WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ร่างกฎกระทรวงความปลอดภัยและความมั่นคงปลอดภัยทางนิวเคลียร์และรังสีในการขนส่ง พ.ศ. ....

Gov 48

ร่างกฎกระทรวงความปลอดภัยและความมั่นคงปลอดภัยทางนิวเคลียร์และรังสีในการขนส่ง พ.ศ. ....

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงความปลอดภัยและความมั่นคงปลอดภัยทางนิวเคลียร์และรังสีในการขนส่ง พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) ตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ 

          ข้อเท็จจริงและสาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง 

          อว. เสนอว่า 

          1. สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติได้ปรับปรุงแก้ไขร่างกฎกระทรวงความปลอดภัยและความมั่นคงปลอดภัยทางนิวเคลียร์และรังสีในการขนส่ง พ.ศ. .... ที่ สคก. ตรวจพิจารณาแล้ว เฉพาะในส่วนของตารางท้ายกระทรวง ตารางที่ 1 ค่าพื้นฐานของนิวไคลด์กัมมันตรังสี ซึ่งเป็นข้อมูลทางเทคนิค เพื่อให้ถูกต้องตรงกับเอกสาร Regulations for the Safe Transport of Radioactive Material : Specific Safety Requirements No. SSR-6 (SSR-6) ซึ่งกำหนดมาตรฐานความปลอดภัยทางรังสีในการขนส่ง ดังนี้

 

ร่างกฎกระทรวงที่ สคก.

ตรวจพิจารณาแล้ว

 

ร่างกฎกระทรวงฯ ที่ปรับปรุงแก้ไข

 

ประเด็น/เหตุผล

ขีดจำกัดกัมมันตภาพที่ได้รับการยกเว้นสำหรับการขนส่งวัสดุกัมมันตรังสี (เบ็กเคอเรล)

 

ขีดจำกัดกัมมันตภาพได้รับการยกเว้น (เบ็กเคอเรล)

 

แก้ไขหัวตาราง

-

 

แบเรียม-135เอ็ม

 

เพิ่มข้อมูลในตารางระหว่างแบเรียม-133เอ็ม กับ แบเรียม-140 ()

1×100

 

1×101

 

แก้ไขขีดจำกัดความเข้มข้นกัมมันตภาพที่ได้รับการยกเว้น (เบ็กเคอเรล/กรัม) ของสตรอนเซียม-83

1×105

 

1×106”

 

แก้ไขขีดจำกัดกัมมันตภาพที่ได้รับการยกเว้น (เบ็กเคอเรล) ของเทลลูเรียม-121เอ็ม

 

          2. ร่างกฎกระทรวงนี้มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับความปลอดภัยและความมั่นคงปลอดภัยทางนิวเคลียร์และรังสี เพื่อให้ผู้ครอบครองวัสดุกัมมันตรังสี วัสดุนิวเคลียร์ กากกัมมันตรังสี เชื้อเพลิงนิวเคลียร์ และเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ใช้แล้ว ซึ่งประสงค์จะขนส่งวัสดุดังกล่าว และผู้รับขนส่งวัสดุดังกล่าว มีหน้าที่ต้องปฏิบัติเพื่อให้การขนส่งนั้นๆ เป็นไปอย่างปลอดภัย สรุปได้ ดังนี้

              2.1 กำหนดหน้าที่ของผู้ส่งของ (บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลซึ่งเป็นผู้ครอบครองวัสดุ) ก่อนการขนส่งต้องปฏิบัติ เช่น การจำแนกประเภทวัสดุที่ขนส่ง การเลือกใช้แบบหีบห่อให้เหมาะสมกับประเภทวัสดุที่ขนส่ง การจ่าหน้าและติดป้ายหีบห่อ และการเตรียมเอกสารกำกับการขนส่ง รวมถึงจะต้องพร้อมแสดงใบรับแจ้งการขนส่งและเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องต่อผู้รับขนส่งก่อนการขนส่งวัสดุขึ้นและการถ่ายวัสดุลง เป็นต้น

