันการเงินเฉพาะกิจและกำหนดให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจส่งผ่านการลดอัตราเงินนำส่งไปช่วยเหลือลูกหนี้ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ โดยเฉพาะการให้ความช่วยเหลือแก่ลูกหนี้ประชาชนรายย่อยที่เป็นกลุ่มเปราะบาง กลุ่มเศรษฐกิจฐานราก รวมถึงลูกหนี้นอกระบบ กค. พิจารณาแล้วเห็นควรขยายระยะเวลาการปรับลดอัตราเงินนำส่งเข้ากองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ รวม 4 แห่ง ได้แก่ ธ.ก.ส. ธนาคารออมสิน ธอส. และ ธอท. จากเดิมอัตราร้อยละ 0.25 ต่อปี เป็นอัตราร้อยละ 0.125 ต่อปี ของยอดเงินที่ได้รับจากประชาชนออกไปอีก 1 ปี (เนื่องจากประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กำหนดอัตราเงินนำส่งเข้ากองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ พ.ศ. 2566 สำหรับการนำส่งเงินในปี พ.ศ. 2566 (มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 – 31 ธันวาคม 2566) สิ้นสุดการใช้บังคับแล้ว ทำให้การนำส่งเงินเข้ากองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจอยู่ที่อัตราร้อยละ 0.25 ต่อปี) สำหรับรอบการนำส่งเงินในปี พ.ศ. 2567 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 - 31 ธันวาคม 2567 และกลับมาใช้อัตราร้อยละ 0.25 ต่อปี สำหรับรอบการนำส่งเงินตั้งแต่ปี พ.ศ. 2568 เป็นต้นไป

           3. คณะกรรมการกองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ในคราวประชุม ครั้งที่ 3/2567 เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2567 ได้พิจารณาทบทวนอัตราเงินนำส่งเข้ากองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ และมีมติ ดังนี้

               3.1 เห็นชอบการขยายระยะเวลาปรับลดอัตราเงินนำส่งเข้ากองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจทั้ง 4 แห่ง ได้แก่ ธ.ก.ส. ธนาคารออมสิน ธอส. และ ธอท. โดยปรับลดอัตราเงินนำส่งลงกึ่งหนึ่งจากร้อยละ 0.25 ต่อปี เป็นร้อยละ 0.125 ต่อปี ของยอดเงินที่ได้รับจากประชาชน ออกไป อีก 1 ปี สำหรับรอบการนำส่งเงินในปี พ.ศ. 2567 [แต่ละปีมีกำหนดการนำส่งเงินออกเป็น 2 งวด โดยนำส่งเงิน ร้อยละ 0.0625 ต่องวด แบ่งออกเป็นงวดที่ 1 (เดือนมกราคม - มิถุนายน 2567) จะต้องนำส่งเงินภายในวันทำการสุดท้ายของเดือนสิงหาคม 2567 และงวดที่ 2 (เดือนกรกฎาคม - ธันวาคม 2567) จะต้องนำส่งเงินภายในวันทำการสุดท้ายของเดือนกุมภาพันธ์ 2568]

               3.2 มอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมกองทุนฯ ยกร่างประเทศกระทรวงการคลัง เรื่อง กำหนดอัตราเงินนำส่งเข้ากองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ พ.ศ. .... โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้

                    3.2.1 ยกเลิกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กำหนดอัตราเงินนำเข้าส่งกองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ พ.ศ. 2566 ลงวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2566 (ร่างข้อ 3) 

                    3.2.2 กำหนดให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจนำส่งเงินเข้ากองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจในอัตรา (ร่างข้อ 4) ดังต่อไปนี้

                             (1) ร้อยละ 0.125 ต่อปี ของยอดเงินที่ได้รับจากประชาชน สำหรับ การนำส่งเงินในปี พ.ศ. 2567 

                             (2) ร้อยละ 0.25 ต่อปี ของยอดเงินที่ได้รับจากประชาชน สำหรับ การนำส่งเงินในปี พ.ศ. 2568 เป็นต้นไป 

                    3.2.3 กำหนดให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2567 เป็นต้นไป (ร่างข้อ 2) 

               3.3 ทั้งนี้ สถาบันการเงินเฉพาะกิจทั้ง 4 แห่ง ได้จัดทำรายละเอียดโครงการหรือมาตรการเพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ตามข้อ 1. โดยสามารถส่งผ่านการลดอัตราเงินนำส่งดังกล่าวเพื่อไปช่วยเหลือแก่ลูกหนี้ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ได้แก่ ลูกหนี้ประชาชนรายย่อยที่เป็นกลุ่มเปราะบาง กลุ่มเศรษฐกิจฐานราก และลูกหนี้นอกระบบ ประกอบด้วย (1) การลดดอกเบี้ยเงินกู้ในอัตราผ่อนปรนพิเศษให้แก่ลูกหนี้เป็นการทั่วไป เช่น ลดอัตราดอกเบี้ยลูกหนี้รายย่อยชั้นดี (Minimum Retail Rate: MRR) เป็นต้น (2) การลดอัตราดอกเบี้ยหรือดอกเบี้ยค้างรับตามสัญญา และ (3) การเปลี่ยนลำดับการตัดชำระหนี้ที่ทำให้เงินต้นของลูกหนี้ปรับลดลงในทุกงวดที่ผ่อนชำระ ซึ่งคาดว่าจะสามารถช่วยเหลือลูกหนี้ได้ประมาณ 5 ล้านบัญชี

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) 16 กรกฎาคม 2567

 

 

7526

Click Donate Support Web 

SME720x100 2024

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

QIC 720x100

TOA 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

kbank 720x100 66

ธกส 720x100PTG 720x100

ใจฟู720x100px

AXA 720 x100 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!