WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ผลการประชุมบูรณาการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 (นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ และสุรินทร์) เมื่อวันศุกร์ที่ 21 มิถุนายน 2567 และวันจันทร์ที่ 1 กรกฎาคม 2567

Gov 51

ผลการประชุมบูรณาการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 (นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ และสุรินทร์) เมื่อวันศุกร์ที่ 21 มิถุนายน 2567 และวันจันทร์ที่ 1 กรกฎาคม 2567

          คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอ ดังนี้

          1. รับทราบผลการประชุมบูรณาการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 (นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ และสุรินทร์) เมื่อวันศุกร์ที่ 21 มิถุนายน 2567 และวันจันทร์ที่ 1 กรกฎาคม 2567

          2. เห็นชอบในหลักการโครงการของกลุ่มจังหวัดและจังหวัด จำนวน 16 โครงการ กรอบวงเงิน 259,004,600 บาท โดยให้กลุ่มจังหวัดและจังหวัดขอรับการจัดสรรจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด รวมทั้งให้จังหวัดและกลุ่มจังหวัด นำโครงการบรรจุไว้ในแผนพัฒนาจังหวัดและแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดตามขั้นตอนต่อไป

          3. เห็นชอบในหลักการของโครงการที่เป็นข้อเสนอของภาคเอกชน (กรอ.กลุ่มจังหวัด) จำนวน 8 โครงการ กรอบวงเงิน 247,153,400 บาท โดยให้ส่วนราชการที่เป็นหน่วยงานเจ้าของโครงการขอรับการจัดสรรจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด และให้หน่วยงานเจ้าของโครงการเร่งจัดทำข้อเสนอโครงการ โดยให้ความสำคัญกับความคุ้มค่าและผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการใช้จ่ายงบประมาณอย่างรอบคอบ รวมทั้งให้จังหวัดและกลุ่มจังหวัดนำโครงการบรรจุไว้ในแผนพัฒนาจังหวัดและแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดตามขั้นตอนต่อไป

          4. มอบหมายให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปพิจารณาโครงการที่เป็นข้อเสนอของภาคเอกชน (กรอ.กลุ่มจังหวัด) ในส่วนที่เหลือจำนวน 84 โครงการ เพื่อบรรจุไว้ในแผนการปฏิบัติราชการประจำปีของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและขอรับการจัดสรรงบประมาณตามขั้นตอนต่อไป

          5. มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามมติที่ประชุม ไปพิจารณาเร่งรัดดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง

          6. มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามข้อ 2 - 5 และรายงานผลการดำเนินการให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ต่อไป 

          สาระสำคัญและข้อเท็จจริง 

          1. เมื่อวันอังคารที่ 18 มิถุนายน 2567 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบกำหนดจัดประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 4/2567 ณ จังหวัดนครราชสีมา และติดตามการตรวจราชการกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 (นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ และสุรินทร์) และมอบหมายให้ สศช. ร่วมกับกระทรวงมหาดไทย สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี และสำนักงบประมาณ เป็นฝ่ายเลขานุการจัดการประชุมบูรณาการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนล่าง 1 (นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ และสุรินทร์) เพื่อเสนอประเด็นและวาระการพัฒนากลุ่มจังหวัด ต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ณ จังหวัดนครราชสีมา

          2. ในช่วงระหว่างวันที่ 25 เมษายน 2567 - วันที่ 1 กรกฎาคม 2567 สศช. ร่วมกับสำนักงบประมาณ และกระทรวงมหาดไทยได้ประสานจังหวัดและกลุ่มจังหวัด และภาคเอกชน ในการพิจารณากลั่นกรองโครงการที่เป็นความต้องการของพื้นที่ โดยในช่วงระหว่างวันที่ 12 - 14 มิถุนายน 2567 สศช. ร่วมกับสำนักงบประมาณ และกระทรวงมหาดไทยได้ลงพื้นที่ประชุมหารือเพื่อพิจารณาโครงการ ตามความต้องการของพื้นที่ที่มีความพร้อมและสามารถดำเนินการได้ทันที

          3. สศช. ร่วมกับกระทรวงมหาดไทย สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี และสำนักงบประมาณ ได้จัดการประชุมบูรณาการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 (นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ และสุรินทร์) เมื่อวันศุกร์ที่ 21 มิถุนายน 2567 ณ ห้องแกรนด์บอลรูม ชั้น 1 โรงแรมรามาการ์เด้นส์ กรุงเทพฯ และเมื่อวันจันทร์ที่ 1 กรกฎาคม 2567 ณ ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา ชั้น 4 จังหวัดนครราชสีมา โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (นายอนุทิน ชาญวีรกูล) เป็นประธานการประชุมฯ และมีผู้บริหารหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งผู้แทนสถาบันภาคเอกชนในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 ได้แก่ คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) (สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย) และสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) เข้าร่วมประชุมฯ โดยข้อเสนอประเด็นและวาระการพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 สรุปได้ดังนี้