              2.2 กำหนดหน้าที่ของผู้รับขนส่ง (บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลซึ่งประกอบการขนส่ง และให้หมายความรวมถึงผู้รับขนส่งที่ได้รับมอบหมายช่วงต่อไปให้ทำการขนส่งด้วย ไม่ว่าจะมีการมอบหมายกันไปกี่ทอดก็ตาม) เช่น การตรวจสอบเอกสาร การจัดวางของที่ขนส่งและการตรวจสอบการปนเปื้อน การวัดระดับรังสีและค่ากัมมันตภาพ ดัชนีการขนส่ง และดัชนีความปลอดภัยภาวะวิกฤต การติดป้าย และกรณีผู้รับขนส่งไม่สามารถส่ง

              2.3 กำหนดระดับของมาตรการการรักษาความมั่นคงปลอดภัย โดยแบ่งตามความอันตรายของวัสดุกัมมันตรังสีหรือกากกัมมันตรังสี ซึ่งมี 3 ระดับ ได้แก่ 1) ระดับจัดการแบบรอบคอบ 2) ระดับพื้นฐาน 3) ระดับขั้นสูง รวมถึงกำหนดการแจ้งเหตุและการรายงานปัญหาต่อสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติในการขนส่งวัสดุกัมมันตรังสีและกากกัมมันตรังสี

              2.4 กำหนดวิธีการป้องกันการเอาไปซึ่งวัสดุนิวเคลียร์โดยมิชอบในระหว่างการขนส่ง โดยผู้รับขนส่งต้องจัดให้มีการคุ้มครองทางกายภาพต่อการเอาไปซึ่งวัสดุนิวเคลียร์ โดยมิชอบในระหว่างการขนส่งเท่าที่จะสามารถกระทำได้ เช่น การลดระยะเวลาที่ใช้ในการขนส่งให้น้อยที่สุด การปกป้องวัสดุนิวเคลียร์ในระหว่างการขนส่ง การประเมินภัยคุกคาม และการใช้ระบบการขนส่งที่มีมาตรการคุ้มครองทางกายภาพตามการประเมินภัยคุกคาม หลีกเลี่ยงเส้นทางขนส่งในพื้นที่ที่มีภัยธรรมชาติ การก่อความไม่สงบ หรือมีภัยคุกคาม เป็นต้น 2.5 กำหนดวิธีการค้นหาและการนำกลับมาซึ่งวัสดุนิวเคลียร์ เชื้อเพลิงนิวเคลียร์ และเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ใช้แล้วที่สูญหายหรือถูกลักไปในระหว่างการขนส่ง เช่น จัดให้มีการตรวจสอบหีบห่อที่บรรจุระหว่างขนส่งและขณะส่งมอบ และจัดให้มีมาตรการสำหรับกรณีไม่พบหีบห่อในขณะอยู่ในความควบคุมของผู้รับขนส่ง และต้องดำเนินการทันทีเมื่อเกิดเหตุกรณีดังกล่าว และผู้ส่งของ ผู้รับขนส่ง และผู้รับของซึ่งเป็นผู้รับใบอนุญาตหรือผู้มีไว้ในครอบครองวัสดุนิวเคลียร์ ต้องให้ความร่วมมือในการค้นหาและการนำกลับมาซึ่งวัสดุนิวเคลียร์ รวมทั้งให้ความร่วมมือในการสอบสวนและดำเนินคดี 3. ร่างกฎกระทรวงในเรื่องนี้เป็นการออกกฎหมายลำดับรองซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ พ.ศ. 2559 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ที่มีผลใช้บังคับก่อนที่พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 มีผลใช้บังคับ ซึ่งจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 2 ปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 มีผลใช้บังคับ (ภายในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566) อย่างไรก็ตาม อว. ได้เสนอขอขยายระยะเวลาการดำเนินการออกกฎกระทรวงในเรื่องนี้ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2566 เห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการจัดทำกฎหมายลำดับรองซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ พ.ศ. 2559 และแก้ไขเพิ่มเติม ออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ตามที่ อว. เสนอ

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) 9 กรกฎาคม 2567

 

 

7303

Click Donate Support Web 

SME720x100 2024

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

QIC 720x100

TOA 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

kbank 720x100 66

ธกส 720x100PTG 720x100

ใจฟู720x100px

AXA 720 x100 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!