การปรับเงื่อนไขการชดใช้ทุนหลังสำเร็จการศึกษาของนักเรียนทุนโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยไปศึกษาต่อ ณ สถาบันโคเซ็น ประเทศญี่ปุ่น
- Details
- Category: มติ ครม.
- Published: Tuesday, 25 June 2024 22:53
- Hits: 10875
การปรับเงื่อนไขการชดใช้ทุนหลังสำเร็จการศึกษาของนักเรียนทุนโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยไปศึกษาต่อ ณ สถาบันโคเซ็น ประเทศญี่ปุ่น
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เสนอดังนี้
1. เห็นชอบให้ปรับเงื่อนไขการชดใช้ทุนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานเพื่อใช้ทุนหลังสำเร็จการศึกษาของนักเรียนทุนโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย (นักเรียนทุน จ.ภ.) ระยะที่ 2 โดยผู้รับทุนจะเข้าปฏิบัติงานในหน่วยงานชดใช้ทุน หรือหน่วยงานของรัฐที่ผู้ให้ทุนกำหนด และรับเดือนตามที่หน่วยงานนั้นๆ กำหนด เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าของระยะเวลาที่ได้รับทุนตามสัญญา โดย “หน่วยงานชดใช้ทุน” ให้หมายความรวมรวมถึงภาคอุตสาหกรรม สถาบันไทยโคเซ็น และหน่วยงานของรัฐ “ภาคอุตสาหกรรม” ให้หมายความถึง ภาคอุตสาหกรรมเป้าหมายทั้งกลุ่มอุตสาหกรรมเดิมที่มีศักยภาพและกลุ่มอุตสาหกรรมอนาคตในประเทศไทย1 โดยไม่จำกัดภูมิภาคในประเทศไทยและไม่จำกัดสัญชาติของบริษัทที่ตั้งอยู่ในประเทศไทยและ “หน่วยงานของรัฐในกำกับของฝ่ายบริหาร”2 ให้หมายความถึง ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน หน่วยธุรการขององค์การของรัฐที่เป็นอิสระ กองทุนที่เป็นนิติบุคคล หน่วยบริการรูปแบบพิเศษ และหน่วยงานที่มีกฎหมายหรือมติคณะรัฐมนตรีกำหนดให้เป็นหน่วยงานของรัฐ
2. เห็นชอบให้ปรับเงื่อนไขการชดใช้ทุนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานเพื่อใช้ทุนหลังสำเร็จการศึกษาของนักเรียนทุน จ.ภ. ระยะที่ 1 โดยให้เป็นไปตามเงื่อนไขการปฏิบัติงานเพื่อใช้ทุนหลังสำเร็จการศึกษาของนักเรียนทุน จ.ภ. ระยะที่ 2 ตามข้อ 1. เนื่องจากเป็นการให้ทุนการศึกษาในลักษณะเดียวกันกับการดำเนินงานโครงการทุนการศึกษาต่อสำหรับนักเรียนทุน จ.ภ. ไปศึกษาต่อ ณ National Institute of Technology (KOSEN) ของประเทศญี่ปุ่น (สถาบันโคเซ็น)
สาระสำคัญ
กระทรวงศึกษาธิการเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบให้ปรับเงื่อนไขการชดใช้ทุนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานเพื่อใช้ทุนหลังสำเร็จการศึกษาของนักเรียนทุนโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย (นักเรียนทุน จ.ภ.) ระยะที่ 1 และระยะที่ 2 ซึ่งผู้รับทุนจะเข้าปฏิบัติงานในหน่วยงานชดใช้ทุนหรือหน่วยงานของรัฐที่ผู้ให้ทุนกำหนดและรับเงินเดือนตามที่หน่วยงานนั้นๆ กำหนด เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าของระยะเวลาที่ได้รับทุนตามสัญญา โดย “หน่วยงานชดใช้ทุน” ให้หมายความรวมถึงภาคอุตสาหกรรม สถาบันไทยโคเซ็น และหน่วยงานของรัฐ ซึ่งการดำเนินการในครั้งนี้เพื่อให้เงื่อนไขการชดใช้ทุนของนักเรียนทุน จ.