              3.1 ข้อเสนอโครงการที่มีความพร้อมและดำเนินการแล้วเสร็จภายใน 1 ปี ของจังหวัดและกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 จำนวน 16 โครงการ กรอบวงเงิน 249,004,600 บาท ดังนี้ (1) โครงการส่งเสริมศักยภาพคลัสเตอร์ไหมอีสาน กลุ่มจังหวัดนครชัยบุรินทร์สู่สากล วงเงิน 9,000,000 บาท (2) โครงการ Triple Heritage Ring Road เพื่อพัฒนาและยกระดับสินค้าและบริการและสร้างอัตลักษณ์ของท้องถิ่นของผู้ประกอบการ ตามเส้นทาง 3 มรดกโลก เชื่อมโยงการท่องเที่ยวนครชัยบุรินทร์ วงเงิน 6,000,000 บาท (3) โครงการการสร้าง “ศูนย์กลางการประกอบอาหารนครชัยบุรินทร์ (Nakornchaiburin Gastronomy Hub) เพื่อผลิตกำลังคนสำหรับรองรับอุตสาหกรรมอาหารและบริการ (ท่องเที่ยว) ในพื้นที่กลุ่มจังหวัดนครชัยบุรินทร์ วงเงิน 30,600,000 บาท (4) โครงการยกระดับคุณภาพชีวิตคนทุกช่วงวัยนครชัยบุรินทร์ กิจกรรม ยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน ในชุมชนนครชัยบุรินทร์ด้วยภูมิปัญญาแพทย์แผนไทย วงเงิน 4,390,600 บาท (5) โครงการพัฒนาพื้นที่เขาใหญ่ เพื่อให้ได้รับการรับรองเป็น Blue Zone วงเงิน 6,000,000 บาท (6) โครงการ Locations For Filming Industry In Korat เพิ่มศักยภาพการแข่งขันและพัฒนาพื้นที่เมืองโคราชเป็นพื้นที่ถ่ายทำภาพยนตร์ วงเงิน 6,000,000 บาท (7) โครงการส่งเสริมการผลิตและขยายท่อนพันธุ์มันสำปะหลังสะอาดจังหวัดนครราชสีมา วงเงิน 5,600,000 บาท (8) โครงการระบบผลิตน้ำประปาขนาดใหญ่ กำลังการผลิต 10 ล้านลูกบาศก์เมตร/ชั่วโมง (SIZE L) จำนวน 5 กิจกรรม (ผลิตน้ำประปาดื่มได้) วงเงิน 32, 400,000 บาท (9) โครงการยกระดับมาตรฐานเส้นทางคมนาคมสายหลัก (ขยายช่องทางจราจรถนนสายหลัก ให้เป็น 4 ช่องจราจร ตลอดสายทาง) กิจกรรม ขยายช่องทางจราจรให้เป็น 4 ช่องจราจร ถนน ทล.2354 (เทพสถิต-ซับใหญ่) กม. 49+000 - กม. 50+000 ระยะทาง 1 กิโลเมตร วงเงิน 40,000,000 บาท (10) โครงการยกระดับสินค้าเกษตรมูลค่าสูงเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน วงเงิน 3,000,000 บาท (11) โครงการแปลงขยะเศษอาหารและเศษวัชพืชเป็นปุ๋ยอินทรีย์ วงเงิน 7,000,000 บาท (12) โครงการบำรุงรักษาทางหลวง บูรณะทางผิวแอสฟัลต์ทางหลวง หมายเลข 348 ตอน ช่องตะโก น้อยสะแกกวน ตำบลลำนางรอง อำเภอโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์ วงเงิน 10,000,000 บาท (13) โครงการปรับสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกตามหลักอารยสถาปัตย์ในแหล่งท่องเที่ยวเขตห้ามล่าสัตว์ป่าภูเขาไฟกระโดง วงเงิน 12,050,000 บาท (14) โครงการงานขยายเขตจำหน่ายน้ำเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการและรองรับการพัฒนา ทางเศรษฐกิจในพื้นที่อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ วงเงิน 26,964,000 บาท (15) โครงการก่อสร้างถนนลาดยางแอสฟัลติกคอนกรีตสายแยกเขาขาว - จุดชมวิวผามะนาว ตำบลโคกตะเคียน อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ (ตอนที่ 2) ระยะทาง 4.500 กิโลเมตร วงเงิน 33,800,000 บาท และ (16) โครงการก่อสร้างระบบผลิตน้ำประปาแบบ POG TANKS (SIZE L) วงเงิน 16,200,000 บาท

