โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนลำตะคอง เขื่อนลำปาว เขื่อนห้วยแม่ท้อ และเขื่อนกระเสียว
- Details
- Category: มติ ครม.
- Published: Thursday, 20 June 2024 01:43
- Hits: 8132
โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนลำตะคอง เขื่อนลำปาว เขื่อนห้วยแม่ท้อ และเขื่อนกระเสียว
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนลำตะคอง เขื่อนลำปาว เขื่อนห้วยแม่ท้อ และเขื่อนกระเสียว กำลังผลิตติดตั้งรวม 6.75 เมกะวัตต์ โดยมีวงเงินขออนุมัติ 959.76 ล้านบาท แบ่งเป็น (1) เงินตราต่างประเทศ 243.83 ล้านบาท และ (2) เงินบาท 715.93 ล้านบาท โดยให้สามารถเกลี่ยงบประมาณระหว่างโครงการได้ ทั้งนี้ ให้ถือว่า กฟผ. ได้รับอนุมัติงบประมาณเพื่อการลงทุนตามแผนการประมาณการเบิกจ่ายประจำปี 2567 ตามที่กระทรวงพลังงาน (พน.) เสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
พน. รายงานว่า
1. โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนลำตะคอง เขื่อนลำปาว เขื่อนห้วยแม่ท้อ และเขื่อนกระเสียว (โครงการฯ) เป็นโครงการฯ ที่บรรจุอยู่ในแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2561 – 2580 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 (แผน PDP2018 Rev.1) ซึ่งทั้ง 4 โครงการ เป็นโรงไฟฟ้าพลังน้ำที่ติดตั้งท้ายเขื่อนของ กรมชลประทาน โดยเป็นการดำเนินการแบบบูรณาการร่วมกับเขื่อนเพื่อให้สามารถบริหารการจัดการน้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด และไม่กระทบต่อวัตถุประสงค์หลักเดิมของการสร้างเขื่อน รวมทั้งก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยมาก เนื่องจากเป็นพลังงานสะอาดและมีอายุการใช้งานยาวนานกว่าพลังงานหมุนเวียนประเภทอื่นๆ
2. กฟผ. ได้ดำเนินการศึกษาความเหมาะสมของทั้ง 4 โครงการ โดยคณะกรรมการการไฟฟ้า ฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ในคราวประชุมเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2565 ได้มีมติเห็นชอบรายงานการศึกษาดังกล่าวแล้ว โดยมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้
2.1 ภาพรวมของโรงไฟฟ้าพลังน้ำทั้ง 4 โครงการ
ประเด็น |
สาระสำคัญ |
|||||||||||
วัตถุประสงค์ |
เพื่อช่วยเพิ่มสัดส่วนกำลังผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนที่มีอยู่ภายในประเทศ และดำเนินการตามนโยบายภาครัฐตามแผน PDP2018 Rev.1 และแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (AEDP)1 รวมทั้งยังเป็นการสนับสนุนตามนโยบายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) ของประเทศไทย
|
|||||||||||
แผนการเบิกจ่ายเงิน |
|
|||||||||||
แหล่งเงิน |
เงินรายได้ของ กฟผ. ร้อยละ 40 และแหล่งเงินทุนอื่นๆ (เงินกู้) ร้อยละ 60 โดย กฟผ. จะพิจารณาแหล่งเงินทุนสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายโครงการฯ ดังนี้ (1) ค่าใช้จ่ายในส่วนเงินบาท ใช้จากแหล่งใดแหล่งหนึ่งหรือหลายแหล่งรวมกันจากธนาคาร/สถาบันการเงินในประเทศ การออกพันธบัตรลงทุนในประเทศ การระดมทุนผ่านกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานและเงินรายได้ของ กฟผ. (2) กรณีที่จำเป็นต้องใช้เงินตราต่างประเทศ ใช้จากแหล่งใดแหล่งหนึ่งหรือหลายแหล่งรวมกันจากสถาบันการเงินระหว่างประเทศ ธนาคาร/สถาบันเพื่อการนำเข้า – ส่งออก ธนาคาร/สถาบันการเงินต่างประเทศและ/หรือในประเทศ การออกพันธบัตรลงทุนต่างประเทศ |