ภ. ทั้ง 2 ระยะ ซึ่งเป็นทุนประเภทเดียวกันมีแนวทางเหมือนกันและเป็นการขยายสถานที่การปฏิบัติงานเพื่อรองรับนักเรียนทุน จ.ภ. ที่สำเร็จการศึกษาให้สามารถเข้าปฏิบัติงานได้เพิ่มขึ้น รวมทั้งเพื่อให้การจัดสรรทุนดังกล่าวเกิดประโยชน์ต่อประเทศโดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมที่มีความต้องการกำลังคนทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่มีความรู้ ความสามารถด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นและดึงดูดนักลงทุนให้เข้ามาลงทุนในประเทศ โดยเฉพาะในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษโดยมีรายละเอียด สรุปได้ ดังนี้
มติคณะรัฐมนตรี |
เงื่อนไขการชดใช้ทุน (เดิม) |
เงื่อนไขการชดใช้ทุน (เสนอในครั้งนี้) |
||||||
รายละเอียด |
จำนวนปี |
รายละเอียด |
จำนวนปี |
|||||
3 มกราคม 2561 (ระยะที่ 1) |
ผู้รับทุนต้องปฏิบัติงานราชการหรือปฏิบัติงานของราชการในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการหรือหน่วยงานรัฐบาล |
ไม่น้อยกว่า 2 เท่า ของระยะเวลาที่ได้รับทุนการศึกษา |
ผู้รับทุนปฏิบัติงานในหน่วยงานชดใช้ทุนหรือหน่วยงานของรัฐที่ผู้ให้ทุนกำหนด โดย “หน่วยงานชดใช้ทุน” หมายถึง ภาคอุตสาหกรรมสถาบันไทยโคเซ็นและหน่วยงานของรัฐ |
ไม่น้อยกว่า 1 เท่าของระยะเวลาที่ได้รับทุนตามสัญญา |
||||
4 ธันวาคม 2561 (ระยะที่ 2) |
ผู้รับทุนต้องปฏิบัติงานเป็นครูหรือบุคลากรทางการศึกษาในตำแหน่งวิศวกรปฏิบัติการในสถาบันไทยโคเซ็นหรือรับราชการในหน่วยงานของรัฐ |
ไม่น้อยกว่า 1 เท่า ของระยะเวลาที่ได้รับทุนการศึกษา |
ทั้งนี้ สำนักงบประมาณ สำนักงาน ก.พ. สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและสำนักงาน ก.พ.ร. พิจารณาแล้วเห็นชอบ/เห็นชอบในหลักการตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอโดยมีความเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติมบางประการ เช่น ควรมีการกำหนดสัดส่วนของนักเรียนทุน จ.ภ. ที่จะชดใช้ทุนในสถานที่ปฏิบัติงานต่างๆ ควรพิจารณาให้ตามความต้องการบุคลากรของหน่วยงานของรัฐให้กำกับของฝ่ายบริหารเป็นลำดับแรกก่อน
_____________________
1 คณะรัฐมนตรีมีมติ (17 พฤศจิกายน 2558) เห็นชอบในหลักการข้อเสนอ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ประกอบด้วย อุตสาหกรรมเดิม (First S-Curve) จำนวน 5 อุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ อุตสาหกรรมท่องเที่ยว ส่วนอุตสาหกรรมอนาคต (New S-Curve) จำนวน 5 อุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ อุตสาหกรรมดิจิทัล
2 สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีประสานข้อมูลเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2567 ศธ. แจ้งยืนยันจะใช้คำว่า หน่วยงานของรัฐ แทนคำว่า หน่วยงานของรัฐในกำกับของฝ่ายบริหาร ซึ่งครอบคลุมหน่วยงานตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2552
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) 25 มิถุนายน 2567
6791