ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับเงินชดเชยเยียวยา ที่ได้รับจากกรมประมงตามโครงการนำเรือประมงออกนอกระบบเพื่อการจัดการทรัพยากร ประมงทะเลที่ย
- Details
- Category: มติ ครม.
- Published: Wednesday, 12 June 2024 20:53
- Hits: 7967
ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับเงินชดเชยเยียวยา ที่ได้รับจากกรมประมงตามโครงการนำเรือประมงออกนอกระบบเพื่อการจัดการทรัพยากร ประมงทะเลที่ยั่งยืน)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับเงินชดเชยเยียวยาที่ได้รับจากกรมประมงตามโครงการนำเรือประมงออกนอกระบบเพื่อการจัดการทรัพยากรประมงทะเลที่ยั่งยืน) ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาต่อไป
ข้อเท็จจริงและสาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
กค. เสนอว่า
1. ประเทศไทยได้รับประกาศเตือนใบเหลืองจากสหภาพยุโรปเกี่ยวกับมาตรการในการป้องกัน ยับยั้ง และขจัดการทำการประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (Illegal, Unreported and Unregulated fishing: IUU) เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2558 ซึ่งหากไม่มีการแก้ไขปัญหาดังกล่าวอาจมีผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าสัตว์น้ำของประเทศไทย
2. ต่อมา ได้มีคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมาย รวม 4 ฉบับ ได้แก่
2.1 คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 10/2558 ลงวันที่ 29 เมษายน 2558
2.2 คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 24/2558 ลงวันที่ 5 สิงหาคม 2558
2.3 คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 53/2559 ลงวันที่ 9 กันยายน 2559
2.4 คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 22/2560 ลงวันที่ 4 เมษายน 2560
เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมาย ส่งผลให้เรือประมงที่ไม่มีทะเบียนเรือและเรือประมงที่มีทะเบียนเรือแต่ไม่มีใบอนุญาตทำการประมง ไม่สามารถทำการประมงต่อไปได้ แต่ยังคงต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาเรือตั้งแต่ปี 2558 เป็นต้นมา
3. ที่ผ่านมากรมประมงได้จัดทำโครงการนำเรือประมงออกนอกระบบ เพื่อการจัดการทรัพยากรประมงทะเลที่ยั่งยืน ซึ่งแบ่งเป็น 2 ระยะ ดังนี้
3.1 โครงการนำเรือประมงออกนอกระบบฯ ระยะที่ 1 (ระยะเร่งด่วน) ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2562 มีเรือประมงออกนอกระบบ จำนวน 305 ลำ วงเงิน 764,454,100 บาท และมีเรือประมงไม่ประสงค์รับเงินเยียวยา จำนวน 1 ลำ เป็นเงิน 8,791,500 บาท ยังคงเหลือเรือประมงที่ได้รับสิทธิเยียวยา จำนวน 304 ลำ เป็นเงิน 755,662,600 บาท ซึ่งกรมประมงได้แบ่งจ่ายเงินให้แก่เจ้าของเรือที่ได้รับผลกระทบ ออกเป็น 2 ช่วง ซึ่งไม่ได้หักภาษี ณ ที่จ่าย ดังนี้
1) ช่วงที่ 1 (ปี 2562) ใช้จ่ายจากเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินและจำเป็น
2) ช่วงที่ 2 (ปี 2563) ใช้จ่ายจากเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
ปีที่จ่ายเงินชดเชยเยียวยา |
เจ้าของเรือที่ได้รับผลกระทบ |
|||||
บุคคลธรรมดา |
นิติบุคคล |
รวม |
||||
จำนวน (ลำ) |
เงินชดเชยเยียวยา (บาท) |
จำนวน (ลำ) |
เงินชดเชยเยียวยา (บาท) |
จำนวน (ลำ) |
เงินชดเชยเยียวยา (บาท) |