|||||||||||
การดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อม |
(1) โครงการฯ ไม่เข้าข่ายต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบในด้านต่างๆ ดังนี้ - รายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment: EIA) - รายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมสำหรับโครงการ กิจการหรือการดำเนินการที่อาจมีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ คุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพ อนามัย คุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชนอย่างรุนแรง (Environmental and Health Impact Assessment: EHIA) - รายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (Initial Environmental Examination: IEE) - รายงานการประเมินสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ (Environmental Site Assessment: ESA) (2) โครงการฯ ต้องจัดทำรายงานสิ่งแวดล้อมสำหรับการขอรับใบอนุญาตผลิตไฟฟ้า (รายงานสิ่งแวดล้อมฯ) ตามระเบียบคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานว่าด้วยการจัดทำรายงานสิ่งแวดล้อมสำหรับการขอรับใบอนุญาตผลิตไฟฟ้า พ.ศ. 2563 [ปัจจุบันโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนลำตะคองและเขื่อนลำปาวได้รับความเห็นชอบรายงานสิ่งแวดล้อมฯ เรียบร้อยแล้ว ส่วนโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนห้วยแม่ท้อและเขื่อนกระเสียวอยู่ระหว่างการดำเนินการจัดทำรายงานสิ่งแวดล้อมฯ] |
2.2 รายละเอียดของโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำเป็นรายโครงการ
ประเด็น |
สาระสำคัญ |
||
(1) โครงการไฟฟ้าพลังงานน้ำเขื่อนลำตะคอง | |||
ที่ตั้งโครงการ |
ตั้งอยู่ท้ายอาคารระบายน้ำลงลำน้ำเดิมของเขื่อนลำตะคอง บ้านคลองไผ่ อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา |
||
ข้อมูลด้านเทคนิค |
(1) เป็นโรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาด 1,500 กิโลวัตต์ (1.50 เมกะวัตต์) สายส่งขนาด 22 กิโลโวลต์ จำนวน 1 วงจร เชื่อมต่อเข้ากับระบบจำหน่ายของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ระยะทาง 2.50 กิโลเมตร ความถี่ระบบไฟฟ้า 50 รอบ/วินาที (2) ติดตั้งเครื่องกังหันน้ำ (ชนิด Reaction Turbine) ขนาดกำลังการผลิต 1.58 เมกะวัตต์ จำนวน 1 เครื่อง ความเร็วรอบสูงสุด 400 รอบ/นาที เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ขนาดกำลังการผลิต 1.50 เมกะวัตต์ จำนวน 1 เครื่อง และหม้อแปลงไฟฟ้า พิกัดกำลัง 2.00 เมกะโวลต์ – แอมแปร์ จำนวน 1 เครื่อง |
||
ระยะเวลาก่อสร้าง/กำหนดจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบ |
(1) ระยะเวลาก่อสร้าง: 24 เดือน (ธันวาคม 2566 – พฤศจิกายน 2568)2 (2) กำหนดจ่ายไฟเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (Scheduled Commercial Operation Date: COD): ภายในปี 2568 |
