ผลการประชุมคณะกรรมการติดตามเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐ ครั้งที่ 1/2567 และครั้งที่ 2/2567 และมาตรการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
- Details
- Category: มติ ครม.
- Published: Thursday, 20 June 2024 02:21
- Hits: 8326
ผลการประชุมคณะกรรมการติดตามเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐ ครั้งที่ 1/2567 และครั้งที่ 2/2567 และมาตรการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่คณะกรรมการติดตามเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐ (คณะกรรมการฯ) เสนอผลการประชุมคณะกรรมการติดตามเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐ ครั้งที่ 1/2567 และครั้งที่ 2/2567 และมาตรการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เพื่อให้หน่วยรับงบประมาณ และรัฐวิสาหกิจนำมาตรการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ไปเป็นแนวทางในการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐต่อไป
สาระสำคัญ
คณะกรรมการฯ ในคราวประชุม ครั้งที่ 1/2567 เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2567 และครั้งที่ 2/2567 เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2567 โดยมีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ) ในขณะนั้น เป็นประธานในที่ประชุม มีมติรับทราบรายงานผลการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐ ตั้งแต่ต้นปีงบประมาณจนถึงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2567 และเห็นชอบการกำหนดมาตรการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. รายงานการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐในคราวประชุมครั้งที่ 1/2567 เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2567 สรุปได้ ดังนี้
1.1 ภาพรวมการเบิกจ่ายเงิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ตั้งแต่ต้นปีงบประมาณจนถึงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2567 มีการเบิกจ่ายแล้ว จำนวน 1,322,916 ล้านบาท ดังนี้
หน่วย : ล้านบาท
รายการ |
วงเงินจัดสรร/วงเงินกันฯ/แผนการใช้จ่าย(1) |
การเบิกจ่าย |
การใช้จ่าย(2) |
||
จำนวน |
ร้อยละ |
จำนวน |
ร้อยละ |
||
(1) งบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ไปพลางก่อน(3) |
1,816,497 |
1,174,265 |
64.64 |
1,210,797 |
66.66 |
(1.1) รายจ่ายประจำ |
1,666,102 |
1,104,510 |
66.29 |
1,116,464 |
67.01 |
(1.2) รายจ่ายลงทุน |
150,395 |
69,755 |
46.38 |
94,333 |
62.72 |
รายจ่ายลงทุนไม่รวมงบกลาง |
150,006 |
69,597 |
46.40 |
94,164 |
62.77 |
(2) เงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี(4) |
160,130 |
70,723 |
44.17 |
159,783 |
99.78 |
(3) เงินลงทุนของรัฐวิสาหกิจ (ไม่รวมเงินงบประมาณ) |
226,030 |
77,928 |
34.48 |
|
|
รวมทั้งสิ้น |
2,202,657 |
1,322,916 |
60.06 |
|
|
ที่มา : ข้อมูลจากการรวบรวม ณ วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2567
หมายเหตุ : (1) แผนการใช้จ่ายเงินที่หน่วยงานคาดว่าจะใช้จ่ายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
(2) ข้อมูลการใช้จ่าย ได้จาก PO + เบิกจ่าย + สำรองเงิน (มีหนี้) จากระบบ New GFMIS Thai ณ วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2567
(3) งบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ไปพลางก่อน เป็นวงเงินงบประมาณที่สำนักงบประมาณอนุมัติจัดสรร 8 เดือน
(4) ข้อมูลเงินลงทุนของรัฐวิสาหกิจ (ไม่รวมเงินงบประมาณ) (1 ตุลาคม 2566 - 31 มกราคม 2567)
ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 มีโครงการลงทุนภาครัฐที่ใช้เงินกู้ รวม 95 โครงการ มูลค่าโครงการทั้งหมด 2,033,537 ล้านบาท โดย ณ สิ้นเดือน มกราคม 2567 เบิกจ่ายแล้ว จำนวน 39,027 ล้านบาท (จากแผนการเบิกจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำนวน 117,257 ล้านบาท) คิดเป็นร้อยละ 33.28 ของแผนการเบิกจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
1.2 การเบิกจ่ายงบประมาณ
ผลการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ไปพลางก่อน ตั้งแต่ต้นปีงบประมาณจนถึงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2567 สรุปได้ ดังนี้
หน่วย : ล้านบาท
รายการ |
วงเงินจัดสรร |
เบิกจ่ายแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (ก่อหนี้ผูกพันแล้ว) |
||
จำนวน |
ร้อยละ |
จำนวน |
ร้อยละ |
||
รายจ่ายประจำ |
1,666,102 |
1,104,510 |
66.29 |
1,116,464 |
67.01 |
รายจ่ายลงทุน |
150,395 |
69,755 |
46.38 |
94,333 |
62.72 |
รวมทั้งสิ้น |
1,816,497 |
1,174,265 |
64.64 |
1,210,797 |
66.66 |
1.3 การเบิกจ่ายเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี
(1) เงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี (งบประมาณปี พ.ศ. 2566) มีการเบิกจ่ายแล้ว จำนวน 70,723 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 44.17 มีการใช้จ่ายแล้ว (ก่อหนี้ผูกพันแล้ว) จำนวน 159,783 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 99.78 ของวงเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี จำนวน 160,130 ล้านบาท
(2) ปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะ
ปัญหาอุปสรรค |
ข้อเสนอแนะ |
|
(1) ด้านกระบวนการดำเนินงาน มีการยกเลิกการดำเนินการและเริ่มต้นกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างใหม่จากสาเหตุต่างๆ เช่น กรณีมีผู้เสนอราคาเพียงรายเดียว หรือผู้เสนอราคาไม่ผ่านคุณสมบัติ ทำให้ต้องยกเลิกการประกวดราคาและประกาศเชิญชวนใหม่ หรือผู้รับจ้างขาดสภาพคล่อง ขาดแคลนแรงงาน ทำให้หน่วยงานยกเลิกสัญญา (2) ด้านการเตรียมความพร้อมของโครงการก่อนดำเนินการ บางโครงการต้องชะลอการดำเนินการ เนื่องจากไม่สามารถส่งมอบพื้นที่บางส่วนได้หรืออยู่ระหว่างขออนุญาตเข้าใช้พื้นที่ |
(1) ให้หัวหน้าหน่วยงานเจ้าของงบประมาณกำกับดูแลและเร่งรัดการดำเนินงาน เพื่อให้สามารถก่อหนี้และเบิกจ่ายเงินงบประมาณให้แล้วเสร็จโดยเร็ว (2) หน่วยงานที่ขอตั้งงบประมาณควรประสานงานและเตรียมความพร้อมด้านพื้นที่ เมื่อได้รับจัดสรรงบประมาณจะได้ดำเนินการได้ทันที (3) เนื่องจากการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 มีความล่าช้า ซึ่งอาจส่งผลให้เบิกจ่ายไม่ทันภายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 กรมบัญชีกลางจึงกำหนดแนวทางปฏิบัติเพื่อเร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ให้รวดเร็วขึ้น ดังนี้ (1) ให้หน่วยงานของรัฐเตรียมการจัดซื้อจัดจ้างในขั้นตอนที่เป็นเรื่องภายในของหน่วยงานของรัฐไว้ก่อน และ (2) กำหนดหลักเกณฑ์ในการจ่ายเงินก่อนมีการตรวจรับทรัพย์สินหรือตรวจรับงานเพื่อให้มีเม็ดเงินลงสู่ระบบเศรษฐกิจได้อย่างรวดเร็วขึ้น |
1.4 การเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจในปี 2567 ณ สิ้นเดือนมกราคม 2567 รัฐวิสาหกิจมีผลการเบิกจ่ายงบลงทุน จำนวน 38,543 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 123 ของแผนการเบิกจ่าย หรือร้อยละ 16 ของกรอบงบลงทุน สรุปได้ ดังนี้
ประเภทรัฐวิสาหกิจ |
ผลการเบิกจ่าย (ล้านบาท) |
ผลการเบิกจ่ายจำแนกรายแห่ง สูงสุด 3 อันดับ |
|
ปีงบประมาณ |
32,293 (ร้อยละ 116 ของแผนการเบิกจ่าย หรือร้อยละ 26 ของกรอบงบลงทุน) |
(1) การรถไฟแห่งประเทศไทย (2) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (3) การประปานครหลวง |
|
ปีปฏิทิน |
6,251 (ร้อยละ 182 ของแผนการเบิกจ่าย หรือร้อยละ 5 ของกรอบงบลงทุน) |
(1) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (2) บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (3) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค |
|
รวม |
38,543 (ร้อยละ 123 ของแผนการเบิกจ่าย หรือร้อยละ 16 ของกรอบงบลงทุน) |
- |
1.5 การเบิกจ่ายเงินโครงการลงทุนภาครัฐที่ใช้เงินกู้
(1) โครงการลงทุนภาครัฐที่ใช้เงินกู้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (จำนวน 95 โครงการ) ณ สิ้นเดือนมกราคม 2567 มีผลเบิกจ่าย จำนวน 39,027 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 33.28 ของแผนการเบิกจ่ายโครงการลงทุนภาครัฐที่ใช้เงินกู้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำนวน 117,257 ล้านบาท