                    มติที่ประชุม : เห็นชอบในหลักการโครงการของกลุ่มจังหวัดและจังหวัด จำนวน 16 โครงการ กรอบวงเงิน 249,004,600 บาท โดยให้กลุ่มจังหวัดและจังหวัดขอรับการจัดสรร จากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด รวมทั้งให้จังหวัดและกลุ่มจังหวัด นำโครงการบรรจุไว้ในแผนพัฒนาจังหวัดและแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดตามขั้นตอนต่อไป

              3.2 ข้อเสนอประเด็นการพัฒนากลุ่มจังหวัดฯ และจังหวัดในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 ของภาคเอกชน (กรอ.กลุ่มจังหวัด) จำนวน 92 โครงการ ดังนี้

                    (1) ข้อเสนอประเด็นการพัฒนากลุ่มจังหวัดฯ จำนวน 10 โครงการ ดังนี้

                          1) ขอรับการสนับสนุนการดำาเนินโครงการ จำนวน 10 โครงการ ประกอบด้วย (1) โครงการปรับปรุงก่อสร้างถนนเข้าสู่แหล่งท่องเทียว สายทางเข้าเขื่อนลำแชะ ตำบลโคกกระชาย อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา ผิวจราจรกว้าง 6.00 ม. ไหล่ทางกว้างข้างละ 0.00 - 1.00 ม. ระยะทาง 4.200 กม. (2) โครงการการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมวิถีชุมชน นครชัยบุรินทร์ (3) โครงการศูนย์วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์วัสดุก่อสร้างประหยัดพลังงานและเป็นมิตร ต่อสิ่งแวดล้อม : กิจกรรม ก่อสร้างโรงงานต้นแบบและการจัดการพื้นที่ : กิจกรรม เครื่องมือและวัสดุแบบหล่อต้นแบบ (4) โครงการศึกษาความเป็นไปได้ของการเป็นเมือง Low carbon city เพื่อดึงดูดการลงทุน ของ Green industry business (5) โครงการสร้างเศรษฐกิจ เพิ่มมูลค่า “อาหาร SAN ดี” ประจำถิ่นนครชัยบุรินทร์ From Local to Global (6) โครงการยกระดับโรงงานต้นแบบนวัตกรรมอาหารครบวงจร (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง) ระยะที่ 1 (7) โครงการยกระดับโรงงานต้นแบบนวัตกรรมอาหารครบวงจร (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง) ระยะที่ 2 (8) โครงการศูนย์การจัดการคาร์บอนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ Center of Carbon Management of Northeastern Region ระยะที่ 1 (9) โครงการศูนย์การจัดการคาร์บอนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ Center of Carbon Management of Northeastern Region ระยะที่ 2 และ (10) โครงการจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศยกระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงวัย ในเขตพื้นที่อิสานตอนล่าง

                    (2) ข้อเสนอประเด็นการพัฒนาจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 2 เรื่อง 48 โครงการ ดังนี้

