รายงานผลการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ไปพลางก่อน
- Details
- Category: มติ ครม.
- Published: Thursday, 20 June 2024 02:45
- Hits: 8006
รายงานผลการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ไปพลางก่อน
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ไปพลางก่อนตามที่สำนักงบประมาณ (สงป.) เสนอ
สาระสำคัญ
สงป. รายงานว่า
1. เนื่องจากพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ประกาศในราชกิจจาบุเบกษา เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2567 สงป. จึงได้ดำเนินการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานและการใช้จ่ายงบประมาณ ตามแผนปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ไปพลางก่อน ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2566 ถึงวันที่ 19 เมษายน 2567 สรุปได้ ดังนี้
หน่วย : ล้านบาท
งบประมาณรายจ่าย พ.ศ. 2566 ไปพลางก่อน |
||||||||
จำแนก รายจ่าย |
แผนการใช้จ่ายฯ |
จัดสรร |
ผลการเบิกจ่าย1 |
ผลการใช้จ่าย2 (ก่อหนี้) |
||||
จำนวน |
ร้อยละ3 |
จำนวน |
ร้อยละ4 |
จำนวน |
ร้อยละ5 |
จำนวน |
ร้อยละ6 |
|
ภาพรวม |
1,878,556.52 |
58.98 |
1,837,718.05 |
97.83 |
1,611,838.64 |
85.80 |
1,647,803.15 |
87.72 |
รายจ่ายประจำ |
1,693,116.33 |
67.19 |
1,681,551.09 |
99.32 |
1,512,669.51 |
89.34 |
1,524,823.12 |
90.06 |
รายจ่ายลงทุน |
185,440.19 |
27.89 |
156,166.96 |
84.21 |
99,169.13 |
53.48 |
122,980.03 |
66.32 |
2. สำหรับผลการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายและผลการปฏิบัติงานของหน่วยรับงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ไปพลางก่อน จำแนกตามยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณ 6 ยุทธศาสตร์และ 1 รายการ สรุปได้ ดังนี้
2.1 ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง |
จำนวน (ล้านบาท) |
ร้อยละ |
จัดสรร |
174,123.04 |
- |
ผลการเบิกจ่าย |
113,944.30 |
65.44 |
ผลการใช้จ่าย (ก่อหนี้) |
127,430.18 |
73.18 |
ตัวอย่างผลการปฏิบัติงาน |
(1) ด้านความพร้อมของกองทัพ กองทัพมีความพร้อมในการเผชิญภัยคุกคามทุกรูปแบบไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 จากการมีนโยบาย มาตรการและแผนปฏิบัติการด้านความมั่นคง (2) ด้านการแก้ไขปัญหาภาคใต้ มีการจัดประชุมหารือกับประเทศเพื่อนบ้านภายใต้กรอบกลไกทวิภาคี การจัดกิจกรรมเพื่อสร้างความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ การจัดกิจกรรมส่งเสริมสังคมพหุวัฒนธรรม จำนวน 30 ชุมชน และการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 4,559 ราย (3) ด้านการค้ามนุษย์ มีการช่วยเหลือและคุ้มครองผู้เสียหาย จำนวน 148 ราย มีการออกหนังสือคนประจำเรือสำหรับต่างด้าวให้แก่แรงงานประมงเพื่อป้องกันปัญหาประมงผิดกฎหมาย จำนวน 28,835 ราย (4) ด้านการต่างประเทศ มีการส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือในการเสริมสร้างความมั่นคงที่ครอบคลุม (Comprehensive Security) ในกรอบอาเซียน
|
|
2.2 ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน |
จำนวน (ล้านบาท) |
ร้อยละ |
จัดสรร |
164,641.20 |
- |
ผลการเบิกจ่าย |
132,554.66 |
80.51 |
ผลการใช้จ่าย (ก่อหนี้) |
143,276.11 |
87.02 |
ตัวอย่างผลการปฏิบัติงาน |
จากการประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2567 คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มที่จะขยายตัวร้อยละ 2.4 โดยภาครัฐได้มีการดำเนินมาตรการ ต่างๆ เช่น การจัดทำแผนผลักดันซอฟต์พาวเวอร์ของประเทศ นโยบายสนับสนุนศักยภาพและความสามารถในการแข่งขันและกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศอย่างต่อเนื่อง การผลักดันการลงทุนของผู้ประกอบการไทยในต่างประเทศเพื่อแสวงหาตลาดใหม่ และกิจกรรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศโดยประสบผลสำเร็จ เช่น (1) มูลค่าส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์ จำนวน 7,612.74 ล้านบาท (2) มูลค่าการเจรจาการค้า จำนวน 38,077 ล้านบาท (3) มูลค่าการค้าของผู้ประกอบการฐานราก จำนวน 2,569.28 ล้านบาท (4) มีคำขอรับการส่งเสริมการลงทุนมูลค่าไม่น้อยกว่า 400,466 ล้านบาท เป็นต้น อีกทั้งภาครัฐได้มีการดำเนินนโยบายลดค่าครองชีพของประชาชน โดยการจัดหาสินค้าราคาประหยัดเพื่อจำหน่ายให้แก่ประชาชน จำนวน 888 ครั้ง สามารถลดรายจ่ายในการซื้อสินค้าเป้าหมายที่จำเป็น ร้อยละ 30
|
|
2.3 ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ |
จำนวน (ล้านบาท) |
ร้อยละ |
จัดสรร |
322,105.05 |
- |
ผลการเบิกจ่าย |
288,627.72 |
89.61 |
ผลการใช้จ่าย (ก่อหนี้) |
291,393.40 |
90.47 |
ตัวอย่างผลการปฏิบัติงาน |
(1) มีผู้เข้ารับการถ่ายทอดความรู้สำหรับวิถีชีวิตในศตวรรษที่ 21 จำนวน 4,699,216 คน (2) ครูและบุคลากรทางการศึกษาร้อยละ 110.81 ได้รับการส่งเสริมความก้าวหน้าทางวิชาชีพและสวัสดิการ (3) นักเรียนกลุ่มเป้าหมายร้อยละ 144.37 ได้รับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นในโลกยุคใหม่ (ดิจิทัล/ภาษาอังกฤษ) ตลอดจนมีการส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการสมวัย (4) ผู้สูงอายุ จำนวน 5,559 คน ได้รับการพัฒนาทักษะ ส่งเสริมการมีงานทำ และได้รับสวัสดิการด้านแรงงาน จำนวน 3,532 คน (5) แรงงาน จำนวน 566,396 คน ได้รับความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด (6) บุคลากรในอุตสาหกรรมดิจิทัล อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ หุ่นยนต์ และระบบอัตโนมัติ จำนวน 150 คน ได้รับการฝึกอบรมและเข้ารับการประเมินสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ (7) มีการพัฒนาโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขให้มีคุณภาพมาตรฐานผ่านการรับรอง HA ขั้น 3 ร้อยละ 97.64
|
|
2.4 ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม |
จำนวน (ล้านบาท) |
ร้อยละ |
จัดสรร |
502,800.28 |
- |
ผลการเบิกจ่าย |
466,773.41 |
92.83 |
ผลการใช้จ่าย (ก่อหนี้) |
467,509.13 |
92.98 |
ตัวอย่างผลการปฏิบัติงาน |
(1) การกระจายการถือครองที่ดินและการเข้าถึงทรัพยากร โดยมีเกษตรกรได้รับสิทธิเข้าทำประโยชน์ในที่ดิน จำนวน 16,003 ราย (2) ครัวเรือนผู้มีรายได้น้อยในเมืองและชนบทมีที่อยู่อาศัยและสิทธิในที่ดินเป็นของตนเองเพิ่มขึ้น จำนวน 18,186 ครัวเรือน รวมถึงการพิสูจน์สิทธิของประชาชนที่มีปัญหาข้อพิพาทในเขตที่ดินของรัฐได้รับการแก้ไขปัญหาจนเป็นที่ยุติ จำนวน 581 แปลง (3) จำนวนเรื่องร้องทุกข์ที่เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคในปีปัจจุบันได้รับการดำเนินการจนได้ข้อยุติ ร้อยละ 34.04 (4) จำนวนแรงงานที่อยู่ในระบบประกันสังคม จำนวน 24,633,584 คน (5) กลุ่มด้อยโอกาสและกลุ่มเปราะบางได้รับการคุ้มครองทางสังคม เพียงพอต่อการดำรงชีวิต จำนวน 2,887,281 คน (6) ผู้พิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้จากสิทธิ สิ่งอำนวยความสะดวก และบริการสาธารณะที่เอื้อต่อการดำรงชีวิต จำนวน 187,417 คน
|
|
2.5 ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างการเติบโตคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม |
จำนวน (ล้านบาท) |
