ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสแรกของปี 2567 และแนวโน้มปี 2567
- Details
- Category: มติ ครม.
- Published: Wednesday, 12 June 2024 01:45
- Hits: 8264
ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสแรกของปี 2567 และแนวโน้มปี 2567
คณะรัฐมนตรีรับทราบภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสแรกของปี 2567 และแนวโน้มปี 2567 ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอ
สาระสำคัญ
สศช. ได้เสนอรายงานภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสแรกของปี 2567 และแนวโน้มปี 2567 โดยมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้
1. ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสแรกของปี 2567
เศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกของปี 2567 ขยายตัวร้อยละ 1.5 ต่อเนื่องจากการขยายตัวร้อยละ 1.7 ในไตรมาสที่สี่ของปี 2566 และเมื่อปรับผลของฤดูกาลออกแล้วเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่หนึ่งของปี 2567 ขยายตัวร้อยละ 1.1 จากไตรมาสที่สี่ของปี 2566 โดยแบ่งเป็น
1.1 ด้านการใช้จ่าย
การส่งออกบริการและการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนขยายตัวในเกณฑ์สูง การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวในเกณฑ์ดี ขณะที่การส่งออกสินค้า การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคของรัฐบาลและการลงทุนภาครัฐลดลง (รายละเอียดปรากฏตามตาราง)
|
%YoY1 |
|
ไตรมาสที่สี่ของปี 2566 |
ไตรมาสแรกของปี 2567 |
|
การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน |
7.4 |
6.9 |
การอุปโภคภาครัฐบาล |
-3.0 |
-2.1 |
การลงทุนรวม |
-0.4 |
-4.2 |
- ภาคเอกชน |
5.0 |
4.6 |
- ภาครัฐ |
-20.1 |
-27.7 |
ปริมาณส่งออก |
4.9 |
2.5 |
- สินค้า |
3.4 |
-2.0 |
- บริการ |
14.9 |
24.8 |
1.2 ด้านการผลิต
สาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร สาขาขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า สาขาไฟฟ้า และก๊าซธรรมชาติ ขยายตัวเร่งขึ้น ส่วนสาขาการขายส่ง ขายปลีก และการซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์ ขยายตัวต่อเนื่อง ขณะที่สาขาการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม สาขาก่อสร้าง และสาขาเกษตรกรรมปรับตัวลดลง (รายละเอียดปรากฏตามตาราง)
สาขาการผลิต |
%YoY |
|
ไตรมาสที่สี่ของปี 2566 |
ไตรมาสแรกของปี 2567 |
|
สาขาการผลิตที่ขยายตัวเร่งขึ้น |
||
สาขาการไฟฟ้า ก๊าซธรรมชาติ |
6.3 |
10.9 |
สาขาการขนส่ง |
7.0 |
9.4 |
สาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร |
9.8 |
11.8 |
สาขาการผลิตที่ชะลอตัว |
||
สาขาการเงิน |
4.7 |
2.9 |
สาขาขายส่ง ขายปลีก และการซ่อม ยานยนต์ |
5.1 |
43 |
สาขากิจกรรมวิชาชีพ |
3.5 |
2.6 |
สาขาการผลิตที่ลดลง |
||
สาขาก่อสร้าง |
-8.8 |
-17.3 |
สาขาเกษตรกรรม การป่าไม้ |
-0.6 |
-3.5 |
สาขาการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม |
-2.4 |
-3.0 |
2. แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2567
แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2567 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.0-3.0 ซึ่งปรับตัวดีขึ้นอย่างช้าๆ จากการขยายตัวร้อยละ 1.9 ในปี 2566 ทั้งนี้ คาดว่าการอุปโภคบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนจะขยายตัวร้อยละ 4.5 และร้อยละ 3.2 ตามลำดับ มูลค่าการส่งออกในรูปดอลลาร์สหรัฐขยายตัวร้อยละ 2.0 อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยอยู่ในช่วงร้อยละ 0.1-1.1 และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 1.2 ของ GDP
|
ข้อมูลจริง |
ประมาณการ ปี 2567 |
|||
ปี 2564 |
ปี 2565 |
ปี 2566 |
ณ 19 กุมภาพันธ์ 2567 |
ณ 20 พฤษภาคม 2567 |
|
GDP |
1.6 |
2.5 |
1.9 |
2.2-3.2 |
2.0-3.0 |
การบริโภคภาคเอกชน |
0.6 |
6.2 |
7.1 |
3.0 |
4.5 |
การอุปโภคภาครัฐบาล |
3.7 |
0.1 |
-4.6 |
1.5 |
1.7 |
การลงทุนรวมภาคเอกชน |
2.9 |
4.7 |
3.2 |
3.5 |
3.2 |
การลงทุนรวมภาครัฐ |
3.5 |
-3.9 |
-4.6 |
-1.8 |
-1.8 |
มูลค่าการส่งออก (รูปเงินดอลลาร์สหรัฐ) |
19.2 |
5.4 |
-1.7 |
2.9 |
2.0 |
เงินเฟ้อ (ร้อยละ) |
1.2 |
6.1 |
1.2 |