                          1) ขอรับการสนับสนุนการดำเนินโครงการ จำนวน 43 โครงการ ประกอบด้วย (1) โครงการพัฒนาเส้นทางคมนาคมเชื่อมโยงพื้นที่เศรษฐกิจชุมชน กับโครงข่ายคมนาคมหลักในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 18 กิจกรรม (2) โครงการพัฒนาเส้นทางคมนาคมเชื่อมโยงพื้นที่เศรษฐกิจชุมชนกับโครงข่ายคมนาคมหลักในสายทางขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 54 กิจกรรม (3) โครงการพัฒนาเมืองเพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรแออัดในเขต พื้นที่เทศบาลตำบลโชคชัย อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา (4) โครงการพัฒนาศักยภาพศิลปะร่วมสมัย และละครเวที จังหวัดนครราชสีมา (5) การพัฒนากำลังคนด้านภาพยนตร์เพื่อส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์โคราช และยกระดับเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ด้วยอุตสาหกรรมบันเทิงยุคดิจิทัลสู่สาธารณะและสากล (6) โครงการจัดกิจกรรมการแข่งขันวอลเลย์บอล “Nakhon Ratchasima Youth Volleyball festival 2024” (7) โครงการบริหารและพัฒนาโคราชจีโอพาร์คโลกยูเนสโก (8) โครงการขับเคลื่อน Soft Power โคราชเมืองศิลปะ (9) โครงการจัดการแข่งขันกีฬาวอลเลย์บอล รายการวอลเลย์บอลสโมสรหญิงชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย 2024 (2024 Asian Women's Club Volleyball Championship) (10) โครงการจัดสร้างศูนย์ประชุมและนิทรรศการจังหวัดนครราชสีมา (11) โครงการศึกษาความเป็นไปได้และออกแบบพัฒนาเส้นทาง 3 มรดกโลก Triple Heritage Ring Road (12) โครงการพัฒนาพื้นที่เขาใหญ่เป็น Blue Zone แห่งที่ 6 ของโลก (13) โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์และพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ บริเวณพื้นที่เขาเขื่อนลั่น ตำบลคลองไผ่ อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา (Sky Walk บริเวณพื้นที่เขาเขื่อนลั่น) (14) โครงการพัฒนากีฬาจังหวัด Sport City (15) โครงการแผนแม่บทการพัฒนาท่องเที่ยวดินแดนสามมรดก ยูเนสโกโคราช พ.ศ. 2568 - 2572 (Sustainable Tourism Development Master Plan For Korat Triple Heritage 2025 - 2029) (16) โครงการพัฒนาแหล่งทรัพยากรธรณี บ้านหนองน้ำแดง อำเภอ ปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา (17) โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์และอาคารประดิษฐานพระนอนเมืองเสมา โบราณสถานเมืองเสมา ตำบลเสมา อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา (18) โครงการจัดสร้างอาคารศูนย์ข้อมูลรัฐศรีจนาศะ อารยธรรมโบราณอีสานใต้ ตำบลโคราช อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา (19) โครงการพัฒนาการจัดแสดงและเพิ่มศักยภาพศูนย์ข้อมูลรัฐศรีจนาศะ อารยธรรมโบราณอิสานใต้ (20) โครงการฟื้นฟูภูมิทัศน์วัฒนธรรมคูเมืองกำแพงเมือง เสริมความมั่นคงประตูเมืองด้านทิศเหนือ (ประตูผี) อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย ตำบลในเมือง อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา (21) โครงการพัฒนาภูมิทัศน์ และสิ่งอำนวยความสะดวก (พื้นที่ให้บริการ) อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย ตำบลในเมือง อำเภอพิมาย จังหวัด นครราชสีมา (22) โครงการบูรณะและปรับปรุงภูมิทัศน์ประตูเมืองและคูเมืองพิมาย ด้านทิศตะวันออกอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย ตำบลในเมือง อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา (23) โครงการการเพิ่มศักยภาพการผลิตและยกระดับการเลี้ยงโคเนื้อสู่ฟาร์มมาตรฐาน (24) โครงการอีสานวากิวสู่ครัวโลก (25) โครงการพัฒนาห้องปฏิบัติการการทดสอบความเข้ากันได้ทางแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Compatibility EMC Test) (26) โครงการระบบระบายน้ำช่วงบ้านละกอ พร้อมอาคารประกอบ ตำบลศรีละกอ อำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา พื้นที่รับประโยชน์ 1,000 ไร่ (27) โครงการแก้จน คนโคราช ด้วยสัมมาชีพ (28) โครงการก่อสร้างระบบระบายน้ำ ลำปรุ ซอย 2/10 (ข้างโรงเรียนเมรี่เทคโน) ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา (29) โครงการพัฒนาและยกระดับเศรษฐกิจฐานรากเพื่อการเข้าถึงอาชีพและสร้างรายได้ของกลุ่มเปราะบาง ด้วยตลาดนำ เทคโนโลยีและนวัตกรรมเสริม “โมเดลเห็ดดี มีแฮง” จังหวัดนครราชสีมา (30) โครงการพัฒนาและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้งเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและแก้ไข ปัญหาความยากจนจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 162 กิจกรรม (31) โครงการปรับปรุงคลองส่งน้ำ ระบบกระจายน้ำในพื้นที่เกษตรกรรม จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 3 กิจกรรม (32) โครงการศูนย์ดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ (33) โครงการพัฒนาระบบบริการทางการแพทย์ หน่วยบริการปฐมภูมิเขตเมือง เพื่อลดความแออัดให้กับประชาชน ในเขตเมืองนครราชสีมา (34) โครงการพัฒนาโรงพยาบาลชุมชนแม่ข่าย (โรงพยาบาลโชคชัย) เพื่อเพิ่มศักยภาพระบบบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข และเพื่อลดความแออัดโรงพยาบาลศูนย์ (35) โครงการพัฒนาและยกระดับระบบบริการด้านการแพทย์และสาธารณสุข โรงพยาบาลโนนสูง เพื่อให้เป็นโรงพยาบาลแม่ข่าย (36) โครงการพัฒนาระบบบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข ให้มีศักยภาพสูง เพื่อรองรับการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกนครราชสีมา 2572 (37) โครงการก่อสร้างอาคารห้องชุด ครอบครัว 12 ยูนิต (24 ห้อง) เพื่อบุคลากรโรงพยาบาลมกุฏคีรีวัน อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา (38) โครงการก่อสร้างระบบรวบรวมน้ำเสียและปรับปรุงประสิทธิภาพระบบบำบัดน้ำเสียเทศบาลนคร นครราชสีมา ระยะที่ 3 (39) โครงการปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพอ่างเก็บน้ำและกระจายน้ำพร้อมระบบกระจายน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ จำนวน 2 กิจกรรม (40) โครงการพัฒนาและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนจากน้ำท่วมน้ำแล้งเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 8 กิจกรรม (41) โครงการก่อสร้างอาคารหอผู้ป่วยใน 5 ชั้น (จำนวน 114 เตียง) โรงพยาบาลห้วยแถลงแห่งใหม่ อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา (42) โครงการการประชุมวิชาการกล้วยไม้โลก ครั้งที่ 25 ประจำปี พ.ศ. 2572 และ (43) โครงการระบบผลิตน้ำประปาขนาดใหญ่ กำลังการผลิต 10 ลูกบาศก์เมตร/ชั่วโมง (SIZE L) จำนวน 3 กิจกรรม (ผลิตน้ำประปาดื่มได้)