||
วงเงินลงทุน |
รวมทั้งสิ้น 215.80 ล้านบาท ประกอบด้วย (1) เงินลงทุนเพื่อซื้ออุปกรณ์จากต่างประเทศ จำนวน 55.79 ล้านบาท (2) เงินลงทุนเพื่อซื้ออุปกรณ์ในประเทศและการก่อสร้าง จำนวน 160.01 ล้านบาท |
||
แผนการเบิกจ่ายเงิน |
ปี พ.ศ. |
วงเงิน (ล้านบาท) |
|
2567 |
148.61 (รวมกับวงเงินลงทุนของปี พ.ศ. 2566 จำนวน 45.82 ล้านบาท) |
||
2568 |
67.19 |
||
รวม |
215.80 |
||
การผลิต/ขายพลังงานไฟฟ้า |
- ผลิตพลังงานไฟฟ้าได้เฉลี่ย 10.48 ล้านหน่วย/ปี - ขายพลังงานไฟฟ้าได้เฉลี่ย 10.32 ล้านหน่วย/ปี |
||
ผลตอบแทนทางการเงิน |
- อัตราผลตอบแทนของโครงการ (Project Internal Rate of Return) อยู่ที่ร้อยละ 5.18 - มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (Net Present Value: NPV) ณ อัตราคิดลดเท่ากับต้นทุนถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก (Weighted Cost of Capital: WACC) ร้อยละ 5.26 อยู่ที่ 14.98 ล้านบาท |
||
ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ |
- อัตราผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (Economic Internal Rate of Return: EIRR) อยู่ที่ร้อยละ 8.37 - อัตราส่วนผลประโยชน์ต่อต้นทุน (Benefit Cost Ratio: B/C Ratio) อยู่ที่ 1.27 |
||
ราคาค่าไฟฟ้าเฉลี่ย |
2.43 บาท/หน่วย |
||
ระยะเวลาคืนทุน |
16 ปี 10 เดือน |
||
การขออนุญาตใช้พื้นที่ |
อยู่ระหว่างขอใช้ประโยชน์ในที่ราชพัสดุจากกรมธนารักษ์ |
||
ค่ากองทุนพัฒนาไฟฟ้า |
ระหว่างก่อสร้าง: ประมาณ 75,000 บาท (50,000 บาทต่อเมกะวัตต์ x 1.50 เมกะวัตต์) ระหว่างดำเนินการผลิต: 0.02 บาทต่อหน่วย คิดเป็น 209,600 บาทต่อปี (0.02 บาทต่อหน่วย x 10.48 ล้านหน่วย/ปี) หรือประมาณ 6.29 ล้านบาท ตลอดอายุโครงการ 30 ปี |
||
ค่าธรรมเนียมและค่าตอบแทน |
- ค่าธรรมเนียมการใช้ที่ดินของกรมธนารักษ์ 0.50 ล้านบาทต่อปี หรือประมาณ 15 ล้านบาท ตลอดอายุโครงการ 30 ปี - ค่าตอบแทนกรมชลประทาน: (1) อัตราค่าน้ำที่ผ่านเครื่องกังหันน้ำช่วงเดินเครื่องประมาณ 0.01730 บาทต่อลูกบาศก์เมตร (ประมาณ 0.30 บาทต่อหน่วย) และ (2) พลังงานไฟฟ้าสนับสนุนกิจกรรมของกรมชลประทาน 0.25 ล้านหน่วยต่อปี โดยจ่ายให้ กฟภ. 4 บาทต่อหน่วย |
||
(2) โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนลำปาว |
|||
ที่ตั้งโครงการ |
ตั้งอยู่พื้นที่ราบฝั่งขวาริมคลองส่งน้ำสายใหญ่ฝั่งขวาของเขื่อนลำปาว อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ |
||
ข้อมูลด้านเทคนิค |
(1) เป็นโรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาด 2,500 กิโลวัตต์ (2.50 เมกะวัตต์) สายส่งขนาด22 กิโลวัตต์ จำนวน 1 วงจร เชื่อมต่อเข้ากับระบบจำหน่ายของ กฟภ. ระยะทาง0.1 กิโลเมตร ความถี่ของระบบไฟฟ้า 50 รอบ/วินาที (2) ติดตั้งเครื่องกังหันน้ำ (ชนิด Reaction Turbine) ขนาดกำลังการผลิต 2.63 เมกะวัตต์ จำนวน 1 เครื่อง ความเร็วรอบสูงสุด 187 รอบ/นาที เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ขนาดกำลังการผลิต 2.50 เมกะวัตต์ จำนวน 1 เครื่อง และหม้อแปลงไฟฟ้า พิกัดกำลัง 3.00 เมกะโวลต์ – แอมแปร์ จำนวน 1 เครื่อง |