(2) การดำเนินการของสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ เช่น 1) การจัดทำแผนการติดตามโครงการพัฒนา และโครงการประจำปี และรายงานผลการติดตามและการเบิกจ่ายเงินลงทุนของโครงการพัฒนาและโครงการเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะ 2) การติดตามสถานะโครงการลงทุนภาครัฐที่ใช้เงินกู้และผลการเบิกจ่ายเงินลงทุนเป็นรายเดือน และ 3) การเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาในการดำเนินโครงการลงทุนภาครัฐที่ใช้เงินกู้ร่วมกับหน่วยงานเจ้าของโครงการและแหล่งเงินกู้ (Monitoring) เป็นต้น
2. มาตรการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (ปรับปรุงจากผลการประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งที่ 1/2567 ในคราวประชุมครั้งที่ 2/2567 เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2567 สรุปได้ ดังนี้
2.1 เป้าหมายการเบิกจ่ายและการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ดังนี้
หน่วย : ร้อยละ
รายการ |
รวม |
ไตรมาสที่ 1 |
ไตรมาสที่ 2 |
ไตรมาสที่ 3 |
ไตรมาสที่ 4 |
|||||
เบิกจ่าย |
ใช้จ่าย |
เบิกจ่าย |
ใช้จ่าย* |
เบิกจ่าย |
ใช้จ่าย* |
เบิกจ่าย |
ใช้จ่าย* |
เบิกจ่าย |
ใช้จ่าย |
|
รายจ่ายภาพรวม |
93 |
100 |
24 |
28 |
41 |
47 |
51 |
82 |
93 |
100 |
รายจ่ายประจำ |
98 |
100 |
29 |
33 |
47 |
53 |
58 |
82 |
98 |
100 |
รายจ่ายลงทุน |
75 |
100 |
7 |
11 |
15 |
24 |
21 |
80 |
75 |
100 |
หมายเหตุ : * มีการปรับเพิ่มเป้าหมายการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่าย ไตรมาสที่ 1 - 3
2.2 แนวทางการเร่งรัดให้หน่วยรับงบประมาณดำเนินการ เช่น
(1) กรณีเป็นรายจ่ายที่ต้องดำเนินการหรือเบิกจ่าย โดยสำนักงานในส่วนภูมิภาค ให้หน่วยรับงบประมาณเร่งดำเนินการส่งเงินจัดสรรต่อไปยังสำนักงานในส่วนภูมิภาคภายใน 5 วันนับแต่วันที่ได้รับอนุมัติเงินจัดสรร เพื่อดำเนินการใช้จ่ายหรือก่อหนี้ผูกพันต่อไป
(2) กรณีหน่วยรับงบประมาณที่ได้รับจัดสรรงบประมาณสำหรับทุนหมุนเวียนที่ไม่เป็นนิติบุคคล ให้จัดสรรไปยังทุนหมุนเวียนทันทีเมื่อพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ประกาศใช้บังคับ
(3) รายการปีเดียว ให้หน่วยรับงบประมาณพิจารณากำหนดระยะเวลาการส่งมอบงานให้รวดเร็วขึ้น เพื่อให้สามารถเบิกจ่ายได้ทันภายในเดือนกันยายน 2567
(4) รายการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณที่เป็นรายจ่ายลงทุนรายการใหม่ ควรดำเนินการก่อหนี้ผูกพันให้แล้วเสร็จภายในเดือนพฤษภาคม 2567
(5) ให้หัวหน้าหน่วยรับงบประมาณ รวมทั้งทุนหมุนเวียนภายใต้สังกัด กำกับดูแลบริหารจัดการเร่งรัดการดำเนินการ เพื่อให้สามารถก่อหนี้และเบิกจ่ายเงินงบประมาณให้แล้วเสร็จโดยเร็ว พร้อมทั้งรายงานผลให้กรมบัญชีกลางทราบทุกวันที่ 5 ของเดือนถัดไป เพื่อรายงานคณะกรรมการฯ และเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
2.3 การเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจ เช่น
(1) กำหนดเป้าหมายการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจให้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 95 ของกรอบงบลงทุน และพิจารณากำหนดให้เป้าหมายดังกล่าวเป็นตัวชี้วัดของผู้บริหารสูงสุดของรัฐวิสาหกิจ
(2) เพิ่มการเบิกจ่ายในช่วงเดือนมกราคม - มิถุนายน 2567 (Front - Loaded) และหลีกเลี่ยงการกระจุกตัวของการเบิกจ่ายงบลงทุนในไตรมาสสุดท้าย
(3) ให้กระทรวงเจ้าสังกัดของรัฐวิสาหกิจกำกับดูแลให้รัฐวิสาหกิจเบิกจ่ายงบลงทุนให้ได้ตามเป้าหมาย และดำเนินการตามมาตรการข้างต้นอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะกระทรวงคมนาคม กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงพลังงานที่กำกับดูแลรัฐวิสาหกิจที่มีกรอบงบลงทุนประจำปี 2567 คิดเป็นสัดส่วนรวมกันมากกว่าร้อยละ 85 ของกรอบงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจทั้งหมด
ทั้งนี้ ให้รัฐวิสาหกิจรายงานความคืบหน้าการดำเนินการตามมาตรการดังกล่าวต่อสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจทุกวันที่ 5 ของเดือนเพื่อรายงานคณะกรรมการฯ และคณะรัฐมนตรีต่อไป
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ (รองนายกรัฐมนตรี) 18 มิถุนายน 2567
6569