                          2) ขอเร่งรัดดำเนินโครงการ จํานวน 5 โครงการ ประกอบด้วย (1) โครงการพัฒนาท่าเรือบก (Dry Port) นครราชสีมา เพื่อนำไปสู่การเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของภูมิภาค (2) การเปิดเส้นทางการบินพาณิชย์ ณ ท่าอากาศยานกองบิน 1 นครราชสีมา (3) โครงการขับเคลื่อนศูนย์ประชุมและจัดแสดงนิทรรศการนานาชาติ นครราชสีมา (4) โครงการ Soft Power จังหวัดนครราชสีมา และ (5) การขับเคลื่อนการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ NeEC - Bioeconomy

                    (3) ข้อเสนอประเด็นการพัฒนาจังหวัดชัยภูมิ จำนวน 2 เรื่อง 15 โครงการ ดังนี้

                          1) ขอรับการสนับสนุนการดำเนินโครงการ จำนวน 11 โครงการ ประกอบด้วย (1) โครงการยกระดับมาตรฐานเส้นทางคมนาคมสายหลัก (ขยายของทางจราจรถนนสายหลัก ให้เป็น 4 ช่องจราจร คลอดสายทาง) จำนวน 4 กิจกรรม (2) โครงการศึกษาความเหมาะสม และการสำรวจออกแบบเพื่อปรับปรุงและยกระดับระบบคมนาคมขนส่งและโลจิสติกส์ จำนวน 7 กิจกรรม (3) โครงการเพิ่มศักยภาพแหล่งท่องเที่ยว และพัฒนา Land Mark จังหวัดชัยภูมิ จำนวน 7 กิจกรรม (4) โครงการยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนอย่างครบวงจร จำนวน 5 กิจกรรม (5) โครงการพัฒนา แหล่งน้ำรองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจ จำนวน 23 กิจกรรม (6) โครงการยกระดับสินค้าเกษตรมูลค่าสูง เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน จำนวน 5 กิจกรรม (7) โครงการ Smart Economy (อบจ ชย.) (8) โครงการพัฒนาคุณภาพเด็กและเยาวชน (ครอบครัวชัยภูมิเข้มแข็ง) (9) โครงการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตรองรับสังคมผู้สูงอายุ จำนวน 3 กิจกรรม (10) โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านสาธารณสุข จำนวน 4 กิจกรรม และ (11) โครงการจัดหาน้ำประปา POG พัฒนาคุณภาพชีวิต 2) ขอเร่งรัดดำเนินโครงการ จำนวน 4 โครงการ ประกอบด้วย (1) ขอประกาศเป็นพื้นที่พิเศษ เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) - Phase 1 จำนวน 5 อำเภอ ได้แก่ คอนสาร/ภูเขียว/เกษตรสมบูรณ์/แก้งคร้อ และเมืองชัยภูมิ (ขอรับการสนับสนุนด้านวิจัยเพื่อพัฒนา (R&D)) (2) ขอจัดตั้ง ททท. สำนักงานชัยภูมิ (3) โครงการส่งเสริมด้านการตลาดการท่องเที่ยว จำนวน 3 กิจกรรม (ขอรับการสนับสนุนส่งเสริมด้านการตลาดการท่องเที่ยว) และ (4) โครงการการพัฒนาผลิตภัณฑ์ สร้างสรรค์ของฝากของที่ระลึกจังหวัดชัยภูมิ (ขอรับการสนับสนุนด้านวิจัยเพื่อพัฒนา (R&D))