ร้อยละ |
จัดสรร |
39,055.75 |
- |
ผลการเบิกจ่าย |
27,184.24 |
69.60 |
ผลการใช้จ่าย (ก่อหนี้) |
31,866.54 |
81.59 |
ตัวอย่างผลการปฏิบัติงาน |
(1) ดูแลรักษาพื้นที่ป่าให้เป็นป่าธรรมชาติ จำนวน 98.36 ล้านไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 30 ของพื้นที่ประเทศ (2) มีเป้าหมายพัฒนาศักยภาพพื้นที่ทางธรรมชาติให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ จำนวน 9 แห่ง (3) ยกระดับคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้วยการจัดการขยะมูลฝอย และของเสียอันตราย รวมถึง จัดการคุณภาพน้ำ คุณภาพอากาศทุกพื้นที่ทั่วประเทศ (4) จัดการแก้ไขปัญหาขยะทะเล จำนวน 102.62 ตัน (5) ถ่ายทอดความรู้ให้แก่เกษตรกรรวมทั้งสร้างเครือข่ายเกษตรกรปลอดการเผาในพื้นที่เกษตรกรรม จำนวน 16,500 ราย ส่งผลให้ลดการเผาในพื้นที่เกษตรกรรม ไม่น้อยกว่าจำนวน 15,072 ไร่ ครัวเรือนเกษตรได้รับประโยชน์จากการลดการเผาในพื้นที่เกษตรกรรม จำนวน 1,507 ครัวเรือน (6) มีเป้าหมายในการอนุรักษ์ฟื้นฟู เพิ่มประสิทธิภาพแหล่งน้ำบาดาล จำนวน 323 แห่ง ให้ประชาชนสามารถใช้ประโยชน์เพื่อการอุปโภคบริโภคและการเกษตรได้อย่างต่อเนื่องจำนวน 34,584 ครัวเรือน รวมทั้งการปฏิบัติการฝนหลวงทำให้มีปริมาณน้ำฝนในเขื่อนและอ่างเก็บน้ำ จำนวน 120.51 ล้านลูกบาศก์เมตร
|
|
2.6 ยุทธศาสตร์ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ |
จำนวน (ล้านบาท) |
ร้อยละ |
จัดสรร |
431,526.55 |
- |
ผลการเบิกจ่าย |
405,624.27 |
94.00 |
ผลการใช้จ่าย (ก่อหนี้) |
409,009.60 |
94.78 |
ตัวอย่างผลการปฏิบัติงาน |
(1) หน่วยงานภาครัฐมีการเชื่อมโยง โดยผ่านเครือข่ายสื่อสารภาครัฐ จำนวน 2,169 หน่วยงานและมีการเชื่อมโยงหน่วยงาน/ระบบสำคัญด้วย DG Links จำนวน 301 หน่วยงาน (2) มีระบบงานสำคัญที่ติดตั้งอยู่บน DGA Cloud เพื่อให้บริการแก่หน่วยงานภาครัฐหรือภาคประชาชน จำนวน 3 ระบบ และมีการพัฒนา/ปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานและการให้บริการให้เป็นดิจิทัล จำนวน 19 ระบบ (3) นำเทคโนโลยีมาประยุกต์ในการให้บริการประชาชน อาทิ ศูนย์ช่วยเหลือและจัดการปัญหาออนไลน์ (4) มีการปรับปรุง/ทบทวน กฎหมาย กฎ ระเบียบให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งส่งเสริมให้ประชาชนและเจ้าหน้าที่ของรัฐได้รับความรู้ความเข้าใจในกฎหมาย กระบวนการยุติธรรม หลักการสิทธิมนุษยชน และสามารถปกป้องคุ้มครองสิทธิของตัวเองโดยไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น
|
|
2.7 รายการค่าดำเนินการภาครัฐ |
จำนวน (ล้านบาท) |
ร้อยละ |
จัดสรร |
203,466.18 |
- |
ผลการเบิกจ่าย |
177,130.04 |
87.06 |
ผลการใช้จ่าย (ก่อหนี้) |
177,318.19 |
87.15 |
อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาจากรายงานผลการปฏิบัติงานและผลการใช้จ่ายงบประมาณของหน่วยรับงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ไปพลางก่อน พบว่า ผลการปฏิบัติงานและใช้จ่ายงบประมาณต่ำกว่าแผนฯ ที่กำหนดไว้ โดย สงป. ได้รวบรวมปัญหาและอุปสรรคจากการใช้จ่ายงบประมาณและข้อเสนอแนะเพื่อเป็นแนวทางในการบริหารงบประมาณของหน่วยรับงบประมาณ ดังนี้
ปัญหาและอุปสรรค |