||
ระยะเวลาก่อสร้าง/กำหนดจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบ |
(1) ระยะเวลาก่อสร้าง: 24 เดือน (ธันวาคม 2566 – พฤศจิกายน 2568)2 (2) COD: ภายในปี 2568 |
||
วงเงินลงทุน |
รวมทั้งสิ้น 405.64 ล้านบาท ประกอบด้วย (1) เงินลงทุนเพื่อซื้ออุปกรณ์จากต่างประเทศ จำนวน 90.97 ล้านบาท (2) เงินลงทุนเพื่อซื้ออุปกรณ์ในประเทศและการก่อสร้าง จำนวน 314.67 ล้านบาท |
||
แผนการเบิกจ่ายเงิน
|
ปี พ.ศ. |
วงเงิน (ล้านบาท) |
|
2567 |
273.72 (รวมกับวงเงินลงทุนของปี พ.ศ. 2566 จำนวน 95.08 ล้านบาท) |
||
2568 |
131.92 |
||
รวม |
405.64 |
||
การผลิต/ขายพลังงานฟ้า |
- ผลิตพลังงานไฟฟ้าได้เฉลี่ย 14.37 ล้านหน่วย/ปี - ขายพลังงานไฟฟ้าได้เฉลี่ย 14.15 ล้านหน่วย/ปี |
||
ผลตอบแทนทางการเงิน |
- อัตราผลตอบแทนของโครงการ (Project Internal Rate of Return) อยู่ที่ร้อยละ 5.16 - NPV ณ อัตราคิดลดร้อยละ 5.26 อยู่ที่ 27.48 ล้านบาท |
||
ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ |
- EIRR อยู่ที่ร้อยละ 8.19 - B/C Ratio อยู่ที่ 1.27 |
||
ราคาค่าไฟฟ้าเฉลี่ย |
3.10 บาท/หน่วย |
||
ระยะเวลาคืนทุน |
16 ปี 10 เดือน |
||
การขออนุญาตใช้พื้นที่ |
กรมธนารักษ์อนุญาตให้ กฟผ. เช่าที่ราชพัสดุเรียบร้อยแล้ว |
||
ค่ากองทุนพัฒนาไฟฟ้า |
ระหว่างก่อสร้าง: ประมาณ 125,000 บาท (50,000 บาทต่อเมกะวัตต์ x 2.50 เมกะวัตต์) ระหว่างดำเนินการผลิต: 0.02 บาทต่อหน่วย คิดเป็น 287,400 บาทต่อปี (0.02 บาทต่อหน่วย x 14.37 ล้านหน่วย/ปี) หรือประมาณ 8.62 ล้านบาท ตลอดอายุโครงการ 30 ปี |
||
ค่าธรรมเนียมและค่าตอบแทน |
- ค่าธรรมเนียมการใช้ที่ดินของกรมธนารักษ์ 0.50 ล้านบาทต่อปี หรือประมาณ 15 ล้านบาท ตลอดอายุโครงการ 30 ปี - ค่าตอบแทนกรมชลประทาน: (1) อัตราค่าน้ำที่ผ่านเครื่องกังหันน้ำช่วงเดินเครื่องประมาณ 0.0064 บาทต่อลูกบาศก์เมตร (ประมาณ 0.28 บาทต่อหน่วย) และ (2) พลังงานไฟฟ้าสนับสนุนกิจกรรมของกรมชลประทาน 0.25 ล้านหน่วยต่อปี โดยจ่ายให้ กฟภ. 4 บาทต่อหน่วย |
||
(3) โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนห้วยแม่ท้อ |
|||
ที่ตั้งโครงการ |
ตั้งอยู่ท้ายเขื่อนบริเวณอาคารควบคุมการส่งน้ำลงลำน้ำเดิมของเขื่อนห้วยแม่ท้อ อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก |
||
ข้อมูลด้านเทคนิค |
(1) เป็นโรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาด 1,250 กิโลวัตต์ (1.25 เมกะวัตต์) สายส่งขนาด 22 กิโลโวลต์ จำนวน 1 วงจร เชื่อมต่อเข้ากับระบบจำหน่ายของ กฟภ. ระยะทาง 1.0 กิโลเมตร ความถี่ของระบบไฟฟ้า 50 รอบ/วินาที (2) ติดตั้งเครื่องกังหันน้ำ (ชนิด Reaction Turbine) ขนาดกำลังการผลิต 1.32 เมกะวัตต์ จำนวน 1 เครื่อง ความเร็วรอบสูงสุด 500 รอบ/นาที เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ขนาดกำลังการผลิต 1.25 เมกะวัตต์ จำนวน 1 เครื่อง และหม้อแปลงไฟฟ้า พิกัดกำลัง 1.75 เมกะโวลต์ – แอมแปร์ จำนวน 1 เครื่อง |
||
ระยะเวลาก่อสร้าง/กำหนดจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบ |
(1) ระยะเวลาก่อสร้าง: 24 เดือน (ธันวาคม 2567 – พฤศจิกายน 2569) (2) COD: ภายในปี 2569 |