                    (4) ข้อเสนอประเด็นการพัฒนาจังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 1 เรื่อง 7 โครงการ ดังนี้

                          1) ขอรับการสนับสนุนการดำเนินโครงการ จำนวน 7 โครงการ ประกอบด้วย (1) ก่อสร้างขยายทางหลวง 4 ช่องจราจร บนทางหลวงหมายเลข 348 อำเภอตาพระยา - อำเภอโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์ ระยะทาง 28.00 กิโลเมตร (2) ก่อสร้างขยายถนนลาดยางแอสฟัลติกคอนกรีต ทางหลวงหมายเลข 2445 ตอน บุรีรัมย์ - แสลงโทน ตำบลแสลงโทน อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ระยะทาง 0.745 กิโลเมตร (3) โครงการการส่งเสริมและการพัฒนาตลาดการค้าชายแดน (4) โครงการพัฒนาแหล่งน้ำรองรับการขยายตัวพื้นที่เขตเศรษฐกิจ (เพิ่มประสิทธิภาพอ่างเก็บน้ำห้วยยาง ตำบลดอนอะราง อำเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์) (5) โครงการก่อสร้างปรับปรุงขยาย การประปาส่วนภูมิภาคสาขาบุรีรัมย์ (6) โครงการพัฒนาแหล่งน้ำรองรับการขยายตัวพื้นที่เขตเศรษฐกิจ และ (7) โครงการพัฒนาแหล่งน้ำในลุ่มน้ำลำปะเทีย ลุ่มน้ำลำตะโคง บรรเทาปัญหาภัยแล้งและอุทกภัยพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์

                    (5) ข้อเสนอประเด็นการพัฒนาจังหวัดสุรินทร์ จำนวน 2 เรื่อง 12 โครงการ ดังนี้

                          1) ขอรับการสนับสนุนการดำเนินโครงการ จำนวน 9 โครงการ ประกอบด้วย (1) งานก่อสร้างโครงข่ายทางหลวงแผ่นดิน กิจกรรมก่อสร้างเพิ่มประสิทธิภาพทางหลวง ทางหลวงหมายเลข 2076 ตอนท่าตูม-หนองฮู ตำบลหนองบัว อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ ระยะทาง 1.500 กิโลเมตร (2) โครงการซ่อมสร้างผิวทางแอสฟัลติกคอนกรีต สายบ้านลำเพ็ญ สะพานข้ามแม่น้ำมูลสีลาพิราม รหัสสายทาง รอ.018 อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ จำนวน 1 แห่ง (3) โครงการขุดลอกอ่างเก็บน้ำห้วยเสนง บ้านตามีย์ ตำบลเฉนียง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ปริมาตรดินขุดไม่น้อยกว่า 800,000 ลูกบาศก์เมตร (4) โครงการขุดลอกอ่างเก็บน้ำหนองกระทุม พร้อมอาคารประกอบ ตำบลชุมพลบุรี อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ ปริมาตรดินขุดไม่น้อยกว่า 180,000 ลูกบาศก์เมตร (5) โครงการขุดลอกอ่างเก็บน้ำอำปึล บ้านใต้ฆ้อง ตำบลตาอ็อง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ปริมาตรดินขุดไม่น้อยกว่า 800,000 ลูกบาศก์เมตร (6) โครงการขุดลอกอ่างเก็บน้ำห้วยแก้ว บ้านสร้างบก ตำบลหนองบัวบาน อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ ปริมาตรดินขุดไม่น้อยกว่า 300,000 ลูกบาศก์เมตร (7) โครงการก่อสร้างระบบผลิตน้ำประปาแบบ POG TANKS (Size L) จํานวน 2 กิจกรรม (8) โครงการก่อสร้างระบบผลิตน้ำประปาแบบ POG TANKS (SIZE M) จํานวน 2 กิจกรรม และ (9) โครงการเครื่องแปลงขยะเศษอาหารและเศษวัชพืชโดยใช้จุลินทรีย์ (Food Waste and Weed Waste Recycling Machine) ณ ศูนย์คัดแยกขยะเทศบาลตำบลเมืองที อำเภอ เมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์