(1) หน่วยรับงบประมาณบางหน่วยมีการใช้จ่ายงบประมาณจากเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปีก่อนเป็นลำดับแรกและดำเนินการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ไปพลางก่อน เป็นลำดับถัดมา ส่งผลให้การใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ไปพลางก่อน ต่ำกว่าแผนที่กำหนด (2) หน่วยรับงบประมาณมีการก่อหนี้ผูกพันงบประมาณหรือลงนามในสัญญาแล้ว แต่ยังไม่สามารถเบิกจ่ายงบประมาณได้ เนื่องจากผู้รับจ้างรอเบิกจ่ายวงเงินทั้งสัญญาในคราวเดียวหลังดำเนินการแล้วเสร็จ หรือผู้รับจ้างไม่สามารถส่งมอบงานได้ตามงวดงาน เนื่องจากมีการปรับกลุ่มเป้าหมายให้สอดคล้องกับแนวนโยบายของรัฐบาลและขาดการบูรณาการของหน่วยงานภายใต้แผนงานบูรณาการ รวมถึงขาดความพร้อมด้านบุคลากร เทคโนโลยีสารสนเทศ ส่งผลให้การดำเนินงานและการใช้จ่ายงบประมาณในภาพรวมไม่บรรลุเป้าหมายตามแผนที่กำหนด (3) สำหรับรายจ่ายลงทุนที่หน่วยรับงบประมาณดำเนินการล่าช้ายังไม่เข้าสู่กระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง พบว่าบางหน่วยอยู่ระหว่างสำรวจออกแบบ กำหนดราคากลาง จัดทำขอบเขตของงาน (TOR) และปรับแบบรูปรายการให้สอดคล้องกับสภาพพื้นที่จริง หรือมีการประกาศประกวดราคาแล้ว แต่ไม่มีผู้ยื่นเสนอราคา บางรายการมีผู้ยื่นเสนอราคาเพียงรายเดียว หรือมีผู้ยื่นเสนอราคาแต่ไม่ตรงตามคุณลักษณะที่กำหนด จึงต้องเข้าสู่กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างใหม่ รวมถึงราคาพัสดุ/ครุภัณฑ์ วัสดุก่อสร้างและค่าแรงปรับราคาสูงขึ้น ทำให้ต้องมีการปรับคุณลักษณะ/แบบรูปรายการ ส่งผลให้การดำเนินงานและการใช้จ่ายงบประมาณไม่เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ |
ข้อเสนอแนะ |
(1) เนื่องจากพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2567 จึงเห็นควรให้หน่วยรับงบประมาณเร่งรัดดำเนินการตามมาตรการเร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ของ สงป. และมาตรการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ของคณะกรรมการติดตามเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐ โดยเร่งรัดการก่อหนี้ผูกพันและเบิกจ่ายงบประมาณรายการผูกพันข้ามปีงบประมาณที่เป็นรายจ่ายลงทุนรายการใหม่ ให้หน่วยรับงบประมาณจัดส่งรายละเอียดประกอบที่เกี่ยวข้องให้ สงป. พิจารณาความเหมาะสมของราคาควบคู่ไปกับการดำเนินกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง และเมื่อได้ผลการจัดซื้อจัดจ้างแล้วหากไม่เกินวงเงินที่ สงป. ให้ความเห็นชอบ ให้แจ้ง สงป. ทราบและดำเนินการทำสัญญาก่อหนี้ผูกพันต่อไปได้ รวมทั้งพิจารณากำหนดระยะเวลาการส่งมอบงานให้รวดเร็วขึ้นเพื่อให้ทันการเบิกจ่ายภายในเดือนกันยายน 2567 ทั้งนี้ หากคาดว่ามีรายการงบประมาณที่จะไม่สามารถก่อหนี้ได้ทันภายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ให้หน่วยรับงบประมาณแจ้ง สงป. เพื่อร่วมกันหาแนวทางแก้ไขเป็นรายกรณีในโอกาสแรก เพื่อให้การบริหารงบประมาณมีประสิทธิภาพสูงสุด และป้องกันมิให้เงินพับตกไปเมื่อสิ้นปีงบประมาณ (2) เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายตามมาตรการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จึงเห็นสมควรมอบหมายให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดหรือรัฐมนตรีที่ควบคุม กำกับ และดูแลหน่วยรับงบประมาณ หรือรัฐมนตรีผู้รักษาการตามกฎหมาย กำกับดูแล รวมถึงติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานและการใช้จ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด |
________________
1 วงเงินงบประมาณที่จ่ายไปแล้ว
2 วงเงินงบประมาณที่จ่ายไปแล้ว รวมกับใบสั่งซื้อสั่งจ้าง (Purchase Order: PO) (ใบจองเงินเพื่อกันไว้เบิกจ่ายเงินงบประมาณของส่วนราชการ)
3 ร้อยละ/วงเงินงบประมาณในพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
4 ร้อยละ/แผนการใช้จ่ายฯ
5 ร้อยละ/วงเงินงบประมาณที่จัดสรร
6 ร้อยละ/วงเงินงบประมาณที่จัดสรร
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ (รองนายกรัฐมนตรี) 18 มิถุนายน 2567
6570