||
วงเงินลงทุน |
รวมทั้งสิ้น 161.18 ล้านบาท ประกอบด้วย (1) เงินลงทุนเพื่อซื้ออุปกรณ์จากต่างประเทศ จำนวน 48.91 ล้านบาท (2) เงินลงทุนเพื่อซื้ออุปกรณ์ในประเทศและการก่อสร้าง จำนวน 112.27 ล้านบาท |
||
แผนการเบิกจ่ายเงิน |
ปี พ.ศ. |
วงเงิน (ล้านบาท) |
|
2567 |
34.98 |
||
2568 |
75.72 |
||
2569 |
50.48 |
||
รวม |
161.18 |
||
การผลิต/ขายพลังงานไฟฟ้า |
- ผลิตพลังงานไฟฟ้าได้เฉลี่ย 6.41 ล้านหน่วย/ปี - ขายพลังงานไฟฟ้าได้เฉลี่ย 6.31 ล้านหน่วย/ปี |
||
ผลตอบแทนทางการเงิน |
- อัตราผลตอบแทนของโครงการ (Project Internal Rate of Return) อยู่ที่ร้อยละ 5.18 - NPV ณ อัตราคิดลดร้อยละ 5.26 อยู่ที่ 11.20 ล้านบาท |
||
ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ |
- EIRR อยู่ที่ร้อยละ 8.56 - B/C Ratio อยู่ที่ 1.28 |
||
ราคาค่าไฟฟ้าเฉลี่ย |
3.00 บาท/หน่วย |
||
ระยะเวลาคืนทุน |
16 ปี 10 เดือน |
||
การขออนุญาตใช้พื้นที่ |
อยู่ระหว่างขอใช้ประโยชน์ในที่ป่าสงวนแห่งชาติจากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม |
||
ค่ากองทุนพัฒนาไฟฟ้า |
ระหว่างก่อสร้าง: ประมาณ 62,000 บาท (50,000 บาทต่อเมกะวัตต์ x 1.25 เมกะวัตต์) ระหว่างดำเนินการผลิต: 0.02 บาทต่อหน่วย คิดเป็น 128,200 บาทต่อปี (0.02 บาทต่อหน่วย x 6.41 ล้านหน่วย/ปี) หรือประมาณ 3.85 ล้านบาท ตลอดอายุโครงการ 30 ปี |
||
ค่าธรรมเนียมและค่าตอบแทน |
- ค่าธรรมเนียมการใช้ที่ดินของกรมธนารักษ์ 0.50 ล้านบาทต่อปี หรือประมาณ 15 ล้านบาท ตลอดอายุโครงการ 30 ปี - ค่าตอบแทนกรมชลประทาน: (1) อัตราค่าน้ำที่ผ่านเครื่องกังหันน้ำช่วงเดินเครื่องประมาณ 0.02100 บาทต่อลูกบาศก์เมตร (ประมาณ 0.32 บาทต่อหน่วย) และ (2) พลังงานไฟฟ้าสนับสนุนกิจกรรมของกรมชลประทาน 0.25 ล้านหน่วยต่อปี โดยจ่ายให้ กฟภ. 4 บาทต่อหน่วย |
||
(4) โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนกระเสียว |
|||
ที่ตั้งโครงการ |
ตั้งอยู่ทางฝั่งขวาของอาคารระบายน้ำลงลำน้ำเดิมของเขื่อนกระเสียว อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี |
||
ข้อมูลด้านเทคนิค |
(1) เป็นโรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาด 1,500 กิโลวัตต์ (1.50 เมกะวัตต์) สายส่งขนาด 22 กิโลโวลต์ จำนวน 1 วงจร เชื่อมต่อเข้ากับระบบจำหน่ายของ กฟภ. ระยะทาง 1.8 กิโลเมตร ความถี่ของระบบไฟฟ้า 50 รอบ/วินาที (2) ติดตั้งเครื่องกังหันน้ำ (ชนิด Reaction Turbine) ขนาดกำลังการผลิต 1.58 เมกะวัตต์ จำนวน 1 เครื่อง ความเร็วรอบสูงสุด 428 รอบ/นาที เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ขนาดกำลังการผลิต 1.50 เมกะวัตต์ จำนวน 1 เครื่อง และหม้อแปลงไฟฟ้า พิกัดกำลัง 2.00 เมกะโวลต์ – แอมแปร์ จำนวน 1 เครื่อง |
||
ระยะเวลาก่อสร้าง/กำหนดจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบ |
(1) ระยะเวลาก่อสร้าง: 24 เดือน (ธันวาคม 2567 – พฤศจิกายน 2569) (2) COD: ภายในปี 2569 |
||
วงเงินลงทุน |
รวมทั้งสิ้น 177.14 ล้านบาท ประกอบด้วย (1) เงินลงทุนเพื่อซื้ออุปกรณ์จากต่างประเทศ จำนวน 48.16 ล้านบาท (2) เงินลงทุนเพื่อซื้ออุปกรณ์ในประเทศและการก่อสร้าง จำนวน 128.98 ล้านบาท |