                          2) ขอเร่งรัดดำเนินโครงการ จำนวน 3 โครงการ ประกอบด้วย (1) ขอให้เร่งรัดผลักดันการพัฒนาด่านพรมแดนช่องจอม ตำบลด่าน อำเภอกาบเชิง จังหวัด สุรินทร์ (2) ขอให้เร่งรัดผลักดันการศึกษาความเป็นไปได้การพัฒนาท่าอากาศยานสุรินทร์ และ (3) ขอให้ผลักดันโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำลุ่มน้ำห้วยเสนงและอำปึลจังหวัดสุรินทร์

              3.3 การพิจารณาข้อเสนอกลุ่มจังหวัดฯ ของภาคเอกชน (กรอ. กลุ่มจังหวัด) จํานวน 92 โครงการ โดย สศช. สำนักงบประมาณ จังหวัดและกลุ่มจังหวัด และภาคเอกชน พบว่าข้อเสนอกลุ่มจังหวัดฯ ของภาคเอกชนที่มีความพร้อมดำเนินการแล้วเสร็จภายใน 1 ปี จำนวน 8 โครงการ กรอบวงเงิน 247,153,400 บาท ดังนี้ (1) โครงการปรับปรุงก่อสร้างถนนเข้าสู่แหล่งท่องเที่ยว สายทางเข้าเขื่อนลำแขะ ตำบลโคกกระชาย อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา ผิวจราจรกว้าง 6.00 ม. ไหล่ทางกว้างข้างละ 0.00-1.00 ม. ระยะทาง 4.200 กม. วงเงิน 35,000,000 บาท (2) โครงการสร้างเศรษฐกิจ เพิ่มมูลค่า “อาหาร SAN ดี” ประจำถิ่นนครชัยบุรินทร์ From Local to Global วงเงิน 14,653,400 บาท (3) โครงการระบบระบายน้ำช่วงบ้านละกอ พร้อมอาคารประกอบ ตำบลศรีละกอ อำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา พื้นที่รับประโยชน์ 1,000 ไร่ วงเงิน 32,000,000 บาท (4) โครงการ ขับเคลื่อน Soft Power โคราชเมืองศิลปะ วงเงิน 8,500,000 บาท (5) โครงการฟื้นฟูภูมิทัศน์วัฒนธรรมคูเมืองกำแพงเมือง เสริมความมั่นคงประตูเมืองด้านทิศเหนือ (ประตูผี) อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย ตำบลในเมือง อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา วงเงิน 7,000,000 บาท (6) โครงการเพิ่มศักยภาพแหล่งท่องเที่ยว และพัฒนา Land Mark จังหวัดชัยภูมิ จำนวน 3 กิจกรรม วงเงิน 50,000,000 บาท (7) โครงการพัฒนาแหล่งน้ำรองรับการขยายตัวพื้นที่เขตเศรษฐกิจ (เพิ่มประสิทธิภาพอ่างเก็บน้ำห้วยยาง ตำบลดอนอะราง อำเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์) วงเงิน 50,000,000 บาท และ (8) งานก่อสร้างโครงข่ายทางหลวงแผ่นดิน กิจกรรมก่อสร้างเพิ่มประสิทธิภาพทางหลวง ทางหลวงหมายเลข 2076 ตอนท่าตูม-หนองฮู ตำบลหนองบัว อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ ระยะทาง 1.500 กิโลเมตร วงเงิน 50,000,000 บาท

                    มติที่ประชุม :

                    (1) เห็นชอบในหลักการของโครงการที่เป็นข้อเสนอของภาคเอกชน (กรอ.กลุ่มจังหวัด) จำนวน 8 โครงการ กรอบวงเงิน 247,153,400 บาท โดยให้ส่วนราชการที่เป็นหน่วยงานเจ้าของโครงการขอรับการจัดสรรจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด และให้หน่วยงานเจ้าของโครงการเร่งจัดทำข้อเสนอโครงการ โดยให้ความสำคัญกับความคุ้มค่า และผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการใช้จ่ายงบประมาณอย่างรอบคอบ รวมทั้งให้จังหวัดและกลุ่มจังหวัด นำโครงการบรรจุไว้ในแผนพัฒนาจังหวัดและแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดตามขั้นตอนต่อไป