|
2562 (ช่วงที่ 1) |
249 |
464,327,900 |
3 |
5,276,000 |
252 |
469,603,900 |
2563 (ช่วงที่ 2) |
41 |
274,256,000 |
11 |
11,802,700 |
52 |
286,058,700 |
รวม |
290 |
738,583,900 |
14 |
17,078,700 |
304 |
755,662,600 |
3.2 โครงการนำเรือประมงออกนอกระบบฯ ระยะที่ 2 ได้รับอนุมัติจาก คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2565 มีเรือประมงออกนอกระบบ จำนวน 59 ลำ วงเงิน 287,181,800 บาท และมีเรือประมงไม่ประสงค์รับเงินเยียวยา จำนวน 3 ลำ เป็นเงิน 24,552,000 บาท และไม่ได้รับสิทธิการเยียวยา จำนวน 1 ลำ เป็นเงิน 841,400 บาท ดังนั้น ยังคงเหลือเรือประมงที่ได้รับสิทธิการเยียวยา จำนวน 55 ลำ เป็นเงิน 261,788,400 บาท ซึ่งกรมประมงได้จ่ายเงินให้แก่เจ้าของเรือที่ได้รับผลกระทบจากเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินและจำเป็น โดยแบ่งจ่ายเป็น 2 งวด ซึ่งมีการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 1 ของการจ่ายเงินทั้ง 2 งวด ดังนี้
1) งวดที่ 1 (ปี 2565) จ่ายเงินจำนวนร้อยละ 30 ของค่าชดเชย เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการแยกชิ้นส่วนเรือหรือการทำลายเรือประมง
2) งวดที่ 2 (ปี 2566) จ่ายเงินจำนวนร้อยละ 70 ของค่าชดเชย หลังจากเจ้าของเรือประมงได้ดำเนินการแยกชิ้นส่วนหรือทำลายเรือประมงเสร็จเรียบร้อยแล้ว
ปีที่จ่ายเงินชดเชยเยียวยา |
เจ้าของเรือที่ได้รับผลกระทบ |
|||||
บุคคลธรรมดา |
นิติบุคคล |
รวม |
||||
จำนวน (ลำ) |
เงินชดเชยเยียวยา (บาท) |
จำนวน (ลำ) |
เงินชดเชยเยียวยา (บาท) |
จำนวน (ลำ) |
เงินชดเชยเยียวยา (บาท) |
|
2565 (งวดที่ 1) |
49 |
67,103,790 |
6 |
11,432,730 |
55 |
78,536,520 |
2566 (งวดที่ 2) |
156,575,510 |
26,676,370 |
183,251,880 |
|||
รวม |
49 |
223,679,300 |
6 |
38,109,100 |
55 |
261,788,400 |
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย |
49 |
2,236,793 |
6 |
381,091 |
55 |
2,617,884 |
ได้รับสุทธิ |
49 |
221,442,507 |
6 |
37,728,009 |
55 |
259,170,516 |
ทั้งนี้ สำหรับการชดเชยเยียวยาจากโครงการนำเรือประมงออกนอกระบบตามข้อ 3.1 และข้อ 3.2 กำหนดให้เจ้าของเรือต้องเป็นผู้ดำเนินการแยกชิ้นส่วนหรือทำลายเรือประมง จึงจะได้รับเงินชดเชยเยียวยาจากโครงการดังกล่าว
4. กค. พิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่อเป็นการช่วยบรรเทาภาระภาษีให้เจ้าของเรือประมง ในการมีทุนในการประกอบอาชีพอื่น และบรรเทาหนี้สินอันเกิดจากค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาเรือ อันเนื่องมาจากการเข้าร่วมโครงการนำเรือประมงออกนอกระบบเพื่อจัดการทรัพยากรประมงทะเลที่ยั่งยืน จึงเห็นควรยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคลแล้วแต่กรณี ให้แก่เจ้าของเรือประมงที่ได้รับเงินชดเชยเยียวยาจากกรมประมงในโครงการนำเรือประมงออกนอกระบบเพื่อการจัดการทรัพยากรประมงทะเลที่ยั่งยืน ระยะที่ 1 (ระยะเร่งด่วน) และระยะที่ 2 โดยหากได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคล เจ้าของเรือประมงสามารถขอคืนภาษีอากรและภาษีหัก ณ ที่จ่าย ที่ถูกหักไว้มากกว่ามูลค่าภาษีที่ตนเองมีหน้าที่ต้องจ่ายจริงภายใน 3 ปีนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นรายการภาษี1 กค. จึงได้ดำเนินการยกร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มาด้วยแล้ว มีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้