||
แผนการเบิกจ่ายเงิน
|
ปี พ.ศ. |
วงเงิน (ล้านบาท) |
|
2567 |
37.96 |
||
2568 |
83.39 |
||
2569 |
55.79 |
||
รวม |
177.14 |
||
การผลิต/ขายพลังงานไฟฟ้า |
- ผลิตพลังงานไฟฟ้าได้เฉลี่ย 7.95 ล้านหน่วย/ปี - ขายพลังงานไฟฟ้าเฉลี่ย 7.83 ล้านหน่วย/ปี |
||
ผลตอบแทนทางการเงิน |
- อัตราผลตอบแทนของโครงการ (Project Internal Rate of Return) อยู่ที่ร้อยละ 5.18 - NPV ณ อัตราคิดลดร้อยละ 5.26 อยู่ที่ 12.33 ล้านบาท |
||
ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ |
- EIRR อยู่ที่ร้อยละ 8.52 - B/C Ratio อยู่ที่ 1.27 |
||
ราคาค่าไฟฟ้าเฉลี่ย |
2.66 บาท/หน่วย |
||
ระยะเวลาคืนทุน |
16 ปี 10 เดือน |
||
การขออนุญาตใช้พื้นที่ |
อยู่ระหว่างขอใช้ประโยชน์ในที่ป่าสงวนแห่งชาติจากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม |
||
ค่ากองทุนพัฒนาไฟฟ้า |
ระหว่างก่อสร้าง: ประมาณ 75,000 บาท (50,000 บาทต่อเมกะวัตต์ x 1.50 เมกะวัตต์) ระหว่างดำเนินการผลิต: 0.02 บาทต่อหน่วย คิดเป็น 159,000 บาทต่อปี (0.02 บาทต่อหน่วย x 7.95 ล้านหน่วย/ปี) หรือประมาณ 4.77 ล้านบาท ตลอดอายุโครงการ 30 ปี |
||
ค่าธรรมเนียมและค่าตอบแทน |
- ค่าธรรมเนียมการใช้ที่ดินของกรมธนารักษ์ 0.50 ล้านบาทต่อปี หรือประมาณ 15 ล้านบาท ตลอดอายุโครงการ 30 ปี - ค่าตอบแทนกรมชลประทาน: (1) อัตราค่าน้ำที่ผ่านเครื่องกังหันน้ำช่วงเดินเครื่องประมาณ 0.01370 บาทต่อลูกบาศก์เมตร (ประมาณ 0.31 บาทต่อหน่วย) และ (2) พลังงานไฟฟ้าสนับสนุนกิจกรรมของกรมชลประทาน 0.25 ล้านหน่วยต่อปี โดยจ่ายให้ กฟภ. 4 บาทต่อหน่วย |
3. ประโยชน์ที่ได้รับจากการดำเนินโครงการ ดังนี้
3.1 เพิ่มสัดส่วนกำลังผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนภายในประเทศตามแผน PDP2018 Rev.1 เพื่อรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าในจังหวัดและในภูมิภาค ลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงนำเข้าจากต่างประเทศ เป็นไปตามนโยบายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net zero greenhouse gas emission)
3.2 ประชาชนในประเทศได้ใช้พลังงานสะอาดที่มีเสถียรภาพ เนื่องจากสามารถเดินเครื่องจ่ายไฟฟ้าเข้าสู่ระบบได้รวดเร็วภายในเวลา 5 นาที และสามารถเพิ่มหรือลดพลังงานได้ตามความต้องการของระบบไฟฟ้า และไม่ส่งผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ดังนี้
ผลประโยชน์โครงการฯ |
เฉลี่ยต่อปี |
รวมตลอดอายุโครงการ 30 ปี |
หน่วย |
(1) ทดแทนการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติ |
254,630 |
7,638,900 |
ล้านบีทียู |
62.13 |
425.39 |
ล้านบาท |
|
(2) สนับสนุนการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนโดยการขาย REC3 |
1.93 |
5.10 |
ล้านบาท |
(3) ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ |
20,166 |
604,971 |
ตันคาร์บอนไดออกไซด์ |
3.3 ชุมชนรอบโรงไฟฟ้าได้รับสิทธิประโยชน์ตามที่กฎหมายกำหนด เช่น กองทุนพัฒนาไฟฟ้า4 เป็นต้น
3.4 ส่งเสริมงานวิจัยเครื่องผลิตไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็กและพัฒนาความรู้ของบุคลากร กฟผ.