0.9-1.9 |
0.1-1.1 |
ดุลบัญชีเดินสะพัด |
-2.0 |
-3.2 |
1.3 |
1.4 |
1.2 |
ทั้งนี้ เศรษฐกิจไทยในปี 2567 มีแนวโน้มที่จะฟื้นตัวดีขึ้นอย่างช้าๆ โดยมีปัจจัยสนับสนุนสำคัญในหลายปัจจัย อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวดังกล่าวยังมีความเสี่ยงและข้อจำกัดที่สำคัญซึ่งอาจทำให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้
ปัจจัยสนับสนุน |
ข้อจำกัด/ปัจจัยเสี่ยง |
|
(1) การเพิ่มขึ้นของแรงสนับสนุนจากการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐในช่วงที่เหลือของปี (2) การฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของภาคการท่องเที่ยวตามการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวต่างชาติ (3) การขยายตัวในเกณฑ์ดีของการอุปโภคบริโภคภายในประเทศ (4) การขยายตัวอย่างต่อเนื่องของการลงทุนภาคเอกชนสอดคล้องกับการขยายตัวของการนำเข้าสินค้าทุน รวมทั้งการส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม (5) การกลับมาขยายตัวอย่างช้าๆ ของการส่งออกสินค้าตามการฟื้นตัวของการค้าโลก |
(1) ภาระหนี้สินครัวเรือนและภาคธุรกิจที่อยู่ในระดับสูงและการเพิ่มขึ้นของภาระดอกเบี้ย ส่งผลให้สถาบันการเงินระมัดระวังการให้สินเชื่อมากขึ้น (2) ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (3) ความเสี่ยงจากความผันผวนของระบบเศรษฐกิจและการค้าโลกที่อาจเพิ่มขึ้นตามสถานการณ์ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์การปรับทิศทางนโยบาย การเงินของประเทศเศรษฐกิจหลัก และการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน |
3. การบริหารนโยบายเศรษฐกิจมหภาคในปี 2567
สศช. เห็นว่า ในปี 2567 รัฐบาลควรให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการเศรษฐกิจในด้านต่างๆ ดังนี้
3.1 การเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ให้สามารถเบิกจ่ายได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของงบประมาณรายจ่ายทั้งหมด เพื่อให้เม็ดเงินรายจ่ายภาครัฐเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจโดยเร็ว
3.2 การดูแลสภาพคล่องให้เพียงพอสำหรับภาคธุรกิจโดยเฉพาะธุรกิจ SMEs ที่มีศักยภาพแต่ประสบปัญหาการเข้าถึงสภาพคล่อง ควบคู่ไปกับการยกระดับศักยภาพการผลิตและเพิ่มขีดความสามารถให้แก่ผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs
3.3 การดูแลการผลิตภาคเกษตรและรายได้เกษตรกรโดยให้ความสำคัญกับ (1) การติดตามและวางแผนแนวทางในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (2) การเตรียมความพร้อมต่อปัญหาอุทกภัย (3) การฟื้นฟูภาคเกษตรที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งให้กลับมาฟื้นตัวโดยเร็ว (4) การสนับสนุนงานวิจัยและพัฒนาเพื่อการปรับปรุงพันธุ์พืช (5) การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันแก่เกษตรกรผ่านการส่งเสริมรูปแบบและพัฒนาระบบประกันภัยพืชผล และ (6) การเฝ้าระวัง ติดตาม การปราบปรามการลักลอบการนำเข้าสินค้าเกษตรผิดกฎหมาย
3.4 การขับเคลื่อนการส่งออกควบคู่ไปกับการเร่งรัดปรับโครงสร้างเศรษฐกิจทั้งภาคการผลิตและภาคบริการ โดยมุ่งเน้น (1) การลดต้นทุนและแก้ไขปัญหาอุปสรรคที่เกี่ยวข้องกับการส่งออก (2) การขับเคลื่อนการส่งออกสินค้าที่มีศักยภาพและเป็นที่ต้องการของตลาดโลกเพิ่มขึ้น (3) การติดตาม เฝ้าระวังการทุ่มตลาดและการใช้มาตรการทางการค้าที่ไม่เป็นธรรมกับผู้ประกอบการไทย (4) การเพิ่มผลิตภาพการผลิตผ่านการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีขั้นสูงเพื่อนำไปสู่การผลิตสินค้าที่มีศักยภาพและมีมูลค่าสูงขึ้น (5) การสร้างความเชื่อมั่นและเตรียมความพร้อมของระบบนิเวศที่เหมาะสม เพื่อดึงดูดอุตสาหกรรมเป้าหมายให้เข้ามาลงทุนในประเทศไทย และ (6) การดึงดูดนักท่องเที่ยวที่มีศักยภาพและมีกำลังซื้อสูง
3.5 การติดตาม เฝ้าระวัง และเตรียมมาตรการรองรับความเสี่ยงจากความผันผวนของระบบเศรษฐกิจและการเงินโลก
___________
1YOY (Year on year) เป็นการเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมาในช่วงเวลาเดียวกัน เช่น เปรียบเทียบระหว่างไตรมาสแรกของปี 2566 กับปี 2567 หรือการเปรียบเทียบรายได้ทั้งปีระหว่างปี 2566 และปี 2567
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) 11 มิถุนายน 2567
6349