                    (2) มอบหมายให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปพิจารณาโครงการที่เป็นข้อเสนอของภาคเอกชน (กรอ กลุ่มจังหวัด) ในข้อ 3.2 ในส่วนที่เหลือจำนวน 84 โครงการ เพื่อบรรจุไว้ในแผนการปฏิบัติราชการประจำปีของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและขอรับการจัดสรรงบประมาณตามขั้นตอนต่อไป

              3.4 ในการประชุมหารือระหว่างรองนายกรัฐมนตรี (นายอนุทิน ชาญวีรกูล) กับผู้ว่าราชการจังหวัดและภาคเอกชนในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 (นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ และสุรินทร์) เมื่อวันจันทร์ที่ 1 กรกฎาคม 2567 ณ ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา ชั้น 4 จังหวัดนครราชสีมา มีข้อเสนอเพิ่มเติมจากภาคเอกชน จำนวน 4 เรื่อง ดังนี้

                    (1) การขอรับการสนับสนุนโครงการส่งเสริมและสร้างศูนย์กลางอุตสาหกรรมโคเนื้อครบวงจรในพื้นที่นครชัยบุรินทร์ และอีสานใต้ โดยมอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมกับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงมหาดไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปพิจารณาดำเนินการตามขั้นตอน

                    (2) การขอเร่งรัดผลักดันการยกระดับจุดผ่อนปรนทางการค้าช่องสายตะกู ตำบลจันทบเพชร อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นจุดผ่านแดนถาวร โดยมอบหมายให้กระทรวงมหาดไทย ร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปพิจารณาตามขั้นตอน

                    (3) การยกระดับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน (มทร.อีสาน) ให้เป็นศูนย์กลางวัตกรรมทางการแพทย์และการส่งเสริมสุขภาพ (Wellness and Medical hub) โดยมอบหมายให้กรมป่าไม้รับไปพิจารณาผ่อนผันการอนุญาตใช้พื้นที่ดำเนินการ และมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) พิจารณามาตรการที่เอื้อต่อการลงทุนไปสู่ศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ โดยพิจารณากำหนดขอบเขตพื้นที่สำหรับการส่งเสริมเป็นการเฉพาะในลักษณะเดียวกันกับย่านนวัตกรรมการแพทย์โยธี (Yothi Medical Innovation District: YMID)

                    (4) การศึกษาความเป็นไปได้การดำเนินโครงการรถไฟท่องเที่ยวคุณภาพสูงเชื่อมโยงเส้นทางกรุงเทพฯ - นครชัยบุรินทร์ และหัวเมืองใหญ่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น จังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดหนองคาย เป็นต้น โดยมอบหมายให้การรถไฟแห่งประเทศไทยรับไปพิจารณาดำเนินการต่อไป

                    มติที่ประชุม

                    มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับข้อเสนอไปพิจารณาดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง

                    ประโยชน์และผลกระทบ

                    หากคณะรัฐมนตรีรับทราบและให้ความเห็นชอบการดำเนินงานตามผลการประชุมฯ จะเป็นมาตรการหนึ่งที่ช่วยลนับสนุนการยกระดับกลุ่มจังหวัดฯ ให้เป็นประตูสู่ภาคอีสาน ศูนย์กลางการทองเที่ยวอารยธรรม และเกษตรมูลค่าสูง (Isan Gateway to Cultural Heritage and Bioeconomy Hub) โดยการยกระดับการท่องเที่ยวให้เป็นแหล่งเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ที่มีความหลากหลายสู่ระดับสากล (World Class Tourism) มีพื้นที่เหมาะสมสำหรับอุตสาหกรรมแปรรูปและเศรษฐกิจชีวภาพ (Future Food & Bioeconomy ให้เป็นฐานเศรษฐกิจที่สร้างรายได้ให้กับพื้นที่ การพัฒนาโครงข่ายคมนาคมขนส่ง Logistics Hub เชื่อมโยงพื้นที่เศรษฐกิจชุมชนและระหว่างภูมิภาค อันจะก่อเกิดการสร้างโอกาส สร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ นำไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตและแก้ไขปัญหาความยากจน (Well-being & Poverty Reduction) ให้คนในพื้นที่ได้อย่างทั่วถึงและมีภูมิคุ้มกันที่ดีขึ้น

 

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) 2 กรกฎาคม 2567

 

 

7076

Click Donate Support Web 

SME720x100 2024

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

QIC 720x100

TOA 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

kbank 720x100 66

ธกส 720x100PTG 720x100

ใจฟู720x100px

AXA 720 x100 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!