3.5 เป็นการบูรณาการบริหารจัดการน้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด
3.6 ส่งเสริมงานประชาสัมพันธ์ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมขององค์กรและสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้ กฟผ.
______________________
1 แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ. 2558 - 2579 (AEDP2015) มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ประเทศไทยสามารถพัฒนาพลังงานทดแทนให้เป็นพลังงานหลักของประเทศแทนการนำเข้าน้ำมันได้ในอนาคต เสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ สนับสนุนอุตสาหกรรมการผลิตเทคโนโลยีพลังงานทดแทนในประเทศ และเพื่อวิจัยพัฒนาส่งเสริมเทคโนโลยีพลังงานทดแทนสัญชาติไทยให้สามารถแข่งขันในตลาดสากล โดยได้กำหนดยุทธศาสตร์ส่งเสริมการพัฒนาพลังงานทดแทนตามแผน AEDP 6 ประเด็น ประกอบด้วย (1) การส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการผลิตและการใช้พลังงานทดแทนอย่างกว้างขวาง (2) การปรับมาตรการจูงใจสำหรับการลงทุนจากภาคเอกชนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ (3) การแก้ไขกฎหมายและกฎระเบียบที่ยังไม่เอื้อต่อการพัฒนาพลังงานทดแทน (4) การปรับปรุงระบบโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ระบบสายส่ง สายจำหน่ายไฟฟ้า รวมทั้งการพัฒนาสู่ระบบ Smart Grid (5) การประชาสัมพันธ์และสร้างความรู้ความเข้าใจต่อประชาชน และ (6) การส่งเสริมให้งานวิจัยเป็นเครื่องมือในการพัฒนาอุตสาหกรรมพลังงานทดแทนแบบครบวงจร
2 พน. แจ้งว่า จะเริ่มก่อสร้างโครงการฯ ในปี 2567
3 Renewable Energy Certificate (REC) หรือ ใบรับรองการผลิตพลังงานหมุนเวียน เป็นกลไกที่ช่วยให้ผู้ผลิตและผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถอ้างสิทธิ์การผลิตและการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ช่วยสนับสนุนให้เกิดการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนผ่านการซื้อและขายใบรับรองการผลิตพลังงานหมุนเวียน ทำให้ผู้ลงทุนพัฒนาโครงการพลังงานหมุนเวียนสามารถสร้างรายได้เพิ่มจากการขายใบรับรองการผลิตพลังงานหมุนเวียน โดยมีหน่วยการซื้อขายคือ REC (ไฟฟ้า 1 เมกะวัตต์ชั่วโมง มีค่าเท่ากับ 1 REC)
4 กองทุนพัฒนาไฟฟ้า คือ กองทุนที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นทุนสนับสนุนให้มีการให้บริการไฟฟ้าไปยังท้องที่ต่างๆ อย่างทั่วถึง กระจายความเจริญไปสู่ท้องถิ่น พัฒนาชุมชนในท้องถิ่นที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินงานของโรงไฟฟ้า ส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน และเทคโนโลยีในการประกอบกิจการไฟฟ้าที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย โดยคำนึงถึงความสมดุลของทรัพยากรธรรมชาติและสร้างความเป็นธรรมให้กับผู้ใช้ไฟฟ้า
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ (รองนายกรัฐมนตรี) 18 มิถุนายน 2567
6568