ประเด็น |
รายละเอียด |
|
1. ผู้ที่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี |
• บุคคลธรรมดา • บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล |
|
2. สิทธิประโยชน์ทางภาษี |
• ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับเงินได้ที่ได้รับจากการชดเชยเยียวยาจากกรมประมง เนื่องจากการเข้าร่วมโครงการนำเรือประมงออกนอกระบบเพื่อการจัดการทรัพยากรประมงทะเลที่ยั่งยืน ระยะที่ 1 (ระยะเร่งด่วน) (ช่วงปี 2562 - 2563) และระยะที่ 2 (ช่วงปี 2565-2566) (บุคคลธรรมดาและบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็นเจ้าของเรือประมงไม่ต้องนำเงินชดเชยเยียวยาดังกล่าว มายื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีตอนสิ้นปีภาษี)2 |
|
3. วันบังคับใช้ |
• วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป |
5. กค. ได้จัดทำประมาณการการสูญเสียรายได้และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ตามมาตรา 27 และมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 แล้ว ดังนี้
5.1 กรมสรรพากรคาดว่าจะทำให้ภาครัฐสูญเสียรายได้ภาษีรวมประมาณ 58.6 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประมาณ 48.1 ล้านบาท และภาษีเงินได้นิติบุคคลประมาณ 10.5 ล้านบาท
5.2 กรมสรรพากรต้องคืนภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ประมาณ 2.6 ล้านบาท ซึ่งกรมสรรพากรสามารถดำเนินการได้
ทั้งนี้ เพื่อให้เจ้าของเรือประมงที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมายได้รับการบรรเทาภาระภาษี และเจ้าของเรือประมงที่ได้รับเงินชดเชยเยียวยาสามารถนำเงินชดเชยเยียวยาดังกล่าวเต็มจำนวนไปใช้เป็นทุนในการประกอบอาชีพอื่น รวมทั้งบรรเทาภาระหนี้สินอันเกิดจากค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาเรือ
________________________
1 การกำหนดเวลาขอคืนภาษี ตามมาตรา 27 ตรี การขอคืนภาษีอากรและภาษีที่ถูกหักไว้ ณ ที่จ่ายและนำส่งแล้วเป็นจำนวนเงินเกินกว่าที่ควรต้องเสียภาษี หรือที่ไม่มีหน้าที่ต้องเสีย ให้ผู้มีสิทธิขอคืนยื่นคำร้องขอคืนภายใน 3 ปีนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นรายการภาษีตามที่กฎหมายกำหนด
2 หากไม่มีการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเจ้าของเรือประมง เงินชดเชยที่กรมประมงจ่ายให้แก่เจ้าของเรือประมงจะเป็นเงินได้ตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร และมีจำนวนรวมทั้งสิ้นตั้งแต่ 10,000 บาทขึ้นไป จึงต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 1 ของยอดเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 50(4) และหากไม่มีการยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่นิติบุคคลเจ้าของเรือประมง เงินชดเชยที่กรมประมงจ่ายให้แก่เจ้าของเรือประมงจะเป็นรายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร จึงต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 1 ของยอดเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 69 ทวิ
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) 11 มิถุนายน 2567
6369